ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จากพรรคคอมมิวนิสต์จีนสยามสู่พรรคคอมมิวนิสต์ไทย"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง'''รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== ก่อนการก่อตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์จีนสยาม” == | == ก่อนการก่อตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์จีนสยาม” == | ||
การเกิดขึ้นของพรรค[[คอมมิวนิสต์ไทย]]มาจากการจัดตั้งของคน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นชาวเวียดนามชาตินิยมที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยและได้อาศัยประเทศไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราช ผู้นำที่สำคัญคือ ดังทักหัว และ หวอตุง โดยมีจังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน ปี พ.ศ. 2472 โฮจิมินห์ ในฐานะตัวแทนองค์กรคอมมิวนิสต์สากลได้เข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 โฮจิมินห์ได้กลายเป็นตัวแทนในการประสานกลุ่มคอมมิวนิสต์จีนและคอมมิวนิสต์เวียดนามในสยามเพื่อร่วมกันจัดตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์]]ขึ้น คนกลุ่มที่ 2 ที่มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทย คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่หลัง[[สนธิสัญญาบาวริง]] พ.ศ. 2398 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2450 ได้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองของชาวจีนในประเทศจีนและส่งผลสะเทือนมาถึงชาวจีนในสยาม ความคิดที่ว่ามี 2 สาย สายแรกคือ [[ลัทธิไตรราษฎร]] ซึ่งเป็นแบบสาธารณรัฐที่นำไปสู่การปฏิวัติในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1911 และส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวชาตินิยมของชาวจีนในสยาม สายที่สองคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) และขยายตัวอย่างรวดเร็ว สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนจำนวนหนึ่งได้เข้ามาขยายการจัดตั้งในสยามและเอเชียอาคเนย์ โดยเป้าหมายในระยะแรกคือจัดตั้งชาวจีนในสยามเพื่อไปปฏิวัติประเทศจีน<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ว่าด้วยบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ใน วารสาร อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2546 – พฤษภาคม 2547, หน้า 154 – 155.</ref> | |||
เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของชาวจีนในสยาม เอกสารทางราชการของสยามระบุว่า ชาวจีนคนแรกๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยาม คือ ทำจีนซำ หรือ ถ่ำจันซาม | เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของชาวจีนในสยาม เอกสารทางราชการของสยามระบุว่า ชาวจีนคนแรกๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยาม คือ ทำจีนซำ หรือ ถ่ำจันซาม ซึ่งเป็นสมาชิก[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]ที่เคยร่วมมืออยู่กับฝ่ายเซียวฮุดเสงและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาจีนชื่อ เคี่ยวเซ็ง (เฉียวเซิงเป้า) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2465 เพื่อเผยแพร่แนวคิดลัทธิไตรราษฎรในหมู่ชาวจีนในสยาม และเป็นหนังสือพิมพ์ทางเลือกอีกฉบับหนึ่ง นอกเหนือจากหนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ ของนายเซียวฮุดเสง เมื่อ ซุนยัตเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งถึงแก่กรรมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2467 พรรคก๊กมินตั๋งในจีนได้แตกออกเป็นปีกขวาและปีกซ้าย ขณะที่ในประเทศสยามก็เกิดความขัดแย้งในลักษณะเดียวกัน เมื่อก๊กมินตั๋งปีกซ้ายในกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการนำของเซียวฮุดเสงและสโมสรจีนกรุงเทพฯ ได้ตั้งกลุ่มก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 หรือ นั้มเม้งเซียงหวย ขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ถ่ำจันซาม เป็นหนึ่งในสมาชิกฝ่ายสาขาที่ 2 ดังนั้น หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ของเขาจึงถูกใช้เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่แนวความคิดของฝ่ายสาขาที่ 2 ด้วย<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 28 ฉบับที่ 6 เมษายน 2550, หน้า 147. </ref> | ||
หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ดำเนินกิจการอยู่ราว 3 ปี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ระหว่างนั้นได้จัดพิมพ์หนังสือเป็นภาษาจีนชื่อ ลัทธินิยมการรุกรานและประเทศจีน มีเนื้อหาที่ประณามการรุกรานจีนของญี่ปุ่นและอังกฤษ | หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ดำเนินกิจการอยู่ราว 3 ปี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ระหว่างนั้นได้จัดพิมพ์หนังสือเป็นภาษาจีนชื่อ ลัทธินิยมการรุกรานและประเทศจีน มีเนื้อหาที่ประณามการรุกรานจีนของญี่ปุ่นและอังกฤษ แสดงการยกย่องสดุ[[ดีระบอบสาธารณรัฐ]]และบอลเชวิกอย่างเปิดเผย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 [[รัฐบาล]]สยามได้สั่งจับกุม ถ่ำจันซาม โดยตั้งข้อหาว่า พยายาม “ยุให้ชาวจีนขึ้งเคียดชาวอังกฤษและชาวญี่ปุ่น” และตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับบอลเชวิก ทางการสยามมีหลักฐานว่า ถ่ำจันซาม และคณะได้เปิดห้องสมุด “ตงฮั้วเกยเจ๋าจือปอเสีย” ซึ่งหมายถึงห้องสมุดสำหรับเปลี่ยนแปลงประเทศจีน และตั้งชมรมศึกษาเพื่อรวบรวมชาวจีนกลุ่มต่างๆ ให้เป็นคณะเดียวกัน โดยมี ตันคงเฮียบ เป็นที่ปรึกษา ถ่ำจันซาม เป็นนายกสมาคม อือกงเยี้ยบ และโคว้เต้าเหยียน เป็นกรรมการ เอกสารของทางการสยามระบุด้วยว่า มีผู้สมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มถ่ำจันซาม ถึง 100 กว่าคน ในตอนแรกรัฐบาลสยามตั้งใจที่จะเนรเทศ ถ่ำจันซาม ออกจากประเทศ แต่ทำไม่ได้เพราะติดที่ว่า ถ่ำจันซาม เป็นคนในบังคับของฮอลันดา แต่ในท้ายที่สุดรัฐบาลสยามก็สามารถเนรเทศ ถ่ำจันซาม ได้สำเร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2469 ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ต้องปิดตัวลงไปด้วย<ref>หจช. ร.7 ม.18/1 </ref > | ||
หลังจาก ถ่ำจันซาม ถูกจับและถูกเนรเทศ สมาชิกคนอื่นๆ ของฝ่ายก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 นำโดย แต้แซ่อิด และ เฮงโป๊ยเซย ได้เข้ามาจัดการโรงพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง แทนและตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ใหม่ชื่อ หลีแซ เพื่อแข่งขันกับ ฮั่วเซียมซินป่อ และยังคงจัดทำห้องสมุดเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองในหมู่ชาวจีนในสยามต่อไป โดยพยายามจัดทำให้รัดกุมยิ่งขึ้น จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2470 เจียงไคเช็ค ผู้นำฝ่ายขวาในพรรคก๊กมินตั๋งของจีนและเป็นแม่ทัพใหญ่ของพรรคก๊กมินตั๋งในการปราบปรามขุนศึกภาคเหนือ ได้ยึดอำนาจภายในพรรค แล้วใช้ข้ออ้าง “ชำระสะสางพรรคก๊กมินตั๋ง” หักหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน โดยทำการกวาดล้างและสังหารหมู่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ ทำให้การเป็นแนวร่วมระหว่าง 2 พรรคยุติลง ในระยะนี้ ในสยาม หนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2470 ของเซียวฮุดเสง ได้เผยแพร่บทความชื่อ “คอมมิวนิสต์เนรคุณร้อยเล่ห์พันเหลี่ยม” โจมตีฝ่ายสาขาที่ 