ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏ 9 กันยายน 2528"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' อาวุธและนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- ''...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== กบฏเดือนกันยายน 2528 == | == กบฏเดือนกันยายน 2528 == | ||
การพยายามทำการ[[ปฏิวัติ]]ในวันที่ 9 กันยายน 2528 นับเป็นเหตุการณ์กบฏครั้งที่สอง (คำว่า ”การปฏิวัติ” ที่นิยมใช้ทั่วไปนั้นที่ถูกต้องคือ “[[การรัฐประหาร]]” ซึ่งถ้าล้มเหลวจะมีสภาพเป็น “กบฏ”) ในสมัยรัฐบาล[[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] โดยมีพันเอกมนูญ รูปขจร (ปัจจุบัน พลตรีมนูญกฤต รูปขจร) ผู้นำในการกบฏครั้งก่อนที่ถูกให้ออกจากราชการ (ดู กบฏเมษาฮาวาย) เป็นผู้นำการก่อการ ร่วมกับน้องชาย[[มนัส รูปขจร|นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร]] ทั้งยังมีนายทหารนอกราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ [[เสริม ณ นคร|พลเอกเสริม ณ นคร]], [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]], [[ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา|พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา]] รวมถึงพลเรือนที่เป็นผู้นำแรงงาน เช่น [[นายสวัสดิ์ ลูกโดด]], [[นายประทิน ธำรงจ้อย]] และเจ้าของแชร์ชาร์เตอร์ [[เอกยุทธ อัญชันบุตร|นายเอกยุทธ อัญชันบุตร]]ร่วมอยู่ในคณะผู้ก่อการด้วย โดยคณะปฏิวัติฉวยโอกาสที่นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก พลเอกอาทิตย์ กำลังเอกซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ด้วย ไปราชการต่างประเทศ โดยในวันเกิดเหตุพลเอกเปรมอยู่ที่อินโดนีเซีย ส่วนพลเอกอาทิตย์อยู่ที่สวีเดน | |||
เหตุการณ์เริ่มขึ้นเช้ามืดราว 03.00 น. ของวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยกำลังทหารจากกรมอากาศโยธินได้เข้าจับกุมตัวพลอากาศเอกประพันธ์ ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศที่บ้านพักเพื่อใช้เป็นตัวประกัน และกำลังทหารอีกส่วนหนึ่งพร้อมรถถังของกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ได้เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า เพื่อใช้เป็นกองบัญชาการคณะปฏิวัติ พร้อมกับได้เข้ายึด ทำเนียบรัฐบาล ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ทั้งยังได้ตรึงกำลังบริเวณหน้ารัฐสภาและพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน | เหตุการณ์เริ่มขึ้นเช้ามืดราว 03.00 น. ของวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยกำลังทหารจากกรมอากาศโยธินได้เข้าจับกุมตัวพลอากาศเอกประพันธ์ ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศที่บ้านพักเพื่อใช้เป็นตัวประกัน และกำลังทหารอีกส่วนหนึ่งพร้อมรถถังของกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ได้เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า เพื่อใช้เป็นกองบัญชาการคณะปฏิวัติ พร้อมกับได้เข้ายึด [[ทำเนียบรัฐบาล]] ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ทั้งยังได้ตรึงกำลังบริเวณหน้ารัฐสภาและพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน | ||
ราว 04.00 น. ฝ่ายรัฐบาลได้รับรายงานการก่อการปฏิวัติและแจ้งให้พลเอกเปรมและพลเอกอาทิตย์ทราบ | ราว 04.00 น. ฝ่ายรัฐบาลได้รับรายงานการก่อการปฏิวัติและแจ้งให้พลเอกเปรมและพลเอกอาทิตย์ทราบ ซึ่งมีคำสั่งให้[[เทียนชัย ศิริสัมพันธ์|พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์]] รองผู้บัญชาการทหารบก จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน เพื่อเป็นฐานบัญชาการต้านปฏิวัติ | ||
