ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม
'''ผู้เรียบเรียง''' ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม
----


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 7:
----
----


ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นผู้นำในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และควบคุมให้ฝ่ายบริหารดำเนิน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยเรียกพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่นี้ว่า กลุ่มฝ่ายค้าน หรือพรรคฝ่ายค้าน และหากมีกลุ่มฝ่ายค้านประกอบด้วยหลายพรรคการเมือง ก็เรียกว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
'''ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร''' เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใน[[สภาผู้แทนราษฎร]] ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]] มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นผู้นำใน[[การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล]] และควบคุมให้ฝ่ายบริหารดำเนิน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยเรียกพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่นี้ว่า กลุ่มฝ่ายค้าน หรือ[[พรรคฝ่ายค้าน]] และหากมีกลุ่มฝ่ายค้านประกอบด้วยหลายพรรคการเมือง ก็เรียกว่า [[พรรคร่วมฝ่ายค้าน]] ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา


== ความหมาย ==
==ความหมาย==


ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition) เป็นตำแหน่งสำคัญที่[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่นั้นจะต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548, หน้า 608-609.</ref> และหากไม่มีพรรคการเมืองใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงหนึ่งในห้า ก็ให้เลือกหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ใช้วิธีการจับสลากตัดสิน<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 158.</ref>
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition) เป็นตำแหน่งสำคัญที่[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]] และมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่นั้นจะต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548, หน้า 608-609.</ref> และหากไม่มีพรรคการเมืองใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงหนึ่งในห้า ก็ให้เลือกหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ใช้วิธีการ[[จับสลาก]]ตัดสิน<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 158.</ref>


== ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ==
==ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา==


ตามประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน ราษฎรถูกบัญญัติครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 โดยกำหนดว่า “ภายหลังที่[[คณะรัฐมนตรี]]ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร [[พระมหากษัตริย์]]จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]]ในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร”  
ตามประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน ราษฎรถูกบัญญัติครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 โดยกำหนดว่า “ภายหลังที่[[คณะรัฐมนตรี]]ได้รับความไว้วางใจจาก[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[พระมหากษัตริย์]]จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]]ในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร”  


ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน ต่อมาเมื่อมี[[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]]แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 ได้มีแนวคิดว่า หากกำหนดคุณสมบัติของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไว้ว่า ต้องเป็นหัวหน้าพรรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเพียงอย่างเดียว หากในอนาคตไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด อาจเป็นเหตุให้ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงได้บัญญัติแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาว่า “ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น คือ มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน
ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน ต่อมาเมื่อมี[[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]]แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 ได้มีแนวคิดว่า หากกำหนดคุณสมบัติของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไว้ว่า ต้องเป็นหัวหน้าพรรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเพียงอย่างเดียว หากในอนาคตไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด อาจเป็นเหตุให้ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงได้บัญญัติแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาว่า “ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น คือ มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธี[[จับสลาก]]” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน


รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมา บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไว้ดังนี้
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมา บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไว้ดังนี้
บรรทัดที่ 23: บรรทัดที่ 25:
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติในมาตรา 126 ดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติในมาตรา 126 ดังนี้


“มาตรา 126 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 184 แล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  
“มาตรา 126 ภายหลังที่[[คณะรัฐมนตรี]]ได้รับความไว้วางใจจาก[[สภาผู้แทนราษฎร]] ตามมาตรา 184 แล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  


ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  
บรรทัดที่ 79: บรรทัดที่ 81:
“มาตรา 110 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะ ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
“มาตรา 110 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะ ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร


ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก
ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธี[[จับสลาก]]


ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
บรรทัดที่ 85: บรรทัดที่ 87:
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 124 วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 124 วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”


อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีการปรับเปลี่ยนบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านมีเอกภาพและมีความเข้มแข็ง โดยมีหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540<ref>คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 110</ref> ที่เปิดโอกาสให้กรณีที่พรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ก็ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ก็ตาม แต่ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552) ยังไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่มีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีการปรับเปลี่ยนบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านมีเอกภาพและมีความเข้มแข็ง โดยมีหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540<ref>คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 110</ref> ที่เปิดโอกาสให้กรณีที่พรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ก็ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ก็ตาม แต่ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552) ยังไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]] แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่มีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้


'''ค่าตอบแทน'''
'''ค่าตอบแทน'''


สำหรับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531<ref>พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ฉบับพิเศษ ตอนที่ 181 เล่ม 105, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531, หน้า 77-83.</ref> กำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับเงินประจำตำแหน่งกับเงินค่ารับรองเท่ากับรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานวุฒิสภา คือ สามหมื่นหกพันบาท
สำหรับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531<ref>พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ฉบับพิเศษ ตอนที่ 181 เล่ม 105, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531, หน้า 77-83.</ref> กำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับเงินประจำตำแหน่งกับเงินค่ารับรองเท่ากับ[[รองประธานสภาผู้แทนราษฎร]] และ[[รองประธานวุฒิสภา]] คือ สามหมื่นหกพันบาท


== ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร==
== ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร==
บรรทัดที่ 97: บรรทัดที่ 99:
{|
{|
|-
|-
|'''1. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช'''
|'''1. [[เสนีย์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช]]'''
|'''พรรคประชาธิปัตย์'''  
|'''[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]'''  
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|22 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519  
|22 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519  
|-
|-
|'''2. พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร'''
|'''2. [[ประมาณ อดิเรกสาร|พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร]]'''
|'''พรรคชาติไทย'''
|'''[[ชาติไทย|พรรคชาติไทย]]'''
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
บรรทัดที่ 112: บรรทัดที่ 114:
|30 ตุลาคม 2535 - 7 พฤษภาคม 2537
|30 ตุลาคม 2535 - 7 พฤษภาคม 2537
|-
|-
|'''3. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ '''
|'''3. [[ชวลิต ยงใจยุทธ|พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ]]'''
|'''พรรคความหวังใหม่'''
|'''[[ความหวังใหม่|พรรคความหวังใหม่]]'''
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
บรรทัดที่ 127: บรรทัดที่ 129:
|12 พฤษภาคม 2542 - 30 เมษายน 2543
|12 พฤษภาคม 2542 - 30 เมษายน 2543
|-
|-
|'''4. นายบรรหาร ศิลปอาชา'''
|'''4. [[บรรหาร ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]]'''
|'''พรรคชาติไทย'''
|'''[[ชาติไทย|พรรคชาติไทย]]'''
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|27 พฤษภาคม 2537 - 19 พฤษภาคม 2538
|27 พฤษภาคม 2537 - 19 พฤษภาคม 2538
|-
|-
|'''5. นายชวน หลีกภัย '''
|'''5. [[ชวน หลีกภัย |นายชวน หลีกภัย]] '''
|'''พรรคประชาธิปัตย์'''
|'''[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]'''
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
บรรทัดที่ 145: บรรทัดที่ 147:
|11 มีนาคม 2544 - 3 พฤษภาคม 2546
|11 มีนาคม 2544 - 3 พฤษภาคม 2546
|-
|-
|'''6.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน'''
|'''6. [[บัญญัติ บรรทัดฐาน|นายบัญญัติ บรรทัดฐาน]]'''
|'''พรรคประชาธิปัตย์'''
|'''[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]'''
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ
|23 พฤษภาคม 2546 - 5 มกราคม 2548
|23 พฤษภาคม 2546 - 5 มกราคม 2548
|-
|-
|'''7. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ'''  
|'''7. [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]'''  
|'''พรรคประชาธิปัตย์'''  
|'''[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]'''  
|-
|-
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ  
|ดำรงตำแหน่งเมื่อ  
บรรทัดที่ 205: บรรทัดที่ 207:
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนที่ 47 ก เล่ม 124. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนที่ 47 ก เล่ม 124. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550.


 
[[หมวดหมู่:ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]]
[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]
[[หมวดหมู่:ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:19, 7 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นผู้นำในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และควบคุมให้ฝ่ายบริหารดำเนินการบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยเรียกพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่นี้ว่า กลุ่มฝ่ายค้าน หรือพรรคฝ่ายค้าน และหากมีกลุ่มฝ่ายค้านประกอบด้วยหลายพรรคการเมือง ก็เรียกว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

ความหมาย

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition) เป็นตำแหน่งสำคัญที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่สมาชิกในสังกัดของพรรคมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่นั้นจะต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร[1] และหากไม่มีพรรคการเมืองใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงหนึ่งในห้า ก็ให้เลือกหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ใช้วิธีการจับสลากตัดสิน[2]

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา

ตามประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทน ราษฎรถูกบัญญัติครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 โดยกำหนดว่า “ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร”

ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 ได้มีแนวคิดว่า หากกำหนดคุณสมบัติของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไว้ว่า ต้องเป็นหัวหน้าพรรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเพียงอย่างเดียว หากในอนาคตไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด อาจเป็นเหตุให้ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงได้บัญญัติแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาว่า “ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น คือ มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกัน

รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมา บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไว้ดังนี้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517[3]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติในมาตรา 126 ดังนี้

“มาตรา 126 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 184 แล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521[4]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในมาตรา 105 ดังนี้

“มาตรา 105 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่งและให้นำบทบัญญัติมาตรา 109 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534[5]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในมาตรา 116 ดังนี้

“มาตรา 116 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าว ในวรรคหนึ่ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 120 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538[6]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 ได้บัญญัติแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาว่า ถ้าไม่มีพรรคการเมืองใดมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น คือ มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ก็ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ที่มีเสียงมากที่สุด เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในมาตรา 122 ดังนี้

“มาตรา 122 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 126 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[7]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในมาตรา 120 ดังนี้

“มาตรา 120 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 152 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 110 ได้บัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้[8]

“มาตรา 110 ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะ ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เสียงสนับสนุนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก

ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 124 วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีการปรับเปลี่ยนบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านมีเอกภาพและมีความเข้มแข็ง โดยมีหลักการเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[9] ที่เปิดโอกาสให้กรณีที่พรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี มีเสียงสนับสนุนไม่ถึงหนึ่งในห้า ก็ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ก็ตาม แต่ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552) ยังไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่มีคุณสมบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้

ค่าตอบแทน

สำหรับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531[10] กำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับเงินประจำตำแหน่งกับเงินค่ารับรองเท่ากับรองประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานวุฒิสภา คือ สามหมื่นหกพันบาท

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ตามประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 ท่าน ดังนี้

1. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 22 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519
2. พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 พฤษภาคม 2526 - 1 พฤษภาคม 2529
30 ตุลาคม 2535 - 7 พฤษภาคม 2537
3. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ พรรคความหวังใหม่
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 15 พฤษภาคม 2535 - 16 มิถุนายน 2535
26 พฤศจิกายน 2540 - 2 มิถุนายน 2541
2 กันยายน 2541 - 27 เมษายน 2542
12 พฤษภาคม 2542 - 30 เมษายน 2543
4. นายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 27 พฤษภาคม 2537 - 19 พฤษภาคม 2538
5. นายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 4 สิงหาคม 2538 - 27 กันยายน 2539
21 ธันวาคม 2539 - 8 พฤศจิกายน 2540
11 มีนาคม 2544 - 3 พฤษภาคม 2546
6. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 23 พฤษภาคม 2546 - 5 มกราคม 2548
7. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ 23 เมษายน 2548 – 23 กุมภาพันธ์ 2549
27 กุมภาพันธ์ 2551 - 17 ธันวาคม 2551

อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548, หน้า 608-609.
  2. เดโช สวนานนท์, พจนานุกรมศัพท์การเมือง, กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 158.
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 169 เล่ม 91, วันที่ 7 ตุลาคม 2517.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 146 (ฉบับพิเศษ) เล่ม 95, วันที่ 22 ธันวาคม 2521.
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 216 เล่ม 108, วันที่ 9 ธันวาคม 2534, หน้า 1.
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 ก เล่ม 112, วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538, หน้า 1.
  7. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 55 ก เล่ม 114, วันที่ 11 ตุลาคม 2540, หน้า 1.
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 47 ก เล่ม 124, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1.
  9. คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550, หน้า 110
  10. พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ ตอนที่ 181 เล่ม 105, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531, หน้า 77-83.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คณิน บุญสุวรรณ. (2520). ศัพท์รัฐสภา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

เดโช สวนานนท์. (2537). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

นรนิติ เศรษฐบุตร, บรรณาธิการ. (2547). สารานุกรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ ตอนที่ 181 เล่ม 105, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531, หน้า 77-83.

บรรณานุกรม

คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คณิน บุญสุวรรณ. (2520). ศัพท์รัฐสภา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

คณิน บุญสุวรรณ. (2533). ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เดโช สวนานนท์. (2537). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

นรนิติ เศรษฐบุตร, บรรณาธิการ. (2547). สารานุกรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ ตอนที่ 181 เล่ม 105, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 169 เล่ม 91. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 146 (ฉบับพิเศษ) เล่ม 95. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 216 เล่ม 108. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 ก เล่ม 112. วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 55 ก เล่ม 114. วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 47 ก เล่ม 124. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550.