ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ ผู้ทรงคุณว..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ'''
'''นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ'''


'''        นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ '''นายกรัฐมนตรีลำดับที่ 27 อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ลำดับที่ 7   
'''        นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ '''[[นายกรัฐมนตรี]]ลำดับที่ 27 อดีต[[ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]]ลำดับที่ 7   


 
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่  3  สิงหาคม  พ.ศ.2507 ณ เมืองนิวคาสเซิล  ประเทศอังกฤษ  เป็นบุตรชายคนเดียวของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์  เวชชาชีวะ กับศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส  เวชชาชีวะ[[#_ftn1|[1]]]
          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่  3  สิงหาคม  พ.ศ.2507 ณ เมืองนิวคาสเซิล  ประเทศอังกฤษ  เป็นบุตรชายคนเดียวของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์  เวชชาชีวะ กับศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส  เวชชาชีวะ[[#_ftn1|[1]]]


           เมื่ออายุได้ 1 ขวบนายอภิสิทธิ์และครอบครัวเดินทางกลับประเทศไทย  นายอภิสิทธิ์เริ่มเข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธรและระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่ Scaitliffe School และระดับมัธยมที่ Eton College จากนั้นได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy Politics and Economics – PPE)  ที่ Oxford University จนจบการศึกษาได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ภายในระยะเวลา 3 ปี นับเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา[[#_ftn2|[2]]] นอกจากนี้ระหว่างศึกษาชั้นปีที่สอง นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นประธานนักศึกษา ด้วยชื่อเสียงในการเรียน ความสามารถและเป็นนักกิจกรรม[[#_ftn3|[3]]] จบปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์เกียรตินิยม จาก Oxford University ประเทศอังกฤษ[[#_ftn4|[4]]] นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง 
           เมื่ออายุได้ 1 ขวบนายอภิสิทธิ์และครอบครัวเดินทางกลับประเทศไทย  นายอภิสิทธิ์เริ่มเข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธรและระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่ Scaitliffe School และระดับมัธยมที่ Eton College จากนั้นได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy Politics and Economics – PPE)  ที่ Oxford University จนจบการศึกษาได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ภายในระยะเวลา 3 ปี นับเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับต่อจาก[[พระยาศรีวิศาลวาจา]][[#_ftn2|[2]]] นอกจากนี้ระหว่างศึกษาชั้นปีที่สอง นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นประธานนักศึกษา ด้วยชื่อเสียงในการเรียน ความสามารถและเป็นนักกิจกรรม[[#_ftn3|[3]]] จบปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์เกียรตินิยม จาก Oxford University ประเทศอังกฤษ[[#_ftn4|[4]]] นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง 


          ด้านชีวิตสมรส นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และนายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[[#_ftn5|[5]]]  
          ด้านชีวิตสมรส นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และนายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[[#_ftn5|[5]]]  
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
         พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารยศร้อยตรีในตำแหน่งอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก่อนไปศึกษาต่อและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ  จนถึงปี พ.ศ.2533 กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[[#_ftn6|[6]]]
         พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารยศร้อยตรีในตำแหน่งอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก่อนไปศึกษาต่อและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ  จนถึงปี พ.ศ.2533 กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[[#_ftn6|[6]]]