ราว 07.30 น. พลเอกเทียนชัยออกประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่ายกองทัพ ให้กำลังทหารที่เคลื่อนย้ายกำลังออกมากลับเข้าที่ตั้ง ในเวลาใกล้เคียงกันฝ่ายผู้ก่อการก็ออกประกาศคณะปฏิวัติชี้แจงเหตุผลการก่อการทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยระบุชื่อพลเอกเสริม ณ นคร | ราว 07.30 น. พลเอกเทียนชัยออกประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่ายกองทัพ ให้กำลังทหารที่เคลื่อนย้ายกำลังออกมากลับเข้าที่ตั้ง ในเวลาใกล้เคียงกันฝ่ายผู้ก่อการก็ออกประกาศคณะปฏิวัติชี้แจงเหตุผลการก่อการทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยระบุชื่อพลเอกเสริม ณ นคร เป็น[[หัวหน้าคณะปฏิวัติ]] พร้อมออกคำสั่งคณะปฏิวัติตามมาอีกหลายฉบับ ในขณะที่ฝ่าย[[รัฐบาล]]ยังประกาศย้ำคำสั่งเดิมเป็นระยะๆ | ||
ช่วงสาย ราว 10.00 น. เกิดการปะทะกันขึ้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และฝ่ายปฏิวัติได้เคลื่อนรถถังเข้าไปที่กองพล 1 รอ. เพื่อยึดสถานีวิทยุกองพล 1 ซึ่งรัฐบาลใช้ออกแถลงการณ์ การปะทะเป็นไปอย่างรุนแรง มีการยิงทำลายเสาอากาศเครื่องส่ง และห้องส่งกระจายเสียงจนใช้การไม่ได้ | ช่วงสาย ราว 10.00 น. เกิดการปะทะกันขึ้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และฝ่ายปฏิวัติได้เคลื่อนรถถังเข้าไปที่กองพล 1 รอ. เพื่อยึดสถานีวิทยุกองพล 1 ซึ่งรัฐบาลใช้ออกแถลงการณ์ การปะทะเป็นไปอย่างรุนแรง มีการยิงทำลายเสาอากาศเครื่องส่ง และห้องส่งกระจายเสียงจนใช้การไม่ได้ | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
เวลา 13.00 น. รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ ผ่านทางช่อง 5 ขณะเดียวกันทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้ทำการเจรจาให้ฝ่ายปฏิวัติยอมวางอาวุธ | เวลา 13.00 น. รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ ผ่านทางช่อง 5 ขณะเดียวกันทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้ทำการเจรจาให้ฝ่ายปฏิวัติยอมวางอาวุธ | ||
เวลา 15.00 น. การเจรจาเป็นผลสำเร็จ รัฐบาลยอมให้พันเอกมนูญเดินทางไปยังสิงคโปร์ ส่วนนาวาอากาศโทมนัสหลบหนีไปได้ (ภายหลังทั้งคู่ได้ลี้ภัยไปเยอรมนีตะวันตก) กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ชุมนุมอยู่ก็สลายตัวไป คณะปฏิวัติที่เหลือทยอยกันเข้ามารายงานตัวพร้อมกับปล่อยตัวประกัน พลอากาศเอกประพันธ์ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เป็นทหาร 2 ราย ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 ราย ประชาชน 1 ราย ได้รับบาดเจ็บประมาณ 60 ราย<ref>กองทัพบก, บันทึกเหตุการณ์กรณีการก่อความไม่สงบฯ 9 กันยายน 2528 ม.ป.ท. ม.ป.ป; “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4-5, 7-10; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 5-11; “11 ชั่วโมงระทึก ปฏิวัติด้าน,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 8-15; “11 ชั่วโมงระทึก 9 กันยายน 28,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 11-13; ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549) หน้า 216-222.