พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
เรียบเรียงโดย..อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ..รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม คือกฎหมายที่กำหนดการแบ่งส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการ
เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นกฎหมายฉบับล่าสุด ที่มีเหตุผลในการประกาศใช้คือ
1. โครงสร้างของระบบราชการแบบเดิมมีความล่าช้าเพราะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานค่อนข้างมาก ส่วนราชการต่าง ๆ มิได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันและจัดกลไกการปฏิบัติงานให้มีความสัมพันธ์กัน จึงเป็นผลทำให้การปฏิบัติงานเกิดความซ้ำซ้อนและกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน
2. จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบราชการทั้งระบบ โดยการปรับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการขึ้นใหม่และปรับปรุงการบริหารงานโดยการจัดส่วนราชการที่ปฏิบัติงานสัมพันธ์กันรวมไว้เป็นกลุ่มงานเดียวกัน ทำให้การบริหารราชการอยู่ในรูปกลุ่มภารกิจ เพื่อที่จะกำหนดเป้าหมายและทิศทางการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่มีความเกี่ยวข้องกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพ
3. ลดค่าใช้จ่ายในส่วนงานที่ซ้ำซ้อนกัน
4. เมื่อจัดส่วนราชการใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานได้แล้วจะมีผลทำให้แนวทางความรับผิดชอบของส่วนราชการต่าง ๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะสามารถปรับปรุงการทำงานของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพในระยะต่อไป[1]
กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แบ่งส่วนราชการระดับกระทรวงออกเป็น 20 หน่วยงาน ดังนี้[2]
(2) กระทรวงกลาโหม
(3) กระทรวงการคลัง
(5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(8) กระทรวงคมนาคม
(9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(11) กระทรวงพลังงาน
(12) กระทรวงพาณิชย์
(13) กระทรวงมหาดไทย
(14) กระทรวงยุติธรรม
(15) กระทรวงแรงงาน
(16) กระทรวงวัฒนธรรม
(17) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(18) กระทรวงศึกษาธิการ
(19) กระทรวงสาธารณสุข
(20) กระทรวงอุตสาหกรรม
การกำหนดอำนาจหน้าที่และแบ่งส่วนราชการในระดับกระทรวง
การกำหนดอำนาจหน้าที่และแบ่งส่วนราชการระดับกระทรวง แบ่งได้ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) การบริหารราชการของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
2) การบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการ พัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคง การงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจ หน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้[3]
(1) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นข้าราชการการเมือง ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่ลักษณะเดียวกันกับสำนักงานรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ส่วนราชการนี้มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองดูแลรับผิดชอบ
(2) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการเหล่านี้ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(3) รูปแบบของส่วนราชการที่ทำหน้าที่กำกับดูแลราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวง มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะปลัดกระทรวงดูแลรับผิดชอบ
(4) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2. กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) การป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
2) การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
3) สนับสนุนการพัฒนาประเทศ
4) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม
กระทรวงกลาโหมมีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้[4]
(1) สำนักงานรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองเพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และการประสานนโยบายระหว่างกระทรวง
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์งานราชการประจำทั่วไป และราชการอื่นๆซึ่งมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการอื่นใด
(3) กรมราชองครักษ์ มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
(4) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธีตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน ตลอดจนวางแผน อำนวยการประสานงาน ดำเนินการและกํากับงานในหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
(5) กองทัพไทย หน้าที่เตรียมกำลังกองทัพไทย การป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพไทยแบ่งส่วนราชการดังนี้
5.1 กองบัญชาการกองทัพไทย
5.2 กองทัพบก
5.3 กองทัพเรือ
5.4 กองทัพอากาศ
3. กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) บริหารราชการเกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากรการรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น
2) การบริหารหนี้สาธารณะ
3) การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
4) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลัง มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมธนารักษ์
(4) กรมบัญชีกลาง
(5) กรมศุลกากร
(6) กรมสรรพสามิต
(7) กรมสรรพากร
(8) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(9) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(10) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
4. กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศมีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการกงสุล
(4) กรมพิธีการทูต
(5) กรมยุโรป
(6) กรมวิเทศสหการ
(7) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(8) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
(9) กรมสารนิเทศ
(10) กรมองค์การระหว่างประเทศ
(11) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
(12) กรมอาเซียน
(13) กรมเอเชียตะวันออก
(14) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ
2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
(4) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) การพัฒนาสังคม
2) การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม
3) การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต
4) สถาบันครอบครัวและชุมชน
5) ราชการอื่นตามที่มี กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
(4) สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
(5) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คน พิการ และผู้สูงอายุ
7. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1) การเกษตรกรรม 2) การป่าไม้ 3) การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการชลประทาน 4) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร 5) ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ 6) กระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม 7) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมชลประทาน
(4) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
(5) กรมประมง
(6) กรมปศุสัตว์
(7) กรมป่าไม้
(8) กรมพัฒนาที่ดิน
(9) กรมวิชาการเกษตร
(10) กรมส่งเสริมการเกษตร
(11) กรมส่งเสริมสหกรณ์
(12) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(13) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(14) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
8. กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) การขนส่งและธุรกิจการขนส่ง
2) การวางแผนจราจร
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม
4) ราชการอื่นตาม ที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคม มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
(4) กรมการขนส่งทางบก
(5) กรมการขนส่งทางอากาศ
(6) กรมทางหลวง
(7) กรมทางหลวงชนบท
