ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย == | == การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย == | ||
ตามหลักการปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] [[รัฐสภา]]เป็น[[องค์กรนิติบัญญัติ]]ที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่าง[[กฎหมาย]]เพื่อบังคับใช้ในสังคมตามทฤษฎีแบ่งแยก[[อำนาจอธิปไตย]]ที่นานาประเทศยอมรับ อย่างไรก็ตาม การแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ของรัฐสภามีข้อจำกัดและอาจไม่สอดคล้องหรือไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้ครบทุกคน ดังนั้น การกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายที่เห็นว่าจำเป็นและเกี่ยวข้องกับกลุ่มตนได้นั้น จึงเป็นการให้สิทธิประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักการของ[[ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม]] อันจะช่วยในการอุดช่องว่างหรือเป็นส่วนเสริมให้ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น<ref>ปัทมา สูบกำปัง. (2556). การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : บทเรียนจากอดีต สู่ "สิทธิ" ที่เป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.kpi.ac.th/kpith/index.php?option=com_content&task=view&id=250&Itemid=214</ref> | |||
== ความหมายและที่มาของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในประเทศไทย <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 3-5. </ref>== | == ความหมายและที่มาของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในประเทศไทย <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 3-5. </ref>== | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ The initiative process คือ กระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งมีเจตนารมณ์หรือความต้องการเช่นเดียวกันเพื่อที่จะให้มีกฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งมาร่วมเข้าชื่อกัน เมื่อมีผู้เข้าชื่อครบจำนวนตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดแล้วก็สามารถเสนอกฎหมายได้ ซึ่งประเภทของกฎหมายที่เสนอได้นั้นแต่ละประเทศก็จะกำหนดไว้ต่างกันออกไป | การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ The initiative process คือ กระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งมีเจตนารมณ์หรือความต้องการเช่นเดียวกันเพื่อที่จะให้มีกฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งมาร่วมเข้าชื่อกัน เมื่อมีผู้เข้าชื่อครบจำนวนตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดแล้วก็สามารถเสนอกฎหมายได้ ซึ่งประเภทของกฎหมายที่เสนอได้นั้นแต่ละประเทศก็จะกำหนดไว้ต่างกันออกไป | ||
สำหรับประเทศไทยนั้น | สำหรับประเทศไทยนั้น สิทธิในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนโดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้รับการรับรองเป็นครั้งแรกใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]]<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2549). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 78.</ref> โดยได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 170 ซึ่งกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อ[[ประธานรัฐสภา]] เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 [[สิทธิและเสรีภาพ]]ของชนชาวไทย และหมวด 5 [[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ต่อมาเมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]]<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 121.</ref> ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ในมาตรา 163 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โดยกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิในการขอเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย | ||
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย นอกจากจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นที่ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ | การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย นอกจากจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นที่ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
==ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.parliament.go.th</ref>== | ==ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.parliament.go.th</ref>== | ||
ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ | ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ [[ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 99 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 100 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนี้ | ||
'''มาตรา 99''' บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | '''มาตรา 99''' บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | ||
บรรทัดที่ 37: | บรรทัดที่ 37: | ||
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง | (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง | ||
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน | ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวัน[[เลือกตั้ง]] หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา | ||
]] | |||
'''มาตรา 100''' บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง | '''มาตรา 100''' บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง | ||
บรรทัดที่ 53: | บรรทัดที่ 53: | ||
== วิธีการและขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 28-38.</ref> == | == วิธีการและขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 28-38.</ref> == | ||
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ได้กำหนดวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ | [[พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542]] ได้กำหนดวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ | ||
1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ | 1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 59: | ||
'''ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมรายชื่อและเอกสาร''' | '''ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมรายชื่อและเอกสาร''' | ||
เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเป็นบุคคลและคณะบุคคลประสงค์จะให้มีการออกกฎหมายในเรื่องใด ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย โดยจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา | เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเป็นบุคคลและคณะบุคคลประสงค์จะให้มีการออกกฎหมายในเรื่องใด ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย โดยจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งจะต้องจัดทำตามรูปแบบการเสนอกฎหมายและมีฐานะเป็นผู้แทนการเสนอกฎหมายซึ่งมีหน้าที่จะต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้[[รัฐสภา]]พิจารณา โดยจะต้องจัดทำตามรูปแบบการเสนอกฎหมาย คือ มีบันทึกหลักการและเหตุผลแห่งร่าง[[พระราชบัญญัติ]] มีบทบัญญัติแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด และต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องไปรวบรวมรายชื่อของประชาชนให้ได้อย่างน้อย 10,000 รายชื่อ พร้อมทั้งเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย 1 คน จะต้องมีเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 3 อย่าง ได้แก่ | ||
(1) แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1) | (1) แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1) | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 69: | ||
โดยเอกสารดังกล่าวต้องเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบันซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ เมื่อมีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน แล้ว ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยแยกบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามแบบแสดงบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 2) หลังจากนั้น ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายกรอกข้อความตามแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อผู้แทนการเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 3) ให้ครบถ้วน | โดยเอกสารดังกล่าวต้องเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบันซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ เมื่อมีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน แล้ว ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยแยกบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามแบบแสดงบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 2) หลังจากนั้น ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายกรอกข้อความตามแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อผู้แทนการเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 3) ให้ครบถ้วน | ||
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนที่กล่าวมา ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายยื่นเรื่องเสนอต่อประธานรัฐสภา ณ | หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนที่กล่าวมา ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายยื่นเรื่องเสนอต่อประธานรัฐสภา ณ [[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]ในวันและเวลาราชการ พร้อมด้วยร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1) พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายทุกคน แบบแสดงบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 2) และแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อผู้แทนการเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 3) พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้าน | ||
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการดังนี้ | ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 83: | บรรทัดที่ 83: | ||
ขั้นตอนที่ 4 การปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและการคัดค้าน | ขั้นตอนที่ 4 การปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและการคัดค้าน | ||
เมื่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบ[[ความถูกต้อง]]ของรายชื่อและเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้ว ปรากฏว่ามีจำนวนครบตามที่กฎหมายกำหนด คือ ไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไปปิดประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ [[สำนักงานเทศบาล]] ที่ทำการ[[องค์การบริหารส่วนตำบล]] ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น ทั้งนี้ เฉพาะในเขตท้องที่ที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน | |||
หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย | หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องคัดค้านตาม[[แบบคำร้องคัดค้านรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 4)]] ต่อประธานรัฐสภาหรือผู้ที่ประธานรัฐสภาแต่งตั้งให้เป็นผู้รับคำร้องคัดค้าน เพื่อให้ทำการขีดฆ่าชื่อของตนออกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ หากพ้นกำหนดดังกล่าว ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ถือว่าไม่มีผู้คัดค้าน | ||
กรณีมีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลา 20 วัน จนทำให้รายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ครบ 10,000 คน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบ เพื่อให้ยื่นรายชื่อเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง | กรณีมีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลา 20 วัน จนทำให้รายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ครบ 10,000 คน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบ เพื่อให้ยื่นรายชื่อเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง | ||
บรรทัดที่ 99: | บรรทัดที่ 99: | ||
นอกจากนี้ จะต้องจัดทำร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา โดยจัดทำในรูปแบบการเสนอกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย บันทึกหลักการและเหตุผลแห่งร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งจะต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด ตลอดจนมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินั้น | นอกจากนี้ จะต้องจัดทำร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา โดยจัดทำในรูปแบบการเสนอกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย บันทึกหลักการและเหตุผลแห่งร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งจะต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด ตลอดจนมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินั้น | ||
หลังจากนั้น | หลังจากนั้น จะต้องยื่นคำขอให้[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ช. 1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด | ||
'''ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการตรวจสอบเอกสารและปิดประกาศเอกสาร''' | '''ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการตรวจสอบเอกสารและปิดประกาศเอกสาร''' | ||
บรรทัดที่ 107: | บรรทัดที่ 107: | ||
1. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร | 1. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร | ||
