ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรงสละราชสมบัติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
จากความเห็นขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลที่ดูเหมือนจะไม่มีทางประนีประนอมกันได้ ในที่สุดระหว่างประทับรักษาพระเนตรที่อังกฤษ ทรงมีพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแต่งตั้งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ
จากความเห็นขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]กับ[[รัฐบาล]]ที่ดูเหมือนจะไม่มีทาง[[ประนีประนอม]]กันได้ ในที่สุดระหว่างประทับรักษาพระเนตรที่อังกฤษ ทรงมี[[พระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ]]เมื่อวันที่ [[๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗]] โดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแต่งตั้งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ตามวิถีทาง[[รัฐธรรมนูญ]]
ในพระราชหัตถเลขา ทรงหยิบยกปัญหาอันเนื่องจากความเห็นแตกต่างกันทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแสดงไว้หลายประการ
ในพระราชหัตถเลขา ทรงหยิบยกปัญหาอันเนื่องจากความเห็นแตกต่างกันทาง[[การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย]]มาแสดงไว้หลายประการ


ข่าวการสละราชสมบัติ เป็นที่สนใจของหนังสือพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ทรงสละสิทธิในพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ แต่ทรงสงวนสิทธิซึ่งได้ทรงดำรงมานับแต่ก่อนเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ รวมทั้งโปรดให้ใช้พระนามเดิม ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” และประทับในประเทศอังกฤษต่อไป พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดไม่มากนัก  
ข่าวการสละราชสมบัติ เป็นที่สนใจของหนังสือพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ทรงสละสิทธิในพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ แต่ทรงสงวนสิทธิซึ่งได้ทรงดำรงมานับแต่ก่อนเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ รวมทั้งโปรดให้ใช้พระนามเดิม ว่า “[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา]]” และประทับในประเทศอังกฤษต่อไป พร้อมด้วย[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดไม่มากนัก  


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบรัฐสภาของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายใน[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]] และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน[[ระบอบรัฐสภา]]ของประเทศไทย


'''ที่มา '''
'''ที่มา '''

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 10 กุมภาพันธ์ 2559

จากความเห็นขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลที่ดูเหมือนจะไม่มีทางประนีประนอมกันได้ ในที่สุดระหว่างประทับรักษาพระเนตรที่อังกฤษ ทรงมีพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยมิได้ทรงแต่งตั้งผู้สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแต่งตั้งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ

ในพระราชหัตถเลขา ทรงหยิบยกปัญหาอันเนื่องจากความเห็นแตกต่างกันทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแสดงไว้หลายประการ

ข่าวการสละราชสมบัติ เป็นที่สนใจของหนังสือพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงสละสิทธิในพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ แต่ทรงสงวนสิทธิซึ่งได้ทรงดำรงมานับแต่ก่อนเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ รวมทั้งโปรดให้ใช้พระนามเดิม ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” และประทับในประเทศอังกฤษต่อไป พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดไม่มากนัก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบรัฐสภาของประเทศไทย

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