ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มุ้งการเมือง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ฐิติกร สังข์แก้ว '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
= <span style="font-size:x-large;">'''ความหมาย'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''ความหมาย'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''“มุ้งการเมือง”''' '''(political faction)''' เป็นลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในองค์กรทางการเมืองหนึ่ง ๆ ซึ่งการรวมกลุ่มภายในนี้มีการจัดตั้งในลักษณะที่ไม่เป็นทางการและเป็นการรวมกลุ่มแบบหลวม ๆ โดยมีสิ่งยึดโยงบางประการ เช่น พื้นที่ อัตลักษณ์ กลุ่มผู้สนับสนุน เป็นต้น การรวมตัวกันของมุ้งการเมืองนั้น เกิดขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองบางประการในองค์กรทางการเมืองนั้น ๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนได้ทั้งในขบวนการทางการเมืองและพรรคการเมือง โดยเฉพาะในพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้เข้าไปมีตำแหน่งในทางการเมืองและจะได้ผลักดันวาระนโยบายให้บรรลุผล ดังนั้นพรรคการเมืองจึงเป็นองค์กร<br/> ทางการเมืองที่ก่อให้เกิดมุ้งการเมืองได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกพรรคการเมืองเสมอไป สำหรับพรรคการเมืองที่มีมุ้งการเมืองอยู่ภายในนั้น เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองก็จะมีการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่มุ้งการเมืองจะมีบทบาทในการต่อรองตำแหน่งระดับสูงเพื่อนำไปสู่การผลักดันวาระนโยบายที่กลุ่มตนเองสนใจ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''“มุ้งการเมือง”''' '''(political faction)''' เป็นลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในองค์กรทางการเมืองหนึ่ง ๆ ซึ่งการรวมกลุ่มภายในนี้มีการจัดตั้งในลักษณะที่ไม่เป็นทางการและเป็นการรวมกลุ่มแบบหลวม ๆ โดยมีสิ่งยึดโยงบางประการ เช่น พื้นที่ อัตลักษณ์ กลุ่มผู้สนับสนุน เป็นต้น การรวมตัวกันของมุ้งการเมืองนั้น เกิดขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองบางประการในองค์กรทางการเมืองนั้น ๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนได้ทั้งในขบวนการทางการเมืองและพรรคการเมือง โดยเฉพาะในพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้เข้าไปมีตำแหน่งในทางการเมืองและจะได้ผลักดันวาระนโยบายให้บรรลุผล ดังนั้นพรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่ก่อให้เกิดมุ้งการเมืองได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกพรรคการเมืองเสมอไป สำหรับพรรคการเมืองที่มีมุ้งการเมืองอยู่ภายในนั้น เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองก็จะมีการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่มุ้งการเมืองจะมีบทบาทในการต่อรองตำแหน่งระดับสูงเพื่อนำไปสู่การผลักดันวาระนโยบายที่กลุ่มตนเองสนใจ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับในการเมืองไทยนั้น จะเห็นบทบาทของมุ้งการเมืองที่ชัดเจนในช่วงทศวรรษ 2530 และหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะเมื่อ '''“พรรคไทยรักไทย”''' เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ทั้งนี้บทบาทของมุ้งการเมืองปรากฏเด่นชัดอีกครั้งหนึ่งจนเป็น<br/> ที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างเมื่อมีการก่อตั้ง '''“'''[[พรรคพลังประชารัฐ]]'''”''' ในปี พ.ศ. 2562
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับในการเมืองไทยนั้น จะเห็นบทบาทของมุ้งการเมืองที่ชัดเจนในช่วงทศวรรษ 2530 และหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะเมื่อ '''“พรรคไทยรักไทย”''' เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ทั้งนี้บทบาทของมุ้งการเมืองปรากฏเด่นชัดอีกครั้งหนึ่งจนเป็น<br/> ที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างเมื่อมีการก่อตั้ง '''“'''[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]'''”''' ในปี พ.ศ. 2562


= <span style="font-size:x-large;">'''ปัจจัยที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง”'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''ปัจจัยที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง”'''</span> =
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการจัดองค์กรพรรคการเมืองที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ '''“มุ้งการเมือง”''' นั้น อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้ในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่มีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาร่วมงานกับพรรคการเมืองนั้นค่อนข้างมาก กลุ่มดังกล่าวถือเป็นกลุ่มที่มีฐานคะแนนเสียงสำคัญที่จะช่วยให้พรรคการเมืองนั้นได้รับการเลือกตั้ง ดังนั้นเมื่อมีการรวมแต่ละกลุ่มเข้ามาในพรรคเดียวกันแล้ว ผู้บริหารของพรรคจำเป็นจะต้องจัดสรรตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีความพึงพอใจหรือเมื่อมีการเลือกตั้งและพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว ก็จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนวาระนโยบายที่กลุ่มต่าง ๆ ให้ความสำคัญ ผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไป ดังนั้นหากพรรคการเมืองมีการจัดองค์กรที่เป็นระบบก็จะทำให้กลุ่มการเมืองหรือมุ้งการเมืองมีความพึงพอใจ เกิดเสถียรภาพภายในพรรคการเมือง แต่หากพรรคการเมืองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของมุ้งการเมืองได้ มุ้งการเมืองภายในพรรคก็อาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของพรรคการเมือง รวมไปถึงเสถียรภาพของรัฐบาลได้ในท้ายที่สุด
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการจัดองค์กรพรรคการเมืองที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ '''“มุ้งการเมือง”''' นั้น อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้ในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่มีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาร่วมงานกับพรรคการเมืองนั้นค่อนข้างมาก กลุ่มดังกล่าวถือเป็นกลุ่มที่มีฐานคะแนนเสียงสำคัญที่จะช่วยให้พรรคการเมืองนั้นได้รับการเลือกตั้ง ดังนั้นเมื่อมีการรวมแต่ละกลุ่มเข้ามาในพรรคเดียวกันแล้ว ผู้บริหารของพรรคจำเป็นจะต้องจัดสรรตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีความพึงพอใจหรือเมื่อมีการเลือกตั้งและพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว ก็จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนวาระนโยบายที่กลุ่มต่าง ๆ ให้ความสำคัญ ผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไป ดังนั้นหากพรรคการเมืองมีการจัดองค์กรที่เป็นระบบก็จะทำให้กลุ่มการเมืองหรือมุ้งการเมืองมีความพึงพอใจ เกิดเสถียรภาพภายในพรรคการเมือง แต่หากพรรคการเมืองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของมุ้งการเมืองได้ มุ้งการเมืองภายในพรรคก็อาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของพรรคการเมือง รวมไปถึงเสถียรภาพของรัฐบาลได้ในท้ายที่สุด