2. | 2. เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าเอกสารทั้งหมดถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก็จะแจ้งให้ตัวแทนผู้ยื่นคำขอทราบและส่งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไปให้[[ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด]]ที่มีรายชื่อผู้ยื่นคำขอดังกล่าวอยู่ในทะเบียนบ้านเพื่อปิดประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น | ||
หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย ให้ผู้นั้นยื่นหนังสือคัดค้านต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น ภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ จากนั้น ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มีการคัดค้านจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายจริงก็จะดำเนินการขีดฆ่าชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อ แต่ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ขอให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะสั่งจำหน่ายหนังสือคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ | หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย ให้ผู้นั้นยื่นหนังสือคัดค้านต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น ภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ จากนั้น ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มีการคัดค้านจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายจริงก็จะดำเนินการขีดฆ่าชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อ แต่ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ขอให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะสั่งจำหน่ายหนังสือคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ | ||
3. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 100 คน | 3. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 100 คน [[เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง]]จะแจ้งให้ผู้แทนผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว และเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง | ||
4. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวน 100 คน ขึ้นไป คณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประกาศกำหนดเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน | 4. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวน 100 คน ขึ้นไป คณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประกาศกำหนดเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดส่งประกาศดังกล่าวพร้อมด้วยร่าง[[พระราชบัญญัติ]]และเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด | ||
5. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับร่างพระราชบัญญัติและเอกสารข้างต้นแล้ว ก็จะกำหนดสถานที่ลงชื่อสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยจะปิดประกาศกำหนดระยะเวลาการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และประกาศกำหนดสถานที่ลงชื่อตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ | 5. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับร่างพระราชบัญญัติและเอกสารข้างต้นแล้ว ก็จะกำหนดสถานที่ลงชื่อสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยจะปิดประกาศกำหนดระยะเวลาการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และประกาศกำหนดสถานที่ลงชื่อตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ | ||
บรรทัดที่ 120: | บรรทัดที่ 120: | ||
1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายในเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง | 1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายในเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง | ||
ในช่วงระยะเวลาที่มีการกำหนดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาแสดงตนต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ณ สถานที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนด จากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจะทำการตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | ในช่วงระยะเวลาที่มีการกำหนดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาแสดงตนต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ณ สถานที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนด จากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจะทำการตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | ||
หากปรากฏว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นกรอกข้อความ | หากปรากฏว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นกรอกข้อความ และลงชื่อใน[[แบบคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย]] (แบบ ข.ช.9) | ||
แต่ถ้าผู้นั้นไม่มีรายชื่อใน[[ทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]] ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแจ้งให้ผู้นั้นทราบทันที | |||
2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายนอกเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง | 2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายนอกเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง | ||
บรรทัดที่ 137: | บรรทัดที่ 137: | ||
1. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะรวบรวมเอกสารเสนอต่อคณะกรรมการการการเลือกตั้งภายใน 20 วัน | 1. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะรวบรวมเอกสารเสนอต่อคณะกรรมการการการเลือกตั้งภายใน 20 วัน | ||
2. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบหนึ่งหมื่นคน | 2. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบหนึ่งหมื่นคน [[ประธานกรรมการการเลือกตั้ง]]จะรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อพิจารณา หากเห็นว่าถูกต้องและมีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน ให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป | ||
3. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบหนึ่งหมื่นคน ประธานกรรมการการเลือกตั้งจะรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบ เพื่อให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 41-42.</ref> | 3. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบหนึ่งหมื่นคน ประธานกรรมการการเลือกตั้งจะรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบ เพื่อให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 41-42.</ref> | ||
บรรทัดที่ 145: | บรรทัดที่ 145: | ||
ผู้มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้แก่ | ผู้มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้แก่ | ||
(1) คณะรัฐมนตรี | (1) [[คณะรัฐมนตรี]] | ||
(2) | (2) [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ[[สมาชิกวุฒิสภา]]มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา | ||