(8) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) การสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) การจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมควบคุมมลพิษ
(4) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
(5) กรมทรัพยากรธรณี
(6) กรมทรัพยากรน้ำ
(7) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
(8) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(9) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
(10) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) วางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2) การอุตุนิยมวิทยา
3) การสถิติแห่งชาติ
4) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
กระทรวงเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมไปรษณีย์โทรเลข
(4) กรมอุตุนิยมวิทยา
(5) สำนักงานสถิติแห่งชาติ
11. กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1) การจัดหา พัฒนาและ บริหารจัดการพลังงาน 2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ กระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงาน มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
(4) กรมธุรกิจพลังงาน
(5) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
(6) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
12. กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1) จัดการการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา 2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการค้าต่างประเทศ
(4) กรมการค้าภายใน
(5) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
(6) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
(7) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(8) กรมส่งเสริมการส่งออก
13. กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) บำบัดทุกข์บำรุงสุข และรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2) การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม
3) การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง
4) การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
5) การปกครองท้องที่
6) การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน
7) การทะเบียนราษฎร
8) รักษาความมั่นคงภายใน
9) กิจการบรรเทาสาธารณภัยและการพัฒนาเมือง
10) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงมหาดไทย มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้ (1) สำนักงานรัฐมนตรี (2) สำนักงานปลัดกระทรวง (3) กรมการปกครอง (4) กรมการพัฒนาชุมชน (5) กรมที่ดิน (6) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (7) กรมโยธาธิการและผังเมือง (8) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
14. กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม 2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมคุมประพฤติ
(4) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(5) กรมบังคับคดี
(6) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
(7) กรมราชทัณฑ์
(8) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
(9) สำนักงานกิจการยุติธรรม
(10) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
มีส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี 1 หน่วยงานคือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
15. กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) การบริหารและคุ้มครองแรงงาน
2) การพัฒนาฝีมือแรงงาน
3) ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ
4) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการจัดหางาน
(4) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
(5) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(6) สำนักงานประกันสังคม
16. กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1) เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และ วัฒนธรรม
2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการศาสนา
(4) กรมศิลปากร
(5) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
(6) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
17. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) วางแผน ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมวิทยาศาสตร์บริการ
(4) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
18. กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) การส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
2) กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
3) สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริม
4) ประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา
5) ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา
6) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้[5]
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(5) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
19. กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) สร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย
2) การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน
3) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมการแพทย์
(4) กรมควบคุมโรค
(5) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
(6) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
(7) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
(8) กรมสุขภาพจิต
(9) กรมอนามัย
(10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
20. กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม
2) การส่งเสริมการลงทุน
3) การพัฒนาผู้ประกอบการ
4) ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(4) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
(5) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
(6) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
(7) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(8) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ยังแบ่งส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ดังต่อไปนี้
1. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
1) สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์ พระมหากษัตริย์
2) สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจน ดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์
3) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระ พุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะ สงฆ์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
4) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
5) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
6) ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ ทางวิชาการและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
7) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบ ร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
2. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
1) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะ กรรมการธุรกรรม และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
2) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
อ้างอิง
- ↑ หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 .
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 5
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 100/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ข้อ 1,2.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 9 ให้การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อ บังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 มาตรา 10.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ให้การจัดระเบียบราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 10.
หนังสืออ่านประกอบ
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545