ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเมืองไทยหลังยุคโควิด-19"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต '''ผู้ทร..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
ใครจะเข้ามาแข่งขันในเกมการจัดตั้งรัฐบาลต้องเข้ามาในรูปของพรรคการเมือง ซึ่งในระบบการเมืองไทยที่เป็นอยู่ก่อนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่อยู่ 2 พรรค แต่ด้วยการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่มุมสลายพรรคการเมืองขนาดใหญ่ให้เล็กลง ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร อันจะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ยากที่จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินครึ่งสภาเหมือนดังระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 | ใครจะเข้ามาแข่งขันในเกมการจัดตั้งรัฐบาลต้องเข้ามาในรูปของพรรคการเมือง ซึ่งในระบบการเมืองไทยที่เป็นอยู่ก่อนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่อยู่ 2 พรรค แต่ด้วยการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่มุมสลายพรรคการเมืองขนาดใหญ่ให้เล็กลง ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร อันจะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ยากที่จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินครึ่งสภาเหมือนดังระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 | ||
จากระบบการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้'''พรรคเพื่อไทย'''ไม่ได้ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว หากเป็นระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 พรรคเพื่อไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้ที่นั่งนำโด่งทั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ อันจะทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า[[พรรคพลังประชารัฐ]]หรือพรรคการเมืองอื่นเป็นจำนวนมาก | จากระบบการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้'''พรรคเพื่อไทย'''ไม่ได้ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว หากเป็นระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 พรรคเพื่อไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้ที่นั่งนำโด่งทั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ อันจะทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]หรือพรรคการเมืองอื่นเป็นจำนวนมาก | ||
ส่วน[[พรรคประชาธิปัตย์]]ซึ่งเคยเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเช่นกัน แม้จะไม่มากเท่าพรรคเพื่อไทย แต่จากเหตุการณ์ที่สมาชิกพรรคบางส่วนแยกตัวไปสนับสนุนคณะรัฐรักษาความสงบแห่งชาติทำให้มีความเข้มแข็งน้อยลง และไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากเท่าอดีต เนื่องมีท่าทีสนับสนุนคณะรักษาความสงบในช่วงแรกของการยึดอำนาจ แม้ภายหลังจะเลิกสนับสนุน แต่ก็ไม่มีนโยบายที่โดนใจประชาชนเท่าที่ควร เพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในหลายเขตเลือกตั้ง กลายเป็นพรรคขนาดกลาง | ส่วน[[พรรคประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]ซึ่งเคยเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเช่นกัน แม้จะไม่มากเท่าพรรคเพื่อไทย แต่จากเหตุการณ์ที่สมาชิกพรรคบางส่วนแยกตัวไปสนับสนุนคณะรัฐรักษาความสงบแห่งชาติทำให้มีความเข้มแข็งน้อยลง และไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากเท่าอดีต เนื่องมีท่าทีสนับสนุนคณะรักษาความสงบในช่วงแรกของการยึดอำนาจ แม้ภายหลังจะเลิกสนับสนุน แต่ก็ไม่มีนโยบายที่โดนใจประชาชนเท่าที่ควร เพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในหลายเขตเลือกตั้ง กลายเป็นพรรคขนาดกลาง | ||