2 ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์และเปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ | หลังจาก ถ่ำจันซาม ถูกจับและถูกเนรเทศ สมาชิกคนอื่นๆ ของฝ่ายก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 นำโดย แต้แซ่อิด และ เฮงโป๊ยเซย ได้เข้ามาจัดการโรงพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง แทนและตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ใหม่ชื่อ หลีแซ เพื่อแข่งขันกับ ฮั่วเซียมซินป่อ และยังคงจัดทำห้องสมุดเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองในหมู่ชาวจีนในสยามต่อไป โดยพยายามจัดทำให้รัดกุมยิ่งขึ้น จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2470 เจียงไคเช็ค ผู้นำฝ่ายขวาในพรรคก๊กมินตั๋งของจีนและเป็นแม่ทัพใหญ่ของพรรคก๊กมินตั๋งในการปราบปรามขุนศึกภาคเหนือ ได้ยึดอำนาจภายในพรรค แล้วใช้ข้ออ้าง “ชำระสะสางพรรคก๊กมินตั๋ง” หักหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน โดยทำการกวาดล้างและสังหารหมู่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ ทำให้การเป็นแนวร่วมระหว่าง 2 พรรคยุติลง ในระยะนี้ ในสยาม หนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2470 ของเซียวฮุดเสง ได้เผยแพร่บทความชื่อ “คอมมิวนิสต์เนรคุณร้อยเล่ห์พันเหลี่ยม” โจมตีฝ่ายสาขาที่ 2 ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์และเปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ | ||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 21: | ||
|}} | |}} | ||
รายชื่อที่ถูกเปิดเผยทั้งหมดนี้เป็นรายชื่อของผู้นำชาวจีนฝ่ายที่เป็นศัตรูกับเซียวฮุดเสงทั้งหมด ซึ่งไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่า จะเป็นฝ่ายคอมมิวนสิต์จริงหรือไม่ การเปิดเผยรายชื่อเช่นนี้ถือได้ว่ามีเป้าหมายเพื่อที่จะทำลายองค์กรโดยตรง เพราะสมาคมก๊กมินตั๋งในสยามนั้น ไม่ได้เป็นสมาคมที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และไม่ได้รัการรับรองจากรัฐบาลสยาม | รายชื่อที่ถูกเปิดเผยทั้งหมดนี้เป็นรายชื่อของผู้นำชาวจีนฝ่ายที่เป็นศัตรูกับเซียวฮุดเสงทั้งหมด ซึ่งไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่า จะเป็นฝ่ายคอมมิวนสิต์จริงหรือไม่ การเปิดเผยรายชื่อเช่นนี้ถือได้ว่ามีเป้าหมายเพื่อที่จะทำลายองค์กรโดยตรง เพราะสมาคมก๊กมินตั๋งในสยามนั้น ไม่ได้เป็นสมาคมที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และไม่ได้รัการรับรองจากรัฐบาลสยาม เนื่องจากการที่พรรคก๊กมินตั๋งในจีนมีเป้าหมายทางการเมืองเป็นแบบสาธารณรัฐซึ่งเป็นภัยต่อระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ของสยาม ดังนั้น จึงเป็นการง่ายต่อรัฐบาลสยามที่จะค้นหาและจับกุมบุคคลเหล่านี้ ต่อมารัฐบาลสยามได้จับกุมและเนรเทศสมาชิกในกลุ่มนี้หลายคน เช่น เฮงโป้วโซย ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริหารโรงเรียนเผยอิงและต่อมาได้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ หลีแซ โดยมี แต้แซ่อิด เป็นบรรณาธิการ คณะกรรมการชำระพรรคก๊กมินตั๋งในสยามได้ขับไล่ เฮงโป้วโซย และ แต้แซ่อิด ออกจากพรรค ต่อมา แต้แซ่อิด ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2470 และถูกเนรเทศออกจากสยามในฐานะบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา “ห้ามไม่ให้กลับเข้ามาอีกจนตลอดชีวิต” ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เมื่อถูกเนรเทศ แต้แซ่อิด อายุได้ 36 ปี อยู่ในสยามมาแล้ว 8 ปี<ref>หจช. สบ.2.47/66</ref> ขณะที่ จี้อิวกวง และ ลิ้มหงยี่ ซึ่งร่วมมือกับแต้แซ่อิด เป็นกรรมการองค์กรสาขาที่ 2 ในสยามและออกใบปลิวโจมตีเซียวฮุดเสง ถูกเนรเทศในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2470<ref>หจช. ร.7 ม. 21/3</ref> และลี่จือเซ้ง ถูกจับในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” หน้า 148.</ref> | ||
นอกจากนี้ รัฐบาลสยามยังได้เนรเทศชาวจีนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์อีกหลายคน เช่น เกซิมเทียน และ ลิ้มจักชวน ครูภาษาจีน โรงเรียนซำหมินที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นพวกสาขาที่ 2 ถูกเนรเทศวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2470<ref>หจช. ร.7 ม. 21/1</ref> เล่าทุ่งไส ถูกเนรเทศวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ด้วยข้อหาเป็นบอลเชวิกและเป็นพรรคพวกของแต้แซ่อิด จึงอิง กับ โปเอง ชาวแต้จิ๋ว ถูกเนรเทศวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ในข้อหา ตั้งคณะก๊กมินตั๋งที่เพชรบุรี และมีเอกสารบอลเชวิกกับรูปถ่ายแต้แซ่อิดในครอบครอง เป็นต้น แม้ว่าชาวจีนที่ถูกจับกุมและถูกเนรเทศโดยส่วนใหญ่จะถูกข้อหาว่าเป็นบอลเชวิก แต่ก็เป็นไปได้ว่า พวกเขาเป็นเพียงสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งฝ่ายก้าวหน้าเท่านั้น ไม่น่าจะใช่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือเป็น “บอลเชวิก” ตัวจริง หลักฐานส่วนใหญ่ที่รัฐบาลอ้างก็เป็นเพียงหนังสือ “ชักนำให้นิยมระบอบประชาภิบาล (republic)” เท่านั้น<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” หน้า 148.</ref> | นอกจากนี้ รัฐบาลสยามยังได้เนรเทศชาวจีนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์อีกหลายคน เช่น เกซิมเทียน และ ลิ้มจักชวน ครูภาษาจีน โรงเรียนซำหมินที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นพวกสาขาที่ 2 ถูกเนรเทศวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2470<ref>หจช. ร.7 ม. 21/1</ref> เล่าทุ่งไส ถูกเนรเทศวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ด้วยข้อหาเป็นบอลเชวิกและเป็นพรรคพวกของแต้แซ่อิด จึงอิง กับ โปเอง ชาวแต้จิ๋ว ถูกเนรเทศวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ในข้อหา ตั้งคณะก๊กมินตั๋งที่เพชรบุรี และมีเอกสารบอลเชวิกกับรูปถ่ายแต้แซ่อิดในครอบครอง เป็นต้น แม้ว่าชาวจีนที่ถูกจับกุมและถูกเนรเทศโดยส่วนใหญ่จะถูกข้อหาว่าเป็นบอลเชวิก แต่ก็เป็นไปได้ว่า พวกเขาเป็นเพียงสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งฝ่ายก้าวหน้าเท่านั้น ไม่น่าจะใช่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือเป็น “บอลเชวิก” ตัวจริง หลักฐานส่วนใหญ่ที่รัฐบาลอ้างก็เป็นเพียงหนังสือ “ชักนำให้นิยมระบอบประชาภิบาล (republic)” เท่านั้น<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” หน้า 148.</ref> | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
