ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
= '''1. ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' = | = '''1. ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' = | ||
</div> | </div> | ||
[[ศาลรัฐธรรมนูญ]] (Constitution Court) มีฐานะเป็น[[องค์กรตามรัฐธรรมนูญ]]ทำหน้าที่เป็น[[องค์กรตุลาการ]]ในการตีความ[[รัฐธรรมนูญ]]เพื่อธำรงไว้ซึ่งหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด โดยจัดตั้งขึ้นครั้งแรกตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] สาเหตุของการนำแนวคิดของศาลรัฐธรรมนูญมาใช้สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2534 - พ.ศ.2540 ขณะนั้นมีการกำหนดให้[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]มีอำนาจหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญ แต่เกิดสภาพปัญหาในเรื่องของ[[ความเป็นอิสระ]]และการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องอันเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญ ณ เวลานั้นกำหนดให้อายุการดำรงวาระของ[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]สิ้นสุดตามวาระของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ส่งผลให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีสถานะเป็นองค์กรที่ถาวรเพราะเป็นเพียงองค์กรในรูปของคณะกรรมการอันมิใช่องค์กรของศาลที่มี[[ความเป็นกลาง]]และมีอิสระอย่างแท้จริง เนื่องจากสถานะของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบที่มาจากการเมือง นอกจากนี้ ปัญหาในด้านการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังขาดความชัดเจน[[#_ftn1|[1]]] ดังนั้น [[คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย]] (คพป.)[[#_ftn2|[2]]] จึงได้มีการเสนอแนวคิดในส่วนของตุลาการรัฐธรรมนูญว่า ควรจะกำหนดให้มีจัดตั้งเป็นองค์กรขึ้นออกจากการเมือง โดยให้ตั้งเป็นองค์กรอิสระในรูปแบบของศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีบุคลากรหรือตุลาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ แยกอิสระออกมาทั้งในแง่ขององค์กร และหน่วยธุรการ มีวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการทำคำพิพากษาที่ชัดเจนและมีมาตรฐาน ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไป และยังกำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] และ 2560 เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนในบางประการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและรองรับต่อปัญหาที่จะเกิดมีขึ้นในอนาคต | [[ศาลรัฐธรรมนูญ|ศาลรัฐธรรมนูญ]] (Constitution Court) มีฐานะเป็น[[องค์กรตามรัฐธรรมนูญ|องค์กรตามรัฐธรรมนูญ]]ทำหน้าที่เป็น[[องค์กรตุลาการ|องค์กรตุลาการ]]ในการตีความ[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]เพื่อธำรงไว้ซึ่งหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด โดยจัดตั้งขึ้นครั้งแรกตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]] สาเหตุของการนำแนวคิดของศาลรัฐธรรมนูญมาใช้สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2534 - พ.ศ.2540 ขณะนั้นมีการกำหนดให้[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ|คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]มีอำนาจหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญ แต่เกิดสภาพปัญหาในเรื่องของ[[ความเป็นอิสระ|ความเป็นอิสระ]]และการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องอันเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญ ณ เวลานั้นกำหนดให้อายุการดำรงวาระของ[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ|ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]สิ้นสุดตามวาระของ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] ส่งผลให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีสถานะเป็นองค์กรที่ถาวรเพราะเป็นเพียงองค์กรในรูปของคณะกรรมการอันมิใช่องค์กรของศาลที่มี[[ความเป็นกลาง|ความเป็นกลาง]]และมีอิสระอย่างแท้จริง เนื่องจากสถานะของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบที่มาจากการเมือง นอกจากนี้ ปัญหาในด้านการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังขาดความชัดเจน[[#_ftn1|[1]]] ดังนั้น [[คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย|คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย]] (คพป.)[[#_ftn2|[2]]] จึงได้มีการเสนอแนวคิดในส่วนของตุลาการรัฐธรรมนูญว่า ควรจะกำหนดให้มีจัดตั้งเป็นองค์กรขึ้นออกจากการเมือง โดยให้ตั้งเป็นองค์กรอิสระในรูปแบบของศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีบุคลากรหรือตุลาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ แยกอิสระออกมาทั้งในแง่ขององค์กร และหน่วยธุรการ มีวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการทำคำพิพากษาที่ชัดเจนและมีมาตรฐาน ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไป และยังกำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] และ 2560 เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนในบางประการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและรองรับต่อปัญหาที่จะเกิดมีขึ้นในอนาคต | ||
| | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นตุลาการอันมีลักษณะที่สำคัญหลายประการ ดังนี้[[#_ftn3|[3]]] | ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นตุลาการอันมีลักษณะที่สำคัญหลายประการ ดังนี้[[#_ftn3|[3]]] | ||
'''1. มีฐานะเป็น[[ฝ่ายตุลาการ]]''' การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นลักษณะของการใช้อำนาจในการวินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยุติโดยตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญว่า “ที่ใดไม่มีผู้ฟ้องคดี ที่นั่นไม่มีผู้พิพากษา”[[#_ftn4|[4]]] และมีความเป็นอิสระของการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง รวมถึงการห้ามมิให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดๆ อันส่งผลต่อความขัดแย้งหรือมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | '''1. มีฐานะเป็น[[ฝ่ายตุลาการ|ฝ่ายตุลาการ]]''' การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นลักษณะของการใช้อำนาจในการวินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยุติโดยตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญว่า “ที่ใดไม่มีผู้ฟ้องคดี ที่นั่นไม่มีผู้พิพากษา”[[#_ftn4|[4]]] และมีความเป็นอิสระของการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง รวมถึงการห้ามมิให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดๆ อันส่งผลต่อความขัดแย้งหรือมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | ||
'''2. มีฐานะเป็น[[องค์กรตามรัฐธรรมนูญ]]''' กล่าวคือ เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญและมีอำนาจหน้าที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ | '''2. มีฐานะเป็น[[องค์กรตามรัฐธรรมนูญ|องค์กรตามรัฐธรรมนูญ]]''' กล่าวคือ เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญและมีอำนาจหน้าที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ | ||
'''3. มี[[การใช้วิธีพิจารณาความแบบไต่สวน]]''' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทจะทำหน้าที่ในการเสาะแสวงหาพยานหลักฐาน นอกเหนือจากการที่คู่ความนำมากล่าวอ้างแล้ว โดยการหมายเรียกให้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาจนกว่าจะสิ้นกระแสความ | '''3. มี[[การใช้วิธีพิจารณาความแบบไต่สวน|การใช้วิธีพิจารณาความแบบไต่สวน]]''' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทจะทำหน้าที่ในการเสาะแสวงหาพยานหลักฐาน นอกเหนือจากการที่คู่ความนำมากล่าวอ้างแล้ว โดยการหมายเรียกให้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาจนกว่าจะสิ้นกระแสความ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
1) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี จำนวน 3 คนซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กรณีที่ไม่อาจเลือกผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาได้ ย่อมสามารถทำการคัดเลือกจากบุคคลผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีแทนก็ได้ | 1) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี จำนวน 3 คนซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กรณีที่ไม่อาจเลือกผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาได้ ย่อมสามารถทำการคัดเลือกจากบุคคลผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีแทนก็ได้ | ||
2) ผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการใน[[ศาลปกครองสูงสุด]] | 2) ผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการใน[[ศาลปกครองสูงสุด|ศาลปกครองสูงสุด]] | ||
3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาตราจารย์ของมหาวิทยาลัยใประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ ตามมาตรา 203[[#_ftn6|[6]]] | 3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาตราจารย์ของมหาวิทยาลัยใประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ ตามมาตรา 203[[#_ftn6|[6]]] | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ | 5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ | ||
โดยผู้ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ[[วุฒิสภา]] ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีรายนามดังต่อไปนี้ | โดยผู้ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีรายนามดังต่อไปนี้ | ||
#[[นุรักษ์_มาประณีต|นายนุรักษ์ มาประณีต]] ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | #[[นุรักษ์_มาประณีต|นายนุรักษ์ มาประณีต]] ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | ||
บรรทัดที่ 56: | บรรทัดที่ 56: | ||
'''ด้านที่หนึ่ง''' การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย[[#_ftn8|[8]]] อันเป็นการตรวจสอบก่อนประกาศใช้และหลังประกาศใช้กฎหมายนั้น ๆ | '''ด้านที่หนึ่ง''' การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย[[#_ftn8|[8]]] อันเป็นการตรวจสอบก่อนประกาศใช้และหลังประกาศใช้กฎหมายนั้น ๆ | ||
