ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคชาติพัฒนากล้า"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ฐิติกร สังข์แก้ว '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
= <span style="font-size:x-large;">'''พรรคชาติพัฒนากล้า''' ''':''' '''ประวัติย่นย่อของการเปลี่ยนชื่อและควบรวมพรรค'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''พรรคชาติพัฒนากล้า''' ''':''' '''ประวัติย่นย่อของการเปลี่ยนชื่อและควบรวมพรรค'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคชาติพัฒนากล้า มีประวัติการเปลี่ยนชื่อและยุบรวมพรรคหลายครั้งก่อนที่จะกลายมาเป็นชื่อ '''“พรรคชาติพัฒนากล้า”''' ในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2566) อันจุดเริ่มต้นจากการก่อตั้ง '''“พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา”''' ในปี 2550 โดยการเข้าร่วมของกลุ่มรวมใจไทย ที่นำโดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2550 ได้ ส.ส. 17 คน (เขต 8 คน และสัดส่วน 9 คน)[[#_ftn3|[3]]] จึงเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ที่นำโดย นาย[[สมัคร_สุนทรเวช]] (29 มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551) รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (18 กันยายน 2551 - 2 ธันวาคม 2551) และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ&nbsp;(17 ธันวาคม 2551 - 5 สิงหาคม 2554) ต่อมาในปี 2553 ที่ประชุมใหญ่ของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่อเป็น '''“พรรครวมชาติพัฒนา”''' หลังจากนั้นเพียงปีเดียวที่ประชุมใหญ่พรรคได้มีมติประกาศรวมตัวเข้ากับพรรคเพื่อแผ่นดิน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า '''“พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน”''' ได้ที่นั่ง ส.ส. ในการเลือกตั้งปี 2554 ทั้งสิ้น 12 คน (เขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 7 คน)[[#_ftn4|[4]]] โดยเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยที่นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนที่ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จะมีมติให้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น '''“พรรคชาติพัฒนา”''' (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับ “พรรคชาติพัฒนา” ซึ่งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ&nbsp;เป็นหัวหน้า ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบแห่งชาติ ในปี 2535 อย่างไรก็ตาม ในปี 2547 พรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย) ครั้นมาถึงการเลือกตั้งปี 2562 พรรคชาติพัฒนา ได้รับเลือกตั้งเพียง 3 ที่นั่ง (เขต 1 คนและบัญชีรายชื่อ 2 คน)[[#_ftn5|[5]]] แต่ก็ได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคชาติพัฒนากล้า มีประวัติการเปลี่ยนชื่อและยุบรวมพรรคหลายครั้งก่อนที่จะกลายมาเป็นชื่อ '''“พรรคชาติพัฒนากล้า”''' ในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2566) อันจุดเริ่มต้นจากการก่อตั้ง '''“พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา”''' ในปี 2550 โดยการเข้าร่วมของกลุ่มรวมใจไทย ที่นำโดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2550 ได้ ส.ส. 17 คน (เขต 8 คน และสัดส่วน 9 คน)[[#_ftn3|[3]]] จึงเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ที่นำโดย นาย[[สมัคร_สุนทรเวช|สมัคร_สุนทรเวช]] (29 มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551) รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (18 กันยายน 2551 - 2 ธันวาคม 2551) และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ&nbsp;(17 ธันวาคม 2551 - 5 สิงหาคม 2554) ต่อมาในปี 2553 ที่ประชุมใหญ่ของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่อเป็น '''“พรรครวมชาติพัฒนา”''' หลังจากนั้นเพียงปีเดียวที่ประชุมใหญ่พรรคได้มีมติประกาศรวมตัวเข้ากับพรรคเพื่อแผ่นดิน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า '''“พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน”''' ได้ที่นั่ง ส.ส. ในการเลือกตั้งปี 2554 ทั้งสิ้น 12 คน (เขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 7 คน)[[#_ftn4|[4]]] โดยเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยที่นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนที่ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จะมีมติให้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น '''“พรรคชาติพัฒนา”''' (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับ “พรรคชาติพัฒนา” ซึ่งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ&nbsp;เป็นหัวหน้า ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบแห่งชาติ ในปี 2535 อย่างไรก็ตาม ในปี 2547 พรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย) ครั้นมาถึงการเลือกตั้งปี 2562 