ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้ง อบจ. 2563"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต '''ผู้ทร..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้ง อบจ. 2563'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้ง อบจ. 2563'''</span> | ||
หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมานานหลายปี | หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมานานหลายปี การเลือกตั้งตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สมาชิกสภา อบจ.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นับเป็นการเลือกตั้งตำแหน่งในระดับท้องถิ่นครั้งแรกที่จัดให้มีขึ้นหลังรัฐประหารข้างต้น เดิมทีมีข่าวว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นการชิมลางก่อนที่จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ แต่อาจเป็นเพราะเห็นว่าการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก่อนจะทำให้การควบคุมการเลือกตั้งระดับชาติทำได้ยาก โอกาสแพ้จะมีมาก เพราะปล่อยให้ฝ่ายค้านมีโอกาสเตรียมความพร้อมรับมือการเลือกตั้งระดับชาติที่จะมาถึง | ||
การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนไม่น้อย ทั้งฝ่ายที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. และฝ่ายผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ดังปรากฏว่าในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง นายก อบจ. เป็น จำนวน 335 คน ขาดคุณสมบัติ ถูกตัดสิทธิ์ไป 4 คน เหลือ 331 คน โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน คือ 76 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. จำนวน 8,186 คน ขาดคุณสมบัติถูกตัดสิทธิ์ไป 116 คน เหลือ 8,070 คน[[#_ftn1|[1]]] โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน จำนวน 2,312 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานครที่ไม่มี อบจ.[[#_ftn2|[2]]] | การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนไม่น้อย ทั้งฝ่ายที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. และฝ่ายผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ดังปรากฏว่าในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง นายก อบจ. เป็น จำนวน 335 คน ขาดคุณสมบัติ ถูกตัดสิทธิ์ไป 4 คน เหลือ 331 คน โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน คือ 76 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. จำนวน 8,186 คน ขาดคุณสมบัติถูกตัดสิทธิ์ไป 116 คน เหลือ 8,070 คน[[#_ftn1|[1]]] โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน จำนวน 2,312 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานครที่ไม่มี อบจ.[[#_ftn2|[2]]] | ||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
ในส่วนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึง 29,016,536 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 46,610,759 คน หรือเท่ากับ ร้อยละ 62.25[[#_ftn3|[3]]] จำนวนร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้นับว่าพอ ๆ กับการเลือกตั้งครั้งก่อน ต่างกันเพียงจุดทศนิยมเท่านั้น (พ.ศ. 2556 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อบจ. เท่ากับ 62.16) เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองบางคนมองว่า การจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ราวกับว่ารัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ประสงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมากนัก จึงจัดในช่วงก่อนถึงวันหยุดปีใหม่ราว 10 วัน และก็ไม่มีมาตรการออกเสียงล่วงหน้าหรืออกเสียงนอกเขตเลือกตั้ง อันจะทำให้คนทำงานหรือนักศึกษาที่อาศัยอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ดังนั้น บุคคลเหล่านั้นอาจเลือกไม่เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านในช่วงวันหยุดยาวตอนปีใหม่[[#_ftn4|[4]]] | ในส่วนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึง 29,016,536 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 46,610,759 คน หรือเท่ากับ ร้อยละ 62.25[[#_ftn3|[3]]] จำนวนร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้นับว่าพอ ๆ กับการเลือกตั้งครั้งก่อน ต่างกันเพียงจุดทศนิยมเท่านั้น (พ.