ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุข"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย มุกสง..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 51: | บรรทัดที่ 51: | ||
'' 7) กรมสาธารณสุข'' โดยแต่งตั้งให้ นายแพทย์พูน ไวทยากร (พระไวทยวิธีการ) ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคนแรก[[#_ftn12|[12]]] | '' 7) กรมสาธารณสุข'' โดยแต่งตั้งให้ นายแพทย์พูน ไวทยากร (พระไวทยวิธีการ) ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคนแรก[[#_ftn12|[12]]] | ||
| |||
กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลได้เข้าร่วม '''”วงศ์ไพบูลย์แห่งเอเซีย”''' เป็นมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นได้ราว 3 เดือนแล้ว และได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ และอเมริกาแล้ว สถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเนื่องจากหลังการประกาศร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นกลุ่มพลเรือนในคณะราษฎรที่นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถูกลดบทบาทลงในทางการเมือง ทำให้ฝ่ายทหารและกลุ่มที่สนับสนุน จอมพล ป. ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจแทน ดังจะเห็นได้จากรายชื่อรัฐมนตรีหลังการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2485 คณะรัฐบาลนั้นมี นายพันตรี [[ช่วง_เชวงศักดิ์สงคราม|ช่วง_เชวงศักดิ์สงคราม]] ดำรงฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและนับเป็นรัฐมนตรีคนแรกของกระทรวงนี้ | กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลได้เข้าร่วม '''”วงศ์ไพบูลย์แห่งเอเซีย”''' เป็นมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นได้ราว 3 เดือนแล้ว และได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ และอเมริกาแล้ว สถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเนื่องจากหลังการประกาศร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นกลุ่มพลเรือนในคณะราษฎรที่นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถูกลดบทบาทลงในทางการเมือง ทำให้ฝ่ายทหารและกลุ่มที่สนับสนุน จอมพล ป. ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจแทน ดังจะเห็นได้จากรายชื่อรัฐมนตรีหลังการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2485 คณะรัฐบาลนั้นมี นายพันตรี [[ช่วง_เชวงศักดิ์สงคราม|ช่วง_เชวงศักดิ์สงคราม]] ดำรงฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและนับเป็นรัฐมนตรีคนแรกของกระทรวงนี้ | ||
บรรทัดที่ 56: | บรรทัดที่ 58: | ||
ในการแถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2485 ปรากฏว่านโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้นได้รับการเน้นจากรัฐบาลมากพอสมควร เมื่อดูจากเนื้อหาแล้วจะเห็นว่าก่อนหน้านั้นนโยบายสาธารณสุขไม่ค่อยจะมีเนื้อยาวมากเท่านี้ คือจะเป็นลักษณะของการพูดรวม ๆ มากกว่าที่จะแจกแจงนโยบายอย่างที่รัฐบาลชุดนี้ทำตามที่คัดมาดังนี้ | ในการแถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2485 ปรากฏว่านโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้นได้รับการเน้นจากรัฐบาลมากพอสมควร เมื่อดูจากเนื้อหาแล้วจะเห็นว่าก่อนหน้านั้นนโยบายสาธารณสุขไม่ค่อยจะมีเนื้อยาวมากเท่านี้ คือจะเป็นลักษณะของการพูดรวม ๆ มากกว่าที่จะแจกแจงนโยบายอย่างที่รัฐบาลชุดนี้ทำตามที่คัดมาดังนี้ | ||
''นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มุ่งผลสำคัญในทางเพิ่มพูนประชากรของชาติ ไม่แต่เฉพาะในทางปริมาณ แต่จะสนใจในทางคุณภาพและวัฒนธรรมด้วย เพื่อให้ได้ผลดังกล่าวนี้ กระทรวงการสาธารณสุข จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้'' | |||
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มุ่งผลสำคัญในทางเพิ่มพูนประชากรของชาติ ไม่แต่เฉพาะในทางปริมาณ แต่จะสนใจในทางคุณภาพและวัฒนธรรมด้วย เพื่อให้ได้ผลดังกล่าวนี้ กระทรวงการสาธารณสุข จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ | |||
''1) จะจัดการป้องกันและกำจัดโรคสำคัญซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนตายมาก และหาวิธีทางส่งเสริมให้เด็กเกิดมามีอนามัยดี ไม่ตายเสียแต่อายุยังเยาว์'' | ''1) จะจัดการป้องกันและกำจัดโรคสำคัญซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนตายมาก และหาวิธีทางส่งเสริมให้เด็กเกิดมามีอนามัยดี ไม่ตายเสียแต่อายุยังเยาว์'' | ||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 78: | ||
แม้ว่าการก่อตั้งกระทรวงเกิดขึ้นในกรณีที่หลายฝ่ายคัดค้านว่ายังไม่มีความพร้อม แต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ซึ่งในปีตั้งกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยมีประชากร ประมาณ 18 ล้านคน ในคำปราศรัยวันเปิดกระทรวงกล่าวไว้ชัดว่าให้กระทรวงสาธารณสุขรับบทบาทนี้ | แม้ว่าการก่อตั้งกระทรวงเกิดขึ้นในกรณีที่หลายฝ่ายคัดค้านว่ายังไม่มีความพร้อม แต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ซึ่งในปีตั้งกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยมีประชากร ประมาณ 18 ล้านคน ในคำปราศรัยวันเปิดกระทรวงกล่าวไว้ชัดว่าให้กระทรวงสาธารณสุขรับบทบาทนี้ | ||
