ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาธิปไตยไม่เสรี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
== ความหมาย ==
== ความหมาย ==


ประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy) เป็นคำที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้อธิบายระบบการปกครองที่แม้จะรับรองสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (political rights and liberties) อย่างกว้างขวางผ่านกระบวนการเลือกตั้ง หรือการประชามติ แต่ก็ขาดกลไกทางรัฐธรรมนูญที่จะพิทักษ์เสรีภาพพลเมือง (civil liberties) เพราะเมื่อผู้นำทางการเมืองได้รับฉันทานุมัติผ่านการเลือกตั้งก็มักจะรวบอำนาจ หรืออ้างสิทธิธรรมในอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อกระทำการทางการเมือง จึงส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ประชาธิปไตยไม่เสรีถือเป็นแนวโน้มประชาธิปไตยระดับโลกที่มักปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในประเทศที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย (democratizing countries) ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดย ฟารีด ซาคาเรีย (Fareed Zakaria) ในบทความเรื่อง “The Rise of Illiberal Democracy” (ซึ่งต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในชื่อ The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad) สำหรับการเมืองไทยแล้ว “ประชาธิปไตยไม่เสรี” ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในปี 2544 จนกระทั่งสิ้นสุดรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ในปี 2549
ประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy) เป็นคำที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้อธิบายระบบการปกครองที่แม้จะรับรอง[[สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง]] (political rights and liberties) อย่างกว้างขวางผ่านกระบวน[[การเลือกตั้ง]] หรือการ[[ประชามติ]] แต่ก็ขาดกลไกทาง[[รัฐธรรมนูญ]]ที่จะพิทักษ์เสรีภาพ[[พลเมือง]] (civil liberties) เพราะเมื่อผู้นำทางการเมืองได้รับ[[ฉันทานุมัติ]]ผ่าน[[การเลือกตั้ง]]ก็มักจะรวบอำนาจ หรืออ้างสิทธิธรรมในอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อกระทำการทางการเมือง จึงส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง [[ประชาธิปไตย]]ไม่เสรีถือเป็นแนวโน้มประชาธิปไตยระดับโลกที่มักปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในประเทศที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย (democratizing countries) ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดย ฟารีด ซาคาเรีย (Fareed Zakaria) ในบทความเรื่อง “The Rise of Illiberal Democracy” (ซึ่งต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในชื่อ The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad) สำหรับการเมืองไทยแล้ว “ประชาธิปไตยไม่เสรี” ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงหลัง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]เป็นการทั่วไป ในปี 2544 จนกระทั่งสิ้นสุด[[รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ในปี 2549]]


== สาระสำคัญของ “ประชาธิปไตยไม่เสรี” ==
== สาระสำคัญของ “ประชาธิปไตยไม่เสรี” ==
โดยทั่วไปประชาธิปไตยไม่เสรี ดูจะเป็นคำที่มีลักษณะขัดแย้งในตัวเอง เพราะในด้านหนึ่งประเทศในอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตกล้วนเดินตามเส้นทางเสรีประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น ในอีกด้านหนึ่งประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการของเสรีนิยมมาอย่างยาวนานอันเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตยผลิบาน การปรากฏตัวของประชาธิปไตยไม่เสรีในประเทศที่อยู่นอกวงข้างต้นจึงดึงดูดความสนใจแก่บรรดานักวิชาการและผู้สังเกตการณ์จำนวนมาก ทั้งนี้ช่วงกว้างของประชาธิปไตยไม่เสรีมีตั้งแต่ระดับย่อมเยาอย่างอาร์เจนตินา ระดับกลางๆ อย่าง โรมาเนียและบังกลาเทศ ไปจนถึงระดับที่เกือบจะเป็นทรราชอย่าง คาซัคสถาน และเบลารุส ซึ่งทั้งหมดผู้นำประเทศต่างขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมใกล้เคียงกับประเทศโลกตะวันตก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสนับสนุนรณรงค์เลือกตั้งอย่างกว้างขวาง ขณะที่เสรีภาพพลเมือง (civil liberty) กลับไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นสถาบัน <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, Vol. 76, No.6 (Nov.-Dec., 1997), 23.</ref>
