ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมนิยมแห่งประเทศไทย"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย == | == พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย == | ||
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย | พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เป็น[[พรรคการเมือง]]ที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] โดยมีนายสมคิด ศรีสังคม เป็น[[หัวหน้าพรรค]] นายบุญสนอง บุณโยทยาน เป็น[[เลขาธิการพรรค]] | ||
== นโยบายพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย == | == นโยบายพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย == | ||
พรรคสังคมนิยมจะเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ | พรรคสังคมนิยมจะเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา [[พระมหากษัตริย์]] โดยเฉพาะระบอบ[[ปกครองแบบรัฐสภา]] โดยส่งเสริมให้ได้นับถือศาสนา และไม่ให้เสื่อม โดยให้กรมการศาสนากำกับดูแลวัดวาอารามให้ปฏิบัติตามหลักศาสนาโดยเคร่งครัด การดำเนินนโยบายแบบ[[สังคมนิยม]] จะไม่กระทบกระเทือน[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยจะมุ่งส่งเสริมสิทธิ[[ความเท่าเทียม]]ระหว่างบุรุษและสตรี ทั้งในสิทธิการเข้ารับราชการ สิทธิในการทำงาน สิทธิทางสังคมต่าง ๆ | ||
'''นโยบายทางเศรษฐกิจ''' ยึดถือหลักการจัดระบบเศรษฐกิจตามหลักสังคมนิยมโดยทั่วไป หาทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนมีและคนจน ระดมทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปในทางสร้างสรรค์ความเป็นธรรมทางสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยรัฐจะต้องเร่งรัดการผลิต ส่งเสริมการผลิต ด้วยการพิจารณาเวนคืนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับประชาชนโดยส่วนใหญ่ โดยรัฐต้องเข้าควบคุมดำเนินการเอง | '''นโยบายทางเศรษฐกิจ''' ยึดถือหลักการจัดระบบเศรษฐกิจตามหลักสังคมนิยมโดยทั่วไป หาทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนมีและคนจน ระดมทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปในทางสร้างสรรค์ความเป็นธรรมทางสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยรัฐจะต้องเร่งรัดการผลิต ส่งเสริมการผลิต ด้วยการพิจารณาเวนคืนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับประชาชนโดยส่วนใหญ่ โดยรัฐต้องเข้าควบคุมดำเนินการเอง | ||
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเห็นว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากเรื่องการผลิต การลงทุนและการจำหน่ายสินค้า ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนอยู่ในระดับสูง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ก็จำเป็นต้องมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคอุปโภคด้วย ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการผลิตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ปอ ข้าวโพด เป็นต้น สำหรับเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ จากนั้นก็พัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับผลผลิตการเกษตรและทรัพยากรที่มีในประเทศ | พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเห็นว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากเรื่องการผลิต การลงทุนและการจำหน่ายสินค้า ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนอยู่ในระดับสูง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ก็จำเป็นต้องมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคอุปโภคด้วย ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการผลิตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ปอ ข้าวโพด เป็นต้น สำหรับเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ จากนั้นก็พัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับผลผลิตการเกษตรและทรัพยากรที่มีในประเทศ | ||
แก้ไข[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ให้ประชาชนมีสิทธิ มีส่วนในการปกครองให้มากที่สุด โดย[[กระจายอำนาจ]]ส่วนกลางไปให้ท้องถิ่นให้มากที่สุด ต้องปรับปรุงก[[ระทรวงมหาดไทย]] โดยให้มี[[การเลือกตั้ง]]ผู้พิพากษาจากคนในท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสงเคราะห์ แก้ไขกลไกการบริหารราชการ โดยจัดการปัญหาข้าราชการเฉื่อยชา มีประสิทธิภาพน้อย และพิจารณาปรับปรุง[[กระทรวง]]ทบวงกรมใหม่ โดยอาจมีการยุบหรือตั้งกระทรวงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังต้องแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการทางการเมืองให้เด็ดขาด และหาทางป้องกันมิใช้[[นักการเมือง]]ใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือ โดยกำหนดให้ข้าราชการระดับอธิบดีลงมา มีความเป็นอิสระในการบริหารราชการภายใต้นโยบายของกระทรวง โดยไม่อยู่ภายใต้[[การแทรกแซง]]หรือสั่งการของนักการเมือง | |||
ความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมือง จะต้องเพิ่มสมรรถภาพของข้าราชการตำรวจ ให้มีสรรถภาพในการปราบโจรผู้ร้าย เพิ่มสวัสดิการและเงินเดือนให้แก่ตำรวจชั้นผู้น้อย เลิกยศตำรวจให้เป็นข้าราชการพลเรือน นอกจากยศผู้น้อยถึง ร.ต.อ. หรือ พ.ต.ต. นอกจากนี้ ยังต้องเข้มงวดกวดขันตำรวจในทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต | ความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมือง จะต้องเพิ่มสมรรถภาพของข้าราชการตำรวจ ให้มีสรรถภาพในการปราบโจรผู้ร้าย เพิ่มสวัสดิการและเงินเดือนให้แก่ตำรวจชั้นผู้น้อย เลิกยศตำรวจให้เป็นข้าราชการพลเรือน นอกจากยศผู้น้อยถึง ร.ต.อ. หรือ พ.ต.ต. นอกจากนี้ ยังต้องเข้มงวดกวดขันตำรวจในทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต | ||
'''นโยบายด้านการเกษตร''' | '''นโยบายด้านการเกษตร''' รัฐจะต้องหาทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง โดยหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน เรื่องน้ำ ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ต้องมีการปฏิรูปที่ดิน โดยเวนคืนที่ดินที่นายทุนถือครองมาให้จัดสรรแก่เกษตรกร รัฐต้องใช้ระบบสหกรณ์จัดการที่ดินหลุดกรรมสิทธิ์ โดยรัฐเวนคืนที่ดินมาแล้วให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ เพื่อจัดสรรแบ่งให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ควรมี[[กฎหมาย]]กำหนดให้นายทุนมีที่ดินในความครอบครองได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่เท่านั้น นอกจากการผลิตแล้ว รัฐต้องเป็นผู้จัดหาตลาดสำหรับผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว โดยหาตลาดภายนอกประเทศ และอาศัย[[รัฐวิสาหกิจ]]ดำเนินการนำเข้าและส่งออกภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันก็ต้องประกันราคาสินค้าเกษตรด้วย | ||
การพัฒนาชนบท ต้องมีการพัฒนาถนนให้รถสามารถวิ่งได้ในทุกฤดูกาล เพื่อให้ประชาชนขวนขวายทำมาหากิน และขนส่งสินค้าการเกษตรออกสู่ตลาด รัฐจะต้องพัฒนาคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง โดยเฉพาะคลองชลประทานในภาคอิสาน ส่งเสริมชลประทานในตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งนั้นสำหรับการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง | การพัฒนาชนบท ต้องมีการพัฒนาถนนให้รถสามารถวิ่งได้ในทุกฤดูกาล เพื่อให้ประชาชนขวนขวายทำมาหากิน และขนส่งสินค้าการเกษตรออกสู่ตลาด รัฐจะต้องพัฒนาคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง โดยเฉพาะคลองชลประทานในภาคอิสาน ส่งเสริมชลประทานในตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งนั้นสำหรับการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง | ||
การพัฒนาในเขตเมือง จะต้องกวดขันเรื่องสิ่งแวดล้อมและผังเมือง น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ โดยรัฐบาลจะต้องจัดทำผังเมืองใหม่ในกรุงเทพฯ ไม่ให้เอกชนตัดถนน ตัดซอย ถมดิน หรือจัดสรรที่ดินสำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ การจัดสรรเขตพื้นที่อุตสาหกรรมต้องมีความเข้มงวดกวดขันโดยรัฐต้องออกกฎหมายกำกับควบคุมการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม | การพัฒนาในเขตเมือง จะต้องกวดขันเรื่องสิ่งแวดล้อมและผังเมือง น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ โดยรัฐบาลจะต้องจัดทำผังเมืองใหม่ในกรุงเทพฯ ไม่ให้เอกชนตัดถนน ตัดซอย ถมดิน หรือจัดสรรที่ดินสำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ การจัดสรรเขตพื้นที่อุตสาหกรรมต้องมีความเข้มงวดกวดขันโดยรัฐต้องออกกฎหมายกำกับควบคุมการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม | ||
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย | พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เห็นว่า[[รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517]] เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็น[[ประชาธิปไตย]]มากที่สุด โดยเฉพาะการให้[[สิทธิเสรีภาพ]]แก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น แต่ควรแก้ไขบท[[บัญญัติ]]ที่กำหนดให้[[วุฒิสภา]]มาจากการแต่งตั้งโดย[[พระมหากษัตริย์]] สำหรับเกณฑ์อายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิ[[ลงคะแนนเสียง]]เลือกตั้งนั้น พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ มีความสำคัญมากกว่า ส่วนการเลือกตั้งเป็นเพียงการให้สิทธิที่ใช้ได้เพียงแค่วันเดียว | ||
