ผลต่างระหว่างรุ่นของ "12 เมษายน พ.ศ. 2476"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
----
----


วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นวันที่รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ตั้งขึ้นโดยคณะราษฎรซึ่งเป็นคณะผู้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้บีบบังคับให้สมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎรเองคนหนึ่งที่ร่วมมือกันยึดอำนาจและตั้งรัฐบาลชุดนี้ ต้องเดินทางออกไปต่างประเทศที่เรียกกันว่าเป็น “การเนรเทศทางการเมือง”
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นวันที่[[รัฐบาล]]ของ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] ที่ตั้งขึ้นโดย[[คณะราษฎร]]ซึ่งเป็น[[คณะผู้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]ในวันที่ [[24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] ได้บีบบังคับให้สมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎรเองคนหนึ่งที่ร่วมมือกันยึดอำนาจและตั้งรัฐบาลชุดนี้ ต้องเดินทางออกไปต่างประเทศที่เรียกกันว่าเป็น [[“การเนรเทศทางการเมือง”]]
ผู้ที่ถูกบีบบังคับให้เดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้คือหลวงประดิษฐมนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ ที่ถือกันว่าเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ดังที่ ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกว่า
ผู้ที่ถูกบีบบังคับให้เดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้คือ[[หลวงประดิษฐมนูธรรม]] หรือ นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ที่ถือกันว่าเป็น[[หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน]] ดังที่ ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกว่า
“ภายหลังเมื่อคณะรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลให้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้รอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการชั่วคราวนั้น ได้มีพระราชาวิจารณ์โครงการเศรษฐกิจ ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นผู้ร่างเสนอคณะรัฐมนตรี ออกเป็นแถลงการณ์แจกจ่ายโดยทั่วไป และได้มีการบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยได้เดินทางโดยทางเรือกออกจากท่าเรือบีไอ วันที่ 12 เมษายน เวลา 18.00 น....”
“ภายหลังเมื่อคณะรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลให้ประกาศใช้[[พระราชกฤษฎีกา]]ให้รอการใช้[[รัฐธรรมนูญ]]บางมาตราเป็นการชั่วคราวนั้น ได้มี[[พระราชาวิจารณ์]][[โครงการเศรษฐกิจ]] ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นผู้ร่างเสนอคณะรัฐมนตรี ออกเป็นแถลงการณ์แจกจ่ายโดยทั่วไป และได้มีการบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยได้เดินทางโดยทางเรือกออกจากท่าเรือบีไอ วันที่ 12 เมษายน เวลา 18.00 น....”
ปีนั้นคือปี พ.ศ. 2476 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 จึงเป็นวันการเมืองอีกวันหนึ่งที่มีเรื่องให้เล่าขานให้อ่านกัน
ปีนั้นคือปี พ.ศ. 2476 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 จึงเป็นวันการเมืองอีกวันหนึ่งที่มีเรื่องให้เล่าขานให้อ่านกัน
