ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาฤทธิอัคเนย์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล Apirom ย้ายหน้า พระยาฤทธิอัคเนย์ (บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์) ไปยัง พระยาฤทธิอัคเนย์ โดยไม่สร... |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''พระยาฤทธิอัคเนย์''' | '''พระยาฤทธิอัคเนย์''' | ||
พันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ ([[สละ_เอมะศิริ| | พันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ ([[สละ_เอมะศิริ|สละ เอมะศิริ]]) เป็น 1 ใน 4 [[ทหารเสือผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง|ทหารเสือผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] พ.ศ.2475 โดยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ซึ่งเป็นเพียงผู้เดียวในกลุ่มแกนนำผู้ก่อการที่มีกำลังทหารในมือ ในวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ]]ได้รับการแต่งตั้งเป็น[[คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร]] ในทางการเมืองเคยดำรงตำแหน่งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[กรรมการราษฎร|กรรมการราษฎร]] [[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
'''เหตุการณ์สำคัญ''' | '''เหตุการณ์สำคัญ''' | ||
พระยาฤทธิอัคเนย์เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อยในพ.ศ. 2451 ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์ และย้ายไปรับตำแหน่งในกรมทหารปืนใหญ่ในจังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ดจนถึงพ.ศ.2474 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พระยาฤทธิฯได้รับการทาบทามจาก[[พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]]และ[[พันเอกพระยาทรงสุรเดช]]ให้เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยาฤทธิฯได้อธิบายว่ารู้จักกับพระยาพหลฯและพระยาทรงฯตั้งแต่รับราชการอยู่ที่ร้อยเอ็ด โคราช โดยนับถือทั้งสองเป็นครูเพราะมีความรู้ทางเทคนิควิชาทหารเป็นอย่างดีและตนเองไม่เคยได้ไปศึกษาในต่างประเทศ[[#_ftn3|[3]]] | พระยาฤทธิอัคเนย์เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อยในพ.ศ. 2451 ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์ และย้ายไปรับตำแหน่งในกรมทหารปืนใหญ่ในจังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ดจนถึงพ.ศ.2474 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พระยาฤทธิฯได้รับการทาบทามจาก[[พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา|พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]]และ[[พันเอกพระยาทรงสุรเดช|พันเอกพระยาทรงสุรเดช]]ให้เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยาฤทธิฯได้อธิบายว่ารู้จักกับพระยาพหลฯและพระยาทรงฯตั้งแต่รับราชการอยู่ที่ร้อยเอ็ด โคราช โดยนับถือทั้งสองเป็นครูเพราะมีความรู้ทางเทคนิควิชาทหารเป็นอย่างดีและตนเองไม่เคยได้ไปศึกษาในต่างประเทศ[[#_ftn3|[3]]] | ||
พระยาฤทธิอัคเนย์ตกลงใจเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพราะมีอุดมการณ์ต้องตรงกันกับพระยาพระหล และพระยาทรงฯ คือต้องการให้มี[[รัฐธรรมนูญ]]ปกครองประเทศ ให้ประชาชนมี[[สิทธิเสรีภาพ]][[#_ftn4|[4]]]และเพื่อจัดการการเงินของประเทศให้อยู่ในดุลยภาพ[[#_ftn5|[5]]] | พระยาฤทธิอัคเนย์ตกลงใจเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพราะมีอุดมการณ์ต้องตรงกันกับพระยาพระหล และพระยาทรงฯ คือต้องการให้มี[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]ปกครองประเทศ ให้ประชาชนมี[[สิทธิเสรีภาพ|สิทธิเสรีภาพ]][[#_ftn4|[4]]]และเพื่อจัดการการเงินของประเทศให้อยู่ในดุลยภาพ[[#_ftn5|[5]]] | ||
ในการวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองเดิมคณะผู้ก่อการวางแผนไว้ว่าจะการยึดอำนาจหลังการ[[สมโภชพระนครครบ_150_ปี]]และ[[ฉลองสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์]] แต่พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงประทับอยู่ในพระนคร เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะต่อสู้ด้วยกำลัง และพระยาฤทธิฯเป็นทหารรักษาพระองค์ต้องปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ก็เลิกกัน[[#_ftn6|[6]]] ซึ่ง[[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]]เห็นด้วยกับพระยาฤทธิฯ จึงทำให้การก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อันเป็นห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่[[พระราชวังไกลกังวล]][[#_ftn7|[7]]] | ในการวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองเดิมคณะผู้ก่อการวางแผนไว้ว่าจะการยึดอำนาจหลังการ[[สมโภชพระนครครบ_150_ปี|สมโภชพระนครครบ_150_ปี]]และ[[ฉลองสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์|ฉลองสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์]] แต่พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงประทับอยู่ในพระนคร เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะต่อสู้ด้วยกำลัง และพระยาฤทธิฯเป็นทหารรักษาพระองค์ต้องปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ก็เลิกกัน[[#_ftn6|[6]]] ซึ่ง[[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม|หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]]เห็นด้วยกับพระยาฤทธิฯ จึงทำให้การก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อันเป็นห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่[[พระราชวังไกลกังวล|พระราชวังไกลกังวล]][[#_ftn7|[7]]] | ||