โดยทั่วไปประชาธิปไตยไม่เสรี ดูจะเป็นคำที่มีลักษณะขัดแย้งในตัวเอง เพราะในด้านหนึ่งประเทศในอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตกล้วนเดินตามเส้นทางเสรีประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น ในอีกด้านหนึ่งประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการของเสรีนิยมมาอย่างยาวนานอันเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตยผลิบาน การปรากฏตัวของประชาธิปไตยไม่เสรีในประเทศที่อยู่นอกวงข้างต้นจึงดึงดูดความสนใจแก่บรรดานักวิชาการและผู้สังเกตการณ์จำนวนมาก ทั้งนี้ช่วงกว้างของประชาธิปไตยไม่เสรีมีตั้งแต่ระดับย่อมเยาอย่างอาร์เจนตินา ระดับกลางๆ อย่าง โรมาเนียและบังกลาเทศ ไปจนถึงระดับที่เกือบจะเป็นทรราชอย่าง คาซัคสถาน และเบลารุส ซึ่งทั้งหมดผู้นำประเทศต่างขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมใกล้เคียงกับประเทศโลกตะวันตก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสนับสนุนรณรงค์เลือกตั้งอย่างกว้างขวาง ขณะที่[[เสรีภาพพลเมือง]] (civil liberty) กลับไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นสถาบัน <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, Vol. 76, No.6 (Nov.-Dec., 1997), 23.</ref>


อย่างไรก็ตาม จารีตความคิดตะวันตกนับตั้งแต่ยุคคลาสสิกจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ล้วนมอง “ประชาธิปไตย” (democracy) ด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการให้เหตุผลที่ว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของ “ฝูงชนไร้เหตุผล” (irrational crowd) “การปกครองของคนโง่” (rule of the stupid) “ทรราชผู้ยากไร้” (tyranny of the poor) และ “ทรราชโดยเสียงข้างมาก” (tyranny of majority) เป็นต้น<ref>Philip Coggan, The Last Vote: The Threats to Western Democracy (London: Penguin Books, 2014), pp. 19-38.</ref>  (หรือแม้กระทั่งในสังคมการเมืองสยามหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 ก็ยังระมัดระวังที่จะใช้คำว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” (constitutional monarchy) แทนที่จะใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง "ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา"<ref>อ้างอิงจาก “ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1,” ใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช และขัตติยา กรรณสูต, (รวบรวม), เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2417-2477 (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 209-211.</ref> ) จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประชาธิปไตยจึงถูกนิยามความหมายและยอมรับปรับแปรกันอย่างกว้างขวางในฐานะวิธีการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อคัดเลือกผู้นำผ่านการแข่งขันเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ถูกปกครอง<ref>Samuel P. Huntington, The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century (Norman: University of Oklahoma Press, 1991), p. 6.</ref>  ภาพลักษณ์ของประชาธิปไตยจึงบรรจุไปด้วยความหมายเชิงบวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ประชาธิปไตยในความหมายของวิธีการจัดตั้งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องขยายสิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นสากล (universal suffrage) แต่ในกระบวนการเดียวกันนี้ก็คือการถ่ายโอนสิทธิอำนาจอันชอบธรรมแก่รัฐบาล (authorization) ในแง่นี้ประชาธิปไตยจึงสรุปความหมายได้ว่า การรวบอำนาจโดยความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกใช้อำนาจนั้นบริหารกิจการงานเมืองได้อย่างชอบธรรม ตราบใดที่ระบอบการเมือง หรือรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเลือกตั้งจากหลายพรรค อันวางอยู่บนกฎกติกาที่บริสุทธิ์ เสรี และเป็นธรรม (โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประกอบด้วยความรับผิดชอบหรือไม่) ก็สามารถเรียกระบอบการปกครองนั้นว่า “ประชาธิปไตย”