          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ มีความสนใจการเมืองตั้งแต่อายุเพียง  9-10 ขวบ โดยบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญในครั้งนั้นไว้ว่า  ''“ผมสนใจการเมือง เมื่อครั้งที่มีอายุ 9-10 ขวบ ที่ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้โดยยอมเอาชีวิตเข้าแลก คุณพ่อได้อธิบายว่าออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้ผมรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน จึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง''”[[#_ftn7|[7]]] จากนั้นนายอภิสิทธิ์  ติดตามข่าวสารทางการเมืองโดยเฉพาะการอภิปรายในสภาและมีความประทับใจลีลาการอภิปรายของอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ไม่ว่าจะเป็น หม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช หรือนายชวน  หลีกภัย[[#_ftn8|[8]]]  นายอภิสิทธิ์เริ่มต้นเรียนรู้งานทางการเมืองโดยเป็นอาสาสมัครในทีมช่วยหาเสียงให้นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่อีตันแล้วกลับมาประเทศไทย ได้เดินรณรงค์ในแถบชุมชนแออัดคลองเตย หลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้ทำงานให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่อง เช่นได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านวิชาการให้กับนายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีโอกาสตามไปเป็นล่ามให้นายชวน หลีกภัยเมื่อเดินทางไปเยือนปากีสถาน บังคลาเทศและเนปาล [[#_ftn9|[9]]] และได้ช่วยงานเกี่ยวกับเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับนายชวน  หลีกภัย ขณะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[[#_ftn10|[10]]]
          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ มีความสนใจการเมืองตั้งแต่อายุเพียง  9-10 ขวบ โดยบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญในครั้งนั้นไว้ว่า  ''“ผมสนใจการเมือง เมื่อครั้งที่มีอายุ 9-10 ขวบ ที่ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้โดยยอมเอาชีวิตเข้าแลก คุณพ่อได้อธิบายว่าออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้ผมรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน จึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง''”[[#_ftn7|[7]]] จากนั้นนายอภิสิทธิ์  ติดตามข่าวสารทางการเมืองโดยเฉพาะการอภิปรายในสภาและมีความประทับใจลีลาการอภิปรายของอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ไม่ว่าจะเป็น หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์ _ปราโมช]] หรือนาย[[ชวน _หลีกภัย]][[#_ftn8|[8]]]  นายอภิสิทธิ์เริ่มต้นเรียนรู้งานทางการเมืองโดยเป็นอาสาสมัครในทีมช่วยหาเสียงให้นาย[[พิชัย_รัตตกุล]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่อีตันแล้วกลับมาประเทศไทย ได้เดินรณรงค์ในแถบชุมชนแออัดคลองเตย หลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้ทำงานให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่อง เช่นได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านวิชาการให้กับนายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีโอกาสตามไปเป็นล่ามให้นายชวน หลีกภัยเมื่อเดินทางไปเยือนปากีสถาน บังคลาเทศและเนปาล [[#_ftn9|[9]]] และได้ช่วยงานเกี่ยวกับเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับนายชวน  หลีกภัย ขณะเป็นหัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]][[#_ftn10|[10]]]


          22 มีนาคม พ.ศ. 2535  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในนามพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งในขณะที่อายุเพียง  27 ปี เป็นสมาชิกฯที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรชุดนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร[[#_ftn11|[11]]]      
          22 มีนาคม พ.ศ. 2535  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้ลงสมัคร[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ครั้งแรกในนามพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งในขณะที่อายุเพียง  27 ปี เป็นสมาชิกฯที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรชุดนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร[[#_ftn11|[11]]]      


          22 กันยายน พ.ศ.2535 นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 และพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจนทำให้นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2537 ระหว่างการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2535 ในวาระที่ 2 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขอให้กลับไปใช้มาตรา 198 และ 199 ที่รัฐสภาได้รับหลักการในวาระแรกแทนที่จะใช้ร่างที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯที่กำหนดให้เลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในทุกระดับ พรรคประชาธิปัตย์ได้เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการฯเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายพรรคฯในเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกมาชุมนุมเพื่อกดดันรัฐบาล พรรคความหวังใหม่ได้ลงคะแนนเสียงไม่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้ขอให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล[[#_ftn12|[12]]] นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนทางการเมือง โดยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่าควรยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ''“ท่านหัวหน้าชวนควรจะยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่สุดท้ายจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ไม่ได้ยุบสภา ก็ได้มีการดึงเอาพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเพราะผมว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองได้เกิดขึ้น หลังเหตุการณ์พฤษภา และถ้าเมื่อรัฐบาลมีปัญหาอย่างนี้ ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน”'' เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้พรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาลแทนพรรคความหวังใหม่ นายอภิสิทธิ์จึงแสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[[#_ftn13|[13]]]แต่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 
          22 กันยายน พ.ศ.2535 นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 และพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจนทำให้นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2537 ระหว่างการพิจารณาการแก้ไข[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2535|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2535]] ในวาระที่ 2 พลเอก[[ชวลิต_ยงใจยุทธ]] หัวหน้า[[พรรคความหวังใหม่]]และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขอให้กลับไปใช้มาตรา 198 และ 199 ที่[[รัฐสภา]]ได้รับหลักการในวาระแรกแทนที่จะใช้ร่างที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯที่กำหนดให้เลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในทุกระดับ พรรคประชาธิปัตย์ได้เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการฯเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายพรรคฯในเรื่อง[[การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น]] ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกมาชุมนุมเพื่อกดดันรัฐบาล พรรคความหวังใหม่ได้ลงคะแนนเสียงไม่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการประสานงาน[[พรรคร่วมรัฐบาล]] นายชวน หลีกภัยได้ขอให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล[[#_ftn12|[12]]] นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนทางการเมือง โดยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่าควร[[ยุบสภา]]คืนอำนาจให้กับประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ''“ท่านหัวหน้าชวนควรจะยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่สุดท้ายจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ไม่ได้ยุบสภา ก็ได้มีการดึงเอาพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเพราะผมว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองได้เกิดขึ้น หลังเหตุการณ์พฤษภา และถ้าเมื่อรัฐบาลมีปัญหาอย่างนี้ ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน”'' เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้[[พรรคชาติพัฒนา]]เข้าร่วมรัฐบาลแทน[[พรรคความหวังใหม่|พรรคความหวังใหม่ ]]นายอภิสิทธิ์จึงแสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[[#_ftn13|[13]]]แต่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 