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์เองนั้นเข้ามาบริหารประเทศและทำงานด้านการเมืองสำเร็จเรียบร้อยอย่างสำคัญก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ประกาศใช้ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้รวดเร็วทันใจและดี แต่มีความล่าช้าในด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ ที่มิได้ทำให้ทันกับการเรียกร้องของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อรัฐบาลถูกสมาชิกสภาทวงถามเรื่องการจัดการทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีก็อ้างว่าได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐมนูธรรมไปดูแลและไปทำอยู่ พอหลวงประดิษฐมนูธรรมร่างเค้าโครงเศรษฐกิจมาเสนอรัฐบาลก็มีปัญหาเกิดขึ้น ตอนที่ตั้งอนุกรรมการพิจารณาในเรื่องนี้ อนุกรรมการเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจ ที่เป็นปัญหาก็เนื่องจากเมื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเสียงข้างมากในคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย ถึงกับมีเสียงไปในทำนองว่าเป็นโครงการคล้าย ๆ แบบคอมมิวนิสต์ แสดงว่าคอมมิวนิสต์ถูกอ้างถึงกันแล้วในตอนนั้น
รัฐบาลของ[[นายกรัฐมนตรี]] พระยามโนปกรณ์เองนั้นเข้ามาบริหารประเทศและทำงานด้านการเมืองสำเร็จเรียบร้อยอย่างสำคัญก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ประกาศใช้ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้รวดเร็วทันใจและดี แต่มีความล่าช้าในด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ ที่มิได้ทำให้ทันกับการเรียกร้องของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] เมื่อรัฐบาลถูกสมาชิกสภาทวงถามเรื่องการจัดการทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีก็อ้างว่าได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐมนูธรรมไปดูแลและไปทำอยู่ พอหลวงประดิษฐมนูธรรม[[ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ]]มาเสนอรัฐบาลก็มีปัญหาเกิดขึ้น ตอนที่ตั้งอนุกรรมการพิจารณาในเรื่องนี้ อนุกรรมการเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจ ที่เป็นปัญหาก็เนื่องจากเมื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเสียงข้างมากในคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย ถึงกับมีเสียงไปในทำนองว่าเป็นโครงการคล้าย ๆ แบบคอมมิวนิสต์ แสดงว่าคอมมิวนิสต์ถูกอ้างถึงกันแล้วในตอนนั้น
ที่นึกไม่ถึงก็คือการขัดแย้งในเรื่องนี้ได้นำไปสู่กรณีที่รัฐบาลขอออกพระราชกฤษฎีกาปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 กลายเป็นเรื่องที่เล่าขานเป็นตำนานกันเลยทีเดียว  และในวันเดียวกันก็มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ รัฐมนตรีลอยที่เป็นพลเรือนไม่มีกระทรวงสังกัดถูกให้พ้นตำแหน่ง ทั้งนี้  เพื่อเอาหลวงประดิษฐมนูธรรมที่เป็นรัฐมนตรีลอยออกไป รัฐมนตรีที่เป็นทหารและรัฐมนตรีที่ว่าการกระทรวงยังอยู่ รัฐมนตรีพลเรือนที่หลุดออกจากตำแหน่งมีพระยาประมวลวิชาพูล นายแนบ พหลโยธิน หลวงเดชสหกรณ์ นายตั้วลพานุกรม และหลวงประดิษฐมนูธรรม รวม 5 คน
ที่นึกไม่ถึงก็คือการขัดแย้งในเรื่องนี้ได้นำไปสู่กรณีที่รัฐบาลขอออก[[พระราชกฤษฎีกาปิดสภา]] และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 กลายเป็นเรื่องที่เล่าขานเป็นตำนานกันเลยทีเดียว  และในวันเดียวกันก็มีการปรับ[[คณะรัฐมนตรี]]ใหม่ [[รัฐมนตรีลอย]]ที่เป็นพลเรือนไม่มี[[กระทรวง]]สังกัดถูกให้พ้นตำแหน่ง ทั้งนี้  เพื่อเอาหลวงประดิษฐมนูธรรมที่เป็นรัฐมนตรีลอยออกไป รัฐมนตรีที่เป็นทหารและรัฐมนตรีที่ว่าการกระทรวงยังอยู่ รัฐมนตรีพลเรือนที่หลุดออกจากตำแหน่งมี[[พระยาประมวลวิชาพูล]] นาย[[แนบ พหลโยธิน]] [[หลวงเดชสหกรณ์]] นาย''ตั้ว ลพานุกรม'' และ[[หลวงประดิษฐมนูธรรม]] รวม 5 คน
จากนั้นในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คงเป็นด้วยความกลัวคอมมิวนิสต์หรือจะเอากฎหมายนี้เป็นเครื่องมือไว้ขู่หรือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม รัฐบาลที่ไม่มีสภาก็ออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 นับเป็นฉบับแรกของกฎหมายนี้และมีการคาดโทษที่จะเล่นงานผู้สนับสนุนด้วย