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน | (3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน | ||
โดยในการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม | โดยในการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็น[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น จะต้องแบ่งเป็นมาตราและต้องมีเอกสารประกอบดังต่อไปนี้ | ||
(1) หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม | (1) หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:44, 7 มกราคม 2557
ผู้เรียบเรียง รติกร เจือกโว้น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ นายจเร พันธุ์เปรื่อง
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในสังคมตามทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยที่นานาประเทศยอมรับ อย่างไรก็ตาม การแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ของรัฐสภามีข้อจำกัดและอาจไม่สอดคล้องหรือไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้ครบทุกคน ดังนั้น การกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายที่เห็นว่าจำเป็นและเกี่ยวข้องกับกลุ่มตนได้นั้น จึงเป็นการให้สิทธิประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักการของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม อันจะช่วยในการอุดช่องว่างหรือเป็นส่วนเสริมให้ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น[1]
ความหมายและที่มาของการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในประเทศไทย [2]
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ The initiative process คือ กระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งมีเจตนารมณ์หรือความต้องการเช่นเดียวกันเพื่อที่จะให้มีกฎหมายหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งมาร่วมเข้าชื่อกัน เมื่อมีผู้เข้าชื่อครบจำนวนตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดแล้วก็สามารถเสนอกฎหมายได้ ซึ่งประเภทของกฎหมายที่เสนอได้นั้นแต่ละประเทศก็จะกำหนดไว้ต่างกันออกไป
สำหรับประเทศไทยนั้น สิทธิในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนโดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้รับการรับรองเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[3] โดยได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 170 ซึ่งกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[4] ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ในมาตรา 163 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โดยกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิในการขอเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย นอกจากจะอาศัยอำนาจตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ยังมีกฎหมายอื่นที่ใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542
2. ประกาศรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
3. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และหลักเกณฑ์การขอใช้สิทธิเข้าชื่อนอกเขตและการตรวจสอบ พ.ศ. 2542
ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[5]
ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 99 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 100 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนี้
มาตรา 99 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(1)มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการเปลี่ยนสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(2)มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ]] มาตรา 100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542[6] ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 6 มีใจความสำคัญว่า เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดร่วมลงชื่อในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยถูกต้องตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าการเข้าชื่อนั้นมีผลสมบูรณ์และจะถอนการเข้าชื่อในภายหลังไม่ได้
วิธีการและขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[7]
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ได้กำหนดวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ
1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมรายชื่อและเอกสาร
เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเป็นบุคคลและคณะบุคคลประสงค์จะให้มีการออกกฎหมายในเรื่องใด ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย โดยจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งจะต้องจัดทำตามรูปแบบการเสนอกฎหมายและมีฐานะเป็นผู้แทนการเสนอกฎหมายซึ่งมีหน้าที่จะต้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา โดยจะต้องจัดทำตามรูปแบบการเสนอกฎหมาย คือ มีบันทึกหลักการและเหตุผลแห่งร่างพระราชบัญญัติ มีบทบัญญัติแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด และต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องไปรวบรวมรายชื่อของประชาชนให้ได้อย่างน้อย 10,000 รายชื่อ พร้อมทั้งเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย 1 คน จะต้องมีเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 3 อย่าง ได้แก่
(1) แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1)
(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้
(3) สำเนาทะเบียนบ้าน
โดยเอกสารดังกล่าวต้องเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบันซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ เมื่อมีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน แล้ว ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยแยกบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามแบบแสดงบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 2) หลังจากนั้น ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายกรอกข้อความตามแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อผู้แทนการเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 3) ให้ครบถ้วน
หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนที่กล่าวมา ให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายยื่นเรื่องเสนอต่อประธานรัฐสภา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในวันและเวลาราชการ พร้อมด้วยร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1) พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายทุกคน แบบแสดงบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 2) และแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อผู้แทนการเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 3) พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการดังนี้
