ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาราษฎร์ (พ.ศ. 2501)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
พรรคประชาราษฎร์เป็น[[พรรคการเมือง]]ที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498]] โดยยื่นจดทะเบียนต่อปลัด[[กระทรงมหาดไทย]]ในฐานะ[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]] เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เลขทะเบียนที่ 1/2501 โดยมีพลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็น[[หัวหน้าพรรค]] และนายจรัล กมลเพ็ชร์ เป็น[[เลขาธิการพรรค]] | |||
นโยบายด้านการศาสนา พรรคประชาราษฎร์ จะยึดถือว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยจะทำนุบำรุงให้เจริญสถาพรสืบไป ในขณะเดียวกันพรรคประชาราษฎร์ก็จะทำนุบำรุงศาสนาอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาน และไม่มีนโยบายที่จะกีดกั้นศาสนาอื่น | นโยบายด้านการศาสนา พรรคประชาราษฎร์ จะยึดถือว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยจะทำนุบำรุงให้เจริญสถาพรสืบไป ในขณะเดียวกันพรรคประชาราษฎร์ก็จะทำนุบำรุงศาสนาอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาน และไม่มีนโยบายที่จะกีดกั้นศาสนาอื่น | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
นโยบายด้านสังคม พรรคประชาราษฎร์จะมุ่งเน้นการเคารพในสิทธิของเอกชนอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าชาวไทยทุกคนย่อมหวงไว้ซึ่งสิทธิเท่าเทียมกัน ในอันที่จะแสวงหาความสุขมาสู่ตนในทางอันชอบด้วยศีลธรรม และจะถือว่าการดำรงตำแหน่งสูงมิได้ทำให้เกิดอภิสิทธิเหนือกว่าบุคคลอื่น สำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับตำแหน่งในหน้าที่ราชการ จะถือคุณสมบัติและคุณวุฒิเป็นหลักวินิจฉัยเหนือสิ่งอื่นใด | นโยบายด้านสังคม พรรคประชาราษฎร์จะมุ่งเน้นการเคารพในสิทธิของเอกชนอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าชาวไทยทุกคนย่อมหวงไว้ซึ่งสิทธิเท่าเทียมกัน ในอันที่จะแสวงหาความสุขมาสู่ตนในทางอันชอบด้วยศีลธรรม และจะถือว่าการดำรงตำแหน่งสูงมิได้ทำให้เกิดอภิสิทธิเหนือกว่าบุคคลอื่น สำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับตำแหน่งในหน้าที่ราชการ จะถือคุณสมบัติและคุณวุฒิเป็นหลักวินิจฉัยเหนือสิ่งอื่นใด | ||
นโยบายทางการเมือง พรรคประชาราษฎร์ | นโยบายทางการเมือง พรรคประชาราษฎร์ จะเข้ารับเป็น[[รัฐบาล]]ก็แต่เฉพาะโดยวิถีทาง[[รัฐธรรมนูญ]]เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลเป็นของราษฎร โดยราษฎร เพื่อราษฎร อย่างแท้จริง ส่วนการเข้าเป็นรัฐบาลด้วยอำนาจที่มีกำลังอาวุธหนุนหลังนั้น เป็นสิ่งที่พรรคประชาราษฎร์จะหลีกเว้นโดยเด็ดขาด | ||
นโยบายด้านการศาล พรรคประชาราษฎร์จะพยายามให้อำนาจตุลาการเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเป็นที่สถิตแห่งความยุติธรรม โดยมิให้มีอำนาจอื่นใดมาก้าวก่าย | นโยบายด้านการศาล พรรคประชาราษฎร์จะพยายามให้อำนาจตุลาการเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเป็นที่สถิตแห่งความยุติธรรม โดยมิให้มีอำนาจอื่นใดมาก้าวก่าย เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจ[[ศาล]]เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องประกันสวัสดิภาพของประชาชนได้ | ||
นโยบายด้านการอาชีพ | นโยบายด้านการอาชีพ พรรคประชาราษฎร์จะถือว่าการค้าที่ผูกขาดตัดตอนโดย[[อภิสิทธิชน]]เป็นการทำลายเศรษฐกิจ และเป็นเครี่องถ่วงความเจริญของชาติบ้านเมือง ฉะนั้น พรรคนี้จะพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดวิธีการดังกล่าว นอกจากนั้นจะพยายามตัดคนกลางให้พ้นไปจากอาชีพทุกประเภท และส่งเสริมให้ราษฎรชาวไทยได้ประกอบอาชีพโดยเสรี เว้นแต่ในกิจการที่อาจจะกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของส่วนรวม หรือกิจการนั้นอาจจะเปิดช่องให้มีการขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน | ||
นโยบายด้านการคลัง พรรคประชาราษฎร์จะปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม โดยป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี หากปรากฏว่ามีการเลี่ยงภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงเพียงใด ย่อมจะต้องได้รับโทษทัณฑ์เหมือนกันทุกคน | นโยบายด้านการคลัง พรรคประชาราษฎร์จะปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม โดยป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี หากปรากฏว่ามีการเลี่ยงภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงเพียงใด ย่อมจะต้องได้รับโทษทัณฑ์เหมือนกันทุกคน | ||