</ref> และมีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา “กบฏ” 33 ราย | เวลา 15.00 น. การเจรจาเป็นผลสำเร็จ รัฐบาลยอมให้พันเอกมนูญเดินทางไปยังสิงคโปร์ ส่วนนาวาอากาศโทมนัสหลบหนีไปได้ (ภายหลังทั้งคู่ได้ลี้ภัยไปเยอรมนีตะวันตก) กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ชุมนุมอยู่ก็สลายตัวไป คณะปฏิวัติที่เหลือทยอยกันเข้ามารายงานตัวพร้อมกับปล่อยตัวประกัน พลอากาศเอกประพันธ์ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เป็นทหาร 2 ราย ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 ราย ประชาชน 1 ราย ได้รับบาดเจ็บประมาณ 60 ราย<ref>กองทัพบก, บันทึกเหตุการณ์กรณีการก่อความไม่สงบฯ 9 กันยายน 2528 ม.ป.ท. ม.ป.ป; “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4-5, 7-10; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 5-11; “11 ชั่วโมงระทึก ปฏิวัติด้าน,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 8-15; “11 ชั่วโมงระทึก 9 กันยายน 28,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 11-13; ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549) หน้า 216-222.</ref> และมีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา “กบฏ” 33 ราย ซึ่งภายหลังได้รับการ[[นิรโทษกรรม]]เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2531 <ref>ดู “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531” </ref> | ||
แม้การทำปฏิวัติครั้งนี้ จะระบุชื่อพลเอกเสริม เป็นหัวหน้า แต่ตัวเขารวมถึงพลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกยศ ล้วนอ้างว่าถูกบีบบังคับให้เข้าร่วม (กรณีพลเอกยศ ฝ่ายรัฐบาลบางส่วนเชื่อว่าเป็นผู้นำการก่อการด้วย<ref> “ใคร เป็นใครในคณะปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 6; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 5, 8. </ref> ) ขณะที่พันเอกมนูญ นายทหาร จปร. 7 (ดู [[ทหารยังเติร์กกับการเมืองไทย]]) ซึ่งเป็นผู้นำการก่อการและมีชื่อเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ ไม่ปรากฏว่ามีเพื่อนร่วมรุ่นเข้าร่วมปฏิวัติด้วย กำลังที่ใช้ปฏิวัติก็มีเพียงหน่วยทหารม้าที่พันเอกมนูญเคยเป็นผู้บังคับบัญชา และทหารอากาศของน้องชาย รวมประมาณ 500 นาย โดยขาดหน่วยทหารราบซึ่งเคยเป็นกำลังสำคัญของการปฏิวัติแทบทุกครั้ง ทำให้มีคำถามว่าอาจมีผู้คิดจะร่วมก่อการด้วยแต่ไม่มาตามนัดหรือไม่<ref> “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 10-11. </ref> โดยเป้าจะอยู่ที่นายทหารคุมกำลังสำคัญอย่างพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ แม่ทัพภาคที่ 1 ที่มาฐานบัญชาการต้านปฏิวัติที่กรมทหารราบที่ 11 ล่าช้า และเป็นผู้ที่สนิทสนมกับกลุ่มนายทหาร จปร. 7 มาแต่เดิม พลโทพิจิตรเองได้เป็นผู้เจรจากับฝ่ายปฏิวัติและเปิดโอกาสให้พันเอกมนูญออกนอกประเทศ<ref> “ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี’กบฏ 9 กันยาฯ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 11-12; “ไฉนพล.ท.พิจิตรจึงตกเป็นเหยื่อของข่าวลือ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 13-14. </ref> นอกจากนี้พลโทพิจิตรยังเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับพลเอกเปรม<ref>ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 231-232. </ref> ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคณะปฏิวัติให้เชื่อมหาสถาบันสำคัญของประเทศได้ (คณะปฏิวัติพยายามแสดงตัวว่าเป็นผู้จงรักภักดีด้วยการนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี พระบรมโอรสาธิราช มาติดที่หน้ารถถัง พร้อมกับธงสีเหลืองและสีฟ้า<ref> “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4. </ref> ) ที่สำคัญกว่านั้นพลโทพิจิตรเป็นนายทหารที่เป็นฐานกำลังให้กับพลเอกอาทิตย์ซึ่งบาดหมางกับพลเอกเปรมมาแล้วร่วมปี ตั้งแต่การลดค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2527 