''ฉันรู้สึกยินดีที่ได้เห็นว่าการรวมแพทย์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งได้สำเร็จไป นับว่ากิจการสร้างชาติในด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นขึ้นได้ด้านหนึ่ง <u>แท้จริงการแพทย์และการสาธารณสุขนั้นเป็นกิจการอันจำเป็นยิ่งใหญ่สาขาหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับการทหาร การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ การคลัง ฯลฯ เป็นต้น</u> ที่ฉันกล่าวว่าการแพทย์และการสาธารณสุขสำคัญนั้น มิใช่เพราะเหตุว่าเวลานี้ฉันได้เข้ามาอยู่ในสถานที่ของกระทรวงการสาธารณสุขจึงว่าเช่นนั้น แต่เป็นความจริงว่าการสาธารณสุขนี้ได้เป็นการสร้างชาติโดยแท้ การสร้างชาตินั้นอยู่ที่การสาธารณสุขนี้ ส่วนหนึ่งที่จะทำประโยชน์อันสำคัญแก่บ้านเมือง เพราะว่าถ้าหากการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปเพียงไร กำลังของประเทศชาติก็เพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น กล่าวคือ จำนวนพลเมืองก็จะเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นพลเมืองที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและไม่ตายแต่ยังเยาว์ด้วย เมื่อจำนวนพลเมืองของเรามากขึ้น ทั้งประกอบไปด้วยผู้มีกำลังวังชาแข็งแรงแล้ว ประเทศชาติของเราก็ย่อมจะมีกำลังอำนาจสามารถจะช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเหตุว่ากิจการทั้งปวงที่จะให้ประเทศชาติเจริญได้นั้นอยู่ที่กำลังคน และคนก็ต้องมีทั้งจำนวนทั้งกำลังกายแข็งแรงมีความมานะบากบั่นอดทนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ด้วย เวลานี้เรามีพลเมืองเพียง ๑๘ ล้านคน เท่ากับมี ๓๖ ล้านแขน เราก็ทำงานสร้างชาติของเราได้น้อย ถ้าเรามีพลเมือง ๑๐๐ ล้านคน เราก็จะมีกำลังทำงานได้ถึง ๒๐๐ ล้านแขน ซึ่งจะเป็นทางให้ประเทศชาติของเราก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจได้ ดั่งนี้ท่านรัฐมนตรีและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายจะเห็นได้ว่า กิจการสาธารณสุขและการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การที่พลเมืองของเรายังน้อยอยู่ก็เพราะเรามีการรักษาพยาบาลและการป้องกันไม่เพียงพอ ชาติของเราจะไม่สามารถจะใหญ่โตได้ ถ้าเราไม่รีบบำรุงการแพทย์ของเราเสียแต่บัดนี้''[[#_ftn14|[14]]] | |||
''ฉันรู้สึกยินดีที่ได้เห็นว่าการรวมแพทย์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งได้สำเร็จไป นับว่ากิจการสร้างชาติในด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นขึ้นได้ด้านหนึ่ง <u>แท้จริงการแพทย์และการสาธารณสุขนั้นเป็นกิจการอันจำเป็นยิ่งใหญ่สาขาหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับการทหาร การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ การคลัง ฯลฯ เป็นต้น</u> ที่ฉันกล่าวว่าการแพทย์และการสาธารณสุขสำคัญนั้น มิใช่เพราะเหตุว่าเวลานี้ฉันได้เข้ามาอยู่ในสถานที่ของกระทรวงการสาธารณสุขจึงว่าเช่นนั้น แต่เป็นความจริงว่าการสาธารณสุขนี้ได้เป็นการสร้างชาติโดยแท้ การสร้างชาตินั้นอยู่ที่การสาธารณสุขนี้ ส่วนหนึ่งที่จะทำประโยชน์อันสำคัญแก่บ้านเมือง เพราะว่าถ้าหากการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปเพียงไร กำลังของประเทศชาติก็เพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น กล่าวคือ จำนวนพลเมืองก็จะเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นพลเมืองที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและไม่ตายแต่ยังเยาว์ด้วย เมื่อจำนวนพลเมืองของเรามากขึ้น ทั้งประกอบไปด้วยผู้มีกำลังวังชาแข็งแรงแล้ว ประเทศชาติของเราก็ย่อมจะมีกำลังอำนาจสามารถจะช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเหตุว่ากิจการทั้งปวงที่จะให้ประเทศชาติเจริญได้นั้นอยู่ที่กำลังคน และคนก็ต้องมีทั้งจำนวนทั้งกำลังกายแข็งแรงมีความมานะบากบั่นอดทนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ด้วย เวลานี้เรามีพลเมืองเพียง ๑๘ ล้านคน เท่ากับมี ๓๖ ล้านแขน เราก็ทำงานสร้างชาติของเราได้น้อย ถ้าเรามีพลเมือง ๑๐๐ ล้านคน เราก็จะมีกำลังทำงานได้ถึง ๒๐๐ ล้านแขน ซึ่งจะเป็นทางให้ประเทศชาติของเราก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจได้ ดั่งนี้ท่านรัฐมนตรีและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายจะเห็นได้ว่า กิจการสาธารณสุขและการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การที่พลเมืองของเรายังน้อยอยู่ก็เพราะเรามีการรักษาพยาบาลและการป้องกันไม่เพียงพอ ชาติของเราจะไม่สามารถจะใหญ่โตได้ ถ้าเราไม่รีบบำรุงการแพทย์ของเราเสียแต่บัดนี้''[[#_ftn14|[14]]] | |||
| | ||
และถึงแม้จะมีเหตุผลที่รัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับการสาธารณสุข จนถึงกับต้องดำเนินการจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นในปี 2485 ก็ตาม ดังที่ปรากฏตามคำกล่าวรายงานของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่รายงานต่อนายกรัฐมนตรีในวันเปิดกระทรวงในวันชาติตรงกับ วันที่ 24 มิถุนายน 2485 ว่าจำต้องรวบรวมการแพทย์มาไว้ในกระทรวงเดียวกันเพื่อความเจริญของชาติ ตามคำรายงานว่า | และถึงแม้จะมีเหตุผลที่รัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับการสาธารณสุข จนถึงกับต้องดำเนินการจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นในปี 2485 ก็ตาม ดังที่ปรากฏตามคำกล่าวรายงานของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่รายงานต่อนายกรัฐมนตรีในวันเปิดกระทรวงในวันชาติตรงกับ วันที่ 24 มิถุนายน 2485 ว่าจำต้องรวบรวมการแพทย์มาไว้ในกระทรวงเดียวกันเพื่อความเจริญของชาติ ตามคำรายงานว่า | ||