พรรคชาติพัฒนา ได้รับเลือกตั้งเพียง 3 ที่นั่ง (เขต 1 คนและบัญชีรายชื่อ 2 คน)[[#_ftn5|[5]]] แต่ก็ได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในอีกด้านหนึ่ง ภายหลังการเลือกตั้ง 2562 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ตัดสินใจลาออกจาก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์[[#_ftn6|[6]]] ก่อนที่จะประกาศเปิดตัว '''“'''[[พรรคกล้า]]'''”''' ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีนายกรณ์ จาติกวณิช นั่งเป็นหัวหน้าพรรค และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นเลขาธิการพรรค[[#_ftn7|[7]]] ทั้งนี้สนามเลือกตั้งแรกที่พรรคกล้าส่งผู้มสมัครลงแข่งขัน ก็คือการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. นครศรีธรรมราช (7 มีนาคม 2564) ที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับ 3 ด้วย 6,216 คะแนน ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 9 (30 มกราคม 2565)&nbsp;นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงแข่งขันในนามพรรคกล้า แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับนายสุรชาติ เทียนทอง&nbsp;จากพรรคเพื่อไทย ไปด้วยคะแนน 29,416 ต่อ 20,047 คะแนน[[#_ftn8|[8]]] ครั้นมาถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพฯ ซึ่งพรรคกล้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันเฉพาะสมาชิกสภากรุงเทพฯ 12 เขตเท่านั้น แต่ก็ยังไม่สามารถชนะเลือกตั้งได้แม้แต่เขตเดียว[[#_ftn9|[9]]] อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวันที่ 2 กันยายน 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ร่วมแถลงข่าวกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประกาศความร่วมมือกับพรรคชาติพัฒนา โดยนายสุวัจน์&nbsp;ลิปตพัลลภ กล่าวตอนหนึ่งว่า ''“พรรคชาติพัฒนาอยากเรียนเชิญท่านกรณ์ มาจับมือกัน มารวมพลังกัน&nbsp;มาร่วมทำงานกับเรา มาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของของประเทศในวันนี้...ไม่ใช่การรวมพรรค สถานะของสองพรรคก็ยังเหมือนเดิม”'' ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ยืนยันว่า ''“ผมกับพี่สุวัจน์ร่วมมือกัน 100%...วันนี้มาในนามนายกรณ์ จาติกวณิช”''[[#_ftn10|[10]]] เมื่อถึงวันที่ 26 กันยายน 2565 ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น '''“พรรคชาติพัฒนากล้า”''' โดยมีสมาชิกจากพรรคกล้าจำนวนหนึ่งเข้ามาสมทบเพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม 2566[[#_ftn11|[11]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในอีกด้านหนึ่ง ภายหลังการเลือกตั้ง 2562 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ตัดสินใจลาออกจาก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์[[#_ftn6|[6]]] ก่อนที่จะประกาศเปิดตัว '''“'''[[พรรคกล้า|พรรคกล้า]]'''”''' ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีนายกรณ์ จาติกวณิช นั่งเป็นหัวหน้าพรรค และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นเลขาธิการพรรค[[#_ftn7|[7]]] ทั้งนี้สนามเลือกตั้งแรกที่พรรคกล้าส่งผู้มสมัครลงแข่งขัน ก็คือการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. นครศรีธรรมราช (7 มีนาคม 2564) ที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับ 3 ด้วย 6,216 คะแนน ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 9 (30 มกราคม 2565)&nbsp;นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงแข่งขันในนามพรรคกล้า แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับนายสุรชาติ เทียนทอง&nbsp;จากพรรคเพื่อไทย ไปด้วยคะแนน 29,416 ต่อ 20,047 คะแนน[[#_ftn8|[8]]] ครั้นมาถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพฯ ซึ่งพรรคกล้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันเฉพาะสมาชิกสภากรุงเทพฯ 12 เขตเท่านั้น แต่ก็ยังไม่สามารถชนะเลือกตั้งได้แม้แต่เขตเดียว[[#_ftn9|[9]]] อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวันที่ 2 กันยายน 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ร่วมแถลงข่าวกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประกาศความร่วมมือกับพรรคชาติพัฒนา โดยนายสุวัจน์&nbsp;ลิปตพัลลภ กล่าวตอนหนึ่งว่า ''“พรรคชาติพัฒนาอยากเรียนเชิญท่านกรณ์ มาจับมือกัน มารวมพลังกัน&nbsp;มาร่วมทำงานกับเรา มาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของของประเทศในวันนี้...ไม่ใช่การรวมพรรค สถานะของสองพรรคก็ยังเหมือนเดิม”'' ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ยืนยันว่า ''“ผมกับพี่สุวัจน์ร่วมมือกัน 100%...วันนี้มาในนามนายกรณ์ จาติกวณิช”''[[#_ftn10|[10]]] เมื่อถึงวันที่ 26 กันยายน 2565 ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น '''“พรรคชาติพัฒนากล้า”''' โดยมีสมาชิกจากพรรคกล้าจำนวนหนึ่งเข้ามาสมทบเพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม 2566[[#_ftn11|[11]]]