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''2) ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง”''' คือ '''“กติกาการเลือกตั้ง”''' '''(electoral rules)''' เนื่องจากการกำหนดกติกาการเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดระบบพรรคการเมือง ดังจะเห็นได้จากการกำหนดระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัย (First Past the Post: FPTP) มีแนวโน้มจะทำให้เกิดระบบพรรคการเมือง<br/> แบบสองพรรค (Two-party System) เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้พรรคการเมืองที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในสนามการเมืองมีเพียง 2 พรรคเท่านั้น ดังนั้นหากกลุ่มการเมืองมีความต้องการที่จะเข้าสู่สนามการเมืองและสามารถผลักดันวาระนโยบายของกลุ่มตนให้เป็นนโยบายของรัฐบาลได้นั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าร่วมในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่แข่งขันกันในกติกาดังกล่าว เมื่อมีการรวมกลุ่มกันจนกลายเป็น '''“มุ้งการเมือง”''' ภายในพรรค ก็จะสามารถนำเสนอวาระนโยบายและผลักดันผลประโยชน์ของกลุ่มตนให้พรรคการเมืองนำไปขับเคลื่อนและจัดทำเป็นนโยบายต่อไป
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''2) ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง”''' คือ '''“กติกาการเลือกตั้ง”''' '''(electoral rules)''' เนื่องจากการกำหนดกติกาการเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดระบบพรรคการเมือง ดังจะเห็นได้จากการกำหนดระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัย (First Past the Post: FPTP) มีแนวโน้มจะทำให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-party System) เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้พรรคการเมืองที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในสนามการเมืองมีเพียง 2 พรรคเท่านั้น ดังนั้นหากกลุ่มการเมืองมีความต้องการที่จะเข้าสู่สนามการเมืองและสามารถผลักดันวาระนโยบายของกลุ่มตนให้เป็นนโยบายของรัฐบาลได้นั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าร่วมในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่แข่งขันกันในกติกาดังกล่าว เมื่อมีการรวมกลุ่มกันจนกลายเป็น '''“มุ้งการเมือง”''' ภายในพรรค ก็จะสามารถนำเสนอวาระนโยบายและผลักดันผลประโยชน์ของกลุ่มตนให้พรรคการเมืองนำไปขับเคลื่อนและจัดทำเป็นนโยบายต่อไป