'' การแพทย์และสาธารณสุขได้เริ่มที่จะขยายรูปกว้างขวางอำนวยความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติมานานแล้ว แต่ติดขัดอยู่ที่การเงิน และผู้ที่จะโอบอุ้มให้เจริญการสร้างชาติที่สำคัญประเภทหนึ่งขึ้น ความก้าวหน้าต่าง ๆ จึงชงักอยู่ จำเนียรกาลล่วงมาในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญในการแพทย์และการสาธารณสุขยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการบำรุงไห้ก้าวหน้าทุกวิถีทาง ยิ่งในสมัยรัฐบาลซึ่งมี พณท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศด้วยแล้ว การแพทย์และการสาธารณสุขก็ยิ่งได้รับการสนับสนุนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ดั่งเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้ว การสนับสนุนที่แลเด่นชัดเป็นประจักษ์พยานก็คือ การที่พณท่านได้บัญชาให้รวบรวมกิจการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งยังคงอยู่กระจัดกระจายในสังกัดของหลายกระทรวง ทบวงกรมนั้นมารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน และดำเนินการประกาศยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ให้เป็นที่รวมกิจการแพทย์ การสาธารณสุข และการสาธารณูปการเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย ''(พระบำราศนราดูร 2500 : ..) | '' การแพทย์และสาธารณสุขได้เริ่มที่จะขยายรูปกว้างขวางอำนวยความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติมานานแล้ว แต่ติดขัดอยู่ที่การเงิน และผู้ที่จะโอบอุ้มให้เจริญการสร้างชาติที่สำคัญประเภทหนึ่งขึ้น ความก้าวหน้าต่าง ๆ จึงชงักอยู่ จำเนียรกาลล่วงมาในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญในการแพทย์และการสาธารณสุขยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการบำรุงไห้ก้าวหน้าทุกวิถีทาง ยิ่งในสมัยรัฐบาลซึ่งมี พณท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศด้วยแล้ว การแพทย์และการสาธารณสุขก็ยิ่งได้รับการสนับสนุนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ดั่งเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้ว การสนับสนุนที่แลเด่นชัดเป็นประจักษ์พยานก็คือ การที่พณท่านได้บัญชาให้รวบรวมกิจการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งยังคงอยู่กระจัดกระจายในสังกัดของหลายกระทรวง ทบวงกรมนั้นมารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน และดำเนินการประกาศยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ให้เป็นที่รวมกิจการแพทย์ การสาธารณสุข และการสาธารณูปการเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย ''(พระบำราศนราดูร 2500 : ..) | ||
บรรทัดที่ 94: | บรรทัดที่ 90: | ||
แต่การตั้งกระทรวงสาธารณสุขนี้ก็ใช่ว่าทุกคนในกลุ่มผู้นำในรัฐบาลจะเห็นพ้องเหมือนกันหมด หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) ผู้เป็นหนึ่งในสี่ “[[จตุสดมภ์|จตุสดมภ์]]” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล ซึ่งหลวงวิเชียรแพทยาคม ก็คือเถียรนั่นเอง ได้สะท้อนถึงความขัดแย้งของกลุ่มคณะราษฎรเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า | แต่การตั้งกระทรวงสาธารณสุขนี้ก็ใช่ว่าทุกคนในกลุ่มผู้นำในรัฐบาลจะเห็นพ้องเหมือนกันหมด หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) ผู้เป็นหนึ่งในสี่ “[[จตุสดมภ์|จตุสดมภ์]]” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล ซึ่งหลวงวิเชียรแพทยาคม ก็คือเถียรนั่นเอง ได้สะท้อนถึงความขัดแย้งของกลุ่มคณะราษฎรเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า | ||
'' ในสมัยก่อนมีหลายท่านมีความเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่ควรจะเกิดมี ควรเป็นเพียงกรมยิ่งกว่านั้นแม้แต่แพทย์ก็ไม่ควรเป็นตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นอธิบดีหรือเจ้ากระทรวงแต่ความเห็นนั้นตรงกันข้ามกับผู้เขียนที่มีความเห็นว่า เท่าที่ปรากฏมาแล้วในต่างประเทศแพทย์เป็นตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองได้ดีไม่แพ้คนสำคัญในอาชีพอื่น ๆ ฉะนั้นเมื่อสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มีความเห็นที่จะบำรุงกิจการด้านสาธารณสุขให้เจริญยิ่งขึ้นให้ทันอารยประเทศทั้งหลายจึงได้จัดตั้งกรรมการขึ้นปรับปรุงการแพทย์และการสาธารณสุข''[[#_ftn15|[15]]] | |||
'' ในสมัยก่อนมีหลายท่านมีความเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่ควรจะเกิดมี ควรเป็นเพียงกรมยิ่งกว่านั้นแม้แต่แพทย์ก็ไม่ควรเป็นตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นอธิบดีหรือเจ้ากระทรวงแต่ความเห็นนั้นตรงกันข้ามกับผู้เขียนที่มีความเห็นว่า เท่าที่ปรากฏมาแล้วในต่างประเทศแพทย์เป็นตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองได้ดีไม่แพ้คนสำคัญในอาชีพอื่น ๆ ฉะนั้นเมื่อสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มีความเห็นที่จะบำรุงกิจการด้านสาธารณสุขให้เจริญยิ่งขึ้นให้ทันอารยประเทศทั้งหลายจึงได้จัดตั้งกรรมการขึ้นปรับปรุงการแพทย์และการสาธารณสุข''[[#_ftn15|[15]]] | |||
| | ||
บรรทัดที่ 102: | บรรทัดที่ 96: | ||
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการตั้งกระทรวงก็คือว่า ทำไมจึงมาตั้งเอาในช่วงที่รัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงที่ถูกกล่าวขวัญว่าอยู่ในช่วง '''“เผด็จการ”''' โดยการนำเอาลัทธิเชื่อผู้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชาติและเป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังขยายบทบาทของภาครัฐอย่างขนานใหญ่ และพยายามที่จะสถาปนาอำนาจรัฐให้ประชาชนต้องยอมรับและทำตามความต้องการของรัฐทุกอย่าง | ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการตั้งกระทรวงก็คือว่า ทำไมจึงมาตั้งเอาในช่วงที่รัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงที่ถูกกล่าวขวัญว่าอยู่ในช่วง '''“เผด็จการ”''' โดยการนำเอาลัทธิเชื่อผู้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชาติและเป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังขยายบทบาทของภาครัฐอย่างขนานใหญ่ และพยายามที่จะสถาปนาอำนาจรัฐให้ประชาชนต้องยอมรับและทำตามความต้องการของรัฐทุกอย่าง | ||
