ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แจกกล้วย"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ฐิติกร สังข์แก้ว '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> = | ||
'''“แจกกล้วย”''' เป็นศัพท์การเมืองไทยซึ่ง หมายถึง การแจกจ่ายผลประโยชน์แก่นักการเมืองโดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้กระทำหรือละเว้นจากการกระทำทางการเมืองบางอย่างเป็นการตอบแทน เช่น การลงมติสนับสนุนร่างกฎหมายสำคัญของรัฐบาลและการลงมติไว้วางใจรัฐบาล ดังนั้นคำเรียก '''“กล้วย”''' ในทางการเมืองในปัจจุบันจึงถูกใช้เปรียบเปรยกับผลประโยชน์ที่นักการเมืองเรียกรับเพื่อลงมติสนับสนุนรัฐบาลเป็นการตอบแทน อันมีต้นกำเนิดแรกเริ่มมาจาก [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช]] ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สี่ (พ.ศ. 2519) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น '''“ฤๅษีเลี้ยงลิง”''' ซึ่งหมายถึง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องดูแล ส.ส. ที่ขาดระเบียบวินัย ทั้งนี้ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ศัพท์คำว่า '''“แจกกล้วย”''' จึงถูกนำมาใช้โดยนักการเมืองบางรายและสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น[[รัฐบาลผสม]] 19 พรรค ทำให้การกำกับควบคุมพฤติกรรมของ ส.ส. โดยเฉพาะจากพรรคขนาดเล็กเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงปรากฏเป็นข่าวถึงการใช้วิธีการให้ผลประโยชน์เพื่อแลกกับการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อครหาและข่าวแพร่สะพัดออกมาจำนวนมาก แต่นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แจกกล้วยและผู้รับกล้วยก็ไม่เคยยอมรับต่อสาธารณชน ขณะที่หน่วยงานอันมีหน้าที่ตรวจสอบก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้ให้หรือผู้รับได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ | '''“แจกกล้วย”''' เป็นศัพท์การเมืองไทยซึ่ง หมายถึง การแจกจ่ายผลประโยชน์แก่นักการเมืองโดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้กระทำหรือละเว้นจากการกระทำทางการเมืองบางอย่างเป็นการตอบแทน เช่น การลงมติสนับสนุนร่างกฎหมายสำคัญของรัฐบาลและการลงมติไว้วางใจรัฐบาล ดังนั้นคำเรียก '''“กล้วย”''' ในทางการเมืองในปัจจุบันจึงถูกใช้เปรียบเปรยกับผลประโยชน์ที่นักการเมืองเรียกรับเพื่อลงมติสนับสนุนรัฐบาลเป็นการตอบแทน อันมีต้นกำเนิดแรกเริ่มมาจาก [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช|หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช]] ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สี่ (พ.ศ. 2519) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น '''“ฤๅษีเลี้ยงลิง”''' ซึ่งหมายถึง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องดูแล ส.ส. ที่ขาดระเบียบวินัย ทั้งนี้ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ศัพท์คำว่า '''“แจกกล้วย”''' จึงถูกนำมาใช้โดยนักการเมืองบางรายและสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]] 19 พรรค ทำให้การกำกับควบคุมพฤติกรรมของ ส.ส. โดยเฉพาะจากพรรคขนาดเล็กเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงปรากฏเป็นข่าวถึงการใช้วิธีการให้ผลประโยชน์เพื่อแลกกับการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อครหาและข่าวแพร่สะพัดออกมาจำนวนมาก แต่นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แจกกล้วยและผู้รับกล้วยก็ไม่เคยยอมรับต่อสาธารณชน ขณะที่หน่วยงานอันมีหน้าที่ตรวจสอบก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้ให้หรือผู้รับได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''จาก “ฤๅษีเลี้ยงลิง” สู่คน “แจกกล้วย”'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''จาก “ฤๅษีเลี้ยงลิง” สู่คน “แจกกล้วย”'''</span> = | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ข้อครหากรณี “แจกกล้วย” ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 (2562-2565)'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''ข้อครหากรณี “แจกกล้วย” ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 (2562-2565)'''</span> = | ||
การเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเลือกตั้งที่ใช้บัตรใบเดียวภายใต้ระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (Mixed-Member Apportionment: MMA) ส่งผลให้ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากในสภา และพรรคการเมืองเข้าสู่สภามากถึง 26 พรรค โดยพรรคเพื่อไทยมี จำนวน ส.ส. มากที่สุด คือ 136 ที่นั่ง รองลงมา คือ [[พรรคพลังประชารัฐ]] 116 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง จึงเกิดการขับเคี่ยวกันจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคระหว่าง 2 ขั้วการเมือง ในด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยและ[[พรรคอนาคตใหม่]] (81 ที่นั่ง) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่อีกด้านหนึ่งพรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 251 เสียง และจาก ส.ว. 249 เสียง รวมเป็น 500 เสียง ชนะนายธนาธร ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 244 เสียง[[#_ftn3|[3]]] ผลการลงมติดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 19 พรรค จนนักวิชาการและสื่อมวลชนขนาดนั้นคาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะต้องเผชิญกับปัญหาการไร้เสถียรภาพ ขาดความเป็นเอกภาพ การต่อรองจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง และความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล จนอยู่ในอำนาจได้ไม่นานมากนัก[[#_ftn4|[4]]] ในแง่นี้ความอยู่รอดของรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับการประนีประนอมกับพรรคร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 11 พรรคเล็กที่มี ส.ส. พรรคละหนึ่งคน ซึ่งยากที่จะได้รับการจัดสรรตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงในฝ่ายบริหาร | การเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเลือกตั้งที่ใช้บัตรใบเดียวภายใต้ระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (Mixed-Member Apportionment: MMA) ส่งผลให้ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากในสภา และพรรคการเมืองเข้าสู่สภามากถึง 26 พรรค โดยพรรคเพื่อไทยมี จำนวน ส.ส. มากที่สุด คือ 136 ที่นั่ง รองลงมา คือ [[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]] 116 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง จึงเกิดการขับเคี่ยวกันจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคระหว่าง 2 ขั้วการเมือง ในด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยและ[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]] (81 ที่นั่ง) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่อีกด้านหนึ่งพรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 251 เสียง และจาก ส.ว. 249 เสียง รวมเป็น 500 เสียง ชนะนายธนาธร ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 244 เสียง[[#_ftn3|[3]]] ผลการลงมติดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 19 พรรค จนนักวิชาการและสื่อมวลชนขนาดนั้นคาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะต้องเผชิญกับปัญหาการไร้เสถียรภาพ ขาดความเป็นเอกภาพ การต่อรองจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง และความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล จนอยู่ในอำนาจได้ไม่นานมากนัก[[#_ftn4|[4]]] ในแง่นี้ความอยู่รอดของรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับการประนีประนอมกับพรรคร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 11 พรรคเล็กที่มี ส.ส. พรรคละหนึ่งคน ซึ่งยากที่จะได้รับการจัดสรรตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงในฝ่ายบริหาร | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''เค้าลาง “แจกกล้วย”'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''เค้าลาง “แจกกล้วย”'''</span> = | ||