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นกำลังหลักของ[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]ในการยึดอำนาจการปกครอง โดยเป็นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารอันประกอบด้วย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์[[#_ftn8|[8]]] | วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นกำลังหลักของ[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]ในการยึดอำนาจการปกครอง โดยเป็นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารอันประกอบด้วย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์[[#_ftn8|[8]]] | ||
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังจาก[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475]] ประกาศใช้ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้แทนราษฎรชั่วคราว]]จากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวซึ่งมีจำนวน 70 นาย[[#_ftn9|[9]]] ในวันดังกล่าวได้มี[[การประชุมสภาผู้แทนราษฎร]]ครั้งแรก และที่ประชุมได้เลือกมหาอำมาตย์โท [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] (ก้อน หุตะสิงห์) เป็น[[ประธานคณะกรรมการราษฎร]] (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น[[นายกรัฐมนตรี]]) และได้เสนอชื่อ[[คณะกรรมการราษฎร]]ให้สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติจำนาน 14 คน โดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร[[#_ftn10|[10]]] | วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังจาก[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475|พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475]] ประกาศใช้ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้แทนราษฎรชั่วคราว|ผู้แทนราษฎรชั่วคราว]]จากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวซึ่งมีจำนวน 70 นาย[[#_ftn9|[9]]] ในวันดังกล่าวได้มี[[การประชุมสภาผู้แทนราษฎร|การประชุมสภาผู้แทนราษฎร]]ครั้งแรก และที่ประชุมได้เลือกมหาอำมาตย์โท [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา|พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] (ก้อน หุตะสิงห์) เป็น[[ประธานคณะกรรมการราษฎร|ประธานคณะกรรมการราษฎร]] (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]) และได้เสนอชื่อ[[คณะกรรมการราษฎร|คณะกรรมการราษฎร]]ให้สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติจำนาน 14 คน โดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร[[#_ftn10|[10]]] | ||
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2475 หลังการปรับปรุงกองทัพบกสยาม ภายใต้โครงสร้างใหม่ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ พระประศาสน์พิทยายุทธ เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และพระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ [[#_ftn11|[11]]] | วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2475 หลังการปรับปรุงกองทัพบกสยาม ภายใต้โครงสร้างใหม่ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ พระประศาสน์พิทยายุทธ เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และพระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ [[#_ftn11|[11]]] | ||
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม_พ.ศ._2475]] ประกาศใช้ ได้มีการแต่งตั้งให้พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นรัฐมนตรี[[#_ftn12|[12]]] | วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม_พ.ศ._2475|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475]] ประกาศใช้ ได้มีการแต่งตั้งให้พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นรัฐมนตรี[[#_ftn12|[12]]] | ||
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 [[หลวงประดิษฐมนูธรรม]]([[ปรีดี_พนมยงค์]]) ได้เสนอเอกสาร “[[เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ]]” โดยมีเนื้อหา 3 ส่วนคือ ส่วนแรกว่าด้วยเค้าโครงการเศรษฐกิจ ส่วนที่สองเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร (Assurance Sociale) และส่วนที่สามเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ พุทธศักราช....[[#_ftn13|[13]]]พระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นผู้คัดค้านเค้าโครงการเศรษฐกิจ โดยให้ความเห็นกับหลวงประดิษฐ์ฯว่า แผนการอาจารย์จะเอาออกใช้ไม่ได้ ไม่มีใครเห็นด้วย[[#_ftn14|[14]]] | เดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 [[หลวงประดิษฐมนูธรรม|หลวงประดิษฐมนูธรรม]]([[ปรีดี_พนมยงค์|ปรีดี พนมยงค์]]) ได้เสนอเอกสาร “[[เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ|เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ]]” โดยมีเนื้อหา 3 ส่วนคือ ส่วนแรกว่าด้วยเค้าโครงการเศรษฐกิจ ส่วนที่สองเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร (Assurance Sociale) และส่วนที่สามเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ พุทธศักราช....[[#_ftn13|[13]]]พระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นผู้คัดค้านเค้าโครงการเศรษฐกิจ โดยให้ความเห็นกับหลวงประดิษฐ์ฯว่า แผนการอาจารย์จะเอาออกใช้ไม่ได้ ไม่มีใครเห็นด้วย[[#_ftn14|[14]]] | ||