'''ด้านที่สอง''' การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] วุฒิสภา [[รัฐสภา]] [[คณะรัฐมนตรี]] หรือ[[องค์กรอิสระ]][[#_ftn9|[9]]] รวมทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยสมาชิกภาพของ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีด้วย | '''ด้านที่สอง''' การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] วุฒิสภา [[รัฐสภา|รัฐสภา]] [[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]] หรือ[[องค์กรอิสระ|องค์กรอิสระ]][[#_ftn9|[9]]] รวมทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยสมาชิกภาพของ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีด้วย | ||
'''ด้านที่สาม''' การจัดทำ[[มาตรฐานทางจริยธรรม]] เพื่อควบคุมและตรวจสอบบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ อันเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับองค์กรอิสระในการร่วมกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม และใช้บังคับครอบคลุมกับตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ[[#_ftn10|[10]]] และให้ใช้บังคับรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีด้วย | '''ด้านที่สาม''' การจัดทำ[[มาตรฐานทางจริยธรรม|มาตรฐานทางจริยธรรม]] เพื่อควบคุมและตรวจสอบบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ อันเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับองค์กรอิสระในการร่วมกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม และใช้บังคับครอบคลุมกับตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ[[#_ftn10|[10]]] และให้ใช้บังคับรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีด้วย | ||
'''ด้านที่สี่''' การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายหากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมการกระทำการใด ๆ อันเป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องที่เห็นว่ามีการกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวได้[[#_ftn11|[11]]] | '''ด้านที่สี่''' การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายหากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมการกระทำการใด ๆ อันเป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องที่เห็นว่ามีการกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวได้[[#_ftn11|[11]]] | ||
'''ด้านที่ห้า''' การปกครองและรักษาไว้ซึ่ง[[อธิปไตย]]ของชาติ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลเลิกกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็น[[การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] | '''ด้านที่ห้า''' การปกครองและรักษาไว้ซึ่ง[[อธิปไตย|อธิปไตย]]ของชาติ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลเลิกกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็น[[การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข|การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] | ||
'''ด้านที่หก''' การปกป้องคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพของประชาชน]]บุคคลผู้ถูก[[ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ]] โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของบุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้[[#_ftn12|[12]]] | '''ด้านที่หก''' การปกป้องคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพของประชาชน|สิทธิเสรีภาพของประชาชน]]บุคคลผู้ถูก[[ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ|ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ]] โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของบุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้[[#_ftn12|[12]]] | ||
<div> | <div> | ||
= '''เปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม''' = | = '''เปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม''' = | ||
บรรทัดที่ 189: | บรรทัดที่ 189: | ||
| style="width:159px;" | | | style="width:159px;" | | ||
3.1 มาตรา 257 วรรคหนึ่ง ไม่มีการกำหนดให้ประธานองค์กร[[อิสระตามรัฐธรรมนูญ]]เป็นคณะกรรมการสรรหาแต่กำหนดให้มีคณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน | 3.1 มาตรา 257 วรรคหนึ่ง ไม่มีการกำหนดให้ประธานองค์กร[[อิสระตามรัฐธรรมนูญ|อิสระตามรัฐธรรมนูญ]]เป็นคณะกรรมการสรรหาแต่กำหนดให้มีคณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน | ||
| style="width:159px;" | | | style="width:159px;" | | ||
3.1 มีการกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระตามศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเอง 1 คนเป็นคณะกรรมการสรรหา | 3.1 มีการกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระตามศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเอง 1 คนเป็นคณะกรรมการสรรหา | ||
