ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ ม..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 112: | บรรทัดที่ 112: | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px;" | ||
|- | |- | ||
| [[File:No confidence motions (2).jpg|center| | | [[File:No confidence motions (2).jpg|center|350px|No confidence motions (2).jpg]] | ||
| [[File:No confidence motions (3).jpg|center| | | [[File:No confidence motions (3).jpg|center|600px|No confidence motions (3).jpg]] | ||
|} | |} | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:56, 9 กันยายน 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ มีจั่น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565
การอภิปรายไม่ไว้วางใจการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2565 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์_จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลรวม 11 คน จาก 3 พรรคร่วมรัฐบาล จากพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน จำนวน 7 พรรค ได้เสนอญัตติเมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ ระหว่าง วันที่ 19-22 กรกฎาคม และลงมติใน วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งถือเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้ายก่อนจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566
ด้านสถานการณ์ทางการเมืองก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเศรษฐกิจไทยได้ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลและประกาศเป็น “ฝ่ายค้านอิสระ” โดยทางพรรคมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 16 คน ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ให้คำจำกัดความตัวเองว่าเป็น "ฝ่ายค้านอิสระ" เพราะพรรคร่วมฝ่ายค้านยังไม่ได้ตอบรับให้เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองอย่างเป็นทางการ และได้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค ได้แก่ นายไผ่ ลิกค์ เลขาธิการพรรค และนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ นายทะเบียนพรรคเศรษฐกิจไทย ลาออกจากคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[1] ในขณะที่แนวร่วมพรรคฝ่ายค้านที่นำโดยพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นผู้อภิปรายหลัก ต่างประชาสัมพันธ์และใช้แคมเปญในการอภิปรายครั้งนี้อย่างกว้างขวาง ได้แก่ พรรคเพื่อไทยเปิดตัวโปสเตอร์คล้ายภาพยนต์เกาหลีชื่อ "ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน" ในขณะเดียวกัน พรรคก้าวไกลเปิดตัวภาพคล้ายบัตรเชิญร่วมงานศพชื่อ "ตอกตะปูปิดตาย ทลายระบอบประยุทธ์"[2]
ทั้งนี้ หากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใดได้รับเสียงไม่ไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภา (ประมาณ 240 เสียง) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นก็จะต้องพ้นจากตำแหน่ง และหากนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งก็จะเป็นพ้นให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง และต้องมีการดำเนินการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่[3]
ภาพ : ผังการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลหรือทั้งคณะ[4]

ประเด็นการอภิปราย
ตามญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล มีสาระสำคัญในเรื่องที่จะอภิปราย[5] มีดังนี้
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- กรณีการบริหารจัดการวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน
- ปัญหาวิกฤติพลังงานที่ส่งผลกระทบค่าครองชีพ ราคาน้ำมัน ค่าไฟ ก๊าซหุงต้มขึ้นราคา
- ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งทำสถิติสูงสุดรอบ 14 ปี
- ประชาชนหนี้ท่วมและการก่อหนี้สาธารณะ
- การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2565 ที่ส่งผลให้งบลงทุนต่ำกว่า 20% ขัดต่อพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
- โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ที่ผ่านมาครึ่งทางแล้วยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เอื้อประโยชน์เอกชน
- โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำไร้เครื่องยนต์
- โครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่ไม่มีอาวุธ
- โครงการจัดซื้อเครื่องบินรบ F35 ไม่มีอาวุธ
- การปล่อยให้เครื่องบินรบของเทียนมารุกล้ำน่านฟ้าบริเวณหมู่บ้านวาเลย์ที่อยู่ชายแดนจังหวัดตาก
- การเตรียมให้ประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตซที่จังหวัดอุดรธานี
- การทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีจัดซื้อ iPad ให้ข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) 130 เครื่อง เป็นเงิน 10 ล้านบาท
- สร้างเรื่องใหม่กลบเรื่องเก่า เรื่องคนจนจะหมดประเทศ 8 ปี