'''นโยบายด้านการศึกษา''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จะให้รัฐจัดบริการการศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยให้ทุนการศึกษาอย่างทั่วถึงนับแต่การศึกษาภาคบังคับไปจนถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จะมีการส่งเสริมคุณภาพของครูผู้สอน โดยพัฒนาสวัสดิการสำหรับครูในชนบท แก้ไขปัญหาหนี้สินของครู และสร้างขวัญกำลังใจให้ครูมีความภาคภูมิใจในอาชีพ | '''นโยบายด้านการศึกษา''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จะให้รัฐจัดบริการการศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยให้ทุนการศึกษาอย่างทั่วถึงนับแต่การศึกษาภาคบังคับไปจนถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จะมีการส่งเสริมคุณภาพของครูผู้สอน โดยพัฒนาสวัสดิการสำหรับครูในชนบท แก้ไขปัญหาหนี้สินของครู และสร้างขวัญกำลังใจให้ครูมีความภาคภูมิใจในอาชีพ | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 34: | ||
'''นโยบายด้านการสาธารณสุข''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยจะมุ่งทุ่มเทงบประมาณส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน นับตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ส่งเสริมความรู้เรื่องสุขอนามัย ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในเขตชนบท | '''นโยบายด้านการสาธารณสุข''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยจะมุ่งทุ่มเทงบประมาณส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน นับตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ส่งเสริมความรู้เรื่องสุขอนามัย ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในเขตชนบท | ||
'''นโยบายด้านสวัสดิการสังคม''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย | '''นโยบายด้านสวัสดิการสังคม''' พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จะมุ่งการจัดระบบ[[รัฐสวัสดิการ]] โดยขึ้นอยู่กับงบประมาณของรัฐ ทั้งนี้จะเริ่มต้นจากการจัดระบบรักษาพยาบาลแบบให้เปล่า การจัดระบบประกันสังคม โดยคนงาน และนายจ้างช่วยกันสมทบ จัดให้มีสหบาลกรรมกรเพื่อเป็นองค์กรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในรูปกองทุนสวัสดิการในยามเจ็บป่วยและว่างงาน มีการจัดระบบสวัสดิการสำหรับคนชรา ผู้อนาถา และคนทุพพลภาพ | ||
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 82 คน และได้รับเลือกตั้ง 15 คน | ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 82 คน และได้รับเลือกตั้ง 15 คน |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 9 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยมีนายสมคิด ศรีสังคม เป็นหัวหน้าพรรค นายบุญสนอง บุณโยทยาน เป็นเลขาธิการพรรค
นโยบายพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
พรรคสังคมนิยมจะเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะระบอบปกครองแบบรัฐสภา โดยส่งเสริมให้ได้นับถือศาสนา และไม่ให้เสื่อม โดยให้กรมการศาสนากำกับดูแลวัดวาอารามให้ปฏิบัติตามหลักศาสนาโดยเคร่งครัด การดำเนินนโยบายแบบสังคมนิยม จะไม่กระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของประชาชน พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยจะมุ่งส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมระหว่างบุรุษและสตรี ทั้งในสิทธิการเข้ารับราชการ สิทธิในการทำงาน สิทธิทางสังคมต่าง ๆ
นโยบายทางเศรษฐกิจ ยึดถือหลักการจัดระบบเศรษฐกิจตามหลักสังคมนิยมโดยทั่วไป หาทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนมีและคนจน ระดมทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปในทางสร้างสรรค์ความเป็นธรรมทางสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยรัฐจะต้องเร่งรัดการผลิต ส่งเสริมการผลิต ด้วยการพิจารณาเวนคืนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับประชาชนโดยส่วนใหญ่ โดยรัฐต้องเข้าควบคุมดำเนินการเอง พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเห็นว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากเรื่องการผลิต การลงทุนและการจำหน่ายสินค้า ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนอยู่ในระดับสูง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ก็จำเป็นต้องมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคอุปโภคด้วย ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการผลิตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ปอ ข้าวโพด เป็นต้น สำหรับเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ จากนั้นก็พัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับผลผลิตการเกษตรและทรัพยากรที่มีในประเทศ