เค้าลางของความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเล็กปรากฏให้เห็นทันทีภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อ 5 พรรคเล็ก อันประกอบด้วย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชาธรรมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และพรรคพลังไทยรักชาติ ประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ขอเป็น '''“'''[[ฝ่ายค้านอิสระ]]'''”''' ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในรัฐสภาแต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมกับ 7 พรรคฝ่ายค้าน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวเปิดใจว่าสาเหตุของการถอนตัวในครั้งนี้ เนื่องจากแกนนำพรรคพลังประชารัฐไม่ให้เกียรติและไม่รักษาคำพูดในเรื่องที่จะให้ตัวแทนของพรรคเล็กเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายในฝ่ายบริหาร[[#_ftn5|[5]]] หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเกิดกรณีความไม่พอใจของพรรคเล็กกันอีกครั้งที่ไม่ได้รับการจัดสรรโควตาในคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส.ส. พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเคยนิยามตนเองว่าเป็น '''“เส้นเลือดใหญ่ของรัฐบาล”''' เพราะเป็นผู้ประสานให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ''“ผมเป็นคนเลี้ยงลิง เลยต้องเอากล้วยให้ลิงกินตลอดเวลา ขณะนี้เชื่อว่ากินจนอิ่มแล้วน่าจะพอใจได้แล้ว”''[[#_ftn6|[6]]] | เค้าลางของความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเล็กปรากฏให้เห็นทันทีภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อ 5 พรรคเล็ก อันประกอบด้วย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชาธรรมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และพรรคพลังไทยรักชาติ ประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ขอเป็น '''“'''[[ฝ่ายค้านอิสระ|ฝ่ายค้านอิสระ]]'''”''' ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในรัฐสภาแต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมกับ 7 พรรคฝ่ายค้าน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวเปิดใจว่าสาเหตุของการถอนตัวในครั้งนี้ เนื่องจากแกนนำพรรคพลังประชารัฐไม่ให้เกียรติและไม่รักษาคำพูดในเรื่องที่จะให้ตัวแทนของพรรคเล็กเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายในฝ่ายบริหาร[[#_ftn5|[5]]] หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเกิดกรณีความไม่พอใจของพรรคเล็กกันอีกครั้งที่ไม่ได้รับการจัดสรรโควตาในคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส.ส. พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเคยนิยามตนเองว่าเป็น '''“เส้นเลือดใหญ่ของรัฐบาล”''' เพราะเป็นผู้ประสานให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ''“ผมเป็นคนเลี้ยงลิง เลยต้องเอากล้วยให้ลิงกินตลอดเวลา ขณะนี้เชื่อว่ากินจนอิ่มแล้วน่าจะพอใจได้แล้ว”''[[#_ftn6|[6]]] | ||
ด้านฝ่ายค้านนั้น นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาวิจารณ์ว่าข่าวที่พรรคเล็กข่มขู่กรรโชกทรัพย์ ตบทรัพย์ทางการเมืองมีให้เห็นอยู่ตลอด ''“ซึ่งประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร เริ่มต้นเป็น “งูเห่า” ลงท้ายเป็นแค่ “ลิงงอแง”'' อยากได้กล้วย พอได้กล้วยกินอิ่มก็เงียบ รัฐธรรมนูญที่ทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดการเจรจาต่อรอง เป็นใบเสร็จยืนยันว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีอยู่จริง”[[#_ftn7|[7]]] ภายหลังจากนั้น ศัพท์เรียกและการแสดงออกถึงการ '''“แจกกล้วย”''' ก็ถูกใช้เพื่อล้อเลียน เสียดสี และสร้างสีสันให้กับการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เรื่อยมา เช่น กรณีที่ นางสาวกุลวดี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยกรอบแก้วฉาบตาลโตนดของฝากเมืองราชบุรี มาแจกเพื่อนสมาชิกเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจนสร้างความฮือฮาและได้รับฉายาจากสื่อมวลชนเชิงหยอกล้อว่า '''“ส.ส. แจกกล้วย”'''[[#_ftn8|[8]]] กรณีที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยหอมมาให้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ที่รัฐสภา เนื่องจากฝ่ายหลังประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลหลายครั้ง[[#_ftn9|[9]]] และกรณีที่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ประกาศลาออกจากหัวหน้าและ ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่กลางสภา เพราะเอือมระอากับพฤติกรรม ส.ส. '''“งูเห่า”''' และ '''“ลิงกินกล้วย”''' ภายในพรรค[[#_ftn10|[10]]] เป็นต้น | ด้านฝ่ายค้านนั้น นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาวิจารณ์ว่าข่าวที่พรรคเล็กข่มขู่กรรโชกทรัพย์ ตบทรัพย์ทางการเมืองมีให้เห็นอยู่ตลอด ''“ซึ่งประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร เริ่มต้นเป็น “งูเห่า” ลงท้ายเป็นแค่ “ลิงงอแง”'' อยากได้กล้วย พอได้กล้วยกินอิ่มก็เงียบ รัฐธรรมนูญที่ทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดการเจรจาต่อรอง เป็นใบเสร็จยืนยันว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีอยู่จริง”[[#_ftn7|[7]]] ภายหลังจากนั้น ศัพท์เรียกและการแสดงออกถึงการ '''“แจกกล้วย”''' ก็ถูกใช้เพื่อล้อเลียน เสียดสี และสร้างสีสันให้กับการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เรื่อยมา เช่น กรณีที่ นางสาวกุลวดี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยกรอบแก้วฉาบตาลโตนดของฝากเมืองราชบุรี มาแจกเพื่อนสมาชิกเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจนสร้างความฮือฮาและได้รับฉายาจากสื่อมวลชนเชิงหยอกล้อว่า '''“ส.ส. แจกกล้วย”'''[[#_ftn8|[8]]] กรณีที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยหอมมาให้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ที่รัฐสภา เนื่องจากฝ่ายหลังประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลหลายครั้ง[[#_ftn9|[9]]] และกรณีที่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ประกาศลาออกจากหัวหน้าและ ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่กลางสภา เพราะเอือมระอากับพฤติกรรม ส.ส. '''“งูเห่า”''' และ '''“ลิงกินกล้วย”''' ภายในพรรค[[#_ftn10|[10]]] เป็นต้น | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