หลังการก่อตั้งกระทรวงแล้วรัฐบาลก็ได้มีความพยายามมากขึ้นอีกในนโยบายเพิ่มประชากรดังเห็นได้จาก กรณีการตั้งกรรมการองค์การส่งเสริมการสมรส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2485 เพื่อทำหน้าที่จัดการสมรสหมู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการตั้งว่า '''“เพื่อสร้างเสริมกำลังพลเมืองให้แก่ชาติ ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งเพิ่มจำนวนพลเมือง | หลังการก่อตั้งกระทรวงแล้วรัฐบาลก็ได้มีความพยายามมากขึ้นอีกในนโยบายเพิ่มประชากรดังเห็นได้จาก กรณีการตั้งกรรมการองค์การส่งเสริมการสมรส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2485 เพื่อทำหน้าที่จัดการสมรสหมู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการตั้งว่า '''“เพื่อสร้างเสริมกำลังพลเมืองให้แก่ชาติ ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งเพิ่มจำนวนพลเมือง นอกจากนั้นยังมุ่งหวังที่จะสร้างชีวิตของผู้ที่จะย่างเข้าสู่ความเป็นครอบครัวให้ถูกหลักอนามัย”'''[[#_ftn16|[16]]] นอกจากนั้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสมรสก็มีการสร้างหนังเพื่อส่งเสริมการสมรสเรื่อง '''“กิ่งทองใบหยก”''' เพื่อเก็บเงินบำรุงองค์การ หลังการสมรสให้เงินขวัญถุงแจกหนังสือคู่มือที่มีคำแนะนำให้คู่สมรสเร่งผลิตลูกเร็ว ๆ ข้าราชการที่สมรสจะได้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนก่อนคนโสด และเพื่อส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในการเป็นแม่ได้มีการจัดงานวันมารดาในวันสถาปนากระทรวงฯ 10 มีนาคม 2486 ซึ่งจัดให้มีการจัดประกวดแม่ลูกดก มีการจัดพิมพ์หนังสือ '''“ข้อความรู้เกี่ยวกับแม่ ๆ ลูก ๆ”''' แจกเพื่อให้แม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรให้รอดชีวิตและสุขภาพแข็งแรง และแนะนำแม้กระทั่งการอุ้มบุตรว่าถ้าอุ้มเอาขาคร่อมสะเอวแสดงถึงผู้ไม่มีวัฒนธรรมเพราะจะทำให้เด็ก '''“เอวคดขาเก”''' ไม่เป็นพลเมืองที่แข็งแรงในความหมายที่รัฐต้องการ | ||
กระทรวงการสาธารณสุขได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่และชื่อหน่วยงานอีกหลายครั้งต่อมา ดังการโอนกรมประชาสงเคราะห์กลับไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2487 และต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2495 แทนฉบับปี พ.ศ. 2484 เปลี่ยนชื่อกระทรวงการสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งแต่นั้นและเปลี่ยนชื่อกรมสาธารณสุขเป็นกรมอนามัย[[#_ftn17|[17]]]พร้อมกันด้วย | กระทรวงการสาธารณสุขได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่และชื่อหน่วยงานอีกหลายครั้งต่อมา ดังการโอนกรมประชาสงเคราะห์กลับไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2487 และต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2495 แทนฉบับปี พ.ศ. 2484 เปลี่ยนชื่อกระทรวงการสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งแต่นั้นและเปลี่ยนชื่อกรมสาธารณสุขเป็นกรมอนามัย[[#_ftn17|[17]]]พร้อมกันด้วย |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:30, 20 มิถุนายน 2567
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย มุกสง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
การก่อตั้งหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของรัฐ กำเนิดขึ้นในช่วงของการปฏิรูปประเทศสู่ความทันสมัย ที่รัฐจะต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดบริการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน โดยหน่วยงานแรก คือ ตั้งโรงพยาบาลเพื่อรับมือกับปัญหาโรคระบาดที่คุกคามรัฐสยามในช่วงก่อร้างสร้างตัวเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ต้องการประชากรที่แข็งแรงในการผลิตทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังทหาร การสร้างโรงพยาบาลรัฐแห่งแรก คือ ศิริราชพยาบาลที่สามารถเปิดรับคนไข้ได้ในปี 2431 นับเป็นการเริ่มต้นทั้งโรงพยาบาล กรมพยาบาลและในปีต่อมาก็ได้ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นด้วยนั้น นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการบริการทางการแพทย์ โดยรัฐให้กับประชาชนตามพันธกรณีของหน้าที่ของรัฐสมัยใหม่
หน่วยงานด้านสาธารณสุขระยะแรกเริ่ม
หน่วยงานด้านการแพทย์ของรัฐที่มีหน้าดูแลจัดการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของรัฐทั้งหมดแห่งแรก คือ กรมพยาบาล ที่ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2431 โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ เป็นอธิบดีมีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมและจัดกิจการดูแลศิริราชพยาบาล จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมจัดกิจการโรงพยาบาลอื่นที่ตั้งต่อมาและจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน[1] อันเป็นการเริ่มกิจการสาธารณสุขที่สำคัญอย่างเป็นทางการของรัฐ โดยระยะแรกกระทรวงสาธารณสุขสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการที่มีหน้าที่จัดการศึกษาแพทย์และดูแลศิริราชพยาบาล แม้ต่อมาจะมีภาระหน้าที่เพิ่มเติมสำคัญคือป้องกันโรคระบาดหัวเมืองด้วยการมีแพทย์ประจำเมืองป้องกันโรค การผลิตพันธุ์หนองฝี การผลิตและจำหน่ายยาไปทั่วอาณาจักร เป็นต้น แต่พอถึงปี 2448 ทางราชการได้ยุบกรมพยาบาลให้เหลือเป็นฐานะเพียงแผนกในกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการเท่านั้น ทำให้งานด้านสาธารรสุขซบเซาไประยะหนึ่ง
