ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังข์ พัธโนทัย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''นายสังข์ พัธโนทัย'''   ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
'''<u>นายสังข์ พัธโนทัย[[#_ftn1|[1]]]</u>'''
'''<u>นายสังข์ พัธโนทัย[[#_ftn1|[1]]]</u>'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “นายมั่น-นายคง” เป็นรายการวิทยุชื่อดังในช่วงทศวรรษ 2480 ที่มีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ หรือ “โฆษณาการ” งานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอันสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศสยามกำลังเปลี่ยนผ่านมาสู่ “ประเทศไทย” เป็นช่วงเวลาแห่ง “การสร้างชาติ” การสร้าง “วัธนธัม” และ “สงคราม” รายการวิทยุรายการนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อรัฐบาล โดยผู้ที่สวมบทบาทเป็น “นายมั่น-นายคง” นั่นคือ “นายสังข์ พัธโนทัย” ที่ปรึกษาคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกรมโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และในสมาคมกรรมกรไทย ซึ่งรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังเป็นบุคคลที่บุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยได้ส่งบุตรชายและบุตรสาวไปอยู่ในความดูแลของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของจีน เป็นการแสดงความจริงใจ นายสังข์ พัธโนทัย ยังทำหน้าที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับนายปรีดี พนมยงค์ ที่ร้าวฉานให้กลับมาดีดังเดิม ทว่าความพยายามยังไม่บรรลุเป้าหมาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็หมดอำนาจลง และนายสังข์ พัธโนทัย ได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นชื่อของนายสังข์ พัธโนทัย ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “[[นายมั่น-นายคง|นายมั่น-นายคง]]” เป็นรายการวิทยุชื่อดังในช่วงทศวรรษ 2480 ที่มีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ หรือ “โฆษณาการ” งานของรัฐบาล[[ป_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอันสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศสยามกำลังเปลี่ยนผ่านมาสู่ “ประเทศไทย” เป็นช่วงเวลาแห่ง “การสร้างชาติ” การสร้าง “วัธนธัม” และ “สงคราม” รายการวิทยุรายการนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ[[รัฐบาล|รัฐบาล]] โดยผู้ที่สวมบทบาทเป็น “นายมั่น-นายคง” นั่นคือ “นายสังข์ พัธโนทัย” ที่ปรึกษาคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกรมโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และในสมาคมกรรมกรไทย ซึ่งรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังเป็นบุคคลที่บุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยได้ส่งบุตรชายและบุตรสาวไปอยู่ในความดูแลของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของจีน เป็นการแสดงความจริงใจ นายสังข์ พัธโนทัย ยังทำหน้าที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ[[ปรีดี_พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] ที่ร้าวฉานให้กลับมาดีดังเดิม ทว่าความพยายามยังไม่บรรลุเป้าหมาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็หมดอำนาจลง และนายสังข์ พัธโนทัย ได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นชื่อของนายสังข์ พัธโนทัย ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย


'''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>'''
'''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>'''
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
'''<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>'''
'''<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งครูครั้งแรกที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน จึงได้ย้ายไปโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2481 ได้โอนย้ายมาอยู่กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ได้ประจำแผนกวิทยุกระจายเสียง[[#_ftn7|[7]]] ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันชาติ โดยเริ่มให้มีงานเฉลิมฉลองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในครั้งนั้นพระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองโฆษณาวันชาติ และมีนายสังข์ พัธโนทัย เป็นเลขานุการ จึงได้มีการจัดรายการเพื่อโฆษณาความสำคัญของวันชาติ โดยให้มีตัวละครสมมติขึ้นมา 2 คน คือ “นายมั่น ชูชาติ” และ “นายคง รักไทย” ซึ่งเดิมอาศัยเจ้าหน้าที่ในกรมโฆษณาการที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำไปให้พากย์ ต่อมาภายหลังนายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นผู้พากย์ประจำในบทบาท “นายมั่น ชูชาติ” ซึ่งรายการนี้ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลไปยังประชาชนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย จนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก และดำเนินรายการยาวนานต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ. 2487 ได้ยุติการออกอากาศไปพร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[[#_ftn8|[8]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งครูครั้งแรกที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน จึงได้ย้ายไปโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2481 ได้โอนย้ายมาอยู่กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ได้ประจำแผนกวิทยุกระจายเสียง[[#_ftn7|[7]]] ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันชาติ โดยเริ่มให้มีงานเฉลิมฉลองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในครั้งนั้นพระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองโฆษณาวันชาติ และมีนายสังข์ พัธโนทัย เป็นเลขานุการ จึงได้มีการจัดรายการเพื่อโฆษณาความสำคัญของวันชาติ โดยให้มีตัวละครสมมติขึ้นมา 2 คน คือ “[[มั่น_ชูชาติ|นายมั่น ชูชาติ]]” และ “[[คง_รักไทย|นายคง รักไทย]]” ซึ่งเดิมอาศัยเจ้าหน้าที่ในกรมโฆษณาการที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำไปให้พากย์ ต่อมาภายหลังนายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นผู้พากย์ประจำในบทบาท “นายมั่น ชูชาติ” ซึ่งรายการนี้ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลไปยังประชาชนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย จนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก และดำเนินรายการยาวนานต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ. 2487 ได้ยุติการออกอากาศไปพร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[[#_ftn8|[8]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการตั้งศาลพิเศษขึ้น เพื่อพิจารณาโทษอาชญากรสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงคราม พร้อมกับคนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่ง 1 ในนั้น คือ นายสังข์ พัธโนทัย[[#_ftn9|[9]]] ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้อยู่ในห้องขังเดียวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในห้องขังโรงพักศาลาแดง ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่เรือนจำกลางจังหวัดพระนครและธนบุรี[[#_ftn10|[10]]] แต่ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายสังข์ พัธโนทัย ติดคุกอยู่ประมาณ 6 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำงานเป็นคอลัมนิสต์อิสระตามหนังสือพิมพ์[[#_ftn11|[11]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภายหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการตั้งศาลพิเศษขึ้น เพื่อพิจารณาโทษอาชญากรสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงถูกจับกุมในฐานะ[[อาชญากรสงคราม]] พร้อมกับคนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่ง 1 ในนั้น คือ นายสังข์ พัธโนทัย[[#_ftn9|[9]]] ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้อยู่ในห้องขังเดียวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในห้องขังโรงพักศาลาแดง ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่เรือนจำกลางจังหวัดพระนครและธนบุรี[[#_ftn10|[10]]] แต่ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายสังข์ พัธโนทัย ติดคุกอยู่ประมาณ 6 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำงานเป็นคอลัมนิสต์อิสระตามหนังสือพิมพ์[[#_ftn11|[11]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง ได้ทาบทามนายสังข์ พัธโนทัย ให้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี ทว่านายสังข์ พัธโนทัย ปฏิเสธตำแหน่งดังกล่าว แต่ยังคงช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะที่ปรึกษาคนสนิทเรื่อยมา และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “เสถียรภาพ” โดยนายสังข์ พัธโนทัย ได้ใช้ความสามารถของนักหนังสือพิมพ์และนักโฆษณาชวนเชื่อผสมผสาน ทำให้หนังสือเสถียรภาพประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงเวลา 10 ปีที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[[#_ftn12|[12]]] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังได้เป็นผู้อำนวยการให้หนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ นั่นคือ หนังสือพิมพ์ “ธรรมาธิปัตย์” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า “Bangkok Tribune”[[#_ftn13|[13]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง ได้ทาบทามนายสังข์ พัธโนทัย ให้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี ทว่านายสังข์ พัธโนทัย ปฏิเสธตำแหน่งดังกล่าว แต่ยังคงช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะที่ปรึกษาคนสนิทเรื่อยมา และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “เสถียรภาพ” โดยนายสังข์ พัธโนทัย ได้ใช้ความสามารถของนักหนังสือพิมพ์และนักโฆษณาชวนเชื่อผสมผสาน ทำให้หนังสือเสถียรภาพประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงเวลา 10 ปีที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[[#_ftn12|[12]]] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังได้เป็นผู้อำนวยการให้หนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ นั่นคือ หนังสือพิมพ์ “[[ธรรมาธิปัตย์|ธรรมาธิปัตย์]]” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า “Bangkok Tribune”[[#_ftn13|[13]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย ซึ่งเป็นสมาคมกรรมกรที่รัฐบาลตั้งขึ้น เพื่อสร้างฐานมวลชนของรัฐบาลในหมู่กรรมกรไทย ตลอดจนมีการรับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาเริ่มตระหนักถึงภัยของคอมมิวนิสต์และเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น จากการทำงานในสมาคมกรรมกรไทยนี้ ทำให้นายสังข์ พัธโนทัย มีความใกล้ชิดกับ นายนอร์แมน บี. ฮันนาห์ (Norman B. Hannah) เลขานุการโท ประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายอาร์ชี แมคเคนซี (Archie MacKenzie) แห่งสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย[[#_ftn14|[14]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย ซึ่งเป็นสมาคมกรรมกรที่รัฐบาลตั้งขึ้น เพื่อสร้างฐานมวลชนของรัฐบาลในหมู่กรรมกรไทย ตลอดจนมีการรับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาเริ่มตระหนักถึงภัยของคอมมิวนิสต์และเป็นช่วงเริ่มต้นของ[[สงครามเย็น]] จากการทำงานในสมาคมกรรมกรไทยนี้ ทำให้นายสังข์ พัธโนทัย มีความใกล้ชิดกับ นายนอร์แมน บี. ฮันนาห์ (Norman B. Hannah) เลขานุการโท ประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายอาร์ชี แมคเคนซี (Archie MacKenzie) แห่งสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย[[#_ftn14|[14]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างมาก เห็นได้ชัดเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการเปิดความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบาย “การทูตสองทาง” อีกทั้งยังเป็นการเปิดความสัมพันธ์กับนายปรีดี พนมยงค์ ที่เคยร้าวฉานกันไปในเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และเหตุการณ์กบฏวังหลวง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492[[#_ftn15|[15]]] จึงได้ส่งนายสังข์ พัธโนทัย&nbsp; ไปเป็นทูตลับให้กับรัฐบาลในภารกิจดังกล่าวอยู่เป็นระยะ จนกระทั่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยึดอำนาจของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509[[#_ftn16|[16]]] หลังจากนั้น นายสังข์ พัธโนทัย ไม่ได้ดำรงตำแหน่งใด ๆ อีกเลย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างมาก เห็นได้ชัดเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการเปิดความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบาย “[[การทูตสองทาง|การทูตสองทาง]]” อีกทั้งยังเป็นการเปิดความสัมพันธ์กับนายปรีดี พนมยงค์ ที่เคยร้าวฉานกันไปในเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ [[8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490]] และเหตุการณ์[[กบฏวังหลวง]] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492[[#_ftn15|[15]]] จึงได้ส่งนายสังข์ พัธโนทัย&nbsp; ไปเป็นทูตลับให้กับรัฐบาลในภารกิจดังกล่าวอยู่เป็นระยะ จนกระทั่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยึดอำนาจของ[[จอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์]] ในวันที่ [[16_กันยายน_พ.ศ._2500]] นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509[[#_ftn16|[16]]] หลังจากนั้น นายสังข์ พัธโนทัย ไม่ได้ดำรงตำแหน่งใด ๆ อีกเลย