หนังสือ ''บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย''<ref>เซี่ยกวง. กิจกรรมการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939). แปลโดย เชาว์ พงษ์พิชิต. (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)</ref> เล่าว่า ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยามและมลายาในระยะแรกคือ สวีเทียนปิ่ง ซึ่งอยู่ในสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 และได้เคลื่อนไหวแนะนำ เฉินจั่วจือ และเฉินจั่วหมิง สองพี่น้องชาวจีนในสยามเข้าเป็นสมาชิกพรรค เฉินจั่วหมิง และ เฉินจั่วจือ เป็นจีนไหหลำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอฉงซาน (เข่งตัว) เฉินจั่วหมิงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเดินทางเข้าสู่สยามในปี ค.ศ. 2459 ทำงานที่โรงเลื่อยของนายเฉินเต้าเซาผู้เป็นอา ในปี พ.ศ. 2460 เฉินจั่วจือผู้เป็นน้องก็เดินทางมาสยามและทำงานที่โรงเลื่อยของอาเช่นกัน ต่อมาเมื่อคนทั้ง 2 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้กลายเป็นแกนในการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในระยะแรกมีสมาชิก 5 คน เฉินจั่วจือได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ สำหรับสวีเทียนปิ่ง ได้เดินทางต่อไปยังบริติชมลายา ซึ่งในเวลานั้นคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋งยังเป็นพันธมิตรกัน เฉินจั่วจือแต่งตั้งให้เหอสู่ตงเข้าเป็นสมาชิกสมาคมก๊กมินตั๋งสาขาสยามที่นำโดยนายเซียวฮุดเสง | หนังสือ ''บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย''<ref>เซี่ยกวง. กิจกรรมการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939). แปลโดย เชาว์ พงษ์พิชิต. (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)</ref> เล่าว่า ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยามและมลายาในระยะแรกคือ สวีเทียนปิ่ง ซึ่งอยู่ในสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 และได้เคลื่อนไหวแนะนำ เฉินจั่วจือ และเฉินจั่วหมิง สองพี่น้องชาวจีนในสยามเข้าเป็นสมาชิกพรรค เฉินจั่วหมิง และ เฉินจั่วจือ เป็นจีนไหหลำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอฉงซาน (เข่งตัว) เฉินจั่วหมิงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเดินทางเข้าสู่สยามในปี ค.ศ. 2459 ทำงานที่โรงเลื่อยของนายเฉินเต้าเซาผู้เป็นอา ในปี พ.ศ. 2460 เฉินจั่วจือผู้เป็นน้องก็เดินทางมาสยามและทำงานที่โรงเลื่อยของอาเช่นกัน ต่อมาเมื่อคนทั้ง 2 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้กลายเป็นแกนในการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในระยะแรกมีสมาชิก 5 คน เฉินจั่วจือได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ สำหรับสวีเทียนปิ่ง ได้เดินทางต่อไปยังบริติชมลายา ซึ่งในเวลานั้นคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋งยังเป็นพันธมิตรกัน เฉินจั่วจือแต่งตั้งให้เหอสู่ตงเข้าเป็นสมาชิกสมาคมก๊กมินตั๋งสาขาสยามที่นำโดยนายเซียวฮุดเสง | ||
ในปี พ.ศ. 2469 ได้ปรากฏองค์กรลัทธิมาร์กซในหมู่คนจีนในสยามชัดเจนขึ้น เช่น พรรคชาวจีนโพ้นทะเล, พรรคปฏิวัติใต้ดิน, องค์กรปฏิวัติฝ่ายซ้ายหัวเฉียว, องค์การชาวจีนโพ้นทะเลก้าวหน้าในสยาม | ในปี พ.ศ. 2469 ได้ปรากฏองค์กรลัทธิมาร์กซในหมู่คนจีนในสยามชัดเจนขึ้น เช่น [[พรรคชาวจีนโพ้นทะเล]], [[พรรคปฏิวัติใต้ดิน]], [[องค์กรปฏิวัติฝ่ายซ้ายหัวเฉียว]], [[องค์การชาวจีนโพ้นทะเลก้าวหน้าในสยาม]] และ[[องค์การปฏิวัติรักชาติ]] เป็นต้น<ref>เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม, หน้า 75.</ref> อย่างไรก็ตาม การปราบปรามคอมมิวนิสต์ของเจียงไคเช็คในปี พ.ศ. 2470 ได้ทำให้ชาวคอมมิวนิสต์ลี้ภัยมาอยู่ในสยามมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2470 มีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาสยาม 11 คน ในปี พ.ศ. 2471 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาสยามอีก 16 คน และปี พ.ศ. 2472 เข้ามาอีก 4 คน ได้แก่ หลิวซู่สือ (เล้าโซ่วเจียะ) อู๋จื้อจือ หวงเย่าหวน สวี่เสีย (เอี่ยเฮียบ) อู๋หลินม่าน คูกิ๊บ และหลี่ฮวา เป็นต้น โดยพวกเขาเหล่านี้ได้ประสานงานกับ เฉินจว๋อจือ ผู้รับผิดชอบ ซึ่งก็ทำให้การเผยแพร่ลัทธิมาร์กซในหมู่ชาวจีนในประเทศสยามจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย <ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 28 ฉบับที่ 6 เมษายน 2550, หน้า 148 - 149.</ref> | ||
== การจัดตั้ง “พรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาทะเลใต้” หรือ “หน่วยพรรคหนันยาง” == | == การจัดตั้ง “พรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาทะเลใต้” หรือ “หน่วยพรรคหนันยาง” == | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 58: | ||
ใบปลิวฉบับนี้ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 และลงนาม “คณะกรรมการพิเศษในสยามขอพวกบอลเชวิกสาขาทะเลใต้” (คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม) ตำรวจได้จับกุมจีนผู้แจกใบปลิว ชื่อ นายฝ่า ชาติจีนแคะ อันนำมาสู่การติดตามกวาดจับครั้งใหญ่ โดยมีการตรวจโรงเรียนจุนไช้ของชนชาติไหหลำที่ถนนหลานหลวงและโรงเลื่อยยี่ห้อหวงน่ำเหล็ง ในวันที่ 12 ธันวาคม ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม เปิดประชุมกันขึ้นที่ศาลเจ้าบนหลังคาโรงเรียนจินเต็กของจีนแคะ ถนนพาดสาย ปรากฏว่าข่าวรั่วไหล ทำให้ทางการสยามสามารถจับกุมผู้ร่วมประชุมได้ทั้งหมด 22 คน เป็นจีนไหหลำ 18 คน กวางตุ้ง 2 คน แต้จี๋ว 2 คน<ref>หจช. ร.7 ม.18/1 </ref> ในจำนวนนี้เป็นตัวแทนคณะใหญ่ที่สิงคโปร์ 2 คน คนหนึ่งชื่อ ตันคกคิว ซึ่งเป็นผู้กล่าวนำการประชุม ส่วนตัวแทนจากสิงคโปร์อีกคนคือ ฟองไพเผง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้ยึดเอกสารจากที่ประชุมไว้เป็นจำนวนมาก ผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ถูกลงโทษจำคุก 15 ปี และปรับอีก 5,000 บาท นับว่าเป็นการจับกุมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และทำให้การเคลื่อนไหวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ทะเลใต้สะดุดลงไปมากพอสมควร | ใบปลิวฉบับนี้ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 และลงนาม “คณะกรรมการพิเศษในสยามขอพวกบอลเชวิกสาขาทะเลใต้” (คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม) ตำรวจได้จับกุมจีนผู้แจกใบปลิว ชื่อ นายฝ่า ชาติจีนแคะ อันนำมาสู่การติดตามกวาดจับครั้งใหญ่ โดยมีการตรวจโรงเรียนจุนไช้ของชนชาติไหหลำที่ถนนหลานหลวงและโรงเลื่อยยี่ห้อหวงน่ำเหล็ง ในวันที่ 12 ธันวาคม ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม เปิดประชุมกันขึ้นที่ศาลเจ้าบนหลังคาโรงเรียนจินเต็กของจีนแคะ ถนนพาดสาย ปรากฏว่าข่าวรั่วไหล ทำให้ทางการสยามสามารถจับกุมผู้ร่วมประชุมได้ทั้งหมด 22 คน เป็นจีนไหหลำ 18 คน กวางตุ้ง 2 คน แต้จี๋ว 2 คน<ref>หจช. ร.7 ม.18/1 </ref> ในจำนวนนี้เป็นตัวแทนคณะใหญ่ที่สิงคโปร์ 2 คน คนหนึ่งชื่อ ตันคกคิว ซึ่งเป็นผู้กล่าวนำการประชุม ส่วนตัวแทนจากสิงคโปร์อีกคนคือ ฟองไพเผง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้ยึดเอกสารจากที่ประชุมไว้เป็นจำนวนมาก ผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ถูกลงโทษจำคุก 15 ปี และปรับอีก 5,000 บาท นับว่าเป็นการจับกุมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และทำให้การเคลื่อนไหวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ทะเลใต้สะดุดลงไปมากพอสมควร | ||