งานด้านการสาธารณสุขได้รับความสำคัญและขยายงานออกไปอย่างกว้างขวางอีกครั้งหลังจากได้มีการโอนหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั้งแผนกมาสังกัดกรมพลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2451 ภายหลังการขยายการปกครองมณฑลเทศาภิบาลขยายตัวไปหัวเมืองกว้างขวางขึ้นแล้ว ก่อนจะได้จัดตั้งกรมพยาบาลขึ้นอีกครั้งในปี 2455 โดยมีหน่วยงานสำคัญ คือ กองโอสถศาลารัฐบาล กองทำพันธุ์หนองฝี และการบังคับบัญชาแพทย์หัวเมือง กองแพทย์ป้องกันโรคและปลูกฝี และการควบคุมสุขาภิบาลหัวเมืองด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้งานด้านการสาธารณสุขสามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขไปถึงหัวเมืองเป็นครั้งแรก ๆ แต่ก็ไม่ทั่วถึง ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงกิจการพยาบาลให้กว้างขวางและก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการวางโครงการปฏิบัติงานใหม่ ยกฐานะงานแต่ละส่วนขึ้นเป็นกองชัดเจนขึ้น พร้อมกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาภิบาล ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยตามเดิม[2]
จนกระทั่งเกิดการรวมเอากิจการสุขภาพพลเมืองในส่วนเมืองหลวง คือ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลและส่วนภูมิภาคมาไว้ด้วยกันในกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบด้านการสาธารณสุขทั่วประเทศ เนื่องจากการจัดการเรื่องสาธารณสุขและการควบคุมโรคในช่วงต้นทศวรรษ 2460 ยังมีลักษณะที่ไม่เป็นเอกภาพ กระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทยมีหน่วยงานสุขาภิบาลของตนเองด้วยกัน เป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กองแพทย์ของกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลมารวมกับกรมประชาภิบาล ตั้งเป็นกรมใหม่ คือ กรมสาธารณสุขซึ่งขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461[3]
การจัดตั้งกรมสาธารณสุขมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดหน่วยงานที่บำบัดและควบคุมโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในสยามโดยเฉพาะ จากเดิมที่เป็นหน้าที่หนึ่งของกรมสุขาภิบาล เป็นการขยายขนาดและประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านการควบคุมโรคและแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการควบคุมโรคของรัฐบาล โดยกรมสาธารณสุขมีกองที่เกี่ยวกับการแพทย์และการรักษาโรคที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่าง ๆ มารวมอยู่ภายใต้กรมสาธารณสุขกรมเดียว ได้แก่ กองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล ผู้ตรวจการสาธารณสุข และสาธารณสุขหัวเมือง เป็นต้น การจัดตั้งกรมสาธารณสุขก็สอดคล้องกับสภาวการณ์ เพื่อขยายการปกครองสาธารณสุขไปสู่หัวเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการสาธารณสุขด้านต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องกัน และโครงสร้างหน่วยงานเวชกรรมในช่วงรัชกาลที่ 6 นี้ มีขนาดใหญ่กว่ารัชกาลก่อนมาก[4] อย่างไรก็ตามแม้จะมีกฎหมายรวมกิจการด้านสาธารณสุขออกมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2461 แต่กว่าจะปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายก็ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปในการรวมหน่วยงานที่มีภารกิจเดียวกันคือดูแลสุขภาพประชาชนเป็นสำคัญมาอยู่ด้วยกัน โดยมีจุดเปลี่ยนสำคัญสองครั้งคือในปี 2465 ที่สามารถโอนสาธารณสุขจากนครบาลมาอยู่กับมหาดไทย
จุดเปลี่ยนสำคัญคือในปี 2468 ปีเดียวกันกับการเริ่มต้นรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การรวมกิจการสาธารณสุขในเชิงโครงสร้างก็ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เมื่อกรมสุขาภิบาลในนครบาลที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพได้ย้ายมาสังกัดกรมสาธารณสุขทั้งบุคลากร งบประมาณ และบทบาทหน้าที่การทำงาน[5] คงไว้แต่ส่วนที่เกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างและดูแลความสะอาดที่ยังคงอยู่ในนครบาล ทำให้การจัดโครงสร้างเป็นไปดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือการมีหน้าที่ดูแลสุขภาพราษฎรทั่วประเทศ การปฏิบัติตามแผนงานและนำเอานโยบายไปปฏิบัติจึงมีความชัดเจนคล่องตัวเพราะมีอธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นผู้สั่งการแต่ผู้เดียว
บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่มีผลต่อนโยบายการสาธารณสุข
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในปี พ.ศ. 2475 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งจุดหนึ่งของการเมืองการปกครองของประเทศไทย จะเห็นได้ว่าความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสังคมไทยมีจุดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้อยู่ไม่น้อย ดังได้ก่อให้เกิดสถาบันหลักของชาติขึ้น 4 สถาบันที่มีผลต่อการเมืองไทยในสมัยต่อมาอย่างลึกซึ้งนั่น คือ รัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และระบบราชการแห่งชาติ[6] รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เว้นแม้แต่การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากด้านนโยบายสาธารณสุขของรัฐบาลประชาธิปไตยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ถึงแม้ว่าในส่วนของกิจการด้านการสาธารณสุขนั้นถึงแม้จะไม่ได้รับการกำหนดเอาไว้ในหลัก 6 ประการก็ตาม แต่เนื่องจากรัฐบาลใหม่ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองไปในทางที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจึงเร่งสร้างชาติตามทัศนะของคณะราษฎรเป็นการใหญ่ พระบำราศนราดูรผู้ซึ่งได้ผ่านประสบการณ์การรับราชการสาธารณสุขในสมัยราชาธิปไตยมาก่อน ได้เสนอถึงความเปลี่ยนแปลงด้านการสาธารณสุขเอาไว้ในบทความเรื่องประวัติกระทรวงสาธารณสุขว่า “หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วการบริหารงานของกรมสาธารณสุขก็ได้ดำเนินการตามโครงการและนโยบายเดิมแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง…รัฐบาลเห็นจำเป็นยิ่งที่ต้องสร้างโรงพยาบาลเพื่อช่วยในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น”[7]