'''<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u>'''
'''<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u>'''
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย มีผลงานที่สำคัญในทางการเมืองอยู่หลายด้าน ซึ่งมีความโดดเด่นอย่างยิ่งทั้งต่อการเมืองภายในประเทศ และการเมืองภายนอกประเทศ โดยสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในการเมืองภายในประเทศ อันได้แก่ การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายวิทยุ “นายมั่น-นายคง” การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล และการเป็นนักจัดการมวลชน สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัยนั้น ได้แก่ การประสานงานอย่างลับ ๆ ภายใต้ “นโยบายการทูตสองหน้า” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายสังข์ พัธโนทัย มีผลงานที่สำคัญในทางการเมืองอยู่หลายด้าน ซึ่งมีความโดดเด่นอย่างยิ่งทั้งต่อการเมืองภายในประเทศ และการเมืองภายนอกประเทศ โดยสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในการเมืองภายในประเทศ อันได้แก่ การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายวิทยุ “นายมั่น-นายคง” การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล และการเป็นนักจัดการมวลชน สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัยนั้น ได้แก่ การประสานงานอย่างลับ ๆ ภายใต้ “นโยบายการทูตสองหน้า” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการแรกได้แก่ “การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายการวิทยุนายมั่น-นายคง” ซึ่งออกอากาศทุกวัน ในเวลา 07.00 น. ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยรูปแบบรายการจะเป็นบทสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติ และนายคง รักไทย ในประเด็นต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ หรือประเด็นที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนปฏิบัติ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระทั้งหมดผ่าน “จดหมายซองเหลือง” ที่ส่งมาในทุก ๆ วัน ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่นชอบรายการนี้มาก แม้ว่าในขณะนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะยังไม่รู้จักกับนายสังข์ พัธโนทัย เป็นการส่วนตัวก็ตาม[[#_ftn17|[17]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการแรกได้แก่ “การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายการวิทยุนายมั่น-นายคง” ซึ่งออกอากาศทุกวัน ในเวลา 07.00 น. ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยรูปแบบรายการจะเป็นบทสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติ และนายคง รักไทย ในประเด็นต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ หรือประเด็นที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนปฏิบัติ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระทั้งหมดผ่าน “[[จดหมายซองเหลือง|จดหมายซองเหลือง]]” ที่ส่งมาในทุก ๆ วัน ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่นชอบรายการนี้มาก แม้ว่าในขณะนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะยังไม่รู้จักกับนายสังข์ พัธโนทัย เป็นการส่วนตัวก็ตาม[[#_ftn17|[17]]]


นโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ล้วนแต่ได้รับการโฆษณาผ่านรายการนายมั่น-นายคงมาแล้วทั้งสิ้น อาทิเช่น นโยบายรัฐนิยม นโยบายวัธนธัมแห่งชาติ เป็นต้น[[#_ftn18|[18]]] โดยเฉพาะนโยบายวัธนธัมแห่งชาตินั้น นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับมาปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยแต่เดิมนั้น นามสกุลของนายสังข์ จะสะกดว่า “พัฒโนทัย” เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายวัธนธัมแห่งชาติ นายสังข์จึงเปลี่ยนมาสะกดว่า “พัธโนทัย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[[#_ftn19|[19]]] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ริเริ่มให้มีการใช้คำทักทายว่า “สวัสดี” ก็ได้ใช้รายการนายมั่น-นายคง เป็นช่องทางในการโฆษณา โดยเป็นประโยคพูดเปิดเข้ารายการว่า “สวัสดีมีชัย”[[#_ftn20|[20]]] เพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ จนกระทั่งกลายเป็นคำทักทายจนถึงปัจจุบัน
นโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ล้วนแต่ได้รับการโฆษณาผ่านรายการนายมั่น-นายคงมาแล้วทั้งสิ้น อาทิเช่น [[นโยบายรัฐนิยม|นโยบายรัฐนิยม]] [[นโยบายวัธนธัมแห่งชาติ|นโยบายวัธนธัมแห่งชาติ]] เป็นต้น[[#_ftn18|[18]]] โดยเฉพาะนโยบายวัธนธัมแห่งชาตินั้น นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับมาปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยแต่เดิมนั้น นามสกุลของนายสังข์ จะสะกดว่า “พัฒโนทัย” เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายวัธนธัมแห่งชาติ นายสังข์จึงเปลี่ยนมาสะกดว่า “พัธโนทัย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[[#_ftn19|[19]]] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ริเริ่มให้มีการใช้คำทักทายว่า “สวัสดี” ก็ได้ใช้รายการนายมั่น-นายคง เป็นช่องทางในการโฆษณา โดยเป็นประโยคพูดเปิดเข้ารายการว่า “สวัสดีมีชัย”[[#_ftn20|[20]]] เพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ จนกระทั่งกลายเป็นคำทักทายจนถึงปัจจุบัน


ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการต่อมา นั่นคือ การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งหลังเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญ ๆ ถึง 3 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ หนังสือพิมพ์ธรรมาธิปัตย์ และหนังสือพิมพ์ Bangkok Tribune ซึ่งขณะนั้น บริบทการเมืองไทยมีลักษณะเป็น “การเมืองสามเส้า” (พ.ศ. 2495 - 2500) โดยมีกลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลุ่มของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และกลุ่มของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ได้ให้การสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ของตนในการสนับสนุนรัฐบาลและวิจารณ์กลุ่มอื่น ๆ[[#_ftn21|[21]]] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังมีผลงานด้านวรรณกรรมที่สำคัญ โดยได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือประมาณ 20 เล่ม อาทิเช่น ปทานุกรมศัพท์การเมือง ไทย-อังกฤษ, พิชัยสงครามสามก๊ก, ความนึกในกรงขัง, เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา เป็นต้น[[#_ftn22|[22]]] &nbsp;
ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการต่อมา นั่นคือ การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งหลังเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ [[8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490]] นายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญ ๆ ถึง 3 ฉบับ คือ [[หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ_|หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ]]&nbsp;[[หนังสือพิมพ์ธรรมาธิปัตย์|หนังสือพิมพ์ธรรมาธิปัตย์]] และ[[หนังสือพิมพ์_Bangkok_Tribune|หนังสือพิมพ์ Bangkok Tribune]] ซึ่งขณะนั้น บริบทการเมืองไทยมีลักษณะเป็น “[[การเมืองสามเส้า|การเมืองสามเส้า]]” (พ.ศ. 2495 - 2500) โดยมีกลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลุ่มของ[[เผ่า_ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]] และกลุ่มของ[[จอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์]]&nbsp;ทั้งนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ได้ให้การสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ของตนในการสนับสนุนรัฐบาลและวิจารณ์กลุ่มอื่น ๆ[[#_ftn21|[21]]] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังมีผลงานด้านวรรณกรรมที่สำคัญ โดยได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือประมาณ 20 เล่ม อาทิเช่น ปทานุกรมศัพท์การเมือง ไทย-อังกฤษ, พิชัยสงครามสามก๊ก, ความนึกในกรงขัง, เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา เป็นต้น[[#_ftn22|[22]]] &nbsp;