[[พรรคอนาคตใหม่]]เป็นพรรคใหม่ มีนโยบายโดนใจคนหนุ่มคนสาวและฝ่ายหัวก้าวหน้า เน้นการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยเสรี ต่อต้านการรัฐประหารและคัดค้านการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร เป็นพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นกอบเป็นกำมากถึง 80 ที่นั่ง แต่โดยที่พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายต่อต้านคณะรัฐประหารจึงถูกรุมสกัดจากฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งถูกยุบพรรค ผู้นำคนสำคัญของพรรคถูกตัดสิทธ์ในทางการเมือง สมาชิกส่วนที่เหลือในสภาแม้จะรวมตัวกันเป็น'''พรรคก้าวไกล''' แต่จำนวนที่นั่งในสภาก็ถูกลดจำนวนลงไปมาก และก็ไม่เข้มแข็งเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ | [[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]]เป็นพรรคใหม่ มีนโยบายโดนใจคนหนุ่มคนสาวและฝ่ายหัวก้าวหน้า เน้นการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยเสรี ต่อต้านการรัฐประหารและคัดค้านการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร เป็นพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นกอบเป็นกำมากถึง 80 ที่นั่ง แต่โดยที่พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายต่อต้านคณะรัฐประหารจึงถูกรุมสกัดจากฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งถูกยุบพรรค ผู้นำคนสำคัญของพรรคถูกตัดสิทธ์ในทางการเมือง สมาชิกส่วนที่เหลือในสภาแม้จะรวมตัวกันเป็น'''พรรคก้าวไกล''' แต่จำนวนที่นั่งในสภาก็ถูกลดจำนวนลงไปมาก และก็ไม่เข้มแข็งเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ | ||
ในขณะที่พรรคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือพรรคพลังประชารัฐอยู่ในฐานะเป็นพรรครัฐบาล ได้รับสิทธิพิเศษในการเตรียมตัวจัดตั้ง สามารถสร้างคะแนนนิยมในการเป็นรัฐบาลอำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับประชาชน แถมยังมีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสภาเป็นเสียงสนับสนุนในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรครัฐบาลมีพลังดูดนักการเมืองที่หวังจะมีส่วนร่วมเป็นรัฐบาลได้ไม่น้อย | ในขณะที่พรรคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือพรรคพลังประชารัฐอยู่ในฐานะเป็นพรรครัฐบาล ได้รับสิทธิพิเศษในการเตรียมตัวจัดตั้ง สามารถสร้างคะแนนนิยมในการเป็นรัฐบาลอำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับประชาชน แถมยังมีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสภาเป็นเสียงสนับสนุนในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรครัฐบาลมีพลังดูดนักการเมืองที่หวังจะมีส่วนร่วมเป็นรัฐบาลได้ไม่น้อย | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
ฝ่ายรัฐบาลถ่วงดุลอำนาจกัน การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คงจะเป็นเกมที่จะต้องต่อสู้กันอีกนาน และจะไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ระหว่างฝ่ายที่กุมความได้เปรียบกับฝ่ายที่เสียเปรียบ แต่สัจธรรมอย่างหนึ่ง '''“อำนาจโน้มไปในทางก่อให้เกิดการฉ้อฉล”''' แต่ถ้าไม่มีอำนาจก็ทำอะไรไม่ได้ สังคมมนุษย์ไม่มีทางออก จำเป็นต้องเลือกเส้นทางที่มีการจัดระเบียบการปกครอง และยอมให้คนบางคนหรือคนบางคณะมีอำนาจ เพียงแต่ว่าอำนาจนั้นควรจะมีขอบเขตแค่ไหนจึงจะเหมาะสม | ฝ่ายรัฐบาลถ่วงดุลอำนาจกัน การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คงจะเป็นเกมที่จะต้องต่อสู้กันอีกนาน และจะไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ระหว่างฝ่ายที่กุมความได้เปรียบกับฝ่ายที่เสียเปรียบ แต่สัจธรรมอย่างหนึ่ง '''“อำนาจโน้มไปในทางก่อให้เกิดการฉ้อฉล”''' แต่ถ้าไม่มีอำนาจก็ทำอะไรไม่ได้ สังคมมนุษย์ไม่มีทางออก จำเป็นต้องเลือกเส้นทางที่มีการจัดระเบียบการปกครอง และยอมให้คนบางคนหรือคนบางคณะมีอำนาจ เพียงแต่ว่าอำนาจนั้นควรจะมีขอบเขตแค่ไหนจึงจะเหมาะสม | ||