          2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และพรรคประชาธิปัตย์ได้แต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
          2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน[[คณะกรรมาธิการ]]การศึกษา [[สภาผู้แทนราษฎร]] และพรรคประชาธิปัตย์ได้แต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์


          17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 เมื่อพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ พร้อมกับการดูแลงานด้านนโยบายเกี่ยวกับการปฎิรูประบบราชการ งานกระจายอำนาจ[[#_ftn14|[14]]] โดยมีผลงานที่สำคัญคือเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
          17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 เมื่อพลเอก[[ชวลิต_ยงใจยุทธ]] ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและนาย[[ชวน_หลีกภัย]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้[[กำกับดูแล]]คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ พร้อมกับการดูแลงานด้านนโยบายเกี่ยวกับ[[การปฎิรูประบบราชการ]] งานกระจายอำนาจ[[#_ftn14|[14]]] โดยมีผลงานที่สำคัญคือเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542


          พ.ศ.2542 นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
          พ.ศ.2542 นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 


          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปใน พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2548 นายอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์  ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ให้กับพรรคไทยรักไทยโดยได้จำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 96 ที่นั่ง[[#_ftn15|[15]]]  นายบัญญัติ บรรทัดฐานได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคโดยนายอภิสิทธิ์ขึ้นรักษาการหัวหน้าพรรคแทน และในที่สุดนายอภิสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2548 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยเป็นหัวหน้าพรรคลำดับที่ 7[[#_ftn16|[16]]]  และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[[#_ftn17|[17]]]
          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปใน พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2548 นายอภิสิทธิ์เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อ]]ของพรรคประชาธิปัตย์  ภายหลัง[[เลือกตั้งทั่วไป|การเลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ให้กับ[[พรรคไทยรักไทย]]โดยได้จำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 96 ที่นั่ง[[#_ftn15|[15]]]  นาย[[บัญญัติ_บรรทัดฐาน]]ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคโดยนายอภิสิทธิ์ขึ้นรักษาการหัวหน้าพรรคแทน และในที่สุดนายอภิสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งจากที่[[ประชุมกรรมการบริหารพรรค]]ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2548 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยเป็นหัวหน้าพรรคลำดับที่ 7[[#_ftn16|[16]]]  และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็น[[ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร|ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎ]]ร[[#_ftn17|[17]]]