สำหรับผลงานในการเมืองภายในประเทศประการสุดท้ายของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การเป็นนักจัดการมวลชน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา คือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2490 -2495 เป็นช่วงเวลาที่มีการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยนายสังข์ พัธโนทัยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย หรือเรียกกันว่า “กรรมกรฝ่ายเหลือง” เพื่อดึงมวลชนกรรมกรให้มาอยู่กับรัฐบาล และในปี พ.ศ. 2490 นายสังข์ พัธโนทัยได้จัดตั้ง “สันนิบาตเสรีชนต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ต่อมกลายเป็น “สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย”[[#_ftn23|[23]]]&nbsp; ต่อมาในช่วง “การเมืองสามเส้า” (พ.ศ. 2495 - 2500) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเผชิญกับปัญหาภัยคุกคามจากฝ่ายกษัตริย์นิยม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และความไม่ลงรอยกันระหว่างจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ส่งผลให้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขาดเสถียรภาพ ดังนั้น จอมพล ป. จึงต้องการสร้างฐานมวลชนของตนขึ้นมา ในการนี้จึงได้แต่งตั้งนายสังข์ พัธโนทัย ให้เป็นทูตลับ เพื่อเจรจากับนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับมาช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงครามดังเดิม แต่ทว่าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ภารกิจดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง[[#_ftn24|[24]]]
สำหรับผลงานในการเมืองภายในประเทศประการสุดท้ายของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การเป็นนักจัดการมวลชน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา คือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2490 -2495 เป็นช่วงเวลาที่มีการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยนายสังข์ พัธโนทัยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย หรือเรียกกันว่า “[[กรรมกรฝ่ายเหลือง|กรรมกรฝ่ายเหลือง]]” เพื่อดึงมวลชนกรรมกรให้มาอยู่กับรัฐบาล และในปี พ.ศ. 2490 นายสังข์ พัธโนทัยได้จัดตั้ง “[[สันนิบาตเสรีชนต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|สันนิบาตเสรีชนต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]]” ต่อมากลายเป็น “[[สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย|สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย]]”[[#_ftn23|[23]]]&nbsp; ต่อมาในช่วง “การเมืองสามเส้า” (พ.ศ. 2495 - 2500) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเผชิญกับปัญหาภัยคุกคามจากฝ่ายกษัตริย์นิยม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และความไม่ลงรอยกันระหว่างจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ส่งผลให้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขาดเสถียรภาพ ดังนั้น จอมพล ป. จึงต้องการสร้างฐานมวลชนของตนขึ้นมา ในการนี้จึงได้แต่งตั้งนายสังข์ พัธโนทัย ให้เป็นทูตลับ เพื่อเจรจากับนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับมาช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงครามดังเดิม แต่ทว่าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ [[16_กันยายน_พ.ศ._2500]]&nbsp;ภารกิจดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง[[#_ftn24|[24]]]


สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การประสานงานอย่างลับ ๆ กับประเทศจีนโดยนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดให้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน ส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการใช้ “นโยบายการทูตสองหน้า” เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน และรักษาความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกา[[#_ftn25|[25]]] โดยมอบหมายให้นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินการ และเพื่อเป็นหลักประกันถึงความจริงใจในการสานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ส่งบุตรชาย คือ นายวรรณไว พัธโนทัย และนางสาวนวลนภา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สิรินทร์) พัธโนทัย ไปอยู่ประเทศจีน โดยอยู่ในความอุปการะของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของประเทศจีน[[#_ftn26|[26]]]
สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การประสานงานอย่างลับ ๆ กับประเทศจีนโดยนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดให้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน ส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการใช้ “นโยบายการทูตสองหน้า” เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน และรักษาความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกา[[#_ftn25|[25]]] โดยมอบหมายให้นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินการ และเพื่อเป็นหลักประกันถึงความจริงใจในการสานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ส่งบุตรชาย คือ นายวรรณไว พัธโนทัย และนางสาวนวลนภา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สิรินทร์) พัธโนทัย ไปอยู่ประเทศจีน โดยอยู่ในความอุปการะของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของประเทศจีน[[#_ftn26|[26]]]
บรรทัดที่ 130: บรรทัดที่ 130:
[[#_ftnref28|[28]]] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 178.
[[#_ftnref28|[28]]] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 178.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:สมาชิกคณะราษฎร]]
&nbsp;
 
[[Category:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:29, 1 ธันวาคม 2562

นายสังข์ พัธโนทัย

 

ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


"นายมั่น':     แต่เรื่องนี้ออกจะร้ายอยู่สักหน่อย เพราะรัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชน เป็นธรรมดาที่จะต้องหวังดีต่อประชาชน
                  ยิ่งในสมัยสร้างชาตินี้ด้วยแล้ว รัฐบาลยิ่งภาระที่จะต้องทำมากเพื่อให้ราษฎรได้อยู่ดีกินดี

นายคง':       การที่ทำงานมาก ๆ ก็ย่อมต้องมีบกพร่องบ้างเป็นธรรมดา
                  พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่ไม่ทรงบกพร่องอะไรเลย”

นายสังข์ พัธโนทัย[1]

          “นายมั่น-นายคง” เป็นรายการวิทยุชื่อดังในช่วงทศวรรษ 2480 ที่มีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ หรือ “โฆษณาการ” งานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอันสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศสยามกำลังเปลี่ยนผ่านมาสู่ “ประเทศไทย” เป็นช่วงเวลาแห่ง “การสร้างชาติ” การสร้าง “วัธนธัม” และ “สงคราม” รายการวิทยุรายการนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อรัฐบาล โดยผู้ที่สวมบทบาทเป็น “นายมั่น-นายคง” นั่นคือ “นายสังข์ พัธโนทัย” ที่ปรึกษาคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกรมโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และในสมาคมกรรมกรไทย ซึ่งรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังเป็นบุคคลที่บุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยได้ส่งบุตรชายและบุตรสาวไปอยู่ในความดูแลของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของจีน เป็นการแสดงความจริงใจ นายสังข์ พัธโนทัย ยังทำหน้าที่เป็นทูตเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับนายปรีดี พนมยงค์ ที่ร้าวฉานให้กลับมาดีดังเดิม ทว่าความพยายามยังไม่บรรลุเป้าหมาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็หมดอำนาจลง และนายสังข์ พัธโนทัย ได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นชื่อของนายสังข์ พัธโนทัย ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว

          นายสังข์ พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ที่ตำบลท้ายบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายเจริญ พัธโนทัย กับนางหลวน พัธโนทัย เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 4 คน[2]

          นายสังข์ พัธโนทัย เริ่มเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาสอบได้ทุนเล่าเรียนของจังหวัด เข้าศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร และเรียนจบวิชาครูประถม ในปี 2476 เมื่ออายุได้ 18 ปี ทั้งที่ใจอยากเรียนต่อวิชาครูมัธยม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่มีทุน[3] จึงได้ได้ตัดสินใจกลับบ้านที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรอรับการบรรจุให้เป็นครูที่นั่น และได้รับการบรรจุเป็นครูครั้งแรกที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้รับเงินเดือนครั้งแรกในชีวิตจำนวน 45 บาท[4]

          นายสังข์ พัธโนทัย สมรสกับนางวิไล พัธโนทัย (ไชยกาญจน์) ในปี พ.ศ. 2482 มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 5 คน คือ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย นางสาวสิรินทร์ (นวลนภา) พัธโนทัย นางผ่องศรี ฟอน วัลเด็ก และนางวิริยวรรณ สาทิสสะรัต[5] นายสังข์ พัธโนทัย ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ที่โรงพยาบาลเดชา สิริรวมอายุได้ 71 ปี[6]

หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ

          นายสังข์ พัธโนทัย เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งครูครั้งแรกที่โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน จึงได้ย้ายไปโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2481 ได้โอนย้ายมาอยู่กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ได้ประจำแผนกวิทยุกระจายเสียง[7] ต่อมาเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันชาติ โดยเริ่มให้มีงานเฉลิมฉลองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 ในครั้งนั้นพระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองโฆษณาวันชาติ และมีนายสังข์ พัธโนทัย เป็นเลขานุการ จึงได้มีการจัดรายการเพื่อโฆษณาความสำคัญของวันชาติ โดยให้มีตัวละครสมมติขึ้นมา 2 คน คือ “นายมั่น ชูชาติ” และ “นายคง รักไทย” ซึ่งเดิมอาศัยเจ้าหน้าที่ในกรมโฆษณาการที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำไปให้พากย์ ต่อมาภายหลังนายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นผู้พากย์ประจำในบทบาท “นายมั่น ชูชาติ” ซึ่งรายการนี้ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลไปยังประชาชนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย จนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก และดำเนินรายการยาวนานต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ. 2487 ได้ยุติการออกอากาศไปพร้อมกับการสิ้นสุดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[8]

          ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการตั้งศาลพิเศษขึ้น เพื่อพิจารณาโทษอาชญากรสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงคราม พร้อมกับคนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ซึ่ง 1 ในนั้น คือ นายสังข์ พัธโนทัย[9] ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้อยู่ในห้องขังเดียวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในห้องขังโรงพักศาลาแดง ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่เรือนจำกลางจังหวัดพระนครและธนบุรี[10] แต่ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายสังข์ พัธโนทัย ติดคุกอยู่ประมาณ 6 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำงานเป็นคอลัมนิสต์อิสระตามหนังสือพิมพ์[11]

          ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง ได้ทาบทามนายสังข์ พัธโนทัย ให้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี ทว่านายสังข์ พัธโนทัย ปฏิเสธตำแหน่งดังกล่าว แต่ยังคงช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะที่ปรึกษาคนสนิทเรื่อยมา และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “เสถียรภาพ” โดยนายสังข์ พัธโนทัย ได้ใช้ความสามารถของนักหนังสือพิมพ์และนักโฆษณาชวนเชื่อผสมผสาน ทำให้หนังสือเสถียรภาพประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงเวลา 10 ปีที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[12] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังได้เป็นผู้อำนวยการให้หนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ นั่นคือ หนังสือพิมพ์ “ธรรมาธิปัตย์” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า “Bangkok Tribune”[13]

          นายสังข์ พัธโนทัย ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย ซึ่งเป็นสมาคมกรรมกรที่รัฐบาลตั้งขึ้น เพื่อสร้างฐานมวลชนของรัฐบาลในหมู่กรรมกรไทย ตลอดจนมีการรับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาเริ่มตระหนักถึงภัยของคอมมิวนิสต์และเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น จากการทำงานในสมาคมกรรมกรไทยนี้ ทำให้นายสังข์ พัธโนทัย มีความใกล้ชิดกับ นายนอร์แมน บี. ฮันนาห์ (Norman B. Hannah) เลขานุการโท ประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายอาร์ชี แมคเคนซี (Archie MacKenzie) แห่งสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย[14]

          นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับความไว้วางใจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างมาก เห็นได้ชัดเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการเปิดความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบาย “การทูตสองทาง” อีกทั้งยังเป็นการเปิดความสัมพันธ์กับนายปรีดี พนมยงค์ ที่เคยร้าวฉานกันไปในเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ 8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490 และเหตุการณ์กบฏวังหลวง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492[15] จึงได้ส่งนายสังข์ พัธโนทัย  ไปเป็นทูตลับให้กับรัฐบาลในภารกิจดังกล่าวอยู่เป็นระยะ จนกระทั่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการยึดอำนาจของจอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์ ในวันที่ 16_กันยายน_พ.ศ._2500 นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2509[16] หลังจากนั้น นายสังข์ พัธโนทัย ไม่ได้ดำรงตำแหน่งใด ๆ อีกเลย

ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง

          นายสังข์ พัธโนทัย มีผลงานที่สำคัญในทางการเมืองอยู่หลายด้าน ซึ่งมีความโดดเด่นอย่างยิ่งทั้งต่อการเมืองภายในประเทศ และการเมืองภายนอกประเทศ โดยสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในการเมืองภายในประเทศ อันได้แก่ การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายวิทยุ “นายมั่น-นายคง” การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล และการเป็นนักจัดการมวลชน สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัยนั้น ได้แก่ การประสานงานอย่างลับ ๆ ภายใต้ “นโยบายการทูตสองหน้า” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

          ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการแรกได้แก่ “การเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อในรายการวิทยุนายมั่น-นายคง” ซึ่งออกอากาศทุกวัน ในเวลา 07.00 น. ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยรูปแบบรายการจะเป็นบทสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติ และนายคง รักไทย ในประเด็นต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ หรือประเด็นที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนปฏิบัติ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระทั้งหมดผ่าน “จดหมายซองเหลือง” ที่ส่งมาในทุก ๆ วัน ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชื่นชอบรายการนี้มาก แม้ว่าในขณะนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะยังไม่รู้จักกับนายสังข์ พัธโนทัย เป็นการส่วนตัวก็ตาม[17]

นโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ล้วนแต่ได้รับการโฆษณาผ่านรายการนายมั่น-นายคงมาแล้วทั้งสิ้น อาทิเช่น นโยบายรัฐนิยม นโยบายวัธนธัมแห่งชาติ เป็นต้น[18] โดยเฉพาะนโยบายวัธนธัมแห่งชาตินั้น นายสังข์ พัธโนทัย ได้รับมาปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยแต่เดิมนั้น นามสกุลของนายสังข์ จะสะกดว่า “พัฒโนทัย” เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายวัธนธัมแห่งชาติ นายสังข์จึงเปลี่ยนมาสะกดว่า “พัธโนทัย” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[19] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ริเริ่มให้มีการใช้คำทักทายว่า “สวัสดี” ก็ได้ใช้รายการนายมั่น-นายคง เป็นช่องทางในการโฆษณา โดยเป็นประโยคพูดเปิดเข้ารายการว่า “สวัสดีมีชัย”[20] เพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ จนกระทั่งกลายเป็นคำทักทายจนถึงปัจจุบัน

ผลงานในการเมืองภายในประเทศประการต่อมา นั่นคือ การเป็นนักหนังสือพิมพ์ให้รัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งหลังเหตุการณ์การยึดอำนาจวันที่ 8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490 นายสังข์ พัธโนทัย ได้เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญ ๆ ถึง 3 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ หนังสือพิมพ์ธรรมาธิปัตย์ และหนังสือพิมพ์ Bangkok Tribune ซึ่งขณะนั้น บริบทการเมืองไทยมีลักษณะเป็น “การเมืองสามเส้า” (พ.ศ. 2495 - 2500) โดยมีกลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลุ่มของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ และกลุ่มของจอมพล_สฤษดิ์_ธนะรัชต์ ทั้งนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ได้ให้การสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ของตนในการสนับสนุนรัฐบาลและวิจารณ์กลุ่มอื่น ๆ[21] นอกจากนี้ นายสังข์ พัธโนทัย ยังมีผลงานด้านวรรณกรรมที่สำคัญ โดยได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือประมาณ 20 เล่ม อาทิเช่น ปทานุกรมศัพท์การเมือง ไทย-อังกฤษ, พิชัยสงครามสามก๊ก, ความนึกในกรงขัง, เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา เป็นต้น[22]  

สำหรับผลงานในการเมืองภายในประเทศประการสุดท้ายของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การเป็นนักจัดการมวลชน ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา คือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2490 -2495 เป็นช่วงเวลาที่มีการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยนายสังข์ พัธโนทัยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการใหญ่สมาคมกรรมกรไทย หรือเรียกกันว่า “กรรมกรฝ่ายเหลือง” เพื่อดึงมวลชนกรรมกรให้มาอยู่กับรัฐบาล และในปี พ.ศ. 2490 นายสังข์ พัธโนทัยได้จัดตั้ง “สันนิบาตเสรีชนต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ต่อมากลายเป็น “สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย[23]  ต่อมาในช่วง “การเมืองสามเส้า” (พ.ศ. 2495 - 2500) จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเผชิญกับปัญหาภัยคุกคามจากฝ่ายกษัตริย์นิยม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และความไม่ลงรอยกันระหว่างจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ส่งผลให้รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขาดเสถียรภาพ ดังนั้น จอมพล ป. จึงต้องการสร้างฐานมวลชนของตนขึ้นมา ในการนี้จึงได้แต่งตั้งนายสังข์ พัธโนทัย ให้เป็นทูตลับ เพื่อเจรจากับนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับมาช่วยงานจอมพล ป. พิบูลสงครามดังเดิม แต่ทว่าจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16_กันยายน_พ.ศ._2500 ภารกิจดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง[24]

