ผลต่างระหว่างรุ่นของ "1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นวันที่มี[[การยุบสภา]]ผู้แทนราษฎร โดย[[นายกรัฐมนตรี]] [[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] เป็นผู้เสนอให้ออก[[พระราชกฤษฎีกายุบสภา]] | ||
เดือนพฤษภาคมนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองไทยในอดีตที่จะนำมาเล่าขาน เรื่องในอดีตเมื่อผ่านไปแล้วก็อาจลืมกันไป ฟื้นความหลังมาคุยนั้นดี คุยพลาดไปผู้รู้รายอื่นจะได้มาเติมมาแก้ให้ความจริงปรากฏ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | เดือนพฤษภาคมนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองไทยในอดีตที่จะนำมาเล่าขาน เรื่องในอดีตเมื่อผ่านไปแล้วก็อาจลืมกันไป ฟื้นความหลังมาคุยนั้นดี คุยพลาดไปผู้รู้รายอื่นจะได้มาเติมมาแก้ให้ความจริงปรากฏ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นั้นเป็นวันกรรมกรที่[[รัฐบาล]]ได้กำหนดกันมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในทางการเมือง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นมากกว่าวันกรรมกรประจำปี เพราะเป็นวันที่มีการยุบ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ตอนนั้นนายกรัฐมนตรีคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกฯ ท่านนี้ใช้การยุบสภาแก้ปัญหาการเมืองมากกว่านายกฯ คนอื่น ๆ ของประเทศ สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่สองของท่าน | ||
ตอนนั้นรัฐบาลเป็น[[รัฐบาลผสม]]ของ[[พรรคการเมือง]]สำคัญคือ[[พรรคกิจสังคม]] [[พรรคประชาธิปัตย์]] [[พรรคประชากรไทย]] และ[[พรรคชาติประชาธิปไตย]] นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาลหลังจาก[[การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526]] | |||
ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่มีนายพลเอกคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยเจอกับการกบฏที่เรียกว่า | ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่มีนายพลเอกคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยเจอกับการกบฏที่เรียกว่า “[[กบฏ 19 กันยา]]” หรือ “[[กบฏไม่มาตามนัด]]” มาแล้ว ในปี พ.ศ. 2528 ส่วน[[พรรคฝ่ายค้าน]]รัฐบาลที่สำคัญคือ [[พรรคชาติไทย]] | ||
เรื่องของเรื่องก็คือ | เรื่องของเรื่องก็คือ ตอนที่[[ปิดสมัยประชุมรัฐสภา]] รัฐบาลได้ออก[[พระราชกำหนด]]มาทั้งสิ้น 9 ฉบับ เป็น[[พระราชกำหนดเกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจ]] เมื่อ[[เปิดประชุมสภา]]ครั้งแรกรัฐบาลก็ต้องนำ พระราชกำหนดดังกล่าวมา[[ขอความเห็นชอบจากสภา]] ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็คงไม่คาดคิดว่าจะเจอปัญหา ที่จริงในช่วงเวลานั้นมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่พอสมควร เพราะหลังการกบฏ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 มาแล้ว ทางคณะทหารกลุ่มหลักที่เคยหนุนรัฐบาลก็ดูจะแยกทางกัน เขาจึงกล่าวกันว่าทหารกลุ่มหนึ่งได้ร่วมมือกับนักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อจะล้มรัฐบาล โดยจะเป็นการล้มรัฐบาลตามวิถีทางของ[[รัฐธรรมนูญ]]เสียด้วย นั่นคือเสียงข้างมากในรัฐสภากลับมาเล่นงานรัฐบาล ถึงขนาดลือกันว่าวางตัวนายกรัฐมนตรีสำรองไว้แล้ว อ้างกันว่าเป็นนักการเมืองชื่อดังไม่ใช่นายทหารใหญ่ | ||
ปรากฏว่าในวันนั้นในสภาผู้แทนราษฎร | ปรากฏว่าในวันนั้นในสภาผู้แทนราษฎร จากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอนุมัติ[[พระราชกำหนด]]ทั้งหลายที่ทางรัฐบาลเตรียมมานำเสนอสภานั้น สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติเฉพาะร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2528 เท่านั้น พอถึงร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับต่อมาที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 ทางสภาผู้แทนราษฎรก็แสดงอำนาจสภาไม่อนุมัติด้วยเสียง 147 ต่อ 143เขาเล่ากันว่าออกเสียงกันถึงขนาดต้องเรียกชื่อลงคะแนนกันเลยทีเดียว | ||
ทั้งนี้ยังมีร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดอีก 7 ฉบับ ที่สภาจะต้องพิจารณา ดูความเป็นไปทางการเมืองในตอนนั้น น่าจะไม่ผ่านอีกหลายฉบับ | ทั้งนี้ยังมีร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดอีก 7 ฉบับ ที่สภาจะต้องพิจารณา ดูความเป็นไปทางการเมืองในตอนนั้น น่าจะไม่ผ่านอีกหลายฉบับ | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
ดังนั้น หลังจากแพ้เสียงในสภาประมาณ 6 ชั่วโมง ตอนดึกของคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นายกรัฐมนตรีจึงเสนอยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยมีคำอธิบายดังนี้ | ดังนั้น หลังจากแพ้เสียงในสภาประมาณ 6 ชั่วโมง ตอนดึกของคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นายกรัฐมนตรีจึงเสนอยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยมีคำอธิบายดังนี้ | ||
“จากการวิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว เห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึงเหตุผลในการตราพระราชกำหนด | “จากการวิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว เห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึงเหตุผลในการตราพระราชกำหนด หากสืบเนื่องมาจากความแตกแยกในพรรคการเมืองบางพรรค หากให้สภาชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]และจะกระทบถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ขึ้นมาใหม่...”ทั้งนี้จากการยุบสภาครั้งนี้ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มิได้ลงเลือกตั้งด้วยนั้น พรรคการเมืองสำคัญในสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ร่วมกันเสนอชื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง | ||
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:46, 22 ตุลาคม 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นวันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้เสนอให้ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภา
เดือนพฤษภาคมนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองไทยในอดีตที่จะนำมาเล่าขาน เรื่องในอดีตเมื่อผ่านไปแล้วก็อาจลืมกันไป ฟื้นความหลังมาคุยนั้นดี คุยพลาดไปผู้รู้รายอื่นจะได้มาเติมมาแก้ให้ความจริงปรากฏ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นั้นเป็นวันกรรมกรที่รัฐบาลได้กำหนดกันมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในทางการเมือง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นมากกว่าวันกรรมกรประจำปี เพราะเป็นวันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตอนนั้นนายกรัฐมนตรีคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกฯ ท่านนี้ใช้การยุบสภาแก้ปัญหาการเมืองมากกว่านายกฯ คนอื่น ๆ ของประเทศ สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่สองของท่าน
ตอนนั้นรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสมของพรรคการเมืองสำคัญคือพรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย และพรรคชาติประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่มีนายพลเอกคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยเจอกับการกบฏที่เรียกว่า “กบฏ 19 กันยา” หรือ “กบฏไม่มาตามนัด” มาแล้ว ในปี พ.ศ. 2528 ส่วนพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลที่สำคัญคือ พรรคชาติไทย
เรื่องของเรื่องก็คือ ตอนที่ปิดสมัยประชุมรัฐสภา รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดมาทั้งสิ้น 9 ฉบับ เป็นพระราชกำหนดเกี่ยวกับการเงินและเศรษฐกิจ เมื่อเปิดประชุมสภาครั้งแรกรัฐบาลก็ต้องนำ พระราชกำหนดดังกล่าวมาขอความเห็นชอบจากสภา ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็คงไม่คาดคิดว่าจะเจอปัญหา ที่จริงในช่วงเวลานั้นมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่พอสมควร เพราะหลังการกบฏ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 มาแล้ว ทางคณะทหารกลุ่มหลักที่เคยหนุนรัฐบาลก็ดูจะแยกทางกัน เขาจึงกล่าวกันว่าทหารกลุ่มหนึ่งได้ร่วมมือกับนักการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อจะล้มรัฐบาล โดยจะเป็นการล้มรัฐบาลตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญเสียด้วย นั่นคือเสียงข้างมากในรัฐสภากลับมาเล่นงานรัฐบาล ถึงขนาดลือกันว่าวางตัวนายกรัฐมนตรีสำรองไว้แล้ว อ้างกันว่าเป็นนักการเมืองชื่อดังไม่ใช่นายทหารใหญ่
ปรากฏว่าในวันนั้นในสภาผู้แทนราษฎร จากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดทั้งหลายที่ทางรัฐบาลเตรียมมานำเสนอสภานั้น สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติเฉพาะร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2528 เท่านั้น พอถึงร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับต่อมาที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 ทางสภาผู้แทนราษฎรก็แสดงอำนาจสภาไม่อนุมัติด้วยเสียง 147 ต่อ 143เขาเล่ากันว่าออกเสียงกันถึงขนาดต้องเรียกชื่อลงคะแนนกันเลยทีเดียว
ทั้งนี้ยังมีร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดอีก 7 ฉบับ ที่สภาจะต้องพิจารณา ดูความเป็นไปทางการเมืองในตอนนั้น น่าจะไม่ผ่านอีกหลายฉบับ
ดังนั้น หลังจากแพ้เสียงในสภาประมาณ 6 ชั่วโมง ตอนดึกของคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 นายกรัฐมนตรีจึงเสนอยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยมีคำอธิบายดังนี้
“จากการวิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว เห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึงเหตุผลในการตราพระราชกำหนด หากสืบเนื่องมาจากความแตกแยกในพรรคการเมืองบางพรรค หากให้สภาชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและจะกระทบถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ขึ้นมาใหม่...”ทั้งนี้จากการยุบสภาครั้งนี้ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มิได้ลงเลือกตั้งด้วยนั้น พรรคการเมืองสำคัญในสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ร่วมกันเสนอชื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง