ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:
ความรู้สึกชาตินิยมของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมลายูเกิดขึ้นเนื่องจากกระแสการปลดแอกจากลัทธิอาณานิคม และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ    ประกอบกับชาวจีนในมาลายาคิดว่าอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เหมาะสมที่สุดที่สามารถนำมาใช้ต่อต้านการกดขี่ของนายทุนตะวันตก   
ความรู้สึกชาตินิยมของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมลายูเกิดขึ้นเนื่องจากกระแสการปลดแอกจากลัทธิอาณานิคม และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ    ประกอบกับชาวจีนในมาลายาคิดว่าอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เหมาะสมที่สุดที่สามารถนำมาใช้ต่อต้านการกดขี่ของนายทุนตะวันตก   


แนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายเข้ามายังชุมชนชาวจีนในมลายูโดยผ่านตัวแทน[[คอมมิวนิสต์จีนก๊กมินตั๋ง|พรรคคอมมิวนิสต์จีนก๊กมินตั๋ง]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2467<ref>อุษณีย์  กรรณสูต และ พัชรี สิโรรส.  (2516). พื้นฐานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.  หน้า  99 -100 </ref>  ซึ่งเข้ามาเผยแพร่อุดมการณ์[[ปฏิวัติ]]และปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อ  ความรู้สึกชาตินิยมในหมู่คนจีนในมลายา ทั้งในหมู่นักศึกษาตามโรงเรียนจีน สมาคมแซ่ต่างๆ และกรรมกรในองค์กร  ตลอดจนคนรับใช้ตามบ้านเรือนหรือกุลีสวนยาง  นำไปสู่การก่อตั้งสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลและก่อตั้ง[[สหภาพแรงงานนานาชาติ]]  จนกระทั่งใน พ.ศ. 2469  จึงมีการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “[[สหภาพแรงงานนานยาง]]” (Nan yang General Labor Union - NGLU)  ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลและการกำกับควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน<ref>กิตติ รัตนฉายา.  (2538). ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา.  หน้า 2.  และ  มานพ จิตต์ภูษา.  (2525).  เล่มเดิม. หน้า 90.</ref>  ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พรรคคอมมิวนิสต์จีนพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้สามารถดำเนินงานและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและคลอบคลุม  จึงได้จัดส่งตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกจำนวนหนึ่งเข้ามาในมลายาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ จัดหาและขยายสมาชิกในหมู่คนจีน  พร้อมกับจัดตั้งองค์กรใหม่มีชื่อว่า “[[พรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายา]]” (Nan yang Communist Party of Malaya – NCPM)<ref>นันทวรรณ  ยอดพิจิตร. (2543). ความร่วมมือของไทยต่อมาเลเซีย : ศึกษากรณีการแก้ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พ.ศ. 2520 - 2532). หน้า 16.</ref>   
แนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายเข้ามายังชุมชนชาวจีนในมลายูโดยผ่านตัวแทน[[คอมมิวนิสต์จีนก๊กมินตั๋ง|พรรคคอมมิวนิสต์จีนก๊กมินตั๋ง]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2467<ref>อุษณีย์  กรรณสูต และ พัชรี สิโรรส.  (2516). พื้นฐานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.  หน้า  99 -100 </ref>  ซึ่งเข้ามาเผยแพร่อุดมการณ์[[ปฏิวัติ]]และปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อ  ความรู้สึก[[ชาตินิยม]]ในหมู่คนจีนในมลายา ทั้งในหมู่นักศึกษาตามโรงเรียนจีน สมาคมแซ่ต่างๆ และกรรมกรในองค์กร  ตลอดจนคนรับใช้ตามบ้านเรือนหรือกุลีสวนยาง  นำไปสู่การก่อตั้งสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลและก่อตั้ง[[สหภาพแรงงานนานาชาติ]]  จนกระทั่งใน พ.ศ. 2469  จึงมีการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “[[สหภาพแรงงานนานยาง]]” (Nan yang General Labor Union - NGLU)  ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลและการกำกับควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน<ref>กิตติ รัตนฉายา.  (2538). ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา.  หน้า 2.  และ  มานพ จิตต์ภูษา.  (2525).  เล่มเดิม. หน้า 90.</ref>  ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พรรคคอมมิวนิสต์จีนพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้สามารถดำเนินงานและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและคลอบคลุม  จึงได้จัดส่งตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกจำนวนหนึ่งเข้ามาในมลายาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ จัดหาและขยายสมาชิกในหมู่คนจีน  พร้อมกับจัดตั้งองค์กรใหม่มีชื่อว่า “[[พรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายา]]” (Nan yang Communist Party of Malaya – NCPM)<ref>นันทวรรณ  ยอดพิจิตร. (2543). ความร่วมมือของไทยต่อมาเลเซีย : ศึกษากรณีการแก้ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พ.ศ. 2520 - 2532). หน้า 16.</ref>   


ใน พ.ศ. 2473  ได้มีการประชุมให้ปรับองค์กรใหม่เพื่อความเป็นปึกแผ่นของพรรค และเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจการของพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยการยุบรวมสหภาพแรงงานนานยางและพรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายาเป็นองค์กรเดียว  มีชื่อว่า “พรรคคอมมิวนิสต์มลายา” (Malaya  Communist Party - MCP)  และมีนโยบายที่สำคัญว่า จะใช้กรรมกรเป็นกลจักรขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ของพรรคฯ  ด้วยเหตุนี้ จึงจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “สหภาพกรรมกรทั่วไปแห่งมาลายา”  (Malaya General Labor Union - MGLU) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการปฏิบัติการต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา<ref>นันทิวัฒน์  สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. หน้า 23.</ref>  
ใน พ.ศ. 2473  ได้มีการประชุมให้ปรับองค์กรใหม่เพื่อความเป็นปึกแผ่นของพรรค และเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจการของพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยการยุบรวมสหภาพแรงงานนานยางและพรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายาเป็นองค์กรเดียว  มีชื่อว่า “พรรคคอมมิวนิสต์มลายา” (Malaya  Communist Party - MCP)  และมีนโยบายที่สำคัญว่า จะใช้กรรมกรเป็นกลจักรขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ของพรรคฯ  ด้วยเหตุนี้ จึงจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “สหภาพกรรมกรทั่วไปแห่งมาลายา”  (Malaya General Labor Union - MGLU) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการปฏิบัติการต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา<ref>นันทิวัฒน์  สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. หน้า 23.</ref>  
บรรทัดที่ 137: บรรทัดที่ 137:
เมื่อดูจากรายการเหล่านี้จะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่เสียรายจ่ายโดยเปล่าประโยชน์  และจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองและภาษีเถื่อนเหล่านี้ทำให้ไม่มีการลงทุนธุรกิจขนาดใหญ่  รวมทั้งรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปพัฒนาทางเศรษฐกิจ  ไม่สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ   
เมื่อดูจากรายการเหล่านี้จะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่เสียรายจ่ายโดยเปล่าประโยชน์  และจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองและภาษีเถื่อนเหล่านี้ทำให้ไม่มีการลงทุนธุรกิจขนาดใหญ่  รวมทั้งรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปพัฒนาทางเศรษฐกิจ  ไม่สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ   
ส่วนของการปราบปรามรัฐบาลต้องเสียงงบประมาณในการปราบปรามเป็นจำนวนมาก อีกทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหายจากการปราบปรามตลอดจนรายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงการประกาศห้ามออกนอกบ้านในตอนกลางคืน (เคอร์ฟิวส์)  ขณะปฏิบัติการทำรายได้ลดลงเพราะรายได้ส่วนมากมาจากการกรีดยาง  เหล่านี้เป็นต้น
ส่วนของการปราบปรามรัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการปราบปรามเป็นจำนวนมาก อีกทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหายจากการปราบปรามตลอดจนรายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงการประกาศห้ามออกนอกบ้านในตอนกลางคืน (เคอร์ฟิวส์)  ขณะปฏิบัติการทำรายได้ลดลงเพราะรายได้ส่วนมากมาจากการกรีดยาง  เหล่านี้เป็นต้น


==ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านสังคม==
==ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านสังคม==
บรรทัดที่ 154: บรรทัดที่ 154:
==นโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา==
==นโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา==


การเคลื่อนไหวปฏิบัติการและการตั้งฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย  ก่อให้เกิดผลและผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นของของชาติ  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ทำให้รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายในการป้องกันและปราบปราม  ด้วยการทำความตกลงร่วมมือกับมาเลเซีย  นับตั้งแต่การประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อ พ.ศ. 2491  ได้จัดตั้ง “กองปราบปรามผสม” มีกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการรักษาการณ์กลาง  และคณะกรรมการรักษาการณ์ทักษิณ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมตำรวจ  กระทรวงมหาดไทย<ref>กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ.  (2535).  “กรป.กลางกับงานชายแดนไทย-มาเลเซีย,” ใน ครบรอบ 20 ปี กรป. กลาง.  หน้า 104.</ref>  ต่อจากนั้นได้ทำความตกลงร่วมมือกันอีกหลายครั้งและปรากฏในรูปของการทำความตกลงร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมตามแนวพรมแดนไทย – มาเลเซีย สรุปได้ดังนี้ <ref>กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ.  (2523).  ครบรอบ18 ปี กรป. กลาง.  หน้า 140 - 146</ref>  
การเคลื่อนไหวปฏิบัติการและการตั้งฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย  ก่อให้เกิดผลและผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นของของชาติ  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ทำให้รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายในการป้องกันและปราบปราม  ด้วยการทำความตกลงร่วมมือกับมาเลเซีย  นับตั้งแต่การประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อ พ.ศ. 2491  ได้จัดตั้ง “กองปราบปรามผสม” มีกรรมการ 2 คณะ คือ [[คณะกรรมการรักษาการณ์กลาง]] และ[[คณะกรรมการรักษาการณ์ทักษิณ]] อยู่ในความรับผิดชอบของกรมตำรวจ  [[กระทรวงมหาดไทย]]<ref>กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ.  (2535).  “กรป.กลางกับงานชายแดนไทย-มาเลเซีย,” ใน ครบรอบ 20 ปี กรป. กลาง.  หน้า 104.</ref>  ต่อจากนั้นได้ทำความตกลงร่วมมือกันอีกหลายครั้งและปรากฏในรูปของการทำความตกลงร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมตามแนวพรมแดนไทย – มาเลเซีย สรุปได้ดังนี้ <ref>กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ.  (2523).  ครบรอบ18 ปี กรป. กลาง.  หน้า 140 - 146</ref>  


'''ระยะที่  1'''  พ.ศ.  2492 – 2495  เป็นการทำความตกลงรวมมือในระดับผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต  9  ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมตำรวจ  กับผู้บังคับการตำรวจมลายูสาระสำคัญของข้อตกลง  คือ  ต่างฝ่ายต่างทำการปราบปรามในเขตแดนของตน  แต่ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน  การปราบปรามได้ผลดีอยู่ระยะหนึ่งแต่เมื่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาคุ้นเคยกับภูมิประเทศตามพรมแดนมากขึ้นการปราบปรามจึงไม่ค่อยได้ผล
'''ระยะที่  1'''  พ.ศ.  2492 – 2495  เป็นการทำความตกลงรวมมือในระดับผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต  9  ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมตำรวจ  กับผู้บังคับการตำรวจมลายูสาระสำคัญของข้อตกลง  คือ  ต่างฝ่ายต่างทำการปราบปรามในเขตแดนของตน  แต่ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน  การปราบปรามได้ผลดีอยู่ระยะหนึ่งแต่เมื่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาคุ้นเคยกับภูมิประเทศตามพรมแดนมากขึ้นการปราบปรามจึงไม่ค่อยได้ผล
บรรทัดที่ 178: บรรทัดที่ 178:
ในช่วง  พ.ศ. 2510 – 2519  มีการปฏิบัติการที่สำคัญ 4 ครั้ง  คือ  ยุทธการสวัสดี,  ยุทธการซาลาม,  ยุทธการสวัสดี – ซาลาม  และยุทธการไชโย  ทั้งหมดมีพื้นที่ปฏิบัติการในประเทศไทย  บริเวณอำเภอเบตง  อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม.  กรมที่  12  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม. กรมที่ 8 และอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม.  กรมที่ 10<ref>มานพ  จิตต์ภูษา.  (2525). เล่มเดิม.  หน้า 154.</ref>  
ในช่วง  พ.ศ. 2510 – 2519  มีการปฏิบัติการที่สำคัญ 4 ครั้ง  คือ  ยุทธการสวัสดี,  ยุทธการซาลาม,  ยุทธการสวัสดี – ซาลาม  และยุทธการไชโย  ทั้งหมดมีพื้นที่ปฏิบัติการในประเทศไทย  บริเวณอำเภอเบตง  อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม.  กรมที่  12  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม. กรมที่ 8 และอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส  ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม.  กรมที่ 10<ref>มานพ  จิตต์ภูษา.  (2525). เล่มเดิม.  หน้า 154.</ref>  


ในสมัยนายธานินทร์  กรัยวิเชียรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีปฏิบัติการร่วมที่สำคัญ 4 ครั้ง<ref>ประสิทธ์  รุ่งเรืองรัตนกุล.  (2522).  ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย. หน้า 114.</ref>  คือ   
ในสมัย[[นายธานินทร์ กรัยวิเชียร|ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีปฏิบัติการร่วมที่สำคัญ 4 ครั้ง<ref>ประสิทธ์  รุ่งเรืองรัตนกุล.  (2522).  ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย. หน้า 114.</ref>  คือ   
'''ครั้งแรก'''  แผนดาวใหญ่ มุสน่าห์ 1  เริ่มกลางเดือน  มกราคม  ถึง  5  กุมภาพันธ์  2520  เป็นปฏิบัติการในการแถบอำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา
'''ครั้งแรก'''  [[แผนดาวใหญ่ มุสน่าห์ 1]] เริ่มกลางเดือน  มกราคม  ถึง  5  กุมภาพันธ์  2520  เป็นปฏิบัติการในการแถบอำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา
'''ครั้งที่สอง'''  แผนดาวใหญ่มุสน่าห์ 2  เริ่ม  15  มีนาคม  ถึง  20  เมษายน  2520  เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอสะเดา  อำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเบตง  จังหวัดยะลา
'''ครั้งที่สอง'''  [[แผนดาวใหญ่มุสน่าห์ 2]] เริ่ม  15  มีนาคม  ถึง  20  เมษายน  2520  เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอสะเดา  อำเภอนาทวี  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเบตง  จังหวัดยะลา
'''ครั้งที่สาม'''  แผนซาฮาย่า  เบน่า  1  แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง)  เริ่มวันที่  4  กรกฎาคม  ถึง  10  สิงหาคม  2520  เป็นเวลา  31  วัน  เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอเบตง  จังหวัดยะลา  และอำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส   
'''ครั้งที่สาม'''  [[แผนซาฮาย่า  เบน่า  1]] แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง)  เริ่มวันที่  4  กรกฎาคม  ถึง  10  สิงหาคม  2520  เป็นเวลา  31  วัน  เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอเบตง  จังหวัดยะลา  และอำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส   
'''ครั้งสุดท้าย'''  แผนซาฮ่ายา เบน่า 2  (แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง)  เริ่ม  7 – 28  กรกฎาคม  2520  ในแถบอำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส   
'''ครั้งสุดท้าย'''  [[แผนซาฮ่ายา เบน่า 2]] (แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง)  เริ่ม  7 – 28  กรกฎาคม  2520  ในแถบอำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส   


ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีการปฏิบัติร่วม<ref>มานพ  จิตต์ภูษา.  (2524, มิถุนายน – กรกฎาคม).  “จคม. กับการปฏิบัติของทหารมาเลเซียในแดนไทย,” ในวารสารรูสมิแล. 5(3) : 94 -95.</ref>  คือ   
ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีการปฏิบัติร่วม<ref>มานพ  จิตต์ภูษา.  (2524, มิถุนายน – กรกฎาคม).  “จคม. กับการปฏิบัติของทหารมาเลเซียในแดนไทย,” ในวารสารรูสมิแล. 5(3) : 94 -95.</ref>  คือ   
ครั้งแรก  แผนรายวัน ใช้เวลา 1  สัปดาห์  ในเดือน  มกราคม  2521  โดยมุ่งพัฒนามาตรฐานของกระบวนการปฏิวัติการสำหรับกองทัพทั้งสองประเทศในการติดต่อประสานงานร่วม  ทั้งการสื่อสารการใช้ภาษา   
ครั้งแรก  [[แผนรายวัน]] ใช้เวลา 1  สัปดาห์  ในเดือน  มกราคม  2521  โดยมุ่งพัฒนามาตรฐานของกระบวนการปฏิวัติการสำหรับกองทัพทั้งสองประเทศในการติดต่อประสานงานร่วม  ทั้งการสื่อสารการใช้ภาษา   
ครั้งที่สอง  แผนซาลามัติ – สวัสดี 1  เริ่ม  24  เมษายน  ถึง  30  กันยายน  2521  เป็นปฏิบัติการในเขตอำเภอเบตง  กิ่งอำเภอธารโต  และอำเภอบันนังสตาร์  จังหวัดยะลา   
ครั้งที่สอง  [[แผนซาลามัติ – สวัสดี 1]] เริ่ม  24  เมษายน  ถึง  30  กันยายน  2521  เป็นปฏิบัติการในเขตอำเภอเบตง  กิ่งอำเภอธารโต  และอำเภอบันนังสตาร์  จังหวัดยะลา   
ครั้งที่สาม  แผนซาลามัติ – สวัสดี 2  หรือยุทธการ  791  เริ่ม  1  ตุลาคม  2521  ถึง  3  กุมภาพันธ์  2522  พื้นที่ปฏิบัติการเช่นเดียวกับแผนยุทธการซาละมัต – สวัสดี
ครั้งที่สาม  [[แผนซาลามัติ – สวัสดี 2]] หรือยุทธการ  791  เริ่ม  1  ตุลาคม  2521  ถึง  3  กุมภาพันธ์  2522  พื้นที่ปฏิบัติการเช่นเดียวกับแผนยุทธการซาละมัต – สวัสดี
ครั้งที่สี่  คือ  ยุทธการ 792 อัลฟ่า  เริ่มวันที่  4  กุมภาพันธ์  2522  โดยมุ่งหมายถล่มโจรจีนคอมมิวนิสต์  กรมที่  8  ที่เขาน้ำค้าง  ตำบลสำนักแต้ว  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา 
ครั้งที่สี่  คือ  [[ยุทธการ 792 อัลฟ่า]] เริ่มวันที่  4  กุมภาพันธ์  2522  โดยมุ่งหมายถล่มโจรจีนคอมมิวนิสต์  กรมที่  8  ที่เขาน้ำค้าง  ตำบลสำนักแต้ว  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา 


นอกจากนั้นได้มีปฏิบัติการอีกหลายครั้ง เช่น ยุทธการ 792 บราโว่, ยุทธการ  792  ซาร์ลี,  ยุทธการ  801  อัลฟ่า  เหล่านี้  เป็นต้น   
นอกจากนั้นได้มีปฏิบัติการอีกหลายครั้ง เช่น ยุทธการ 792 บราโว่, ยุทธการ  792  ซาร์ลี,  ยุทธการ  801  อัลฟ่า  เหล่านี้  เป็นต้น   


ในพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/ 2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์  หรือ นโยบายการเมืองนำการทหาร ที่รู้จักกันในนาม “นโยบาย  66/23”  พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท. 43)<ref>ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้.  (2534).  สู่ชายแดนใต้สันติ.  หน้า 93.</ref>  เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  รวมถึงการปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ด้วย
ใน[[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์|เปรม ติณสูลานนท์]]ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/ 2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์  หรือ นโยบายการเมืองนำการทหาร ที่รู้จักกันในนาม “นโยบาย  66/23”  พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท. 43)<ref>ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้.  (2534).  สู่ชายแดนใต้สันติ.  หน้า 93.</ref>  เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  รวมถึงการปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ด้วย


จากการดำเนินการปราบปรามขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ทั้งทางการเมืองการทหารอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะในช่วงที่ดำเนินนโยบาย  66/2523  ยุคพลโทหาญ  ลีลานนท์  เป็นแม่ทัพภาคที่  4  ได้ใช้นโยบายใต้ร่มเย็นกดดันโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาปฏิบัติการจิตวิทยาและการทหารตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น 11 และ ยุทธการใต้ร่มเย็น 15<ref>ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใน นิสิต  จันทร์สมวงศ์. (2530). บทบาทของกองทัพบกไทยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามนโยบายใต้ร่มเย็นของกองทัพภาคที่ 4.  วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>  จนสามารถยึดกองกำลังของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาได้หลายพื้นที่  ต่อมาในสมัยพลโทวันชัย  จิตต์จำนง  และพลโทวิศิษย์  อาจคุ้มวงษ์  เป็นแม่ทัพภาคที่ 4  และพลตรีกิตติ  รัตนฉายา (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจฝ่ายไทยได้มีการเจรจากับโจรจีนคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย   
จากการดำเนินการปราบปรามขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ทั้งทางการเมืองการทหารอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะในช่วงที่ดำเนินนโยบาย  66/2523  ยุคพลโทหาญ  ลีลานนท์  เป็นแม่ทัพภาคที่  4  ได้ใช้นโยบายใต้ร่มเย็นกดดันโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาปฏิบัติการจิตวิทยาและการทหารตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น 11 และ ยุทธการใต้ร่มเย็น 15<ref>ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใน นิสิต  จันทร์สมวงศ์. (2530). บทบาทของกองทัพบกไทยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามนโยบายใต้ร่มเย็นของกองทัพภาคที่ 4.  วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>  จนสามารถยึดกองกำลังของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาได้หลายพื้นที่  ต่อมาในสมัยพลโทวันชัย  จิตต์จำนง  และพลโทวิศิษย์  อาจคุ้มวงษ์  เป็นแม่ทัพภาคที่ 4  และพลตรีกิตติ  รัตนฉายา (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจฝ่ายไทยได้มีการเจรจากับโจรจีนคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย   
บรรทัดที่ 206: บรรทัดที่ 206:
การดำเนินตามแนวนโยบาย  66/2523  และนโยบายใต้ร่มเย็นของกองบัญชาการผสมพลเรือน  ตำรวจ  ทหารที่  43  ภายใต้การบังคับบัญชากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4  ส่งผลให้ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์  กรมที่  8  และกรมที่  10  เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เมื่อ  1  มีนาคม  2530  และ  28  เมษายน  2530<ref>“ประวัติอุโมงค์สามชั้น - ประวัติของกรมที่ 8,” ใน เอกสารนำชมอุโมงค์เขาน้ำค้าง (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)  และ กองบรรณาธิการ วารสารรูสมิแล. (2530,พฤษภาคม – สิงหาคม).  “เยี่ยมหมู่บ้านปิยะมิตร วนคาม1 ; จคม. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,” ใน วารสารรูสมิแล. 10(3) : 17.</ref>  หลังจากนั้นได้มีการเจรจากับผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาอีก 5 ครั้งที่จังหวัดภูเก็ต  คือ   
การดำเนินตามแนวนโยบาย  66/2523  และนโยบายใต้ร่มเย็นของกองบัญชาการผสมพลเรือน  ตำรวจ  ทหารที่  43  ภายใต้การบังคับบัญชากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4  ส่งผลให้ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์  กรมที่  8  และกรมที่  10  เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เมื่อ  1  มีนาคม  2530  และ  28  เมษายน  2530<ref>“ประวัติอุโมงค์สามชั้น - ประวัติของกรมที่ 8,” ใน เอกสารนำชมอุโมงค์เขาน้ำค้าง (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)  และ กองบรรณาธิการ วารสารรูสมิแล. (2530,พฤษภาคม – สิงหาคม).  “เยี่ยมหมู่บ้านปิยะมิตร วนคาม1 ; จคม. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,” ใน วารสารรูสมิแล. 10(3) : 17.</ref>  หลังจากนั้นได้มีการเจรจากับผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาอีก 5 ครั้งที่จังหวัดภูเก็ต  คือ   
1.  การเจรจาสันติภาพไตรภาคี  ครั้งที่  1  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา  ในวันที่  2 – 4  กุมภาพันธ์  2532 <ref>กิตติ  รัตนฉายา.  (2538). เล่มเดิม.  หน้า 67.</ref>
1.  [[การเจรจาสันติภาพไตรภาคี]] ครั้งที่  1  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา  ในวันที่  2 – 4  กุมภาพันธ์  2532 <ref>กิตติ  รัตนฉายา.  (2538). เล่มเดิม.  หน้า 67.</ref>
2.  การเจรจาสันติภาพไตรภาคี  ครั้งที่  2  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์  มลายา  ในวันที่  15 – 17  มีนาคม  2532 <ref>แหล่งเดิม.  หน้า 115.</ref>
2.  การเจรจาสันติภาพไตรภาคี  ครั้งที่  2  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์  มลายา  ในวันที่  15 – 17  มีนาคม  2532 <ref>แหล่งเดิม.  หน้า 115.</ref>
บรรทัดที่ 216: บรรทัดที่ 216:
5.  การเจรจาสันติภาพไตรภาคี  ครั้งที่  5  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์  มลายา  ในวันที่  2 – 4  พฤศจิกายน  2532 <ref>แหล่งเดิม.  หน้า 267.</ref>
5.  การเจรจาสันติภาพไตรภาคี  ครั้งที่  5  ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์  มลายา  ในวันที่  2 – 4  พฤศจิกายน  2532 <ref>แหล่งเดิม.  หน้า 267.</ref>


ภายหลังการเจรจาทั้ง 5 ครั้ง  จึงได้มีการลงนามในความตกลงเพื่อยุติสถานการณ์การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2532  ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  โดยมีจีนเป็ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นผู้ลงนามฝ่ายคอมมิวนิสต์  ดาโต๊ะ ฮาจี วันซีเดท ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเลเซียเป็นผู้ลงนามฝ่ายมาเลเซีย  และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการทั่วไปและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นประธานผู้ไทยในฐานะพยาน  ถือเป็นการยุติบทบาทของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา   
ภายหลังการเจรจาทั้ง 5 ครั้ง  จึงได้มีการลงนามในความตกลงเพื่อยุติสถานการณ์การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2532  ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  โดยมีจีนเป็ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นผู้ลงนามฝ่ายคอมมิวนิสต์  [[ดาโต๊ะ ฮาจี วันซีเดท]] ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเลเซียเป็นผู้ลงนามฝ่ายมาเลเซีย  และ [[พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ|ชวลิต ยงใจยุทธ]] ในฐานะรองประธานคณะกรรมการทั่วไปและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นประธานผู้ไทยในฐานะพยาน  ถือเป็นการยุติบทบาทของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา   
 
==นโยบายของรัฐบาลไทยและการดำเนินการกับสมาชิกโจรจีนคอมมิวนิสต์มลาลยาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย==


นโยบายของรัฐบาลไทยและการดำเนินการกับสมาชิกโจรจีนคอมมิวนิสต์มลาลยาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2530  และเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 รัฐบาลไทยได้เสนอแนวทางให้เลือก  2  แนวทาง  คือ   
นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2530  และเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 รัฐบาลไทยได้เสนอแนวทางให้เลือก  2  แนวทาง  คือ   



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:20, 29 สิงหาคม 2554

ผู้เรียบเรียง พรชัย และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.)

โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) เป็นชื่อเรียกกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา หรือ พคม. (The Communist Party of Malaya - CPM) ที่หลบหนีการปราบปรามของรัฐบาลมาเลเซียเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการและเคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย และเนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธิ์จีนจึงทำให้มีชื่อเรียกและรู้จักกันในนามว่า “จีนคอมมิวนิสต์มลายา” หรือ “โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา” หรือ เรียกสั้นๆ จคม. [1]

กำเนิดและพัฒนาการของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาและโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.)

ความรู้สึกชาตินิยมของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมลายูเกิดขึ้นเนื่องจากกระแสการปลดแอกจากลัทธิอาณานิคม และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ประกอบกับชาวจีนในมาลายาคิดว่าอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เหมาะสมที่สุดที่สามารถนำมาใช้ต่อต้านการกดขี่ของนายทุนตะวันตก

แนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่ขยายเข้ามายังชุมชนชาวจีนในมลายูโดยผ่านตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนก๊กมินตั๋ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2467[2] ซึ่งเข้ามาเผยแพร่อุดมการณ์ปฏิวัติและปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อ ความรู้สึกชาตินิยมในหมู่คนจีนในมลายา ทั้งในหมู่นักศึกษาตามโรงเรียนจีน สมาคมแซ่ต่างๆ และกรรมกรในองค์กร ตลอดจนคนรับใช้ตามบ้านเรือนหรือกุลีสวนยาง นำไปสู่การก่อตั้งสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลและก่อตั้งสหภาพแรงงานนานาชาติ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2469 จึงมีการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “สหภาพแรงงานนานยาง” (Nan yang General Labor Union - NGLU) ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลและการกำกับควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2470 พรรคคอมมิวนิสต์จีนพิจารณาเห็นว่าเพื่อให้สามารถดำเนินงานและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและคลอบคลุม จึงได้จัดส่งตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกจำนวนหนึ่งเข้ามาในมลายาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ จัดหาและขยายสมาชิกในหมู่คนจีน พร้อมกับจัดตั้งองค์กรใหม่มีชื่อว่า “พรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายา” (Nan yang Communist Party of Malaya – NCPM)[4]

ใน พ.ศ. 2473 ได้มีการประชุมให้ปรับองค์กรใหม่เพื่อความเป็นปึกแผ่นของพรรค และเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจการของพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการยุบรวมสหภาพแรงงานนานยางและพรรคคอมมิวนิสต์นานยางแห่งมลายาเป็นองค์กรเดียว มีชื่อว่า “พรรคคอมมิวนิสต์มลายา” (Malaya Communist Party - MCP) และมีนโยบายที่สำคัญว่า จะใช้กรรมกรเป็นกลจักรขับเคลื่อนสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ของพรรคฯ ด้วยเหตุนี้ จึงจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า “สหภาพกรรมกรทั่วไปแห่งมาลายา” (Malaya General Labor Union - MGLU) ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการปฏิบัติการต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา[5]

การดำเนินกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาในการเคลื่อนไหวระยะแรกได้รับการสนับสนุนจากชาวจีนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งกรรมกร พ่อค้า และสมาคมชาวจีนอื่นๆ เช่น สมาคมชาวจีนกวางตุ้งสมาคมชาวจีนแคะ สมาคมชาวจีนไหหลำ เป็นต้น แต่ในแง่ของชนชาติอื่นกลับไม่ได้รับการตอบสนองมากนัก ด้วยเหตุนี้ ฐานมวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาจึงจำกัดอยู่เฉพาะคนจีนและเปรียบเสมือนพรรคของชาวจีนเท่านั้น[6] ในขณะที่การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อความสงบเรียบร้อยเป็นไปตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์สากลที่มอสโกเป็นหลัก เช่น การประท้วงนัดหยุดงานและการก่อวินาศกรรม เป็นต้น [7]

บทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาปรากฏเด่นชัดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อได้ให้ร่วมมือกับอังกฤษในการต่อต้านญี่ปุ่น และจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า “กองทัพมาลายาต่อต้านญี่ปุ่น (The Malayan People’s Anti-Japanese Army -MPALA)[8] เพื่อทำหน้าที่ต่อต้านและทำลายล้างญี่ปุ่น และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 ด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผลให้อังกฤษกลับมามีอิทธิเหนือมลายูตามเดิมพร้อมกับได้ให้การรับรองว่าพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องกฎหมาย[9] แต่เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์มลายาไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐบาลสหพันธมลายากำหนด เช่น การไม่ยอมยุติการแทรกซึมระบบคอมมิวนิสต์และไม่ยอมคืนอาวุธทั้งหมดให้กับอังกฤษ [10] ด้วยเหตุนี้ พรรคคอมมิวนิสต์มลายาจึงเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลอังกฤษและดำเนินนโยบายต่อต้านอังกฤษ พร้อมกับการออกแถลงการณ์ รณรงค์ ต่อต้านอังกฤษด้วยวิธีการก่อการร้ายและวิธีการรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อจีนเป็ง (Chin Peng) เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้อาศัยแนวทางการต่อสู้ตามแนวทางของเหมา เจ๋อ ตุง ที่เชื่อว่าอำนาจเติบใหญ่จากปากกระบอกปืนในลักษณะของสงครามแบบกองโจร[11] การดำเนินการเพื่อต่อต้านอังกฤษในลักษณะต่างๆ เช่น การโจมตีและสังหารเจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษ การประท้วงนัดหยุดงาน การคุกคามผู้ประกอบอาชีพและเจ้าของกิจการชาวต่างประเทศ เป็นต้น[12] การดำเนินการของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาในลักษณะดังกล่าวได้นำไปสู่การประกาศภาวะฉุกเฉิน (Emergency) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ในเขตภาคกลางกับภาคตะวันตก และต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ได้ประกาศขยายการบังคับใช้ภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์มลายาได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธซึ่งแปรสภาพจากกองกำลังที่เคยปฏิบัติการเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นกองกำลังเพื่อต่อต้านอังกฤษมีชื่อเรียกว่า “กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านจักรภพอังกฤษ” และใน พ.ศ. 2492 ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองจึงได้ยุบเลิกและเรียกชื่อกองกำลังดังกล่าวเป็น “กองทัพปลดแอกประชาชาติมาลายา” (Malayan National Liberation Army - MNLA)

การประกาศภาวะฉุกเฉินและการปรามปรามพรรคคอมมิวนิสต์มาลายที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 มีผลให้พรรคคอมมิวนิสต์มลายาโต้ตอบด้วยการขยายการเคลื่อนไหวที่ใช้กำลังและวิธีการที่รุนแรง พร้อมกับการจัดแบ่งกองกำลังและเขตความรับผิดชอบเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ออกเป็น 12 กรม[13] คือ

กรมที่ 1 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐสลังงอ

กรมที่ 2 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐเนกริ เซมบัลัน

กรมที่ 3 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่ทางตอนของรัฐยะโฮร์

กรมที่ 4 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์

กรมที่ 5 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐเปรัค

กรมที่ 6 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่ทางตะวันตกของรัฐปาหัง

กรมที่ 7 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่ทางตะวันออกของรัฐปาหัง

กรมที่ 8 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐเกดะห์

กรมที่ 9 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐตรังกานู

กรมที่ 10 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐปาหัง

กรมที่ 11 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่รัฐกลันตัน

กรมที่ 12 เคลื่อนไหวและปฏิบัติการในพื้นที่ระหว่างพื้นที่รัฐกลันตันกับรัฐเปรัค

ผลจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน (พ.ศ. 2491 - 2503) และการดำเนินการปรามปรามของรัฐบาลสหพันธ์มลายา ส่งผลให้สมาชิกและแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมาก รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงสถิติการสูญเสียของฝ่ายคอมมิวนิสต์มาลายา [14]

ผลจากการปราบปรามและการดำเนินนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาลสหพันธรัฐ มลายาส่งผลให้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาลดลงตามลำดับ จนนำไปสู่ “การเจรจาบาลิ่ง” (Baling Talk) เมื่อวันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2498 ระหว่างตนกูอับดุลราห์หมาน นายกรัฐมนตรี กับ จีนเป็ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เพื่อให้พรรคคอมมิวนิสต์มลายายุติการก่อร้ายและยุติความรุนแรง ซึ่งผลการเจรจาประสบความล้มเหลวเนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธการรับรองให้พรรคคอมมิวนิสต์มลายาเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย[15] และภายหลัง“การเจรจาบาลิ่ง” พรรคคอมมิวนิสต์มลายายืนยันการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ แต่เนื่องจากการปราบปรามอย่างหนักและต่อเนื่อง ส่งผลให้กองกำลังของกองทัพปลดแอกประชาชาติมาลายาอีกจำนวนหนึ่งต้องถอยร่นและหลบหนีการปราบปรามและเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนประเทศไทย – มาเลเซีย[16] ขณะเดียวกัน ภายหลังมลายาได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ฐานะของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาตกอยู่ในฐานะคลอนแคลน กองกำลังของกองทัพปลดแอกประชาชาติมลายาเคยขยายกำลังสูงสุดถึงจำนวน 12,000 คน ใน พ.ศ. 2496 เหลือเพียง 1,800 คน[17] จนในที่สุดรัฐบาลจึงยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2503

การฐานปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในประเทศไทยและผลที่มีต่อประเทศไทย

การปราบปรามอย่างหนักของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงการประกาศภาวะฉุกเฉิน พ.ศ. 2491 - 2503 ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์มลายาหรือโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาตกอยู่ในฐานะของฝ่ายเสียเปรียบ จนต้องถอยร่นและหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ตามหลักฐานที่ปรากฏโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาบางส่วนปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศไทยเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2492 [18] ประกอบกับกำลังพลที่ลดน้อยลงจึงจำเป็นต้องปรับกองกำลังและจัดการบริหารรูปแบบขององค์กรพร้อมแบ่งเขตความรับผิดชอบใหม่ดังนี้ [19]

คณะกรรมการพรรค ประกอบด้วยสมาชิก 10 - 13 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และประกาศขยายเขตปฏิบัติการ ถือเป็นหน่วยงานสูงสุดของพรรคฯ

คณะกรรมการเมือง ประกอบด้วยสมาชิก 7 – 9 คน มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามนโยบายของพรรค ถือเป็นหัวใจของพรรคในการปฏิบัติงาน

สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการพรรคเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรคมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการพรรค คือ จีนเป๋ง (CHAN PING หรือ CH’IN P’ENG ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค

กองกำลังติดอาวุธ จากเดิมมี 12 กรมและปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศยุบเหลือเพียง 3 กรม ประกอบด้วย กรมที่ 8 กรมที่ 10 และ กรมที่ 12

การจัดรูปแบบองค์กรข้างต้น แบ่งลักษณะการปฏิบัติออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการบังคับบัญชา มีสำนักงานเลขาธิการเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด กับ ส่วนการปฏิบัติการกองกำลังรบ มีกองทัพปลดแอกประชาชาติมลายาแบ่งออกเป็น 3 กรม คือ กรมที่ 8 กรมที่ 10 และ กรมที่ 12 เป็นหน่วยปฏิบัติการทางการทหาร

สำหรับ ส่วนการปฏิบัติการกองกำลังรบ หรือ กองทัพปลดแอกประชาชาติมาลายาที่ถอยร่นหลบหนีการปราบปรามและเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนประเทศไทย – มาเลเซีย ได้จัดแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบและกองกำลังเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ คือ [20]

1. กรมที่ 8 ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการผสมรัฐเกดะห์ – เปอร์ลิส” ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการผสมรัฐเกดะห์ – ปีนัง ตั้งฐานปฏิบัติการในพื้นที่อำเภอสะเดา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการและเขตพื้นที่ความรับผิดชอบในรัฐปะลิสและรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) กองกำลังหลักของกรมนี้ประกอบด้วยชนเชื้อสายจีนประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นเป็นชนมุสลิมและอื่นๆ โดยภายใต้การบังคับบัญชาของนายอีเจียง แซ่อึ้ง มีกองกำลังประมาณ 500 – 600 คน

2. กรมที่ 10 ใช้ชื่อว่า “หน่วยปฏิบัติงานกลางชาวมาลายา” ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การอำนวยการของหน่วยปฏิบัติงานกลางชาวมาเลย์ ตั้งฐานปฏิบัติการในพื้นที่อำเภอแว้ง อำเภอสุคีริน อำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการและเขตพื้นที่ความรับผิดชอบในรัฐกลันตัน กองกำลังหลักของกรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นชนเชื้อสายจีนและอื่นๆ โดยภายใต้การบังคับบัญชาของนายอับดุลลาซีดี มีกองกำลังประมาณ 350 คน

3. กรมที่ 12 ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการชายแดนรัฐกลันตัน - เปรัค ตั้งฐานปฏิบัติการในพื้นที่อำเภอเบตง อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการและเขตพื้นที่ความรับผิดชอบตอนกลางของรัฐเกดะห์ กลันตันและตอนเหนือของรัฐเปรัค กองกำลังหลักของกรมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชนเชื้อสายจีน ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นคนมุสลิมและอื่นๆ โดยภายใต้การบังคับบัญชาของนายอาซี หรือ อาเซอะ มีกองกำลังประมาณ 650 คน

การจัดองค์กร และการเคลื่อนไหวปฏิบัติการทั้งทางการเมืองและกำลังทหารของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายามีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและขยายอิทธิพลในการควบคุมสร้างฐานสัมพันธ์กับมวลชนที่ยังคงเหลือจากการปราบปรามและการข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม [21] ตามแนวทางที่ว่า “กองกำลังคือปลา ประชาเปรียบเสมือนน้ำ”[22] ด้วยเหตุนี้ กองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาจึงได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่อิทธิพลให้การสนับสนุน โดยใช้กลวิธีการโฆษณาชวนเชื่อกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มชาวไทยมุสลิมและกลุ่มชาวไทยพุทธ พร้อมกับจัดตั้งองค์กรแนวร่วมเพื่อทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานและสนับสนุนการทำงานของกรมที่ 8 กรมที่ 10 และ กรมที่ 12 ตามแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ องค์กรแนวร่วมที่สำคัญ ได้แก่ สันนิบาติเยาวชนคอมมิวนิสต์มลายา (สยคม./Malayan Communist Youth League - MCYL) สันนิบาติเยาวชนประชาธิปไตยใหม่มลายา (สยคม.ปม./Malayan New Democratic Youth League - MNDYL) พรรคภราดรอิสลามมิกชน (Party Persaudaraan Lslam - PAPERI) องค์กรเยาวชนพิทักษ์ สมาคมหมู่บ้าน สหพันธ์กรรมกรสวนยาง สหพันธ์กรรมกรเหมืองแร่ เป็นต้น[23]

อย่างไรก็ตาม ช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 ได้เกิดความขัดแย้งทางอุดมการณ์และแนวทางในการดำเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของค่ายโลกคอมมิวนิสต์ที่แตกออกเป็น 2 สาย คือ สายโซเวียดรัสเซียผู้ฝักใฝ่ในลัทธิมาร์ก – เลนิน กับ สายจีนผู้ฝักใฝ่ในแนวทางของเหมา เจ๋อ ตุง ลักษณะดังกล่าว มีผลให้โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาแตกออกเป็น 2 กลุ่มด้วย [24]กล่าวคือ

1) กลุ่มเก่า ยึดแนวทางของลัทธิมาร์ก – เลนิน ประกอบด้วยสมาชิกและกองกำลังของกรมที่ 8 และ กรมที่ 12 เขต 2 ซึ่งเคลื่อนไหวและแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการดังนี้

1.1) กรมที่ 8 เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในบริเวณอำเภอนาทวี อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
1.2) กรมที่ 12 เขต 2 เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในพื้นที่ทางทิศตะวันตกถนนสายยะลา – เบตง ตั้งแต่อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และตลอดแนวชายแดนติดกับรัฐเกดะห์

2) กลุ่มใหม่ ยึดแนวทางของเหมา เจ๋อ ตุง มีกองกำลังประมาณ 850 – 900 คน ประกอบด้วยสมาชิกและกองกำลังของกรมที่ 10 และ กรมที่ 12 ซึ่งเคลื่อนไหวและแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการดังนี้

2.1) บก. กองพิเศษเขตผสม เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในพื้นที่บริเวณอำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา และรอยต่อกำอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
2.2) กรมที่ 10 เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในบริเวณอำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
2.3) กรมที่ 12 เขต 1 เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในพื้นที่ตำบลธารน้ำทิพย์ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
2.4) กรมที่ 12 เขต 4 หรือ เขตพิเศษ เคลื่อนไหวในพื้นที่และปฏิบัติการครอมพรมแดนไทย – มาเลเซียในพื้นที่อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

การเคลื่อนไหวและปฏิบัติการทั้งทางการเมืองโดยการแทรกซึมเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในกลุ่มกรรมกรสวนยางที่เป็นคนไทยและเชื้อสายจีน[25] และกำลังทหารยึดที่ดิน ข่มขู่ วางระเบิด และซุ้มโจมตี[26] ของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[27] และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับขบวนการโจรแบ่งแยกดินแดน[28] ได้ก่อให้เกิดผลและผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นของของชาติ

2. ด้านเศรษฐกิจ

3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นคงของชาติ

การปฏิบัติการของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยได้ส่งผลและผลกระทบต่อประเทศไทย ด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นคงของชาติ ได้แก่

1. การปฏิบัติการทางการเมือง โดยทำการโฆษณาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีการเปิดโรงเรียนการเมือง (Party School) ขึ้นในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ยุยงให้เกิดความเข้าใจผิดต่อระบบการปกครองของไทย โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงคนไทยเชื้อสายจีน และคนจีน นอกจากนั้นยังมีการโฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองเป็นพวกเหมาเซตุง ต้องการยึดครองประเทศไทย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยให้คำมั่นสัญญาว่าถ้าหากทำสำเร็จคนไทยเชื้อสายจีน, คนจีน จะได้รับความเป็นธรรม และไม่ต้องเป็นคนต่างด้าวอีกต่อไป ขณะเดียวกันทำการชวนเชื่อโดยเน้นว่าไทยมุสลิมเป็นมลายู พวกโจรจีนกำลังดำเนินงานเพื่อปลดปล่อย ลักษณะเหล่านี้นับว่าเป็นการช่วยกระตุ้นความแตกต่างที่มีอยู่ในจังหวัดชายแดนใต้ให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาให้กับฝ่ายปกครองของรัฐบาลไทย[29]

2. การมีสัมพันธ์ไมตรีกับกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ในภาคใต้ เช่น กลุ่มผู้ก่อการร้าย กลุ่มขบวนการโจรแบ่งแยกดินแดน และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย อย่างเช่น กรณีมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ กรรมการในระดับสูงของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ช่วยโฆษณาชวนเชื่อกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และประกาศชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในการใช้กำลังที่มีต่อรัฐบาลไทย ส่วนระดับผู้ปฏิบัติงานนั้นโจรจีนคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) ซึ่งเป็นกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเดินทาง ที่พักพิง รวมถึงให้ความช่วยเลหือในด้านเสบียงอาหารแก่กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย และต่อมากำลังทั้งสองได้ตกลงแบ่งเขตปฏิบัติการ โดยฝ่ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินการเคลื่อนไหวในหมู่ชาวไทยพุทธ ตลอดจนได้จัดตั้งสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์มลายา (สยคม.) ขึ้น โดยให้สันนิบาตเยาวชนมาลายาเป็นองค์การเยาวชนทางทหารภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยโดยตรง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ใช้สมาชิกสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ไปฝึกอบรมและปลูกฝังอุดมการณ์ปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนมุสลิมและเยาวชนเชื้อสายจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การเคลื่อนไหวของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์มีฐานรองรับและขยายตัวได้อย่างมั่นคง หรือการมีความสัมพันธ์กับขบวนการโจรก่อการร้าย โดยการช่วยเหลือกันและกัน เช่น ขบวนการโจรก่อการร้ายจะได้รับการฝึกอาวุธจากโจรจีนคอมมิวนิสต์ และโจรจีนคอมมิวนิสต์คอมมิวนิสต์ก็จะได้รับความช่วยเหลือด้านการข่าวเหล่านี้ เป็นต้น [30]

ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ

การเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในประเทศไทยส่งผลให้ได้รับเงินสนับสนุนจากจีนและรัสเซียน้อยลง ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานต่อไปมีประสิทธิภาพ โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาจึงหารายได้ด้วยการเรียกเก็บภาษี (เถื่อน) และเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากราษฎรไทยในพื้นที่ลักษณะต่างๆ เป็นต้นว่า [31]

1. ภาษีสวนยางรายเดือน จัดเก็บเป็นอัตราเดือนจากเจ้าของสวนยางต่อสวนยางพันธุ์เก่า เรียกเก็บเงินเอเคอร์ (2.5 ไร่) ละ 2.50 บาทต่อเดือน สวนยางพันธุ์ใหม่เรียกเก็บเอเคอร์ละ 5 บาทต่อเดือน

2. ภาษีสวนยางรายปี จัดเก็บเงินพิเศษจากเจ้าของสวนยางซ้ำอีกปีละ 2 ครั้ง ในอัตราส่วน 1 ครั้ง ต่อรายได้ที่เจ้าของสวนยางพึงได้รับจากสวนยางของตน 1 วัน

3. ภาษีซื้อขายสวนยาง จัดเก็บจากเจ้าของเดิม ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของราคาขาย

4. ภาษีจากทุนสงเคราะห์สวนยาง จัดเก็บจากเจ้าของสวนยางที่จะปรับปรุงสวนยางเพราะได้รับทุนสงเคราะห์จากรัฐบาล เรียกเก็บอัตราไร่ละ 40 บาท และเรียกเก็บจากผู้รับเหมาโค่นต้นยางในสวนยางที่ได้รับทุนสงเคราะห์ โดยเรียกเก็บในอัตราส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่รับเหมาะ

5. เงินบริจาคพิเศษ จัดเก็บจากบรรดาครอบครัวในชนบทสวนยาง จัดเก็บจากบรรดาผู้ประกอบธุรกิจการค้าในตัวเมือง และจัดเก็บจากมวลชนในรูปเงินอุทิศรายได้จะเรียกจัดเก็บในวันสำคัญต่างๆ ที่ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์กำหนดขึ้น