ศ. 2556 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อบจ. เท่ากับ 62.16) เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองบางคนมองว่า การจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ราวกับว่ารัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ประสงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมากนัก จึงจัดในช่วงก่อนถึงวันหยุดปีใหม่ราว 10 วัน และก็ไม่มีมาตรการออกเสียงล่วงหน้าหรืออกเสียงนอกเขตเลือกตั้ง อันจะทำให้คนทำงานหรือนักศึกษาที่อาศัยอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ดังนั้น บุคคลเหล่านั้นอาจเลือกไม่เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านในช่วงวันหยุดยาวตอนปีใหม่[[#_ftn4|[4]]] | ||
การเลือกตั้งท้องถิ่นคราวนี้ | การเลือกตั้งท้องถิ่นคราวนี้ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองมองว่าเป็นความพ่ายแพ้ของพรรคก้าวไกลหรืออดีต[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]]ที่มี '''“คณะก้าวหน้า”''' เป็นตัวแทน เป็นชัยชนะของพรรคการเมืองและนักการเมืองแบบเก่า กล่าวคือ พรรคก้าวหน้าในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้ประกาศนโยบายที่จะลงเล่นการเมืองท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพื่อเปลี่ยนการเมืองท้องถิ่นที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าพ่อเจ้าแม่ในระบบอุปถัมภ์ มีการทุจริตคอร์รัปชั่นมาก ให้เป็นการเมืองแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ เป็นประชาธิปไตย นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงด้วยการชูอุดมการณ์และเน้นนโยบาย '''“ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ท้วงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น”'''[[#_ftn5|[5]]] | ||
ในการแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งครั้งนี้ คณะก้าวหน้าได้ส่งผู้สมัครของคณะลงชิงตำแหน่ง นายก อบจ. ใน 42 จังหวัด 42 คน และส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. อีก จำนวน 1,000 คน ใน 53 จังหวัด แต่ผลการเลือกตั้งไม่ได้ดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ คณะก้าวหน้าไม่ประสบความสำเร็จในการชิงตำแหน่ง นายก อบจ. แม้แต่จังหวัดเดียว ในส่วนของตำแห่ง สมาชิกสภา อบจ. คาดว่าจะได้รับเลือกตั้งประมาณ 100 ที่ ก็ได้รับเลือกตั้งเพียง 55 | ในการแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งครั้งนี้ คณะก้าวหน้าได้ส่งผู้สมัครของคณะลงชิงตำแหน่ง นายก อบจ. ใน 42 จังหวัด 42 คน และส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. อีก จำนวน 1,000 คน ใน 53 จังหวัด แต่ผลการเลือกตั้งไม่ได้ดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ คณะก้าวหน้าไม่ประสบความสำเร็จในการชิงตำแหน่ง นายก อบจ. แม้แต่จังหวัดเดียว ในส่วนของตำแห่ง สมาชิกสภา อบจ. คาดว่าจะได้รับเลือกตั้งประมาณ 100 ที่ ก็ได้รับเลือกตั้งเพียง 55 ที่ เท่านั้น ใน 18 จังหวัด จังหวัดที่ได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 10 ที่ ใน 2 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา และอุดรธานี[[#_ftn6|[6]]] | ||
ส่วนสาเหตุที่คณะก้าวหน้าพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นเพราะการเมืองท้องถิ่นไม่เหมือนกับการเมืองระดับชาติที่แข่งขันกันในเรื่องกว้าง ๆ ของประเทศ เช่นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รัฐสวัสดิการ แต่การเมืองท้องถิ่นเป็นการเมืองที่นักการเมืองจะต้องอยู่กับปัญหาในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ''“ปัญหาที่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันเรามาก ๆ ขยะเก็บหรือเปล่า ถนนมีไหม น้ำประปาเป็นอย่างไร”''[[#_ftn7|[7]]] ซึ่งคนกรุงเทพฯไม่เข้าใจ ''“การเมืองแบบเก่าเป็นการเมืองแบบจักรกลการเมืองที่ยังมีเรื่องของ หัวคะแนน ฐานเสียง เรื่องของนักเลือกตั้ง เรื่องของบ้านใหญ่ และตระกูลการเมืองต่าง