= <span style="font-size:x-large;">'''นโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้าในการเลือกตั้งปี ''''''2566'''</span> =
= '''<span style="font-size:x-large;">นโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้าในการเลือกตั้งปี 2566</span>''' =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคชาติพัฒนากล้า ประกอบด้วยแกนนำคนสำคัญ เช่น นายกรณ์ จาติกวณิช&nbsp; หัวหน้าพรรค&nbsp;นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เลขาธิการพรรค นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรค และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานยุทธศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจ ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวนโยบายโดยเน้นการปรับรื้อโครงสร้างเศรษฐกิจและเสนอแนวทางการหารายได้เข้าประเทศ ตามหลักคิดของพรรคที่ว่า '''“งานดี มีเงิน ของไม่แพง”''' พรรคชาติพัฒนากล้า จึงนำเสนอ 12 นโยบาย ประกอบด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคชาติพัฒนากล้า ประกอบด้วยแกนนำคนสำคัญ เช่น นายกรณ์ จาติกวณิช&nbsp; หัวหน้าพรรค&nbsp;นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เลขาธิการพรรค นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรค และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานยุทธศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจ ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวนโยบายโดยเน้นการปรับรื้อโครงสร้างเศรษฐกิจและเสนอแนวทางการหารายได้เข้าประเทศ ตามหลักคิดของพรรคที่ว่า '''“งานดี มีเงิน ของไม่แพง”''' พรรคชาติพัฒนากล้า จึงนำเสนอ 12 นโยบาย ประกอบด้วย
บรรทัดที่ 52: บรรทัดที่ 52:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>มิติแรก</u> การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (mixed-member apportionment: MMA) ที่ใช้บัตรใบเดียวลงคะแนนให้ทั้งผู้สมัคร ส.ส. เขต 350 คน และนำคะแนนนั้นไปจัดสรรให้กับ ส.ส. สัดส่วนอีก 150 คน มาเป็นระบบคู่ขนาน หรือ ระบบผสมเสียงข้างมาก (parallel or mixed-member majoritarian system) ที่ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแยกกันระหว่าง การเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 400 คน กับระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ส่งผลให้คะแนนเสียงมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวอยู่กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ในทางกลับกัน พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองเกิดใหม่มีแนวโน้มเสียเปรียบพรรคขนาดใหญ่ เพราะพรรคขนาดใหญ่สามารถส่งผู้สมัครลงแข่งขันได้ทุกเขตทั่วประเทศ จึงเท่ากับเป็นการรณรงค์หาเสียงให้กับพรรคในระบบบัญชีรายชื่อไปในเวลาเดียวกัน และเพราะว่าการส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั่วประเทศต้องใช้งบประมาณในการหาเสียงจำนวนมาก สำหรับพรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่ที่มีฐานเสียงจำกัด จึงมักเลือกส่งผู้สมัครแต่เฉพาะในเขตที่มีโอกาสชนะเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะอาศัยผู้สมัคร ส.ส. เขตหาเสียงให้พรรคไปพร้อมกันจึงลดลงตามไปด้วย ผลก็คือ พรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่มีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตน้อยเช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ นักการเมืองชื่อดังที่เคยแตกตัวออกจากพรรคใหญ่ไปตั้งพรรคใหม่หลังการเลือกตั้งปี 2562 (เช่น พรรคกล้า พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคเศรษฐกิจไทย) จึงเริ่มทยอยย้ายกลับเข้าพรรคใหญ่หรือพรรคซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่า ภายหลังการเปลี่ยนกลับมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>มิติแรก</u> การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (mixed-member apportionment: MMA) ที่ใช้บัตรใบเดียวลงคะแนนให้ทั้งผู้สมัคร ส.ส. เขต 350 คน และนำคะแนนนั้นไปจัดสรรให้กับ ส.