                    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ดร.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศร่วมกับอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านคือพรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ว่าจะไม่ส่งผู้สมัครรับเรื่องตั้ง เพราะเห็นว่าการยุบสภาขาดความชอบธรรมและเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาบ้านเมือง แต่เป็นการแก้ปัญหาให้กับ ดร.ทักษิณ แต่เพียงผู้เดียว พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องให้มีการปฎิรูปการเมืองรวมถึงการหยุดระบอบทักษิณ[[#_ftn18|[18]]] ทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหา ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 เสียงว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[[#_ftn19|[19]]] ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองจนนำไปสู่การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549
                    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ดร.[[ทักษิณ_ชินวัตร]]นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ [[2_เมษายน_พ.ศ._2549]] นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศร่วมกับอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านคือ[[พรรคชาติไทย]]และ[[พรรคมหาชน|พรรคมหาชน ]]ว่าจะไม่ส่งผู้สมัครรับเรื่องตั้ง เพราะเห็นว่าการยุบสภา[[ขาดความชอบธรรม]]และเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาบ้านเมือง แต่เป็นการแก้ปัญหาให้กับ ดร.ทักษิณ แต่เพียงผู้เดียว พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องให้มีการปฎิรูปการเมืองรวมถึงการหยุดระบอบทักษิณ[[#_ftn18|[18]]] ทำให้[[การเลือกตั้ง]]ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหา ต่อมา[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีมติ 8 ต่อ 6 เสียงว่าการเลือกตั้ง[[ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ]][[#_ftn19|[19]]] ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองจนนำไปสู่การ[[รัฐประหาร]]โดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]]เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549


                การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่นายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 165 ที่นั่ง[[#_ftn20|[20]]]นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน[[#_ftn21|[21]]] เป็นเหตุให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์หัวหน้าพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชนได้หันมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์[[#_ftn22|[22]]] ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏร ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
                การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่นายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 165 ที่นั่ง[[#_ftn20|[20]]]นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ได้มีคำสั่งยุบ[[พรรคพลังประชาชน]][[#_ftn21|[21]]] เป็นเหตุให้นาย[[สมชาย_วงศ์สวัสดิ์]]หัวหน้าพรรคถูกตัด[[สิทธิ์ทางการเมือง]] 5 ปี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชนได้หันมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์[[#_ftn22|[22]]] ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏร ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551


          ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญคือการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพและมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน[[#_ftn23|[23]]]
          ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญคือการ[[ชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพและมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน[[#_ftn23|[23]]]


           การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 159 ที่นั่ง นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554จนกระทั่งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร
           การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 159 ที่นั่ง นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554จนกระทั่งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร


          การลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2559 นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนในการไม่รับร่างโดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวพ้นสภาพปัญหาต่างๆและจะสร้างปัญหาทางการเมืองใหม่ๆในอนาคต[[#_ftn24|[24]]]
          [[การลงประชามติ]]เพื่อรับร่าง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2559 นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนในการไม่รับร่างโดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวพ้นสภาพปัญหาต่างๆและจะสร้างปัญหาทางการเมืองใหม่ๆในอนาคต[[#_ftn24|[24]]]


          ผลงานสำคัญของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้แก่นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ  นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การผลักดันนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐให้มีผลเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่สำคัญ  3 คณะได้แก่ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (ปรร.)  คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนของรัฐ (คปร.)  และคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ  (ปปร.) [[#_ftn25|[25]]]
          ผลงานสำคัญของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้แก่นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ  [[นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ]] การผลักดันนโยบาย[[การปฏิรูประบบราชการ]]ของรัฐให้มีผลเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่สำคัญ  3 คณะได้แก่ [[คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ]] ([[ปรร.]])  [[คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนของรัฐ]] ([[คปร.]])  และ[[คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ]]  ([[ปปร.]]) [[#_ftn25|[25]]]


 
 
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552).
พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552).


ส.สุทธิพันธ์, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า''', (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2552).
ส.สุทธิพันธ์, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า''', (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2552).


 
 
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 74:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''


กองบรรณาธิการมติชน,'''บันทึกประเทศไทย ปี 2553,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.
กองบรรณาธิการมติชน,'''บันทึกประเทศไทย ปี 2553,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.


กองบรรณาธิการมติชน,'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226
กองบรรณาธิการมติชน,'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226


ไทยรัฐออน์ไลน์,'''อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ,''' เข้าถึงจาก [http://www.thairath.co.th/content/674381 http://www.thairath.co.th/content/674381] [[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ| เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
ไทยรัฐออน์ไลน์,'''อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ,''' เข้าถึงจาก [http://www.thairath.co.th/content/674381 http://www.thairath.co.th/content/674381] [[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ| เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.


ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์,'''เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ ''''''27  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.
ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์,'''เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ ''''''27  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.


ผู้จัดการออนไลน์,'''ศาล รธน.มีมติ ''''''8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่,''' เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
ผู้จัดการออนไลน์,'''ศาล รธน.มีมติ ''''''8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่,''' เข้าถึงจาก [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310] วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.


พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.
พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.
บรรทัดที่ 92: บรรทัดที่ 92:
วิกิพีเดีย, '''คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551'''เข้าถึงจาก [https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551%20ค้นเมื่อ%2015%20กรกฎาคม%202559 https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559]
วิกิพีเดีย, '''คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551'''เข้าถึงจาก [https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551%20ค้นเมื่อ%2015%20กรกฎาคม%202559 https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559]


สำนักข่าว บีบีซี,'''ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ''' เข้าถึงจาก http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่  24  กรกฎาคม  2559.
สำนักข่าว บีบีซี,'''ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ''' เข้าถึงจาก [http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่  24  กรกฎาคม  2559.


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/book_2years_2.php http://www.abhisit.org/book_2years_2.php][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.


 
 
บรรทัดที่ 102: บรรทัดที่ 102:
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref1|[1]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/book_2years_2.php http://www.abhisit.org/book_2years_2.php][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]]สำนักข่าว บีบีซี,'''ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ''' เข้าถึงจาก http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่&nbsp; 24&nbsp; กรกฎาคม&nbsp; 2559.
[[#_ftnref2|[2]]]สำนักข่าว บีบีซี,'''ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ''' เข้าถึงจาก [http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่&nbsp; 24&nbsp; กรกฎาคม&nbsp; 2559.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref3|[3]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref4|[4]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/book_2years_2.php http://www.abhisit.org/book_2years_2.php][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]]พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์&nbsp; เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.
[[#_ftnref5|[5]]]พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, '''อภิสิทธิ์&nbsp; เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”''', (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref6|[6]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''วัยเด็กและการศึกษา,'''เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/book_2years_2.php http://www.abhisit.org/book_2years_2.php][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref7|[7]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]]ถนอมศักดิ์&nbsp; จิรายุสวัสดิ์,'''เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ ''''''27&nbsp; อภิสิทธิ์&nbsp; เวชชาชีวะ''',
[[#_ftnref8|[8]]]ถนอมศักดิ์&nbsp; จิรายุสวัสดิ์,'''เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ ''''''27&nbsp; อภิสิทธิ์&nbsp; เวชชาชีวะ''',
บรรทัดที่ 120: บรรทัดที่ 120:
(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.
(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref9|[9]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]]พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, หน้า 39
[[#_ftnref10|[10]]]พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, หน้า 39
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref11|[11]]]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] กองบรรณาธิการมติชน,'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226
[[#_ftnref12|[12]]] กองบรรณาธิการมติชน,'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน,''' (กรุงเทพฯ&nbsp;: สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref13|[13]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref14|[14]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] วิกิพีเดีย, '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548, '''เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2548 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
[[#_ftnref15|[15]]] วิกิพีเดีย, '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548, '''เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2548 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref16|[16]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
[[#_ftnref17|[17]]] พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, หน้า 39-41.
[[#_ftnref17|[17]]] พิชัยยุทธ์&nbsp; สยามพันธกิจ, หน้า 39-41.
</div> <div id="ftn18">
</div> <div id="ftn18">
[[#_ftnref18|[18]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref18|[18]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn19">
</div> <div id="ftn19">
[[#_ftnref19|[19]]] ผู้จัดการออนไลน์,'''ศาล รธน.มีมติ ''''''8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่,''' เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref19|[19]]] ผู้จัดการออนไลน์,'''ศาล รธน.มีมติ ''''''8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่,''' เข้าถึงจาก [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310] วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.


