ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังปารุสกวัน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' : มานิดา สารพัฒน์ '''ผู้ทรงคุณวุฒิ...'
 
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:
----
----


วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเป็นที่ประทับของจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งดำรงพระยศเป็นองค์รัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์จากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ครั้งดำรง[[พระราชอิสริยยศ]]เป็น[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ]] และเป็นที่ประทับของ[[จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] ซึ่งดำรงพระยศเป็นองค์[[รัชทายาท]][[ผู้สืบสันตติวงศ์]]จาก[[สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช]] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


==ประวัติ==
==ประวัติ==
   
   
เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี  ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร
เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และ[[จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร


โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน
ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน


เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจ[[ตามกฎหมายระงับพินัยกรรม]]ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมี[[พระบรมราชโองการ]]ให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


==ลักษณะพระตำหนัก==
==ลักษณะพระตำหนัก==
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้วย
พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้วย


พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน  
พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน<ref>บุญชัย  ใจเย็น. 15 พระราชวังสำคัญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: ปราชญ์,2554, หน้า 61-63. </ref>


==ความสำคัญ==
==ความสำคัญ==
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
   
   
หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น
หลังจากที่[[คณะราษฎร]]ได้ทำ[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น


วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการราษฎร กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธาน[[คณะกรรมการราษฎร]] กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร


วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับรัฐบุรุษผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธาน[[คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] ได้ประกาศใน[[พระปรมาภิไธย]]สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้[[นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับ[[รัฐบุรุษ]]ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอ[[พระราชทานรัฐธรรมนูญ]] และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
   
   
พ.ศ. 2490 – 2501 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของรัฐบาลเป็นครั้งคราว
พ.ศ. 2490 – 2501 [[กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]] ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของ[[รัฐบาล]]เป็นครั้งคราว


ต่อมานายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก  พิบูลสงคราม ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมานายกรัฐมนตรี [[จอมพล แปลก  พิบูลสงคราม]] ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ที่เข้ามา[[ประชุมรัฐสภา]] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


พ.ศ. 2492 คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย
พ.ศ. 2492 [[คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล]] (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย


พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่คณะรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495  
พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่[[คณะรัฐมนตรี]]โดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495<ref>บุญรักษ์  นาครัตน์ และปัทมาวดี  ทัศนาญชลี. วังปารุสกวัน. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.2539, หน้า 17,24,28  และหน้า 68 – 80. </ref>


ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน
ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน
==อ้างอิง==
<references/>


==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:24, 14 ตุลาคม 2557

ผู้เรียบเรียง : มานิดา สารพัฒน์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง


วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเป็นที่ประทับของจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งดำรงพระยศเป็นองค์รัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์จากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร

โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิต ทรงพระราชทานตำหนักสวนจิตรลดาแลกเปลี่ยนกับที่บริเวณท่าวาสุกรีของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และโปรดฯ ให้รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกันและรื้อกำแพงที่คั่นกลางออก ส่วนกำแพงที่สร้างใหม่ ทรงให้ประทับรูปจักรและรูปกระบอกซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถไว้ที่ประตูกำแพง

ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน

เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ลักษณะพระตำหนัก

พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก นายเปโรเลวี (BEYROLEYVI) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง

พระตำหนักสวนจิตรลดา (พระตำหนักหลังเหนือ) เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกมีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างวิจิตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ห้องโถงใหญ่ซึ่งคงใช้เป็นท้องพระโรงในสมัยก่อน มีการตกแต่งฝา ประดับด้วยไม้จำหลักลายงดงาม ส่วนชั้นบนปีกด้านใต้เป็นห้องชุดประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร หรือห้องรับรองแขกส่วนพระองค์ ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องชุดดังกล่าวมีการตกแต่งลวดลายบัวที่ฝา ฝ้าเพดาน บานประตูและกรอบประตูอย่างงดงาม

พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้วย

พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน[1]

ความสำคัญ

วังปารุสกวันหลังการเสด็จทิวงคต

ปี พ.ศ. 2463 – 2464 หลังจากที่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ณ ประเทศสิงคโปร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นที่รับรองแขกเมืองที่สำคัญ ๆ หลายครั้ง รวมทั้งได้ซ่อมแซมวังปารุสกวัน เพื่อประกอบพิธีพระราชทานพระสุพรรณบัตรสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2464 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์)

ระหว่างปี พ.ศ. 2470 – 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระตำหนักปรับปรุงสวนบริเวณวังปารุสกวัน และซื้อเครื่องเรือน รวมทั้งพรมที่ใช้ปูพระตำหนักทุกห้องจากต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่ประทับของดุ๊กเดอบรามังค์มกุฎราชกุมารเบลเยี่ยมและพระชายา และเป็นที่รับรอง ฯพณฯ ปอล เรโนด์ เสนาบดีว่าการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการราษฎร กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับรัฐบุรุษผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490

พ.ศ. 2490 – 2501 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของรัฐบาลเป็นครั้งคราว

ต่อมานายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2492 คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย

พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่คณะรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495[2]

ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน

อ้างอิง

  1. บุญชัย ใจเย็น. 15 พระราชวังสำคัญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: ปราชญ์,2554, หน้า 61-63.
  2. บุญรักษ์ นาครัตน์ และปัทมาวดี ทัศนาญชลี. วังปารุสกวัน. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.2539, หน้า 17,24,28 และหน้า 68 – 80.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

1. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัย ประชาธิปไตย. ริเวอร์ บุ๊คส์: กรุงเทพ, 2554.

2. ทัศนา ทัศนมิตร. “วัง” มรดกกรุงรัตนโกสินทร์. ดอกหญ้ากรุ๊ป: กรุงเทพฯ, 2549.

บรรณานุกรม

1. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า.เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์, 2554.

2. บุญชัย ใจเย็น. 15 พระราชวังสำคัญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2554.

3. บุญรักษ์ นาครัตน์ และปัทมาวดี ทัศนาญชลี. วังปารุสกวัน. กรุงเทพฯ : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 2539.

4. ทัศนา ทัศนมิตร. “วัง” มรดกกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป, 2549