อย่างไรก็ตาม จารีตความคิดตะวันตกนับตั้งแต่ยุคคลาสสิกจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ล้วนมอง “[[ประชาธิปไตย]]” (democracy) ด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการให้เหตุผลที่ว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของ “ฝูงชนไร้เหตุผล” (irrational crowd) “การปกครองของคนโง่” (rule of the stupid) “ทรราชผู้ยากไร้” (tyranny of the poor) และ “ทรราชโดยเสียงข้างมาก” (tyranny of majority) เป็นต้น<ref>Philip Coggan, The Last Vote: The Threats to Western Democracy (London: Penguin Books, 2014), pp. 19-38.</ref>  (หรือแม้กระทั่งในสังคมการเมืองสยามหลัง[[การเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475]] ก็ยังระมัดระวังที่จะใช้คำว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” (constitutional monarchy) แทนที่จะใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง "ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่ง[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา"<ref>อ้างอิงจาก “ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1,” ใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช และขัตติยา กรรณสูต, (รวบรวม), เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2417-2477 (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 209-211.</ref> ) จนกระทั่งหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง ประชาธิปไตยจึงถูกนิยามความหมายและยอมรับปรับแปรกันอย่างกว้างขวางในฐานะวิธีการจัดตั้ง[[รัฐบาล]] เพื่อคัดเลือกผู้นำผ่านการแข่งขันเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ถูกปกครอง<ref>Samuel P. Huntington, The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century (Norman: University of Oklahoma Press, 1991), p. 6.</ref>  ภาพลักษณ์ของประชาธิปไตยจึงบรรจุไปด้วยความหมายเชิงบวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ประชาธิปไตยในความหมายของวิธีการจัดตั้งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องขยายสิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นสากล (universal suffrage) แต่ในกระบวนการเดียวกันนี้ก็คือการถ่ายโอนสิทธิอำนาจอันชอบธรรมแก่รัฐบาล (authorization) ในแง่นี้ประชาธิปไตยจึงสรุปความหมายได้ว่า [[การรวบอำนาจ]] โดยความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกใช้อำนาจนั้นบริหารกิจการงานเมืองได้อย่างชอบธรรม ตราบใดที่ระบอบการเมือง หรือรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเลือกตั้งจากหลายพรรค อันวางอยู่บนกฎกติกาที่บริสุทธิ์ เสรี และเป็นธรรม (โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประกอบด้วยความรับผิดชอบหรือไม่) ก็สามารถเรียกระบอบการปกครองนั้นว่า “ประชาธิปไตย”


ขณะที่อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยวางอยู่ฐานของประชาธิปไตยที่รวบอำนาจเข้าสู่สถาบันการเมืองและผู้นำทางการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในทางหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง ก็คือ ธรรมนูญเสรี (constitutional liberalism) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายการปกครองของรัฐบาล ในแง่ที่ว่าเป็นธรรมเนียมตะวันตกที่พยายามแสวงหาหนทางในการปกปักรักษาอิสรภาพและศักดิ์ศรีของปัจเจกชนจากการกดปราบ/แทรกแซงโดยรัฐ สังคม ศาสนจักร หรืออำนาจอื่นใด จึงเป็นการเน้นย้ำความสำคัญต่อเสรีภาพปัจเจกชนที่วางอยู่บนการปกครองตามหลักกฎหมาย (rule of law) จนกล่าวได้ว่าสำหรับประวัติศาสตร์ยุคใหม่แล้ว สิ่งที่ทำให้รัฐบาลยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือแตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของโลกหาใช่ประชาธิปไตยอันมอบสิทธิในการเข้ามีมีส่วนร่วมในระบบการปกครอง แต่เป็นธรรมนูญเสรีที่ให้การปกป้องคุ้มครองปัจเจกชนอย่างเป็นธรรม<ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 27.</ref> ดังที่ ฟารีด ซาคาเรีย ชี้ให้เห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า