วิกฤติการณ์ทางการเมืองเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 เมื่อมี[[พระราชกฤษฎีกา]]ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]]ชุดใหม่ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[[#_ftn15|[15]]] ต่อมาพระยาทรงสุรเดชได้เสนอแนวคิดให้ [[4_ทหารเสือ]]ลาออกจากทุกตำแหน่งโดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้สนับสนุนแนวความคิดนี้ จึงได้ยื่นยื่นใบลาออกในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2476 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งการเมืองและการทหาร มีผลในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2476[[#_ftn16|[16]]] | วิกฤติการณ์ทางการเมืองเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 เมื่อมี[[พระราชกฤษฎีกา|พระราชกฤษฎีกา]]ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้ง[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ชุดใหม่ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[[#_ftn15|[15]]] ต่อมาพระยาทรงสุรเดชได้เสนอแนวคิดให้ [[4_ทหารเสือ|4 ทหารเสือ]]ลาออกจากทุกตำแหน่งโดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้สนับสนุนแนวความคิดนี้ จึงได้ยื่นยื่นใบลาออกในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2476 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งการเมืองและการทหาร มีผลในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2476[[#_ftn16|[16]]] | ||
แต่ก่อนที่การลาออกจะมีผล พระยาพหลพลพยุหเสนาได้มีแนวคิดจะก่อการ[[รัฐประหาร]]โดยได้ชวนพระยาฤทธิอัคเนย์เข้าร่วมด้วยแต่พระยาฤทธิฯไม่เห็นด้วยกับวิธีการยึดอำนาจ โดยอาสาไปพูดกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาให้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อพระยาพหลฯยืนยันที่จะทำรัฐประหาร พระยาฤทธิฯประกาศไม่เข้าร่วม [[#_ftn17|[17]]] วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาทำการรัฐประหาร คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ไม่มีชื่อของพระยาฤทธิอัคเนย์ และให้พระยาฤทธิฯ ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2476 [[#_ftn18|[18]]] | แต่ก่อนที่การลาออกจะมีผล พระยาพหลพลพยุหเสนาได้มีแนวคิดจะก่อการ[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]]โดยได้ชวนพระยาฤทธิอัคเนย์เข้าร่วมด้วยแต่พระยาฤทธิฯไม่เห็นด้วยกับวิธีการยึดอำนาจ โดยอาสาไปพูดกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาให้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อพระยาพหลฯยืนยันที่จะทำรัฐประหาร พระยาฤทธิฯประกาศไม่เข้าร่วม [[#_ftn17|[17]]] วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาทำการรัฐประหาร คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ไม่มีชื่อของพระยาฤทธิอัคเนย์ และให้พระยาฤทธิฯ ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2476 [[#_ftn18|[18]]] | ||
ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 ก่อนเกิดเหตุการณ์[[กบฏบวรเดช]] [[พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล]] ผู้บังคับกองพลทหารราบและรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อม[[หลวงชำนาญยุทธศิลป์]] [[หลวงรณสิทธิพิชัย]] ได้มาหารือกับพระยาฤทธิฯที่บ้านริมคลองบางกอกน้อยเพื่อหาทางให้พระยาทรงสุรเดชที่ลาออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก แต่ในเวลานั้นตำแหน่งนี้หลวงพิบูลสงครามดำรงตำแหน่งอยู่ โดยก่อนที่พระยาทรงฯจะออกเดินทางไปต่างประเทศได้สั่งนายทหารที่เป็นคนสนิทและลูกศิษย์ว่าถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรให้มาปรึกษาพระยาฤทธิฯ ซึ่งการพบกันในครั้งนั้นต่อมาเมื่อรัฐบาล[[จอมพล_ป.พิบูลสงคราม]]ได้ตั้ง ศาลพิเศษพ.ศ.2481 ได้กล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ทหารหัวเมืองที่กำลังยกเข้ามาในกบฏบวรเดช โดยพระยาฤทธิ์ฯได้ให้การว่าขณะนั้นท่านเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม นายทหารเหล่านี้ไปหาท่าน โดยไม่เคยมีใครเป็นลูกศิษย์และไม่มีใครที่คุ้นเคยนอกจากพระสิทธิเรืองเดชพล จะไปชวนคิด[[กบฏ]]ได้อย่างไร[[#_ftn19|[19]]] | ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 ก่อนเกิดเหตุการณ์[[กบฏบวรเดช|กบฏบวรเดช]] [[พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล|พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล]] ผู้บังคับกองพลทหารราบและรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อม[[หลวงชำนาญยุทธศิลป์|หลวงชำนาญยุทธศิลป์]] [[หลวงรณสิทธิพิชัย|หลวงรณสิทธิพิชัย]] ได้มาหารือกับพระยาฤทธิฯที่บ้านริมคลองบางกอกน้อยเพื่อหาทางให้พระยาทรงสุรเดชที่ลาออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก แต่ในเวลานั้นตำแหน่งนี้หลวงพิบูลสงครามดำรงตำแหน่งอยู่ โดยก่อนที่พระยาทรงฯจะออกเดินทางไปต่างประเทศได้สั่งนายทหารที่เป็นคนสนิทและลูกศิษย์ว่าถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรให้มาปรึกษาพระยาฤทธิฯ ซึ่งการพบกันในครั้งนั้นต่อมาเมื่อรัฐบาล[[จอมพล_ป.พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]]ได้ตั้ง ศาลพิเศษพ.ศ.2481 ได้กล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ทหารหัวเมืองที่กำลังยกเข้ามาในกบฏบวรเดช โดยพระยาฤทธิ์ฯได้ให้การว่าขณะนั้นท่านเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม นายทหารเหล่านี้ไปหาท่าน โดยไม่เคยมีใครเป็นลูกศิษย์และไม่มีใครที่คุ้นเคยนอกจากพระสิทธิเรืองเดชพล จะไปชวนคิด[[กบฏ|กบฏ]]ได้อย่างไร[[#_ftn19|[19]]] | ||