(2) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- การบริหารราชการกระทรวงพาณิชย์ ปล่อยให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและการดำเนินธุรกิจของเอกชนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
(3) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- กรณีการแก้ปัญหาโควิด-19 ล้มเหลว
- การเปิดเสรีกัญชง-กัญชา โดยปลดล็อกให้พ้นจากยาเสพติด แต่กลับไม่มีกฎหมายลูกรองรับ ทำให้เกิดสุญญากาศ
- ข้อหาดูดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย เตรียมย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยเพื่อลงเลือกตั้งครั้งหน้า
(4) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
- การแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์
- ปัญหาอุทกภัย
(5) พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ปมการขยายอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
(6) ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- กรณีการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
- กรณีกรมที่ดินไม่ได้เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงใน จ.บุรีรัมย์
(7) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์
- การปิดกั้นเสรีภาพประชาชน
(8) จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- คดีค้ามนุษย์ที่ จ.สุราษฎร์ธานี
(9) สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- กรณีส่อทุจริตประมูลโครงการท่อส่งน้ำในพื้นที่อีอีซี มูลค่า 25,000 ล้านบาท ภายใต้กรมธนารักษ์ ซึ่งเกิดข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการประมูลคัดเลือก
- ค่าจ้างบำรุงรักษากล้อง CCTV กรมศุลกากร
- ค่าจ้างบำรุงรักษาซ่อมเครื่องบำรุงตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์
(10) นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- กรณีไม่จ่ายค่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ 2 คันให้แก่บริษัทเอกชน สมัยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
- กรณีเขากระโดง การรุกป่าเขาใหญ่ ในฐานะดูแลกรมที่ดิน
(11) สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- ค่าหัวคิวแรงงานต่างด้าว เอื้อให้เอกชนรายใหญ่ใช้ประโยชน์จากแรงงานโดยผิดกฎหมาย
ภาพ : ประชาสัมพันธ์การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล[6]
![]() |
![]() |
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดลำดับรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย โดยฝ่ายค้านได้เวลาอภิปราย 45 ชั่วโมง (วันละ 11 ชั่วโมง) และฝ่ายคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล ได้เวลาชี้แจง 19 ชั่วโมง (วันละ 2 ชั่วโมง) ก่อนลงมติใน วันที่ 23 กรกฎาคม โดยการอภิปรายวันที่ 1 จะเริ่มที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นคนแรก ต่อด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ, นายสุชาติ ชมกลิ่น, นายจุติ ไกรฤกษ์ และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส่วนการอภิปรายวันที่ 2 เริ่มจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, นายนิพนธ์ บุญญามณี และนายสันติ พร้อมพัฒน์ โดยการอภิปรายใน 2 วันสุดท้าย จะเป็นการอภิปราย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ถูกอภิปรายถึง 30 ชั่วโมง[7]
ผลการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ตาราง : แสดงผลการลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2565[8]
ลำดับ |
รายชื่อ |
จำนวนผู้ลงมติ |
ไว้วางใจ |
ไม่ไว้วางใจ |
งดออกเสียง |
มติ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 |
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม |
471 |
256 |
206 |
9 |
ไว้วางใจ |
2. |
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ |
471 |
241 |
207 |
23 |
ไว้วางใจ |
3. |
อนุทิน ชาญวีรกูล |
472 |
264 |
205 |
3 |
ไว้วางใจ |
4. |
ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
472 |
268 |
193 |
11 |
ไว้วางใจ |
5. |
อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
470 |
245 |
212 |
13 |
ไว้วางใจ |
6. |
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
472 |
262 |
205 |
5 |
ไว้วางใจ |
7. |
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ |
472 |
249 |
205 |
18 |
ไว้วางใจ |
8. |
จุติ ไกรฤกษ์ |
470 |
244 |
209 |
17 |
ไว้วางใจ |
9. |
สันติ พร้อมพัฒน์ |
471 |
249 |
204 |
18 |
ไว้วางใจ |
10 |
นิพนธ์ บุญญามณี |
472 |
246 |
206 |
20 |
ไว้วางใจ |
11. |
สุชาติ ชมกลิ่น |
471 |
243 |
208 |
20 |
ไว้วางใจ |