หลังจากปี พ.ศ. 2477 เป็นต้นไปการบริหารงานของรัฐบาลคณะราษฎรที่มี นายปรีดี_พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย และมีอธิบดีกรมสาธารณสุขที่เป็นแพทย์คนแรก คือ พระยาบริรักษ์เวชการ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญคือการขยายการจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนโดยการวางโครงการสร้างโรงพยาบาลและสุขศาลาชั้น 2 ในส่วนภูมิภาคขึ้นให้ครบทุกจังหวัด[8]
เห็นได้ชัดว่าบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุขเองก็ตอบรับกับนโยบายของรัฐบาลกันอย่างเต็มกำลังในขบวนการขยายการบริการทางการแพทย์ไปสู่ชนบทของประเทศครั้งนี้ และนับเป็นกองหน้าทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่เริ่มจะทะลุทะลวงเข้าไปถึงชีวิตของชาวบ้านและสร้างอำนาจของการแพทย์ให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สยบยอมของชาวบ้านในเวลาต่อมา
การตั้งกระทรวงสาธารณสุข เกิดขึ้นในห้วงสมัยแห่งคณะราษฎรที่มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2481 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 คือช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่_2 ส่วนช่วงที่สอง ระหว่างปี พ.ศ. 2485-2487 คือการเป็นนายกรัฐมนตรีในระหว่างสงครามจากการนำประเทศเข้าสู่สงครามร่วมกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนที่เข้าข้างสัมพันธมิตร เป็นช่วงที่รัฐบาลดำเนินนโยบายแบบบังคับประชาชนให้ทำตามท่านผู้นำอย่างเข้มข้น หรือเป็นนโยบายการสร้างชาติที่อาศัย “การปฏิวัติวัฒนธรรมแบบแข็ง” คือมีความเป็นชาตินิยมแบบตกขอบจนนักวิชาการที่ศึกษาการเมืองไทยสมัยใหม่มักจะนิยามการนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งแต่เริ่มสงครามจนสิ้นสุดอำนาจลงในปี พ.ศ. 2487 ซึ่งสงครามยังไม่ยุตินี้ว่าเป็นยุค “เผด็จการ”[9] โดยถือว่าการตั้งกระทรวงสาธารณสุขเกิดขึ้นในช่วงการบริหารประเทศแบบเผด็จการดังกล่าว เนื่องจากได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2485 แต่งตั้งกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ขึ้นคณะหนึ่ง “โดยมีความประสงค์จะรวมกิจการแพทย์ทั้งสิ้นขึ้นเป็นหน่วยเดียว ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมแรงและประสานกันดีขึ้น” ให้เสร็จอย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาวางโครงการจัดหน่วยงานตั้งกระทรวงการสาธารณสุขแล้วเสร็จและเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาในวัน 16 กุมภาพันธ์ 2485[10]
และให้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งกระทรวงขึ้น เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2485[11] ให้กระทรวงการสาธารณสุขมีหน้าที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข การประชาสงเคราะห์และควบคุมการกาชาด หน้าที่ของกระทรวงการสาธารณสุขแยกเป็น
1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
2) สำนักงานปลัดกระทรวง
3) กรมการแพทย์
4) กรมประชาสงเคราะห์
5) กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
6) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
7) กรมสาธารณสุข โดยแต่งตั้งให้ นายแพทย์พูน ไวทยากร (พระไวทยวิธีการ) ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคนแรก[12]
กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลได้เข้าร่วม ”วงศ์ไพบูลย์แห่งเอเซีย” เป็นมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นได้ราว 3 เดือนแล้ว และได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ และอเมริกาแล้ว สถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเนื่องจากหลังการประกาศร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นกลุ่มพลเรือนในคณะราษฎรที่นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถูกลดบทบาทลงในทางการเมือง ทำให้ฝ่ายทหารและกลุ่มที่สนับสนุน จอมพล ป. ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจแทน ดังจะเห็นได้จากรายชื่อรัฐมนตรีหลังการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 10 มีนาคม 2485 คณะรัฐบาลนั้นมี นายพันตรี ช่วง_เชวงศักดิ์สงคราม ดำรงฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและนับเป็นรัฐมนตรีคนแรกของกระทรวงนี้
ในการแถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2485 ปรากฏว่านโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้นได้รับการเน้นจากรัฐบาลมากพอสมควร เมื่อดูจากเนื้อหาแล้วจะเห็นว่าก่อนหน้านั้นนโยบายสาธารณสุขไม่ค่อยจะมีเนื้อยาวมากเท่านี้ คือจะเป็นลักษณะของการพูดรวม ๆ มากกว่าที่จะแจกแจงนโยบายอย่างที่รัฐบาลชุดนี้ทำตามที่คัดมาดังนี้
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มุ่งผลสำคัญในทางเพิ่มพูนประชากรของชาติ ไม่แต่เฉพาะในทางปริมาณ แต่จะสนใจในทางคุณภาพและวัฒนธรรมด้วย เพื่อให้ได้ผลดังกล่าวนี้ กระทรวงการสาธารณสุข จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1) จะจัดการป้องกันและกำจัดโรคสำคัญซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนตายมาก และหาวิธีทางส่งเสริมให้เด็กเกิดมามีอนามัยดี ไม่ตายเสียแต่อายุยังเยาว์
2) จะปรับปรุงการสุขาภิบาลชนบท และในเขตเทศบาลให้มีคุณภาพดีขึ้น กับจะเร่งเผยแพร่การสุขศึกษาแก่ประชาชนยิ่งขึ้น
3) จะจัดให้มีสถานพยาบาลสำหรับบำบัดโรคแก่ประชาชนให้มากแห่งขึ้น เช่น การเพิ่มสุขศาลาโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและบำบัดโรคเฉพาะ เช่น โรคไข้จับสั่น กามโรค วัณโรค และโรคเรื้อน เป็นต้น
