ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิดสมัยประชุม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:
เมื่อมี[[รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา]]สมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกแล้ว [[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]จะเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มาประชุมกันเป็นครั้งแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร<ref>การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref> เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องมีหนังสือแจ้งไปยัง[[นายกรัฐมนตรี]]โดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยัง[[วุฒิสภา]]เพื่อทราบด้วย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''ข้อบังคับการประชุม,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 5.</ref>  จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ที่จะเรียกประชุมและกำหนดวาระของการประชุมต่อไป
เมื่อมี[[รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา]]สมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกแล้ว [[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]จะเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มาประชุมกันเป็นครั้งแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร<ref>การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref> เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องมีหนังสือแจ้งไปยัง[[นายกรัฐมนตรี]]โดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยัง[[วุฒิสภา]]เพื่อทราบด้วย<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''ข้อบังคับการประชุม,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 5.</ref>  จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ที่จะเรียกประชุมและกำหนดวาระของการประชุมต่อไป


ส่วนทางด้าน[[วุฒิสภา]]ก็สามารถดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่ของตนนับแต่นั้นเป็นต้นไป ที่ผ่านมาอายุของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา]]จะเหลื่อมกันอยู่ โดยอายุของสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี และวุฒิสภามีวาระ 6 ปี ดังนั้นในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรเริ่มต้นใหม่ วุฒิสภาจะมีอยู่ก่อนแล้วและไม่จำเป็นต้องดำเนินการเลือกประธานและรอง[[ประธานวุฒิสภา]]กันใหม่ ซึ่งสามารถทำงานต่อได้ทันที<ref>การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref>
ส่วนทางด้าน[[วุฒิสภา]]ก็สามารถดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่ของตนนับแต่นั้นเป็นต้นไป ที่ผ่านมาอายุของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา]]จะเหลื่อมกันอยู่ โดย[[อายุของสภาผู้แทนราษฎร]]มีวาระ 4 ปี และวุฒิสภามีวาระ 6 ปี ดังนั้นในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรเริ่มต้นใหม่ วุฒิสภาจะมีอยู่ก่อนแล้วและไม่จำเป็นต้องดำเนินการเลือกประธานและรอง[[ประธานวุฒิสภา]]กันใหม่ ซึ่งสามารถทำงานต่อได้ทันที<ref>การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref>


==สมัยประชุมของรัฐสภา==
==สมัยประชุมของรัฐสภา==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:39, 16 ธันวาคม 2552

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว[1] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมานั่งประชุมกันทันทีมิได้ จะต้องรอจนกว่าจะมีการเรียกประชุมสภาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[2] โดยพระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[3] ซึ่งในทางปฏิบัติคณะรัฐมนตรีซึ่งรักษาการอยู่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย[4] เรียกประชุมรัฐสภา

รัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาแล้ว พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ มาทำรัฐพิธีก็ได้[5] ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งบรรดาสมาชิกของทั้งสองสภา รวมทั้งคณะรัฐมนตรีและบรรดาทูตานุฑูต จะแต่งเครื่องแบบเต็มยศเพื่อเข้าร่วมในรัฐพิธีและรับฟังพระราชดำรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะทรงให้สติในการทำงานตามภาระหน้าที่ในเรื่องต่างๆ[6]

การเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อมีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไปครั้งแรกแล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มาประชุมกันเป็นครั้งแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[7] เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย[8] จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะเรียกประชุมและกำหนดวาระของการประชุมต่อไป

ส่วนทางด้านวุฒิสภาก็สามารถดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่ของตนนับแต่นั้นเป็นต้นไป ที่ผ่านมาอายุของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะเหลื่อมกันอยู่ โดยอายุของสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี และวุฒิสภามีวาระ 6 ปี ดังนั้นในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรเริ่มต้นใหม่ วุฒิสภาจะมีอยู่ก่อนแล้วและไม่จำเป็นต้องดำเนินการเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภากันใหม่ ซึ่งสามารถทำงานต่อได้ทันที[9]

สมัยประชุมของรัฐสภา

ในการทำงานของสภานั้น สภามิได้ทำงานกันตลอดเวลาหรือตลอดทั้งปี หากแต่ทำงานกันเป็นสมัย ๆ เรียกว่าสมัยประชุม[10] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 127 วรรคสองกำหนดให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย คือสมัยประชุมสามัญทั่วไปและสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งสมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยวันที่มีรัฐพิธีเปิดประชุมครั้งแรกถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป และปิดสมัยประชุมเมื่อครบ 120 วัน ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด[11] เมื่อสภาผู้แทนราษฎรกำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสมัยที่สองเป็นวันใดแล้ว จะถือว่าวันนั้นเป็นวันเปิดสมัยประชุมสมัยที่สองของปีตลอดไปจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นอายุหรือครบวาระ[12]