ๆ”''[[#_ftn8|[8]]] | ส่วนสาเหตุที่คณะก้าวหน้าพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นเพราะการเมืองท้องถิ่นไม่เหมือนกับการเมืองระดับชาติที่แข่งขันกันในเรื่องกว้าง ๆ ของประเทศ เช่นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รัฐสวัสดิการ แต่การเมืองท้องถิ่นเป็นการเมืองที่นักการเมืองจะต้องอยู่กับปัญหาในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ''“ปัญหาที่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันเรามาก ๆ ขยะเก็บหรือเปล่า ถนนมีไหม น้ำประปาเป็นอย่างไร”''[[#_ftn7|[7]]] ซึ่งคนกรุงเทพฯไม่เข้าใจ ''“การเมืองแบบเก่าเป็นการเมืองแบบจักรกลการเมืองที่ยังมีเรื่องของ หัวคะแนน ฐานเสียง เรื่องของนักเลือกตั้ง เรื่องของบ้านใหญ่ และตระกูลการเมืองต่าง ๆ”''[[#_ftn8|[8]]] | ||
นอกจากนี้ ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบจ. ก็ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งระดับชาติ คือ เป็นระบบเสียงข้างมากธรรมดา 1 เขต 1 คน[[#_ftn9|[9]]] เป็นระบบผู้ชนะได้ไปทั้งหมด ผู้แพ้เสียทั้งหมด แม้ผู้แพ้จะแพ้เพียงคะแนนเดียวก็ตาม | นอกจากนี้ ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบจ. ก็ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งระดับชาติ คือ เป็นระบบเสียงข้างมากธรรมดา 1 เขต 1 คน[[#_ftn9|[9]]] เป็นระบบผู้ชนะได้ไปทั้งหมด ผู้แพ้เสียทั้งหมด แม้ผู้แพ้จะแพ้เพียงคะแนนเดียวก็ตาม ในขณะที่การเลือกตั้งระดับชาติเป็นระบบสัดส่วน จัดสรรที่นั่งตามระบบสัดส่วน แม้จะมี[[การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง|การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต]] 1 เขต 1 คนก็ตาม แต่ในขั้นสุดท้ายให้คำนวณจากคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจากประชาชนผู้ออกเสียงทั้งประเทศเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรให้แก่พรรคการเมืองแต่ละพรรค[[#_ftn10|[10]]] | ||
ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชนและสังคม เพราะทำให้ผู้ปกครองกับประชาชนมีความผูกพันเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือผู้ปกครองเป็นบุคคลที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา เป็นบุคคลที่ประชาชนคาดหวังให้ทำงานรับใช้ชุมชนและสังคม ในขณะที่ผู้ปกครองที่ได้รับเลือกตั้งนั้นย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประชาชนในการทำงานรับใช้ชุมชนหรือสังคม ทำให้บุคคลในชุมชนในสังคมเกิดความเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาเพราะมีเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนั้นการเลือกตั้งยังทำให้ระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรม | ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชนและสังคม เพราะทำให้ผู้ปกครองกับประชาชนมีความผูกพันเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือผู้ปกครองเป็นบุคคลที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา เป็นบุคคลที่ประชาชนคาดหวังให้ทำงานรับใช้ชุมชนและสังคม ในขณะที่ผู้ปกครองที่ได้รับเลือกตั้งนั้นย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประชาชนในการทำงานรับใช้ชุมชนหรือสังคม ทำให้บุคคลในชุมชนในสังคมเกิดความเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาเพราะมีเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนั้นการเลือกตั้งยังทำให้ระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรม เพราะผู้ปกครองได้ตำแหน่งจากการตัดสินใจเลือกของประชาชนคือประชาชนสนับสนุน เป็นการสะท้อนหลักการที่ว่าประชาชนเป็นเจ้าของหรือเป็นที่มาของอำนาจการปกครองของรัฐบาล | ||