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ขณะเดียวกันหากในระบบการเมืองที่มีการกำหนดกติกาการเลือกตั้งที่มีแนวโน้มนำไปสู่ระบบหลายพรรค (Multi-party System) กล่าวคือเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะมีพรรคการเมืองที่มีศักยภาพในรัฐสภามากกว่า 2 พรรค และแต่ละพรรคสามารถผลักดันวาระนโยบายของตนเองได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้ทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นพรรคที่มีกลุ่มตัวแทนสนับสนุนชัดเจน เช่น พรรคของกลุ่มชาวนา พรรคของกลุ่มครู เป็นต้น[[#_ftn2|[2]]] ในกรณีดังกล่าวทำให้บทบาทของมุ้งการเมืองที่จะเกิดในพรรคเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งค่อนข้างมากกว่าในระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัยที่จะก่อให้เกิดระบบสองพรรคการเมืองเป็นหลัก อีกทั้งในระบบหลายพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองอาจไม่ได้มีขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมุ้งการเมืองภายในพรรคเพราะอาจจะทำให้พรรคต้องเสียทรัพยากรเกินความจำเป็น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ขณะเดียวกันหากในระบบการเมืองที่มีการกำหนดกติกาการเลือกตั้งที่มีแนวโน้มนำไปสู่ระบบหลายพรรค (Multi-party System) กล่าวคือเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะมีพรรคการเมืองที่มีศักยภาพในรัฐสภามากกว่า 2 พรรค และแต่ละพรรคสามารถผลักดันวาระนโยบายของตนเองได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้ทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นพรรคที่มีกลุ่มตัวแทนสนับสนุนชัดเจน เช่น พรรคของกลุ่มชาวนา พรรคของกลุ่มครู เป็นต้น[[#_ftn2|[2]]] ในกรณีดังกล่าวทำให้บทบาทของมุ้งการเมืองที่จะเกิดในพรรคเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งค่อนข้างมากกว่าในระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัยที่จะก่อให้เกิดระบบสองพรรคการเมืองเป็นหลัก อีกทั้งในระบบหลายพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองอาจไม่ได้มีขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมุ้งการเมืองภายในพรรคเพราะอาจจะทำให้พรรคต้องเสียทรัพยากรเกินความจำเป็น
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาการเมืองไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โดยพิจารณารูปแบบของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความหมายของ '''“มุ้งการเมือง”''' นั้น จะพบว่ามุ้งการเมืองเริ่มก่อกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2520 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบการเมืองมีเสถียรภาพ ทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งมีบทบาทอยางต่อเนื่อง แต่กระนั้นด้วยเหตุที่ในช่วงเวลาดังกล่าวพรรคการเมืองยังคงอ่อนแอและเป็นระบบหลายพรรคการเมือง มุ้งการเมืองจึงมีบทบาทมากกว่าพรรคการเมือง ถึงแม้ว่านี่จะกลายเป็นหนึ่งในโจทย์ของการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทว่ามุ้งการเมืองก็ปรากฏชัดเจนในช่วงหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุ่งหวังให้เกิดระบบสองพรรคการเมือง อันจะกล่าวถึงต่อไปในกรณีของพรรคไทยรักไทย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาการเมืองไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โดยพิจารณารูปแบบของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความหมายของ '''“มุ้งการเมือง”''' นั้น จะพบว่ามุ้งการเมืองเริ่มก่อกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2520 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบการเมืองมีเสถียรภาพ ทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งมีบทบาทอยางต่อเนื่อง แต่กระนั้นด้วยเหตุที่ในช่วงเวลาดังกล่าวพรรคการเมืองยังคงอ่อนแอและเป็นระบบหลายพรรคการเมือง มุ้งการเมืองจึงมีบทบาทมากกว่าพรรคการเมือง ถึงแม้ว่านี่จะกลายเป็นหนึ่งในโจทย์ของการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทว่ามุ้งการเมืองก็ปรากฏชัดเจนในช่วงหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุ่งหวังให้เกิดระบบสองพรรคการเมือง อันจะกล่าวถึงต่อไปในกรณีของพรรคไทยรักไทย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 หรือที่เรียกกันต่อมาว่า '''“รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ”''' ที่มีการเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการเมืองผ่านการเลือกตั้งร่วมกับผู้นำกองทัพ จนกระทั่งเมื่อผ่านระยะเวลาไปช่วงหนึ่งเกิดกลุ่มย่อยใน[[พรรคประชาธิปัตย์]]ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง คือ '''“กลุ่มวาดะห์”''' ที่นำโดย นายเด่น โต๊ะมีนา และนาย[[วันมูหะมัดนอร์_มะทา]] โดยเป็นกลุ่มการเมืองที่มีฐานเสียงสนับสนุนอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[[#_ftn3|[3]]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้เกิดมุ้งการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เรียกกันว่า '''“กลุ่ม 10 มกรา”''' ที่นำโดย นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระ มุสิกพงศ์&nbsp;ซึ่งชื่อกลุ่มดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530 เมื่อที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการเลือกหัวหน้าพรรค โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ เสนอชื่อ นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็นหัวหน้าพรรค สาเหตุของการเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวมาจากความไม่พอใจต่อการบริหารองค์กรพรรคประชาธิปัตย์ของ นายพิชัย รัตตกุล&nbsp;หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น จนกระทั่งกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลงมติสวนมติพรรคร่วมรัฐบาลในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ส่งผลให้รัฐบาลของ [[เปรม_ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]&nbsp;ต้องประกาศยุบสภาไปในปี พ.ศ. 2531[[#_ftn4|[4]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 หรือที่เรียกกันต่อมาว่า '''“รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ”''' ที่มีการเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการเมืองผ่านการเลือกตั้งร่วมกับผู้นำกองทัพ จนกระทั่งเมื่อผ่านระยะเวลาไปช่วงหนึ่งเกิดกลุ่มย่อยใน[[พรรคประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง คือ '''“กลุ่มวาดะห์”''' ที่นำโดย นายเด่น โต๊ะมีนา และนาย[[วันมูหะมัดนอร์_มะทา|วันมูหะมัดนอร์_มะทา]] โดยเป็นกลุ่มการเมืองที่มีฐานเสียงสนับสนุนอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[[#_ftn3|[3]]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้เกิดมุ้งการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เรียกกันว่า '''“กลุ่ม 10 มกรา”''' ที่นำโดย นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระ มุสิกพงศ์&nbsp;ซึ่งชื่อกลุ่มดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530 เมื่อที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการเลือกหัวหน้าพรรค โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ เสนอชื่อ นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็นหัวหน้าพรรค สาเหตุของการเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวมาจากความไม่พอใจต่อการบริหารองค์กรพรรคประชาธิปัตย์ของ นายพิชัย รัตตกุล&nbsp;หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น จนกระทั่งกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลงมติสวนมติพรรคร่วมรัฐบาลในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ส่งผลให้รัฐบาลของ [[เปรม_ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]&nbsp;ต้องประกาศยุบสภาไปในปี พ.ศ. 2531[[#_ftn4|[4]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หลังจากนั้นกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น '''“พรรคประชาชน”''' ในปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปยุบรวมกับพรรคกิจประชาคมและพรรคก้าวหน้า เพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า '''“พรรคเอกภาพ”''' ในปี พ.ศ. 2532 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 2530 เป็นช่วงที่กติกาการเลือกตั้งเอื้อให้มุ้งการเมืองสามารถแยกตัวออกมาจากพรรคการเมืองเดิมได้ง่าย จึงทำให้มุ้งการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองในช่วงเวลาหนึ่ง และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว มุ้งการเมืองต่าง ๆ ก็จะลดบทบาทหรือเปลี่ยนบทบาทไปตามพรรคการเมืองใหม่ที่สังกัดอยู่ ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2540&nbsp;มีการรวมกลุ่มเป็นมุ้งการเมืองเป็นการเฉพาะกิจเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองอยู่เป็นระยะ อาทิ '''“กลุ่ม 16”''' ที่เป็นการรวมตัวกันของ ส.ส. รุ่นใหม่ ในปี พ.ศ. 2535 จำนวน 21 คน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์[[#_ftn5|[5]]] หรือ&nbsp;'''“กลุ่มวังน้ำเย็น”''' นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง ก็มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หลังจากนั้นกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น '''“พรรคประชาชน”''' ในปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปยุบรวมกับพรรคกิจประชาคมและพรรคก้าวหน้า เพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า '''“พรรคเอกภาพ”''' ในปี พ.ศ. 2532 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 2530 เป็นช่วงที่กติกาการเลือกตั้งเอื้อให้มุ้งการเมืองสามารถแยกตัวออกมาจากพรรคการเมืองเดิมได้ง่าย จึงทำให้มุ้งการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองในช่วงเวลาหนึ่ง และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว มุ้งการเมืองต่าง ๆ ก็จะลดบทบาทหรือเปลี่ยนบทบาทไปตามพรรคการเมืองใหม่ที่สังกัดอยู่ ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2540&nbsp;มีการรวมกลุ่มเป็นมุ้งการเมืองเป็นการเฉพาะกิจเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองอยู่เป็นระยะ อาทิ '''“กลุ่ม 16”''' ที่เป็นการรวมตัวกันของ ส.ส. รุ่นใหม่ ในปี พ.ศ. 2535 จำนวน 21 คน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์[[#_ftn5|[5]]] หรือ&nbsp;'''“กลุ่มวังน้ำเย็น”''' นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง ก็มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว&nbsp;


