ผลต่างระหว่างรุ่นของ "26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


----
----
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญที่กล่าวกันว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เรียบร้อยหรือการเลือกตั้งสกปรก
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นวัน[[เลือกตั้ง]]ทั่วไปครั้งสำคัญที่กล่าวกันว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เรียบร้อยหรือการเลือกตั้งสกปรก


การเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นั้นที่จริงถ้าดูตามรัฐธรรมนูญที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ได้ทำให้รัฐบาลมีเสียง สนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว เพราะมีสมาชิกประเภทที่สองที่มาจากการแต่งตั้งคอยค้ำจุนรัฐบาลอยู่ แต่ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญก็เพราะการตื่นตัวทางการเมืองของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง กับบรรดานิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัย และบรรดาสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ที่เป็นอิสระไม่ได้อาศัยการอุดหนุนจากคนในรัฐบาล
การเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นั้นที่จริงถ้าดูตามรัฐธรรมนูญที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น คือ [[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495]] ได้ทำให้[[รัฐบาล]]มีเสียง สนับสนุนใน[[สภาผู้แทนราษฎร]]อยู่แล้ว เพราะมีสมาชิกประเภทที่สองที่มาจากการแต่งตั้งคอยค้ำจุนรัฐบาลอยู่ แต่ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญก็เพราะการตื่นตัวทางการเมืองของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง กับบรรดานิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัย และบรรดา[[สื่อมวลชน]]หนังสือพิมพ์ที่เป็นอิสระไม่ได้อาศัยการอุดหนุนจากคนในรัฐบาล


พรรครัฐบาลที่สำคัญ คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค และมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเป็นเลขาธิการพรรค ตอนนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กล้านำทีมรัฐมนตรีอีก 8 คน ลงสมัครแข่งขัน ชนกับผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีอดีตนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า
[[พรรครัฐบาล]]ที่สำคัญ คือ [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่มี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็น[[หัวหน้าพรรค]] และมี [[เผ่า ศรียานนท์|พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์]] อธิบดีกรมตำรวจเป็น[[เลขาธิการพรรค]] ตอนนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ที่กล้านำทีมรัฐมนตรีอีก 8 คน ลงสมัครแข่งขัน ชนกับผู้สมัครของ[[พรรคประชาธิปัตย์]] ที่มีอดีตนายกรัฐมนตรี [[ควง อภัยวงศ์]] เป็นหัวหน้า


จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเลือกตั้งทั้งหมดมีอยู่ 160 คน เป็นการเลือกตั้ง แบบรวมเขตจังหวัด แต่นับคะแนนแพ้ชนะเรียงกันไป ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกเอาไว้ว่า “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50”
จำนวน[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ที่จะเลือกตั้งทั้งหมดมีอยู่ 160 คน เป็นการเลือกตั้ง แบบรวมเขตจังหวัด แต่นับคะแนนแพ้ชนะเรียงกันไป ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกเอาไว้ว่า “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50”


ตอนหาเสียงในกรุงเทพฯ ผู้คนก็ติดตามฟังการปราศรัยหาเสียงของหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและพรรคประชาธิปัตย์อย่างล้นหลาม หนังสือพิมพ์ก็รายงานข่าวอย่างเอิกเกริก ส่วนวิทยุและโทรทัศน์สมัยนั้นรัฐบาลเป็นผู้มีอิทธิพลมากกว่าใคร
ตอนหาเสียงในกรุงเทพฯ ผู้คนก็ติดตามฟังการปราศรัยหาเสียงของหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและพรรคประชาธิปัตย์อย่างล้นหลาม หนังสือพิมพ์ก็รายงานข่าวอย่างเอิกเกริก ส่วนวิทยุและโทรทัศน์สมัยนั้นรัฐบาลเป็นผู้มีอิทธิพลมากกว่าใคร
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
ทั้งผลการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง นายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ชนะนำพลพรรคมาได้อีก 6 คน ทางฝ่ายค้านนายควง  อภัยวงศ์ ก็ชนะกับลูกพรรคอีก 1 คน ดูจากผลคะแนนทั้งหมดพรรครัฐบาลก็ชนะเลือกตั้ง
ทั้งผลการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง นายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ชนะนำพลพรรคมาได้อีก 6 คน ทางฝ่ายค้านนายควง  อภัยวงศ์ ก็ชนะกับลูกพรรคอีก 1 คน ดูจากผลคะแนนทั้งหมดพรรครัฐบาลก็ชนะเลือกตั้ง