ในระหว่างเกิดกบฏบวรเดช เดือนตุลาคม พ.ศ.2476 พระยาฤทธิฯ มิได้มีบทบาทสำคัญในการปราบกบฏ ภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ.2477 พระยาฤทธิฯได้ถูกย้ายจากตำแหน่ง[[ปลัดทูลฉลอง]]กระทรวงกลาโหมมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ2478 พระยาฤทธิฯ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br/> เกษตราธิการ[[#_ftn20|[20]]] | ในระหว่างเกิดกบฏบวรเดช เดือนตุลาคม พ.ศ.2476 พระยาฤทธิฯ มิได้มีบทบาทสำคัญในการปราบกบฏ ภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ.2477 พระยาฤทธิฯได้ถูกย้ายจากตำแหน่ง[[ปลัดทูลฉลอง|ปลัดทูลฉลอง]]กระทรวงกลาโหมมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ2478 พระยาฤทธิฯ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br/> เกษตราธิการ[[#_ftn20|[20]]] | ||
พ.ศ.2480 พระยาฤทธิอัคเนย์ และรัฐมนตรีอีกหลายท่าน เช่น นาย[[วิลาศ_โอสถานนท์]] [[หลวงนิเทศกลการ]] [[หลวงชำนาญนิติเกษตร]]ได้ซื้อที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ โดยปรากฏชื่อพระยาฤทธิฯเป็นรายแรกที่ซื้อที่ดินในอำเภอบางรัก 3 แปลง นาย[[เลียง_ไชยกาล]]และคณะได้เสนอ[[ญัตติ]]ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีผลให้[[ประธานคณะผู้สำเร็จราชการ]]แทนพระองค์และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2480 เมื่อมีการแต่งตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]]ชุดใหม่ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2480 ไม่ปรากฏชื่อพระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นรัฐมนตรี[[#_ftn21|[21]]] | พ.ศ.2480 พระยาฤทธิอัคเนย์ และรัฐมนตรีอีกหลายท่าน เช่น นาย[[วิลาศ_โอสถานนท์|วิลาศ โอสถานนท์]] [[หลวงนิเทศกลการ|หลวงนิเทศกลการ]] [[หลวงชำนาญนิติเกษตร|หลวงชำนาญนิติเกษตร]]ได้ซื้อที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ โดยปรากฏชื่อพระยาฤทธิฯเป็นรายแรกที่ซื้อที่ดินในอำเภอบางรัก 3 แปลง นาย[[เลียง_ไชยกาล|เลียง ไชยกาล]]และคณะได้เสนอ[[ญัตติ|ญัตติ]]ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีผลให้[[ประธานคณะผู้สำเร็จราชการ|ประธานคณะผู้สำเร็จราชการ]]แทนพระองค์และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2480 เมื่อมีการแต่งตั้ง[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ชุดใหม่ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2480 ไม่ปรากฏชื่อพระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นรัฐมนตรี[[#_ftn21|[21]]] | ||
ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีการขายที่ดินพระคลังข้างที่ ผลการสอบสวนปรากฏว่าพระยาฤทธิอัคเนย์พ้นจากข้อกล่าวหา ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2480 พระยาฤทธิฯได้รับการแต่งตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่_2]] และวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการอีกครั้งหนึ่ง[[#_ftn22|[22]]] | ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีการขายที่ดินพระคลังข้างที่ ผลการสอบสวนปรากฏว่าพระยาฤทธิอัคเนย์พ้นจากข้อกล่าวหา ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2480 พระยาฤทธิฯได้รับการแต่งตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่_2|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่_2]] และวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการอีกครั้งหนึ่ง[[#_ftn22|[22]]] | ||
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2481 ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขระเบียบข้อบังคับระเบียบการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงมติปรากฏว่าฝ่ายรัฐบาลแพ้ด้วยคะแนนเสียง 31 ต่อ 45 คะแนน[[#_ftn23|[23]]] รัฐบาลจึงออก[[พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร]]ในวันที่ | วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2481 ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขระเบียบข้อบังคับระเบียบการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงมติปรากฏว่าฝ่ายรัฐบาลแพ้ด้วยคะแนนเสียง 31 ต่อ 45 คะแนน[[#_ftn23|[23]]] รัฐบาลจึงออก[[พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร|พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร]]ในวันที่ [[11_กันยายน_พ.ศ._2481]][[#_ftn24|[24]]] | ||