1. การรับมอบเอกสารจากผู้แทนการเสนอกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะตรวจสอบจำนวนเอกสารของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย พร้อมจัดทำหนังสือยืนยันจำนวนรายการของเอกสารที่รับมอบให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายลงลายมือชื่อกำกับและให้มีพยานลงลายมือชื่อ เพื่อรับรองความถูกต้องของจำนวนเอกสารด้วย
2. ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้พิจารณาว่าร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่
3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะทำการตรวจสอบเอกสารการเข้าชื่อเสนอกฎหมายว่าเอกสารที่ผู้แทนการเสนอกฎหมายส่งมานั้นมีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายจำนวนครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ และผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 1) ครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารประกอบการเข้าชื่อการเสนอกฎหมาย คือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายว่ามีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการกรณีรายชื่อไม่ครบ 10,000 รายชื่อ
หากปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและเอกสารหลักฐานไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบ เพื่อให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายไปดำเนินการรวบรวมรายชื่อเพิ่มเติมให้ครบ 10,000 รายชื่อ ภายใน 30 วัน ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้แทนการเสนอกฎหมายยังไม่ส่งรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพิ่มเติมให้ครบ 10,000 คน ประธานรัฐสภาจะสั่งจำหน่ายเรื่อง ขั้นตอนที่ 4 การปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและการคัดค้าน
เมื่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อและเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้ว ปรากฏว่ามีจำนวนครบตามที่กฎหมายกำหนด คือ ไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไปปิดประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น ทั้งนี้ เฉพาะในเขตท้องที่ที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องคัดค้านตามแบบคำร้องคัดค้านรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ก. 4) ต่อประธานรัฐสภาหรือผู้ที่ประธานรัฐสภาแต่งตั้งให้เป็นผู้รับคำร้องคัดค้าน เพื่อให้ทำการขีดฆ่าชื่อของตนออกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ หากพ้นกำหนดดังกล่าว ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ถือว่าไม่มีผู้คัดค้าน
กรณีมีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลา 20 วัน จนทำให้รายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ครบ 10,000 คน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบ เพื่อให้ยื่นรายชื่อเพิ่มเติมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
กรณีไม่มีการคัดค้าน หรือมีการคัดค้าน แต่รายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนครบจำนวน 10,000 คน ตามที่กฎหมายกำหนด ประธานรัฐสภาจะดำเนินการนำร่างพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ 1 การริเริ่มเสนอกฎหมาย
ในขั้นตอนแรกของการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จะต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ที่ประสงค์จะขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พร้อมทั้งจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ช. 2)
นอกจากนี้ จะต้องจัดทำร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา โดยจัดทำในรูปแบบการเสนอกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย บันทึกหลักการและเหตุผลแห่งร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งจะต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด ตลอดจนมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินั้น
หลังจากนั้น จะต้องยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ช. 1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการตรวจสอบเอกสารและปิดประกาศเอกสาร
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับคำขอพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว จะดำเนินการดังนี้
1. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
2. เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าเอกสารทั้งหมดถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก็จะแจ้งให้ตัวแทนผู้ยื่นคำขอทราบและส่งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไปให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มีรายชื่อผู้ยื่นคำขอดังกล่าวอยู่ในทะเบียนบ้านเพื่อปิดประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น หากประชาชนผู้ใดพบว่ามีรายชื่อของตนเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยที่ตนมิได้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายด้วย ให้ผู้นั้นยื่นหนังสือคัดค้านต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น ภายใน 20 วัน นับแต่วันปิดประกาศ จากนั้น ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่มีการคัดค้านจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านมิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายจริงก็จะดำเนินการขีดฆ่าชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อ แต่ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ขอให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะสั่งจำหน่ายหนังสือคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ
3. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 100 คน เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งจะแจ้งให้ผู้แทนผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว และเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้มีคำสั่งจำหน่ายเรื่อง
4. ถ้าปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจำนวน 100 คน ขึ้นไป คณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประกาศกำหนดเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดส่งประกาศดังกล่าวพร้อมด้วยร่างพระราชบัญญัติและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
5. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับร่างพระราชบัญญัติและเอกสารข้างต้นแล้ว ก็จะกำหนดสถานที่ลงชื่อสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยจะปิดประกาศกำหนดระยะเวลาการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และประกาศกำหนดสถานที่ลงชื่อตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
ขั้นตอนที่ 3 การร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สามารถทำได้ 2 ทาง คือ