ด้วยไม่พอใจว่าพลเอกเปรมไม่ได้ปรึกษากับทางกองทัพก่อน ความคลางแคลงใจที่เกิดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พลโทพิจิตรเปลี่ยนท่าทีโดยวางตัวออกห่างพลเอกอาทิตย์ และโน้มเอียงหาพลเอกเปรมมากขึ้น ความขัดแย้งที่คุกรุ่นระหว่างรัฐบาลกับผู้นำกองทัพลงเอยที่พลเอกเปรมประกาศในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2529 ว่าจะไม่มีการต่ออายุราชการให้พลเอกอาทิตย์อีกเป็นครั้งที่สอง และสั่งปลดพลเอกอาทิตย์จากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 คงไว้แต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด<ref>ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 209-210, 231, 237-238, 244, 250. </ref> ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแทนก็คือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายทหารที่ใกล้ชิดกับพลเอกเปรมและเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 | แม้การทำปฏิวัติครั้งนี้ จะระบุชื่อพลเอกเสริม เป็นหัวหน้า แต่ตัวเขารวมถึงพลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกยศ ล้วนอ้างว่าถูกบีบบังคับให้เข้าร่วม (กรณีพลเอกยศ ฝ่ายรัฐบาลบางส่วนเชื่อว่าเป็นผู้นำการก่อการด้วย<ref> “ใคร เป็นใครในคณะปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 6; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 5, 8. </ref> ) ขณะที่พันเอกมนูญ นายทหาร จปร. 7 (ดู [[ทหารยังเติร์กกับการเมืองไทย]]) ซึ่งเป็นผู้นำการก่อการและมีชื่อเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ ไม่ปรากฏว่ามีเพื่อนร่วมรุ่นเข้าร่วมปฏิวัติด้วย กำลังที่ใช้ปฏิวัติก็มีเพียงหน่วยทหารม้าที่พันเอกมนูญเคยเป็นผู้บังคับบัญชา และทหารอากาศของน้องชาย รวมประมาณ 500 นาย โดยขาดหน่วยทหารราบซึ่งเคยเป็นกำลังสำคัญของการปฏิวัติแทบทุกครั้ง ทำให้มีคำถามว่าอาจมีผู้คิดจะร่วมก่อการด้วยแต่ไม่มาตามนัดหรือไม่<ref> “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 10-11. </ref> โดยเป้าจะอยู่ที่นายทหารคุมกำลังสำคัญอย่างพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ แม่ทัพภาคที่ 1 ที่มาฐานบัญชาการต้านปฏิวัติที่กรมทหารราบที่ 11 ล่าช้า และเป็นผู้ที่สนิทสนมกับกลุ่มนายทหาร จปร. 7 มาแต่เดิม พลโทพิจิตรเองได้เป็นผู้เจรจากับฝ่ายปฏิวัติและเปิดโอกาสให้พันเอกมนูญออกนอกประเทศ<ref> “ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี’กบฏ 9 กันยาฯ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 11-12; “ไฉนพล.ท.พิจิตรจึงตกเป็นเหยื่อของข่าวลือ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 13-14. </ref> นอกจากนี้พลโทพิจิตรยังเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับพลเอกเปรม<ref>ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 231-232. </ref> ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคณะปฏิวัติให้เชื่อมหาสถาบันสำคัญของประเทศได้ (คณะปฏิวัติพยายามแสดงตัวว่าเป็นผู้จงรักภักดีด้วยการนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี พระบรมโอรสาธิราช มาติดที่หน้ารถถัง พร้อมกับธงสีเหลืองและสีฟ้า<ref> “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4. </ref> ) ที่สำคัญกว่านั้นพลโทพิจิตรเป็นนายทหารที่เป็นฐานกำลังให้กับพลเอกอาทิตย์ซึ่งบาดหมางกับพลเอกเปรมมาแล้วร่วมปี ตั้งแต่การลดค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2527 ด้วยไม่พอใจว่าพลเอกเปรมไม่ได้ปรึกษากับทางกองทัพก่อน