3.2 มาตรา 206 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการสรรหามีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและหากคณะกรรมการสรรหามีมติยืนยันตามมติเดิม<u>ด้วยคะแนน[[เอกฉันท์]]</u>แล้วสามารถส่งรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภานำกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไปได้โดยที่วุฒิสภาไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องดังกล่าวนี้ได้อีก แต่หากมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ คณะกรรมการสรรหาต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ | 3.2 มาตรา 206 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการสรรหามีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและหากคณะกรรมการสรรหามีมติยืนยันตามมติเดิม<u>ด้วยคะแนน[[เอกฉันท์|เอกฉันท์]]</u>แล้วสามารถส่งรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภานำกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไปได้โดยที่วุฒิสภาไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องดังกล่าวนี้ได้อีก แต่หากมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ คณะกรรมการสรรหาต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ | ||
| style="width:159px;" | | | style="width:159px;" | |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 26 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์
1. ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitution Court) มีฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นองค์กรตุลาการในการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อธำรงไว้ซึ่งหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด โดยจัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สาเหตุของการนำแนวคิดของศาลรัฐธรรมนูญมาใช้สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2534 - พ.ศ.2540 ขณะนั้นมีการกำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญ แต่เกิดสภาพปัญหาในเรื่องของความเป็นอิสระและการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องอันเกิดจากการที่รัฐธรรมนูญ ณ เวลานั้นกำหนดให้อายุการดำรงวาระของตุลาการรัฐธรรมนูญสิ้นสุดตามวาระของสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีสถานะเป็นองค์กรที่ถาวรเพราะเป็นเพียงองค์กรในรูปของคณะกรรมการอันมิใช่องค์กรของศาลที่มีความเป็นกลางและมีอิสระอย่างแท้จริง เนื่องจากสถานะของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบที่มาจากการเมือง นอกจากนี้ ปัญหาในด้านการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังขาดความชัดเจน[1] ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)[2] จึงได้มีการเสนอแนวคิดในส่วนของตุลาการรัฐธรรมนูญว่า ควรจะกำหนดให้มีจัดตั้งเป็นองค์กรขึ้นออกจากการเมือง โดยให้ตั้งเป็นองค์กรอิสระในรูปแบบของศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีบุคลากรหรือตุลาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ แยกอิสระออกมาทั้งในแง่ขององค์กร และหน่วยธุรการ มีวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการทำคำพิพากษาที่ชัดเจนและมีมาตรฐาน ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไป และยังกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ 2560 เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนในบางประการเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและรองรับต่อปัญหาที่จะเกิดมีขึ้นในอนาคต
2.ลักษณะที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นตุลาการอันมีลักษณะที่สำคัญหลายประการ ดังนี้[3]
1. มีฐานะเป็นฝ่ายตุลาการ การทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นลักษณะของการใช้อำนาจในการวินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายเพื่อให้เป็นที่ยุติโดยตั้งอยู่บนหลักการที่สำคัญว่า “ที่ใดไม่มีผู้ฟ้องคดี ที่นั่นไม่มีผู้พิพากษา”[4] และมีความเป็นอิสระของการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง รวมถึงการห้ามมิให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดๆ อันส่งผลต่อความขัดแย้งหรือมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2. มีฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญและมีอำนาจหน้าที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ
3. มีการใช้วิธีพิจารณาความแบบไต่สวน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทจะทำหน้าที่ในการเสาะแสวงหาพยานหลักฐาน นอกเหนือจากการที่คู่ความนำมากล่าวอ้างแล้ว โดยการหมายเรียกให้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาจนกว่าจะสิ้นกระแสความ
3. องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญจะประกอบไปด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 9 ท่าน โดยคัดสรรมาจากผู้มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้านจากหลาย ๆ องค์กร ดังนี้[5]
1) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี จำนวน 3 คนซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กรณีที่ไม่อาจเลือกผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาได้ ย่อมสามารถทำการคัดเลือกจากบุคคลผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาในศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีแทนก็ได้
2) ผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาตราจารย์ของมหาวิทยาลัยใประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ ตามมาตรา 203[6]
4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ จำนวน 1 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ
5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญฯ
โดยผู้ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีรายนามดังต่อไปนี้
- นายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- นายจรัญ ภักดีธนากุล
- นายชัช ชลวร
- นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
- นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
- นายบุญส่ง กุลบุปผา
- นายปัญญา อุดชาชน
- นายวรวิทย์ กังศศิเทียม
- นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
อำนาจและหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
อำนาจและหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น สามารถสรุปจำแนกออกได้เป็น 6 ด้านที่สำคัญ ดังนี้[7]
ด้านที่หนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย[8] อันเป็นการตรวจสอบก่อนประกาศใช้และหลังประกาศใช้กฎหมายนั้น ๆ
ด้านที่สอง การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ[9] รวมทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีด้วย
ด้านที่สาม การจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อควบคุมและตรวจสอบบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐ อันเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับองค์กรอิสระในการร่วมกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม และใช้บังคับครอบคลุมกับตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ[10] และให้ใช้บังคับรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีด้วย
ด้านที่สี่ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายหากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมการกระทำการใด ๆ อันเป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องที่เห็นว่ามีการกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวได้[11]
ด้านที่ห้า การปกครองและรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลเลิกกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ด้านที่หก การปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนบุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของบุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญได้[12]
เปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม
ประเด็นความแตกต่าง |
รัฐธรรมนูญ ปี 2540 |
รัฐธรรมนูญ ปี 2550 |
รัฐธรรมนูญ ปี 2560 |
1 .ด้านองค์ประกอบ
|
1.1 จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 15 คนโดยมาจาก (มาตรา 255 วรรคหนึ่ง)
|
1.1 จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวน 9 คนโดยมาจาก (มาตรา 204 วรรคหนึ่ง)
|
1.1 จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 9 คนโดยมาจาก (มาตรา 200)
|
2.ด้านคุณสมบัติ |
2.1 เฉพาะผู้ทรงวุฒิต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (มาตรา 256) 2.2 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติทางการศึกษา 2.3 ไม่ได้กำหนดในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตไว้อย่างชัดเจน 2.4 กำหนดลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 256 (5) ว่าต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น |
2.1 เฉพาะผู้ทรงวุฒิต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (มาตรา 205) 2.2 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติทางการศึกษา 2.3 ไม่ได้กำหนดในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตไว้อย่างชัดเจน 2.4 กำหนดลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 205 (5) ว่าต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น |
2.1 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบแปดปีในวันที่ได้รับการคัดเลือกหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา (มาตรา 201) (มีการกำหนดอายุขั้นต่ำและขั้นสูงไว้) 2.2 กำหนดคุณสมบัติทางการศึกษาต้องไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2.3 กำหนดในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ 2.4. กำหนดในเรื่องสุขภาพว่าต้องมีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.5 กำหนดลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 202 (4) ว่าต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะเวลาสิบปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา |
3. ด้านคณะกรรมการสรรหา |
3.1 มาตรา 257 วรรคหนึ่ง ไม่มีการกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเป็นคณะกรรมการสรรหาแต่กำหนดให้มีคณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเอง 4 คน |
3.1 มีการกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระตามศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเอง 1 คนเป็นคณะกรรมการสรรหา 3.2 มาตรา 206 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการสรรหามีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและหากคณะกรรมการสรรหามีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์แล้วสามารถส่งรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานวุฒิสภานำกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไปได้โดยที่วุฒิสภาไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องดังกล่าวนี้ได้อีก แต่หากมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ คณะกรรมการสรรหาต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ |
3.1 ตามมาตรา 203 (4) ไม่มีการกำหนดประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแต่มีการกำหนดให้บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งขึ้นมาจากผู้ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ในศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ องค์กรละ 1 คน ขึ้นมาเป็นกรรมการแทน้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกรายใด ให้ดำเนินการขึ้นมาใหม่แทนผู้นั้นแล้วเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป |
4. วาระการดำรงตำแหน่ง |
4.1 ตามมาตรา 259 วรรคหนึ่งกำหนดให้ดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียว |
4.1 ดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียวเช่นเดียวกับ ปี 2540 |
4.1 ตามมาตรา 207 กำหนดให้ดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว |
5.การพ้นจากตำแหน่ง |
5.1 มาตรา 260 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดอายุ 70 ปี 5.2 ต้องคำพิพากษาให้จำคุก (มาตรา 260 วรรคหนึ่ง (7)) |
5.1 มาตรา 209 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดเวลา 70 ปี 5.2 ต้องคำพิพากษาให้จำคุกแม้คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอลงโทษ ยกเว้น กรณีเป็นการกระทำโดยประมาท ลหุโทษหรือฐานหมิ่นประมาท (มาตรา 209 วรรคหนึ่ง (7)) |
5.1 มาตรา 208 (4) ขยายระยะเวลาเป็น 75 ปี 5.2 มาตรา 208 (5) กำหนดให้มติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เพราะเหตุฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ
|
6. องค์คณะในการนั่งพิจารณาและทำคำวินิจฉัย |
6.1 ตามมาตรา 267 กำหนดให้มีองค์คณะไม่น้อยกว่า 9 คน |
6.1 ตามมาตรา 216 กำหนดให้มีองค์คณะไม่น้อยกว่า 5 คน |
6.1 ตามมาตรา 211 กำหนดให้มีองค์คณะไม่น้อยกว่า 7 คน |
บรรณานุกรม
คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.). ข้อเสนอในการปฏิรูปการเมืองไทย. หน้า 25 หน้า 38 และ 38 อ้างใน
ฤทัย หงส์ศิริ. ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปการเมืองไทย.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศกับศาล
รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.2546.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ราชกิจจานุเบกษา 2544/73ก/1/ 2 กันยายน 2544
ศรันยา สีมา. เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. รายการ
ร้อยเรื่อง...เมืองไทย. สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.ออกอากาศเมื่อกันยายน 2561.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2551). จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์.กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
สุรพล นิติไกรพจน์. ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติพันธกิจตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ: วิญญูชน. 2546.
สุวิทย์ ปัญญาวงศ์. กฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.
[1] สุรพล นิติไกรพจน์. ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติพันธกิจตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ: วิญญูชน. 2546. หน้า 72-73.
[2] คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.). ข้อเสนอในการปฏิรูปการเมืองไทย. หน้า 25 หน้า 38 และ 38 อ้างใน ฤทัย หงส์ศิริ. ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปการเมืองไทย. หน้า 10-11.
[3] สุวิทย์ ปัญญาวงศ์. กฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561. หน้า 172-173.
[4] หมายถึง การจะเริ่มต้นในการดำเนินคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องเกิดจากการมีผู้ก่อการด้วยการเริ่มต้นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องเข้ามายังศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญหามีอำนาจใด ๆ หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาดำเนินการวินิจฉัยหรือตัดสินใจด้วยตนเองได้ไม่โดยผลของคดีจะผูกพันคู่ความเป็นเด็ดขาดและมีผูกพันองค์กรทางการเมืองและองค์กรทางปกครองทุกองค์กร
[5] ตามมาตรา 200 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[6] ตามมาตรา 203 คณะกรรมการสรรหาจะประกอบไปด้วย (1) ประธานศาลฎีกา (2) ประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (3) ประธานศาลปกครองสูงสุด และ (4) บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากองค์กรอิสระเป็นผู้แต่งตั้งมาองค์กรละ 1 คน
[7] ศรันยา สีมา. เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย. สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาและสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.ออกอากาศเมื่อกันยายน 2561.
[8] ตามมาตรา 210 (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[9] ตามมาตรา 210 (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[10] ตามมาตรา 219 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[11] ตามมาตรา 144 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[12] ตามมาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560