แต่เสียงข้างมากที่ชนะไม่ได้ทำให้ประชาชนยอมรับ หนังสือพิมพ์และกลุ่มประชาธิปไตยกับนิสิต นักศึกษาจำนวนมากในเมืองหลวงเชื่อกันว่ารัฐบาลได้ใช้อำนาจและอิทธิพลเข้าไปดำเนินการในการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม มีเสียงกล่าวหาถึงการโกงการเลือกตั้ง ทั้งการใช้ “พลร่ม” คือ หาคนมาลงคะแนนแทน และการใช้ “ไพ่ไฟ” อันเป็นการใช้บัตรปลอม ทำให้เชื่อว่ามีผลให้คะแนนทางฝ่ายรัฐบาลมากขึ้นอย่างผิดปกติ อำเภอที่ถูกจับตามองว่ามีปัญหาในการดูแลการเลือกตั้งคืออำเภอดุสิต เพราะมีการจับบัตรปลอมที่มีตราของอำเภอแห่งนี้ด้วยตั้งแต่ก่อนวันเลือกตั้ง
แต่เสียงข้างมากที่ชนะไม่ได้ทำให้ประชาชนยอมรับ หนังสือพิมพ์และ[[กลุ่มประชาธิปไตย]]กับนิสิต นักศึกษาจำนวนมากในเมืองหลวงเชื่อกันว่ารัฐบาลได้ใช้อำนาจและอิทธิพลเข้าไปดำเนินการในการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม มีเสียงกล่าวหาถึงการโกงการเลือกตั้ง ทั้งการใช้ “พลร่ม” คือ หาคนมาลงคะแนนแทน และการใช้ “[[ไพ่ไฟ]]” อันเป็นการใช้บัตรปลอม ทำให้เชื่อว่ามีผลให้คะแนนทางฝ่ายรัฐบาลมากขึ้นอย่างผิดปกติ อำเภอที่ถูกจับตามองว่ามีปัญหาในการดูแลการเลือกตั้งคืออำเภอดุสิต เพราะมีการจับบัตรปลอมที่มีตราของอำเภอแห่งนี้ด้วยตั้งแต่ก่อนวันเลือกตั้ง
ความขัดเคืองใจของผู้คนในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากได้นำไปสู่การประท้วงผลการเลือกตั้งของนิสิต นักศึกษาและประชาชน ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก  ทำให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500
ความขัดเคืองใจของผู้คนในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากได้นำไปสู่การประท้วงผลการเลือกตั้งของนิสิต นักศึกษาและประชาชน ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก  ทำให้รัฐบาล[[ประกาศภาวะฉุกเฉิน]]ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500
“เนื่องด้วยปรากฏเป็นหลักฐานแน่นอนว่า มีคณะบุคคลบางส่วนและด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของชาวต่างชาติ กำลังจะก่อกวนและดำเนินการร้ายขึ้นภายในประเทศเพื่อให้มีความไม่สงบเกิดขึ้น แล้วจะฉวยโอกาสเข้าครอบครองประเทศไทยในที่สุด
“เนื่องด้วยปรากฏเป็นหลักฐานแน่นอนว่า มีคณะบุคคลบางส่วนและด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของชาวต่างชาติ กำลังจะก่อกวนและดำเนินการร้ายขึ้นภายในประเทศเพื่อให้มีความไม่สงบเกิดขึ้น แล้วจะฉวยโอกาสเข้าครอบครองประเทศไทยในที่สุด
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
ฉะนั้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่ตั้ง รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายนี้โดยเด็ดขาด จึงขอประกาศให้ประชาชนทราบทั่วกันและขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ และให้ความไว้วางใจในรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายโดยเคร่งครัด”
ฉะนั้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่ตั้ง รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายนี้โดยเด็ดขาด จึงขอประกาศให้ประชาชนทราบทั่วกันและขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ และให้ความไว้วางใจในรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายโดยเคร่งครัด”
ประกาศภาวะฉุกเฉินแล้วคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก  เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร ดูแลสั่งการใช้กำลังทหารและตำรวจเพื่อปราบประชาชน แต่จอมพลสฤษดิ์ก็มิได้ทำให้รัฐบาลและยังกล่าวว่า
ประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว[[คณะรัฐมนตรี]]ก็มีมติให้[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์]] รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก  เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร ดูแลสั่งการใช้กำลังทหารและตำรวจเพื่อปราบประชาชน แต่จอมพลสฤษดิ์ก็มิได้ทำให้รัฐบาลและยังกล่าวว่า
“เมื่อประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ก็ลุกฮือขึ้นเพื่อทวงสิทธิของเขา แล้วจะให้ผมไปปราบประชาชน ผมทำไม่ได้”
“เมื่อประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ก็ลุกฮือขึ้นเพื่อทวงสิทธิของเขา แล้วจะให้ผมไปปราบประชาชน ผมทำไม่ได้”
รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินและจัดการเปิดประชุมรัฐสภา ตั้งรัฐบาลโดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลก็มาจากผลของการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ก็หาได้มีความมั่นคงไม่ กลุ่มบุคคลภายนอกก็ต่อต้านและประท้วง ภายในรัฐบาลเองก็มีปัญหาขัดแย้งกัน และกองทัพเองซึ่งเคยเกื้อหนุนกันมาก็ได้เอาใจออกห่าง
รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินและจัด[[การเปิดประชุมรัฐสภา]] ตั้งรัฐบาลโดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลก็มาจากผลของการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ก็หาได้มีความมั่นคงไม่ กลุ่มบุคคลภายนอกก็ต่อต้านและประท้วง ภายในรัฐบาลเองก็มีปัญหาขัดแย้งกัน และกองทัพเองซึ่งเคยเกื้อหนุนกันมาก็ได้เอาใจออกห่าง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคพวกพยายามประคองรัฐบาลมาได้เกือบ 7 เดือน ก็ถูกลูกน้องเก่าคือ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ยึดอำนาจด้วยกำลังในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 และมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พ้นจากตำแหน่งด้วย
จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคพวกพยายามประคองรัฐบาลมาได้เกือบ 7 เดือน ก็ถูกลูกน้องเก่าคือ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ยึดอำนาจด้วยกำลังในวันที่ [[16 กันยายน พ.ศ. 2500]] และมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พ้นจากตำแหน่งด้วย
เลือกตั้งนั้นดีแต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หาไม่ก็จะมีผู้อ้างเหตุใช้กำลังเข้ามาล้มได้
เลือกตั้งนั้นดีแต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์[[ยุติธรรม]] หาไม่ก็จะมีผู้อ้างเหตุใช้กำลังเข้ามาล้มได้