บรรทัดที่ 31: | บรรทัดที่ 31: | ||
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาราษฎร์จะจัดระบบเศรษฐกิจในสายกลาง โดยถือว่าประโยชน์สุขของประชาชนย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด | นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาราษฎร์จะจัดระบบเศรษฐกิจในสายกลาง โดยถือว่าประโยชน์สุขของประชาชนย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด | ||
สำหรับนโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคประชาราษฎร์จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ | สำหรับนโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคประชาราษฎร์จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และอุดมคติที่บัญญัติไว้ใน[[กฎบัตรสหประชาชาติ]] ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การดังกล่าว และจะสนับสนุนให้ประเทศทั้งหลายมีเอกราชโดยสมบูรณ์ | ||
นโยบายด้านการปกครอง พรรคประชาราษฎร์จะถือว่าการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน | นโยบายด้านการปกครอง พรรคประชาราษฎร์จะถือว่าการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนได้เข้าเป็นผู้[[บริหารราชการแผ่นดิน]]ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคนั้น เป็นนโยบายสำคัญยิ่ง และพรรคประชาราษฎร์จะคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหัวใจสำคัญที่พึงต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ก็โดยเหตุว่าพรรคประชาราษฎร์ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากราษฎร เพื่อราษฎร และโดยราษฎรอย่างแท้จริง อีกทั้งจะส่งเสริมสนับสนุนฐานะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและข้าราชการฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ให้มีระดับมาตรฐานการครองชีพอันควรจะดำรงอยู่ได้ตามฐานะอันควร | ||
นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาราษฎร์จะส่งเสริมทหารให้เป็นทหารของชาติอย่างแท้จริง | นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาราษฎร์จะส่งเสริมทหารให้เป็นทหารของชาติอย่างแท้จริง | ||
พรรคประชาราษฎร์จัดตั้งขึ้นและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้เพียงไม่นานก็ต้องยุติบทบาทลงเมื่อเกิด[[การปฏิวัติ]]ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |||
== ที่มา == | == ที่มา == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:09, 30 สิงหาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคประชาราษฎร์
พรรคประชาราษฎร์เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 เลขทะเบียนที่ 1/2501 โดยมีพลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายจรัล กมลเพ็ชร์ เป็นเลขาธิการพรรค
นโยบายด้านการศาสนา พรรคประชาราษฎร์ จะยึดถือว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยจะทำนุบำรุงให้เจริญสถาพรสืบไป ในขณะเดียวกันพรรคประชาราษฎร์ก็จะทำนุบำรุงศาสนาอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาน และไม่มีนโยบายที่จะกีดกั้นศาสนาอื่น
นโยบายด้านการศึกษา พรรคประชาราษฎร์ จะถือว่าการศึกษามีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของชาติ ตามพระบรมราชโองการฯ เมื่อ พ.ศ. 2494 และจะพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เยาวชนของชาติได้รับการศึกษามากที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนข้นแค้นเพียงใด โดยจะเพิ่มปริมาณครูและสถานศึกษาเล่าเรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จะให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ต้องเสียเงิน และให้เยาวชนได้รับการศึกษาชั้นสูงโดยให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด และจะปรับปรุงสมรรถภาพของครู โดยให้มีรายได้สูงพอแก่การรักษาเกียรติเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนและรักอาชีพ
นโยบายด้านเกษตร พรรคประชาราษฎร์ตระหนักว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น จึงถือว่านโยบายหลักของพรรคจะต้องมุ่งบูรณะส่งเสริมการเกษตรทุกด้านแก่ประชาชน โดยจะคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพเป็นสำคัญ