ความคลางแคลงใจที่เกิดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พลโทพิจิตรเปลี่ยนท่าทีโดยวางตัวออกห่างพลเอกอาทิตย์ และโน้มเอียงหาพลเอกเปรมมากขึ้น ความขัดแย้งที่คุกรุ่นระหว่างรัฐบาลกับผู้นำกองทัพลงเอยที่พลเอกเปรมประกาศในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2529 ว่าจะไม่มีการต่ออายุราชการให้พลเอกอาทิตย์อีกเป็นครั้งที่สอง และสั่งปลดพลเอกอาทิตย์จากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 คงไว้แต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด<ref>ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 209-210, 231, 237-238, 244, 250. </ref> ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแทนก็คือ [[ชวลิต ยงใจยุทธ|พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ]] นายทหารที่ใกล้ชิดกับพลเอกเปรมและเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 | ||
นอกจากผลต่อการเปลี่ยนขั้วอำนาจภายในกองทัพแล้ว การทำปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ยังมีข้อน่าสนใจตรงที่มีการเคลื่อนไหวของพลเรือนที่ไม่พอใจรัฐบาลด้วย ซึ่งมาจากการแสวงหาแนวร่วมของพันเอกมนัส อย่างเช่น | นอกจากผลต่อการเปลี่ยนขั้วอำนาจภายในกองทัพแล้ว การทำปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ยังมีข้อน่าสนใจตรงที่มีการเคลื่อนไหวของพลเรือนที่ไม่พอใจรัฐบาลด้วย ซึ่งมาจากการแสวงหาแนวร่วมของพันเอกมนัส อย่างเช่น [[กลุ่มแรงงานประชาธิปไตย]]ซึ่งผู้นำกลุ่มที่เป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยถูกให้ออกจากงานหลังเคลื่อนไหวเรื่องเงินค่าชดเชย กลุ่มนี้เคลื่อนไหวร่วมกับสหภาพแรงงานอื่นโดยชูประเด็น “ปัญหาปากท้อง” อีกทั้งมีนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ต้องหาคดีแชร์ชาร์เตอร์ ซึ่งรับผลกระทบจากการปราบปรามเงินนอกระบบและทรัสต์เถื่อนของรัฐบาลพลเอกเปรม เป็นผู้ออกทุนในการทำการปฏิวัติ โดยนายเอกยุทธยังเป็นผู้นำกำลังทหารของคณะปฏิวัติเข้ายึดรถ ขสมก. เพื่อนำมาขนส่งผู้ใช้แรงงานด้วย<ref>เรื่องเดียวกัน หน้า 224-225; มุมที่ถูกมองข้ามจากโรงแรมบารอนย่านรัชดา ปฏิวัติจากม่านรูด,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 10-11.</ref> | ||
==ที่มา== | ==ที่มา== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:55, 23 มิถุนายน 2554
ผู้เรียบเรียง อาวุธและนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
กบฏเดือนกันยายน 2528
การพยายามทำการปฏิวัติในวันที่ 9 กันยายน 2528 นับเป็นเหตุการณ์กบฏครั้งที่สอง (คำว่า ”การปฏิวัติ” ที่นิยมใช้ทั่วไปนั้นที่ถูกต้องคือ “การรัฐประหาร” ซึ่งถ้าล้มเหลวจะมีสภาพเป็น “กบฏ”) ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพันเอกมนูญ รูปขจร (ปัจจุบัน พลตรีมนูญกฤต รูปขจร) ผู้นำในการกบฏครั้งก่อนที่ถูกให้ออกจากราชการ (ดู กบฏเมษาฮาวาย) เป็นผู้นำการก่อการ ร่วมกับน้องชายนาวาอากาศโท มนัส รูปขจร ทั้งยังมีนายทหารนอกราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พลเอกเสริม ณ นคร, พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รวมถึงพลเรือนที่เป็นผู้นำแรงงาน เช่น นายสวัสดิ์ ลูกโดด, นายประทิน ธำรงจ้อย และเจ้าของแชร์ชาร์เตอร์ นายเอกยุทธ อัญชันบุตรร่วมอยู่ในคณะผู้ก่อการด้วย โดยคณะปฏิวัติฉวยโอกาสที่นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก พลเอกอาทิตย์ กำลังเอกซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ด้วย ไปราชการต่างประเทศ โดยในวันเกิดเหตุพลเอกเปรมอยู่ที่อินโดนีเซีย ส่วนพลเอกอาทิตย์อยู่ที่สวีเดน