[[#_ftnref20|[20]]] วิกิพีเดีย, '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550, '''เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2550 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
[[#_ftnref20|[20]]] วิกิพีเดีย, '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550, '''เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2550 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
</div> <div id="ftn21">
</div> <div id="ftn21">
[[#_ftnref21|[21]]] วิกิพีเดีย, '''คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551'''เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
[[#_ftnref21|[21]]] วิกิพีเดีย, '''คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551'''เข้าถึงจาก [https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551] ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559
</div> <div id="ftn22">
</div> <div id="ftn22">
[[#_ftnref22|[22]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17[[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref22|[22]]] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,'''บนเส้นทางการเมือง''', เข้าถึงจาก [http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17 http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17][[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|, เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn23">
</div> <div id="ftn23">
[[#_ftnref23|[23]]] กองบรรณาธิการมติชน,'''บันทึกประเทศไทย ปี 2553,''' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.
[[#_ftnref23|[23]]] กองบรรณาธิการมติชน,'''บันทึกประเทศไทย ปี 2553,''' (กรุงเทพฯ&nbsp;: สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.
</div> <div id="ftn24">
</div> <div id="ftn24">
[[#_ftnref24|[24]]] ไทยรัฐออน์ไลน์,'''อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ,''' เข้าถึงจาก [http://www.thairath.co.th/content/674381 http://www.thairath.co.th/content/674381] [[_http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|&nbsp;เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
[[#_ftnref24|[24]]] ไทยรัฐออน์ไลน์,'''อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ,''' เข้าถึงจาก [http://www.thairath.co.th/content/674381 http://www.thairath.co.th/content/674381] [[Http:/hilight.kapook.com/view/31942,_เมื่อ|&nbsp;เมื่อ]]วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.
</div> <div id="ftn25">
</div> <div id="ftn25">
[[#_ftnref25|[25]]] ถนอมศักดิ์&nbsp; จิรายุสวัสดิ์, หน้า 89-90.
[[#_ftnref25|[25]]] ถนอมศักดิ์&nbsp; จิรายุสวัสดิ์, หน้า 89-90.

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:46, 6 พฤษภาคม 2563

ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

        นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีลำดับที่ 27 อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ลำดับที่ 7   

 

ประวัติ

          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่  3  สิงหาคม  พ.ศ.2507 ณ เมืองนิวคาสเซิล  ประเทศอังกฤษ  เป็นบุตรชายคนเดียวของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์  เวชชาชีวะ กับศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส  เวชชาชีวะ[1]

           เมื่ออายุได้ 1 ขวบนายอภิสิทธิ์และครอบครัวเดินทางกลับประเทศไทย  นายอภิสิทธิ์เริ่มเข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธรและระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่ Scaitliffe School และระดับมัธยมที่ Eton College จากนั้นได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy Politics and Economics – PPE)  ที่ Oxford University จนจบการศึกษาได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 ภายในระยะเวลา 3 ปี นับเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา[2] นอกจากนี้ระหว่างศึกษาชั้นปีที่สอง นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นประธานนักศึกษา ด้วยชื่อเสียงในการเรียน ความสามารถและเป็นนักกิจกรรม[3] จบปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์เกียรตินิยม จาก Oxford University ประเทศอังกฤษ[4] นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์  จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง 

          ด้านชีวิตสมรส นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และนายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[5]  

 

ผลงานที่สำคัญ

         พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารยศร้อยตรีในตำแหน่งอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก่อนไปศึกษาต่อและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ประเทศอังกฤษ  จนถึงปี พ.ศ.2533 กลับมาเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6]

          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ มีความสนใจการเมืองตั้งแต่อายุเพียง  9-10 ขวบ โดยบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญในครั้งนั้นไว้ว่า  “ผมสนใจการเมือง เมื่อครั้งที่มีอายุ 9-10 ขวบ ที่ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้โดยยอมเอาชีวิตเข้าแลก คุณพ่อได้อธิบายว่าออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้ผมรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน จึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง[7] จากนั้นนายอภิสิทธิ์  ติดตามข่าวสารทางการเมืองโดยเฉพาะการอภิปรายในสภาและมีความประทับใจลีลาการอภิปรายของอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ไม่ว่าจะเป็น หม่อมราชวงศ์เสนีย์ _ปราโมช หรือนายชวน _หลีกภัย[8]  นายอภิสิทธิ์เริ่มต้นเรียนรู้งานทางการเมืองโดยเป็นอาสาสมัครในทีมช่วยหาเสียงให้นายพิชัย_รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่อีตันแล้วกลับมาประเทศไทย ได้เดินรณรงค์ในแถบชุมชนแออัดคลองเตย หลังจากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้ทำงานให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่อง เช่นได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านวิชาการให้กับนายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีโอกาสตามไปเป็นล่ามให้นายชวน หลีกภัยเมื่อเดินทางไปเยือนปากีสถาน บังคลาเทศและเนปาล [9] และได้ช่วยงานเกี่ยวกับเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับนายชวน  หลีกภัย ขณะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[10]