การเมืองบนท้องถนนที่คนหนุ่มคนสาวออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลอย่างมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ในช่วงปี 2563 ต่อเนื่อง 2564 นั้น คงจะลดน้อยถอยลงในช่วงเวลาที่เหลือของรัฐบาล พลเอก [[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ทั้งนี้ เนื่องจากคนหนุ่มคนสาวที่เป็นแกนนำในการชุมนุมประท้วงถูกจับตัวฟ้องร้องยังโรงศาลและถูกคาดโทษหรือถูกจำคุกเป็นทิวแถว[[#_ftn9|[9]]] ส่วนกลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังหรือสนับสนุนคนหนุ่มคนสาวก็ไม่กล้าออกมาแสดงเองโดยตรง | การเมืองบนท้องถนนที่คนหนุ่มคนสาวออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลอย่างมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ในช่วงปี 2563 ต่อเนื่อง 2564 นั้น คงจะลดน้อยถอยลงในช่วงเวลาที่เหลือของรัฐบาล พลเอก [[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ทั้งนี้ เนื่องจากคนหนุ่มคนสาวที่เป็นแกนนำในการชุมนุมประท้วงถูกจับตัวฟ้องร้องยังโรงศาลและถูกคาดโทษหรือถูกจำคุกเป็นทิวแถว[[#_ftn9|[9]]] ส่วนกลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังหรือสนับสนุนคนหนุ่มคนสาวก็ไม่กล้าออกมาแสดงเองโดยตรง | ||
ในส่วนของบทบาทนักธุรกิจใหญ่ในการให้การสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะต้องมองถึงผลได้ผลเสีย โดยทั่วไปแล้วพรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลก็จะได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคที่ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ดังนั้น เมื่อโอกาสของพรรคพลังประชารัฐที่จะเป็นรัฐบาลหลังครบวาระ 4 ปี ยังมีอยู่ การได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจก็ยังมีมากกว่าพรรคการเมืองอื่น พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย พละกำลังน่าจะถอยลง สาเหตุเพราะไม่ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศประการหนึ่งและก็ นาย[[ทักษิณ_ชินวัตร]] เข้าประเทศไม่ได้ (เพราะถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิด | ในส่วนของบทบาทนักธุรกิจใหญ่ในการให้การสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะต้องมองถึงผลได้ผลเสีย โดยทั่วไปแล้วพรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลก็จะได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคที่ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ดังนั้น เมื่อโอกาสของพรรคพลังประชารัฐที่จะเป็นรัฐบาลหลังครบวาระ 4 ปี ยังมีอยู่ การได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจก็ยังมีมากกว่าพรรคการเมืองอื่น พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย พละกำลังน่าจะถอยลง สาเหตุเพราะไม่ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศประการหนึ่งและก็ นาย[[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ_ชินวัตร]] เข้าประเทศไม่ได้ (เพราะถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิด และอยู่ระหว่างการหลบหนีการลงโทษ) เล่นการเมืองก็เล่นลำบาก (เพราะถูกสกัดโดยกฎหมายเลือกตั้งที่ห้ามพรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลนอกพรรคมามีอิทธิพลเหนือพรรค)[[#_ftn10|[10]]] นักการเมืองจะกล่าวอ้างถึงก็เสียงต่อการถูกยุบพรรค[[#_ftn11|[11]]] เมื่อเป็นดังนี้ การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยจากบุคคลดังกล่าวจึงมีแนวโน้มลดลง | ||