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:22, 15 ตุลาคม 2557

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญที่กล่าวกันว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เรียบร้อยหรือการเลือกตั้งสกปรก

การเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นั้นที่จริงถ้าดูตามรัฐธรรมนูญที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ได้ทำให้รัฐบาลมีเสียง สนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว เพราะมีสมาชิกประเภทที่สองที่มาจากการแต่งตั้งคอยค้ำจุนรัฐบาลอยู่ แต่ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญก็เพราะการตื่นตัวทางการเมืองของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง กับบรรดานิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัย และบรรดาสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ที่เป็นอิสระไม่ได้อาศัยการอุดหนุนจากคนในรัฐบาล

พรรครัฐบาลที่สำคัญ คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค และมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเป็นเลขาธิการพรรค ตอนนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กล้านำทีมรัฐมนตรีอีก 8 คน ลงสมัครแข่งขัน ชนกับผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีอดีตนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเลือกตั้งทั้งหมดมีอยู่ 160 คน เป็นการเลือกตั้ง แบบรวมเขตจังหวัด แต่นับคะแนนแพ้ชนะเรียงกันไป ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกเอาไว้ว่า “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,859,039 คน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,668,566 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50”

ตอนหาเสียงในกรุงเทพฯ ผู้คนก็ติดตามฟังการปราศรัยหาเสียงของหัวหน้าพรรคเสรีมนังคศิลาและพรรคประชาธิปัตย์อย่างล้นหลาม หนังสือพิมพ์ก็รายงานข่าวอย่างเอิกเกริก ส่วนวิทยุและโทรทัศน์สมัยนั้นรัฐบาลเป็นผู้มีอิทธิพลมากกว่าใคร