4) จะจัดขยายการรับนักศึกษาในทางการแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ให้มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาตามมาตรฐานสากลให้มากขึ้น จะจัดการอบรมบรรดานายแพทย์และเภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วให้มีความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นด้วย
5) จะจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ในทางวิชาการ และปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือนายแพทย์ในทางธุรการทั่วไป
6) จะจัดให้มีการตรวจค้นหาความรู้ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพรและยาอื่น ๆ ภายในประเทศเพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนปัจจุบัน และจะขยายกิจการทำยาให้มากชนิด และมีปริมาณมากขึ้นนอกจากนี้จะจัดทำวัคซีนและเซรุ่มสำหรับป้องกันและบำบัดโรคต่าง ๆ ให้มีมากชนิด และมีปริมาณพอความต้องการภายในประเทศ
7) จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรม และมีการครองชีพเหมาะสมกับความเป็นอยู่ตามท้องถิ่นภูมิลำเนานั้น ๆ กับจะจัดการสงเคราะห์ให้ผู้ไร้อาชีพมีงานทำตลอดจนอุปการะคนทุพพลภาพ คนชราและเด็กไร้ที่พึ่งด้วย[13]
แม้ว่าการก่อตั้งกระทรวงเกิดขึ้นในกรณีที่หลายฝ่ายคัดค้านว่ายังไม่มีความพร้อม แต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ซึ่งในปีตั้งกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยมีประชากร ประมาณ 18 ล้านคน ในคำปราศรัยวันเปิดกระทรวงกล่าวไว้ชัดว่าให้กระทรวงสาธารณสุขรับบทบาทนี้
ฉันรู้สึกยินดีที่ได้เห็นว่าการรวมแพทย์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งได้สำเร็จไป นับว่ากิจการสร้างชาติในด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นขึ้นได้ด้านหนึ่ง แท้จริงการแพทย์และการสาธารณสุขนั้นเป็นกิจการอันจำเป็นยิ่งใหญ่สาขาหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับการทหาร การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ การคลัง ฯลฯ เป็นต้น ที่ฉันกล่าวว่าการแพทย์และการสาธารณสุขสำคัญนั้น มิใช่เพราะเหตุว่าเวลานี้ฉันได้เข้ามาอยู่ในสถานที่ของกระทรวงการสาธารณสุขจึงว่าเช่นนั้น แต่เป็นความจริงว่าการสาธารณสุขนี้ได้เป็นการสร้างชาติโดยแท้ การสร้างชาตินั้นอยู่ที่การสาธารณสุขนี้ ส่วนหนึ่งที่จะทำประโยชน์อันสำคัญแก่บ้านเมือง เพราะว่าถ้าหากการสาธารณสุขและการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปเพียงไร กำลังของประเทศชาติก็เพิ่มความมั่นคงยิ่งขึ้น กล่าวคือ จำนวนพลเมืองก็จะเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นพลเมืองที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและไม่ตายแต่ยังเยาว์ด้วย เมื่อจำนวนพลเมืองของเรามากขึ้น ทั้งประกอบไปด้วยผู้มีกำลังวังชาแข็งแรงแล้ว ประเทศชาติของเราก็ย่อมจะมีกำลังอำนาจสามารถจะช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเหตุว่ากิจการทั้งปวงที่จะให้ประเทศชาติเจริญได้นั้นอยู่ที่กำลังคน และคนก็ต้องมีทั้งจำนวนทั้งกำลังกายแข็งแรงมีความมานะบากบั่นอดทนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ด้วย เวลานี้เรามีพลเมืองเพียง ๑๘ ล้านคน เท่ากับมี ๓๖ ล้านแขน เราก็ทำงานสร้างชาติของเราได้น้อย ถ้าเรามีพลเมือง ๑๐๐ ล้านคน เราก็จะมีกำลังทำงานได้ถึง ๒๐๐ ล้านแขน ซึ่งจะเป็นทางให้ประเทศชาติของเราก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจได้ ดั่งนี้ท่านรัฐมนตรีและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายจะเห็นได้ว่า กิจการสาธารณสุขและการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การที่พลเมืองของเรายังน้อยอยู่ก็เพราะเรามีการรักษาพยาบาลและการป้องกันไม่เพียงพอ ชาติของเราจะไม่สามารถจะใหญ่โตได้ ถ้าเราไม่รีบบำรุงการแพทย์ของเราเสียแต่บัดนี้[14]
และถึงแม้จะมีเหตุผลที่รัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับการสาธารณสุข จนถึงกับต้องดำเนินการจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นในปี 2485 ก็ตาม ดังที่ปรากฏตามคำกล่าวรายงานของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่รายงานต่อนายกรัฐมนตรีในวันเปิดกระทรวงในวันชาติตรงกับ วันที่ 24 มิถุนายน 2485 ว่าจำต้องรวบรวมการแพทย์มาไว้ในกระทรวงเดียวกันเพื่อความเจริญของชาติ ตามคำรายงานว่า
การแพทย์และสาธารณสุขได้เริ่มที่จะขยายรูปกว้างขวางอำนวยความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติมานานแล้ว แต่ติดขัดอยู่ที่การเงิน และผู้ที่จะโอบอุ้มให้เจริญการสร้างชาติที่สำคัญประเภทหนึ่งขึ้น ความก้าวหน้าต่าง ๆ จึงชงักอยู่ จำเนียรกาลล่วงมาในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ รัฐบาลได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญในการแพทย์และการสาธารณสุขยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการบำรุงไห้ก้าวหน้าทุกวิถีทาง ยิ่งในสมัยรัฐบาลซึ่งมี พณท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศด้วยแล้ว การแพทย์และการสาธารณสุขก็ยิ่งได้รับการสนับสนุนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ดั่งเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้ว การสนับสนุนที่แลเด่นชัดเป็นประจักษ์พยานก็คือ การที่พณท่านได้บัญชาให้รวบรวมกิจการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งยังคงอยู่กระจัดกระจายในสังกัดของหลายกระทรวง ทบวงกรมนั้นมารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน และดำเนินการประกาศยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ให้เป็นที่รวมกิจการแพทย์ การสาธารณสุข และการสาธารณูปการเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย (พระบำราศนราดูร 2500 : ..)