การเมืองท้องถิ่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการเมืองระดับชาติอย่างใกล้ชิด จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาและผู้บริหารเทศบาล บ่งบอกว่ารูปแบบการหาเสียงและสื่อสังคมออนไลน์อาจใช้ได้ไม่ดีนักในพื้นที่ชนบทและต่างจังหวัด อำนาจเงินและการอุปถัมภ์ยังคงมีบทบาทมาก ผลการเลือกตั้งสะท้อนความเป็น[[อนุรักษ์นิยม]] อิทธิพลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีมาก[[#_ftn12|[12]]] ฝ่ายหัวก้าวหน้าได้รับเลือกตั้งน้อยมาก ภายใต้สภาพเช่นนี้ พรรคก้าวไกลหรือกลุ่มอนาคตใหม่ จึงมีโอกาสที่จะเติบโตได้ยากในอนาคตอันใกล้ในการเมืองท้องถิ่น และหมายถึงอนาคตที่มีแนวโน้มไม่สดใสเท่าใดนักสำหรับพรรค | การเมืองท้องถิ่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการเมืองระดับชาติอย่างใกล้ชิด จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาและผู้บริหารเทศบาล บ่งบอกว่ารูปแบบการหาเสียงและสื่อสังคมออนไลน์อาจใช้ได้ไม่ดีนักในพื้นที่ชนบทและต่างจังหวัด อำนาจเงินและการอุปถัมภ์ยังคงมีบทบาทมาก ผลการเลือกตั้งสะท้อนความเป็น[[อนุรักษ์นิยม|อนุรักษ์นิยม]] อิทธิพลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีมาก[[#_ftn12|[12]]] ฝ่ายหัวก้าวหน้าได้รับเลือกตั้งน้อยมาก ภายใต้สภาพเช่นนี้ พรรคก้าวไกลหรือกลุ่มอนาคตใหม่ จึงมีโอกาสที่จะเติบโตได้ยากในอนาคตอันใกล้ในการเมืองท้องถิ่น และหมายถึงอนาคตที่มีแนวโน้มไม่สดใสเท่าใดนักสำหรับพรรค | ||
'''สรุปแนวโน้มการเมืองไทยหลังยุคโควิด''' | '''สรุปแนวโน้มการเมืองไทยหลังยุคโควิด''' | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
[[#_ftnref4|[4]]] “สรุปมาตรการรัฐช่วยประชาชนช่วงโควิด-19” ข่าวไทยพีบีเอส 28 มีนาคม 2563 news.thaipbs.or.th (17/06/2564) | [[#_ftnref4|[4]]] “สรุปมาตรการรัฐช่วยประชาชนช่วงโควิด-19” ข่าวไทยพีบีเอส 28 มีนาคม 2563 news.thaipbs.or.th (17/06/2564) | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] “การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563-2564” https://th.wikipedia.org.wiki>การประท้วง...(16/06/2564) | [[#_ftnref5|[5]]] “การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563-2564” [https://th.wikipedia.org.wiki https://th.wikipedia.org.wiki]>การประท้วง...(16/06/2564) | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] “ประยุทธ์ประกาศกร้าวกลางสภา ยิ่งไล่ยิ่งสู้ จะอยู่ครบวาระ” ประชาชาติธุรกิจ 14 มิถุนายน 2564 prachachat.net (17/06/2564) | [[#_ftnref6|[6]]] “ประยุทธ์ประกาศกร้าวกลางสภา ยิ่งไล่ยิ่งสู้ จะอยู่ครบวาระ” ประชาชาติธุรกิจ 14 มิถุนายน 2564 prachachat.net (17/06/2564) |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:10, 31 พฤษภาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู
การเมืองไทยหลังยุคโควิด-19
แม้ประเทศไทยจะถูกโรคโควิด-19 คุกคามมาแล้วถึง 3 รอบ ในระยะเวลาราวปีครึ่ง จากเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงปัจจุบัน (16 มิถุนายน พ.ศ. 2564) มีจำนวนมีผู้ติดเชื้อสะสม รวม 204,595 ราย เสียชีวิตสะสม 1,525 ราย[1] เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในรอบ 22 ปี ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ปี 2563 ลดลงมากถึง ร้อยละ 6.1[2] อัตราการว่างงาน ปี 2563 สูงถึง ร้อยละ 1.95 หรือเท่ากับ 7.5 แสนคน จัดเป็นอัตราว่างงานสูงสุดในรอบ 11 ปี อีกทั้งมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวอีก 2.5 ล้านคน[3] รัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือประชาชน เช่น ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มาตรการเยียวยากลุ่มแรงงานลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม งบจ้างงานสำหรับการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน โดยลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม ฯลฯ[4] ในอีกด้านหนึ่งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างปี 2563 และต้นปี 2564 กดดันรัฐบาลให้ลาออก[5] แต่รัฐบาลไม่ยอมลาออกและก็ไม่ยอมยุบสภา อีกทั้งยืนยันจะอยู่จนครบวาระ 4 ปี อีกด้วย[6]