<u>ประการแรก</u> ปรากฏการณ์ '''“แจกกล้วย”''' แสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองของไทยขาดความเป็นสถาบัน (lack of institutionalization) มีพรรคการเมืองจำนวนมากตั้งขึ้น ยุบรวม และสูญหายไปจากระบบการเมือง ส่งผลให้เมื่อถึงช่วงเวลาของการเลือกตั้ง จึงเป็นการยากที่พรรคการเมืองจะพัฒนานโยบายขึ้นเพื่อดึงดูดคะแนนเสียงจากประชาชน พรรคการเมืองจำนวนมากจึงพึ่งพาตัวบุคคลเป็นหลัก และเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แล้ว ก็ย่อมเป็นเรื่องไม่ยากนักที่นักการเมืองเหล่านี้จะเปลี่ยนขั้วย้ายข้าง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในแง่นี้ วิธีการ “แจกกล้วย” จึงทำงานได้มีประสิทธิสภาพในระบบที่พรรคการเมืองขาดความเป็นสถาบัน | <u>ประการแรก</u> ปรากฏการณ์ '''“แจกกล้วย”''' แสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองของไทยขาดความเป็นสถาบัน (lack of institutionalization) มีพรรคการเมืองจำนวนมากตั้งขึ้น ยุบรวม และสูญหายไปจากระบบการเมือง ส่งผลให้เมื่อถึงช่วงเวลาของการเลือกตั้ง จึงเป็นการยากที่พรรคการเมืองจะพัฒนานโยบายขึ้นเพื่อดึงดูดคะแนนเสียงจากประชาชน พรรคการเมืองจำนวนมากจึงพึ่งพาตัวบุคคลเป็นหลัก และเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แล้ว ก็ย่อมเป็นเรื่องไม่ยากนักที่นักการเมืองเหล่านี้จะเปลี่ยนขั้วย้ายข้าง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในแง่นี้ วิธีการ “แจกกล้วย” จึงทำงานได้มีประสิทธิสภาพในระบบที่พรรคการเมืองขาดความเป็นสถาบัน | ||
<u>ประการที่สอง</u> | <u>ประการที่สอง</u> ระบบพรรคการเมือง (party system) ซึ่งหมายถึงจำนวนและขนาดของพรรคในระบบการเมือง เป็นผลมาจากการออกแบบระบบเลือกตั้งด้วยระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (MMA) ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่มุ่งหมายให้เกิดการกระจายตัวของพรรคการเมืองจำนวนมาก จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะมีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูงในการเข้าร่วมรัฐบาล ในกรณีของพรรคการเมืองขนาดกลางนั้น มีจำนวน ส.ส. มากพอที่จะได้รับโควตารัฐมนตรีและผลักดันนโยบายในฝ่ายบริหาร แต่สำหรับพรรคเล็กเสียงเดียวแล้ว ตำแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหารย่อมอยู่สูงเกินกว่าที่พรรคเหล่านั้นพึงได้รับ และในเมื่อไม่มีตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นของตนเองให้ต้องพิทักษ์รักษาไว้ในการลงมติแต่ละครั้ง ความสามารถในการเรียกรับ '''“กล้วย”''' จึงอาจถือเป็นดอกผลอย่างหนึ่งซึ่งมาจากอำนาจต่อรองของตนเอง | ||
<u>ประการสุดท้าย</u> รัฐบาลผสม 19 พรรค ย่อมก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล เพราะนอกจากจะต้องประนีประนอมประสานประโยชน์กับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ยังต้องระแวดระวังมิให้พรรคร่วมรัฐบาลถอยตัวออกห่างจากการสนับสนุนอีกด้วย การทำงานในระบบรัฐสภาจึงเต็มไปด้วยเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์และอำนาจของนักการเมืองแบบเข้มข้น จริงอยู่การเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่การต่อรองมากเสียจนกระทั่งละเลยผลประโยชน์ของประชาชนก็ย่อมทำให้ระบบรัฐสภาและพรรคการเมืองที่อ่อนแออยู่แล้ว สูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชน และพฤติกรรมของนักการเมืองนี้เองมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพเหมือนเช่นในอดีต | <u>ประการสุดท้าย</u> รัฐบาลผสม 19 พรรค ย่อมก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล เพราะนอกจากจะต้องประนีประนอมประสานประโยชน์กับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ยังต้องระแวดระวังมิให้พรรคร่วมรัฐบาลถอยตัวออกห่างจากการสนับสนุนอีกด้วย การทำงานในระบบรัฐสภาจึงเต็มไปด้วยเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์และอำนาจของนักการเมืองแบบเข้มข้น จริงอยู่การเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่การต่อรองมากเสียจนกระทั่งละเลยผลประโยชน์ของประชาชนก็ย่อมทำให้ระบบรัฐสภาและพรรคการเมืองที่อ่อนแออยู่แล้ว สูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชน และพฤติกรรมของนักการเมืองนี้เองมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพเหมือนเช่นในอดีต | ||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 46: | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | ||
“5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ.” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/382848>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | “5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ.” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/382848 https://www.komchadluek.net/news/382848]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
The Standard. (2 กันยายน 2564). “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.” The Standard: YouTube Channel [วีดีโอ]. เข้าถึงจาก <https://youtu.be/SWflp3bXybQ>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | The Standard. (2 กันยายน 2564). “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.” The Standard: YouTube Channel [วีดีโอ]. เข้าถึงจาก <[https://youtu.be/SWflp3bXybQ https://youtu.be/SWflp3bXybQ]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน.” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/669073>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน.” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.naewna.com/politic/669073 https://www.naewna.com/politic/669073]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล.” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | “‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล.” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853 https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์.” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | “ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์.” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/ https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ.” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ.” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354 https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”.” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”.” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385 https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค.” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค.” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175 https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน.” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน.” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018 https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/115425>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/115425 https://www.thaipost.net/main/detail/115425]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/38653>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | “โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/38653 https://www.thaipost.net/main/detail/38653]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