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2481 ระหว่างที่พระยาฤทธิอัคเนย์กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กระทรวงเกษตราธิการ พันตำรวจเอก[[ขุนศรีศรากร]] ([[ชลอ_ศรีธนากร]]) ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและ[[พันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์_ชีพ]]เป็นสุขได้เข้าพบกับพระยาฤทธิฯพร้อมกับแจ้งว่า พระยาพหลพลพยุหเสนาขอเชิญไปประชุมที่[[วังปารุสกวัน]] เมื่อพระยาฤทธิฯเดินทางไปถึงได้มีผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองรออยู่หลายท่าน เช่น หลวงประดิษฐมนูธรรม หลวงพิบูลสงคราม [[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] ฯลฯ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หลวงพิบูลฯเป็นผู้เจรจากับพระยาฤทธิฯ โดยกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับกบฎบวรเดช รวมถึงมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏบวรเดชได้กลับเข้ารับราชการ และกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯร่วมคิดกับพระยาทรงสุรเดชเพื่อวางแผนร่วมล้มรัฐบาล ที่ประชุมได้เสนอทางเลือกให้พระยาฤทธิฯ 2 ประการ คือการลาออกจากราชการแล้วออกเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ยอมให้ศาลพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่พนักงานอัยการศาลพิเศษเป็นโจทก์ฟ้องกล่าวหา[[#_ftn25|[25]]] | วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2481 ระหว่างที่พระยาฤทธิอัคเนย์กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กระทรวงเกษตราธิการ พันตำรวจเอก[[ขุนศรีศรากร|ขุนศรีศรากร]] ([[ชลอ_ศรีธนากร|ชลอ ศรีธนากร]]) ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและ[[พันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์_ชีพ|พันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์_ชีพ]]เป็นสุขได้เข้าพบกับพระยาฤทธิฯพร้อมกับแจ้งว่า พระยาพหลพลพยุหเสนาขอเชิญไปประชุมที่[[วังปารุสกวัน|วังปารุสกวัน]] เมื่อพระยาฤทธิฯเดินทางไปถึงได้มีผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองรออยู่หลายท่าน เช่น หลวงประดิษฐมนูธรรม หลวงพิบูลสงคราม [[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์|หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] ฯลฯ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หลวงพิบูลฯเป็นผู้เจรจากับพระยาฤทธิฯ โดยกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับกบฎบวรเดช รวมถึงมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏบวรเดชได้กลับเข้ารับราชการ และกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯร่วมคิดกับพระยาทรงสุรเดชเพื่อวางแผนร่วมล้มรัฐบาล ที่ประชุมได้เสนอทางเลือกให้พระยาฤทธิฯ 2 ประการ คือการลาออกจากราชการแล้วออกเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ยอมให้ศาลพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่พนักงานอัยการศาลพิเศษเป็นโจทก์ฟ้องกล่าวหา[[#_ftn25|[25]]] | ||
พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการและออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังปีนังในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2481 แต่ในระหว่างที่พระยาฤทธิฯลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ปีนังก็ได้มีประกาศจับพระยาฤทธิฯผู้ต้องหากระทำผิดฐานกบฎ โดยตั้งรางวัลสินบนนำจับ 10,000 บาท<br/> พระยาฤทธิฯลี้ภัยอยู่ที่ปีนังได้ 2 ปีก็ต้องเดินทางไปลี้ภัยที่สิงคโปร์เพราะทางการอังกฤษไม่ไว้ใจท่าทีของรัฐบาลไทยที่มีนโยบายเอนเอียงที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่น ทำให้อพยพคนไทยทั้งหมดออกจากปีนัง | พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการและออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังปีนังในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2481 แต่ในระหว่างที่พระยาฤทธิฯลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ปีนังก็ได้มีประกาศจับพระยาฤทธิฯผู้ต้องหากระทำผิดฐานกบฎ โดยตั้งรางวัลสินบนนำจับ 10,000 บาท<br/> พระยาฤทธิฯลี้ภัยอยู่ที่ปีนังได้ 2 ปีก็ต้องเดินทางไปลี้ภัยที่สิงคโปร์เพราะทางการอังกฤษไม่ไว้ใจท่าทีของรัฐบาลไทยที่มีนโยบายเอนเอียงที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่น ทำให้อพยพคนไทยทั้งหมดออกจากปีนัง | ||
ในระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งโดยนาย[[ควง_อภัยวงศ์]]ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2487 และในวาระวันเฉลิมพระชนม์พรรษา[[พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] รัฐบาลได้ออก[[พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ_พ.ศ.2487]] ซึ่งได้รวมคดีเกี่ยวกับกบฏไว้ด้วย ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2487 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้างมลทินผู้กระทำผิดทางการเมือง ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 พระยาฤทธิฯได้เดินทางกลับประเทศไทย | ในระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง|สงครามโลกครั้งที่สอง]] รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งโดยนาย[[ควง_อภัยวงศ์|ควง_อภัยวงศ์]]ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2487 และในวาระวันเฉลิมพระชนม์พรรษา[[พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล|พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] รัฐบาลได้ออก[[พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ_พ.ศ.2487|พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2487]] ซึ่งได้รวมคดีเกี่ยวกับกบฏไว้ด้วย ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2487 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้างมลทินผู้กระทำผิดทางการเมือง ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 พระยาฤทธิฯได้เดินทางกลับประเทศไทย | ||