เหตุการณ์เริ่มขึ้นเช้ามืดราว 03.00 น. ของวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยกำลังทหารจากกรมอากาศโยธินได้เข้าจับกุมตัวพลอากาศเอกประพันธ์ ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศที่บ้านพักเพื่อใช้เป็นตัวประกัน และกำลังทหารอีกส่วนหนึ่งพร้อมรถถังของกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ได้เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า เพื่อใช้เป็นกองบัญชาการคณะปฏิวัติ พร้อมกับได้เข้ายึด ทำเนียบรัฐบาล ลานพระบรมรูปทรงม้า สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ทั้งยังได้ตรึงกำลังบริเวณหน้ารัฐสภาและพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ราว 04.00 น. ฝ่ายรัฐบาลได้รับรายงานการก่อการปฏิวัติและแจ้งให้พลเอกเปรมและพลเอกอาทิตย์ทราบ ซึ่งมีคำสั่งให้พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชาการทหารบก จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน เพื่อเป็นฐานบัญชาการต้านปฏิวัติ
ราว 07.30 น. พลเอกเทียนชัยออกประกาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่ายกองทัพ ให้กำลังทหารที่เคลื่อนย้ายกำลังออกมากลับเข้าที่ตั้ง ในเวลาใกล้เคียงกันฝ่ายผู้ก่อการก็ออกประกาศคณะปฏิวัติชี้แจงเหตุผลการก่อการทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยระบุชื่อพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ พร้อมออกคำสั่งคณะปฏิวัติตามมาอีกหลายฉบับ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลยังประกาศย้ำคำสั่งเดิมเป็นระยะๆ
ช่วงสาย ราว 10.00 น. เกิดการปะทะกันขึ้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และฝ่ายปฏิวัติได้เคลื่อนรถถังเข้าไปที่กองพล 1 รอ. เพื่อยึดสถานีวิทยุกองพล 1 ซึ่งรัฐบาลใช้ออกแถลงการณ์ การปะทะเป็นไปอย่างรุนแรง มีการยิงทำลายเสาอากาศเครื่องส่ง และห้องส่งกระจายเสียงจนใช้การไม่ได้
เวลา 11.00 น. พลเอกเทียนชัยกล่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ย้ำให้ทหารที่เคลื่อนกำลังออกมากลับเข้าที่ตั้ง และได้ประกาศให้ปลัดกระทรวงต่างๆ มารายงานตัวที่กรมทหารราบที่ 11 ปรากฏว่ามีมารายงานตัวทั้งหมด 21 คน ในเวลาไล่เลี่ยกันกำลังทหารฝ่ายรัฐบาลได้เข้ายึดกรมประชาสัมพันธ์ และ อ.ส.ม.ท. คืนมาได้ ทำให้คณะปฏิวัติไม่สามารถส่งกระจายเสียงได้อีก
หลังเวลา 12.00 น. กำลังของคณะปฏิวัติเริ่มถอยร่นกลับเข้าไปในสนามเสือป่า
เวลา 12.40 น. ผู้นำแรงงานหลายคนได้ขึ้นปราศรัยโจมตีการบริหารงานของรัฐบาลที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
เวลา 13.00 น. รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ ผ่านทางช่อง 5 ขณะเดียวกันทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้ทำการเจรจาให้ฝ่ายปฏิวัติยอมวางอาวุธ
เวลา 15.00 น. การเจรจาเป็นผลสำเร็จ รัฐบาลยอมให้พันเอกมนูญเดินทางไปยังสิงคโปร์ ส่วนนาวาอากาศโทมนัสหลบหนีไปได้ (ภายหลังทั้งคู่ได้ลี้ภัยไปเยอรมนีตะวันตก) กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ชุมนุมอยู่ก็สลายตัวไป คณะปฏิวัติที่เหลือทยอยกันเข้ามารายงานตัวพร้อมกับปล่อยตัวประกัน พลอากาศเอกประพันธ์ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย เป็นทหาร 2 ราย ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 ราย ประชาชน 1 ราย ได้รับบาดเจ็บประมาณ 60 ราย[1] และมีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา “กบฏ” 33 ราย ซึ่งภายหลังได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2531 [2]