6. เงินค่าคุ้มครอง จัดเก็บจากบรรดาผู้ประกอบการค้าสินค้าของหนีภาษีบริเวณพรมแดน

นอกจากเรียกเก็บจากประชาชนในพื้นที่อิทธิพลแล้วนั้น ยังมีการเรียกเก็บค่าคุ้มครองและภาษีเถื่อนถึงหาดใหญ่ – กรุงเทพฯ ปีหนึ่งเก็บภาษีเถื่อนคิดเป็นเงินประมาณร้อยล้านบาท

เมื่อดูจากรายการเหล่านี้จะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่เสียรายจ่ายโดยเปล่าประโยชน์ และจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองและภาษีเถื่อนเหล่านี้ทำให้ไม่มีการลงทุนธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ส่วนของการปราบปรามรัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการปราบปรามเป็นจำนวนมาก อีกทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหายจากการปราบปรามตลอดจนรายได้ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงการประกาศห้ามออกนอกบ้านในตอนกลางคืน (เคอร์ฟิวส์) ขณะปฏิบัติการทำรายได้ลดลงเพราะรายได้ส่วนมากมาจากการกรีดยาง เหล่านี้เป็นต้น

ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านสังคม

จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีสภาพทางสังคมมีความหลากหลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านเชื้อชาติ ผู้อาศัยในจังหวัดชายแดนมีทั้งเชื้อสายจีน ไทยมุสลิม ไทยพุทธ ด้านศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านภาษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการพูดภาษามาลายาท้องถิ่น เป็นต้น จากความแตกต่างเหล่านี้ ทำให้ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ใช้มาเป็นข้ออ้างยุยงส่งเสริมให้เกิดความสำนึกในเรื่องความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติโฆษณาชักจูงให้ชาวไทยมุสลิมหลงเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นคนมลายู[32] จากการทำการโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์โดยนำความแตกต่างทางด้านศาสนา และภาษามาเป็นเงื่อนไข บางครั้งจึงทำให้เกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจต่อกันในวงกว้างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการกล่าวถึงหรือมีการกระทำตอบโต้กันนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคมในที่สุด[33]

การเข้ามาตั้งฐานและปฏิบัติการในประเทศไทยของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ส่งผลกระทบทางสังคมในเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ โดยการปฏิบัติการทางการทหารใช้กำลังเข้ายึดที่ดิน และขับไล่ราษฎรที่ไม่ให้ความร่วมมือออกจากพื้นที่หรือการข่มขู่ ขูดรีด บีบบังคับเอาเสบียงอาหารและเงินทอง ปล้น ฆ่าผู้ที่ขัดขืนต่อต้าน เช่น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2522 นายเอี่ยวเจียง แซ่หลี หรือประสิทธิ์ เด่นศรีเสรีกุล ตาย เนื่องจากถูกขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์เรียกค่าไถ่ กรอกปากด้วยน้ำกรด เนื่องจากแค้นที่ไม่ยอมจ่ายค่าคุ้มครอง โดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาโทษ เป็นต้น[34]

นอกจากนี้แล้วการสร้างอิทธิพลของขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำให้อำนาจรัฐไม่สามารถเข้าไปพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ เช่น การสร้างถนน ไฟฟ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เมื่อไม่มีการพัฒนาก็ยิ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชุมชน นำไปสู่ความแตกแยกของสังคมระหว่างชุมชนที่ได้รับการพัฒนากับไม่ได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะหากเป็นชุมชนชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม ก็จะทำให้เกิดความแตกต่างและแตกแยกยิ่งขึ้น

ผลที่มีต่อประเทศไทยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หลังจากสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาหรือโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาได้หลบหนีการปราบปรามของรัฐบาลมาเลเซียและได้ตั้งฐานปฏิบัติการในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย กล่าวคือ เกิดปัญหาจากความหวาดระแวงระหว่างกันอันเนื่องมาจากการที่ทั้งไทยและมาเลเซียต่างพยายามรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ทำให้การเจรจาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ระหว่างกันไม่สามารถลุล่วงไปได้ ความหวาดระแวงที่เกิดจากโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายามาเลเซียหวาดระแวงว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุนอย่างลับๆ แก่โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา พร้อมกับตั้งฐานที่มั่นในประเทศไทยเพื่อให้ปฏิบัติการในมาเลเซีย และเมื่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาเข้ามอบตัวสมาชิกจำนวนหนึ่งยังคงอยู่ในประเทศไทย[35]


นโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา

การเคลื่อนไหวปฏิบัติการและการตั้งฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ก่อให้เกิดผลและผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นของของชาติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทำให้รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายในการป้องกันและปราบปราม ด้วยการทำความตกลงร่วมมือกับมาเลเซีย นับตั้งแต่การประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อ พ.ศ. 2491 ได้จัดตั้ง “กองปราบปรามผสม” มีกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการรักษาการณ์กลาง และคณะกรรมการรักษาการณ์ทักษิณ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย[36] ต่อจากนั้นได้ทำความตกลงร่วมมือกันอีกหลายครั้งและปรากฏในรูปของการทำความตกลงร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมตามแนวพรมแดนไทย – มาเลเซีย สรุปได้ดังนี้ [37]

ระยะที่ 1 พ.ศ. 2492 – 2495 เป็นการทำความตกลงรวมมือในระดับผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 9 ที่ได้รับมอบอำนาจจากกรมตำรวจ กับผู้บังคับการตำรวจมลายูสาระสำคัญของข้อตกลง คือ ต่างฝ่ายต่างทำการปราบปรามในเขตแดนของตน แต่ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน การปราบปรามได้ผลดีอยู่ระยะหนึ่งแต่เมื่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาคุ้นเคยกับภูมิประเทศตามพรมแดนมากขึ้นการปราบปรามจึงไม่ค่อยได้ผล

ระยะที่ 2 พ.ศ. 2496 เป็นการตกลงระดับกรมตำรวจมาเลเซียกับกรมตำรวจไทย เพื่อปรับปรุงการหาข่าวเกี่ยวกับโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดยมีการจัดตั้งหน่วยสันติบาลผสมขึ้นที่จังหวัดสงขลา

ระยะที่ 3 พ.ศ. 2498 เป็นการตกลงในระดับรัฐบาลเพื่อดำเนินการปราบปรามร่วมกัน เนื่องจากโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาตามบริเวณแนวพรมแดนได้ทวีการคุกคามรุนแรงยิ่งขึ้น โดยฝ่ายไทยตั้งกองบังคับการไว้ที่อำเภอเบตงและฝ่ายมาเลเซียตั้งกองบังคับการไว้ที่โกระ

ระยะที่ 4 พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียได้มีการเจรจาการทางการทูตพิจารณาจัดตั้งหน่วยปราบปรามร่วมขึ้นใหม่โดยฝ่ายไทยได้จัดตั้ง กองอำนวยการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภาคใต้ขึ้น และแต่งตั้งกรรมการขึ้น 2 ระดับ เพื่อพิจารณาปัญหาร่วมกันกับฝ่ายมาเลเซีย คือ คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการชั้นสูง มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกับคณะกรรมการปฏิบัติการที่ชายแดน มีรองผู้บัญชาการตำรวจภูธร (ฝ่ายชายแดน) เป็นประธาน

ระยะที่ 5 พ.ศ. 2506 การดำเนินการปราบปรามในความรับผิดชอบของกองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป.กลาง) หลังจากรัฐบาลไทยได้สั่งยุบเลิก กองอำนวยการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภาคใต้ และโอนความรับผิดชอบในการปราบปรามขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ให้แก่กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป.กลาง) เมื่อ 1 ตุลาคม 2506 การรับโอนงานปราบปรามครั้งนี้ กรป.กลาง ได้พิจารณาเห็นว่าควรจะเน้นหนักในการป้องกันมากกว่าการปราบปราม โดยดำเนินการให้ราษฎรมีความรู้สึกซาบซึ้งในเจตนาดีของรัฐบาลและพยายามช่วงชิงมวลชนจากฝ่ายโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาให้ได้ ส่วนการปราบปรามให้ใช้เป็นวิธีสุดท้าย

จากแนวคิดดังกล่าวรัฐบาลไทยจึงได้ขอยกเลิกความตกลงฉบับเดิมทั้งหมด และได้ทำความตกลงใหม่กับรัฐบาลมาเลเซียอีก 3 ครั้ง [38] คือ

1) ความตกลงเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2508 ได้กำหนดกรรมการขึ้น 2 คณะ คือ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป และ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค

2) ความตกลงฉบับที่แก้ไขใหม่เมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2513

3) ความตกลงฉบับแก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2520 โดยมีสาระสำคัญ คือ การร่วมมือกันปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา

หลังจากที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้ลงนามในความร่วมมือในการปฏิบัติการร่วมตามแนวพรมแดนไทย – มาเลเซีย เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ดำเนินการปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา โดยใช้กำลังทหารระหว่างไทย – มาเลเซีย พอสรุปได้ดังนี้

ในช่วง พ.ศ. 2510 – 2519 มีการปฏิบัติการที่สำคัญ 4 ครั้ง คือ ยุทธการสวัสดี, ยุทธการซาลาม, ยุทธการสวัสดี – ซาลาม และยุทธการไชโย ทั้งหมดมีพื้นที่ปฏิบัติการในประเทศไทย บริเวณอำเภอเบตง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม. กรมที่ 12 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม. กรมที่ 8 และอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ในพื้นที่ปฏิบัติการของ จคม. กรมที่ 10[39]

ในสมัยธานินทร์ กรัยวิเชียรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีปฏิบัติการร่วมที่สำคัญ 4 ครั้ง[40] คือ

ครั้งแรก แผนดาวใหญ่ มุสน่าห์ 1 เริ่มกลางเดือน มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นปฏิบัติการในการแถบอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ครั้งที่สอง แผนดาวใหญ่มุสน่าห์ 2 เริ่ม 15 มีนาคม ถึง 20 เมษายน 2520 เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอสะเดา อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ครั้งที่สาม แผนซาฮาย่า เบน่า 1 แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง) เริ่มวันที่ 4 กรกฎาคม ถึง 10 สิงหาคม 2520 เป็นเวลา 31 วัน เป็นปฏิบัติการในแถบอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ครั้งสุดท้าย แผนซาฮ่ายา เบน่า 2 (แสงอาญาสิทธิ์สู่เบตง) เริ่ม 7 – 28 กรกฎาคม 2520 ในแถบอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีการปฏิบัติร่วม[41] คือ