ตรงกันข้าม ในมุมมองของนักการทหารมักมองว่า การเลือกตั้งทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน | ตรงกันข้าม ในมุมมองของนักการทหารมักมองว่า การเลือกตั้งทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน ในสังคมเกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย ทะเลาะเบาะแว้งโดยไม่จำเป็น เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์แบบไม่สร้างสรรค์ การทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารงานติดขัด ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น จึงยอมรับการเมืองระบบเลือกตั้งแบบมีเงื่อนไข ถ้าการเมืองระบอบประชาธิปไตยไม่ราบรื่น ก็จำเป็นต้องใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ห้ามการรวมกลุ่ม ระงับการเลือกตั้ง ดังกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัย จอมพลพล[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์_(รศ.นรนิติ_เศรษฐบุตร)|สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ [[20_ตุลาคม_พ.ศ._2501]] เป็นต้นมา ไม่เพียงระงับการเลือกตั้งระดับชาติ แต่ยังระงับการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นอีกด้วย การปฏิบัติทำนองนี้ต่อเนื่องมาถึงสมัย จอมพล[[ถนอม_กิตติขจร_(รศ.นรนิติ_เศรษฐบุตร)|ถนอม กิตติขจร]] ที่เข้ามาสืบทอดอำนาจต่อจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในตอนปลาย ปี 2506 ถึงต้น ปี 2512 จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งในระดับชาติ โดยที่การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไม่มีความคืบหน้า แต่แล้วรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร ภายใต้ระบบที่มีการเลือกตั้งดำเนินไปได้ 2 ปีกว่า ก็ต้องยุติลงด้วยการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 อีกครั้ง และนำการเมืองไทยกลับเข้าสู่[[ระบอบอำมาตยาธิปไตย]]เช่นเดิม จนกระทั่งมาเผชิญกับการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาในตอนต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และสูญเสียอำนาจใน วันที่ 14 ตุลาคม พร้อมกับถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ | ||
การเมืองไทยหลังจากวันนั้นถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่ายังไม่ลงตัว การโต้แย้งกันในเรื่องบทบาทและอำนาจของวุฒิสภา เงื่อนไขการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ ยังหาข้อยุติไม่ได้[[#_ftn11|[11]]] | การเมืองไทยหลังจากวันนั้นถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่ายังไม่ลงตัว การโต้แย้งกันในเรื่องบทบาทและอำนาจของวุฒิสภา เงื่อนไขการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ ยังหาข้อยุติไม่ได้[[#_ftn11|[11]]] แต่เหนือสิ่งอื่นใดระบบการปกครองท้องถิ่นก็ยังไม่ลงตัวและยังไม่เข้มแข็งเช่นกัน โดยเฉพาะบทบาทอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไม่ชัดเจน ทำงานซ้ำซ้อนและไม่ประสานกับท้องถิ่นรูปเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล[[#_ftn12|[12]]] | ||
การเลือกตั้งผู้บริหาร อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. แม้จะทำให้การเมืองไทยมีพลวัตมากขึ้นและดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ทั้งหมดนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน อบจ. ทั่วประเทศไทยดีขึ้นหรือไม่ ย่อมขึ้นกับสำนึกและความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และประชาชนที่จะตระหนักถึงปัญหาและผลประโยชน์ส่วนรวม รู้จักพัฒนาศักยภาพในการทำหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความอยู่ดีกินดีร่วมกันของทุกคนในสังคม | การเลือกตั้งผู้บริหาร อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. แม้จะทำให้การเมืองไทยมีพลวัตมากขึ้นและดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ทั้งหมดนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน อบจ. ทั่วประเทศไทยดีขึ้นหรือไม่ ย่อมขึ้นกับสำนึกและความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และประชาชนที่จะตระหนักถึงปัญหาและผลประโยชน์ส่วนรวม รู้จักพัฒนาศักยภาพในการทำหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความอยู่ดีกินดีร่วมกันของทุกคนในสังคม | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
[[#_ftnref8|[8]]] เพิ่งอ้าง | [[#_ftnref8|[8]]] เพิ่งอ้าง | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (2)) การกำหนดให้สมาชิกสภา อบจ. และนายก อบจ. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546) มาตรา 9 และ 35 ตามลำดับ | [[#_ftnref9|[9]]] การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (2)) การกำหนดให้สมาชิกสภา อบจ. และนายก อบจ. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546) มาตรา 9 และ 35 ตามลำดับ | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 91 | [[#_ftnref10|[10]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 91 | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การเลือกตั้ง]][[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]][[Category:การปกครองท้องถิ่น]] | | ||