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ดำรงตำแหน่ง[[วุฒิสมาชิก]]อันเป็นตำแหน่งทางการเมืองตำแหน่งสุดท้าย โดยดำรงตำแหน่งถึงวันที่ | 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ดำรงตำแหน่ง[[วุฒิสมาชิก|วุฒิสมาชิก]]อันเป็นตำแหน่งทางการเมืองตำแหน่งสุดท้าย โดยดำรงตำแหน่งถึงวันที่ [[29_พฤศจิกายน_พ.ศ._2494]] หลังจากนั้นไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดอีก | ||
พระยาฤทธิอัคเนย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 77 ปี | พระยาฤทธิอัคเนย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 77 ปี |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:40, 6 พฤษภาคม 2563
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พระยาฤทธิอัคเนย์
พันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ซึ่งเป็นเพียงผู้เดียวในกลุ่มแกนนำผู้ก่อการที่มีกำลังทหารในมือ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ในทางการเมืองเคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการราษฎร รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ประวัติส่วนบุคคล
พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่านายสละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) [1]และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก
พระยาฤทธิอัคเนย์ได้สมรสกับคุณหญิงอินเมื่อ พ.ศ.2455 มีบุตรธิดา 7 คน พระยาฤทธิฯถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2509 รวมอายุได้ 77 ปี[2]
เหตุการณ์สำคัญ
พระยาฤทธิอัคเนย์เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อยในพ.ศ. 2451 ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์ และย้ายไปรับตำแหน่งในกรมทหารปืนใหญ่ในจังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ดจนถึงพ.ศ.2474 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พระยาฤทธิฯได้รับการทาบทามจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาและพันเอกพระยาทรงสุรเดชให้เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยาฤทธิฯได้อธิบายว่ารู้จักกับพระยาพหลฯและพระยาทรงฯตั้งแต่รับราชการอยู่ที่ร้อยเอ็ด โคราช โดยนับถือทั้งสองเป็นครูเพราะมีความรู้ทางเทคนิควิชาทหารเป็นอย่างดีและตนเองไม่เคยได้ไปศึกษาในต่างประเทศ[3]
พระยาฤทธิอัคเนย์ตกลงใจเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพราะมีอุดมการณ์ต้องตรงกันกับพระยาพระหล และพระยาทรงฯ คือต้องการให้มีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ[4]และเพื่อจัดการการเงินของประเทศให้อยู่ในดุลยภาพ[5]
ในการวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองเดิมคณะผู้ก่อการวางแผนไว้ว่าจะการยึดอำนาจหลังการสมโภชพระนครครบ_150_ปีและฉลองสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ แต่พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ในพระนคร เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะต่อสู้ด้วยกำลัง และพระยาฤทธิฯเป็นทหารรักษาพระองค์ต้องปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ตกลงตามนี้ก็เลิกกัน[6] ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเห็นด้วยกับพระยาฤทธิฯ จึงทำให้การก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อันเป็นห้วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล[7]
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นกำลังหลักของคณะราษฎรในการยึดอำนาจการปกครอง โดยเป็นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารอันประกอบด้วย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์[8]
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังจากพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ประกาศใช้ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนราษฎรชั่วคราวจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวซึ่งมีจำนวน 70 นาย[9] ในวันดังกล่าวได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก และที่ประชุมได้เลือกมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี) และได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรให้สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติจำนาน 14 คน โดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร[10]
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2475 หลังการปรับปรุงกองทัพบกสยาม ภายใต้โครงสร้างใหม่ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ พระประศาสน์พิทยายุทธ เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก และพระยาฤทธิอัคเนย์เป็นผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ [11]
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ประกาศใช้ ได้มีการแต่งตั้งให้พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นรัฐมนตรี[12]