สำหรับรัฐสภาชุดปัจจุบัน ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เสร็จสิ้นแล้ว สมาชิกรัฐสภาได้ทำรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2551 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบรัฐพิธีดังกล่าว[13] และในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2551 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทำการเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมได้ลงมติเลือกนายยงยุทธ ติยะไพรัช เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และเลือกนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง พันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง[14] ในวันพุธที่ 30 มกราคม 2551 สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งที่ 3 (สมัยสามัญทั่วไป) โดยที่ประชุมกำหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละ 2 วัน คือ ทุกวันพุธ เริ่มตั้งแต่เวลา 13.30 นาฬิกา และวันพฤหัสบดี เริ่มตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา เป็นต้นไป ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้มีกำหนดให้วันที่ 1 สิงหาคม เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ[15]

นอกจากสมัยประชุมสามัญปีละ 2 สมัยดังกล่าวแล้ว ในกรณีเมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ คณะรัฐมนตรีอาจนำความกราบบังคมทูลเพื่อพระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้หรือถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ดำเนินการให้มีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกันหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้เช่นกัน แต่มีข้อสังเกตว่าสมาชิกวุฒิสภาแต่เพียงสภาเดียวไม่มีสิทธิเข้าชื่อกันขอให้มีการเรียกประชุมสมัยวิสามัญ ได้แต่ไปร่วมลงชื่อร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ตามปกติการประชุมสมัยวิสามัญจะไม่มีการกำหนดเวลาไว้ หากเสร็จภารกิจตามวัตถุประสงค์ของการเปิดสมัยประชุมวิสามัญเมื่อใดก็จะมีพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมวิสามัญเมื่อนั้น[16]

ในสมัยประชุมแต่ละสมัย ภาระหน้าที่ของสภาจะแตกต่างกันไป กล่าวคือในสมัยประชุมสามัญทั่วไป สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสามารถพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่อยู่ในภาระหน้าที่ได้ทุกเรื่อง ส่วนสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติสภาทั้งสองจะทำหน้าที่ได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ การอนุมัติพระราชกำหนด การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาญัตติอื่นใดโดยเฉพาะญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลไม่ได้ สำหรับสาเหตุก็เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกันในทุกสมัยประชุม จนไม่มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญก็มิได้ห้ามไว้อย่างเด็ดขาด หากมีความจำเป็นรัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา[17] ก็ได้

การปิดสมัยประชุม

ระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันของแต่ละสมัยประชุมสามัญนั้น ถ้ามีความจำเป็นก็อาจมีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อขยายเวลาออกไปอีกก็ได้ โดยเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร แต่การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วไม่มีการขยายเวลาออกไป จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุม โดยเลขาธิการของแต่ละสภาจะนำพระราชกฤษฎีกานั้นมาอ่านในที่ประชุมของแต่ละสภาในวันประชุมวันสุดท้ายของแต่ละสมัยประชุม ในขณะที่เลขาธิการอ่านพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทุกคนในที่ประชุมจะต้องยืนขึ้นเพื่อรับฟังพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว[18]

เมื่อปิดสมัยประชุมสภาแล้ว ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะมีการประชุมไม่ได้ แต่ไม่ห้ามกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ที่จะประชุมเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน[19]

ดังนั้นคำว่าปิดสมัยประชุมจึงหมายถึงการสิ้นสุดของสมัยประชุมสามัญหรือวิสามัญของรัฐสภา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นสภาเดียวหรือสองสภาก็ตาม[20] และผลของการปิดสมัยประชุมทำให้บรรดาความคุ้มกันต่าง ๆ ที่สมาชิกได้รับเป็นต้นว่าในระหว่างสมัยประชุมห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา[21] ซึ่งเมื่อปิดสมัยประชุมทำให้ความคุ้มกันเหล่านั้นเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 77.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 90.
  3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.
  4. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  5. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.
  6. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  7. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  8. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ข้อบังคับการประชุม, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 5.
  9. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  10. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  11. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.
  12. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  13. บันทึกรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา, www.parliament.go.th, วันที่ 21 มกราคม 2551.
  14. บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญทั่วไป), www.parliament.go.th, วันที่ 22 มกราคม 2551.
  15. บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญทั่วไป), www.parliament.go.th, วันที่ 30 มกราคม 2551.
  16. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  17. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  18. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  19. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  20. คณิน บุญสุวรรณ, ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, หน้า 186-190.
  21. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 94.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ (2533), ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2551) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2551) ข้อบังคับการประชุม, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์

http://meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=21, (เข้าสู่ข้อมูล วันที่ 17 มิถุนายน 2552)

http://www.parliament.go.th