แก้ไขการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ประชาชนมีสิทธิ มีส่วนในการปกครองให้มากที่สุด โดยกระจายอำนาจส่วนกลางไปให้ท้องถิ่นให้มากที่สุด ต้องปรับปรุงกระทรวงมหาดไทย โดยให้มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาจากคนในท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสงเคราะห์ แก้ไขกลไกการบริหารราชการ โดยจัดการปัญหาข้าราชการเฉื่อยชา มีประสิทธิภาพน้อย และพิจารณาปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมใหม่ โดยอาจมีการยุบหรือตั้งกระทรวงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ ยังต้องแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการทางการเมืองให้เด็ดขาด และหาทางป้องกันมิใช้นักการเมืองใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือ โดยกำหนดให้ข้าราชการระดับอธิบดีลงมา มีความเป็นอิสระในการบริหารราชการภายใต้นโยบายของกระทรวง โดยไม่อยู่ภายใต้การแทรกแซงหรือสั่งการของนักการเมือง
ความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมือง จะต้องเพิ่มสมรรถภาพของข้าราชการตำรวจ ให้มีสรรถภาพในการปราบโจรผู้ร้าย เพิ่มสวัสดิการและเงินเดือนให้แก่ตำรวจชั้นผู้น้อย เลิกยศตำรวจให้เป็นข้าราชการพลเรือน นอกจากยศผู้น้อยถึง ร.ต.อ. หรือ พ.ต.ต. นอกจากนี้ ยังต้องเข้มงวดกวดขันตำรวจในทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต
นโยบายด้านการเกษตร รัฐจะต้องหาทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง โดยหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน เรื่องน้ำ ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ต้องมีการปฏิรูปที่ดิน โดยเวนคืนที่ดินที่นายทุนถือครองมาให้จัดสรรแก่เกษตรกร รัฐต้องใช้ระบบสหกรณ์จัดการที่ดินหลุดกรรมสิทธิ์ โดยรัฐเวนคืนที่ดินมาแล้วให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ เพื่อจัดสรรแบ่งให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ควรมีกฎหมายกำหนดให้นายทุนมีที่ดินในความครอบครองได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่เท่านั้น นอกจากการผลิตแล้ว รัฐต้องเป็นผู้จัดหาตลาดสำหรับผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว โดยหาตลาดภายนอกประเทศ และอาศัยรัฐวิสาหกิจดำเนินการนำเข้าและส่งออกภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันก็ต้องประกันราคาสินค้าเกษตรด้วย
การพัฒนาชนบท ต้องมีการพัฒนาถนนให้รถสามารถวิ่งได้ในทุกฤดูกาล เพื่อให้ประชาชนขวนขวายทำมาหากิน และขนส่งสินค้าการเกษตรออกสู่ตลาด รัฐจะต้องพัฒนาคลองส่งน้ำให้ทั่วถึง โดยเฉพาะคลองชลประทานในภาคอิสาน ส่งเสริมชลประทานในตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งนั้นสำหรับการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
การพัฒนาในเขตเมือง จะต้องกวดขันเรื่องสิ่งแวดล้อมและผังเมือง น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ โดยรัฐบาลจะต้องจัดทำผังเมืองใหม่ในกรุงเทพฯ ไม่ให้เอกชนตัดถนน ตัดซอย ถมดิน หรือจัดสรรที่ดินสำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ การจัดสรรเขตพื้นที่อุตสาหกรรมต้องมีความเข้มงวดกวดขันโดยรัฐต้องออกกฎหมายกำกับควบคุมการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด โดยเฉพาะการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น แต่ควรแก้ไขบทบัญญัติที่กำหนดให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ สำหรับเกณฑ์อายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้น พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ มีความสำคัญมากกว่า ส่วนการเลือกตั้งเป็นเพียงการให้สิทธิที่ใช้ได้เพียงแค่วันเดียว
นโยบายด้านการศึกษา พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จะให้รัฐจัดบริการการศึกษาแก่เยาวชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยให้ทุนการศึกษาอย่างทั่วถึงนับแต่การศึกษาภาคบังคับไปจนถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จะมีการส่งเสริมคุณภาพของครูผู้สอน โดยพัฒนาสวัสดิการสำหรับครูในชนบท แก้ไขปัญหาหนี้สินของครู และสร้างขวัญกำลังใจให้ครูมีความภาคภูมิใจในอาชีพ
นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยจะมุ่งทุ่มเทงบประมาณส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน นับตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ส่งเสริมความรู้เรื่องสุขอนามัย ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในเขตชนบท
นโยบายด้านสวัสดิการสังคม พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จะมุ่งการจัดระบบรัฐสวัสดิการ โดยขึ้นอยู่กับงบประมาณของรัฐ ทั้งนี้จะเริ่มต้นจากการจัดระบบรักษาพยาบาลแบบให้เปล่า การจัดระบบประกันสังคม โดยคนงาน และนายจ้างช่วยกันสมทบ จัดให้มีสหบาลกรรมกรเพื่อเป็นองค์กรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในรูปกองทุนสวัสดิการในยามเจ็บป่วยและว่างงาน มีการจัดระบบสวัสดิการสำหรับคนชรา ผู้อนาถา และคนทุพพลภาพ
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 82 คน และได้รับเลือกตั้ง 15 คน
ที่มา
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
วสันต์ หงสกุล, 37 พรรคการเมือง ปัจจัยพิจารณาเปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะวันนา, 2518
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524