“‘มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย'.” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | “‘มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย'.” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ.” Voice Online (26 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | “ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ.” Voice Online (26 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน.” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/523470>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน.” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/523470 https://www.komchadluek.net/news/523470]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“รัฐบาล 19 พรรค: เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์.” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | “รัฐบาล 19 พรรค: เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์.” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949 https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
โรม บุนนาค. (3 มกราคม 2561). “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!.” ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000000460>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | โรม บุนนาค. (3 มกราคม 2561). “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!.” ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000000460 https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000000460]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | “ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/ https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
“ส.ส.แจกกล้วย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/68171>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | “ส.ส.แจกกล้วย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/68171 https://www.thaipost.net/main/detail/68171]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
“สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร.” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/votepm62/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | “สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร.” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/votepm62/ https://workpointtoday.com/votepm62/]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี.” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี.” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341 https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก.” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก.” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689 https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
“อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง.” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | “อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง.” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893 https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | = '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | ||
<div><div id="ftn1"> | <div><div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] “ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ,” Voice Online (26 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref1|[1]]] “ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ,” Voice Online (26 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <[https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] โรม บุนนาค, “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 มกราคม 2561), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/onlinesection/detail/<br/> 9610000000460>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref2|[2]]] โรม บุนนาค, “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 มกราคม 2561), เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/onlinesection/detail/ https://mgronline.com/onlinesection/detail/]<br/> 9610000000460>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] “สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร,” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/votepm62/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref3|[3]]] “สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร,” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/votepm62/ https://workpointtoday.com/votepm62/]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] “ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์,” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/38653>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “รัฐบาล 19 พรรค : เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์,” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref4|[4]]] “ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์,” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/ https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/38653 https://www.thaipost.net/main/detail/38653]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “รัฐบาล 19 พรรค : เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์,” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949 https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949]>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] “5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ,” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/382848>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref5|[5]]] “5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ,” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/382848 https://www.komchadluek.net/news/382848]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] “‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล,” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref6|[6]]] “‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล,” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853 https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] “อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง,” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref7|[7]]] “อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง,” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893 https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|[8]]] “ส.ส.แจกกล้วย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/68171>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref8|[8]]] “ส.ส.