พระราชอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร
พระราชอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร
การยุบสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องกระทำโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำความขึ้นกราบบังคมทูบและนำร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรองรับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการยุบสภาผู้แทนราษฎรไว้ดังนี้
“มาตรา ๑๑๖ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในหกสิบวันและวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
รัฐสภาจะประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งแต่ละสภาจะต้องมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา โดยจะมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานวุฒิสภาคนหนึ่งหรือสองคนให้เป็นไปตามมติของแต่ละสภา แล้วแต่กรณี ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งประธานและรองประธานของแต่ละสภา ไว้ดังนี้
“มาตรา ๑๕๑ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่ละสภา มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้นๆ ตามมติของสภา”
พระราชอำนาจในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรองรับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองขึ้นเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไว้ดังนี้
“มาตรา ๑๒๐ ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรในขณะแต่งตั้ง เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดในสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคนั้น มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในกรณีที่มีเสียงสนับสนุนเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับฉลาก
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรยอ่มพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่ง ที่ว่าง”