[[Category:การเลือกตั้ง]][[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]][[Category:การปกครองท้องถิ่น]][[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:32, 10 สิงหาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู
การเลือกตั้ง อบจ. 2563
หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยว่างเว้นจากการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมานานหลายปี การเลือกตั้งตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สมาชิกสภา อบจ.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นับเป็นการเลือกตั้งตำแหน่งในระดับท้องถิ่นครั้งแรกที่จัดให้มีขึ้นหลังรัฐประหารข้างต้น เดิมทีมีข่าวว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นการชิมลางก่อนที่จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ แต่อาจเป็นเพราะเห็นว่าการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก่อนจะทำให้การควบคุมการเลือกตั้งระดับชาติทำได้ยาก โอกาสแพ้จะมีมาก เพราะปล่อยให้ฝ่ายค้านมีโอกาสเตรียมความพร้อมรับมือการเลือกตั้งระดับชาติที่จะมาถึง
การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนไม่น้อย ทั้งฝ่ายที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น นายก อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. และฝ่ายผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ดังปรากฏว่าในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง นายก อบจ. เป็น จำนวน 335 คน ขาดคุณสมบัติ ถูกตัดสิทธิ์ไป 4 คน เหลือ 331 คน โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน คือ 76 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. จำนวน 8,186 คน ขาดคุณสมบัติถูกตัดสิทธิ์ไป 116 คน เหลือ 8,070 คน[1] โดยตำแหน่งที่เปิดให้มีการแข่งขัน จำนวน 2,312 ตำแหน่ง ใน 76 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานครที่ไม่มี อบจ.[2]
ในส่วนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึง 29,016,536 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 46,610,759 คน หรือเท่ากับ ร้อยละ 62.25[3] จำนวนร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้นับว่าพอ ๆ กับการเลือกตั้งครั้งก่อน ต่างกันเพียงจุดทศนิยมเท่านั้น (พ.ศ. 2556 ร้อยละของผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อบจ. เท่ากับ 62.16) เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองบางคนมองว่า การจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ราวกับว่ารัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ประสงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันมากนัก จึงจัดในช่วงก่อนถึงวันหยุดปีใหม่ราว 10 วัน และก็ไม่มีมาตรการออกเสียงล่วงหน้าหรืออกเสียงนอกเขตเลือกตั้ง อันจะทำให้คนทำงานหรือนักศึกษาที่อาศัยอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ดังนั้น บุคคลเหล่านั้นอาจเลือกไม่เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านในช่วงวันหยุดยาวตอนปีใหม่[4]
การเลือกตั้งท้องถิ่นคราวนี้ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองมองว่าเป็นความพ่ายแพ้ของพรรคก้าวไกลหรืออดีตพรรคอนาคตใหม่ที่มี “คณะก้าวหน้า” เป็นตัวแทน เป็นชัยชนะของพรรคการเมืองและนักการเมืองแบบเก่า กล่าวคือ พรรคก้าวหน้าในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้ประกาศนโยบายที่จะลงเล่นการเมืองท้องถิ่นอย่างจริงจัง เพื่อเปลี่ยนการเมืองท้องถิ่นที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าพ่อเจ้าแม่ในระบบอุปถัมภ์ มีการทุจริตคอร์รัปชั่นมาก ให้เป็นการเมืองแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ เป็นประชาธิปไตย นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงด้วยการชูอุดมการณ์และเน้นนโยบาย “ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ ท้วงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น”[5]
ในการแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งครั้งนี้ คณะก้าวหน้าได้ส่งผู้สมัครของคณะลงชิงตำแหน่ง นายก อบจ. ใน 42 จังหวัด 42 คน และส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่ง สมาชิกสภา อบจ. อีก จำนวน 1,000 คน ใน 53 จังหวัด แต่ผลการเลือกตั้งไม่ได้ดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ คณะก้าวหน้าไม่ประสบความสำเร็จในการชิงตำแหน่ง นายก อบจ. แม้แต่จังหวัดเดียว ในส่วนของตำแห่ง สมาชิกสภา อบจ. คาดว่าจะได้รับเลือกตั้งประมาณ 100 ที่ ก็ได้รับเลือกตั้งเพียง 55 ที่ เท่านั้น ใน 18 จังหวัด จังหวัดที่ได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 10 ที่ ใน 2 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา และอุดรธานี[6]
ส่วนสาเหตุที่คณะก้าวหน้าพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นเพราะการเมืองท้องถิ่นไม่เหมือนกับการเมืองระดับชาติที่แข่งขันกันในเรื่องกว้าง ๆ ของประเทศ เช่นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รัฐสวัสดิการ แต่การเมืองท้องถิ่นเป็นการเมืองที่นักการเมืองจะต้องอยู่กับปัญหาในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน “ปัญหาที่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันเรามาก ๆ ขยะเก็บหรือเปล่า ถนนมีไหม น้ำประปาเป็นอย่างไร”[7] ซึ่งคนกรุงเทพฯไม่เข้าใจ “การเมืองแบบเก่าเป็นการเมืองแบบจักรกลการเมืองที่ยังมีเรื่องของ หัวคะแนน ฐานเสียง เรื่องของนักเลือกตั้ง เรื่องของบ้านใหญ่ และตระกูลการเมืองต่าง ๆ”[8]
นอกจากนี้ ระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบจ. ก็ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งระดับชาติ คือ เป็นระบบเสียงข้างมากธรรมดา 1 เขต 1 คน[9] เป็นระบบผู้ชนะได้ไปทั้งหมด ผู้แพ้เสียทั้งหมด แม้ผู้แพ้จะแพ้เพียงคะแนนเดียวก็ตาม ในขณะที่การเลือกตั้งระดับชาติเป็นระบบสัดส่วน จัดสรรที่นั่งตามระบบสัดส่วน แม้จะมีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 1 เขต 1 คนก็ตาม แต่ในขั้นสุดท้ายให้คำนวณจากคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจากประชาชนผู้ออกเสียงทั้งประเทศเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรให้แก่พรรคการเมืองแต่ละพรรค[10]
ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชุมชนและสังคม เพราะทำให้ผู้ปกครองกับประชาชนมีความผูกพันเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือผู้ปกครองเป็นบุคคลที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมา เป็นบุคคลที่ประชาชนคาดหวังให้ทำงานรับใช้ชุมชนและสังคม ในขณะที่ผู้ปกครองที่ได้รับเลือกตั้งนั้นย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประชาชนในการทำงานรับใช้ชุมชนหรือสังคม ทำให้บุคคลในชุมชนในสังคมเกิดความเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาเพราะมีเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนั้นการเลือกตั้งยังทำให้ระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรม เพราะผู้ปกครองได้ตำแหน่งจากการตัดสินใจเลือกของประชาชนคือประชาชนสนับสนุน เป็นการสะท้อนหลักการที่ว่าประชาชนเป็นเจ้าของหรือเป็นที่มาของอำนาจการปกครองของรัฐบาล
ตรงกันข้าม ในมุมมองของนักการทหารมักมองว่า การเลือกตั้งทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน ในสังคมเกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย ทะเลาะเบาะแว้งโดยไม่จำเป็น เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์แบบไม่สร้างสรรค์ การทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารงานติดขัด ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น จึงยอมรับการเมืองระบบเลือกตั้งแบบมีเงื่อนไข ถ้าการเมืองระบอบประชาธิปไตยไม่ราบรื่น ก็จำเป็นต้องใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ห้ามการรวมกลุ่ม ระงับการเลือกตั้ง ดังกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัย จอมพลพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หลังการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20_ตุลาคม_พ.