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมาหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในปลายปี พ.ศ. 2540 ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มจาก พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ชักชวน ส.ส. พรรคประชากรไทย '''“กลุ่มปากน้ำ”''' ที่นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม ที่เคยสังกัดพรรคชาติไทย&nbsp;และมีความขัดแย้งกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย จนทำให้ นายวัฒนา อัศวเหม ตัดสินใจนำ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย โดยมี ส.ส. ของกลุ่มปากน้ำในพรรคประชากรไทย จำนวน 13 คน ต่อมาเมื่อ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ชักชวนให้ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ลงมติเปลี่ยนขั้วมาสนับสนุน&nbsp;นาย[[ชวน_หลีกภัย]] จากพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ นาย[[สมัคร_สุนทรเวช]] หัวหน้าพรรคประชากรไทย ที่สนับสนุน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องพ่ายแพ้ในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ นายสมัคร สุนทรเวช วิพากษ์วิจารณ์บทบาทของกลุ่มปากน้ำว่าเป็น '''“'''[[กลุ่มงูเห่า]]'''”'''[[#_ftn6|[6]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมาหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในปลายปี พ.ศ. 2540 ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มจาก พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ชักชวน ส.ส. พรรคประชากรไทย '''“กลุ่มปากน้ำ”''' ที่นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม ที่เคยสังกัดพรรคชาติไทย&nbsp;และมีความขัดแย้งกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย จนทำให้ นายวัฒนา อัศวเหม ตัดสินใจนำ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย โดยมี ส.ส. ของกลุ่มปากน้ำในพรรคประชากรไทย จำนวน 13 คน ต่อมาเมื่อ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ชักชวนให้ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ลงมติเปลี่ยนขั้วมาสนับสนุน&nbsp;นาย[[ชวน_หลีกภัย|ชวน_หลีกภัย]] จากพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ นาย[[สมัคร_สุนทรเวช|สมัคร_สุนทรเวช]] หัวหน้าพรรคประชากรไทย ที่สนับสนุน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องพ่ายแพ้ในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ นายสมัคร สุนทรเวช วิพากษ์วิจารณ์บทบาทของกลุ่มปากน้ำว่าเป็น '''“'''[[กลุ่มงูเห่า|กลุ่มงูเห่า]]'''”'''[[#_ftn6|[6]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทย (ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541) ได้มีการรวบรวมนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาภายในพรรค ก่อนที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างถล่มทลาย พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยมุ้งการเมือภายในจำนวนมาก อาทิ กลุ่มวังน้ำเย็น ที่นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง เป็นมุ้งการเมืองที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ช่วงรัฐบาลของ [[ชาติชาย_ชุณหะวัณ|พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการจัดตั้งรัฐบาลของ [[บรรหาร_ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]] พลเอกชวลิต&nbsp;ยงใจยุทธ และพันตำรวจโท[[ทักษิณ_ชินวัตร]][[#_ftn7|[7]]] กลุ่มวังบัวบาน ที่นำโดย นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่ม ส.ส. พรรคไทยรักไทยในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้กลุ่มวังบัวบานเป็นมุ้งการเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจการต่อรองในพรรคค่อนข้างสูง[[#_ftn8|[8]]] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอื่น ๆ&nbsp;ที่มีความสำคัญอีกจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มบุรีรัมย์ นำโดย นายเนวิน ชิดชอบ กลุ่มวังน้ำยม นำโดยนายสมศักดิ์&nbsp;เทพสุทิน กลุ่มบ้านริมน้ำ นำโดย นายสุชาติ ตันเจริญ กลุ่มวังพญานาค นำโดย นายพินิจ จารุสมบัติ กลุ่มกรุงเทพ&nbsp;นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กลุ่มชลบุรี นำโดย นายสนธยา คุณปลื้ม กลุ่มวาดะห์ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคความหวังใหม่ กลุ่มโคราช-ราชครู นำโดย นายกร ทัพพะรังสี และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคชาติพัฒนา[[#_ftn9|[9]]] ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าบทบาทของพรรคไทยรักไทยที่สามารถรวบรวมมุ้งการเมืองจำนวนมากเข้ามาไว้ด้วยกันภายใต้การนำของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่สามารถจัดการองค์กรของพรรคได้อย่างมั่นคง เหนียวแน่น และทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพอย่างโดดเด่นในยุคสมัยที่กติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เอื้อให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนโฉมไปหลังจากการ[[รัฐประหาร_19_กันยายน_2549|รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทย (ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541) ได้มีการรวบรวมนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาภายในพรรค ก่อนที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างถล่มทลาย พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยมุ้งการเมือภายในจำนวนมาก อาทิ กลุ่มวังน้ำเย็น ที่นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง เป็นมุ้งการเมืองที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ช่วงรัฐบาลของ [[ชาติชาย_ชุณหะวัณ|พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการจัดตั้งรัฐบาลของ [[บรรหาร_ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]] พลเอกชวลิต&nbsp;ยงใจยุทธ และพันตำรวจโท[[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ_ชินวัตร]][[#_ftn7|[7]]] กลุ่มวังบัวบาน ที่นำโดย นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่ม ส.ส. พรรคไทยรักไทยในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้กลุ่มวังบัวบานเป็นมุ้งการเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจการต่อรองในพรรคค่อนข้างสูง[[#_ftn8|[8]]] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอื่น ๆ&nbsp;ที่มีความสำคัญอีกจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มบุรีรัมย์ นำโดย นายเนวิน ชิดชอบ กลุ่มวังน้ำยม นำโดยนายสมศักดิ์&nbsp;เทพสุทิน กลุ่มบ้านริมน้ำ นำโดย นายสุชาติ ตันเจริญ กลุ่มวังพญานาค นำโดย นายพินิจ จารุสมบัติ กลุ่มกรุงเทพ&nbsp;นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กลุ่มชลบุรี นำโดย นายสนธยา คุณปลื้ม กลุ่มวาดะห์ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคความหวังใหม่ กลุ่มโคราช-ราชครู นำโดย นายกร ทัพพะรังสี และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคชาติพัฒนา[[#_ftn9|[9]]] ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าบทบาทของพรรคไทยรักไทยที่สามารถรวบรวมมุ้งการเมืองจำนวนมากเข้ามาไว้ด้วยกันภายใต้การนำของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่สามารถจัดการองค์กรของพรรคได้อย่างมั่นคง เหนียวแน่น และทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพอย่างโดดเด่นในยุคสมัยที่กติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เอื้อให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนโฉมไปหลังจากการ[[รัฐประหาร_19_กันยายน_2549|รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549]]


= <span style="font-size:x-large;">'''“มุ้งการเมือง” ในการเมืองไทยร่วมสมัย'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''“มุ้งการเมือง” ในการเมืองไทยร่วมสมัย'''</span> =
บรรทัดที่ 58: บรรทัดที่ 58:
Rehfeld, Andrew (2011). “The Concepts of Representation.” The American Political Science Review. 105 (3): 631-641.
Rehfeld, Andrew (2011). “The Concepts of Representation.” The American Political Science Review. 105 (3): 631-641.


“เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?.” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?.” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697 https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.


“จรัญ พงษ์จีน (2564). “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ.” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_416780>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“จรัญ พงษ์จีน (2564). “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ.” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_416780 https://www.matichonweekly.com/column/article_416780]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


“ตำนาน กลุ่มวาดะห์.” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556). เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/63528>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“ตำนาน กลุ่มวาดะห์.” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556). เข้าถึงจาก <[https://www.voicetv.co.th/read/63528 https://www.voicetv.co.th/read/63528]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


“บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง.” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง.” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161 https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


พิเชฐ (2566). “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?.” Workpoint Today (15 มีนาคม). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
พิเชฐ (2566). “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?.” Workpoint Today (15 มีนาคม). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/ https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


“ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’.” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’.” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


“ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย.” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
“ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย.” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


ศราวิน ปานชัย (2566). “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”.” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม). เข้าถึงจาก <https://www.silpa-mag.com/history/article_104578>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
ศราวิน ปานชัย (2566). “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”.” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม). เข้าถึงจาก <[https://www.silpa-mag.com/history/article_104578 https://www.silpa-mag.com/history/article_104578]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา (2562). “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน.” The Standards (3 กรกฎาคม). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา (2562). “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน.” The Standards (3 กรกฎาคม). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/ https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.


= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
บรรทัดที่ 84: บรรทัดที่ 84:
[[#_ftnref2|[2]]] Andrew Rehfeld, “The Concepts of Representation,” The American Political Science Review, 105 (3), (2011): 631-641.
[[#_ftnref2|[2]]] Andrew Rehfeld, “The Concepts of Representation,” The American Political Science Review, 105 (3), (2011): 631-641.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] “ตำนาน กลุ่มวาดะห์,” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556), เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/63528>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566,.
[[#_ftnref3|[3]]] “ตำนาน กลุ่มวาดะห์,” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556), เข้าถึงจาก <[https://www.voicetv.co.th/read/63528 https://www.voicetv.co.th/read/63528]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566,.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] “บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง,” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref4|[4]]] “บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง,” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161 https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] “เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?,” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref5|[5]]] “เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?,” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697 https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] ศราวิน ปานชัย, “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”,” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.silpa-mag.com/history/article_104578>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref6|[6]]] ศราวิน ปานชัย, “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”,” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <[https://www.silpa-mag.com/history/article_104578 https://www.silpa-mag.com/history/article_104578]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] “ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’,” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref7|[7]]] “ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’,” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย,” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref8|[8]]] “ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย,” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740 https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref9|[9]]] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/ https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.
[[#_ftnref10|[10]]] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref11|[11]]] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/ https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา, “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน,” The Standards (3 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref12|[12]]] อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา, “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน,” The Standards (3 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/ https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] จรัญ พงษ์จีน, “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ,” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_416780>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref13|[13]]] จรัญ พงษ์จีน, “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ,” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_416780 https://www.matichonweekly.com/column/article_416780]>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:หัวหน้าพรรคการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:หัวหน้าพรรคการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:42, 7 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

ความหมาย

          “มุ้งการเมือง” (political faction) เป็นลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในองค์กรทางการเมืองหนึ่ง ๆ ซึ่งการรวมกลุ่มภายในนี้มีการจัดตั้งในลักษณะที่ไม่เป็นทางการและเป็นการรวมกลุ่มแบบหลวม ๆ โดยมีสิ่งยึดโยงบางประการ เช่น พื้นที่ อัตลักษณ์ กลุ่มผู้สนับสนุน เป็นต้น การรวมตัวกันของมุ้งการเมืองนั้น เกิดขึ้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองบางประการในองค์กรทางการเมืองนั้น ๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนได้ทั้งในขบวนการทางการเมืองและพรรคการเมือง โดยเฉพาะในพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้เข้าไปมีตำแหน่งในทางการเมืองและจะได้ผลักดันวาระนโยบายให้บรรลุผล ดังนั้นพรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรทางการเมืองที่ก่อให้เกิดมุ้งการเมืองได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกพรรคการเมืองเสมอไป สำหรับพรรคการเมืองที่มีมุ้งการเมืองอยู่ภายในนั้น เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองก็จะมีการจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่มุ้งการเมืองจะมีบทบาทในการต่อรองตำแหน่งระดับสูงเพื่อนำไปสู่การผลักดันวาระนโยบายที่กลุ่มตนเองสนใจ

          สำหรับในการเมืองไทยนั้น จะเห็นบทบาทของมุ้งการเมืองที่ชัดเจนในช่วงทศวรรษ 2530 และหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะเมื่อ “พรรคไทยรักไทย” เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ทั้งนี้บทบาทของมุ้งการเมืองปรากฏเด่นชัดอีกครั้งหนึ่งจนเป็น
ที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างเมื่อมีการก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ ในปี พ.ศ. 2562

ปัจจัยที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง”

          หากจะกล่าวถึงการเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองโดยทั่วไปนั้น สามารถอธิบายได้ว่ามุ้งการเมืองเกิดขึ้นจากปัจจัยที่สำคัญ 2 กลุ่ม ซึ่งจำแนกการอธิบายได้ดังนี้

          1) ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง” นั่นคือ การจัดการภายในองค์กรการเมือง โดยเฉพาะในกรณีของพรรคการเมืองซึ่งถือว่าการจัดองค์กรพรรคการเมือง (party organization) มีความสำคัญต่อความเป็นสถาบันทางการเมืองของพรรค เพราะถือเป็นการจัดโครงสร้างที่เป็นทางการของพรรคการเมือง ระบบการบริหารจัดการ รวมทั้งทรัพยากรต่าง ๆ ของพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วย ผู้บริหารพรรคการเมือง บุคลากรในพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง สำนักงานต่าง ๆ ในพรรคการเมือง ตลอดจนการจัดองค์กรของพรรคการเมืองในการขับเคลื่อนงานธุรการและงานบริหารของพรรคการเมืองทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น ซึ่งการจัดองค์กรดังกล่าวเป็นไปเพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบายของพรรคการเมือง สร้างภาพลักษณ์ของพรรคการเมือง ช่วยเสริมสร้างความเป็นสถาบันให้พรรคการเมือง ตลอดจนระดมสมาชิกพรรคการเมืองในหลากหลายวาระ เช่น การประชุมใหญ่ การทำทะเบียนสมาชิก เป็นต้น ดังนั้นหากพรรคการเมืองใดมีการจัดการองค์กรที่เป็นระบบก็จะทำให้เกิดเสถียรภาพภายใน และสามารถผลักดันวาระนโยบายได้คล่องตัวยิ่งขึ้น[1]

          ในการจัดองค์กรพรรคการเมืองที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ “มุ้งการเมือง” นั้น อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้ในพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่มีตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาร่วมงานกับพรรคการเมืองนั้นค่อนข้างมาก กลุ่มดังกล่าวถือเป็นกลุ่มที่มีฐานคะแนนเสียงสำคัญที่จะช่วยให้พรรคการเมืองนั้นได้รับการเลือกตั้ง ดังนั้นเมื่อมีการรวมแต่ละกลุ่มเข้ามาในพรรคเดียวกันแล้ว ผู้บริหารของพรรคจำเป็นจะต้องจัดสรรตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมให้แต่ละกลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มมีความพึงพอใจหรือเมื่อมีการเลือกตั้งและพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว ก็จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนวาระนโยบายที่กลุ่มต่าง ๆ ให้ความสำคัญ ผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไป ดังนั้นหากพรรคการเมืองมีการจัดองค์กรที่เป็นระบบก็จะทำให้กลุ่มการเมืองหรือมุ้งการเมืองมีความพึงพอใจ เกิดเสถียรภาพภายในพรรคการเมือง แต่หากพรรคการเมืองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของมุ้งการเมืองได้ มุ้งการเมืองภายในพรรคก็อาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพของพรรคการเมือง รวมไปถึงเสถียรภาพของรัฐบาลได้ในท้ายที่สุด