ในหนังสือ บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกจับในครั้งนี้ 4 คน ได้แก่ ตันคกคิว (ค.ศ. 1906 - 82) เฉินจื่อกว่าง (ค.ศ. 1906 - 74) สวี่ฟางเว่ย (ค.ศ. 1911 - 42) และสิงอี่สิง (ค.ศ. 1911 - 78) ว่า ตันคกคิวเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2469 และเดินทางไปอยู่ที่สิงคโปร์ก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในสยาม เฉินจื่อกว่างเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคชาวจีนโพ้นทะเลในสยาม สวี่ฟางเว่ยเป็นสมาชิกพรรคที่กวางตุ้งและเข้ามาในสยามหลังการปราบปรามของก๊กมินตั๋ง พ.ศ. 2470 ทั้ง 3 คนติดคุกจนถึงปี พ.ศ. 2481 จึงได้รับการปล่อยตัวและถูกเนรเทศออกจากสยาม ส่วนสิงอี่สิงเป็นจีนไหหลำเช่นกัน เข้ามาในสยามปี พ.ศ. 2467 ทำงานเป็นกรรมกรโรงพิมพ์<ref>เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม, หน้า 82.</ref> และกลายเป็นผู้นำคนหนึ่งในคณะกรรมกรโรงพิมพ์ ตำรวจบันทึกว่า มีหนึ่งในผู้ที่ถูกจับ พูดไทยได้และมีความฉลาดเฉลียวในทางการอธิบาย ชื่อ โต หรือ เปี๊ยโต เกิดที่จังหวัดพิจิตรและเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนไต้ท้ง เมืองเซี่ยงไฮ้ และเดินทางกลับสยามในปี พ.ศ. 2470 ชื่อจีนของเปี๊ยโต คือ จูโซ่วลิ้ม ต่อมาเขาใช้ชื่อไทยว่า พายัพ อังคสิงห์ หรือ พิชิต ณ สุโขทัย ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นผู้นำที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย | ในหนังสือ บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกจับในครั้งนี้ 4 คน ได้แก่ ตันคกคิว (ค.ศ. 1906 - 82) เฉินจื่อกว่าง (ค.ศ. 1906 - 74) สวี่ฟางเว่ย (ค.ศ. 1911 - 42) และสิงอี่สิง (ค.ศ. 1911 - 78) ว่า ตันคกคิวเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2469 และเดินทางไปอยู่ที่สิงคโปร์ก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในสยาม เฉินจื่อกว่างเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคชาวจีนโพ้นทะเลในสยาม สวี่ฟางเว่ยเป็นสมาชิกพรรคที่กวางตุ้งและเข้ามาในสยามหลังการปราบปรามของก๊กมินตั๋ง พ.ศ. 2470 ทั้ง 3 คนติดคุกจนถึงปี พ.ศ. 2481 จึงได้รับการปล่อยตัวและถูกเนรเทศออกจากสยาม ส่วนสิงอี่สิงเป็นจีนไหหลำเช่นกัน เข้ามาในสยามปี พ.ศ. 2467 ทำงานเป็นกรรมกรโรงพิมพ์<ref>เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม, หน้า 82.</ref> และกลายเป็นผู้นำคนหนึ่งในคณะกรรมกรโรงพิมพ์ ตำรวจบันทึกว่า มีหนึ่งในผู้ที่ถูกจับ พูดไทยได้และมีความฉลาดเฉลียวในทางการอธิบาย ชื่อ โต หรือ เปี๊ยโต เกิดที่จังหวัดพิจิตรและเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนไต้ท้ง เมืองเซี่ยงไฮ้ และเดินทางกลับสยามในปี พ.ศ. 2470 ชื่อจีนของเปี๊ยโต คือ จูโซ่วลิ้ม ต่อมาเขาใช้ชื่อไทยว่า พายัพ อังคสิงห์ หรือ พิชิต ณ สุโขทัย ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นผู้นำที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 70: | ||
{{Cquote| | {{Cquote| | ||
''' | '''สยามเป็นประเทศ[[ศักดินา]]และกึ่งเมืองขึ้น ด้วยเหตุนี้ สยามยังไม่อาจทำการปฏิวัติสังคมนิยมได้โดยตรง แต่ต้องทำการปฏิวัติประชาธิปไตยนายทุนแบบใหม่ก่อน หลังจากบรรลุหน้าที่โค่นล้มศักดินาและจักรพรรดินิยมแล้ว อาศัยความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตและพลังที่ปฏิวัติทั่วโลก สยามสามารถก้าวตรงสู่ระบอบสังคมนิยม โดยไม่ต้องผ่านระยะพัฒนาระบอบทุนนิยม'''<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 155.</ref> | ||
|}} | |}} | ||
เมื่อทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายเวียดนามตกลงเห็นพ้องต้องกัน เหงียนอายกว็อก ก็ได้เป็นประธานจัดการประชุมจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำการปฏิวัติประเทศสยามโดยตรงขึ้น เรียกว่า | เมื่อทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายเวียดนามตกลงเห็นพ้องต้องกัน เหงียนอายกว็อก ก็ได้เป็นประธานจัดการประชุมจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำการปฏิวัติประเทศสยามโดยตรงขึ้น เรียกว่า “[[สมาคมคอมมิวนิสต์สยาม]]” โดยจัดการประชุมในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 ที่โรงเรียนตุ้นกี่ หน้าหัวลำโพง โดยสมาคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “ปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดินิยมและศักดินา เพื่อสร้าง[[รัฐกรรมกรชาวนาแห่งสยาม]]” โดยในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อบริหารพรรค ประกอบด้วยชาวเวียดนาม 2 คน ได้แก่ โงวจินก๊วก กับ อู๋ตัง หรือ เจิ่ยวันเจิ๋น และสหายชาวจีน ได้แก่ อู๋จื้อจือ หรือ สหายโหงว, หลิวซุชิ และ หลี่ฮุ่ยหมิน เป็นต้น ในหลักฐานของเวียดนามระบุว่า เลขาธิการของพรรคคอมมิวนิสต์สยามคนแรกเป็นชาวเวียดนาม อยู่บ้านนาจอก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เรียกกันว่า สหายหลี่ ชื่อจริงคือ โงวจินก๊วก เคยถูกจับติดคุกมาก่อนจึงมีเกียรติประวัติการต่อสู้พอสมควรและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม นั่นคือ รู้ทั้งภาษาไทย จีน และเวียดนาม แต่หลังจากตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยามได้ปีกว่า โงวจินก๊วกก็ยุติการเคลื่อนไหวและหายสาบสูญไป จากนั้น ชาวจีนที่ชื่อ หวงเย่าหวน จึงได้เข้ารับตำแหน่ง[[เลขาธิการพรรค]]คอมมิวนิสต์สยามแทนในราวปี พ.ศ. 2475 <ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 156.</ref> | ||
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สยามถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 นั้น มีสมาชิกจำนวนมากพอสมควร ส่วนมากเป็นชาวจีนและชาวเวียดนาม นอกจากนี้ | เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สยามถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 นั้น มีสมาชิกจำนวนมากพอสมควร ส่วนมากเป็นชาวจีนและชาวเวียดนาม นอกจากนี้ ก็ยังมีสาขาทั้งใน[[กรุงเทพมหานคร]]และต่างจังหวัดกระจายทั่วไป มีการจัดตั้งกรรมการกลางประจำกรุงเทพมหานครและประจำภาค 3 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ สมาชิกประกอบด้วยปัญญาชนชาวจีนที่เป็นครูอยู่ในโรงเรียนจีน, นักหนังสือพิมพ์จีน, พ่อค้าย่อย, กรรมกรโรงเลื่อย, กรรมกรโรงพิมพ์, กรรมกรโรงเหล็ก และกรรมกรโรงงานไม้ขีดไฟ เป็นต้น<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 156.</ref> การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สยามในเวลานั้นยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัดและถูกเพ่งเล็งอย่างมากจากรัฐบาลสยามซึ่งทำให้ผลสะเทือนของพรรคคอมมิวนิสต์สยามมีไม่มากนัก และนับตั้งแต่ก่อตั้งมาก็ถูกรัฐบาลทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์และ[[คณะราษฎร]]ปราบปรามอย่างได้ผลมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ไม่นานก่อนญี่ปุ่นจะบุก ชาวคอมมิวนิสต์ที่เหลืออยู่ได้ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งเยาวชนลูกจีนจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญโดยผ่านโรงเรียนที่พวกเขาบางคนไปเป็นครู เยาวชนเหล่านี้ต่อมาได้กลายกำลังสำคัญในการก่อตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์ไทย” ขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ครั้งนี้การตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผลสำเร็จเพราะพรรคไม่แตกสลายลงในเวลาอันสั้นอีก แต่จะกลายมาเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” หรือ พคท. ที่ดำเนินการปฏิวัติต่อเนื่องกันมาอีก 40 ปี (คำว่า “แห่งประเทศไทย” ถูกเพิ่มเข้าไปในปี พ.ศ. 2495)<ref>สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “ประวัติ พคท. ฉบับ พคท.(1)” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2546, หน้า 156.</ref> | ||
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม == | == หนังสืออ่านเพิ่มเติม == | ||
บรรทัดที่ 96: | บรรทัดที่ 97: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:44, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียงรองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ก่อนการก่อตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์จีนสยาม”
