ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Free youth"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
 
 


          '''กลุ่มเยาวชนปลดแอก''' หรือ '''Free Youth''' เป็นชื่อของหนึ่งในขบวนการนักศึกษาที่มีบทบาทต่อการชุมนุมในประเทศไทย ปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในบรรดาขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้กดไลค์แฟนเพจเฟซบุ๊คในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์ถึงสามแสนกว่าคน และมีสมาชิกในกลุ่มเทเรแกรมกว่าหนึ่งแสนบัญชี
          '''กลุ่มเยาวชนปลดแอก''' หรือ '''Free Youth''' เป็นชื่อของหนึ่งในขบวนการนักศึกษาที่มีบทบาทต่อการชุมนุมในประเทศไทย ปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในบรรดาขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้กดไลค์แฟนเพจเฟซบุ๊คในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์ถึงสามแสนกว่าคน และมีสมาชิกในกลุ่มเทเรแกรมกว่าหนึ่งแสนบัญชี


          โดยตลอดระยะเวลาการชุมนุมใน ปี 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมนุมหลายต่อหลายครั้ง และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของขบวนการนักศึกษาอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกราฟฟิกที่สวยงาม ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารของกลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มขบวนการนักเรียน นิสิตนักศึกษาในช่วงหนึ่งของการชุมนุมใน ปี 2563 โดย'''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 16 สิงหาคม 2563 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ใน วันที่ 15 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่แยกปทุมวันใน วันที่ 16 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวใน วันที่ 17 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิใน วันที่ 18 ตุลาคม 2563 รวมไปถึงการชุมนุมที่สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยใน วันที่ 26 ตุลาคม 2563
          โดยตลอดระยะเวลาการชุมนุมใน ปี 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมนุมหลายต่อหลายครั้ง และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของขบวนการนักศึกษาอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกราฟฟิกที่สวยงาม ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารของกลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มขบวนการนักเรียน นิสิตนักศึกษาในช่วงหนึ่งของการชุมนุมใน ปี 2563 โดย'''กลุ่มเยาวชนปลดแอก'''ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 16 สิงหาคม 2563 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ใน วันที่ 15 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่แยกปทุมวันใน วันที่ 16 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวใน วันที่ 17 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิใน วันที่ 18 ตุลาคม 2563 รวมไปถึงการชุมนุมที่สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยใน วันที่ 26 ตุลาคม 2563
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
= '''บทบาทของเยาวชนปลดแอก''' =
= '''บทบาทของเยาวชนปลดแอก''' =


          กลุ่มเยาวชนปลดแอกปรากฎตัวครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีความพยายามผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างการเกณฑ์ทหาร ทว่าจากการไม่พอใจทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอก[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม '''“เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง'''[[#_ftn1|[1]]]'''”''' เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่เป็นผู้ริเริ่มจนมีการนัดรวมตัวกันที่สกายวอล์กหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทางเพจกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้ลงรูปแสดงตัวว่ามีการเข้าร่วมชุมนุม แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นกลุ่มแกนนำจัดการชุมนุมที่ชัดเจนนัก
          กลุ่มเยาวชนปลดแอกปรากฎตัวครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีความพยายามผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างการเกณฑ์ทหาร ทว่าจากการไม่พอใจทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอก[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม '''“เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง'''[[#_ftn1|[1]]]'''”''' เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่เป็นผู้ริเริ่มจนมีการนัดรวมตัวกันที่สกายวอล์กหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทางเพจกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้ลงรูปแสดงตัวว่ามีการเข้าร่วมชุมนุม แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นกลุ่มแกนนำจัดการชุมนุมที่ชัดเจนนัก


          ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เหมือนกับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นอะไรนักในช่วงแรก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และประเทศไทยต้องเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ยังไม่มีบทบาทนำอย่างแน่ชัด หากแต่ในช่วงนั้น เยาวชนปลดแอกได้ทำการเขียนบทความเป็นโพสต์ในเฟซบุ๊ค เรียกร้องประเด็นทางสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นระยะ เช่น การเรียกร้องให้มีการคืนค่าเทอมสำหรับนิสิตนักศึกษา แต่กรณีที่ช่วยผลักดันกลุ่มเยาวชนปลดแอกให้มีชื่อเสียงได้มากที่สุดในระยะแรกคือ การเขียนโพสต์เรื่องการอุ้มหายซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น
          ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เหมือนกับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นอะไรนักในช่วงแรก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และประเทศไทยต้องเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ยังไม่มีบทบาทนำอย่างแน่ชัด หากแต่ในช่วงนั้น เยาวชนปลดแอกได้ทำการเขียนบทความเป็นโพสต์ในเฟซบุ๊ค เรียกร้องประเด็นทางสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นระยะ เช่น การเรียกร้องให้มีการคืนค่าเทอมสำหรับนิสิตนักศึกษา แต่กรณีที่ช่วยผลักดันกลุ่มเยาวชนปลดแอกให้มีชื่อเสียงได้มากที่สุดในระยะแรกคือ การเขียนโพสต์เรื่องการอุ้มหายซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
          กระทั่งเกิดเหตุการณ์ทหารจากประเทศอียิปต์เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ทำการกักตัว สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนจำนวนมาก เพราะมองว่ามีกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ ขณะที่พวกตนได้รับความลำบากทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้เกิดการชุมนุมขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เป็นกลุ่มแรกที่นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังในเย็นของ วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่งผลให้แฮชแท็คเยาวชนปลดแอกขึ้นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทย และทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในช่วงหนึ่งของการชุมนุม
          กระทั่งเกิดเหตุการณ์ทหารจากประเทศอียิปต์เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ทำการกักตัว สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนจำนวนมาก เพราะมองว่ามีกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ ขณะที่พวกตนได้รับความลำบากทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้เกิดการชุมนุมขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เป็นกลุ่มแรกที่นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังในเย็นของ วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่งผลให้แฮชแท็คเยาวชนปลดแอกขึ้นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทย และทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในช่วงหนึ่งของการชุมนุม


          โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีข้อเรียกร้องสามประการได้แก่[[#_ftn2|[2]]]
          โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีข้อเรียกร้องสามประการ ได้แก่[[#_ftn2|[2]]]


          1. หยุดคุกคามประชาชน
          1. หยุดคุกคามประชาชน
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 56:
          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ อานนท์ นำภา และ ภานุพงศ์ จาดนอก ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีใน วันที่ 16 สิงหาคม 2563[[#_ftn3|[3]]]
          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ อานนท์ นำภา และ ภานุพงศ์ จาดนอก ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีใน วันที่ 16 สิงหาคม 2563[[#_ftn3|[3]]]


          พร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม
          พร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม


 
 
บรรทัดที่ 98: บรรทัดที่ 98:
 
 


[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]]
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:54, 8 มิถุนายน 2565

เรียบเรียงโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth เป็นชื่อของหนึ่งในขบวนการนักศึกษาที่มีบทบาทต่อการชุมนุมในประเทศไทย ปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในบรรดาขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้กดไลค์แฟนเพจเฟซบุ๊คในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์ถึงสามแสนกว่าคน และมีสมาชิกในกลุ่มเทเรแกรมกว่าหนึ่งแสนบัญชี

          โดยตลอดระยะเวลาการชุมนุมใน ปี 2563 กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีส่วนร่วมในการจัดการชุมนุมหลายต่อหลายครั้ง และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของขบวนการนักศึกษาอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกราฟฟิกที่สวยงาม ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารของกลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มขบวนการนักเรียน นิสิตนักศึกษาในช่วงหนึ่งของการชุมนุมใน ปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 16 สิงหาคม 2563 การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ใน วันที่ 15 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่แยกปทุมวันใน วันที่ 16 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่ห้าแยกลาดพร้าวใน วันที่ 17 ตุลาคม 2563 การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิใน วันที่ 18 ตุลาคม 2563 รวมไปถึงการชุมนุมที่สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยใน วันที่ 26 ตุลาคม 2563

