ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชกิจจานุเบกษา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ | ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” อยู่ในความรับผิดชอบ[[ของกรมอาลักษณ์]] ปัจจุบันมี[[สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]]ซี่งเป็นหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์ | ||
==วิวัฒนาการของราชกิจจานุเบกษา== | ==วิวัฒนาการของราชกิจจานุเบกษา== | ||
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง | ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง [[โรงพิมพ์หลวง]]ขึ้นใน[[พระบรมมหาราชวัง]] เมื่อพุทธศักราช 2401 เรียกว่า "[[โรงอักษรพิม]]พการ" ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน โดยเริ่มพิมพ์หมายประกาศต่างๆ มีลักษณะอย่างหนังสือพิมพ์ข่าว และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” เมื่อพิเคราะห์ดูเรื่องที่พิมพ์พบว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นส่วนมาก ครั้นต่อมาทรงติดพระราชภารกิจอื่นมากขึ้น ไม่มีเวลาพอจะทรงพระราชนิพนธ์และไม่มีผู้ใดรับผิดชอบเป็นผู้แต่งต่อ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แต่หมายประกาศ ทำเป็นใบปลิวแจกตามกระทรวง ทบวง กรม และปิดไว้ตามที่ชุมชน | ||
ครั้นถึงสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แม้ได้ทรงนำอารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างมาใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ แต่สิ่งใดที่มีอยู่แล้วและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในสมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปฏิบัติต่อ โดยเฉพาะเรื่องการพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ออกหนังสือนี้ขึ้นอีกครั้งสืบมาจนถึงปัจจุบัน | |||
ในสมัยหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] จนถึงพ.ศ. 2489 เป็นสมัยที่[[พระมหากษัตริย์]]อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม สิทธิเสรีภาพของประชาชนขยายวงกว้างขึ้นเพราะการประกาศต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนในด้านความรู้ต่างๆ ด้านกฎหมาย ความเป็นอยู่ที่ต้องเกี่ยวข้องกับทางราชการ ทำให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้น เช่น ข่าวในพระราชสำนัก การประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินหวงห้าม ที่ดินเวนคืน ตามอำเภอ ตำบลต่างๆ พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร ประกาศด้านการศึกษาต่างๆ การตั้งโรงเรียน การออกโฉนดที่ดิน การขอแปลงสัญชาติ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และประชาชนควรรู้ทั้งสิ้น จึงนับได้ว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยนี้ปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและประชาชน เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของประชาชนเป็นอเนกนานัปการ | |||
==ราชกิจจานุเบกษามี 4 ประเภท คือ<ref>'''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549</ref>== | ==ราชกิจจานุเบกษามี 4 ประเภท คือ<ref>'''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549</ref>== | ||
1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา | 1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นประกาศเกี่ยวกับ[[รัฐธรรมนูญ]] [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]] [[พระราชบัญญัติ]] [[พระราชกำหนด]] [[พระราชกฤษฎีกา]] [[พระบรมราชโองการ]]ที่เป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติ[[พระราชกำหนด]]และเรื่องที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ [[คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ]] [[คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง]] [[คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง]] [[คำพิพากษาของศาลปกครอง]]อันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ ใช้อักษรย่อ ก ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549 | ||
2. ประเภท ข | 2. ประเภท ข ฉบับ[[ทะเบียนฐานันดร]] เป็นการประกาศเกี่ยวกับการสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]] เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ [[หมายกำหนดการ]] [[พระราชพิธี]]ต่างและข่าวในพระราชสำนัก ใช้อักษรย่อ ข ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ข วันที่ 1 มกราคม 2549 | ||
3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลงและการเพิกถอนทางทะเบียน ใช้อักษรย่อ ค ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ค วันที่ 1 มกราคม 2549 | 3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลงและการเพิกถอนทางทะเบียน ใช้อักษรย่อ ค ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ค วันที่ 1 มกราคม 2549 | ||
บรรทัดที่ 43: | บรรทัดที่ 43: | ||
'''แผนกราชกิจจานุเบกษา''' จะรวบรวมเรื่องที่ทางราชการต้องการประกาศให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ ประกอบด้วย ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบ หมายกำหนดการ แถลงการณ์ ฯลฯ | '''แผนกราชกิจจานุเบกษา''' จะรวบรวมเรื่องที่ทางราชการต้องการประกาศให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ ประกอบด้วย ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบ หมายกำหนดการ แถลงการณ์ ฯลฯ | ||
'''แผนกกฤษฎีกา''' รวมเรื่องของทางราชการที่มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย หรือเสมือนกฎหมายได้ ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด [[พระราชกฤษฎีกา]] กฎ ก.พ. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ฯลฯ | '''แผนกกฤษฎีกา''' รวมเรื่องของทางราชการที่มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย หรือเสมือนกฎหมายได้ ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ [[พระราชกำหนด]] [[พระราชกฤษฎีกา]] กฎ ก.พ. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ฯลฯ | ||
การจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาแต่ละตอน มีจำนวนหน้าไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ปรากฏในช่วงนั้นๆ ในกรณีที่ข้อความในราชกิจจานุเบกษาเกิดความผิดพลาดไปจากความเป็นจริง จะมีใบแก้คำผิดไว้ท้ายตอนต่อไป เรียกว่า “แก้คำผิด” | การจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาแต่ละตอน มีจำนวนหน้าไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ปรากฏในช่วงนั้นๆ ในกรณีที่ข้อความในราชกิจจานุเบกษาเกิดความผิดพลาดไปจากความเป็นจริง จะมีใบแก้คำผิดไว้ท้ายตอนต่อไป เรียกว่า “แก้คำผิด” | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
เนื่องจากในปัจจุบันส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรต่างๆ ส่งเรื่องไปประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง การนำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ออกสู่สาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องนั้นๆ เป็นประการสำคัญ | เนื่องจากในปัจจุบันส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรต่างๆ ส่งเรื่องไปประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง การนำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ออกสู่สาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องนั้นๆ เป็นประการสำคัญ | ||
ด้วยเหตุนี้[[สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]] จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแจ้งเวียนกระทรวงทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่างๆ เพื่อถือปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นลำดับ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่ถือปฏิบัติอยู่ในเวลานี้ ได้แก่ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/ว 14 ลงวันที่ 29 มกราคม 2545 เรื่อง การส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือนำส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา การส่งต้นฉบับ สำเนาจากต้นฉบับ การจัดส่งเอกสารแนบท้าย ขนาด การวางแบบและการพับเอกสารแนบท้าย จำนวนเอกสารแนบท้าย ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น | |||
==ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา== | ==ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา== | ||
บรรทัดที่ 64: | บรรทัดที่ 64: | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา 38 ว่า | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา 38 ว่า | ||
“เมื่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นสำเร็จแล้วให้[[นายกรัฐมนตรี]]นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เพื่อ[[พระมหากษัตริย์]]ทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ท่านให้ใช้เป็นกฎหมายไว้” | |||
นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 90 ว่า | นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 90 ว่า | ||
บรรทัดที่ 94: | บรรทัดที่ 94: | ||
*http://www.ratchakitcha.soc.go.th | *http://www.ratchakitcha.soc.go.th | ||
[[ | |||
[[หมวดหมู่: กิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการทางนิติบัญญัติ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:30, 6 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง ณัฐพล ยิ่งกล้า
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอาลักษณ์ ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซี่งเป็นหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์
วิวัฒนาการของราชกิจจานุเบกษา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพุทธศักราช 2401 เรียกว่า "โรงอักษรพิมพการ" ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน โดยเริ่มพิมพ์หมายประกาศต่างๆ มีลักษณะอย่างหนังสือพิมพ์ข่าว และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” เมื่อพิเคราะห์ดูเรื่องที่พิมพ์พบว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นส่วนมาก ครั้นต่อมาทรงติดพระราชภารกิจอื่นมากขึ้น ไม่มีเวลาพอจะทรงพระราชนิพนธ์และไม่มีผู้ใดรับผิดชอบเป็นผู้แต่งต่อ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แต่หมายประกาศ ทำเป็นใบปลิวแจกตามกระทรวง ทบวง กรม และปิดไว้ตามที่ชุมชน
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ได้ทรงนำอารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างมาใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ แต่สิ่งใดที่มีอยู่แล้วและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในสมัยสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปฏิบัติต่อ โดยเฉพาะเรื่องการพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ออกหนังสือนี้ขึ้นอีกครั้งสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงพ.ศ. 2489 เป็นสมัยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม สิทธิเสรีภาพของประชาชนขยายวงกว้างขึ้นเพราะการประกาศต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนในด้านความรู้ต่างๆ ด้านกฎหมาย ความเป็นอยู่ที่ต้องเกี่ยวข้องกับทางราชการ ทำให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้น เช่น ข่าวในพระราชสำนัก การประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินหวงห้าม ที่ดินเวนคืน ตามอำเภอ ตำบลต่างๆ พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร ประกาศด้านการศึกษาต่างๆ การตั้งโรงเรียน การออกโฉนดที่ดิน การขอแปลงสัญชาติ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และประชาชนควรรู้ทั้งสิ้น จึงนับได้ว่าหนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยนี้ปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและประชาชน เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของประชาชนเป็นอเนกนานัปการ
ราชกิจจานุเบกษามี 4 ประเภท คือ[1]
1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดและเรื่องที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ ใช้อักษรย่อ ก ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549