          22 มีนาคม พ.ศ. 2535  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในนามพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งในขณะที่อายุเพียง  27 ปี เป็นสมาชิกฯที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรชุดนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร[11]      

          22 กันยายน พ.ศ.2535 นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 และพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจนทำให้นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2537 ระหว่างการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2535 ในวาระที่ 2 พลเอกชวลิต_ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขอให้กลับไปใช้มาตรา 198 และ 199 ที่รัฐสภาได้รับหลักการในวาระแรกแทนที่จะใช้ร่างที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯที่กำหนดให้เลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในทุกระดับ พรรคประชาธิปัตย์ได้เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการฯเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายพรรคฯในเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกมาชุมนุมเพื่อกดดันรัฐบาล พรรคความหวังใหม่ได้ลงคะแนนเสียงไม่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้ขอให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล[12] นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนทางการเมือง โดยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่าควรยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนเป็นผู้ตัดสิน “ท่านหัวหน้าชวนควรจะยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่สุดท้ายจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ไม่ได้ยุบสภา ก็ได้มีการดึงเอาพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเพราะผมว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองได้เกิดขึ้น หลังเหตุการณ์พฤษภา และถ้าเมื่อรัฐบาลมีปัญหาอย่างนี้ ควรคืนอำนาจให้กับประชาชน” เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้พรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาลแทนพรรคความหวังใหม่ นายอภิสิทธิ์จึงแสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[13]แต่ได้รับการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 

          2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และพรรคประชาธิปัตย์ได้แต่งตั้งให้เป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

          17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 เมื่อพลเอกชวลิต_ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและนายชวน_หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 นายอภิสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ พร้อมกับการดูแลงานด้านนโยบายเกี่ยวกับการปฎิรูประบบราชการ งานกระจายอำนาจ[14] โดยมีผลงานที่สำคัญคือเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

          พ.ศ.2542 นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 

          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปใน พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2548 นายอภิสิทธิ์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์  ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ให้กับพรรคไทยรักไทยโดยได้จำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 96 ที่นั่ง[15]  นายบัญญัติ_บรรทัดฐานได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคโดยนายอภิสิทธิ์ขึ้นรักษาการหัวหน้าพรรคแทน และในที่สุดนายอภิสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2548 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยเป็นหัวหน้าพรรคลำดับที่ 7[16]  และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎ[17]

                    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ดร.ทักษิณ_ชินวัตรนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2_เมษายน_พ.ศ._2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศร่วมกับอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านคือพรรคชาติไทยและพรรคมหาชน ว่าจะไม่ส่งผู้สมัครรับเรื่องตั้ง เพราะเห็นว่าการยุบสภาขาดความชอบธรรมและเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาบ้านเมือง แต่เป็นการแก้ปัญหาให้กับ ดร.ทักษิณ แต่เพียงผู้เดียว พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องให้มีการปฎิรูปการเมืองรวมถึงการหยุดระบอบทักษิณ[18] ทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหา ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 เสียงว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[19] ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองจนนำไปสู่การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549

                การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่นายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 165 ที่นั่ง[20]นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน[21] เป็นเหตุให้นายสมชาย_วงศ์สวัสดิ์หัวหน้าพรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชนได้หันมาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์[22] ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏร ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

          ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญคือการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพและมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน[23]

           การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคได้รับการเลือกตั้งจำนวน 159 ที่นั่ง นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554จนกระทั่งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร

          การลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2559 นายอภิสิทธิ์ได้แสดงจุดยืนในการไม่รับร่างโดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศให้ก้าวพ้นสภาพปัญหาต่างๆและจะสร้างปัญหาทางการเมืองใหม่ๆในอนาคต[24]

          ผลงานสำคัญของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้แก่นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ  นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การผลักดันนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐให้มีผลเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่สำคัญ  3 คณะได้แก่ คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (ปรร.คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนของรัฐ (คปร.)  และคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ  (ปปร.) [25]

 

ผลงานด้านอื่นๆ   

          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้รับรางวัลเกียรติยศในระดับนานาชาติ  ในปี 2535  เป็น 1 ใน 100  ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้ที่จัดโดย World  Economic  Forum  (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)  ปี 2540 ได้รับการคัดเลือกให้ เป็น 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเชียจัดโดยนิตยสารไทม์  และในปี 2542 เป็น 1 ใน 20  ผู้นำสำหรับสหัสวรรษด้านการเมืองจัดโดยนิตยสารเอเชียวีค[26]

  นายอภิสิทธิ์ ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และ พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

หนังสือแนะนำ

ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์, เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ '27  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ',  (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552).

พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552).

ส.สุทธิพันธ์, อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ผู้นำเลือดใหม่ หัวใจผู้กล้า, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2552).

 

บรรณานุกรม

กองบรรณาธิการมติชน,บันทึกประเทศไทย ปี 2553, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.

กองบรรณาธิการมติชน,289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226

ไทยรัฐออน์ไลน์,อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ, เข้าถึงจาก http://www.thairath.co.th/content/674381  เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์,'เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ '27  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.

ผู้จัดการออนไลน์,'ศาล รธน.มีมติ '8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่, เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.

วิกิพีเดีย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548, เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2548 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559.

วิกิพีเดีย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550, เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2550 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559.

วิกิพีเดีย, คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559

สำนักข่าว บีบีซี,ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าถึงจาก http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm, เมื่อวันที่  24  กรกฎาคม  2559.

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,วัยเด็กและการศึกษา,เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

 

อ้างอิง

[1]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,วัยเด็กและการศึกษา,เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[2]สำนักข่าว บีบีซี,ข้อมูลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าถึงจาก http://news.bbc.co.uk/2/hi/7780309.stm, เมื่อวันที่  24  กรกฎาคม  2559.

[3] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[4] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,วัยเด็กและการศึกษา,เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[5]พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ “นายกรัฐมนตรีบนพื้นพรมแดง”, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2552), หน้า 32.

[6]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,วัยเด็กและการศึกษา,เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/book_2years_2.php, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[7] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[8]ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์,'เส้นทางสู่ฝั่งฝัน...นายกรัฐมนตรีคนที่ '27  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ,

(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน, 2552), หน้า 16.

[9] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[10]พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, หน้า 39

[11]อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[12] กองบรรณาธิการมติชน,289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษสำนักพิมพ์มติชน, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,2550),หน้า 226

[13] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[14] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[15] วิกิพีเดีย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548, เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2548 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559

[16] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[17] พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, หน้า 39-41.

[18] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[19] ผู้จัดการออนไลน์,'ศาล รธน.มีมติ '8 ต่อ 6 ชี้เลือกตั้ง 2 เมษาฯ มิชอบ – สั่งเลือกใหม่, เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000060310 วันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[20] วิกิพีเดีย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550, เข้าถึงจากhttps://th.wikipedia .org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2550 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559

[21] วิกิพีเดีย, คดียุบพรรคการเมืองพ.ศ. 2551เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551 ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559

[22] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,บนเส้นทางการเมือง, เข้าถึงจาก http://www.abhisit.org/360detail.php?cate_id=17, เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[23] กองบรรณาธิการมติชน,บันทึกประเทศไทย ปี 2553, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2554), หน้า 199.

[24] ไทยรัฐออน์ไลน์,อภิสิทธิ์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ-คำถามพ่วง ชี้ไม่ตอบโจทย์ประเทศ, เข้าถึงจาก http://www.thairath.co.th/content/674381  เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559.

[25] ถนอมศักดิ์  จิรายุสวัสดิ์, หน้า 89-90.

[26] พิชัยยุทธ์  สยามพันธกิจ, หน้า 42.