แม้การทำปฏิวัติครั้งนี้ จะระบุชื่อพลเอกเสริม เป็นหัวหน้า แต่ตัวเขารวมถึงพลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกยศ ล้วนอ้างว่าถูกบีบบังคับให้เข้าร่วม (กรณีพลเอกยศ ฝ่ายรัฐบาลบางส่วนเชื่อว่าเป็นผู้นำการก่อการด้วย[3] ) ขณะที่พันเอกมนูญ นายทหาร จปร. 7 (ดู ทหารยังเติร์กกับการเมืองไทย) ซึ่งเป็นผู้นำการก่อการและมีชื่อเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ ไม่ปรากฏว่ามีเพื่อนร่วมรุ่นเข้าร่วมปฏิวัติด้วย กำลังที่ใช้ปฏิวัติก็มีเพียงหน่วยทหารม้าที่พันเอกมนูญเคยเป็นผู้บังคับบัญชา และทหารอากาศของน้องชาย รวมประมาณ 500 นาย โดยขาดหน่วยทหารราบซึ่งเคยเป็นกำลังสำคัญของการปฏิวัติแทบทุกครั้ง ทำให้มีคำถามว่าอาจมีผู้คิดจะร่วมก่อการด้วยแต่ไม่มาตามนัดหรือไม่[4] โดยเป้าจะอยู่ที่นายทหารคุมกำลังสำคัญอย่างพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ แม่ทัพภาคที่ 1 ที่มาฐานบัญชาการต้านปฏิวัติที่กรมทหารราบที่ 11 ล่าช้า และเป็นผู้ที่สนิทสนมกับกลุ่มนายทหาร จปร. 7 มาแต่เดิม พลโทพิจิตรเองได้เป็นผู้เจรจากับฝ่ายปฏิวัติและเปิดโอกาสให้พันเอกมนูญออกนอกประเทศ[5] นอกจากนี้พลโทพิจิตรยังเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับพลเอกเปรม[6] ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคณะปฏิวัติให้เชื่อมหาสถาบันสำคัญของประเทศได้ (คณะปฏิวัติพยายามแสดงตัวว่าเป็นผู้จงรักภักดีด้วยการนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี พระบรมโอรสาธิราช มาติดที่หน้ารถถัง พร้อมกับธงสีเหลืองและสีฟ้า[7] ) ที่สำคัญกว่านั้นพลโทพิจิตรเป็นนายทหารที่เป็นฐานกำลังให้กับพลเอกอาทิตย์ซึ่งบาดหมางกับพลเอกเปรมมาแล้วร่วมปี ตั้งแต่การลดค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2527 ด้วยไม่พอใจว่าพลเอกเปรมไม่ได้ปรึกษากับทางกองทัพก่อน ความคลางแคลงใจที่เกิดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พลโทพิจิตรเปลี่ยนท่าทีโดยวางตัวออกห่างพลเอกอาทิตย์ และโน้มเอียงหาพลเอกเปรมมากขึ้น ความขัดแย้งที่คุกรุ่นระหว่างรัฐบาลกับผู้นำกองทัพลงเอยที่พลเอกเปรมประกาศในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2529 ว่าจะไม่มีการต่ออายุราชการให้พลเอกอาทิตย์อีกเป็นครั้งที่สอง และสั่งปลดพลเอกอาทิตย์จากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 คงไว้แต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[8] ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแทนก็คือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายทหารที่ใกล้ชิดกับพลเอกเปรมและเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528
นอกจากผลต่อการเปลี่ยนขั้วอำนาจภายในกองทัพแล้ว การทำปฏิวัติ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ยังมีข้อน่าสนใจตรงที่มีการเคลื่อนไหวของพลเรือนที่ไม่พอใจรัฐบาลด้วย ซึ่งมาจากการแสวงหาแนวร่วมของพันเอกมนัส อย่างเช่น กลุ่มแรงงานประชาธิปไตยซึ่งผู้นำกลุ่มที่เป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยถูกให้ออกจากงานหลังเคลื่อนไหวเรื่องเงินค่าชดเชย กลุ่มนี้เคลื่อนไหวร่วมกับสหภาพแรงงานอื่นโดยชูประเด็น “ปัญหาปากท้อง” อีกทั้งมีนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ต้องหาคดีแชร์ชาร์เตอร์ ซึ่งรับผลกระทบจากการปราบปรามเงินนอกระบบและทรัสต์เถื่อนของรัฐบาลพลเอกเปรม เป็นผู้ออกทุนในการทำการปฏิวัติ โดยนายเอกยุทธยังเป็นผู้นำกำลังทหารของคณะปฏิวัติเข้ายึดรถ ขสมก. เพื่อนำมาขนส่งผู้ใช้แรงงานด้วย[9]
ที่มา
11 ชั่วโมงระทึก 9 กันยายน 28. สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 11-13.