ครั้งแรก แผนรายวัน ใช้เวลา 1 สัปดาห์ ในเดือน มกราคม 2521 โดยมุ่งพัฒนามาตรฐานของกระบวนการปฏิวัติการสำหรับกองทัพทั้งสองประเทศในการติดต่อประสานงานร่วม ทั้งการสื่อสารการใช้ภาษา

ครั้งที่สอง แผนซาลามัติ – สวัสดี 1 เริ่ม 24 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2521 เป็นปฏิบัติการในเขตอำเภอเบตง กิ่งอำเภอธารโต และอำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา

ครั้งที่สาม แผนซาลามัติ – สวัสดี 2 หรือยุทธการ 791 เริ่ม 1 ตุลาคม 2521 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2522 พื้นที่ปฏิบัติการเช่นเดียวกับแผนยุทธการซาละมัต – สวัสดี

ครั้งที่สี่ คือ ยุทธการ 792 อัลฟ่า เริ่มวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2522 โดยมุ่งหมายถล่มโจรจีนคอมมิวนิสต์ กรมที่ 8 ที่เขาน้ำค้าง ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

นอกจากนั้นได้มีปฏิบัติการอีกหลายครั้ง เช่น ยุทธการ 792 บราโว่, ยุทธการ 792 ซาร์ลี, ยุทธการ 801 อัลฟ่า เหล่านี้ เป็นต้น

ในเปรม ติณสูลานนท์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/ 2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ หรือ นโยบายการเมืองนำการทหาร ที่รู้จักกันในนาม “นโยบาย 66/23” พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท. 43)[42] เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์ด้วย

จากการดำเนินการปราบปรามขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ทั้งทางการเมืองการทหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ดำเนินนโยบาย 66/2523 ยุคพลโทหาญ ลีลานนท์ เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ใช้นโยบายใต้ร่มเย็นกดดันโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาปฏิบัติการจิตวิทยาและการทหารตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น 11 และ ยุทธการใต้ร่มเย็น 15[43] จนสามารถยึดกองกำลังของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาได้หลายพื้นที่ ต่อมาในสมัยพลโทวันชัย จิตต์จำนง และพลโทวิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์ เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 และพลตรีกิตติ รัตนฉายา (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจฝ่ายไทยได้มีการเจรจากับโจรจีนคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

การดำเนินตามแนวนโยบาย 66/2523 และนโยบายใต้ร่มเย็นของกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 ภายใต้การบังคับบัญชากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่งผลให้ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ กรมที่ 8 และกรมที่ 10 เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เมื่อ 1 มีนาคม 2530 และ 28 เมษายน 2530[44] หลังจากนั้นได้มีการเจรจากับผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อยุติปัญหาอีก 5 ครั้งที่จังหวัดภูเก็ต คือ

1. การเจรจาสันติภาพไตรภาคี ครั้งที่ 1 ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา ในวันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2532 [45]

2. การเจรจาสันติภาพไตรภาคี ครั้งที่ 2 ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา ในวันที่ 15 – 17 มีนาคม 2532 [46]

3. การเจรจาสันติภาพไตรภาคี ครั้งที่ 3 ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา ในวันที่ 11 – 13 พฤษภาคม 2532 [47]

4. การเจรจาสันติภาพไตรภาคี ครั้งที่ 4 ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา ในวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2532 [48]

5. การเจรจาสันติภาพไตรภาคี ครั้งที่ 5 ระหว่างมาเลเซีย – ไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ มลายา ในวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2532 [49]

ภายหลังการเจรจาทั้ง 5 ครั้ง จึงได้มีการลงนามในความตกลงเพื่อยุติสถานการณ์การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีจีนเป็ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาเป็นผู้ลงนามฝ่ายคอมมิวนิสต์ ดาโต๊ะ ฮาจี วันซีเดท ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเลเซียเป็นผู้ลงนามฝ่ายมาเลเซีย และ ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการทั่วไปและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นประธานผู้ไทยในฐานะพยาน ถือเป็นการยุติบทบาทของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา

นโยบายของรัฐบาลไทยและการดำเนินการกับสมาชิกโจรจีนคอมมิวนิสต์มลาลยาในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2530 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 รัฐบาลไทยได้เสนอแนวทางให้เลือก 2 แนวทาง คือ

1). ส่งกลับประเทศมาเลเซีย

2). เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทย ซึ่งรัฐบาลก็ได้ยื่นข้อเสนอให้ที่ดินทำกินครอบครัวละ 15 ไร่ และให้สัญชาติไทยเมื่ออยู่ครบ 5 ปี

การดำเนินการกับโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่เข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย รัฐได้ดำเนินการดังนี้[50]

ขั้นที่ 1 นำผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เข้าอำเนินกรรมวิธีขั้นต้นที่ศูนย์ใต้ร่มเย็นสัมพันธ์ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท 43) ค่ายสิรินทร จังหวัดยะลา จัดทำประวัติ ถ่ายรูป อบรมฟื้นฟูจิตใจ และให้ความรู้พื้นฐานทางสังคมในการปรับตัวกับสังคมภายนอก

ขั้นที่ 2 ดำเนินการสร้างที่พักชั่วคราว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้พัฒนาชาติไทย

ขั้นที่ 3 ดำเนินการปรับพื้นที่ และสร้างบ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น

ขั้นที่ 4 – 5 ส่งมอบหมู่บ้าน ให้ฝ่ายบ้านเมืองในลักษณะหมู่บ้าน อพป. และพิจารณาให้ใบต่างด้าวผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตามขั้นตอนกฎหมาย โดยอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 4 ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

จุดที่ 1 บ้านปิยะมิตร วนคาม 1 อยู่ในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่พิกัด คิว.จี. 2542

จุดที่ 2 บ้านปิยะมิตร วนคาม 2 อยู่ในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พิกัด คิว.จี. 2449 อยู่หางจากจุดที่ 1 ประมาณ 12 กิโลเมตร

จุดที่ 3 บ้านปิยะมิตร วนคาม 3 อยู่ในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พิกัด คิว.จี. 3355

จุดที่ 4 บ้านปิยะมิตร วนคาม 4 อยู่ในพื้นที่ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พิกัด คิว.จี. 3689

จุดที่ 5 บ้านปิยะมิตร วนคาม 5 อยู่ในพื้นที่ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา พิกัด พี.เอช 7427

สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มลายาหรือโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ภายหลังจากเข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยก็ได้อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาจวบจนปัจจุบันนี้

หนังสือแนะนำให้อ่านประกอบ

กิตติ รัตนฉายา,พลเอก.(2538).ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

นันทิวัฒน์ สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานพ จิตต์ภูษา. (2525).รายงานผลการวิจัยความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียในการปราบปรามกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลไทยและมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). ความร่วมมือของไทยต่อมาเลเซีย : ศึกษากรณีการแก้ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พ.ศ. 2520 - 2532). วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่มา

กวีรัตน์ คุณาภัทร. (2533, มกราคม) “จคม. ดาวแดงอีกดาวที่ร่วงจากฟ้า,” ใน นิตรสารพบโลก. 3(7) : 32 – 36.

กองบรรณาธิการ วารสารรูสมิแล. (2530,พฤษภาคม – สิงหาคม). “เยี่ยมหมู่บ้านปิยะมิตร วนคาม 1 ; จคม. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,” ใน วารสาร รูสมิแล. 10(3) : 15 – 23.

กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ. (2523). ครบรอบ 18 ปี กรป. กลาง. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ. (2535). ครบรอบ 20 ปี กรป. กลาง. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

กิตติ รัตนฉายา, พลโท. (2533). ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา.

กิตติ รัตนฉายา,พลเอก. (2538). ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2526). ชนกลุ่มน้อยในไทยกับความมั่นคงของชาติ.กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

ฉายฉาน ให้ศิริกุล. (2527, กรฏฏาคม). “พฤติกรรมของโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา,” ใน อนุสารคนใต้. 4(7) : 10 – 12.

เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). ความมั่นคงชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา.

ธานินทร์ ผะเอม. (2527). นโยบายการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิสิต จันทร์สมวงศ์. (2530). บทบาทของกองทัพบกไทยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามนโยบายใต้ร่มเย็นของกองทัพภาคที่ 4. วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). ความร่วมมือของไทยต่อมาเลเซีย : ศึกษากรณีการแก้ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พ.ศ. 2520 - 2532). วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิวัฒน์ สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศักดิ์ แสงระวี. (2551). คติพจน์ประธานเหมาเจ๋อตุง. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

บาร์บารา วัตสัน อันดายา, โอนาร์ด วายอันดาย. (2549). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย = A History of Malaysia. แปลโดย มนัส เกียรติธารัย, พรรณี ฉัตรพลรักษ์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

“ประวัติอุโมงค์สามชั้น - ประวัติของกรมที่ 8,” ใน เอกสารนำชมอุโมงค์เขาน้ำค้าง. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)

ประพต เศรษฐกานนท์. (2549) สรรนิพนธ์การทหารเหมาเจ๋อตุง. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา.

ประสงค์ สุ่นศิริ, น.ต.. (2532). 726 วันใต้บัลลังก์ “เปรม”. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ.

ประสิทธ์ รุ่งเรืองรัตนกุล. (2522). ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย. กรุงเทพฯ : ปะการัง.

ภัคคินี เปรมโยธิน. (2519). กระบวนการบริหารราชการส่วนภูมิภาคกับปัญหาชนกลุ่มน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานพ จิตต์ภูษา. (2524, มิถุนายน – กรกฎาคม). “จคม. กับการปฏิบัติของทหารมาเลเซียในแดนไทย,” ใน วารสารรูสมิแล. 5(3) : มานพ จิตต์ภูษา. (2525). รายงานผลการวิจัยความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียในการปราบปรามกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลไทยและมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รอเบอร์ต ทอมป์สัน. (2509). ปราบกบฏคอมมิวนิสต์ = Defeating Communist insutgency. กรุงเทพฯ : องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

เรืองยศ จันทรคีรี. (2523). สถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ : วงค์ปาล.