การเกิดขึ้นของพรรคคอมมิวนิสต์ไทยมาจากการจัดตั้งของคน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นชาวเวียดนามชาตินิยมที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยและได้อาศัยประเทศไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราช ผู้นำที่สำคัญคือ ดังทักหัว และ หวอตุง โดยมีจังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน ปี พ.ศ. 2472 โฮจิมินห์ ในฐานะตัวแทนองค์กรคอมมิวนิสต์สากลได้เข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 โฮจิมินห์ได้กลายเป็นตัวแทนในการประสานกลุ่มคอมมิวนิสต์จีนและคอมมิวนิสต์เวียดนามในสยามเพื่อร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น คนกลุ่มที่ 2 ที่มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทย คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาทำงานในสยามตั้งแต่หลังสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2450 ได้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองของชาวจีนในประเทศจีนและส่งผลสะเทือนมาถึงชาวจีนในสยาม ความคิดที่ว่ามี 2 สาย สายแรกคือ ลัทธิไตรราษฎร ซึ่งเป็นแบบสาธารณรัฐที่นำไปสู่การปฏิวัติในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1911 และส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวชาตินิยมของชาวจีนในสยาม สายที่สองคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) และขยายตัวอย่างรวดเร็ว สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนจำนวนหนึ่งได้เข้ามาขยายการจัดตั้งในสยามและเอเชียอาคเนย์ โดยเป้าหมายในระยะแรกคือจัดตั้งชาวจีนในสยามเพื่อไปปฏิวัติประเทศจีน[1]
เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของชาวจีนในสยาม เอกสารทางราชการของสยามระบุว่า ชาวจีนคนแรกๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยาม คือ ทำจีนซำ หรือ ถ่ำจันซาม ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่เคยร่วมมืออยู่กับฝ่ายเซียวฮุดเสงและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาจีนชื่อ เคี่ยวเซ็ง (เฉียวเซิงเป้า) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2465 เพื่อเผยแพร่แนวคิดลัทธิไตรราษฎรในหมู่ชาวจีนในสยาม และเป็นหนังสือพิมพ์ทางเลือกอีกฉบับหนึ่ง นอกเหนือจากหนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ ของนายเซียวฮุดเสง เมื่อ ซุนยัตเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งถึงแก่กรรมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2467 พรรคก๊กมินตั๋งในจีนได้แตกออกเป็นปีกขวาและปีกซ้าย ขณะที่ในประเทศสยามก็เกิดความขัดแย้งในลักษณะเดียวกัน เมื่อก๊กมินตั๋งปีกซ้ายในกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการนำของเซียวฮุดเสงและสโมสรจีนกรุงเทพฯ ได้ตั้งกลุ่มก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 หรือ นั้มเม้งเซียงหวย ขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ถ่ำจันซาม เป็นหนึ่งในสมาชิกฝ่ายสาขาที่ 2 ดังนั้น หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ของเขาจึงถูกใช้เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่แนวความคิดของฝ่ายสาขาที่ 2 ด้วย[2]
หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ดำเนินกิจการอยู่ราว 3 ปี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ระหว่างนั้นได้จัดพิมพ์หนังสือเป็นภาษาจีนชื่อ ลัทธินิยมการรุกรานและประเทศจีน มีเนื้อหาที่ประณามการรุกรานจีนของญี่ปุ่นและอังกฤษ แสดงการยกย่องสดุดีระบอบสาธารณรัฐและบอลเชวิกอย่างเปิดเผย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 รัฐบาลสยามได้สั่งจับกุม ถ่ำจันซาม โดยตั้งข้อหาว่า พยายาม “ยุให้ชาวจีนขึ้งเคียดชาวอังกฤษและชาวญี่ปุ่น” และตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับบอลเชวิก ทางการสยามมีหลักฐานว่า ถ่ำจันซาม และคณะได้เปิดห้องสมุด “ตงฮั้วเกยเจ๋าจือปอเสีย” ซึ่งหมายถึงห้องสมุดสำหรับเปลี่ยนแปลงประเทศจีน และตั้งชมรมศึกษาเพื่อรวบรวมชาวจีนกลุ่มต่างๆ ให้เป็นคณะเดียวกัน โดยมี ตันคงเฮียบ เป็นที่ปรึกษา ถ่ำจันซาม เป็นนายกสมาคม อือกงเยี้ยบ และโคว้เต้าเหยียน เป็นกรรมการ เอกสารของทางการสยามระบุด้วยว่า มีผู้สมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มถ่ำจันซาม ถึง 100 กว่าคน ในตอนแรกรัฐบาลสยามตั้งใจที่จะเนรเทศ ถ่ำจันซาม ออกจากประเทศ แต่ทำไม่ได้เพราะติดที่ว่า ถ่ำจันซาม เป็นคนในบังคับของฮอลันดา แต่ในท้ายที่สุดรัฐบาลสยามก็สามารถเนรเทศ ถ่ำจันซาม ได้สำเร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2469 ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ต้องปิดตัวลงไปด้วย[3]
หลังจาก ถ่ำจันซาม ถูกจับและถูกเนรเทศ สมาชิกคนอื่นๆ ของฝ่ายก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 นำโดย แต้แซ่อิด และ เฮงโป๊ยเซย ได้เข้ามาจัดการโรงพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง แทนและตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ใหม่ชื่อ หลีแซ เพื่อแข่งขันกับ ฮั่วเซียมซินป่อ และยังคงจัดทำห้องสมุดเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองในหมู่ชาวจีนในสยามต่อไป โดยพยายามจัดทำให้รัดกุมยิ่งขึ้น จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2470 เจียงไคเช็ค ผู้นำฝ่ายขวาในพรรคก๊กมินตั๋งของจีนและเป็นแม่ทัพใหญ่ของพรรคก๊กมินตั๋งในการปราบปรามขุนศึกภาคเหนือ ได้ยึดอำนาจภายในพรรค แล้วใช้ข้ออ้าง “ชำระสะสางพรรคก๊กมินตั๋ง” หักหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน โดยทำการกวาดล้างและสังหารหมู่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ ทำให้การเป็นแนวร่วมระหว่าง 2 พรรคยุติลง ในระยะนี้ ในสยาม หนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2470 ของเซียวฮุดเสง ได้เผยแพร่บทความชื่อ “คอมมิวนิสต์เนรคุณร้อยเล่ห์พันเหลี่ยม” โจมตีฝ่ายสาขาที่ 2 ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์และเปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ |
ลิ้มเถี่ยวเป็ก ตั้งแชโหงว เจียมเฉ่าฮุ้ง เป็นพวกสาขาที่ 2 แต้แซ่อิด เฮงโป้วโซย และลิ้มก๊กเนีย ทำหนังสือพิมพ์ หลีแซ จี้อิวกวง หรือ จี้อู๋กวง อยู่โรงเรียนเลี้ยงฮะ ลิ้มแปะไซ่ อยู่โรงเรียนจูไช พัวเฮี่ยงเทียน หรือ เงียวเทียน และพัวโซยป๊วย อยู่โรงเรียนโตว้เคี้ยง เตียเทียนมิ้ว กับล้อห่วงเจียง รับผิดชอบโรงเรียนเลี้ยงไซ้ อึ้งคี่เจียง กับ ลี่จื่อเซง สมคบพวกอั้งยี่ นอกจากนี้ ยังมี เล้าเซียงยู้ และ เอี้ยฮกซู อยู่หนังสือพิมพ์ ตงฮั้วมิ่นปอ โควเทียนเหยียน จากหนังสือพิมพ์ เลียงเคียว[4] |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
