ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชามติ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ | ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ [[อำนาจอธิปไตย]]ที่เป็นของปวงชน ดังนั้น การจะดำเนินการใด ๆ ของรัฐต้องถือเอาตามมติของเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงประชามติเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดทำนองคลองธรรม | ||
==ความหมายของประชามติ== | ==ความหมายของประชามติ== | ||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิ[[ออกเสียงลงคะแนน]]รับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ <ref>จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)</ref> | ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิ[[ออกเสียงลงคะแนน]]รับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ <ref>จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)</ref> | ||
สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ | สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]] นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''“การออกเสียงประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref> | ||
คำว่า[[การออกเสียงประชามติ]] หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร ([[คณะรัฐมนตรี]]) แทนประชาชน | คำว่า[[การออกเสียงประชามติ]] หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร ([[คณะรัฐมนตรี]]) แทนประชาชน |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:11, 14 ธันวาคม 2552
ผู้เรียบเรียง ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชน ดังนั้น การจะดำเนินการใด ๆ ของรัฐต้องถือเอาตามมติของเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงประชามติเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดทำนองคลองธรรม
ความหมายของประชามติ
ประชามตินั้น ตามความหมายภาษาอังกฤษมีใช้อยู่ 2 คำ คือ Plebiscite กับReferendum โดยในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาของราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า Plebiscite คือ การออกเสียงประชามติเป็นการออกเสียงลงมติโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม โดยเฉพาะปัญหาการแยกรัฐหรือแยกออกจากสังกัดทางการเมือง ประชาชนที่เกี่ยวข้องอาจจะได้รับสิทธิให้ออกเสียงลงมติว่า จะยังคงสังกัดอยู่กับรัฐเดิม แยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระใหม่ หรือเข้ารวมกับรัฐอื่น ส่วนคำว่า Referendum นั้น ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา มิได้บัญญัติศัพท์ไว้ คงใช้กับศัพท์ว่า เรเฟอเรนดัม มีความหมายคือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนในปัญหาที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ [1]
สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน[2]
คำว่าการออกเสียงประชามติ หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) แทนประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือการเลือกตั้งเท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้ความหมายของการออกเสียงประชามติว่า คือกระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วยการลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติหรือการตัดสินใจนั้นออกเป็นกฎหมาย หรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป ซึ่งการออกเสียงประชามติเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบโดยตรงที่ให้ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองได้ ถือเป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจองค์กรหรือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนมิให้ดำเนินการใด ๆ โดยมิได้ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน[3]
โดยการออกเสียงประชามติต่างจากประชาพิจารณ์ตรงที่การออกเสียงประชามติจะต้องมีการลงคะแนนออกเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์เป็นเพียงการรับฟังความเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ
หลักสำคัญของการออกเสียงประชามติ
- เรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล
- ข้อความที่จะขอความเห็นต้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ได้
- ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
- ต้องจัดให้มีการลงคะแนนออกเสียงประชามติโดยอิสระ
- ต้องนำผลการออกเสียงประชามติไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนผู้มาออกเสียงประชามติ
ประเภทของการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การออกเสียงประชามติแบบบังคับ หมายถึง การออกเสียงประชามติที่เขียนบังคับไว้ในกฎหมายว่า ก่อนการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบจากประชาชนก่อน โดยหากเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบจึงจะสามารถดำเนินการในเรื่องนั้นได้
2. การออกเสียงประชามติแบบทางเลือก หมายถึง การออกเสียงประชามติที่มีบัญญัติเขียนไว้ว่าในกรณีที่เห็นสมควร รัฐหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการหรืออาจเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถ เข้าชื่อเพื่อขอให้จัดทำประชามติในเรื่องที่เห็นว่ามีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
นอกจากแบ่งประเภทของการออกเสียงประชามติเป็นแบบ “บังคับ” และแบบ “ทางเลือก” แล้วยังสามารถแบ่งตามระดับหรือพื้นที่ในการออกเสียงประชามติได้หลายลักษณะ เช่น การออกเสียงประชามติระดับชาติ ระดับมลรัฐ หรือระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะจัดทำประชามติว่ามีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด รวมทั้งได้มีบทบัญญัติเขียนรับรองสำหรับการจัดทำประชามติในระดับนั้น ๆ หรือไม่
การออกเสียงประชามติของประเทศไทย