2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร เป็นการประกาศเกี่ยวกับการสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการ พระราชพิธีต่างและข่าวในพระราชสำนัก ใช้อักษรย่อ ข ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ข วันที่ 1 มกราคม 2549
3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลงและการเพิกถอนทางทะเบียน ใช้อักษรย่อ ค ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ค วันที่ 1 มกราคม 2549
4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค ใช้อักษรย่อ ง ระบุไว้หลังเลขเรียงลำดับตอนที่ เช่น เล่ม 123 ตอนที่ 1 ง วันที่ 1 มกราคม 2549
ราชกิจจานุเบกษาแต่ละประเภท อาจกำหนดออกตอนพิเศษตามความจำเป็น เช่น เล่ม 123 ตอนพิเศษ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549
ลักษณะของเรื่องที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เรื่องที่จะนำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาได้ จะต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1. เรื่องที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องส่งไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
3. เรื่องที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องประกาศหรือส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ลักษณะรูปเล่มของราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษา ขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี และเริ่มตอนที่ 1 ในช่วงต้นเดือนมกราคม ราชกิจจานุเบกษานี้มีแบบการจัดพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน แบ่งการพิมพ์ออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกราชกิจจานุเบกษา และแผนกกฤษฎีกา การจัดพิมพ์ของทั้งสองแผนกมีขนาดรูปเล่มเหมือนกัน คือกว้าง 14.5 ซม. ยาว 21 ซม. ปกสีขาวมีตราครุฑสีดำอยู่บนปก
แผนกราชกิจจานุเบกษา จะรวบรวมเรื่องที่ทางราชการต้องการประกาศให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ ประกอบด้วย ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบ หมายกำหนดการ แถลงการณ์ ฯลฯ
แผนกกฤษฎีกา รวมเรื่องของทางราชการที่มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย หรือเสมือนกฎหมายได้ ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ฯลฯ
การจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาแต่ละตอน มีจำนวนหน้าไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ปรากฏในช่วงนั้นๆ ในกรณีที่ข้อความในราชกิจจานุเบกษาเกิดความผิดพลาดไปจากความเป็นจริง จะมีใบแก้คำผิดไว้ท้ายตอนต่อไป เรียกว่า “แก้คำผิด”
การส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เนื่องจากในปัจจุบันส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรต่างๆ ส่งเรื่องไปประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง การนำลงประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ออกสู่สาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องนั้นๆ เป็นประการสำคัญ
ด้วยเหตุนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแจ้งเวียนกระทรวงทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่างๆ เพื่อถือปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นลำดับ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่ถือปฏิบัติอยู่ในเวลานี้ ได้แก่ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/ว 14 ลงวันที่ 29 มกราคม 2545 เรื่อง การส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือนำส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา การส่งต้นฉบับ สำเนาจากต้นฉบับ การจัดส่งเอกสารแนบท้าย ขนาด การวางแบบและการพับเอกสารแนบท้าย จำนวนเอกสารแนบท้าย ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น
ระยะเวลาในการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องมีหนังสือส่งเรื่องและเอกสารแนบท้าย(ถ้ามี) ไปถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนวันที่ประสงค์จะให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเรื่องนั้นประกาศหรือลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
2. กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ขอให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องติดต่อประสานงานโดยตรงกับส่วนงานราชกิจจานุเบกษาเป็นรายกรณี
การประกาศใช้กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา 38 ว่า
“เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นสำเร็จแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ท่านให้ใช้เป็นกฎหมายไว้”
นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 90 ว่า
“ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือถือเสมือนว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป”
ราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือสำคัญของทางราชการในการใช้เป็นสื่อระหว่างรัฐกับประชาชน โดยทำให้ประชาชนได้รับทราบและได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและเรื่องสำคัญต่างๆ ของชาติ จึงมีประโยชน์และมีคุณค่าสูงยิ่งในการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะฉบับย้อนหลังเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและอ้างอิงได้ในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติบุคคล ฯลฯ หากศึกษาค้นคว้าทั้งระบบจะทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติทุกด้านในแต่ละยุคสมัย
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549
บรรณานุกรม
ปองพล ไตรเทพชนะภัย. ความสำคัญของราชกิจจานุเบกษา. แหล่งที่มา : http://www.geocities.com/fmjnitivej/law0101.htm สืบค้นข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.05 นาฬิกา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 1 ก วันที่ 1 มกราคม 2549
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/index/index.htm สืบค้นข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.30 นาฬิกา.
http://th.wikipedia.org สืบค้นข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 11.00 นาฬิกา.