ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
----
----


= การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 =
'''การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดโครงสร้าง กลไก และหลักการพื้นฐานในการปกครองประเทศ รวมถึงการคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ|สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน บทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจึงทำให้การ[[แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ|แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]]ต้องมีการกำหนดกระบวนการไว้เป็นการเฉพาะและแตกต่างจากการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายทั่วไป
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดโครงสร้าง กลไก และหลักการพื้นฐานในการปกครองประเทศ รวมถึงการคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ|สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน บทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจึงทำให้การ[[แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ|แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]]ต้องมีการกำหนดกระบวนการไว้เป็นการเฉพาะและแตกต่างจากการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายทั่วไป
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
&nbsp;
&nbsp;
<div>
<div>
== '''แนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ''' ==
= '''แนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ''' =
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าโดยการแก้ไขถ้อยคำหรือข้อความที่ปรากฏอยู่แล้ว หรือเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่เข้าไป[[#_ftn1|[1]]] เพื่อให้รัฐธรรมนูญสอดคล้องเหมาะสมกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการปรับปรุงบทบัญญัติบางมาตราให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยกระบวนการแก้ไขย่อมเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แนวคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งเป็น 2 รูปแบบ[[#_ftn2|[2]]] คือ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าโดยการแก้ไขถ้อยคำหรือข้อความที่ปรากฏอยู่แล้ว หรือเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่เข้าไป[[#_ftn1|[1]]] เพื่อให้รัฐธรรมนูญสอดคล้องเหมาะสมกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการปรับปรุงบทบัญญัติบางมาตราให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยกระบวนการแก้ไขย่อมเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แนวคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งเป็น 2 รูปแบบ[[#_ftn2|[2]]] คือ
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
&nbsp;
&nbsp;
<div>
<div>
== '''ผู้มีสิทธิเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' ==
= '''ผู้มีสิทธิเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' =
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดผู้มีสิทธิที่สามารถเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้[[#_ftn5|[5]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดผู้มีสิทธิที่สามารถเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้[[#_ftn5|[5]]]
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
&nbsp;
&nbsp;
<div>
<div>
== '''กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' ==
= '''กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' =
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสามารถแบ่งเป็นการแก้ไขในประเด็นที่ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมโดยเด็ดขาด การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ และประเด็นอื่นที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงประชามติ ดังนี้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสามารถแบ่งเป็นการแก้ไขในประเด็นที่ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมโดยเด็ดขาด การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ และประเด็นอื่นที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงประชามติ ดังนี้
บรรทัดที่ 168: บรรทัดที่ 168:
&nbsp;
&nbsp;
<div>
<div>
== '''บรรณานุกรม''' ==
= '''บรรณานุกรม''' =
</div>  
</div>  
มานิตย์ จุมปา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.
มานิตย์ จุมปา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.
บรรทัดที่ 194: บรรทัดที่ 194:
[[#_ftnref6|[6]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, มาตรา 256 (8).
[[#_ftnref6|[6]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, มาตรา 256 (8).
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:รัฐธรรมนูญ]]
&nbsp;
 
[[Category:รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:37, 18 มีนาคม 2563

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์


การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดโครงสร้าง กลไก และหลักการพื้นฐานในการปกครองประเทศ รวมถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน บทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจึงทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมีการกำหนดกระบวนการไว้เป็นการเฉพาะและแตกต่างจากการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายทั่วไป

 

          การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าโดยการแก้ไขถ้อยคำหรือข้อความที่ปรากฏอยู่แล้ว หรือเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่เข้าไป[1] เพื่อให้รัฐธรรมนูญสอดคล้องเหมาะสมกับสภาวการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการปรับปรุงบทบัญญัติบางมาตราให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยกระบวนการแก้ไขย่อมเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แนวคิดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งเป็น 2 รูปแบบ[2] คือ

          1. รัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขธรรมดา (Ordinary Process) หรือรัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ง่าย คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีวิธีการแก้ไขเหมือนกับการแก้ไขกฎหมายธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีวิธีการที่พิเศษแต่อย่างใด ซึ่งการที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ง่าย เนื่องจากต้องการให้สามารถแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับสภาวะการของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป[3]