ส. สัดส่วนอีก 150 คน มาเป็นระบบคู่ขนาน หรือ ระบบผสมเสียงข้างมาก (parallel or mixed-member majoritarian system) ที่ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแยกกันระหว่าง การเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 400 คน กับระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ส่งผลให้คะแนนเสียงมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวอยู่กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ในทางกลับกัน พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองเกิดใหม่มีแนวโน้มเสียเปรียบพรรคขนาดใหญ่ เพราะพรรคขนาดใหญ่สามารถส่งผู้สมัครลงแข่งขันได้ทุกเขตทั่วประเทศ จึงเท่ากับเป็นการรณรงค์หาเสียงให้กับพรรคในระบบบัญชีรายชื่อไปในเวลาเดียวกัน และเพราะว่าการส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั่วประเทศต้องใช้งบประมาณในการหาเสียงจำนวนมาก สำหรับพรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่ที่มีฐานเสียงจำกัด จึงมักเลือกส่งผู้สมัครแต่เฉพาะในเขตที่มีโอกาสชนะเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะอาศัยผู้สมัคร ส.ส. เขตหาเสียงให้พรรคไปพร้อมกันจึงลดลงตามไปด้วย ผลก็คือ พรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่มีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตน้อยเช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ นักการเมืองชื่อดังที่เคยแตกตัวออกจากพรรคใหญ่ไปตั้งพรรคใหม่หลังการเลือกตั้งปี 2562 (เช่น พรรคกล้า พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคเศรษฐกิจไทย) จึงเริ่มทยอยย้ายกลับเข้าพรรคใหญ่หรือพรรคซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่า ภายหลังการเปลี่ยนกลับมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>มิติที่สอง</u> พรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่มักตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง ความเป็นพรรคจึงเกิดขึ้นโดยการจดทะเบียนจัดตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองมวลชน (mass-based party) ที่ฐานเสียงและความต้องการของประชาชนเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการก่อตั้งองค์กรพรรคการเมืองขึ้นเพื่อสะท้อนและส่งเสริมผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้งที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองของไทยจำนวนไม่น้อย (รวมถึงพรรคกล้า) จึงตั้งขึ้นเป็นองค์กรตามกฎหมายก่อนที่จะแสวงหาการสนับสนุนและระดมมวลชนเป็นฐานคะแนนให้กับพรรค หรือกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองในฐานะองค์กรเกิดขึ้นก่อน แต่ฐานเสียงสนับสนุนเกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้เมื่อผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองสำคัญของพรรคย้ายไปสังกัดพรรคอื่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางการเมืองที่สูงกว่า พรรคการเมืองที่เพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างฐานมวลชนจึงมีสภาพประหนึ่งถูกทิ้งร้าง แม้ว่าสถานภาพความเป็นพรรคตามกฎหมายจะยังคงดำรงอยู่ก็ตาม นี่จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด<br/> ที่พรรคการเมืองไทยจำนวนมากจะไม่ส่งแม้แต่ผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>มิติที่สอง</u> พรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่มักตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง ความเป็นพรรคจึงเกิดขึ้นโดยการจดทะเบียนจัดตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองมวลชน (mass-based party) ที่ฐานเสียงและความต้องการของประชาชนเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการก่อตั้งองค์กรพรรคการเมืองขึ้นเพื่อสะท้อนและส่งเสริมผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้งที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองของไทยจำนวนไม่น้อย (รวมถึงพรรคกล้า) จึงตั้งขึ้นเป็นองค์กรตามกฎหมายก่อนที่จะแสวงหาการสนับสนุนและระดมมวลชนเป็นฐานคะแนนให้กับพรรค หรือกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองในฐานะองค์กรเกิดขึ้นก่อน แต่ฐานเสียงสนับสนุนเกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้เมื่อผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองสำคัญของพรรคย้ายไปสังกัดพรรคอื่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางการเมืองที่สูงกว่า พรรคการเมืองที่เพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างฐานมวลชนจึงมีสภาพประหนึ่งถูกทิ้งร้าง แม้ว่าสถานภาพความเป็นพรรคตามกฎหมายจะยังคงดำรงอยู่ก็ตาม นี่จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองไทยจำนวนมากจะไม่ส่งแม้แต่ผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง


= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =


“กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก.” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก.” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235 https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


“‘กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่.” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“‘กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่.” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286 https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


“กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา.” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา.” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


“ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่.” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่.” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237 https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


“‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก.” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
“‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก.” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/ https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.


“เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่.” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่.” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836 https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


“เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ.” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/politics/541588>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
“เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ.” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/politics/541588 https://www.komchadluek.net/news/politics/541588]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2551). ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2551). ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 76:
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562.&nbsp; กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562.&nbsp; กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.


““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา.” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา.” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117 https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.


= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
<div><div id="ftn1">
<div><div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] “‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก,” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
[[#_ftnref1|[1]]] “‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก,” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/ https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] ““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา,” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
[[#_ftnref2|[2]]] ““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา,” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117 https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551)
[[#_ftnref3|[3]]] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551)
บรรทัดที่ 90: บรรทัดที่ 90:
[[#_ftnref5|[5]]] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563)
[[#_ftnref5|[5]]] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563)
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก,” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref6|[6]]] “กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก,” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235 https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] “'กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่,” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref7|[7]]] “'กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่,” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286 https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref8|[8]]] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] “เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่,” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref9|[9]]] “เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่,” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836 https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref10|[10]]] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] “ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่,” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref11|[11]]] “ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่,” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237 https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] “เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ,” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/politics/541588>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref12|[12]]] “เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ,” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/politics/541588 https://www.komchadluek.net/news/politics/541588]>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]]
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:38, 6 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

บทนำ

          พรรคชาติพัฒนากล้า หรือชื่อเดิม พรรคชาติพัฒนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พรรคชาติพัฒนากล้า” ภายหลังจากที่ นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ลาออกจากหัวหน้าและสมาชิกพรรคกล้า ไปเข้าร่วมกับพรรคชาติพัฒนา พร้อม ๆ กับทีมงานอีกกว่า 40 คน ในช่วงปลายปี 2565 เพื่อสู้ศึกการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเกิดขึ้นในต้นปี 2566[1] ในปัจจุบันพรรคชาติพัฒนากล้า มีนายกรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ขณะที่สมาชิกพรรคกล้าจำนวนหนึ่งยังคงสังกัดพรรคเดิมและมีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ขึ้นแทนที่ชุดเก่า อย่างไรก็ตาม นายกรณ์ จาติกวณิช และกรรมการบริหารพรรคกล้าชุดเก่าถูกกระแสวิจารณ์ว่า “ทิ้งพรรค”[2] ทั้งที่เพิ่งย้ายมาร่วมก่อตั้งพรรคกล้าเมื่อประมาณกลางปี 2563 และยังมีกิจกรรมทางการเมืองในนามของพรรคกล้าหลังจากนั้นอย่างต่อเนื่อง