ในช่วงเวลาที่เหลืออีกราว 2 ปี (ครบวาระ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566) หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลที่นำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นตัวแทน มีแนวโน้มจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ 4 ปี ตามที่นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศ
และจะมีโอกาสอยู่ต่ออีก 1 สมัย เหตุผลหลักคือโครงสร้างอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตัวแสดงในทางการเมืองและปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เป็นเช่นนั้น
โครงสร้างอำนาจทางการเมือง
ในรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ในปัจจุบัน แม้มาตรา 158 จะกำหนดให้ “การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ” แต่ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ประกอบกับ มาตรา 269 ได้กำหนดข้อยกเว้นที่จะใช้หลักการดังกล่าว โดยในระหว่างห้าปีแรกของรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 24 มีนาคม พ.ศ. 2562) ให้วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[7] อีกทั้งอำนาจในการถวายคำแนะนำในการแต่งตั้งบุคคลเป็นสมาชิกวุฒิสภาเป็นอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[8] เงื่อนไขความได้เปรียบของพรรคการเมืองที่เป็นพรรคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติข้างต้นเป็นเรื่องยากที่พรรคการเมืองคู่แข่งใดจะสามารถเอาชนะได้ เพราะพรรคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีแต้มต่อถึง 250 เสียง จากแต้มรวม 750 เสียง (ส.ส. 500 เสียง ส.ว. 250 เสียง)
ตัวแสดงทางการเมือง
ใครจะเข้ามาแข่งขันในเกมการจัดตั้งรัฐบาลต้องเข้ามาในรูปของพรรคการเมือง ซึ่งในระบบการเมืองไทยที่เป็นอยู่ก่อนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่อยู่ 2 พรรค แต่ด้วยการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่มุมสลายพรรคการเมืองขนาดใหญ่ให้เล็กลง ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร อันจะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ยากที่จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินครึ่งสภาเหมือนดังระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
จากระบบการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้พรรคเพื่อไทยไม่ได้ที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว หากเป็นระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หรือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 พรรคเพื่อไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้ที่นั่งนำโด่งทั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ อันจะทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าพรรคพลังประชารัฐหรือพรรคการเมืองอื่นเป็นจำนวนมาก
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยเป็นพรรคที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเช่นกัน แม้จะไม่มากเท่าพรรคเพื่อไทย แต่จากเหตุการณ์ที่สมาชิกพรรคบางส่วนแยกตัวไปสนับสนุนคณะรัฐรักษาความสงบแห่งชาติทำให้มีความเข้มแข็งน้อยลง และไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากเท่าอดีต เนื่องมีท่าทีสนับสนุนคณะรักษาความสงบในช่วงแรกของการยึดอำนาจ แม้ภายหลังจะเลิกสนับสนุน แต่ก็ไม่มีนโยบายที่โดนใจประชาชนเท่าที่ควร เพลี่ยงพล้ำในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในหลายเขตเลือกตั้ง กลายเป็นพรรคขนาดกลาง
พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคใหม่ มีนโยบายโดนใจคนหนุ่มคนสาวและฝ่ายหัวก้าวหน้า เน้นการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยเสรี ต่อต้านการรัฐประหารและคัดค้านการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร เป็นพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเป็นกอบเป็นกำมากถึง 80 ที่นั่ง แต่โดยที่พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายต่อต้านคณะรัฐประหารจึงถูกรุมสกัดจากฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งถูกยุบพรรค ผู้นำคนสำคัญของพรรคถูกตัดสิทธ์ในทางการเมือง สมาชิกส่วนที่เหลือในสภาแม้จะรวมตัวกันเป็นพรรคก้าวไกล แต่จำนวนที่นั่งในสภาก็ถูกลดจำนวนลงไปมาก และก็ไม่เข้มแข็งเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นพรรคอนาคตใหม่
ในขณะที่พรรคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือพรรคพลังประชารัฐอยู่ในฐานะเป็นพรรครัฐบาล ได้รับสิทธิพิเศษในการเตรียมตัวจัดตั้ง สามารถสร้างคะแนนนิยมในการเป็นรัฐบาลอำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับประชาชน แถมยังมีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสภาเป็นเสียงสนับสนุนในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรครัฐบาลมีพลังดูดนักการเมืองที่หวังจะมีส่วนร่วมเป็นรัฐบาลได้ไม่น้อย
ส่วนพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นพรรคประกอบมากกว่าเป็นพรรคที่เป็นตัวแสดงหลัก คือ เป็นพรรคร่วมรัฐบาลหรือพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ช่วยเสริมกำลังรัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้านเท่านั้น
สภาพแวดล้อมทางการเมือง
ฝ่ายรัฐบาลถ่วงดุลอำนาจกัน การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คงจะเป็นเกมที่จะต้องต่อสู้กันอีกนาน และจะไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ระหว่างฝ่ายที่กุมความได้เปรียบกับฝ่ายที่เสียเปรียบ แต่สัจธรรมอย่างหนึ่ง “อำนาจโน้มไปในทางก่อให้เกิดการฉ้อฉล” แต่ถ้าไม่มีอำนาจก็ทำอะไรไม่ได้ สังคมมนุษย์ไม่มีทางออก จำเป็นต้องเลือกเส้นทางที่มีการจัดระเบียบการปกครอง และยอมให้คนบางคนหรือคนบางคณะมีอำนาจ เพียงแต่ว่าอำนาจนั้นควรจะมีขอบเขตแค่ไหนจึงจะเหมาะสม
การเมืองบนท้องถนนที่คนหนุ่มคนสาวออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลอย่างมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ในช่วงปี 2563 ต่อเนื่อง 2564 นั้น คงจะลดน้อยถอยลงในช่วงเวลาที่เหลือของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์_จันทร์โอชา ทั้งนี้ เนื่องจากคนหนุ่มคนสาวที่เป็นแกนนำในการชุมนุมประท้วงถูกจับตัวฟ้องร้องยังโรงศาลและถูกคาดโทษหรือถูกจำคุกเป็นทิวแถว[9] ส่วนกลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังหรือสนับสนุนคนหนุ่มคนสาวก็ไม่กล้าออกมาแสดงเองโดยตรง
ในส่วนของบทบาทนักธุรกิจใหญ่ในการให้การสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะต้องมองถึงผลได้ผลเสีย โดยทั่วไปแล้วพรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลก็จะได้รับการสนับสนุนมากกว่าพรรคที่ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ดังนั้น เมื่อโอกาสของพรรคพลังประชารัฐที่จะเป็นรัฐบาลหลังครบวาระ 4 ปี ยังมีอยู่ การได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจก็ยังมีมากกว่าพรรคการเมืองอื่น พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย พละกำลังน่าจะถอยลง สาเหตุเพราะไม่ได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศประการหนึ่งและก็ นายทักษิณ_ชินวัตร เข้าประเทศไม่ได้ (เพราะถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิด และอยู่ระหว่างการหลบหนีการลงโทษ) เล่นการเมืองก็เล่นลำบาก (เพราะถูกสกัดโดยกฎหมายเลือกตั้งที่ห้ามพรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลนอกพรรคมามีอิทธิพลเหนือพรรค)[10] นักการเมืองจะกล่าวอ้างถึงก็เสียงต่อการถูกยุบพรรค[11] เมื่อเป็นดังนี้ การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยจากบุคคลดังกล่าวจึงมีแนวโน้มลดลง