     

บทบาทของเยาวชนปลดแอก

          กลุ่มเยาวชนปลดแอกปรากฎตัวครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีความพยายามผลักดันประเด็นทางสังคมอย่างการเกณฑ์ทหาร ทว่าจากการไม่พอใจทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม “เมื่อเสียงที่พวกเราเลือกเข้าสภาไม่มีค่า ได้เวลาประชาชนออกมาส่งเสียงด้วยตัวเอง[1] เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่เป็นผู้ริเริ่มจนมีการนัดรวมตัวกันที่สกายวอล์กหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทางเพจกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้ลงรูปแสดงตัวว่ามีการเข้าร่วมชุมนุม แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นกลุ่มแกนนำจัดการชุมนุมที่ชัดเจนนัก

          ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มเยาวชนปลดแอกก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เหมือนกับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนมาก แต่ไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นอะไรนักในช่วงแรก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และประเทศไทยต้องเข้าสู่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ยังไม่มีบทบาทนำอย่างแน่ชัด หากแต่ในช่วงนั้น เยาวชนปลดแอกได้ทำการเขียนบทความเป็นโพสต์ในเฟซบุ๊ค เรียกร้องประเด็นทางสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นระยะ เช่น การเรียกร้องให้มีการคืนค่าเทอมสำหรับนิสิตนักศึกษา แต่กรณีที่ช่วยผลักดันกลุ่มเยาวชนปลดแอกให้มีชื่อเสียงได้มากที่สุดในระยะแรกคือ การเขียนโพสต์เรื่องการอุ้มหายซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น

          กระทั่งเกิดเหตุการณ์ทหารจากประเทศอียิปต์เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ทำการกักตัว สร้างความไม่พอใจต่อประชาชนจำนวนมาก เพราะมองว่ามีกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ ขณะที่พวกตนได้รับความลำบากทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้เกิดการชุมนุมขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้เป็นกลุ่มแรกที่นัดรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อแสดงพลังในเย็นของ วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ส่งผลให้แฮชแท็คเยาวชนปลดแอกขึ้นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์ประเทศไทย และทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในช่วงหนึ่งของการชุมนุม

          โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีข้อเรียกร้องสามประการ ได้แก่[2]

          1. หยุดคุกคามประชาชน

          2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่

          3. ยุบสภาภายใต้กติกาที่เป็นประชาธิปไตย

 

แนวคิด อุดมการณ์ และวิธีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอก

          กลุ่มเยาวชนปลดแอกมีแนวคิดอุดมการณ์ที่ค่อนข้างเป็นพลวัต ในช่วงแรกกลุ่มเยาวชนปลดแอกนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสุดโต่งทางการเมืองเห็นได้จากอิทธิพลความคิดแบบมาร์กซิสต์ได้จากการตั้งชื่อกลุ่มและในระยะแรกกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะเน้นไปที่การวิพากษ์ทางสังคมแบบถอนรากถอนโคน กระทั่งเมื่อกลุ่มเยาวชนปลดแอกมีอำนาจนำในการชุมนุม กลุ่มเยาวชนปลดแอกจึงได้พลิกบทบาทโดยการแสดงตัวเป็นกลุ่ม การเคลื่อนไหวที่เปิดรับคนจากกลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่เปิดกว้าง และไม่สุดโต้งที่สุดกลุ่มหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งของการชุมนุมของขบวนการนิสิตนักศึกษาใน ปี 2563

          ทว่าในระยะหลังกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้ขับเคี่ยวกับกลุ่มขบวนการนักศึกษากลุ่มอื่นเพื่อแย่งชิงการนำ จนสุดท้ายนำมาสู่การกลับไปมีความคิดสุดโต่งอีกครั้งหนึ่ง และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเสียเอง

          “แฟลชม็อบ" (flash mob) เป็นวิธีการสำคัญที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกใช้ในการเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมในบริบทของต่างประเทศ แฟลชม็อบหมายถึงการรวมตัวกันอย่างฉับพลันโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความบันเทิงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การเต้น หรือการเล่นปาหมอน แต่ในกรณีประเทศไทยแฟลชม็อบหมายถึงการชุมนุมประท้วงที่ไม่ได้ปักหลัก โดยจะเป็นแบบมาเร็วไปเร็ว

          บางช่วงกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะใช้วิธีการประกาศชุมนุมพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ที่ แล้วบางครั้งจึงค่อยประกาศจุดชุมนุมจริง ๆ อย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ตำรวจควบคุมฝูงชนสามารถมาได้ทันเวลา จนรัฐบาลต้องทำการขออนุญาตปิดการขนส่งระบบรางเกือบทั้งระบบในบางช่วงเวลาเพื่อทำให้การเข้าร่วมชุมนุมเป็นไปได้ยาก

          นอกจากนั้นการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกใช้วิธีการสื่อสารผ่านงานกราฟฟิกที่ง่าย ๆ กระชับ มีอารมณ์ขัน และให้ความรู้สึกสนุกสนาน จนทำให้ภาพลักษณ์การเมืองที่อาจถูกมองเป็นเรื่องเคร่งเครียดหายไป

          อีกยุทธวิธีหนึ่งที่เยาวชนปลดแอกเลือกนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวคือการแตกแบรนด์ กล่าวคือกลุ่มเยาวชนปลดแอกจะใช้วิธีการสร้างกลุ่มใหม่ของตัวเองขึ้นมา โดยที่มีแกนนำและสมาชิกเหมือนเดิม กลุ่มแรกที่เยาวชนปลดแอกสร้าง คือ ประชาชนปลดแอก เพื่อให้รู้สึกว่าการชุมนุมไม่ใช่การชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการชุมนุมของทุกคน อีกกลุ่มต่อมาคือ กลุ่ม RT ซึ่งเคลื่อนไหวด้วยโวหารแบบมาร์กซิสต์แต่ก็เป็นอันต้องยกเลิกไปและกลายเป็นกลุ่ม REDEM ในปัจจุบัน

 

 

ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงแรก

          ช่วงแรกการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลเสียมากกว่าที่จะเป็นกลุ่มสำหรับดำเนินการจัดการชุมนุมโดยเฉพาะ ช่วงแรกแฟนเพจเฟซบุ๊คเยาวชนปลดแอกได้พยายามให้ความรู้ผลักดันประเด็นทางสังคมเป็นเรื่อง ๆ ไป อาทิ การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร หรือประเด็นเรื่องการทวงคืนค่าเทอมนักศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงแม้ว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอกจะมีส่วนร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์สำหรับการชุมนุมของนักศึกษาหลังจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เยาวชนปลดแอกก็ไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากนัก

          อย่างไรก็ตาม กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้กลายมาเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังของการชุมนุมประท้วงใน ปี 2563 โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกอาศัยทักษะในการสื่อสารอย่างสั้นกระชับสนุกสนาน และสามารถทำงานกราฟฟิกได้อย่างสวยงาม การจับประเด็นในสังคมที่เก่ง ทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีอิทธิพลในการติดตามข่าวสารของการชุมนุมในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกันกลุ่มเยาวชนปลดแอกก็เริ่มที่จะแสดงตัวเป็นผู้จัดการชุมนุมมากยิ่งขึ้น

          ด้วยภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวที่ดูจะบริสุทธิ์ และไม่มีพิษมีภัยทำให้กลุ่มเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชุมนุมได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ อานนท์ นำภา และ ภานุพงศ์ จาดนอก ถูกจับตัว ทางเยาวชนปลดแอกสามารถดึงดูดจนเกิดเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีใน วันที่ 16 สิงหาคม 2563[3]