พรรคชาติพัฒนากล้า : ประวัติย่นย่อของการเปลี่ยนชื่อและควบรวมพรรค

          พรรคชาติพัฒนากล้า มีประวัติการเปลี่ยนชื่อและยุบรวมพรรคหลายครั้งก่อนที่จะกลายมาเป็นชื่อ “พรรคชาติพัฒนากล้า” ในปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2566) อันจุดเริ่มต้นจากการก่อตั้ง “พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา” ในปี 2550 โดยการเข้าร่วมของกลุ่มรวมใจไทย ที่นำโดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2550 ได้ ส.ส. 17 คน (เขต 8 คน และสัดส่วน 9 คน)[3] จึงเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ที่นำโดย นายสมัคร_สุนทรเวช (29 มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551) รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (18 กันยายน 2551 - 2 ธันวาคม 2551) และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธันวาคม 2551 - 5 สิงหาคม 2554) ต่อมาในปี 2553 ที่ประชุมใหญ่ของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่อเป็น “พรรครวมชาติพัฒนา” หลังจากนั้นเพียงปีเดียวที่ประชุมใหญ่พรรคได้มีมติประกาศรวมตัวเข้ากับพรรคเพื่อแผ่นดิน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า “พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน” ได้ที่นั่ง ส.ส. ในการเลือกตั้งปี 2554 ทั้งสิ้น 12 คน (เขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 7 คน)[4] โดยเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยที่นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนที่ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จะมีมติให้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “พรรคชาติพัฒนา” (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับ “พรรคชาติพัฒนา” ซึ่งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้า ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบแห่งชาติ ในปี 2535 อย่างไรก็ตาม ในปี 2547 พรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย) ครั้นมาถึงการเลือกตั้งปี 2562 พรรคชาติพัฒนา ได้รับเลือกตั้งเพียง 3 ที่นั่ง (เขต 1 คนและบัญชีรายชื่อ 2 คน)[5] แต่ก็ได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

          ในอีกด้านหนึ่ง ภายหลังการเลือกตั้ง 2562 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ตัดสินใจลาออกจาก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์[6] ก่อนที่จะประกาศเปิดตัว พรรคกล้า ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีนายกรณ์ จาติกวณิช นั่งเป็นหัวหน้าพรรค และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นเลขาธิการพรรค[7] ทั้งนี้สนามเลือกตั้งแรกที่พรรคกล้าส่งผู้มสมัครลงแข่งขัน ก็คือการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. นครศรีธรรมราช (7 มีนาคม 2564) ที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับ 3 ด้วย 6,216 คะแนน ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กทม. เขต 9 (30 มกราคม 2565) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ลงแข่งขันในนามพรรคกล้า แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับนายสุรชาติ เทียนทอง จากพรรคเพื่อไทย ไปด้วยคะแนน 29,416 ต่อ 20,047 คะแนน[8] ครั้นมาถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพฯ ซึ่งพรรคกล้าส่งผู้สมัครลงแข่งขันเฉพาะสมาชิกสภากรุงเทพฯ 12 เขตเท่านั้น แต่ก็ยังไม่สามารถชนะเลือกตั้งได้แม้แต่เขตเดียว[9] อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวันที่ 2 กันยายน 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ร่วมแถลงข่าวกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประกาศความร่วมมือกับพรรคชาติพัฒนา โดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กล่าวตอนหนึ่งว่า “พรรคชาติพัฒนาอยากเรียนเชิญท่านกรณ์ มาจับมือกัน มารวมพลังกัน มาร่วมทำงานกับเรา มาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของของประเทศในวันนี้...ไม่ใช่การรวมพรรค สถานะของสองพรรคก็ยังเหมือนเดิม” ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ยืนยันว่า “ผมกับพี่สุวัจน์ร่วมมือกัน 100%...วันนี้มาในนามนายกรณ์ จาติกวณิช”[10] เมื่อถึงวันที่ 26 กันยายน 2565 ที่ประชุมใหญ่พรรคชาติพัฒนาได้มีมติเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น “พรรคชาติพัฒนากล้า” โดยมีสมาชิกจากพรรคกล้าจำนวนหนึ่งเข้ามาสมทบเพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม 2566[11]

นโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้าในการเลือกตั้งปี 2566

          พรรคชาติพัฒนากล้า ประกอบด้วยแกนนำคนสำคัญ เช่น นายกรณ์ จาติกวณิช  หัวหน้าพรรค นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เลขาธิการพรรค นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรค และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานยุทธศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจ ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวนโยบายโดยเน้นการปรับรื้อโครงสร้างเศรษฐกิจและเสนอแนวทางการหารายได้เข้าประเทศ ตามหลักคิดของพรรคที่ว่า “งานดี มีเงิน ของไม่แพง” พรรคชาติพัฒนากล้า จึงนำเสนอ 12 นโยบาย ประกอบด้วย

          1) หาเงินใหม่ให้ประเทศ 5 ล้านล้านบาท

          2) ลดภาษีบุคคล เงินเดือน 40,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี

          3) น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ต้องถูกลง รื้อโครงสร้างพลังงาน

          4) ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร รื้อระบบสินเชื่อ

          5) รื้อระบบราชการ โดยใช้ GOv-Tech ราชการมือถือรวดเร็ว ปลอดคอร์รัปชั่น

          6) เกษตรสร้างชาติ เพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยี-อุตสาหกรรม

          7) สร้างเด็กไทย 3 ภาษา

          8) ทุนธุรกิจสร้างสรรค์ สูงสุดรายละ 1 ล้านบาท ไม่จำกัดวุฒิและวัย

          9) สูงวัยไฟแรง งานใหม่ 5 แสนตำแหน่ง

          10) อารยสถาปัตย์ ปรับเงินบ้าน 50,000 บาท ให้ผู้สูงวัยและผู้พิการ

          11) มอร์เตอร์เวย์ทั่วไทย 4 ทิศ 2,000 กม.

          12) ท่องเที่ยวนำไทย เพิ่มนักท่องเที่ยว 2 เท่า[12]

          กล่าวได้ว่านโยบายหลักของพรรคชาติพัฒนากล้า คือ นโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นด้านการเงินการคลังสาธารณะ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน ส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์แก้โจทย์สังคมสูงวัยและคนรุ่นใหม่ในอนาคต เป็นต้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง

นัยสำคัญต่อการเมืองไทย

          การปรากฎขึ้นของพรรคชาติพัฒนากล้า ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อพรรคและปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคใหม่ (rebranding) เท่านั้น หากยังสะท้อนการเมืองการเลือกตั้ง (electoral politics) และการเมืองโดยพรรคการเมือง (party politics) ของไทยใน 2 มิติสำคัญ ได้แก่

          มิติแรก การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (mixed-member apportionment: MMA) ที่ใช้บัตรใบเดียวลงคะแนนให้ทั้งผู้สมัคร ส.ส. เขต 350 คน และนำคะแนนนั้นไปจัดสรรให้กับ ส.ส. สัดส่วนอีก 150 คน มาเป็นระบบคู่ขนาน หรือ ระบบผสมเสียงข้างมาก (parallel or mixed-member majoritarian system) ที่ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแยกกันระหว่าง การเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 400 คน กับระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ส่งผลให้คะแนนเสียงมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวอยู่กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ในทางกลับกัน พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองเกิดใหม่มีแนวโน้มเสียเปรียบพรรคขนาดใหญ่ เพราะพรรคขนาดใหญ่สามารถส่งผู้สมัครลงแข่งขันได้ทุกเขตทั่วประเทศ จึงเท่ากับเป็นการรณรงค์หาเสียงให้กับพรรคในระบบบัญชีรายชื่อไปในเวลาเดียวกัน และเพราะว่าการส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั่วประเทศต้องใช้งบประมาณในการหาเสียงจำนวนมาก สำหรับพรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่ที่มีฐานเสียงจำกัด จึงมักเลือกส่งผู้สมัครแต่เฉพาะในเขตที่มีโอกาสชนะเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะอาศัยผู้สมัคร ส.ส. เขตหาเสียงให้พรรคไปพร้อมกันจึงลดลงตามไปด้วย ผลก็คือ พรรคขนาดเล็กและพรรคเกิดใหม่มีโอกาสที่จะชนะเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตน้อยเช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ นักการเมืองชื่อดังที่เคยแตกตัวออกจากพรรคใหญ่ไปตั้งพรรคใหม่หลังการเลือกตั้งปี 2562 (เช่น พรรคกล้า พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคเศรษฐกิจไทย) จึงเริ่มทยอยย้ายกลับเข้าพรรคใหญ่หรือพรรคซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่า ภายหลังการเปลี่ยนกลับมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน

          มิติที่สอง พรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่มักตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง ความเป็นพรรคจึงเกิดขึ้นโดยการจดทะเบียนจัดตั้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองมวลชน (mass-based party) ที่ฐานเสียงและความต้องการของประชาชนเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการก่อตั้งองค์กรพรรคการเมืองขึ้นเพื่อสะท้อนและส่งเสริมผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้งที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองของไทยจำนวนไม่น้อย (รวมถึงพรรคกล้า) จึงตั้งขึ้นเป็นองค์กรตามกฎหมายก่อนที่จะแสวงหาการสนับสนุนและระดมมวลชนเป็นฐานคะแนนให้กับพรรค หรือกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองในฐานะองค์กรเกิดขึ้นก่อน แต่ฐานเสียงสนับสนุนเกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้เมื่อผู้นำทางการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองสำคัญของพรรคย้ายไปสังกัดพรรคอื่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางการเมืองที่สูงกว่า พรรคการเมืองที่เพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างฐานมวลชนจึงมีสภาพประหนึ่งถูกทิ้งร้าง แม้ว่าสถานภาพความเป็นพรรคตามกฎหมายจะยังคงดำรงอยู่ก็ตาม นี่จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองไทยจำนวนมากจะไม่ส่งแม้แต่ผู้สมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง

บรรณานุกรม

“กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก.” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

“‘กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่.” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

“กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา.” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

“ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่.” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

“‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก.” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.

“เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่.” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

“เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ.” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/politics/541588>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2551). ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2555) ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562.  กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา.” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.

อ้างอิง

[1] “‘ชาติพัฒนากล้า’ คือชื่อพรรคใหม่ หลังสุวัจน์-กรณ์ จับมือทำงานการเมือง ขนทีมกว่า 40 คนเข้าสมัครสมาชิก,” The Standard (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/chard-phatthana-kla-party/>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.

[2] ““อรรถวิชช์” ลั่น “พี่กรณ์” ไม่ได้ทิ้ง ลาออกพรรคกล้าร่วมชาติพัฒนา,” ThaiPBS (5 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/319117>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566.

[3] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551)

[4] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2555)

[5] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563)

[6] “กรณ์ จาติกวณิช ประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊ก,” BBC (15 มกราคม 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-51116235>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[7] “'กรณ์' เปิดตัวพรรค 'กล้า' ย้ำกล้าตัดสินใจ กล้าเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่,” กรุงเทพธุรกิจ (14 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/866286>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[8] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[9] “เช็คผลเลือกตั้ง ส.ก. “เพื่อไทย” ได้ 20 ที่นั่ง ตรวจรายชื่อผู้ชนะทุกเขตที่นี่,” กรุงเทพธุรกิจ (23 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/1005836>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[10] “กรณ์-สุวัจน์ ประกาศจับมือการเมือง สู้ศึกเลือกตั้ง 66 ในนามพรรคชาติพัฒนา,” BBC (2 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c3g430dyvq8o>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[11] “ชัด! “กรณ์-สุวัจน์” ผนึกกำลัง ผุด “ชาติพัฒนากล้า” สู้ศึกเลือกตั้งใหญ่,” ไทยรัฐออนไลน์ (26 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2510237>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[12] “เปิด 12 นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร-รื้อระบบราชการ,” คมชัดลึก (24 มกราคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/politics/541588>. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.