นโยบายด้านสังคม พรรคประชาราษฎร์จะมุ่งเน้นการเคารพในสิทธิของเอกชนอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าชาวไทยทุกคนย่อมหวงไว้ซึ่งสิทธิเท่าเทียมกัน ในอันที่จะแสวงหาความสุขมาสู่ตนในทางอันชอบด้วยศีลธรรม และจะถือว่าการดำรงตำแหน่งสูงมิได้ทำให้เกิดอภิสิทธิเหนือกว่าบุคคลอื่น สำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับตำแหน่งในหน้าที่ราชการ จะถือคุณสมบัติและคุณวุฒิเป็นหลักวินิจฉัยเหนือสิ่งอื่นใด
นโยบายทางการเมือง พรรคประชาราษฎร์ จะเข้ารับเป็นรัฐบาลก็แต่เฉพาะโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลเป็นของราษฎร โดยราษฎร เพื่อราษฎร อย่างแท้จริง ส่วนการเข้าเป็นรัฐบาลด้วยอำนาจที่มีกำลังอาวุธหนุนหลังนั้น เป็นสิ่งที่พรรคประชาราษฎร์จะหลีกเว้นโดยเด็ดขาด
นโยบายด้านการศาล พรรคประชาราษฎร์จะพยายามให้อำนาจตุลาการเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเป็นที่สถิตแห่งความยุติธรรม โดยมิให้มีอำนาจอื่นใดมาก้าวก่าย เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจศาลเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องประกันสวัสดิภาพของประชาชนได้
นโยบายด้านการอาชีพ พรรคประชาราษฎร์จะถือว่าการค้าที่ผูกขาดตัดตอนโดยอภิสิทธิชนเป็นการทำลายเศรษฐกิจ และเป็นเครี่องถ่วงความเจริญของชาติบ้านเมือง ฉะนั้น พรรคนี้จะพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดวิธีการดังกล่าว นอกจากนั้นจะพยายามตัดคนกลางให้พ้นไปจากอาชีพทุกประเภท และส่งเสริมให้ราษฎรชาวไทยได้ประกอบอาชีพโดยเสรี เว้นแต่ในกิจการที่อาจจะกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของส่วนรวม หรือกิจการนั้นอาจจะเปิดช่องให้มีการขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน
นโยบายด้านการคลัง พรรคประชาราษฎร์จะปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม โดยป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี หากปรากฏว่ามีการเลี่ยงภาษี ไม่ว่าจะเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงเพียงใด ย่อมจะต้องได้รับโทษทัณฑ์เหมือนกันทุกคน
นโยบายด้านสวัสดิการสังคม พรรคประชาราษฎร์ จะส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์เพื่อไม่ให้คนยากจนต้องได้รับความเดือดร้อนเกินกว่าจำเป็น และโดยวิธีการที่มิให้กระทบกระเทือนต่อรายได้ และจะส่งเสริมการแพทย์และการสาธารณสุขให้เพียงพอแก่การที่ราษฎรจะได้รับประโยชน์โดยทั่วกัน ให้คนยากจนได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียเงิน
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาราษฎร์จะจัดระบบเศรษฐกิจในสายกลาง โดยถือว่าประโยชน์สุขของประชาชนย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด สำหรับนโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคประชาราษฎร์จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และอุดมคติที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การดังกล่าว และจะสนับสนุนให้ประเทศทั้งหลายมีเอกราชโดยสมบูรณ์
นโยบายด้านการปกครอง พรรคประชาราษฎร์จะถือว่าการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนได้เข้าเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคนั้น เป็นนโยบายสำคัญยิ่ง และพรรคประชาราษฎร์จะคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหัวใจสำคัญที่พึงต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ก็โดยเหตุว่าพรรคประชาราษฎร์ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากราษฎร เพื่อราษฎร และโดยราษฎรอย่างแท้จริง อีกทั้งจะส่งเสริมสนับสนุนฐานะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและข้าราชการฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ให้มีระดับมาตรฐานการครองชีพอันควรจะดำรงอยู่ได้ตามฐานะอันควร
นโยบายด้านการทหาร พรรคประชาราษฎร์จะส่งเสริมทหารให้เป็นทหารของชาติอย่างแท้จริง
พรรคประชาราษฎร์จัดตั้งขึ้นและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้เพียงไม่นานก็ต้องยุติบทบาทลงเมื่อเกิดการปฏิวัติในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 53 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 หน้า 2033-2036
สมุทร สุรักขกะ, 26 การปฏิวัติไทยและรัฐประหาร สมัย 2489 ถึง 2507, พระนคร: โรงพิมพ์สื่อการพิมพ์, 2507
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน, พระนคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2511
ส่วนการทะเบียนและการเลือกตั้ง กรมมหาดไทย, รายงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย เล่ม 1, พระนคร: โรงพิมพ์กระดาษไทย, 2500
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531