          พร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกได้มีกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งเคลื่อนไหวในแนวทางที่ดูสุดโต่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการนักศึกษาแตกออกเป็นสองสายอย่างชัดเจน โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกนั้นจะมีภาพลักษณ์ทีเล่นทีจริง มีความบริสุทธิ์แบบเด็กรุ่นใหม่มากกว่ากลุ่มอย่างธรรมศาสตร์และการชุมนุม

 

การชุมนุมในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และหลังจากนั้น

          จากปัญหาหลาย ๆ ประการ ทำให้รัฐบาลพยายามทำให้การชุมนุมเป็นไปได้ยากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยมีความพยายามจะปิดสถานที่และการจราจร ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบให้กับกลุ่มผู้จัดการชุมนุมทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มเยาวชนปลดแอก

          วิธีการที่กลุ่มเยาวชนปลดแอก รวมถึงขบวนการนักศึกษาใช้จึงเป็นการนัดรวมตัวตามแนวรถไฟฟ้าเพื่อให้สามารถไปชุมนุมได้ในทุกสถานที่ที่มีการนัดรวมตัว กระทั่งรัฐบาลสั่งปิดระบบขนส่ง bts เพื่อให้ยากต่อการเดินทางมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก ดังเช่นกรณีการนัดชุมนุมเมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่ทางกลุ่มคณะราษฎร 2563 ได้นัดชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ แต่ทางรัฐบาลได้ทำการปิดระบบขนส่งและส่งเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพื้นที่ไว้ก่อน ทำให้แกนนำกลุ่มตัดสินใจทำการย้ายการชุมนุมไปที่สี่แยกปทุมวันซึ่งอยู่ใกล้กับสี่แยกราชประสงค์และยังไม่โดนปิดการจราจร[4]

          ผลของการชุมนุมในวันนั้นตำราจควบคุมฝูงชนก็ได้ทำการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ด้วยภาพลักษณ์ของความเป็นเยาวชน และการชุมนุมที่ค่อนข้างเป็นไปอย่างสันติ ทำให้เกิดความไม่พอใจในวงสังคมเป็นจำนวนมาก โดยในเวลานั้นกลุ่มเยาวชนปลดแอกเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมาก และช่วยจุดกระแสความไม่พอใจในตัวรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

          หลังจากการชุมนุมในวันนั้นทางตำรวจ และรัฐบาลจึงได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการในการรับมือกับผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมก็มีการจัดการชุมนุมที่ยังคงความถี่ในระดับเดิม แต่กลับไม่มีผลพลอยได้เป็นรูปธรรม ส่งผลให้มวลชนเกิดความล้าทั้งในกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มเยาวชนปลดแอก จนนำไปสู่การพยายามรีแบรนด์กลุ่มในช่วงปลาย ปี 2563

 

การพยายามรีแบรนด์ และปรับวิธีการเคลื่อนไหวหลังจากนั้น

          แม้อาจกล่าวได้ว่าจุดเด่นของกลุ่มเยาวชนปลดแอก คือ ภาพลักษณ์ของกลุ่มค่อนข้างกว้าง เป็นมิตรต่อทุกคน ทำให้มีคนติดตามเป็นจำนวนมาก ทั้งการสื่อสารก็สวยงาม และเรียบง่ายสบายตา แต่บทบาทของกลุ่มเสื่อมถอยลงไปเมื่อกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้ขึ้นมามีบทบาทนำผ่านข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกันด้วยการที่มวลชนค่อนข้างมีความล้าทำให้ในหลายครั้งการนัดชุมนุมจบลงด้วยการโดนสลายการชุมนุมอย่างง่ายดายเพราะไม่มีมวลชนมากเพียงพอ