จากนั้นในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คงเป็นด้วยความกลัวคอมมิวนิสต์หรือจะเอากฎหมายนี้เป็นเครื่องมือไว้ขู่หรือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม รัฐบาลที่ไม่มีสภาก็ออก[[กฎหมาย]]ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 นับเป็นฉบับแรกของกฎหมายนี้และมีการคาดโทษที่จะเล่นงานผู้สนับสนุนด้วย
อีก 10 วันต่อจากการออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์  หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงต้องเดินทางออกนอกประเทศ การบีบบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกภายในคณะราษฎรระหว่างสมาชิก “หัวเก่า” และสมาชิก “หัวใหม่” และเป็นการแตกแยกที่ดูจะรุนแรงมาก ตอนนั้นถือว่าฝ่ายที่มีความคิดในแนวใหม่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
อีก 10 วันต่อจากการออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์  หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงต้องเดินทางออกนอกประเทศ การบีบบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกภายในคณะราษฎรระหว่าง[[สมาชิก “หัวเก่า”]] และ[[สมาชิก “หัวใหม่”]] และเป็นการแตกแยกที่ดูจะรุนแรงมาก ตอนนั้นถือว่าฝ่ายที่มีความคิดในแนวใหม่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
แต่วันที่เดินทางของหลวงประดิษฐมนูธรรมและภริยาได้มีผู้มาส่งมากทีเดียว
แต่วันที่เดินทางของหลวงประดิษฐมนูธรรมและภริยาได้มีผู้มาส่งมากทีเดียว
“จุดหมายปลายทาง (ของหลวงประดิษฐฯ) เพื่อไปพักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พ่อค้า ประชาชน ข้าราชการ ผู้เคารพนับถือไปส่งที่ท่าเรืออย่างล้นหลาม โดยเฉพาะนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนานั้นได้กอดจูบเป็นการอาลับต่อหน้าประชาชนเป็นเวลานาน” จากบันทึกเล่าของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ จะเห็นว่าผู้ที่มาส่งกันอย่างล้นหลามนั้นมี นายพันเอกพระยาพหลฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่ด้วย ดังนั้น หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงไม่ได้ขัดแย้งกับพระยาพหลฯ อย่างแน่นอน
“จุดหมายปลายทาง (ของหลวงประดิษฐฯ) เพื่อไปพักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ่อค้า ประชาชน ข้าราชการ ผู้เคารพนับถือไปส่งที่ท่าเรืออย่างล้นหลาม โดยเฉพาะ[[นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]]นั้นได้กอดจูบเป็นการอาลับต่อหน้าประชาชนเป็นเวลานาน” จากบันทึกเล่าของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ จะเห็นว่าผู้ที่มาส่งกันอย่างล้นหลามนั้นมี นายพันเอกพระยาพหลฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่ด้วย ดังนั้น หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงไม่ได้ขัดแย้งกับพระยาพหลฯ อย่างแน่นอน
แต่หลังจากหลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกจากประเทศไทยไปเพียง 69 วันไม่นานเกินรอ พระยาพหลฯ ก็นำคณะทหารที่มีพันโทหลวงพิบูลสงคราม กับนาวาโทหลวงศุภชลาศัยร่วมด้วย เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ เปิดสภาใช้รัฐธรรมนูญตามปกติเสียเลย
แต่หลังจากหลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกจากประเทศไทยไปเพียง 69 วันไม่นานเกินรอ พระยาพหลฯ ก็นำคณะทหารที่มี[[พันโทหลวงพิบูลสงคราม]] กับ[[นาวาโทหลวงศุภชลาศัย]]ร่วมด้วย เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ เปิดสภาใช้[[รัฐธรรมนูญ]]ตามปกติเสียเลย
หลวงประดิษฐมนูธรรมได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีและเดินทางกลับประเทศไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 นั่นเอง
หลวงประดิษฐมนูธรรมได้รับการแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรี]]และเดินทางกลับประเทศไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 นั่นเอง