การเมืองท้องถิ่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการเมืองระดับชาติอย่างใกล้ชิด จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาและผู้บริหารเทศบาล บ่งบอกว่ารูปแบบการหาเสียงและสื่อสังคมออนไลน์อาจใช้ได้ไม่ดีนักในพื้นที่ชนบทและต่างจังหวัด อำนาจเงินและการอุปถัมภ์ยังคงมีบทบาทมาก ผลการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นอนุรักษ์นิยม อิทธิพลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีมาก[12] ฝ่ายหัวก้าวหน้าได้รับเลือกตั้งน้อยมาก ภายใต้สภาพเช่นนี้ พรรคก้าวไกลหรือกลุ่มอนาคตใหม่ จึงมีโอกาสที่จะเติบโตได้ยากในอนาคตอันใกล้ในการเมืองท้องถิ่น และหมายถึงอนาคตที่มีแนวโน้มไม่สดใสเท่าใดนักสำหรับพรรค
สรุปแนวโน้มการเมืองไทยหลังยุคโควิด
ทั้งหมดนี้เป็นโอกาสดีของพรรคคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่จะบริหารประเทศต่อไป ภายใต้การสนับสนุนอย่างเหนียวแน่นและแข็งขันของสมาชิกวุฒิสภา ส่วนประเทศจะเจริญได้แค่ไหน ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญาของผู้นำและทีมงาน
[1] การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย th.m.wikipedia.org (16/06/2021) สถิติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยรายแรกวันที่ 13 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2564 มีผู้ติดเชื้อรวม 204,595 ราย เสียชีวิตสะสม 1,525 ราย “รายงานสถานการณ์โรคตอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
[2] Brandinside“GDP ไทยปี 2020 ถดถอย 6.1 เปอร์เซ็นต์...” 15/02/2021 brandinside.asia (16/06/2021)
[3] “โควิดกระทบหนัก ปี 63 พบอัตราว่างงานถึง 1.95 เปอร์เซ็นต์ ...” BLT (Best Living Taste), 26 มีนาคม 2564, bitbangkok.com (17/06/2564)
[4] “สรุปมาตรการรัฐช่วยประชาชนช่วงโควิด-19” ข่าวไทยพีบีเอส 28 มีนาคม 2563 news.thaipbs.or.th (17/06/2564)
[5] “การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563-2564” https://th.wikipedia.org.wiki>การประท้วง...(16/06/2564)
[6] “ประยุทธ์ประกาศกร้าวกลางสภา ยิ่งไล่ยิ่งสู้ จะอยู่ครบวาระ” ประชาชาติธุรกิจ 14 มิถุนายน 2564 prachachat.net (17/06/2564)
[7] มาตรา 272 ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา
[8] มาตรา 269 ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยห้าสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคำแนะนำ...
[9] “ใครถูกจับกุม-ดำเนินคดีข้อหาใดบ้าง 13-15 ต.ค.นี้” ข่าวไทยพีบีเอส 16 ตุลาคม 2563 news.thaipbs.or.th, 17/06/2564 “11 รายชื่อนักศึกษา-ประชาชน-แกนนำ ชุมนุมเยาวชนปลดแอกที่ถูกจับกุม” The Standard, 20/08/2020, thestandard.co, 17/06/2021
[10] มาตรา 32 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
[11] มาตรา 92 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
[12] “เลือกตั้งท้องถิ่น..ว่าที่นายก อบจ. 76 จังหวัด ใครอยู่ใต้เงา “บ้านใหญ่” ใครคือหน้าใหม่ล้มแชมป์” BBC News/ไทย 21 ธันวาคม 2563 ปรับปรุง 25 ธันวาคม 2563, bbc.com , 17/06/2564 “การเลือกตั้ง อบจ.63 บอกอะไรเรา – ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นอะไร” The 101 World, 30 ธันวาคม 2563, the101.world และ “ชำแหละทำไม “ทอน” พาคณะก้าวหน้าพ่ายเลือกตั้งท้องถิ่นซ้ำ” ThaiPost 29 มีนาคม 2564 thaipost.net , 17/06/2564