แจกกล้วย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/68171 https://www.thaipost.net/main/detail/68171]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] ““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก,” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref9|[9]]] ““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก,” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563), เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689 https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] “'มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย',” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref10|[10]]] “'มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย',” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html]>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] The Standard, “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.,” The Standard: YouTube Channel [วิดีโอ] (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://youtu.be/SWflp3bXybQ>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref11|[11]]] The Standard, “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.,” The Standard: YouTube Channel [วิดีโอ] (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <[https://youtu.be/SWflp3bXybQ https://youtu.be/SWflp3bXybQ]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] “เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/115425>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565; ““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref12|[12]]] “เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/115425 https://www.thaipost.net/main/detail/115425]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565; ““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341 https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] ““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref13|[13]]] ““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385 https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] “ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ,” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref14|[14]]] “ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ,” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354 https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn15"> | </div> <div id="ftn15"> | ||
[[#_ftnref15|[15]]] “พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค,” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref15|[15]]] “พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค,” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175 https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn16"> | </div> <div id="ftn16"> | ||
[[#_ftnref16|[16]]] “ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref16|[16]]] “ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/ https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn17"> | </div> <div id="ftn17"> | ||
[[#_ftnref17|[17]]] “ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน,” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/523470>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref17|[17]]] “ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน,” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.komchadluek.net/news/523470 https://www.komchadluek.net/news/523470]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn18"> | </div> <div id="ftn18"> | ||
[[#_ftnref18|[18]]] ““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน,” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref18|[18]]] ““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน,” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018 https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> <div id="ftn19"> | </div> <div id="ftn19"> | ||
[[#_ftnref19|[19]]] “ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน,” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/669073>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | [[#_ftnref19|[19]]] “ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน,” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <[https://www.naewna.com/politic/669073 https://www.naewna.com/politic/669073]>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:10, 6 กรกฎาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
บทนำ
“แจกกล้วย” เป็นศัพท์การเมืองไทยซึ่ง หมายถึง การแจกจ่ายผลประโยชน์แก่นักการเมืองโดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้กระทำหรือละเว้นจากการกระทำทางการเมืองบางอย่างเป็นการตอบแทน เช่น การลงมติสนับสนุนร่างกฎหมายสำคัญของรัฐบาลและการลงมติไว้วางใจรัฐบาล ดังนั้นคำเรียก “กล้วย” ในทางการเมืองในปัจจุบันจึงถูกใช้เปรียบเปรยกับผลประโยชน์ที่นักการเมืองเรียกรับเพื่อลงมติสนับสนุนรัฐบาลเป็นการตอบแทน อันมีต้นกำเนิดแรกเริ่มมาจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สี่ (พ.ศ. 2519) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น “ฤๅษีเลี้ยงลิง” ซึ่งหมายถึง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องดูแล ส.ส. ที่ขาดระเบียบวินัย ทั้งนี้ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ศัพท์คำว่า “แจกกล้วย” จึงถูกนำมาใช้โดยนักการเมืองบางรายและสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐบาลผสม 19 พรรค ทำให้การกำกับควบคุมพฤติกรรมของ ส.ส. โดยเฉพาะจากพรรคขนาดเล็กเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงปรากฏเป็นข่าวถึงการใช้วิธีการให้ผลประโยชน์เพื่อแลกกับการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อครหาและข่าวแพร่สะพัดออกมาจำนวนมาก แต่นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แจกกล้วยและผู้รับกล้วยก็ไม่เคยยอมรับต่อสาธารณชน ขณะที่หน่วยงานอันมีหน้าที่ตรวจสอบก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้ให้หรือผู้รับได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ
จาก “ฤๅษีเลี้ยงลิง” สู่คน “แจกกล้วย”
แม้คำศัพท์ “แจกกล้วย” จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปในปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) แต่ต้นกำเนิดของศัพท์คำนี้สามารถย้อนกลับไปได้ถึงการเมืองในระบบรัฐสภาที่ไร้เสถียรภาพภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 กล่าวคือ ด้วยระยะเวลาเพียง 3 ปี การเมืองไทยมีการจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 ครั้ง และมีรัฐบาลมากถึง 6 คณะ แต่เหตุการณ์ที่เป็นชนวนสำคัญทางการเมืองมาจากการเดินทางกลับเข้ามาอุปสมบทของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2516 จนก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกดดันรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้มีมาตรการกดดันให้จอมพลถนอม ออกนอกประเทศและแก้ไขวิกฤตในครั้งนั้นที่กำลังลุกลามไปเกินกว่าจะควบคุมได้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ส. ฝ่ายค้านได้อภิปรายการทำงานอันหละหลวมของรัฐบาล จนท้ายที่สุดหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลางสภา[1] แม้อีกสองวันให้หลัง คือวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ถึงเดือนก็เกิดเหตุความรุนแรง 6 ตุลาฯ 2519 และจบลงด้วยการรัฐประหารโดยการนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในเย็นวันนั้น เหตุการณ์ครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ผู้มีบุคลิกภาพสุขุมนุ่มนวลและมักอาศัยวิธีการประนีประนอมรอมชอมเมื่อเกิดปัญหาทางการเมือง ไม่สามารถควบคุม ส.ส. ภายในพรรคประชาธิปัตย์ให้อยู่ในวินัยได้ จนสื่อมวลชนขณะนั้นตั้งฉายาว่า “ฤๅษีเลี้ยงลิง” หรือผู้ปกครองคนหมู่มาก ซึ่งคนหมู่มากนั้นไร้ระเบียบวินัย[2] นับจากนั้นเป็นต้นมา ส.ส. จำนวนหนึ่งที่มีพฤติกรรมแตกแถวหรือไม่อยู่ในวินัยของพรรคอยู่เสมอ ก็มักถูกเรียกเปรียบเปรยว่าเป็นเสมือน “ลิง” และด้วยเหตุที่ตามปกติแล้วกล้วยมักถูกเชื่อมโยงว่าเป็นอาหารโปรดของลิง วิธีการหนึ่งที่จะทำให้ ส.ส. หมู่มากที่ขาดระเบียบวินัยกระทำการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาลได้ ก็คือการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับ ส.ส. เหล่านั้น จนกลายมาเป็นศัพท์เรียก “แจกกล้วย” ในปัจจุบัน