11 ชั่วโมงระทึก ปฏิวัติด้าน. สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 8-15.
ใคร เป็นใครในคณะปฏิวัติ. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 6.
ไฉนพล.ท.พิจิตรจึงตกเป็นเหยื่อของข่าวลือ. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 13-14.
นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 5-11.
ปฏิวัติ. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4-11.
มุมที่ถูกมองข้ามจากโรงแรมบารอนย่านรัชดา ปฏิวัติจากม่านรูด. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 10-11.
ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี ’กบฏ 9 กันยาฯ’. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 10-12
กองทัพบก. บันทึกเหตุการณ์กรณีการก่อความไม่สงบฯ 9 กันยายน 2528. ม.ป.ท. ม.ป.ป
ศศิธร โอเจริญ. บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
คำให้การของพยานโจทก์ คดีกบฏ 9 กันยาฯ 28. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,39 (16 มี.ค.29): 7-8.
คำให้การของ พล.อ.บุลฤทธิ์ ทรรทรานนท์. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,35 (16 ก.พ.29): 7-8.
คำให้การของ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,31 (19 ม.ค.29): 6-7.
คำให้การของ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ (ต่อ). สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,32 (26 ม.ค.29): 9.
คำให้การพยานปากเอก กบฏ 9 กันยายน. มติชนสุดสัปดาห์ 9,2878 (19 กันยายน 2529): 4-8.
อิสรภาพของ 2 นายพลเกรียงศักดิ์-อรุณ. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,37 (2 มี.ค.29): 9-10.
อ้างเหตุการณ์ 14 ตุลา ไม่ให้ประกันตัวผู้นำกรรมกร. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 32,43 (13 เม.ย.29): 7.
มูลนิธิรัฐบุรุษ. รัฐบุรุษชื่อเปรม. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป. 2538.
เสถียร จันทิมาธร. เส้นทางสู่อำนาจมนูญ รูปขจร อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงาเปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549.
Suchit Bunbongkarn. The Military in Thai Politics, 1981-86. Pasir Panjang, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1987.
อ้างอิง
- ↑ กองทัพบก, บันทึกเหตุการณ์กรณีการก่อความไม่สงบฯ 9 กันยายน 2528 ม.ป.ท. ม.ป.ป; “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4-5, 7-10; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 5-11; “11 ชั่วโมงระทึก ปฏิวัติด้าน,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 8-15; “11 ชั่วโมงระทึก 9 กันยายน 28,” สู่อนาคต 5,236 (12-18 กันยายน 2528): 11-13; ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549) หน้า 216-222.
- ↑ ดู “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531”
- ↑ “ใคร เป็นใครในคณะปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 6; “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 5, 8.
- ↑ “นาทีต่อนาทีในบก.สนามเสือป่าและกองกำลังปราบกบฏ,” 10-11.
- ↑ “ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี’กบฏ 9 กันยาฯ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 11-12; “ไฉนพล.ท.พิจิตรจึงตกเป็นเหยื่อของข่าวลือ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 13-14.
- ↑ ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 231-232.
- ↑ “ปฏิวัติ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2752(6/263) (15 กันยายน 2528): 4.
- ↑ ศศิธร โอเจริญ, “บทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523- 2531,” หน้า 209-210, 231, 237-238, 244, 250.
- ↑ เรื่องเดียวกัน หน้า 224-225; มุมที่ถูกมองข้ามจากโรงแรมบารอนย่านรัชดา ปฏิวัติจากม่านรูด,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2759(6/264) (22 กันยายน 2528): 10-11.