แต่การตั้งกระทรวงสาธารณสุขนี้ก็ใช่ว่าทุกคนในกลุ่มผู้นำในรัฐบาลจะเห็นพ้องเหมือนกันหมด หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) ผู้เป็นหนึ่งในสี่ “จตุสดมภ์” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล ซึ่งหลวงวิเชียรแพทยาคม ก็คือเถียรนั่นเอง ได้สะท้อนถึงความขัดแย้งของกลุ่มคณะราษฎรเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ในสมัยก่อนมีหลายท่านมีความเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่ควรจะเกิดมี ควรเป็นเพียงกรมยิ่งกว่านั้นแม้แต่แพทย์ก็ไม่ควรเป็นตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นอธิบดีหรือเจ้ากระทรวงแต่ความเห็นนั้นตรงกันข้ามกับผู้เขียนที่มีความเห็นว่า เท่าที่ปรากฏมาแล้วในต่างประเทศแพทย์เป็นตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองได้ดีไม่แพ้คนสำคัญในอาชีพอื่น ๆ ฉะนั้นเมื่อสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มีความเห็นที่จะบำรุงกิจการด้านสาธารณสุขให้เจริญยิ่งขึ้นให้ทันอารยประเทศทั้งหลายจึงได้จัดตั้งกรรมการขึ้นปรับปรุงการแพทย์และการสาธารณสุข[15]
ข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับการตั้งกระทรวงก็คือว่า ทำไมจึงมาตั้งเอาในช่วงที่รัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงที่ถูกกล่าวขวัญว่าอยู่ในช่วง “เผด็จการ” โดยการนำเอาลัทธิเชื่อผู้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชาติและเป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังขยายบทบาทของภาครัฐอย่างขนานใหญ่ และพยายามที่จะสถาปนาอำนาจรัฐให้ประชาชนต้องยอมรับและทำตามความต้องการของรัฐทุกอย่าง
หลังการก่อตั้งกระทรวงแล้วรัฐบาลก็ได้มีความพยายามมากขึ้นอีกในนโยบายเพิ่มประชากรดังเห็นได้จาก กรณีการตั้งกรรมการองค์การส่งเสริมการสมรส เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2485 เพื่อทำหน้าที่จัดการสมรสหมู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการตั้งว่า “เพื่อสร้างเสริมกำลังพลเมืองให้แก่ชาติ ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งเพิ่มจำนวนพลเมือง นอกจากนั้นยังมุ่งหวังที่จะสร้างชีวิตของผู้ที่จะย่างเข้าสู่ความเป็นครอบครัวให้ถูกหลักอนามัย”[16] นอกจากนั้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสมรสก็มีการสร้างหนังเพื่อส่งเสริมการสมรสเรื่อง “กิ่งทองใบหยก” เพื่อเก็บเงินบำรุงองค์การ หลังการสมรสให้เงินขวัญถุงแจกหนังสือคู่มือที่มีคำแนะนำให้คู่สมรสเร่งผลิตลูกเร็ว ๆ ข้าราชการที่สมรสจะได้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนก่อนคนโสด และเพื่อส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงในการเป็นแม่ได้มีการจัดงานวันมารดาในวันสถาปนากระทรวงฯ 10 มีนาคม 2486 ซึ่งจัดให้มีการจัดประกวดแม่ลูกดก มีการจัดพิมพ์หนังสือ “ข้อความรู้เกี่ยวกับแม่ ๆ ลูก ๆ” แจกเพื่อให้แม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรให้รอดชีวิตและสุขภาพแข็งแรง และแนะนำแม้กระทั่งการอุ้มบุตรว่าถ้าอุ้มเอาขาคร่อมสะเอวแสดงถึงผู้ไม่มีวัฒนธรรมเพราะจะทำให้เด็ก “เอวคดขาเก” ไม่เป็นพลเมืองที่แข็งแรงในความหมายที่รัฐต้องการ
กระทรวงการสาธารณสุขได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่และชื่อหน่วยงานอีกหลายครั้งต่อมา ดังการโอนกรมประชาสงเคราะห์กลับไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2487 และต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2495 แทนฉบับปี พ.ศ. 2484 เปลี่ยนชื่อกระทรวงการสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งแต่นั้นและเปลี่ยนชื่อกรมสาธารณสุขเป็นกรมอนามัย[17]พร้อมกันด้วย
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
ชาติชาย มุกสง. 2563. จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
นันทิรา ขำภิบาล. 2530. “นโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487).” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระบำราศนราดูร. 2500. “ประวัติกระทรวงสาธารณสุข.” ใน อนุสรณ์ 15 ปีกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.
รอง ศยามานนท์. 2520. ประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เชิงอรรถ
[1]พระบำราศนราดูร, 2500. ประวัติกระทรวงสาธารณสุข. ใน กระทรวงสาธารณสุข. อนุสรณ์ 15 ปีกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, น.13.
[2] พระบำราศนราดูร, 2500. เรื่องเดียวกัน, น. 17-26.
[3] ราชกิจจานุเบกษา, (27 พฤศจิกายน 2461): 302.
[4] ชาติชาย มุกสง, 2564. การแพทย์และการสาธารณสุขสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468-2477 : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.
[5] รายงานกรมสาธารณสุขประจำปีพุทธศักราช 2468. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2470, น. 11-14.
[6] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2540. ปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ, น. 292.
[7]พระบำราศนราดูร, 2500. เรื่องเดียวกัน, น. 43.
[8] เพ็ญศรี กวีวงศ์ประเสริฐ, 2528. บทบาทของรัฐต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน (พ.ศ. 2325-หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475). (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,),หน้า 179. 179-181, และดูรายละเอียดในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพระยาพหลในวันที่ 22 กันยายน 2477 ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยข้อ 6 ที่ว่าด้วยการสาธารณสุข ใน ใน ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์, ผู้รวบรวม. รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (กรุงเทพฯ: รัฐกิจเสรี, 2520).
[9] กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร. 2540. “บทบาททางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม.” ใน บันทึกการสัมมนาจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ มูลนิธีโครงการตำรา, น. 79.
[10] พระบำราศนราดูร, 2500. เรื่องเดียวกัน, น. 46-52.
[11] วันประกาศตั้งกระทรวงสาธารณสุข ใน พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2485. ราชกิจจานุเบกษา. (ตอนที่ 16 เล่ม 59) วันที่ 10 มีนาคม 2485.
[12] พระบำราศนราดูร, 2500. เรื่องเดียวกัน, น. 53.
[13] รอง ศยามานนท์, 2520. ประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 174-175.
[14] กระทรวงสาธารณสุข, 2500. อนุสรณ์ 15 ปีกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, น. 62-63. การเขียนคงสะกดตามต้นฉบับเดิมในสมัยที่มีคำสั่งให้ปรับปรุงการใช้ภาษาไทยในยุคนั้น และข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นการเน้นของผู้เขียน
[15] ดูรายละเอียดในหัวข้อ “คำปรารภของหลวงวิเชียรแพทยาคมในโอกาสกระทรวงสาธารณสุขครบรอบ 15 ปี” ใน กระทรวงสาธารณสุข, 2500. อนุสรณ์กระทรวงสาธารณสุข 15 ปี พ.ศ. 2485-2500. พระนคร: กระทรวงสาธารณสุข, น. 7.
[16] นันทิรา ขำภิบาล, 2530. “นโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงในสมัยสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487),” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น. 171.