เลือกตั้งเสร็จก็มีรายงานที่ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์บันทึกไว้ต่อมาว่า “จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดสระบุรี คิดถัวเฉลี่ยร้อยละ 93.30 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรี คิดถัวเฉลี่ย 42.06”

ผลการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นั้นปรากฎว่าพรรคเสรีมนังคศิลาเป็นฝ่ายชนะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึง 86 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 160 ที่นั่ง ถือว่าได้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเกินกว่าครึ่ง พรรคฝ่ายค้านสำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่สอง ได้ที่นั่งเพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น

ทั้งผลการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง นายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ชนะนำพลพรรคมาได้อีก 6 คน ทางฝ่ายค้านนายควง อภัยวงศ์ ก็ชนะกับลูกพรรคอีก 1 คน ดูจากผลคะแนนทั้งหมดพรรครัฐบาลก็ชนะเลือกตั้ง

แต่เสียงข้างมากที่ชนะไม่ได้ทำให้ประชาชนยอมรับ หนังสือพิมพ์และกลุ่มประชาธิปไตยกับนิสิต นักศึกษาจำนวนมากในเมืองหลวงเชื่อกันว่ารัฐบาลได้ใช้อำนาจและอิทธิพลเข้าไปดำเนินการในการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม มีเสียงกล่าวหาถึงการโกงการเลือกตั้ง ทั้งการใช้ “พลร่ม” คือ หาคนมาลงคะแนนแทน และการใช้ “ไพ่ไฟ” อันเป็นการใช้บัตรปลอม ทำให้เชื่อว่ามีผลให้คะแนนทางฝ่ายรัฐบาลมากขึ้นอย่างผิดปกติ อำเภอที่ถูกจับตามองว่ามีปัญหาในการดูแลการเลือกตั้งคืออำเภอดุสิต เพราะมีการจับบัตรปลอมที่มีตราของอำเภอแห่งนี้ด้วยตั้งแต่ก่อนวันเลือกตั้ง

ความขัดเคืองใจของผู้คนในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากได้นำไปสู่การประท้วงผลการเลือกตั้งของนิสิต นักศึกษาและประชาชน ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ทำให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500

“เนื่องด้วยปรากฏเป็นหลักฐานแน่นอนว่า มีคณะบุคคลบางส่วนและด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของชาวต่างชาติ กำลังจะก่อกวนและดำเนินการร้ายขึ้นภายในประเทศเพื่อให้มีความไม่สงบเกิดขึ้น แล้วจะฉวยโอกาสเข้าครอบครองประเทศไทยในที่สุด

ฉะนั้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่ตั้ง รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายนี้โดยเด็ดขาด จึงขอประกาศให้ประชาชนทราบทั่วกันและขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ และให้ความไว้วางใจในรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายโดยเคร่งครัด”

ประกาศภาวะฉุกเฉินแล้วคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร ดูแลสั่งการใช้กำลังทหารและตำรวจเพื่อปราบประชาชน แต่จอมพลสฤษดิ์ก็มิได้ทำให้รัฐบาลและยังกล่าวว่า

“เมื่อประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ก็ลุกฮือขึ้นเพื่อทวงสิทธิของเขา แล้วจะให้ผมไปปราบประชาชน ผมทำไม่ได้”

รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินและจัดการเปิดประชุมรัฐสภา ตั้งรัฐบาลโดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลก็มาจากผลของการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ก็หาได้มีความมั่นคงไม่ กลุ่มบุคคลภายนอกก็ต่อต้านและประท้วง ภายในรัฐบาลเองก็มีปัญหาขัดแย้งกัน และกองทัพเองซึ่งเคยเกื้อหนุนกันมาก็ได้เอาใจออกห่าง

จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคพวกพยายามประคองรัฐบาลมาได้เกือบ 7 เดือน ก็ถูกลูกน้องเก่าคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจด้วยกำลังในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 และมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พ้นจากตำแหน่งด้วย

เลือกตั้งนั้นดีแต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หาไม่ก็จะมีผู้อ้างเหตุใช้กำลังเข้ามาล้มได้