1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายในเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ในช่วงระยะเวลาที่มีการกำหนดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาแสดงตนต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ณ สถานที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนด จากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจะทำการตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากปรากฏว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นกรอกข้อความ และลงชื่อในแบบคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ช.9) แต่ถ้าผู้นั้นไม่มีรายชื่อในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแจ้งให้ผู้นั้นทราบทันที
2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายนอกเขตจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง
การขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามถิ่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดตามทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
- (1) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่นอกเขตจังหวัดและประสงค์จะร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาแสดงตนต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ตนมีถิ่นที่อยู่ พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และลงชื่อตามแบบคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (แบบ ข.ช. 10) โดยจะต้องดำเนินการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไม่น้อยกว่าสิบวัน
- (2) ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีถิ่นที่อยู่แจ้งไปยังผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ผู้เข้าชื่ออ้างว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจริงหรือไม่
หากผลการตรวจสอบถูกต้อง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายมีถิ่นที่อยู่ก็จะบันทึกผลการตรวจสอบในช่องหมายเหตุตามแบบคำขอเข้าชื่อกฎหมาย (แบบ ข.ช.10) ว่า “ถูกต้อง” และลงลายช่องกำกับไว้ในช่อง “หมายเหตุ”
หากผลการตรวจสอบไม่ถูกต้อง ก็จะขีดฆ่าชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและบันทึกผลการตรวจสอบในช่องหมายเหตุตามแบบคำขอเข้าชื่อกฎหมาย (แบบ ข.ช.10) ว่า “ไม่ถูกต้อง” และลงลายช่องกำกับไว้ในช่อง “หมายเหตุ” ขั้นตอนที่ 4 การเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะรวบรวมเอกสารเสนอต่อคณะกรรมการการการเลือกตั้งภายใน 20 วัน
2. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบหนึ่งหมื่นคน ประธานกรรมการการเลือกตั้งจะรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อพิจารณา หากเห็นว่าถูกต้องและมีผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายครบ 10,000 คน ให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป
3. กรณีที่ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายไม่ครบหนึ่งหมื่นคน ประธานกรรมการการเลือกตั้งจะรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบ เพื่อให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ[8]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ ดังนี้
ผู้มีสิทธิเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้แก่
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน
โดยในการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น จะต้องแบ่งเป็นมาตราและต้องมีเอกสารประกอบดังต่อไปนี้
(1) หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
(2) เหตุผลในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
(3) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
หลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้กำหนดโดยชัดแจ้ง
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะ แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 291 (1) วางหลักว่าญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ดังนั้น ในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงต้องนำหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เพราะฉะนั้น วิธีการเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงมี 2 วิธี คือ
1. การเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ยื่นเรื่องเสนอต่อประธานรัฐสภาและให้นำวิธีการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาบังคับใช้กับการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
2. การเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอญัตติเพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่า การเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม หากประชาชนเห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีไม่เสนอร่างกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ประชาชนก็มีสิทธิรวมกลุ่มกันใช้อำนาจโดยเสนอร่างกฎหมายนั้นให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเองได้
อ้างอิง
- ↑ ปัทมา สูบกำปัง. (2556). การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : บทเรียนจากอดีต สู่ "สิทธิ" ที่เป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.kpi.ac.th/kpith/index.php?option=com_content&task=view&id=250&Itemid=214
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 3-5.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2549). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 78.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 121.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.parliament.go.th
- ↑ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542” (2542, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 20 ก. หน้า 31.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 28-38.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 41-42.
เอกสารแนะนำให้อ่านต่อ
จันทิมา ทองชาติ. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรณานุกรม
ปัทมา สูบกำปัง. (2556). การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : บทเรียนจากอดีต สู่ "สิทธิ" ที่เป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.kpi.ac.th/ kpith/ index.php?option=com_content&task=view&id=250&Itemid=214
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542” (2542, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 20ก. หน้า 31.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. [ออนไลน์] วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2556. เข้าถึงได้จากhttp://www.parliament.go.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2549). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ดูเพิ่มเติม
• รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
• พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542
• ประกาศรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
• ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และหลักเกณฑ์การขอใช้สิทธิเข้าชื่อนอกเขตและการตรวจสอบ พ.ศ. 2542