ไรอัน, เอน. เจ., (2526). การสร้างชาติมาเลเซียและสิงคโปร์ = The making of modern Malaysia and Singapore. แปลโดย ประกายทอง สิริสุข, ม.ร.ว., ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ลินพิชญ์ สัจจพันธ์, พล.ต.ต. . (2525). มาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา. วันชัย จิตต์จำนงค์, พลโท. (2529, พฤษภาคม). “โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา : ทำไมต้องปราบปราม,” ใน อนุสารคนใต้. 6(5) : 32- 36.

วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์, พลโท . (2530). ปัญหา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา.

วิจิตรา สมานญาติ. (2523, 11 กันยายน). ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2534). สู่ชายแดนใต้สันติ. ยะลา : ศูนย์อำนวยการฯ.

สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง. (2540?). แนวทางการปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาชายแดนไทย – มาเลเซีย. กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.

ส่งเสริม วายโสภา, พลตรี. (2529). แนวความคิดในการต่อสู้เพื่อเอาชนะการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา.

สำนักงานจังหวัดยะลา. (2529). บรรยายสรุปจังหวัดยะลา 2529. ยะลา : สำนักงานฯ.

เสรี กลีบจีนทร์, พลตรี. (2534). ปัญหาความมั่นคงแห่งชาติใน 5จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. อัดสำเนา.

อุษณีย์ กรรณสูต และ พัชรี สิโรรส. (2516). พื้นฐานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Antony Short. (1975). The Communist Insurrection in Malaya 1946 – 1960. London : Frederick Muller.

Babara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya, (2001). A History of Malaysia. Basingstoke /England: Palgrave.

อ้างอิง

  1. มานพ จิตต์ภูษา. (2525). รายงานผลการวิจัยความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียในการปราบปรามกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลไทยและมาเลเซีย. หน้า 111.
  2. อุษณีย์ กรรณสูต และ พัชรี สิโรรส. (2516). พื้นฐานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. หน้า 99 -100
  3. กิตติ รัตนฉายา. (2538). ดับไฟใต้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา. หน้า 2. และ มานพ จิตต์ภูษา. (2525). เล่มเดิม. หน้า 90.
  4. นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). ความร่วมมือของไทยต่อมาเลเซีย : ศึกษากรณีการแก้ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พ.ศ. 2520 - 2532). หน้า 16.
  5. นันทิวัฒน์ สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. หน้า 23.
  6. นันทิวัฒน์ สามารถ. (2522). เล่มเดิม. หน้า 121.
  7. Victor Purcell. (1965) The Chinese in Southeast Asia. p. 301. อ้างใน นันทิวัฒน์ สามารถ. (2522). พรรคคอมมิวนิสต์มาลายัน: ศึกษาความล้มเหลวในการปฏิวัติ. หน้า 24
  8. บาร์บารา วัตสัน อันดายา, โอนาร์ด วายอันดาย. (2549). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย= A History of Malaysia. หน้า 429 - 441
  9. Antony Short. (1975). The Communist Insurrection in Malaya 1946 – 1960. p. 39.
  10. วันชัย จิตต์จำนง, พลโท. (2529, พฤษภาคม). “โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา : ทำไมต้องปราบปราม,” ใน อนุสารคนใต้. 6(5) : 33.
  11. รอเบอร์ต ทอมป์สัน. (2509). ปราบกบฏคอมมิวนิสต์ = Defeating Communist insutgency. หน้า 16. หรือ ดูรายละเอียดใน ประพต เศรษฐกานนท์. (2549). สรรนิพนธ์การทหารเหมาเจ๋อตุง. (กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา). หรือ บุญศักดิ์ แสงระวี. (2551). คติพจน์ประธานเหมาเจ๋อตุง. (กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ).
  12. บาร์บารา วัตสัน อันดายา, โอนาร์ด วายอันดาย. (2549). เล่มเดิม. หน้า 451 - 452 และ นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). เล่มเดิม. หน้า 19 – 21
  13. นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). เล่มเดิม. หน้า 21.
  14. Antony Short. (1975). The Communist Insurrection in Malaya 1946 – 1960. p. 507.
  15. ไรอัน, เอน. เจ., (2526). การสร้างชาติมาเลเซียและสิงคโปร์ = The making of modern Malaysia and Singapore. หน้า 245 – 248.
  16. ลินพิชญ์ สัจจพันธ์, พล.ต.ต. . (2525). มาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 12. และ เสรี กลีบจีนทร์, พลตรี. (2534). ปัญหาความมั่นคงแห่งชาติใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง. หน้า 32. และ เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). ความมั่นคงชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย. หน้า 26 – 27.
  17. เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). เล่มเดิม. หน้า 27.
  18. เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). เล่มเดิม. หน้า 27.
  19. มานพ จิตต์ภูษา. (2525). เล่มเดิม. หน้า 111 - 114
  20. เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). เล่มเดิม. หน้า 27. และ ภัคคินี เปรมโยธิน. (2519). กระบวนการบริหารราชการส่วนภูมิภาคกับปัญหาชนกลุ่มน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 132. และ วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์, พลโท . (2530). ปัญหา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 54 - 60. และ ส่งเสริม วายโสภา, พลตรี. (2529). แนวความคิดในการต่อสู้เพื่อเอาชนะการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 60 - 72.
  21. Babara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya. (2001). A History of Malaysia. p. 262.
  22. รายละเอียดใน ประพต เศรษฐกานนท์. (2549) สารนิพนธ์การทหารเหมาเจ๋อตุง. (กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา). หรือ บุญศักดิ์ แสงระวี. (2551). คติพจน์ประธานเหมาเจ๋อตุง. (กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ).
  23. นันทวรรณ ยอดพิจิตร. (2543). เล่มเดิม. หน้า 45 – 49. และ ลินพิชญ์ สัจจพันธ์, พล.ต.ต. . (2525). เล่มเดิม. หน้า 23 – 24.
  24. ลินพิชญ์ สัจจพันธ์, พล.ต.ต. . (2525). เล่มเดิม. หน้า 16 - 17. และ วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์, พลโท . (2530). เล่มเดิม. หน้า 54 – 60.
  25. วันชัย จิตต์จำนงค์. (2529, พฤษภาคม). “โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา : ทำไมต้องปราบปราม,” ใน อนุสารคนใต้. 6(5) : 34.
  26. สำนักงานจังหวัดยะลา. (2529). บรรยายสรุปจังหวัดยะลา 2529. หน้า 42.
  27. เรืองยศ จันทรคีรี. (2523). สถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้. หน้า 179 - 180.
  28. มานพ จิตต์ภูษา. (2525). เล่มเดิม. หน้า 128.
  29. ลินพิชญ์ สัจจพันธ์, พล.ต.ต. . (2525). เล่มเดิม. หน้า 25 – 32.
  30. ส่งเสริม วายโสภา, พลตรี. (2529). เล่มเดิม. หน้า 97 - 98.
  31. มานพ จิตต์ภูษา. (2525). เล่มเดิม. หน้า 126. และ เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). เล่มเดิม. หน้า 29 – 30.
  32. ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2526). ชนกลุ่มน้อยในไทยกับความมั่นคงของชาติ. หน้า 175.
  33. กิตติ รัตนฉายา. (2523). ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 38 และ หน้า 43.
  34. วิจิตรา สมานญาติ. (2523, 11 กันยายน). ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 43.
  35. ธานินทร์ ผะเอม. (2527). นโยบายการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. หน้า 65 – 71. และ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง. (2540?). แนวทางการปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาชายแดนไทย – มาเลเซีย. หน้า 102 – 103.
  36. กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ. (2535). “กรป.กลางกับงานชายแดนไทย-มาเลเซีย,” ใน ครบรอบ 20 ปี กรป. กลาง. หน้า 104.
  37. กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ. (2523). ครบรอบ18 ปี กรป. กลาง. หน้า 140 - 146
  38. เชิญชัย พินิจสุทธาโภชน์, พลตรี. (2535). เล่มเดิม. หน้า 34. สงเสริม วายโสภา, พลตรี. (2529). เล่มเดิม. หน้า 108 -109. และ วิศิษย์ อาจคุ้มวงษ์, พลโท . (2530). เล่มเดิม. หน้า 66 – 67.
  39. มานพ จิตต์ภูษา. (2525). เล่มเดิม. หน้า 154.
  40. ประสิทธ์ รุ่งเรืองรัตนกุล. (2522). ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย. หน้า 114.
  41. มานพ จิตต์ภูษา. (2524, มิถุนายน – กรกฎาคม). “จคม. กับการปฏิบัติของทหารมาเลเซียในแดนไทย,” ในวารสารรูสมิแล. 5(3) : 94 -95.
  42. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2534). สู่ชายแดนใต้สันติ. หน้า 93.
  43. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใน นิสิต จันทร์สมวงศ์. (2530). บทบาทของกองทัพบกไทยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ตามนโยบายใต้ร่มเย็นของกองทัพภาคที่ 4. วิทยานิพนธ์ (รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  44. “ประวัติอุโมงค์สามชั้น - ประวัติของกรมที่ 8,” ใน เอกสารนำชมอุโมงค์เขาน้ำค้าง (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) และ กองบรรณาธิการ วารสารรูสมิแล. (2530,พฤษภาคม – สิงหาคม). “เยี่ยมหมู่บ้านปิยะมิตร วนคาม1 ; จคม. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,” ใน วารสารรูสมิแล. 10(3) : 17.
  45. กิตติ รัตนฉายา. (2538). เล่มเดิม. หน้า 67.
  46. แหล่งเดิม. หน้า 115.
  47. แหล่งเดิม. หน้า 189.
  48. แหล่งเดิม. หน้า 232.
  49. แหล่งเดิม. หน้า 267.
  50. กองบรรณาธิการ วารสารรูสมิแล. (2530,พฤษภาคม – สิงหาคม). “เยี่ยมหมู่บ้านปิยะมิตร วนคาม 1 ; จคม. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,” ใน วารสารรูสมิแล. 10(3) : 17 - 18.