ศ._2501 เป็นต้นมา ไม่เพียงระงับการเลือกตั้งระดับชาติ แต่ยังระงับการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นอีกด้วย การปฏิบัติทำนองนี้ต่อเนื่องมาถึงสมัย จอมพลถนอม กิตติขจร ที่เข้ามาสืบทอดอำนาจต่อจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในตอนปลาย ปี 2506 ถึงต้น ปี 2512 จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งในระดับชาติ โดยที่การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไม่มีความคืบหน้า แต่แล้วรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร ภายใต้ระบบที่มีการเลือกตั้งดำเนินไปได้ 2 ปีกว่า ก็ต้องยุติลงด้วยการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 อีกครั้ง และนำการเมืองไทยกลับเข้าสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตยเช่นเดิม จนกระทั่งมาเผชิญกับการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาในตอนต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และสูญเสียอำนาจใน วันที่ 14 ตุลาคม พร้อมกับถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ
การเมืองไทยหลังจากวันนั้นถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่ายังไม่ลงตัว การโต้แย้งกันในเรื่องบทบาทและอำนาจของวุฒิสภา เงื่อนไขการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ ยังหาข้อยุติไม่ได้[11] แต่เหนือสิ่งอื่นใดระบบการปกครองท้องถิ่นก็ยังไม่ลงตัวและยังไม่เข้มแข็งเช่นกัน โดยเฉพาะบทบาทอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไม่ชัดเจน ทำงานซ้ำซ้อนและไม่ประสานกับท้องถิ่นรูปเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล[12]
การเลือกตั้งผู้บริหาร อบจ. และ สมาชิกสภา อบจ. แม้จะทำให้การเมืองไทยมีพลวัตมากขึ้นและดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ทั้งหมดนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน อบจ. ทั่วประเทศไทยดีขึ้นหรือไม่ ย่อมขึ้นกับสำนึกและความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และประชาชนที่จะตระหนักถึงปัญหาและผลประโยชน์ส่วนรวม รู้จักพัฒนาศักยภาพในการทำหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความอยู่ดีกินดีร่วมกันของทุกคนในสังคม
อ้างอิง
[1]สถาบันพระปกเกล้า “รายงานสรุปข้อค้นพบและสถิติสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2563” หน้า 5
[2] เพิ่งอ้าง หน้า 43-47
[3] จำนวนร้อยละของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.และสมาชิกสภา อบจ.ปี 2551 เท่ากับ 64.6 ปี 2554 เท่ากับ 53.54 สถาบันพระปกเกล้า “สถิติและข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ.” 2563 หน้า 4
[4] ณัฐกร วิทิตานนท์ “การเลือกตั้ง อบจ.63 บอกอะไรเรา” 30 ธันวาคม 2563 the101.world (19/06/2564)
[5] “ปิยบุตร ขับเคลื่อน 2 ขา ก้าวหน้าชนะเลือกตั้งท้องถิ่น ก้าวไกลปักธงรัฐบาลพรรคเดียว” ประชาชาติธุรกิจ 23 พฤศจิกายน 2563 prachachat.net (19/06/2564)
[6] สถาบันพระปกเกล้า “รายงานสรุปข้อค้นพบและสถิติสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2563” หน้า 56-57
[7] “นักรัฐศาสตร์วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง อบจ.63..ทำไมการเมืองเก่าคว้าชัย การเมืองใหม่แพ้ราบคาบ” (สัมภาษณ์ ผ.ศ. ดร. วีระ หวังสัจจะโชค มหาวิทยาลัยนเรศวร) มติชนออนไลน์ 21 ธันวาคม 2563 matichon.co.th (19/06/2564)
[8] เพิ่งอ้าง
[9] การเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (2)) การกำหนดให้สมาชิกสภา อบจ. และนายก อบจ. ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546) มาตรา 9 และ 35 ตามลำดับ
[10] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 91
[11] ปัจจุบันรัฐสภากำลังอยู่ในสมัยประชุมที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของสถาบันการเมืองฝ่ายต่างๆ รวมทั้งองค์กรอิสระ
[12] ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล ข้อเสนอในการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย (กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า 2559) หน้า73-76