ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 และ สมาชิกประเภทที่ 2"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจา...
 
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 86: บรรทัดที่ 86:




[[category:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]
[[category:การเลือกตั้งและการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ|ก2475การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 และ สมาชิกประเภทที่ 2]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:24, 4 มิถุนายน 2552

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ



ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต และ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ

       รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร
       รองศาสตราจารย์ ดร. นิยม รัฐอมฤต
       ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม



การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ ๑ และสมาชิกประเภทที่ ๒ (สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึงครั้งที่ ๔ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙)

หลังจากคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า สมาชิกสภาในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไปตามกาลสมัยดังนี้ คือ


สมัยที่ ๑ นับตั้งแต่วันที่ธรรมนูญนี้บังคับใช้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่สองจะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรและได้มีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น มีจำนวน ๗๐ นาย ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภา ดังนั้น ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะผู้รักษาพระนครจึงได้มีการเลือกบุคคลจำนวน ๗๐ คน เพื่อทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในจำนวนผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นมีสมาชิกคณะราษฎร ๓๑ นาย ที่เหลืออีก ๓๙ นาย เป็นบุคคลผู้มีฐานันดรศักดิ์และราชตระกูล เช่น ราชตระกูลสนิทวงศ์ ราชตระกูลเทพหัสดิน ราชชินิกุลบุนนาค เป็นต้น


สมัยที่ ๒ ภายในเวลา ๖ เดือนหรือจนกว่าการจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล ๒ ประเภท ดำเนินกิจกรรมในสภาร่วมกัน ประกอบด้วย ประเภทที่หนึ่ง ผู้แทนราษฎรที่จะได้เลือกตั้งขึ้นจังหวัดละ ๑ นาย ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่าเสนคน ให้จังหวัดนั้นเลือกผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก ๑ นาย ทุก ๆ แสนคน เศษของแสนคน ถ้าเกินกว่าครึ่งให้นับเพิ่มขึ้นอีก ๑ และ ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้วในสมัยที่ ๑ มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนประเภทที่หนึ่ง ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่า ผู้ใดจะเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใด ๆ เข้าแทนจนครบ


สมัยที่ ๓ เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น สมาชิกประเภทที่สอง เป็นอันไม่มีต่อไป


เมื่อมีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ในเวลาต่อมาก็ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปขึ้น ซึ่งเข้าไปทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่งในสภา ตามกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในธรรมนูญการปกครอง โดยการจัดการเลือกตั้งทั่วไปแต่ละครั้งมีรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้


การเลือกตั้งครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖

คลิกเพื่อเลือกบทความหลัก: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๖


การเลือกตั้งครั้งแรกนี้เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต โดยมีวิธีการเลือกตั้งแบบทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนในพื้นที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกในระดับตำบลจึงจะเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยจำนวนผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณคือ จำนวนราษฎรสองแสนคนต่อต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน ดังนั้น จากจำนวนราษฎรทั้งประเทศที่มีอยู่ในขณะนั้น ทำให้การเลือกตั้งในครั้งแรกได้ผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น ๗๘ คน ผลการเลือกตั้งพบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น ๑,๗๗๓,๕๓๒ คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ๔,๒๗๘,๒๓๑ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๑.๔๕ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๒ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในเขตจังหวัด และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑๗ การเลือกตั้งในครั้งนี้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่มีบทบาททางการเมือง นั่นคือ พรรคคณะราษฎร


การเลือกตั้งครั้งที่ ๒ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐

คลิกเพื่อเลือกบทความหลัก: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๐


การเลือกตั้งครั้งที่สองนี้เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในเขตของตนเองโดยตรง มีเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตคือ ราษฎรจำนวนหนึ่งแสนคนต่อผู้แทนหนึ่งคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศในขณะนั้นทำให้ได้ผู้แทนราษฎรทั้งสิ้นจำนวน ๙๑ คน การเลือกตั้งครั้งนี้จัดให้มีขึ้นเนื่องจากผู้แทนราษฎรชุดแรกได้พ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ๖,๑๒๓,๒๓๙ คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน ๒,๔๖๒,๕๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๒๒ จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๘๐ และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒๔ การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีระบบสภาเดียว และพรรคการเมืองที่มีบทบาทในการเลือกตั้งยังคงมีเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคณะราษฎร


การเลือกตั้งครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑

คลิกเพื่อเลือกบทความหลัก: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๑


การเลือกตั้งครั้งที่สามนี้เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในเขตของตนเองโดยตรง มีเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตคือ ราษฎรจำนวนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมด ๙๑ คน การเลือกตั้งในครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากมีพระราชบัญญัติยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งภายใน ๙๐ วัน โดยมีการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งเป็นการยุบสภาครั้งแรกนับแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ในสภา ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ๖,๓๑๐,๑๗๒ คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน ๒,๒๑๐,๓๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๕๒ ของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด สาเหตุที่จำนวนผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งนี้มีสัดส่วนลดลงกว่าที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ กำลังเริ่มต้นและเป็นเหตุให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สำหรับจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๖๗ และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๒๘ การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีระบบสภาเดียว และพรรคการเมืองที่มีบทบาทในการเลือกตั้งยังคงมีเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคณะราษฎร


การเลือกตั้งครั้งที่ ๔ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙

คลิกเพื่อเลือกบทความหลัก: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๔ วันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๙


การเลือกตั้งครั้งที่สี่นี้เป็นการเลือกตั้งด้วยวิธีแบ่งเขต โดยประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในเขตของตนเองโดยตรง มีเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตคือ ประชาชนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน เหตุที่มีการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ขึ้นเนื่องจากมีพระราชบัญญัติยุบสภาเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งเป็นการประกาศยุบสภาครั้งที่สอง การเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนผู้แทนราษฎรได้ทั้งหมด ๙๖ คน ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ๖,๔๓๑,๘๒๗ คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน ๒,๐๙๑,๗๘๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๕๒ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดบุรีรัมย์ คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๖๕ และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรี คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๔๐

การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีระบบสภาเดียว แต่ในครั้งนี้มีพรรคการเมืองแข่งขันกันส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ๕ พรรค ได้แก่ พรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ พรรคอิสระ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาชน


อ้างอิง

บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2520

ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522


ดูเพิ่มเติม