ผลต่างระหว่างรุ่นของ "19 มกราคม พ.ศ. 2518"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
จากนั้นก็มีสมาชิกวุฒิสภา มีการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และมีรัฐบาลใหม่ มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มิใช่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | จากนั้นก็มีสมาชิกวุฒิสภา มีการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และมีรัฐบาลใหม่ มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มิใช่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | ||
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 3 ตุลาคม 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 เป็นวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 เป็นครั้งแรก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 นั้นประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 การแก้ไขนี้เป็นการแก้ไขก่อนที่จะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ตอนนั้นเป็นรัฐบาลที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติก็มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานสภา
อันรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 นี้ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติที่แสดงความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ที่เคยมีมาก่อน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาก ถึงขนาดล้มรัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจรได้ แต่เมื่อประกาศใช้แล้วยังไม่ทันไร ก็ได้มีความเห็นที่จะต้องแก้ไขในประเด็นสำคัญเรื่องการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้นเมื่อตกลงกันได้จึงได้แก้ไขในมาตราที่เกี่ยวข้อง 2 มาตรา ได้แก่มาตรา 107 และมาตรา 110
มาตรา 107 ตามที่บัญญัติว่า
“วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้ง”
จึงได้แก้ไขเป็น
“วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง” ในวรรคสองของมาตราเดียวกันนี้ก็แก้ไขจาก
“ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา” มาเป็น
“ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา” ส่วนมาตรา 110 ที่เขียนไว้ว่า
“พระมหากษัตริย์จะได้ทรงเลือกและแต่งตั้ง” นั้นได้แก้ไขใหม่ว่า “พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง”
ทำให้ปรากฏชัดว่าการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้นเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีที่เป็นนักการเมืองจะต้องรับผิดชอบ
จากนั้นก็มีสมาชิกวุฒิสภา มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีรัฐบาลใหม่ มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มิใช่นายสัญญา ธรรมศักดิ์