          2) ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิด “มุ้งการเมือง” คือ “กติกาการเลือกตั้ง” (electoral rules) เนื่องจากการกำหนดกติกาการเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดระบบพรรคการเมือง ดังจะเห็นได้จากการกำหนดระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัย (First Past the Post: FPTP) มีแนวโน้มจะทำให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-party System) เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้พรรคการเมืองที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในสนามการเมืองมีเพียง 2 พรรคเท่านั้น ดังนั้นหากกลุ่มการเมืองมีความต้องการที่จะเข้าสู่สนามการเมืองและสามารถผลักดันวาระนโยบายของกลุ่มตนให้เป็นนโยบายของรัฐบาลได้นั้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าร่วมในพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่แข่งขันกันในกติกาดังกล่าว เมื่อมีการรวมกลุ่มกันจนกลายเป็น “มุ้งการเมือง” ภายในพรรค ก็จะสามารถนำเสนอวาระนโยบายและผลักดันผลประโยชน์ของกลุ่มตนให้พรรคการเมืองนำไปขับเคลื่อนและจัดทำเป็นนโยบายต่อไป

          ขณะเดียวกันหากในระบบการเมืองที่มีการกำหนดกติกาการเลือกตั้งที่มีแนวโน้มนำไปสู่ระบบหลายพรรค (Multi-party System) กล่าวคือเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะมีพรรคการเมืองที่มีศักยภาพในรัฐสภามากกว่า 2 พรรค และแต่ละพรรคสามารถผลักดันวาระนโยบายของตนเองได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้ทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นพรรคที่มีกลุ่มตัวแทนสนับสนุนชัดเจน เช่น พรรคของกลุ่มชาวนา พรรคของกลุ่มครู เป็นต้น[2] ในกรณีดังกล่าวทำให้บทบาทของมุ้งการเมืองที่จะเกิดในพรรคเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งค่อนข้างมากกว่าในระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำกำชัยที่จะก่อให้เกิดระบบสองพรรคการเมืองเป็นหลัก อีกทั้งในระบบหลายพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองอาจไม่ได้มีขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมุ้งการเมืองภายในพรรคเพราะอาจจะทำให้พรรคต้องเสียทรัพยากรเกินความจำเป็น

การกำเนิด “มุ้งการเมือง” ในการเมืองไทย

          หากพิจารณาการเมืองไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โดยพิจารณารูปแบบของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความหมายของ “มุ้งการเมือง” นั้น จะพบว่ามุ้งการเมืองเริ่มก่อกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 2520 ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบการเมืองมีเสถียรภาพ ทำให้การเมืองเรื่องการเลือกตั้งมีบทบาทอยางต่อเนื่อง แต่กระนั้นด้วยเหตุที่ในช่วงเวลาดังกล่าวพรรคการเมืองยังคงอ่อนแอและเป็นระบบหลายพรรคการเมือง มุ้งการเมืองจึงมีบทบาทมากกว่าพรรคการเมือง ถึงแม้ว่านี่จะกลายเป็นหนึ่งในโจทย์ของการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทว่ามุ้งการเมืองก็ปรากฏชัดเจนในช่วงหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุ่งหวังให้เกิดระบบสองพรรคการเมือง อันจะกล่าวถึงต่อไปในกรณีของพรรคไทยรักไทย

          เมื่อประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 หรือที่เรียกกันต่อมาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยครึ่งใบ” ที่มีการเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการเมืองผ่านการเลือกตั้งร่วมกับผู้นำกองทัพ จนกระทั่งเมื่อผ่านระยะเวลาไปช่วงหนึ่งเกิดกลุ่มย่อยในพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง คือ “กลุ่มวาดะห์” ที่นำโดย นายเด่น โต๊ะมีนา และนายวันมูหะมัดนอร์_มะทา โดยเป็นกลุ่มการเมืองที่มีฐานเสียงสนับสนุนอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้เกิดมุ้งการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เรียกกันว่า “กลุ่ม 10 มกรา” ที่นำโดย นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ และนายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งชื่อกลุ่มดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530 เมื่อที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการเลือกหัวหน้าพรรค โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ เสนอชื่อ นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็นหัวหน้าพรรค สาเหตุของการเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวมาจากความไม่พอใจต่อการบริหารองค์กรพรรคประชาธิปัตย์ของ นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น จนกระทั่งกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลงมติสวนมติพรรคร่วมรัฐบาลในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ส่งผลให้รัฐบาลของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต้องประกาศยุบสภาไปในปี พ.ศ. 2531[4]

          หลังจากนั้นกลุ่ม 10 มกรา และ กลุ่มวาดะห์ ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น “พรรคประชาชน” ในปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปยุบรวมกับพรรคกิจประชาคมและพรรคก้าวหน้า เพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า “พรรคเอกภาพ” ในปี พ.ศ. 2532 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 2530 เป็นช่วงที่กติกาการเลือกตั้งเอื้อให้มุ้งการเมืองสามารถแยกตัวออกมาจากพรรคการเมืองเดิมได้ง่าย จึงทำให้มุ้งการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองในช่วงเวลาหนึ่ง และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงแล้ว มุ้งการเมืองต่าง ๆ ก็จะลดบทบาทหรือเปลี่ยนบทบาทไปตามพรรคการเมืองใหม่ที่สังกัดอยู่ ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2540 มีการรวมกลุ่มเป็นมุ้งการเมืองเป็นการเฉพาะกิจเพื่อต่อสู้/ต่อรองทางการเมืองอยู่เป็นระยะ อาทิ “กลุ่ม 16” ที่เป็นการรวมตัวกันของ ส.ส. รุ่นใหม่ ในปี พ.ศ. 2535 จำนวน 21 คน นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์[5] หรือ “กลุ่มวังน้ำเย็น” นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง ก็มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว 

          ต่อมาหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในปลายปี พ.ศ. 2540 ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มจาก พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ชักชวน ส.ส. พรรคประชากรไทย “กลุ่มปากน้ำ” ที่นำโดย นายวัฒนา อัศวเหม ที่เคยสังกัดพรรคชาติไทย และมีความขัดแย้งกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย จนทำให้ นายวัฒนา อัศวเหม ตัดสินใจนำ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย โดยมี ส.ส. ของกลุ่มปากน้ำในพรรคประชากรไทย จำนวน 13 คน ต่อมาเมื่อ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ชักชวนให้ ส.ส. กลุ่มปากน้ำ ลงมติเปลี่ยนขั้วมาสนับสนุน นายชวน_หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ นายสมัคร_สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ที่สนับสนุน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องพ่ายแพ้ในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้ นายสมัคร สุนทรเวช วิพากษ์วิจารณ์บทบาทของกลุ่มปากน้ำว่าเป็น กลุ่มงูเห่า[6]