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:28, 10 กันยายน 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นวันที่รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ตั้งขึ้นโดยคณะราษฎรซึ่งเป็นคณะผู้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้บีบบังคับให้สมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎรเองคนหนึ่งที่ร่วมมือกันยึดอำนาจและตั้งรัฐบาลชุดนี้ ต้องเดินทางออกไปต่างประเทศที่เรียกกันว่าเป็น “การเนรเทศทางการเมือง”

ผู้ที่ถูกบีบบังคับให้เดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้คือหลวงประดิษฐมนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ ที่ถือกันว่าเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ดังที่ ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ บันทึกว่า

“ภายหลังเมื่อคณะรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลให้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้รอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการชั่วคราวนั้น ได้มีพระราชาวิจารณ์โครงการเศรษฐกิจ ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นผู้ร่างเสนอคณะรัฐมนตรี ออกเป็นแถลงการณ์แจกจ่ายโดยทั่วไป และได้มีการบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยได้เดินทางโดยทางเรือกออกจากท่าเรือบีไอ วันที่ 12 เมษายน เวลา 18.00 น....”

ปีนั้นคือปี พ.ศ. 2476 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 จึงเป็นวันการเมืองอีกวันหนึ่งที่มีเรื่องให้เล่าขานให้อ่านกัน

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์เองนั้นเข้ามาบริหารประเทศและทำงานด้านการเมืองสำเร็จเรียบร้อยอย่างสำคัญก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ประกาศใช้ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้รวดเร็วทันใจและดี แต่มีความล่าช้าในด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ ที่มิได้ทำให้ทันกับการเรียกร้องของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อรัฐบาลถูกสมาชิกสภาทวงถามเรื่องการจัดการทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีก็อ้างว่าได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐมนูธรรมไปดูแลและไปทำอยู่ พอหลวงประดิษฐมนูธรรมร่างเค้าโครงเศรษฐกิจมาเสนอรัฐบาลก็มีปัญหาเกิดขึ้น ตอนที่ตั้งอนุกรรมการพิจารณาในเรื่องนี้ อนุกรรมการเสียงข้างมากเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจ ที่เป็นปัญหาก็เนื่องจากเมื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเสียงข้างมากในคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย ถึงกับมีเสียงไปในทำนองว่าเป็นโครงการคล้าย ๆ แบบคอมมิวนิสต์ แสดงว่าคอมมิวนิสต์ถูกอ้างถึงกันแล้วในตอนนั้น

ที่นึกไม่ถึงก็คือการขัดแย้งในเรื่องนี้ได้นำไปสู่กรณีที่รัฐบาลขอออกพระราชกฤษฎีกาปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 กลายเป็นเรื่องที่เล่าขานเป็นตำนานกันเลยทีเดียว และในวันเดียวกันก็มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ รัฐมนตรีลอยที่เป็นพลเรือนไม่มีกระทรวงสังกัดถูกให้พ้นตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อเอาหลวงประดิษฐมนูธรรมที่เป็นรัฐมนตรีลอยออกไป รัฐมนตรีที่เป็นทหารและรัฐมนตรีที่ว่าการกระทรวงยังอยู่ รัฐมนตรีพลเรือนที่หลุดออกจากตำแหน่งมีพระยาประมวลวิชาพูล นายแนบ พหลโยธิน หลวงเดชสหกรณ์ นายตั้ว ลพานุกรม และหลวงประดิษฐมนูธรรม รวม 5 คน

จากนั้นในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คงเป็นด้วยความกลัวคอมมิวนิสต์หรือจะเอากฎหมายนี้เป็นเครื่องมือไว้ขู่หรือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม รัฐบาลที่ไม่มีสภาก็ออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 นับเป็นฉบับแรกของกฎหมายนี้และมีการคาดโทษที่จะเล่นงานผู้สนับสนุนด้วย

อีก 10 วันต่อจากการออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงต้องเดินทางออกนอกประเทศ การบีบบังคับให้หลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกภายในคณะราษฎรระหว่างสมาชิก “หัวเก่า” และสมาชิก “หัวใหม่” และเป็นการแตกแยกที่ดูจะรุนแรงมาก ตอนนั้นถือว่าฝ่ายที่มีความคิดในแนวใหม่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้

แต่วันที่เดินทางของหลวงประดิษฐมนูธรรมและภริยาได้มีผู้มาส่งมากทีเดียว

“จุดหมายปลายทาง (ของหลวงประดิษฐฯ) เพื่อไปพักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ่อค้า ประชาชน ข้าราชการ ผู้เคารพนับถือไปส่งที่ท่าเรืออย่างล้นหลาม โดยเฉพาะนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนานั้นได้กอดจูบเป็นการอาลับต่อหน้าประชาชนเป็นเวลานาน” จากบันทึกเล่าของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ จะเห็นว่าผู้ที่มาส่งกันอย่างล้นหลามนั้นมี นายพันเอกพระยาพหลฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่ด้วย ดังนั้น หลวงประดิษฐมนูธรรมจึงไม่ได้ขัดแย้งกับพระยาพหลฯ อย่างแน่นอน

แต่หลังจากหลวงประดิษฐมนูธรรมเดินทางออกจากประเทศไทยไปเพียง 69 วันไม่นานเกินรอ พระยาพหลฯ ก็นำคณะทหารที่มีพันโทหลวงพิบูลสงคราม กับนาวาโทหลวงศุภชลาศัยร่วมด้วย เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ เปิดสภาใช้รัฐธรรมนูญตามปกติเสียเลย

หลวงประดิษฐมนูธรรมได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีและเดินทางกลับประเทศไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 นั่นเอง