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ได้เสนอเอกสาร “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” โดยมีเนื้อหา 3 ส่วนคือ ส่วนแรกว่าด้วยเค้าโครงการเศรษฐกิจ ส่วนที่สองเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร (Assurance Sociale) และส่วนที่สามเค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ พุทธศักราช....[13]พระยาฤทธิอัคเนย์ได้เป็นผู้คัดค้านเค้าโครงการเศรษฐกิจ โดยให้ความเห็นกับหลวงประดิษฐ์ฯว่า แผนการอาจารย์จะเอาออกใช้ไม่ได้ ไม่มีใครเห็นด้วย[14]
วิกฤติการณ์ทางการเมืองเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พระยาฤทธิอัคเนย์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[15] ต่อมาพระยาทรงสุรเดชได้เสนอแนวคิดให้ 4 ทหารเสือลาออกจากทุกตำแหน่งโดยพระยาฤทธิอัคเนย์ได้สนับสนุนแนวความคิดนี้ จึงได้ยื่นยื่นใบลาออกในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2476 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งการเมืองและการทหาร มีผลในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2476[16]
แต่ก่อนที่การลาออกจะมีผล พระยาพหลพลพยุหเสนาได้มีแนวคิดจะก่อการรัฐประหารโดยได้ชวนพระยาฤทธิอัคเนย์เข้าร่วมด้วยแต่พระยาฤทธิฯไม่เห็นด้วยกับวิธีการยึดอำนาจ โดยอาสาไปพูดกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาให้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อพระยาพหลฯยืนยันที่จะทำรัฐประหาร พระยาฤทธิฯประกาศไม่เข้าร่วม [17] วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 พระยาพหลพลพยุหเสนาทำการรัฐประหาร คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ไม่มีชื่อของพระยาฤทธิอัคเนย์ และให้พระยาฤทธิฯ ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2476 [18]
ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 ก่อนเกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดช พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล ผู้บังคับกองพลทหารราบและรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมหลวงชำนาญยุทธศิลป์ หลวงรณสิทธิพิชัย ได้มาหารือกับพระยาฤทธิฯที่บ้านริมคลองบางกอกน้อยเพื่อหาทางให้พระยาทรงสุรเดชที่ลาออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก แต่ในเวลานั้นตำแหน่งนี้หลวงพิบูลสงครามดำรงตำแหน่งอยู่ โดยก่อนที่พระยาทรงฯจะออกเดินทางไปต่างประเทศได้สั่งนายทหารที่เป็นคนสนิทและลูกศิษย์ว่าถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรให้มาปรึกษาพระยาฤทธิฯ ซึ่งการพบกันในครั้งนั้นต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ตั้ง ศาลพิเศษพ.ศ.2481 ได้กล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ทหารหัวเมืองที่กำลังยกเข้ามาในกบฏบวรเดช โดยพระยาฤทธิ์ฯได้ให้การว่าขณะนั้นท่านเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม นายทหารเหล่านี้ไปหาท่าน โดยไม่เคยมีใครเป็นลูกศิษย์และไม่มีใครที่คุ้นเคยนอกจากพระสิทธิเรืองเดชพล จะไปชวนคิดกบฏได้อย่างไร[19]
ในระหว่างเกิดกบฏบวรเดช เดือนตุลาคม พ.ศ.2476 พระยาฤทธิฯ มิได้มีบทบาทสำคัญในการปราบกบฏ ภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ.2477 พระยาฤทธิฯได้ถูกย้ายจากตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหมมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ2478 พระยาฤทธิฯ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เกษตราธิการ[20]
พ.ศ.2480 พระยาฤทธิอัคเนย์ และรัฐมนตรีอีกหลายท่าน เช่น นายวิลาศ โอสถานนท์ หลวงนิเทศกลการ หลวงชำนาญนิติเกษตรได้ซื้อที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ โดยปรากฏชื่อพระยาฤทธิฯเป็นรายแรกที่ซื้อที่ดินในอำเภอบางรัก 3 แปลง นายเลียง ไชยกาลและคณะได้เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีผลให้ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2480 เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2480 ไม่ปรากฏชื่อพระยาฤทธิอัคเนย์ เป็นรัฐมนตรี[21]
ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีการขายที่ดินพระคลังข้างที่ ผลการสอบสวนปรากฏว่าพระยาฤทธิอัคเนย์พ้นจากข้อกล่าวหา ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2480 พระยาฤทธิฯได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่_2 และวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการอีกครั้งหนึ่ง[22]
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2481 ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขระเบียบข้อบังคับระเบียบการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงมติปรากฏว่าฝ่ายรัฐบาลแพ้ด้วยคะแนนเสียง 31 ต่อ 45 คะแนน[23] รัฐบาลจึงออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 11_กันยายน_พ.ศ._2481[24]