ข้อครหากรณี “แจกกล้วย” ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 (2562-2565)
การเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเลือกตั้งที่ใช้บัตรใบเดียวภายใต้ระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (Mixed-Member Apportionment: MMA) ส่งผลให้ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากในสภา และพรรคการเมืองเข้าสู่สภามากถึง 26 พรรค โดยพรรคเพื่อไทยมี จำนวน ส.ส. มากที่สุด คือ 136 ที่นั่ง รองลงมา คือ พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง จึงเกิดการขับเคี่ยวกันจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคระหว่าง 2 ขั้วการเมือง ในด้านหนึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ (81 ที่นั่ง) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่อีกด้านหนึ่งพรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 251 เสียง และจาก ส.ว. 249 เสียง รวมเป็น 500 เสียง ชนะนายธนาธร ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. 244 เสียง[3] ผลการลงมติดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 19 พรรค จนนักวิชาการและสื่อมวลชนขนาดนั้นคาดการณ์กันว่ารัฐบาลจะต้องเผชิญกับปัญหาการไร้เสถียรภาพ ขาดความเป็นเอกภาพ การต่อรองจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง และความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล จนอยู่ในอำนาจได้ไม่นานมากนัก[4] ในแง่นี้ความอยู่รอดของรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับการประนีประนอมกับพรรคร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 11 พรรคเล็กที่มี ส.ส. พรรคละหนึ่งคน ซึ่งยากที่จะได้รับการจัดสรรตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงในฝ่ายบริหาร
เค้าลาง “แจกกล้วย”
เค้าลางของความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเล็กปรากฏให้เห็นทันทีภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อ 5 พรรคเล็ก อันประกอบด้วย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชาธรรมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และพรรคพลังไทยรักชาติ ประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ขอเป็น “ฝ่ายค้านอิสระ” ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในรัฐสภาแต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมกับ 7 พรรคฝ่ายค้าน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวเปิดใจว่าสาเหตุของการถอนตัวในครั้งนี้ เนื่องจากแกนนำพรรคพลังประชารัฐไม่ให้เกียรติและไม่รักษาคำพูดในเรื่องที่จะให้ตัวแทนของพรรคเล็กเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบายในฝ่ายบริหาร[5] หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเกิดกรณีความไม่พอใจของพรรคเล็กกันอีกครั้งที่ไม่ได้รับการจัดสรรโควตาในคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส.ส. พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเคยนิยามตนเองว่าเป็น “เส้นเลือดใหญ่ของรัฐบาล” เพราะเป็นผู้ประสานให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ผมเป็นคนเลี้ยงลิง เลยต้องเอากล้วยให้ลิงกินตลอดเวลา ขณะนี้เชื่อว่ากินจนอิ่มแล้วน่าจะพอใจได้แล้ว”[6]
ด้านฝ่ายค้านนั้น นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาวิจารณ์ว่าข่าวที่พรรคเล็กข่มขู่กรรโชกทรัพย์ ตบทรัพย์ทางการเมืองมีให้เห็นอยู่ตลอด “ซึ่งประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร เริ่มต้นเป็น “งูเห่า” ลงท้ายเป็นแค่ “ลิงงอแง” อยากได้กล้วย พอได้กล้วยกินอิ่มก็เงียบ รัฐธรรมนูญที่ทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดการเจรจาต่อรอง เป็นใบเสร็จยืนยันว่าการปฏิรูปการเมืองไม่มีอยู่จริง”[7] ภายหลังจากนั้น ศัพท์เรียกและการแสดงออกถึงการ “แจกกล้วย” ก็ถูกใช้เพื่อล้อเลียน เสียดสี และสร้างสีสันให้กับการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เรื่อยมา เช่น กรณีที่ นางสาวกุลวดี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยกรอบแก้วฉาบตาลโตนดของฝากเมืองราชบุรี มาแจกเพื่อนสมาชิกเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจนสร้างความฮือฮาและได้รับฉายาจากสื่อมวลชนเชิงหยอกล้อว่า “ส.ส. แจกกล้วย”[8] กรณีที่ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ นำกล้วยหอมมาให้ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ที่รัฐสภา เนื่องจากฝ่ายหลังประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลหลายครั้ง[9] และกรณีที่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ประกาศลาออกจากหัวหน้าและ ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่กลางสภา เพราะเอือมระอากับพฤติกรรม ส.ส. “งูเห่า” และ “ลิงกินกล้วย” ภายในพรรค[10] เป็นต้น
“แจกกล้วย” ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พ.ศ. 2564
อย่างไรก็ตาม การแจกกล้วยที่เป็นข่าวอื้อฉาวมากที่สุดเกิดขึ้นระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสองครั้ง ครั้งแรก ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อวันที่ 2 กันยายนพ.ศ. 2564 โดยนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวในขณะอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า “ผมขอถือโอกาสนี้ประกาศไปถึงทั่วโลกครับ ในขณะนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่ายเงินให้ ส.ส. 5 ล้านบาท บนชั้น 3 ครับ” ทั้งนี้ก็เพื่อแลกกับการลงมติไว้วางใจให้พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป[11] ขณะที่พลเอกประยุทธ์ และแกนนำพรรคพลังประชารัฐ ได้ยืนยันว่าไม่มีการแจกเงินดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นแต่เพียง ส.ส. เข้าไปในห้องทำงานของนายกรัฐมนตรีเพื่อให้กำลังใจเท่านั้น[12] แม้ท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจะได้รับความไว้วางใจทั้งคณะ ทว่าฝ่ายค้านก็ยังคงติดตามประเด็น “แจกกล้วย 5 ล้านบาท” โดยอาศัยช่องทางตามกฎหมาย เริ่มจากการทำหนังสือยื่นต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เป็นประธาน เช่นเดียวกับ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ก็ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ด้วย[13] ซึ่งผลการสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงพบว่า ไม่มีประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมเพียงพอจะพิสูจน์ได้ว่านายกรัฐมนตรีได้จ่ายเงินให้แก่ ส.ส. เพื่อแลกกับการลงมติตามที่ถูกกล่าวอ้าง[14] ส่วนคณะกรรมาธิการชุดที่พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เป็นประธานนั้น แม้จะแถลงข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องว่ามีหลักฐานทั้งคลิปภาพและเสียง รวมถึงสามารถระบุตัวนักการเมืองในพรรคพลังประชารัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แล้ว แต่ก็ยังไม่มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่อสาธารณชนแต่อย่างใด