สำหรับผลงานในการเมืองภายนอกประเทศของนายสังข์ พัธโนทัย นั่นคือ การประสานงานอย่างลับ ๆ กับประเทศจีนโดยนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดให้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน ส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการใช้ “นโยบายการทูตสองหน้า” เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน และรักษาความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกา[25] โดยมอบหมายให้นายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินการ และเพื่อเป็นหลักประกันถึงความจริงใจในการสานสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้ส่งบุตรชาย คือ นายวรรณไว พัธโนทัย และนางสาวนวลนภา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สิรินทร์) พัธโนทัย ไปอยู่ประเทศจีน โดยอยู่ในความอุปการะของนายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีของประเทศจีน[26]

ต่อมาภายหลังจากที่นายสังข์ พัธโนทัย พ้นโทษข้อหาคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2509 และได้เดินทางไปยังประเทศจีน ขณะนั้นนายนอร์แมน บี. ฮันนาห์ (Norman B. Hannah) ขณะนั้นเป็นอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ฝาก “สาส์นปากเปล่า” ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาไปยังผู้นำประเทศจีนด้วย ซึ่งเนื้อหาในสาส์นดังกล่าวเป็นการสะท้อนถึงความตั้งใจของสหรัฐอเมริกาในการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน ซึ่งนายสังข์ พัธโนทัย เป็นเพียงไม่กี่คนในโลกที่ล่วงรู้ความลับดังกล่าว[27] ทว่าทางการจีน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม กลับมองว่านายสังข์เป็นผู้รับใช้จักรพรรดินิยม และโดนขับออกจากประเทศไป แต่หลังจากนั้นไม่นาน ข้อความในสาส์นปากเปล่าก็เกิดจริง นายสังข์ พัธโนทัย จึงได้รับการยอมรับจากทางการจีนอีกครั้ง[28]

บรรณานุกรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ, จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่, (กรุงเทพฯ :  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544).

ณัฐพล ใจจริง, การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. '2491-2500)', (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552).

บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ จำกัด, บทสนทนานายมั่น ชูชาติ กับนายคง รักไทย, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2484).

รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2555).

รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ '2', (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2555).

สังข์ พัธโนทัย, ความนึกในกรงขัง, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, 2549).

สารนาถ, เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม, 2555).

สิรินทร์ พัธโนทัย, มุกมังกร, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น, 2538).

อ้างอิง

[1] บทสนทนานายมั่น  ชูชาติ กับนายคง รักไทย ออกอากาศวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2484 เป็นรายการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินรายการให้เสียงพากย์เป็นนายมั่น ชูชาติ และนายคง รักไทย ที่มา บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ จำกัด, บทสนทนานายมั่น ชูชาติ กับนายคง รักไทย, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2484), น. 34.

[2] สังข์ พัธโนทัย, ความนึกในกรงขัง, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, 2549), น. 67.

[3] เพิ่งอ้าง, น. 74-78.

[4] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2555), น. 170.

[5] สารนาถ, เยี่ยมไทยอาหม สายเลือดของเรา, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม, 2555), น. 383.

[6] เพิ่งอ้าง.

[7] สังข์ พัธโนทัย, อ้างแล้ว, น. 79-80.

[8] เพิ่งอ้าง, น. 81.

[9] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ, จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), น. (28).

[10] สังข์ พัธโนทัย, อ้างแล้ว, น. 107.

[11] สิรินทร์ พัธโนทัย, มุกมังกร, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะเนชั่น, 2538), น. 32-33.

[12] เพิ่งอ้าง.

[13] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ 2, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์, 2555), น. 51.

[14] เพิ่งอ้าง.

[15] ณัฐพล ใจจริง, การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500), (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), น. 79-81.

[16] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 176.

[17] สังข์ พัธโนทัย, อ้างแล้ว, น. 190-195.

[18] บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ จำกัด, บทสนทนานายมั่น ชูชาติ กับนายคง รักไทย, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2484), น. 30-36.

[19] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 171.

[20] บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ จำกัด, อ้างแล้ว, น. 37.

[21] ณัฐพล ใจจริง, อ้างแล้ว, น. 189.

[22] สารนาถ, อ้างแล้ว, น. 383.

[23] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 174.

[24] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ 2, อ้างแล้ว, น. 85.

[25] สิรินทร์ พัธโนทัย, อ้างแล้ว, น. 37-39.

[26] เพิ่งอ้าง, 105-135.

[27] เพิ่งอ้าง, น. 350.

[28] รุ่งมณี เมฆโสภณ, อำนาจ, อ้างแล้ว, น. 178.