          เมื่อถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทย (ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2541) ได้มีการรวบรวมนักการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาภายในพรรค ก่อนที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างถล่มทลาย พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยมุ้งการเมือภายในจำนวนมาก อาทิ กลุ่มวังน้ำเย็น ที่นำโดย นายเสนาะ เทียนทอง เป็นมุ้งการเมืองที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ช่วงรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการจัดตั้งรัฐบาลของ นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ_ชินวัตร[7] กลุ่มวังบัวบาน ที่นำโดย นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่ม ส.ส. พรรคไทยรักไทยในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้กลุ่มวังบัวบานเป็นมุ้งการเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจการต่อรองในพรรคค่อนข้างสูง[8] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความสำคัญอีกจำนวนมาก ได้แก่ กลุ่มบุรีรัมย์ นำโดย นายเนวิน ชิดชอบ กลุ่มวังน้ำยม นำโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน กลุ่มบ้านริมน้ำ นำโดย นายสุชาติ ตันเจริญ กลุ่มวังพญานาค นำโดย นายพินิจ จารุสมบัติ กลุ่มกรุงเทพ นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กลุ่มชลบุรี นำโดย นายสนธยา คุณปลื้ม กลุ่มวาดะห์ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคความหวังใหม่ กลุ่มโคราช-ราชครู นำโดย นายกร ทัพพะรังสี และนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทยพร้อมกับการควบรวมพรรคชาติพัฒนา[9] ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าบทบาทของพรรคไทยรักไทยที่สามารถรวบรวมมุ้งการเมืองจำนวนมากเข้ามาไว้ด้วยกันภายใต้การนำของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่สามารถจัดการองค์กรของพรรคได้อย่างมั่นคง เหนียวแน่น และทำให้พรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพอย่างโดดเด่นในยุคสมัยที่กติกาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เอื้อให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนโฉมไปหลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549

“มุ้งการเมือง” ในการเมืองไทยร่วมสมัย

          ในปี พ.ศ. 2549 เป็นช่วงที่เกิดการรวมกลุ่มของประชาชนต่อต้านรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในชื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นช่วงเวลาที่พรรคไทยรักไทยที่เคยจัดการมุ้งการเมืองได้ดีนั้น ต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งสำคัญ เมื่อ “กลุ่มวังน้ำเย็น” แยกตัวออกจากพรรคไทยรักไทยมาก่อตั้งเป็นพรรคประชาราช หลังจากนั้นเมื่อเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และมีการยุบพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2550 ทำให้มุ้งการเมืองในพรรคไทยรักไทยกระจัดกระจายออกไป โดยกลุ่มใหญ่ได้ย้ายมาสังกัดพรรคการเมืองทายาทของไทยรักไทย นั่นคือพรรคพลังประชาชน ซึ่งประกอบด้วย “กลุ่มวังบัวบาน” “กลุ่มบุรีรัมย์” “กลุ่มชลบุรี” “กลุ่มวาดะห์” เป็นมุ้งการเมืองหลัก

          ขณะที่มุ้งการเมืองอื่น ๆ ได้แยกตัวไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ เช่น “กลุ่มวังน้ำยม” ได้แยกไปตั้ง พรรคมัชฌิมาธิปไตย เช่นเดียวกับที่ “กลุ่มบ้านริมน้ำ” “กลุ่มกรุงเทพ” และ “กลุ่มวังพญานาค” แยกไปตั้ง พรรคเพื่อแผ่นดิน และยังมี “กลุ่มโคราช-ราชครู” รวมถึงอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยบางส่วนได้ร่วมกันตั้ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาขึ้นมา

          แม้ว่าในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชนที่เป็นพรรคการเมืองหลักที่ต่อยอดมาจากพรรคไทยรักไทยจะได้ความนิยมสูงสุด ซึ่งมี ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่ก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์การชุมนุมประท้วงอย่างยาวนาน และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย[10] ทำให้มีการสลายมุ้งการเมืองของพรรคพลังประชาชนอีกครั้ง โดย “กลุ่มบุรีรัมย์” แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย และร่วมกับอดีตสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าตลอดระยะเวลาของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้น มุ้งการเมืองจะไม่ค่อยมีบทบาทมากเท่ากับกรณีพรรคไทยรักไทยก็ตาม ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 มีการเปลี่ยนแปลงของมุ้งการเมืองอีกครั้ง เมื่อพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบ ส.ส. ในสังกัดจึงย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย พร้อม ๆ กับการเข้ามาของสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วน ขณะที่ “กลุ่มชลบุรี” แยกตัวไปตั้งพรรคพลังชล และ “กลุ่มวาดะห์” ย้ายไปสังกัดพรรคมาตุภูมิ[11]

          อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 ส่งผลให้บทบาทของมุ้งการเมืองต่าง ๆ หายไปจากการเมืองไทย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2562 เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment: MMA) ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งระบบการเลือกตั้งดังกล่าวมีแนวโน้มให้เกิดระบบหลายพรรคการเมือง ประกอบกับการที่กลุ่มอำนาจเดิมที่สืบต่อมาจาก คสช. ต้องการมีบทบาททางการเมืองต่อเนื่องภายหลังการเลือกตั้ง จึงมีการตั้งพรรคการเมืองที่เสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ พรรคดังกล่าว คือ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มการเมืองหลากหลายขั้ว ทำให้พรรคพลังประชารัฐมีลักษณะที่เต็มไปด้วยมุ้งทางการเมืองแบบที่เคยเกิดขึ้นกับพรรคไทยรักไทยในอดีต โดยมุ้งการเมืองหลักภายในพรรคพลังประชารัฐ ได้แก่ “กลุ่ม 3 ป.” นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รวมทั้งอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. นอกจากนี้ ยังมี “กลุ่มสามมิตร” ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ซึ่งทั้ง 3 คน เคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เคยเป็นแกนนำกลุ่มวังน้ำยม และนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เคยเป็นสมาชิกกลุ่มวังพญานาค และยังมี “กลุ่มสี่กุมาร” นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และทีมงานคนสำคัญ 4 คน ได้แก่ นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นอกจากนี้ยังมีมุ้งอื่น ๆ ภายในพรรคพลังประชารัฐ คือ “กลุ่ม กปปส.” นำโดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และนายพุทธิพงศ์ ปุณณกันต์ “กลุ่มชลบุรี” นำโดยนายสนธยา คุณปลื้ม และ “กลุ่ม ส.ส. ใต้” นำโดยพันเอกสุชาติ จันทรโชติกุล[12]

          ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาลไปได้ระยะหนึ่ง เริ่มปรากฏความขัดแย้งของมุ้งการเมืองต่าง ๆ โดยในปีแรกเป็นการขจัด “กลุ่มสี่กุมาร” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐและมีบทบาทในการบริหารพรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น ทว่าไม่ได้รับการยอมรับจากมุ้งการเมืองอื่น ๆ ทำให้มีการกดดันให้กลุ่ม
สี่กุมารพ้นจากตำแหน่งในพรรคพลังประชารัฐและพ้นจากคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา หลังจากนั้นพรรคพลังประชารัฐได้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จากกลุ่ม 3 ป. มาเป็นหัวหน้าพรรค ในช่วงเวลาเดียวกันบทบาทของกลุ่ม กปปส. ก็ลดลงไปจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้มุ้งการเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐลดจำนวนลงและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ สามารถสร้างความยอมรับให้กับมุ้งการเมืองต่าง ๆ ได้มากขึ้น แต่ก็นำไปสู่การเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองกลุ่มใหม่ นั่นคือ “กลุ่ม 4 ช.” ที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 4 คน คือ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า นายสันติ พร้อมพัฒน์ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ์[13] ซึ่งเป็นกลุ่มที่ช่วยงานในพรรคให้กับ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จนกระทั่ง กลุ่ม 4 ช. มีบทบาทมากขึ้นและได้ท้าทายอำนาจของกลุ่ม 3 ป. โดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา จนในที่สุดทำให้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า และนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ต้องพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไป จากกรณีดังกล่าวก็เป็นผลทำให้ กลุ่ม 3 ป. ลดความเข้มข้นในการรวมตัวลง และเกิดเป็น 2 มุ้งใหญ่ในพรรคพลังประชารัฐ คือ มุ้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และมุ้งพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จนกระทั่งต่อมามุ้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566

บทสรุป

          “มุ้งการเมือง” ในการเมืองไทยเกิดขึ้นควบคู่กับการเมืองเรื่องการเลือกตั้งและพรรคการเมือง เนื่องจากเมื่อมีองค์กรทางการเมืองขนาดใหญ่ก็ย่อมจำเป็นที่จะต้องดึงทรัพยากรบุคคลจากกลุ่มย่อยต่าง ๆ เข้ามา ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้การขับเคลื่อนงานขององค์กรทางการเมืองนั้น ๆ มีเสถียรภาพ ดังเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของมุ้งการเมืองมักจะเกิดในพรรคการเมืองและจะเป็นพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก โดยมีปัจจัยที่เอื้อให้เกิดมุ้งการเมือง 2 ประการ คือ ปัจจัยภายในที่เป็นเรื่องของการจัดองค์กรพรรคการเมืองและปัจจัยภายนอกที่เป็นเรื่องของกติกาการเลือกตั้ง ในกรณีของการเมืองไทยมุ้งการเมืองมักเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ในทศวรรษ 2530 บทบาทและอิทธิพลของมุ้งการเมืองกลายเป็นโจทย์ของการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จะพยายามสร้างพรรคการเมืองในเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง มีการจัดองค์กรภาในพรรค ส่งเสริมการตั้งสาขาและสมาชิกพรรค ทว่ามุ้งการเมืองก็ไม่อาจหมดไป ดังปรากฏในกรณีรัฐบาลของพรรคไทยรักไทยหรือแม้แต่รัฐบาลพรรคพลังประชารัฐระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566 ก็เป็นตัวอย่างของการรวบรวมมุ้งการเมืองเข้ามาร่วมภายในพรรค ขณะเดียวกันมุ้งการเมืองก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนขั้วจัดตั้งรัฐบาล ดังปรากฏตลอดทศวรรษ 2530 และทศวรรษ 2550 ในกรณีพรรคประชาธิปัตย์

บรรณานุกรม

Key, Jr., V. O. (1964). Politics, Parties, and Pressure Groups. New York: Ty Crowell Co.

Rehfeld, Andrew (2011). “The Concepts of Representation.” The American Political Science Review. 105 (3): 631-641.

“เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?.” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.

“จรัญ พงษ์จีน (2564). “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ.” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_416780>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

“ตำนาน กลุ่มวาดะห์.” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556). เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/63528>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

“บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง.” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

พิเชฐ (2566). “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?.” Workpoint Today (15 มีนาคม). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

“ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’.” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

“ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย.” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

ศราวิน ปานชัย (2566). “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”.” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม). เข้าถึงจาก <https://www.silpa-mag.com/history/article_104578>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา (2562). “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน.” The Standards (3 กรกฎาคม). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

อ้างอิง

[1] V. O. Key, Jr., Politics, Parties, and Pressure Groups (New York: Ty Crowell Co., 1964).

[2] Andrew Rehfeld, “The Concepts of Representation,” The American Political Science Review, 105 (3), (2011): 631-641.

[3] “ตำนาน กลุ่มวาดะห์,” Voice Online (19 กุมภาพันธ์ 2556), เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/63528>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566,.

[4] “บทเรียนสอนไม่จำ 32 ปี กลุ่ม “10 มกรา” คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง,” ไทยรัฐออนไลน์ (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1529161>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[5] “เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?,” มติชนออนไลน์ (12 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_913697>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[6] ศราวิน ปานชัย, “พรรคประชากรไทย ตำนาน “แลนด์สไลด์” และที่มา “งูเห่า”,” ศิลปวัฒนธรรม (23 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://www.silpa-mag.com/history/article_104578>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[7] “ย้อนเวลายุคทอง’กลุ่มวังน้ำเย็น’,” มติชนออนไลน์ (24 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_927808>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[8] “ย้อนดู ‘กลุ่มวังบัวบาน’ อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย,” มติชนออนไลน์ (13 เมษายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_914740>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[9] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[10] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551.

[11] พิเชฐ, “การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ “ไทยรักไทย” หรือจะมีงานรียูเนียน?,” Workpoint Today (15 มีนาคม 2566). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/groups-of-thairakthai/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[12] อนุชิต ไกรวิจิตร และธนกร วงษ์ปัญญา, “เปิดมุ้ง ‘พลังประชารัฐ’ ใครเป็นใคร มีพลังต่อรองแค่ไหน,” The Standards (3 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/palang-pracharath-bargaining-power/>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.

[13] จรัญ พงษ์จีน, “เปิดศึกกลุ่ม 4 ช. กับ 4 ว. / ลึกแต่ไม่ลับ,” มติชนสุดสัปดาห์ (18 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_416780>. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566.