“แจกกล้วย” ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พ.ศ. 2565
ข่าวอื้อฉาวครั้งที่สองเกิดขึ้นระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจระหว่าง วันที่ 19-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ในขณะนั้นเสถียรภาพของรัฐบาลค่อนข้างสั่นคลอน เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมปีเดียวกัน พรรคพลังประชารัฐเพิ่งมีมติขับกลุ่มร้อยเอกธรรมนัส กว่า 20 คน ออกจากพรรค จากปัญหาความขัดแย้งและการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี โดยย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่[15] ครั้นเมื่อถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยเอกธรรมนัสได้แตกหักกับพรรคเล็กหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กลุ่ม 16” ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยมีสัญญาใจที่จะลงมติไม่ไว้วางใจ 11 รัฐมนตรีไปในทิศทางเดียวกันกับฝ่ายค้าน ก่อนที่กลุ่ม 16 จะเข้าพูดคุยกับพลเอกประยุทธ์ และเปลี่ยนท่าทีไปให้การสนับสนุนรัฐบาลในภายหลัง จากกรณีนี้ ร้อยเอกธรรมนัส จึงให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “พรรคพวกนี้ 3-4 ปีที่ผ่านมา รับเงินเดือนจากใครจำไว้เลย ผมมีลายเซ็นไว้ทุกอย่าง รับเกิน 3,000 บาท ระวังไว้เถอะ… เดี๋ยวอาจจะมีไลน์หลุดเย็นวันนี้" พร้อมเสริมด้วยว่า การอภิปรายรอบนี้ไม่ได้มีเพียงแค่กล้วย แต่ยังมีการแลกเปลี่ยนยศถาบรรดาศักดิ์ รวมถึงตำแหน่งสำคัญของลูกหลานด้วย[16] ในเวลาต่อมาได้มีการเผยแพร่ภาพจากแอพพลิเคชั่นไลน์หลุดออกมาตามที่ ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวไว้ก่อนหน้านั้น โดยปรากฏภาพและรายชื่อ ส.ส. พรรคเล็ก ประกอบด้วย พรรคพลังชาติไทย พรรคพลังไทยรักไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคพลเมืองไทย พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทยรักธรรม ลงลายมือชื่อรับเงินประจำเดือนมีนาคม 2563 พร้อมแนบหลักฐานการโอนเงินไปยังบุคคลปลายทางชัดเจน เป็นเงิน 100,000 บาท[17]
กรณี “แจก/รับกล้วยเดือนละแสน” ได้ขยายความขัดแย้งระหว่างร้อยเอกธรรมนัส กับพลเอกประยุทธ์ และกลุ่ม 16 มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่ม 16 ได้ออกมาตอบโต้ว่าแม้จะมีการโอนเงินเกิดขึ้นจริง แต่ก็ไม่ใช่การแจกกล้วยให้เงินตามที่เป็นข่าว ทว่าเป็นการหยิบยืมเงินจากร้อยเอกธรรมนัส เพื่อนำไปใช้ลงพื้นที่เท่านั้น[18] สำหรับกรณีนี้ นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ตั้งข้อสังเกตว่าหาก ส.ส. พรรคเล็กรับเงินเดือน เดือนละ 100,000 บาทจริง ก็จะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ที่ระบุว่าหากเจ้าหน้าที่รัฐรับผลประโยชน์ที่คิดเป็นเงินเกิน 3,000 บาท ก็จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นการกู้ยืมเงินจริงก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่อย่างใด[19]
นัยสำคัญต่อการเมืองไทย
ปรากฏการณ์ “แจกกล้วย” ดำรงอยู่ควบคู่กับการเมืองในระบบรัฐสภาของไทยมาอย่างยาวนาน อันส่งผลอย่างสำคัญต่อพัฒนาการประชาธิปไตยของประเทศ ซึ่งสะท้อนนัยสำคัญต่อการเมืองในระบบรัฐสภาและ พรรคการเมือง อย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก ปรากฏการณ์ “แจกกล้วย” แสดงให้เห็นว่า พรรคการเมืองของไทยขาดความเป็นสถาบัน (lack of institutionalization) มีพรรคการเมืองจำนวนมากตั้งขึ้น ยุบรวม และสูญหายไปจากระบบการเมือง ส่งผลให้เมื่อถึงช่วงเวลาของการเลือกตั้ง จึงเป็นการยากที่พรรคการเมืองจะพัฒนานโยบายขึ้นเพื่อดึงดูดคะแนนเสียงจากประชาชน พรรคการเมืองจำนวนมากจึงพึ่งพาตัวบุคคลเป็นหลัก และเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แล้ว ก็ย่อมเป็นเรื่องไม่ยากนักที่นักการเมืองเหล่านี้จะเปลี่ยนขั้วย้ายข้าง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ในแง่นี้ วิธีการ “แจกกล้วย” จึงทำงานได้มีประสิทธิสภาพในระบบที่พรรคการเมืองขาดความเป็นสถาบัน
ประการที่สอง ระบบพรรคการเมือง (party system) ซึ่งหมายถึงจำนวนและขนาดของพรรคในระบบการเมือง เป็นผลมาจากการออกแบบระบบเลือกตั้งด้วยระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปั่นส่วนผสม (MMA) ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่มุ่งหมายให้เกิดการกระจายตัวของพรรคการเมืองจำนวนมาก จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะมีอำนาจต่อรองทางการเมืองสูงในการเข้าร่วมรัฐบาล ในกรณีของพรรคการเมืองขนาดกลางนั้น มีจำนวน ส.ส. มากพอที่จะได้รับโควตารัฐมนตรีและผลักดันนโยบายในฝ่ายบริหาร แต่สำหรับพรรคเล็กเสียงเดียวแล้ว ตำแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหารย่อมอยู่สูงเกินกว่าที่พรรคเหล่านั้นพึงได้รับ และในเมื่อไม่มีตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นของตนเองให้ต้องพิทักษ์รักษาไว้ในการลงมติแต่ละครั้ง ความสามารถในการเรียกรับ “กล้วย” จึงอาจถือเป็นดอกผลอย่างหนึ่งซึ่งมาจากอำนาจต่อรองของตนเอง
ประการสุดท้าย รัฐบาลผสม 19 พรรค ย่อมก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล เพราะนอกจากจะต้องประนีประนอมประสานประโยชน์กับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ยังต้องระแวดระวังมิให้พรรคร่วมรัฐบาลถอยตัวออกห่างจากการสนับสนุนอีกด้วย การทำงานในระบบรัฐสภาจึงเต็มไปด้วยเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์และอำนาจของนักการเมืองแบบเข้มข้น จริงอยู่การเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่การต่อรองมากเสียจนกระทั่งละเลยผลประโยชน์ของประชาชนก็ย่อมทำให้ระบบรัฐสภาและพรรคการเมืองที่อ่อนแออยู่แล้ว สูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชน และพฤติกรรมของนักการเมืองนี้เองมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพเหมือนเช่นในอดีต
บรรณานุกรม
“5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ.” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/382848>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
The Standard. (2 กันยายน 2564). “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.” The Standard: YouTube Channel [วีดีโอ]. เข้าถึงจาก <https://youtu.be/SWflp3bXybQ>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน.” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/669073>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล.” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
“ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์.” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
“ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ.” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”.” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค.” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน.” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/115425>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/38653>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
“‘มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย'.” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565). เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
“ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ.” Voice Online (26 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
“ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน.” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/523470>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“รัฐบาล 19 พรรค: เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์.” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
โรม บุนนาค. (3 มกราคม 2561). “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!.” ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000000460>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
“ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
“ส.ส.แจกกล้วย.” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/68171>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
“สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร.” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/votepm62/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี.” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก.” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
“อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง.” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
อ้างอิง
[1] “ย้อนชนวน 6 ต.ค.19 : สภาฯค้าน'ถนอม'กลับไทย - 'เสนีย์'ลั่นไม่เชื่อมี รปห.-โชว์ลาออกกลางสภาฯ,” Voice Online (26 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/cFlavnoTw>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
[2] โรม บุนนาค, “ฉายานายกรัฐมนตรี! ตลกหลวง ฤาษีเลี้ยงลิง นายกฯลิ้นทอง พระเตมีย์ใบ้ เคยเป็นผู้นำไทยมาแล้วทั้งนั้น!!,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 มกราคม 2561), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/onlinesection/detail/
9610000000460>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
[3] “สรุปผลเลือกนายกฯ 500 ต่อ 244 เสียง ดูชัดๆ ใครโหวตใคร,” workpoint TODAY (6 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/votepm62/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
[4] “ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” จาก 19 พรรคการเมือง มากสุดในประวัติศาสตร์,” workpoint TODAY (9 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/government-risk-factors-gen-prayut/>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “โพลชี้รัฐบาล19พรรค อายุสั้นขัดแย้งกันเอง!,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (16 มิถุนายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/38653>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565; “รัฐบาล 19 พรรค : เรือเล็กบรรทุกหนักฝ่าคลื่นยักษ์,” ผู้จัดการออนไลน์ (8 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/daily/detail/9620000064949>. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.
[5] “5 ส.ส.พรรคเล็กประกาศเป็นฝ่ายค้านอิสระ,” คมชัดลึกออนไลน์ (8 สิงหาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/382848>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[6] “‘ธรรมนัส’ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงลิง ยันเคลียร์ใจพิเชษฐ์ วืดโควต้า กมธ.ย้ำไม่แยกวงรัฐบาล,” มติชนออนไลน์ (7 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/news_1659853>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[7] “อนุสรณ์ อัด พปชร.-พรรคเล็ก อย่าตบจูบบ่อย เริ่มเป็นงูเห่า จบแค่ลิงงอแง,” ไทยรัฐออนไลน์ (8 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1655893>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[8] “ส.ส.แจกกล้วย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (9 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/68171>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[9] ““สิระ” แจกกล้วย “พี่เต้” ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล ตะเพิดไปแล้วอย่ากลับมาอีก,” ผู้จัดการออนไลน์ (26 พฤศจิกายน 2563), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000121689>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[10] “'มิ่งขวัญ'ลั่นกลางสภา ลาออก ส.ส.'เศรษฐกิจใหม่'เผยเพิ่งเข้าใจแสลง'งูเห่า-ลิงกินกล้วย',” สำนักข่าวอิศรา (17 กุมภาพันธ์ 2565), เข้าถึงจาก <https://www.isranews.org/article/isranews-news/106656-isranews_news-389.html>. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565.
[11] The Standard, “นาทีชุลมุน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส. เพื่อไทย ตะโกนกลางสภา นายกฯ แจกเงิน 5 ล้านบาทให้ ส.ส.,” The Standard: YouTube Channel [วิดีโอ] (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://youtu.be/SWflp3bXybQ>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[12] “เพื่อไทยเจ็บหนัก! 'บิ๊กตู่' เชือดนิ่มๆ 'ผมไม่ทำถุงขนมอยู่แล้ว' ไม่บ้าแจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (2 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/115425>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565; ““สันติ” โต้ไม่มีแจกกล้วย 5 ล้าน ไร้ปัญหาแก๊ง 4 ช. ยัน ส.ส.พปชร.หนุนนายกฯ ทุกคนรักกันดี,” ผู้จัดการออนไลน์ (3 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9640000087341>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[13] ““ฝ่ายค้าน” ยืมมือ “สภาฯ” ขยายปม “แจก5ล้าน” เขย่า “รัฐบาล”,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (16 กันยายน 2564), เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/politics/960385>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[14] “ผลสอบนายกฯ แจกเงิน ส.ส. 5 ล้าน พยานหลักฐานไม่พอ,” ไทยพีบีเอส ออนไลน์ (5 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.thaipbs.or.th/news/content/311354>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[15] “พปชร.มีมติขับ “ธรรมนัส” พร้อม 21 ส.ส.พ้นพรรค,” ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2565), เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9650000006175>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[16] “ไลน์แจกกล้วยหลุด! ‘ธรรมนัส’ตัดหางพรรคเล็ก/เชื่อผลโหวต11รมต.ผ่านฉลุย,” ไทยโพสต์ออนไลน์ (23 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/one-newspaper/186151/>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[17] “ยั๊วพรรคเล็ก “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” โหวตตามฝ่ายค้าน,” คมชัดลึกออนไลน์ (22 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.komchadluek.net/news/523470>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[18] ““พีระวิทย์” อ้าง 1 แสนบาทแค่ยืม”ธรรมนัส” ไว้ลงพื้นที่ยังไม่คืน,” PPTV online (24 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/177018>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.
[19] “ซวยแล้ว! ป.ป.ช.เก็บข้อมูลแจกกล้วย'พรรคเล็ก'แลกโหวต ถ้าผิดจริงอาจเข้าข่ายรับสินบน,” แนวหน้า ออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2565), เข้าถึงจาก <https://www.naewna.com/politic/669073>. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.