          2. รัฐธรรมนูญที่มีวิธีการแก้ไขพิเศษ (Special Process) หรือ รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ยาก คือ มีองค์กรอื่นนอกเหนือจากรัฐสภาให้มีส่วนแก้ไขด้วย องค์กรที่เข้ามามีส่วนในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วยมักเรียกว่าสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญ และมักมีการกำหนดจำนวนคะแนนเสียงในสภาเพื่อลงมติไว้ให้มากขึ้นกว่าธรรมดาหรือวิธีให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ทั้งนี้ การที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ยาก เพราะรัฐบาลอาจมีเสียงข้างมากในสภา หากกำหนดเสียงที่ให้เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้น้อย จะทำให้พรรคการเมืองนั้นสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามที่พรรคการเมืองนั้นต้องการได้โดยง่าย[4]

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 ได้กำหนดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ดังนี้

 

ผู้มีสิทธิเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดผู้มีสิทธิที่สามารถเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้[5]

          - คณะรัฐมนตรี หรือ

          - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือ

          - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือ

          - ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

 

กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยสามารถแบ่งเป็นการแก้ไขในประเด็นที่ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมโดยเด็ดขาด การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ และประเด็นอื่นที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงประชามติ ดังนี้

          3.1 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่กระทำไม่ได้โดยเด็ดขาด

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยมาตรา 255 กำหนดว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้” เนื่องจากประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ และต้องมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นบททั่วไปของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ดังนั้น จึงห้ามมิให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ

          3.2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญที่ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติ

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 256 (8) ได้กำหนดไว้ว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ มาตรา 256 (8) ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตาม (7) ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการตาม (7) ต่อไป” ดังนั้น ในกรณีที่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในบางประเด็นที่สำคัญ ก่อนการแก้ไขเพิ่มรัฐจะต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติประเด็น ดังต่อไปนี้[6]

          - หมวด 1 บททั่วไป

          - หมวด 2 พระมหากษัตริย์

          - หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

          - เรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือ

          - เรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้

          การจัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงจะดำเนินการตามมาตรา 256(7) กล่าวคือ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติจะดำเนินการเมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย และก่อนนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

 

          3.3 กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

          การขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ ดังนี้

                    1) วาระที่หนึ่ง: ขั้นรับหลักการ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

                    2) วาระที่สอง: ขั้นพิจารณา การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยการออกเสียงในวาระที่สองนี้ ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย

                    3) วาระที่สาม: การออกเสียงลงมติ ภายหลังการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป โดยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามนี้ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

          3.4 การรอไว้ภายหลังร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านวาระที่สาม

          ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อมีการลงมติเห็นชอบให้รอไว้ “สิบห้าวัน” หลังจากนั้นให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

          การรอไว้ 15 วันนี้ เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของทั้งสองสภารวมกัน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี ว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อมาตรา 255 หรือมีลักษณะตามมาตรา 256(8) หรือไม่

          ประเด็นของความเห็นที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 255 หรือมีลักษณะตามมาตรา 256(8) ได้แก่

          1) เพื่อให้ศาลมีความเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่

          หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐอันเป็นการขัดต่อมาตรา 255 มีผลทำให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับดังกล่าวตกไป และถือว่าเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 49

          2) เพื่อให้ศาลมีความเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ตามมาตรา 256(8)

          หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมีลักษณะตามมาตรา 256(8) ซึ่งต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติก่อนการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

          โดยให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง โดยในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้

 

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช
2560

ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

มาตรา 291(1) วรรคสอง ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้

ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

มาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้

หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไข

มาตรา 291 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

(1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

          ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้

(2) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ

(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย

การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป

(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(7) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไข

มาตรา 256 ภายใต้บังคับมาตรา 255 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

(1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

(2) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ

(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยการออกเสียงในวาระที่สองนี้ ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย

(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป

(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

(7) เมื่อมีการลงมติเห็นชอบตาม (6) แล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำความในมาตรา 81 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(8) ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตาม (7) ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการตาม (7) ต่อไป

(9) ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยตาม (7) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของทั้งสองสภารวมกัน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี ว่าร่างรัฐธรรมนูญตาม (7) ขัดต่อมาตรา 255 หรือมีลักษณะตาม (8) และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้

 

บรรณานุกรม

มานิตย์ จุมปา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์. 2530.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญไทย. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons/cons-thai.pdf เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562.

 

อ้างอิง

[1] วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์, 2530, หน้า 733.

[2] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญไทย, สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons/cons-thai.pdf เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562, หน้า 12.

[3] มานิตย์ จุมปา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550), สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2., หน้า 560.

[4] เรื่องเดียวกัน.

[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, มาตรา 256 (1).

[6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, มาตรา 256 (8).