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2481 ระหว่างที่พระยาฤทธิอัคเนย์กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กระทรวงเกษตราธิการ พันตำรวจเอกขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีธนากร) ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและพันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์_ชีพเป็นสุขได้เข้าพบกับพระยาฤทธิฯพร้อมกับแจ้งว่า พระยาพหลพลพยุหเสนาขอเชิญไปประชุมที่วังปารุสกวัน เมื่อพระยาฤทธิฯเดินทางไปถึงได้มีผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองรออยู่หลายท่าน เช่น หลวงประดิษฐมนูธรรม หลวงพิบูลสงคราม หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ฯลฯ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หลวงพิบูลฯเป็นผู้เจรจากับพระยาฤทธิฯ โดยกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับกบฎบวรเดช รวมถึงมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏบวรเดชได้กลับเข้ารับราชการ และกล่าวหาว่าพระยาฤทธิฯร่วมคิดกับพระยาทรงสุรเดชเพื่อวางแผนร่วมล้มรัฐบาล ที่ประชุมได้เสนอทางเลือกให้พระยาฤทธิฯ 2 ประการ คือการลาออกจากราชการแล้วออกเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ยอมให้ศาลพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่พนักงานอัยการศาลพิเศษเป็นโจทก์ฟ้องกล่าวหา[25]
พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการและออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังปีนังในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2481 แต่ในระหว่างที่พระยาฤทธิฯลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ปีนังก็ได้มีประกาศจับพระยาฤทธิฯผู้ต้องหากระทำผิดฐานกบฎ โดยตั้งรางวัลสินบนนำจับ 10,000 บาท
พระยาฤทธิฯลี้ภัยอยู่ที่ปีนังได้ 2 ปีก็ต้องเดินทางไปลี้ภัยที่สิงคโปร์เพราะทางการอังกฤษไม่ไว้ใจท่าทีของรัฐบาลไทยที่มีนโยบายเอนเอียงที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่น ทำให้อพยพคนไทยทั้งหมดออกจากปีนัง
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งโดยนายควง_อภัยวงศ์ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2487 และในวาระวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2487 ซึ่งได้รวมคดีเกี่ยวกับกบฏไว้ด้วย ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2487 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติล้างมลทินผู้กระทำผิดทางการเมือง ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 พระยาฤทธิฯได้เดินทางกลับประเทศไทย
18 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกอันเป็นตำแหน่งทางการเมืองตำแหน่งสุดท้าย โดยดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 29_พฤศจิกายน_พ.ศ._2494 หลังจากนั้นไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดอีก
พระยาฤทธิอัคเนย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 77 ปี
หนังสือแนะนำ
เสทื้อน ศุภโสภณ.(2514).ชีวิตทางการเมืองของพ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วัชรินทร์.
นรนิติ เศรษฐบุตร.(2555). วันการเมือง.กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
บรรณานุกรม
เสทื้อน ศุภโสภณ,ชีวิตทางการเมืองของพ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์,(กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วัชรินทร์,2514),หน้า 507.
นรนิติ เศรษฐบุตร, วันการเมือง, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2555), หน้า 159.
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์). เค้าโครงการเศรษฐกิจ. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2542) หน้า 4.
[1] สืบสายเชื้อสายจากตระกูลอมาตยกุล
[2] เสทื้อน ศุภโสภณ,ชีวิตทางการเมืองของพ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์,(กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วัชรินทร์,2514),หน้า 507.
[3] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 2-3.
[4] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 7.
[5] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 187.
[6] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 15-17.
[7] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 18.
[8] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 44.
[9] นรนิติ เศรษฐบุตร, วันการเมือง, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2555), หน้า 159.
[10] นรนิติ เศรษฐบุตร, หน้า 163.
[11] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 108-109.
[12] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 122.
[13] หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์). เค้าโครงการเศรษฐกิจ. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, 2542) หน้า 4.
[14] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 127.
[15] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 146.
[16] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 169-172.
[17] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 191-192.
[18] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 210-212.
[19] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 211.
[20] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 236.
[21] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 276-326.
[22] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 336.
[23] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 352.
[24] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 367.
[25] เสทื้อน ศุภโสภณ,หน้า 386.