รายชื่อที่ถูกเปิดเผยทั้งหมดนี้เป็นรายชื่อของผู้นำชาวจีนฝ่ายที่เป็นศัตรูกับเซียวฮุดเสงทั้งหมด ซึ่งไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่า จะเป็นฝ่ายคอมมิวนสิต์จริงหรือไม่ การเปิดเผยรายชื่อเช่นนี้ถือได้ว่ามีเป้าหมายเพื่อที่จะทำลายองค์กรโดยตรง เพราะสมาคมก๊กมินตั๋งในสยามนั้น ไม่ได้เป็นสมาคมที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และไม่ได้รัการรับรองจากรัฐบาลสยาม เนื่องจากการที่พรรคก๊กมินตั๋งในจีนมีเป้าหมายทางการเมืองเป็นแบบสาธารณรัฐซึ่งเป็นภัยต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม ดังนั้น จึงเป็นการง่ายต่อรัฐบาลสยามที่จะค้นหาและจับกุมบุคคลเหล่านี้ ต่อมารัฐบาลสยามได้จับกุมและเนรเทศสมาชิกในกลุ่มนี้หลายคน เช่น เฮงโป้วโซย ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริหารโรงเรียนเผยอิงและต่อมาได้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ หลีแซ โดยมี แต้แซ่อิด เป็นบรรณาธิการ คณะกรรมการชำระพรรคก๊กมินตั๋งในสยามได้ขับไล่ เฮงโป้วโซย และ แต้แซ่อิด ออกจากพรรค ต่อมา แต้แซ่อิด ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2470 และถูกเนรเทศออกจากสยามในฐานะบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา “ห้ามไม่ให้กลับเข้ามาอีกจนตลอดชีวิต” ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เมื่อถูกเนรเทศ แต้แซ่อิด อายุได้ 36 ปี อยู่ในสยามมาแล้ว 8 ปี[5] ขณะที่ จี้อิวกวง และ ลิ้มหงยี่ ซึ่งร่วมมือกับแต้แซ่อิด เป็นกรรมการองค์กรสาขาที่ 2 ในสยามและออกใบปลิวโจมตีเซียวฮุดเสง ถูกเนรเทศในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[6] และลี่จือเซ้ง ถูกจับในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470[7]
นอกจากนี้ รัฐบาลสยามยังได้เนรเทศชาวจีนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์อีกหลายคน เช่น เกซิมเทียน และ ลิ้มจักชวน ครูภาษาจีน โรงเรียนซำหมินที่หาดใหญ่ ซึ่งเป็นพวกสาขาที่ 2 ถูกเนรเทศวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2470[8] เล่าทุ่งไส ถูกเนรเทศวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ด้วยข้อหาเป็นบอลเชวิกและเป็นพรรคพวกของแต้แซ่อิด จึงอิง กับ โปเอง ชาวแต้จิ๋ว ถูกเนรเทศวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ในข้อหา ตั้งคณะก๊กมินตั๋งที่เพชรบุรี และมีเอกสารบอลเชวิกกับรูปถ่ายแต้แซ่อิดในครอบครอง เป็นต้น แม้ว่าชาวจีนที่ถูกจับกุมและถูกเนรเทศโดยส่วนใหญ่จะถูกข้อหาว่าเป็นบอลเชวิก แต่ก็เป็นไปได้ว่า พวกเขาเป็นเพียงสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งฝ่ายก้าวหน้าเท่านั้น ไม่น่าจะใช่ชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือเป็น “บอลเชวิก” ตัวจริง หลักฐานส่วนใหญ่ที่รัฐบาลอ้างก็เป็นเพียงหนังสือ “ชักนำให้นิยมระบอบประชาภิบาล (republic)” เท่านั้น[9]
หนังสือ บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย[10] เล่าว่า ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยามและมลายาในระยะแรกคือ สวีเทียนปิ่ง ซึ่งอยู่ในสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 และได้เคลื่อนไหวแนะนำ เฉินจั่วจือ และเฉินจั่วหมิง สองพี่น้องชาวจีนในสยามเข้าเป็นสมาชิกพรรค เฉินจั่วหมิง และ เฉินจั่วจือ เป็นจีนไหหลำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอฉงซาน (เข่งตัว) เฉินจั่วหมิงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเดินทางเข้าสู่สยามในปี ค.ศ. 2459 ทำงานที่โรงเลื่อยของนายเฉินเต้าเซาผู้เป็นอา ในปี พ.ศ. 2460 เฉินจั่วจือผู้เป็นน้องก็เดินทางมาสยามและทำงานที่โรงเลื่อยของอาเช่นกัน ต่อมาเมื่อคนทั้ง 2 เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้กลายเป็นแกนในการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในระยะแรกมีสมาชิก 5 คน เฉินจั่วจือได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ สำหรับสวีเทียนปิ่ง ได้เดินทางต่อไปยังบริติชมลายา ซึ่งในเวลานั้นคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋งยังเป็นพันธมิตรกัน เฉินจั่วจือแต่งตั้งให้เหอสู่ตงเข้าเป็นสมาชิกสมาคมก๊กมินตั๋งสาขาสยามที่นำโดยนายเซียวฮุดเสง
ในปี พ.ศ. 2469 ได้ปรากฏองค์กรลัทธิมาร์กซในหมู่คนจีนในสยามชัดเจนขึ้น เช่น พรรคชาวจีนโพ้นทะเล, พรรคปฏิวัติใต้ดิน, องค์กรปฏิวัติฝ่ายซ้ายหัวเฉียว, องค์การชาวจีนโพ้นทะเลก้าวหน้าในสยาม และองค์การปฏิวัติรักชาติ เป็นต้น[11] อย่างไรก็ตาม การปราบปรามคอมมิวนิสต์ของเจียงไคเช็คในปี พ.ศ. 2470 ได้ทำให้ชาวคอมมิวนิสต์ลี้ภัยมาอยู่ในสยามมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2470 มีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาสยาม 11 คน ในปี พ.ศ. 2471 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาสยามอีก 16 คน และปี พ.ศ. 2472 เข้ามาอีก 4 คน ได้แก่ หลิวซู่สือ (เล้าโซ่วเจียะ) อู๋จื้อจือ หวงเย่าหวน สวี่เสีย (เอี่ยเฮียบ) อู๋หลินม่าน คูกิ๊บ และหลี่ฮวา เป็นต้น โดยพวกเขาเหล่านี้ได้ประสานงานกับ เฉินจว๋อจือ ผู้รับผิดชอบ ซึ่งก็ทำให้การเผยแพร่ลัทธิมาร์กซในหมู่ชาวจีนในประเทศสยามจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย [12]
การจัดตั้ง “พรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาทะเลใต้” หรือ “หน่วยพรรคหนันยาง”
ในปี พ.ศ. 2471 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตั้งสาขาพรรคขึ้นในเอเชียอาคเนย์ที่กรุงสิงคโปร์ เมืองหลวงของบริติชมลายา เรียกว่า “พรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาทะเลใต้” หรือ “หน่วยพรรคหนันยาง” เพื่อรับผิดชอบในการเคลื่อนไหวในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในคาบสมุทรมลายาและในสยาม การก่อตั้งหน่วยพรรคหนันยาง ได้นำมาสู่การก่อตั้งพรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาสยามขึ้นในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2471) ซึ่งรัฐบาลสยามเรียกว่า “คณะใหญ่คอมมิวนิสต์จีนสาขาประเทศสยาม”[13] คณะใหญ่ที่ตั้งขึ้นนี้มีหน้าที่รับผิดชอบเคลื่อนไหวชาวจีนในสยามโดยเฉพาะ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ลัทธิมาร์กซในหมู่กรรมกรชาวจีน นักหนังสือพิมพ์จีน ครู และนักเรียนในโรงเรียนอยู่ไม่น้อย
การจัดตั้งพรรคคอมมิวนสิต์จีนสาขาสยาม ทำให้การเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์จีนในสยามคึกคักมากยิ่งขึ้นด้วย แต่เป้าหมายก็ยังอยู่ที่เพื่อหนุนช่วยการปฏิวัติในประเทศจีน จนกระทั่งในการประชุมองค์กรสากลที่ 3 เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472 ได้มีคำชี้แนะให้ชาวคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด ก็ให้หาทางทำการปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยประชาชนในประเทศนั้น ดังนั้น “คณะใหญ่คอมมิวนิสต์จีนสาขาประเทศสยาม” จึงได้วิเคราะห์ลักษณะสังคมสยามและโดยเห็นว่า ศัตรูของประชาชนสยามคือจักรพรรดินิยมอังกฤษกับฝรั่งเศสที่มุ่งจะปล้นสะดมและชนชั้นปกครองสยามซึ่งก็คือระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ให้ความร่วมมือกับจักรพรรดินิยม ดังนั้น จึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ของการเคลื่อนไหวไว้ที่การปฏิวัติโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเต็มที่ มีการเคลื่อนไหวแจกใบปลิวครั้งสำคัญในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ทางการสยามรายงานว่า มีการแจกใบปลิวทั้งที่ทิ้งลงมาจากรถในขณะที่กำลังแล่นและโดยการเดินแจกจนถึงมือ ใบปลิวดังกล่าวมีคำนำว่า “ประกาศวันที่ระลึก 2 ปีแห่งการจลาจลในกวางตุ้งแก่ประชาชนสยามผู้ทุกข์ยาก” พิมพ์เป็น 3 ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ ในใบปลิวมีการอธิบายว่า พวกมหาอำนาจจักรพรรดินิยมกำลังเตรียมการจะก่อสงครามโลกครั้งใหม่ จึงมีข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ซึ่งตำรวจโดยหลวงจีนพากษ์ปริวัตรได้แปลเป็นภาษาไทยได้ ดังนี้