อย่างไรก็ดี แม้ว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้ง 11 คน ได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากและไม่ต้องพ้นตำแหน่งหน้าที่จากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ในครั้งนี้ แต่ผลของการอภิปรายและลงมติที่เกิดขึ้นได้รับการวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งแตกแยกภายในฝ่ายรัฐบาลอันเป็นผลจากคะแนนที่ได้รับจากการลงมติ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งในพรรค ความต้องการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ตลอดจนการมีเป้าหมายในการสังกัดพรรคการเมืองอื่นในอนาคต[9] อาทิ เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้คะแนนเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค มีเพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน คือ นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ และนายอันวาร์ สาและ ที่ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ฝ่ายค้านทุกพรรคก็ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ยกเว้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย 7 คน ที่ลงมติงดออกเสียง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล จำนวน 4 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาชาติอีก 1 คน ที่ลงมติไว้วางใจ ขณะที่พรรคเศรษฐกิจไทย 11 คน ที่นำโดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงมติไม่ไว้วางใจนายก แต่มีสมาชิกพรรค อีก 4 คน ลงมติไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา
ในขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนไว้วางใจต่ำที่สุดในบรรดารัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย เนื่องจากได้คะแนนเสียงไว้วางใจจากพรรคร่วมรัฐบาลไม่ครบ เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคชาติไทยพัฒนาบางส่วนลงมติงดออกเสียง รวมทั้งกลุ่ม 16 พรรคขนาดเล็ก บางส่วนลงมติงดออกเสียงและลงมติไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายอันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีปัญหาไม่ลงรอยกับนายจุรินทร์มาตลอด ก็ลงมติไม่ไว้วางใจ
นอกจากนี้แล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนไม่ไว้วางใจสูงสุด จากบรรดารัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้ง 11 คนนั้น พบว่านอกจากคะแนนไม่ไว้วางใจจากพรรคฝ่ายค้านทุกพรรคแล้ว ยังได้รับการลงมติไม่ไว้วางใจจากกลุ่มปากน้ำ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด สมุทรปราการและบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการของบประมาณในพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับการสนองตอบจาก พล.อ.อนุพงษ์ และเป็นกลุ่มที่เคยเสนอชื่อ พล.อ.ประวิตร มาเป็น รมว.มหาดไทยแทน พล.อ.อนุพงษ์ ในที่ประชุมพรรคพลังประชารัฐ เป็นต้น[10]
อ้างอิง
[1] “อภิปรายไม่ไว้วางใจ : เศรษฐกิจไทยประกาศเป็น “ฝ่ายค้านอิสระ” ก่อนศึกซักฟอกครั้งสุดท้ายของรัฐบาลประยุทธ์”, สืบค้นจาก https:// www.bbc.com/thai/thailand-62176164 (23 พฤษภาคม 2566).
[2] “อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565: ยุทธการเดือดเชือดรัฐมนตรี ถ้ามีคนมาบอกคุณว่า ‘ขออภิปรายไม่ไว้วางใจ’ คุณจะเข้าใจหรือไม่ว่าเขาจ้องจะเล่นคุณ?”, สืบค้นจาก https://waymagazine.org/thai-censure-motion-2565/(23 พฤษภาคม 2566).
[3] “อภิปรายไม่ไว้วางใจ 65 ประมวล "บาดแผล" รัฐบาลก่อนสภาลงมติ”, สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/6200 (23 พฤษภาคม 2566).
[4] “ผังการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลหรือทั้งคณะ”, สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/ infographic/2020-02-04-01(23 พฤษภาคม 2566).
[5] “เปิดประเด็นไม่ไว้วางใจ 11 รมต. ตามฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายฯ”, สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2022/06/99080 (23 พฤษภาคม 2566).
[6] “PoliticalView: เก็งข้อสอบอภิปรายซักฟอก 11 รมต.รัฐบาลประยุทธ์”, สืบค้นจาก https://www.infoquest.co.th/2022/217580 (23 พฤษภาคม 2566), “เชิญพี่น้องประชาชนร่วมฟังอภิปรายและโหวตไม่ไว้วางใจ ตอกตะปูปิดตาย ทลายระบอบประยุทธ์”, สืบค้นจาก https://www. moveforwardparty.org/news/13793/ (23 พฤษภาคม 2566).
[7] “อภิปรายไม่ไว้วางใจ : พล.อ. ประยุทธ์ท้าหัวหน้าพรรคเพื่อไทย บอกมีคนฉลาด-ทำงานดีกว่า “เอากลับมาให้ได้ก็แล้วกัน”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-62217630 (23 พฤษภาคม 2566).
[8] “อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 รัฐบาล ใครบ้าง 11 รัฐมนตรีถูกข้อหาอะไร อ่านเลย”, สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/ politics/532974 (23 พฤษภาคม 2566).
[9] “บาดแผลหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ/บทความพิเศษ สมชัย ศรีสุทธิยากร”, สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/ column/article_583508(23 พฤษภาคม 2566).
[10] “เปิดเบื้องหลังละเอียดยิบ ผลโหวต 11 รมต. 'งูเห่า-หักหลัง-แค้นฝังหุ่น' เพียบ! ”, สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/hi-light/ 186444/(23 พฤษภาคม 2566).