          ด้วยการเล็งเห็นอย่างนั้นกลุ่มเยาวชนปลดแอกพยายามจะกลับมาแย่งบทบาทการนำขบวนอีกครั้งด้วยการรีแบรนด์กลุ่มและขยายประเด็นข้อเรียกร้อง หนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้ทำการแตกแบรนด์ออกเป็น กลุ่ม RT โดยใช้วิธีการสื่อสารแบบมาร์กซิสต์ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์ในกลุ่มคนผู้สนับสนุนขบวนการ

          ช่วงแรกมีคนจำนวนมากเห็นว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่ฉลาดและมองว่ากลุ่มนักศึกษาคงมีลูกเล่นอะไรมากมาย แต่ก็มีคนจำนวนมากที่มองว่านักศึกษาไม่ได้ทำการเล่น จนนำไปสู่ความขัดแย้งของกลุ่มมวลชน เวลาต่อมาทางเพจเยาวชนปลดแอกได้ทำการลงบทความ คอมมิวนิสต์ไม่เท่ากับเผด็จการ ทำให้เกิดกระแสลบในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ในหมู่ผู้สนับสนุนเป็นอย่างมาก โดยทางฝั่งผู้ชุมนุมกลุ่มเสรีนิยมมองว่าเป็นการจับปัญหาที่ผิดฝาผิดตัว ส่วนกลุ่มมาร์กซิสต์บางคนก็รู้สึกว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ดูเก่าไม่พัฒนาไปจากสมัยเดิม ขณะที่กลุ่มคนทั่วไปก็รู้สึกว่าห่างไกลจากประเด็นที่พยายามเคลื่อนไหว

          ด้วยเหตุนั้น กลุ่มเยาวชนปลดแอกจึงทำการลดระดับความสุดโต่งทางการเมืองกลายเป็นกลุ่ม REDEM ในเวลาต่อมา โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “ไม่มีแกนนำ” ซึ่งการชุมนุมในช่วง ปี 2563 เป็นการชุมนุมที่ได้ชื่อว่าเป็นการชุมนุมที่ใครต่างก็เป็นแกนนำก็ได้ โดยความหมายนี้หมายถึงเมื่อแกนนำคนหนึ่งถูกจับก็สามารถสร้างแกนนำคนใหม่ขึ้นมาได้

          แต่สำหรับกลุ่มเยาวชนปลดแอกในช่วงนี้กลับรู้สึกว่าไม่พอและพยายามผลักดันกลุ่มที่มีชื่อว่า REDEM โดยใช้คำโปรยว่าไม่มีแกนนำในความหมายที่ ไม่มีแกนนำ และไม่มีการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม การชุมนุมของ REDEM จึงประสบปัญหาเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่เกิดการชุมนุมจะต้องมีการสลายการชุมนุม ขณะเดียวกันกลุ่ม REDEM ก็เกิดความรุนแรงขึ้นบ่อยครั้งและยิ่งทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวเบาบางลงมากขึ้นจนแทบจะหยุดนิ่งไปในช่วงต้น ปี พ.ศ. 2564

 

อ้างอิง

[1]‘ธนาธร’ ถึงสกายวอล์ก ม็อบชูสามนิ้วพรึบตะโกนลั่น ‘ประยุทธ์ออกไป’. (14 ธ.ค. 2562). มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1814460 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2564)

[2] เปิด 3 ข้อเรียกร้อง "เยาวชนปลดแอก" ก่อนนัดชุมนุมใหญ่ 18 ก.ค.นี้. (17 ก.ค. 2563). Amarin TV. สืบค้นจาก https://www.amarintv.com/news/detail/39008. (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)

[3] ปรากฎการณ์ ’16 สิงหา’ ยกระดับ ‘ม็อบปลดแอก’. (18 ส.ค. 2563). เนชั่น. สืบค้นจากhttps://www.nationweekend.com/content/special_article/14724 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)

[4] ชุมนุม 16 ตุลา : ปฏิบัติการสลายพลังเยาวชนคนหนุ่มสาวหลังนายกฯถาม "ผมผิดอะไร". (16 ต.ค. 2562). BBC ไทย. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-54568639 . (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2564)