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ |
1. ทำการต่อสู้อย่างจลาจลกวางตุ้งต่อไปอีก 2. คัดค้านการสงครามของพวกลัทธิจักรพรรดิ 3. กำจัดอังกฤษ ฝรั่งเศส ผู้ถือลัทธิจักรพรรดิ กดขี่รีดเนื้อราษฎรไทย 4. สนับสนุนโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นฐานทัพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก 5. กำจัดเจ้าแผ่นดินกับราชวงศ์สยามซึ่งมีอำนาจปกครองเต็มที่ 6. สถาปนาประเทศสยามเป็นประชาธิปไตย 7.มีสิทธิในการออกความเห็น ออกหนังสือพิมพ์ มีการประชุมตั้งสมาคมหยุดงาน ตามใจชอบทั้งสิ้น 8. ชนชาติต่างๆ ที่เป็นประเทศราชถูกกดขี่ จงรวมตัวกันต่อสู้เสมอไปทั้งหมื่นปี 9. การเก็กเหม็งในเขตทะเลใต้จงสำเร็จสมบูรณ์ 10. การเก็กเหม็งทั่วโลกจงยั่งยืนหมื่นปี [14] |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
ใบปลิวฉบับนี้ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 และลงนาม “คณะกรรมการพิเศษในสยามขอพวกบอลเชวิกสาขาทะเลใต้” (คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม) ตำรวจได้จับกุมจีนผู้แจกใบปลิว ชื่อ นายฝ่า ชาติจีนแคะ อันนำมาสู่การติดตามกวาดจับครั้งใหญ่ โดยมีการตรวจโรงเรียนจุนไช้ของชนชาติไหหลำที่ถนนหลานหลวงและโรงเลื่อยยี่ห้อหวงน่ำเหล็ง ในวันที่ 12 ธันวาคม ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม เปิดประชุมกันขึ้นที่ศาลเจ้าบนหลังคาโรงเรียนจินเต็กของจีนแคะ ถนนพาดสาย ปรากฏว่าข่าวรั่วไหล ทำให้ทางการสยามสามารถจับกุมผู้ร่วมประชุมได้ทั้งหมด 22 คน เป็นจีนไหหลำ 18 คน กวางตุ้ง 2 คน แต้จี๋ว 2 คน[15] ในจำนวนนี้เป็นตัวแทนคณะใหญ่ที่สิงคโปร์ 2 คน คนหนึ่งชื่อ ตันคกคิว ซึ่งเป็นผู้กล่าวนำการประชุม ส่วนตัวแทนจากสิงคโปร์อีกคนคือ ฟองไพเผง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้ยึดเอกสารจากที่ประชุมไว้เป็นจำนวนมาก ผู้ถูกจับกุมทั้งหมด ถูกลงโทษจำคุก 15 ปี และปรับอีก 5,000 บาท นับว่าเป็นการจับกุมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และทำให้การเคลื่อนไหวของฝ่ายคอมมิวนิสต์ทะเลใต้สะดุดลงไปมากพอสมควร
ในหนังสือ บันทึกวีรกรรมวีรชนจีนโพ้นทะเลในไทย ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกจับในครั้งนี้ 4 คน ได้แก่ ตันคกคิว (ค.ศ. 1906 - 82) เฉินจื่อกว่าง (ค.ศ. 1906 - 74) สวี่ฟางเว่ย (ค.ศ. 1911 - 42) และสิงอี่สิง (ค.ศ. 1911 - 78) ว่า ตันคกคิวเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2469 และเดินทางไปอยู่ที่สิงคโปร์ก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในสยาม เฉินจื่อกว่างเป็นจีนไหหลำ เป็นสมาชิกพรรคชาวจีนโพ้นทะเลในสยาม สวี่ฟางเว่ยเป็นสมาชิกพรรคที่กวางตุ้งและเข้ามาในสยามหลังการปราบปรามของก๊กมินตั๋ง พ.ศ. 2470 ทั้ง 3 คนติดคุกจนถึงปี พ.ศ. 2481 จึงได้รับการปล่อยตัวและถูกเนรเทศออกจากสยาม ส่วนสิงอี่สิงเป็นจีนไหหลำเช่นกัน เข้ามาในสยามปี พ.ศ. 2467 ทำงานเป็นกรรมกรโรงพิมพ์[16] และกลายเป็นผู้นำคนหนึ่งในคณะกรรมกรโรงพิมพ์ ตำรวจบันทึกว่า มีหนึ่งในผู้ที่ถูกจับ พูดไทยได้และมีความฉลาดเฉลียวในทางการอธิบาย ชื่อ โต หรือ เปี๊ยโต เกิดที่จังหวัดพิจิตรและเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนไต้ท้ง เมืองเซี่ยงไฮ้ และเดินทางกลับสยามในปี พ.ศ. 2470 ชื่อจีนของเปี๊ยโต คือ จูโซ่วลิ้ม ต่อมาเขาใช้ชื่อไทยว่า พายัพ อังคสิงห์ หรือ พิชิต ณ สุโขทัย ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นผู้นำที่เป็นที่รู้จักคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย
จากเอกสารที่ตำรวจยึดได้ ยังพบสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง นั่นคือ เอกสารที่คณะใหญ่คอมมิวนิสต์ทะเลใต้ที่สิงคโปร์ วิจารณ์คณะใหญ่คอมมิวนิสต์ทะเลใต้สาขาสยามว่า ไม่รายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของสาขา จนต้องส่งตัวแทนมาตรวจสอบด้วยตัวเอง และเมื่อสำรวจแล้ว ก็ได้เห็นข้อบกพร่องหลายประการ ได้แก่ หนึ่ง การทำงานของคณะกรรมการสาขาสยามให้อำนาจรวมศูนย์เลขานุการมากเกินไป จนทำให้คณะกรรมการขาดความรู้และประสบการณ์การทำงาน สอง การปฏิบัติงานยังเข้าไม่ถึงชนชั้นล่างอย่างแท้จริง สาม ควรรวมกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน สี่ สาขาในสยามเก็บค่าสมาชิกเกินกว่าที่คณะใหญ่ฯกำหนด ห้า การนัดหยุดงานยังอาศัยเสียงส่วนน้อยไปบังคับเสียงส่วนใหญ่ หก สาขาพรรคมีหน้าที่ชี้นำกรรมกรในการต่อรองกับนายจ้าง ไม่ควรไปต่อรองเอง เป็นต้น เอกสารชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า การทำงานของคณะกรรมการใหญ่คอมมิวนิสต์ทะเลใต้สาขาสยามยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก[17]
แม้ว่าจะมีการจับกุมชาวคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ แต่การเคลื่อนไหวของคณะคอมมิวนิสต์จีนในสยามก็มิได้ยุติลง ดังจะเห็นได้จากการที่คณะใหญ่คอมมิวนิสต์ทะเลใต้ยังสามารถทิ้งใบปลิวในวันครบรอบ 12 ปีของการปฏิวัติบอลเชวิก รุสเชีย ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ได้ นอกจากนี้ ยังเห็นได้จากการที่ยังมีการจับกุมคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลสยามเกิดขึ้นอีกหลายกรณี เช่น การจับกุมชาวจีนที่ประชุมกันที่โรงเรียนคีเม้ง ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2472 (ปฏิทินเก่า) มีผู้ถูกจับกุมพร้อมกับของกลาง 27 คน เป็นต้น แม้ว่าคณะใหญ่คอมมิวนิสต์ทะเลใต้สาขาสยามจะปรับเป้าหมายที่จะดำเนินการทั้งการหนุนช่วยการปฏิวัติในประเทศจีนและโฆษณาเพื่อปฏิวัติสังคมสยาม แต่การเคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในประเทศสยามในระยะแรกนั้น ก็ไม่มีคนไทยพื้นเมืองเข้าร่วม คงมีแต่ชาวจีนโพ้นทะเลและคนเชื้อสายจีนที่เกิดในสยามเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวจีนเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยามขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยร่วมมือกับนักปฏิวัติชาวเวียดนามที่นำโดย เหงียนอายกว็อก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โฮจิมินห์[18]
การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม
การเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยามเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2472 (ปฏิทินเก่า) เมื่อ เหงียนอายกว็อก หรือ โฮจิมินห์ เดินทางด้วยเรือจากฮ่องกงกลับมากรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายซุง และได้นัดพบกับผู้นำคณะใหญ่คอมมิวนิสต์จีนในสยาม เพื่อหารือในเรื่องการจัดตั้งพรรคชนชั้นกรรมาชีพขึ้นในสยามอย่างเป็นทางการ เหงียนอายกว็อกได้ชี้แจงมติของคอมมิวนิสต์สากลให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนในสยามทราบ จากนั้นก็เดินทางไปพบกับผู้นำเวียดนามที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อหารือการเตรียมการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในสยามอย่างเป็นทางการ เหงียนอายกว็อกชี้แจงว่า เป็นมติของคอมมิวนิสต์สากลที่จะให้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในทุกประเทศที่มีชาวพรรคคอมมิวนิสต์เคลื่อนไหวอยู่ โดยเหงียนอายกว็อกได้เสนอบทวิเคราะห์ลักษณะสังคมไทย ดังนี้
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ |
สยามเป็นประเทศศักดินาและกึ่งเมืองขึ้น ด้วยเหตุนี้ สยามยังไม่อาจทำการปฏิวัติสังคมนิยมได้โดยตรง แต่ต้องทำการปฏิวัติประชาธิปไตยนายทุนแบบใหม่ก่อน หลังจากบรรลุหน้าที่โค่นล้มศักดินาและจักรพรรดินิยมแล้ว อาศัยความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตและพลังที่ปฏิวัติทั่วโลก สยามสามารถก้าวตรงสู่ระบอบสังคมนิยม โดยไม่ต้องผ่านระยะพัฒนาระบอบทุนนิยม[19] |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
เมื่อทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายเวียดนามตกลงเห็นพ้องต้องกัน เหงียนอายกว็อก ก็ได้เป็นประธานจัดการประชุมจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีเป้าหมายเพื่อทำการปฏิวัติประเทศสยามโดยตรงขึ้น เรียกว่า “สมาคมคอมมิวนิสต์สยาม” โดยจัดการประชุมในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 ที่โรงเรียนตุ้นกี่ หน้าหัวลำโพง โดยสมาคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “ปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดินิยมและศักดินา เพื่อสร้างรัฐกรรมกรชาวนาแห่งสยาม” โดยในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อบริหารพรรค ประกอบด้วยชาวเวียดนาม 2 คน ได้แก่ โงวจินก๊วก กับ อู๋ตัง หรือ เจิ่ยวันเจิ๋น และสหายชาวจีน ได้แก่ อู๋จื้อจือ หรือ สหายโหงว, หลิวซุชิ และ หลี่ฮุ่ยหมิน เป็นต้น ในหลักฐานของเวียดนามระบุว่า เลขาธิการของพรรคคอมมิวนิสต์สยามคนแรกเป็นชาวเวียดนาม อยู่บ้านนาจอก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เรียกกันว่า สหายหลี่ ชื่อจริงคือ โงวจินก๊วก เคยถูกจับติดคุกมาก่อนจึงมีเกียรติประวัติการต่อสู้พอสมควรและมีคุณสมบัติที่เหมาะสม นั่นคือ รู้ทั้งภาษาไทย จีน และเวียดนาม แต่หลังจากตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยามได้ปีกว่า โงวจินก๊วกก็ยุติการเคลื่อนไหวและหายสาบสูญไป จากนั้น ชาวจีนที่ชื่อ หวงเย่าหวน จึงได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สยามแทนในราวปี พ.ศ. 2475 [20]
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สยามถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 นั้น มีสมาชิกจำนวนมากพอสมควร ส่วนมากเป็นชาวจีนและชาวเวียดนาม นอกจากนี้ ก็ยังมีสาขาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดกระจายทั่วไป มีการจัดตั้งกรรมการกลางประจำกรุงเทพมหานครและประจำภาค 3 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ สมาชิกประกอบด้วยปัญญาชนชาวจีนที่เป็นครูอยู่ในโรงเรียนจีน, นักหนังสือพิมพ์จีน, พ่อค้าย่อย, กรรมกรโรงเลื่อย, กรรมกรโรงพิมพ์, กรรมกรโรงเหล็ก และกรรมกรโรงงานไม้ขีดไฟ เป็นต้น[21] การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สยามในเวลานั้นยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัดและถูกเพ่งเล็งอย่างมากจากรัฐบาลสยามซึ่งทำให้ผลสะเทือนของพรรคคอมมิวนิสต์สยามมีไม่มากนัก และนับตั้งแต่ก่อตั้งมาก็ถูกรัฐบาลทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคณะราษฎรปราบปรามอย่างได้ผลมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ไม่นานก่อนญี่ปุ่นจะบุก ชาวคอมมิวนิสต์ที่เหลืออยู่ได้ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งเยาวชนลูกจีนจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญโดยผ่านโรงเรียนที่พวกเขาบางคนไปเป็นครู เยาวชนเหล่านี้ต่อมาได้กลายกำลังสำคัญในการก่อตั้ง “พรรคคอมมิวนิสต์ไทย” ขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ครั้งนี้การตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผลสำเร็จเพราะพรรคไม่แตกสลายลงในเวลาอันสั้นอีก แต่จะกลายมาเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” หรือ พคท. ที่ดำเนินการปฏิวัติต่อเนื่องกันมาอีก 40 ปี (คำว่า “แห่งประเทศไทย” ถูกเพิ่มเข้าไปในปี พ.ศ. 2495)[22]
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
เชาว์ พงษ์พิชิต (แปล). กิจกรรมการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939). กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “ประวัติ พคท. ฉบับ พคท.(1)” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2546.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 28 ฉบับที่ 6 เมษายน 2550.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ว่าด้วยบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ใน วารสาร อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2546 – พฤษภาคม 2547.
เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
Gosha, Cristopher E.. Thailand and the Southeast Asian Networks of the Vietnamese Revolution, 1885-1945. (Curzon Press: Surrey, England)
Jeamteerasakul, Somsak. “The Communist Movement in Thailand”, Ph.D. Thesis, Monash University, 1993.
Tejapira, Kasian. Commodifying Marxism; The Faundation of Modern Thai Radical Culture 1927-1958. Kyoto: Kyoto University Press; Melbournes Trans Pacific Press, 2001.
อ้างอิง
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ว่าด้วยบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ใน วารสาร อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2546 – พฤษภาคม 2547, หน้า 154 – 155.
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 28 ฉบับที่ 6 เมษายน 2550, หน้า 147.
- ↑ หจช. ร.7 ม.18/1
- ↑ เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม. (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539), หน้า 8 – 10.
- ↑ หจช. สบ.2.47/66
- ↑ หจช. ร.7 ม. 21/3
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” หน้า 148.
- ↑ หจช. ร.7 ม. 21/1
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” หน้า 148.
- ↑ เซี่ยกวง. กิจกรรมการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939). แปลโดย เชาว์ พงษ์พิชิต. (กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
- ↑ เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม, หน้า 75.
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 28 ฉบับที่ 6 เมษายน 2550, หน้า 148 - 149.
- ↑ ในสมัยนั้นคำว่า “พรรค” ยังไม่ได้นำมาใช้ในความหมายนี้ กลุ่มการเมืองที่จัดตั้งขึ้นจะถูกเรียกว่า “คณะ” หรือ “สมาคม” แม้แต่หน่วยพรรคหนันยาง ดังนั้น ทางการสยามจึงเรียกว่า “คณะคอมมูนิสต์ทะเลใต้” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,”หน้า 149.
- ↑ หจช. ร.7 ม.18/1
- ↑ หจช. ร.7 ม.18/1
- ↑ เออิจิ มูราชิมา. การเมืองจีนสยาม, หน้า 82.
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 151.
- ↑ ดูประวัติย่อและบทบาทของ เหงียนอายกว็อก ได้ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 152. สุธาชัยยังอธิบายด้วยว่า เหงียนอายกว็อก ชื่อเดิมคือ เหงียนทัตทานห์ เมื่อเขาตื่นตัวและเขข้าร่วมขบวนการสังคมนิยมฝรั่งเศส จึงชื่อจัดตั้งว่า เหงียนอายกว็อก คำว่า “อายกว็อก” หมายถึง รักชาติ เขามาใช้ชื่อจัดตั้งว่า “โฮจิมินห์” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 155.
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 156.
- ↑ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. “ประวัติการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม,” หน้า 156.
- ↑ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “ประวัติ พคท. ฉบับ พคท.(1)” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2546, หน้า 156.