การออกเสียงประชามติของประเทศไทย ได้เคยมีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ในมาตรา 174 ที่กำหนดว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้ และไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 เท่านั้น ที่ได้บัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาถึง 4 ฉบับ (ไม่นับรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549) ได้แก่ ฉบับ พ.ศ. 2511 มาตรา 170 ที่กำหนดให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงประชามติได้ หากพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าถวายกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ โดยให้ยึดถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ สำหรับฉบับ พ.ศ. 2517 มาตรา 229 ก็ได้มีการกำหนดการออกเสียงประชามติคล้ายกับฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2511 คือ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้นกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน เห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัยด้วยการออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ส่วน ฉบับ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 นั้น มิได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริให้ประชาชนทำการออกเสียงประชามติ กรณีที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีผลกระทบถึงประโยชน์ของประเทศ แต่ได้กำหนดในมาตรา 211 ปัณรสว่า กรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าจะเห็นชอบหรือไม่ โดยยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และฉบับ พ.ศ. 2540 ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ กล่าวคือ นอกจากจะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังกำหนดให้เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีความสำคัญ และอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชนอีกด้วย[4]
ตารางเปรียบเทียบบทบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญฉบับ.. พ.ศ. …. | มาตรา | เหตุในการจัดทำประชามติ | กำหนดวันออกเสียง | การตัดสินผลการออกเสียง |
พ.ศ. 2492 | ม. 174-176 | ให้ความเห็นชอบหรือไม่ | ภายใน 90 วัน | เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง |
พ.ศ. 2511 | ม. 170-172 | เห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติม | นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกา ให้มีการออกเสียง |
เสียงข้างมากเป็นประมาณ |
พ.ศ. 2517 | ม. 229-231 | รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ ทรงเห็นว่าอาจกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญ ของประเทศชาติและประชาชน |
- | เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง |
พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 | ม. 211 ปัณรส โสฬส | ให้ความเห็นหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯ เสนอต่อรัฐสภาและได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา | ไม่ก่อน 90 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ประธานรัฐสภาประกาศให้มีการออกเสียง | เสียงข้างมากของที่มาออกเสียง และผู้มาใช้สิทธิออกเสียงต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ |
พ.ศ. 2540 | ม. 214 | ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องสำคัญที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียงของประเทศชาติหรือประชาชน | ไม่ก่อน 90 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียง | - เสียงข้างมากของผู้ทีมาออกเสียงและผู้มาใช้สิทธิออกเสียงต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ - การออกเสียงมีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี |
พ.ศ. 2549 | ม. 29, ม. 31 และ ม. 32 | ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น | ไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ | - เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง |
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับจะมีบทบัญญัติรับรอง เรื่อง การออกเสียงประชามติไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ออกมารองรับในการจัดทำออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งผลการออกเสียงประชามติทั่วประเทศ มีผู้เห็นชอบร้อยละ 57.81 และไม่เห็นชอบร้อยละ 42.19 ภายหลังที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ ดังปรากฏในมาตรา 165 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
อ้างอิง
- ↑ จำนงค์ ทองประเสริฐ. “ประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)
- ↑ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “การออกเสียงประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. “ประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. “การออกเสียงประชามติของประเทศไทย”. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
แพทริค บอยเออร์, (2540) “การลงประชามติในประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ”. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2538) “ระบบการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2551) “กระบวนการ ขั้นตอนการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
วราพร ธนาศรีมงคลกุล, (2550) “ผลผูกพันของการออกเสียงประชามติ”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมาลี อึ้งตระกูลไทย, (2533) “กระบวนการรับฟังทางมหาชน”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (2550) “ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักกิจการพรรคเมืองและการออกเสียงประชามติ.
สำนักประชาสัมพันธ์, (2550) “5 นาที กับการทำความเข้าใจในการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บรรณานุกรม
จำนงค์ ทองประเสริฐ. ประชามติ. ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การออกเสียงประชามติ. ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ประชามติ. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. การออกเสียงประชามติของประเทศไทย. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)