ขณะที่อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยวางอยู่ฐานของประชาธิปไตยที่รวบอำนาจเข้าสู่[[สถาบันการเมือง]]และ[[ผู้นำทางการเมือง]]ที่ได้รับเลือกตั้งในทางหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง ก็คือ ธรรมนูญเสรี (constitutional liberalism) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายการปกครองของรัฐบาล ในแง่ที่ว่าเป็นธรรมเนียมตะวันตกที่พยายามแสวงหาหนทางในการปกปักรักษาอิสรภาพและศักดิ์ศรีของปัจเจกชนจากการกดปราบ/แทรกแซงโดยรัฐ สังคม ศาสนจักร หรืออำนาจอื่นใด จึงเป็นการเน้นย้ำความสำคัญต่อเสรีภาพปัจเจกชนที่วางอยู่บนการปกครองตามหลักกฎหมาย (rule of law) จนกล่าวได้ว่าสำหรับประวัติศาสตร์ยุคใหม่แล้ว สิ่งที่ทำให้รัฐบาลยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือแตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของโลกหาใช่ประชาธิปไตยอันมอบสิทธิในการเข้ามีมีส่วนร่วมในระบบการปกครอง แต่เป็นธรรมนูญเสรีที่ให้การปกป้องคุ้มครองปัจเจกชนอย่างเป็นธรรม<ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 27.</ref> ดังที่ ฟารีด ซาคาเรีย ชี้ให้เห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า


::::''ธรรมนูญเสรี พัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาในฐานะกลไกป้องกันสิทธิของปัจเจกชนต่อการมีชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการอภิปราย เพื่อคุ้มครองสิทธิเหล่านี้จึงจำเป็นต้องเน้นถึงการตรวจสอบการใช้อำนาจในแต่ละองค์กรของรัฐบาล ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ศาลและตุลาการที่ตัดสินอย่างเป็นธรรม ตลอดจนการแบ่งแยกรัฐกับศาสนจักรออกจากกัน '' <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 26.</ref>
::::''ธรรมนูญเสรี พัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาในฐานะกลไกป้องกันสิทธิของปัจเจกชนต่อการมีชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการอภิปราย เพื่อคุ้มครองสิทธิเหล่านี้จึงจำเป็นต้องเน้นถึงการตรวจสอบการใช้อำนาจในแต่ละองค์กรของรัฐบาล ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ศาลและตุลาการที่ตัดสินอย่างเป็นธรรม ตลอดจนการแบ่งแยกรัฐกับศาสนจักรออกจากกัน '' <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 26.</ref>


จารีตธรรมนูญเสรีไม่เพียงส่งผลให้ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรและเติบใหญ่ขยายตัวอย่างยั่งยืนในสังคมการเมืองตะวันตก อันเนื่องมาจากการมุ่งจำกัดอำนาจผู้ปกครองเท่านั้น แต่เอกสรสำคัญหลายชิ้นที่ตะโลกตะวันตกก็ยังนับว่าเป็นแหล่งอ้างอิงบรรทัดฐานการปฏิบัติ หรือแบบแผนแนวทางสำหรับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น กฎบัตรแมกนา การ์ตา (Magna Carta, 1215) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของอังกฤษ (Bill of Right, 1689) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (The US Constitution, 1788) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองสหรัฐอเมริกา (The US Bill of Rights, 1791) คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส (Déclaration des droits de l'homme et du citoyen, 1793) เป็นต้น หัวใจสำคัญของเอกสารเหล่านี้ก็คือ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ที่เสมอภาคเท่าเทียมกันต่างมีสิทธิตามธรรมชาติบางประการที่ไม่อาจเพิกถอนได้ การเข้าร่วมทำสัญญาประชาคมก่อตั้งชุมชนทางการเมืองด้วยการสละสิทธิบางประการของมนุษย์ จึงแลกมาด้วยหน้าที่ของรัฐบาลในอันที่จะจำกัดอำนาจตนเองเพื่อปกปักรักษาสิทธิของสมาชิกในประชาคมทางการเมือง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลและคานอำนาจของกันและกัน ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้เข้าไปมีบทบาทคัดคานอำนาจของรัฐอีกทางหนึ่ง
จารีตธรรมนูญเสรีไม่เพียงส่งผลให้ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรและเติบใหญ่ขยายตัวอย่างยั่งยืนในสังคมการเมืองตะวันตก อันเนื่องมาจากการมุ่งจำกัดอำนาจผู้ปกครองเท่านั้น แต่เอกสารสำคัญหลายชิ้นที่โลกตะวันตกก็ยังนับว่าเป็นแหล่งอ้างอิงบรรทัดฐานการปฏิบัติ หรือแบบแผนแนวทางสำหรับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น กฎบัตรแมกนา การ์ตา (Magna Carta, 1215) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของอังกฤษ (Bill of Right, 1689) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (The US Constitution, 1788) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองสหรัฐอเมริกา (The US Bill of Rights, 1791) คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส (Déclaration des droits de l'homme et du citoyen, 1793) เป็นต้น หัวใจสำคัญของเอกสารเหล่านี้ก็คือ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ที่เสมอภาคเท่าเทียมกันต่างมีสิทธิตามธรรมชาติบางประการที่ไม่อาจเพิกถอนได้ การเข้าร่วมทำ[[สัญญาประชาคม]]ก่อตั้ง[[ชุมชนทางการเมือง]]ด้วยการสละสิทธิบางประการของมนุษย์ จึงแลกมาด้วยหน้าที่ของรัฐบาลในอันที่จะจำกัดอำนาจตนเองเพื่อปกปักรักษาสิทธิของสมาชิกในประชาคมทางการเมือง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลและคานอำนาจของกันและกัน ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้เข้าไปมีบทบาทคัดคานอำนาจของรัฐอีกทางหนึ่ง


== สาเหตุของประชาธิปไตยไม่เสรี ==
== สาเหตุของประชาธิปไตยไม่เสรี ==


ด้วยเหตุที่ เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่ได้ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลเสมอไป กล่าวคือ การมีประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง (electoral democracy) ไม่จำเป็นจะต้องนำมาซึ่งธรรมนูญเสรี แต่สังคมใดมีธรรมเนียมการยึดถือธรรมนูญเสรีเป็นพื้นฐานก็จะโน้มนำไปสู่การมีประชาธิปไตยเสมอ หรืออีกนัยหนึ่ง เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป ในกรณีประเทศโลกตะวันตกนั้น หลังทศวรรษ 1940 เป็นต้นมาเท่านั้นที่ประเทศส่วนใหญ่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบซึ่งให้สิทธิเลือกตั้งแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนหน้านั้นสิทธิเลือกตั้งจะจำกัดอยู่ในกลุ่มชนจำนวนน้อย (เช่น ขุนนาง เจ้าที่ดิน คนที่มีทรัพย์สิน) แต่สังคมการเมืองตะวันตกก็ยอมรับสิทธิบางประการของพลเมืองภายใต้ระบอบอัตตาธิปไตยเสรีนิยม (liberal autocracy) ทั้งนี้เมื่อประชาธิปไตยเริ่มสถาปนาตัวเองช่วงกลางศตวรรษที่ 19 พัฒนาการของธรรมนูญเสรีก็ก้าวหน้าไปไกลกว่าประชาธิปไตยแล้ว แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งปราศจากธรรมเนียมความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องธรรมนูญเสรีที่แม้จะเร่งรุดกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) เพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำมาซึ่งธรรมนูญเสรีโดยปริยาย เช่น ในเอเชียกลางที่จัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม แต่ผลการเลือกตั้งกลับได้ฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการอ่อนแอ พร้อมกับเสรีภาพพลเมืองที่จำกัด ในปาเลสไตน์ อิหร่าน และปากีสถาน กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งเป็นการเพิ่มบทบาทการเมืองของศาสนาครอบงำนำเหนือส่วนอื่นของสังคม ส่งผลให้การยอมรับความแตกต่างหลากหลายและขันติธรรมที่มีมาแต่เดิมเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็ว <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 28.</ref>
ด้วยเหตุที่ เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่ได้ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลเสมอไป กล่าวคือ การมี[[ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง]] (electoral democracy) ไม่จำเป็นจะต้องนำมาซึ่งธรรมนูญเสรี แต่สังคมใดมีธรรมเนียมการยึดถือธรรมนูญเสรีเป็นพื้นฐานก็จะโน้มนำไปสู่การมีประชาธิปไตยเสมอ หรืออีกนัยหนึ่ง เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป ในกรณีประเทศโลกตะวันตกนั้น หลังทศวรรษ 1940 เป็นต้นมาเท่านั้นที่ประเทศส่วนใหญ่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบซึ่งให้สิทธิเลือกตั้งแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนหน้านั้นสิทธิเลือกตั้งจะจำกัดอยู่ในกลุ่มชนจำนวนน้อย (เช่น ขุนนาง เจ้าที่ดิน คนที่มีทรัพย์สิน) แต่สังคมการเมืองตะวันตกก็ยอมรับสิทธิบางประการของพลเมืองภายใต้ระบอบอัตตาธิปไตยเสรีนิยม (liberal autocracy) ทั้งนี้เมื่อประชาธิปไตยเริ่มสถาปนาตัวเองช่วงกลางศตวรรษที่ 19 พัฒนาการของธรรมนูญเสรีก็ก้าวหน้าไปไกลกว่าประชาธิปไตยแล้ว แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งปราศจากธรรมเนียมความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องธรรมนูญเสรีที่แม้จะเร่งรุดกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) เพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำมาซึ่งธรรมนูญเสรีโดยปริยาย เช่น ในเอเชียกลางที่จัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม แต่ผลการเลือกตั้งกลับได้[[ฝ่ายบริหาร]]ที่เข้มแข็ง [[ฝ่ายนิติบัญญัติ]]และ[[ฝ่ายตุลาการ]]อ่อนแอ พร้อมกับเสรีภาพพลเมืองที่จำกัด ในปาเลสไตน์ อิหร่าน และปากีสถาน กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งเป็นการเพิ่มบทบาทการเมืองของศาสนาครอบงำนำเหนือส่วนอื่นของสังคม ส่งผลให้การยอมรับความแตกต่างหลากหลายและขันติธรรมที่มีมาแต่เดิมเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็ว <ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 28.</ref>


ในแง่นี้ การพัฒนาการเมืองโดยเน้นหนักไปที่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งทุกระดับและกาให้สิทธิทางการเมืองอื่นๆ โดยละเลยการจำกัดควบคุมการใช้อำนาจของรัฐบาลและปกปักรักษาเสรีภาพของปัจเจกชนในสังคมการเมือง ย่อมทำให้การเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกลับบั่นทอนสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองตามไปด้วย ทั้งนี้ ผู้นำประเทศโลกที่สามซึ่งมาจากการเลือกตั้งก็มักเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งเพื่อจัดระเบียบและสถาปนาอำนาจนำศูนย์กลางเหนือศูนย์อำนาจอื่นๆ โดยลดทอนบทบาทหน้าที่และก้าวก่ายขยายอำนาจของตนไปยังองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระทั้งหลาย) ทั้งครอบงำบัญชาเหนือองค์กรลำดับชั้นที่ต่ำกว่าในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด<ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 30.</ref> ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก (Alexander Lukashenko) ประธานาธิบดีเบลารุส อัลเบร์โต ฟูจิโมริ (Alberto Fujimori) ประธานาธิบดีเปรู คาร์ลอส เมเนม (Carlos Menem) ประธานาธบดีอาร์เจนตินา อัสคาร์ อคาเยฟ (Askar Akayev) ประธานาธิบดีคีย์กีซสถาน อับดาลา บูคารัม (Abdala Bucaram) ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย
ในแง่นี้ การพัฒนาการเมืองโดยเน้นหนักไปที่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งทุกระดับและกาให้สิทธิทางการเมืองอื่นๆ โดยละเลยการจำกัดควบคุมการใช้อำนาจของรัฐบาลและปกปักรักษาเสรีภาพของปัจเจกชนในสังคมการเมือง ย่อมทำให้การเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกลับบั่นทอน[[สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมือง]]ตามไปด้วย ทั้งนี้ ผู้นำประเทศโลกที่สามซึ่งมาจาก[[การเลือกตั้ง]]ก็มักเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งเพื่อจัดระเบียบและสถาปนาอำนาจนำศูนย์กลางเหนือศูนย์อำนาจอื่นๆ โดยลดทอนบทบาทหน้าที่และก้าวก่ายขยายอำนาจของตนไปยังองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระทั้งหลาย) ทั้งครอบงำบัญชาเหนือองค์กรลำดับชั้นที่ต่ำกว่าในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด<ref>Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 30.</ref> ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก (Alexander Lukashenko) ประธานาธิบดีเบลารุส อัลเบร์โต ฟูจิโมริ (Alberto Fujimori) ประธานาธิบดีเปรู คาร์ลอส เมเนม (Carlos Menem) ประธานาธบดีอาร์เจนตินา อัสคาร์ อคาเยฟ (Askar Akayev) ประธานาธิบดีคีย์กีซสถาน อับดาลา บูคารัม (Abdala Bucaram) ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย รวมถึง [[พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร|ทักษิณ ชินวัตร]] [[นายกฐมนตรี]]ของไทย


== ปรากฏการณ์ในประเทศไทย ==
== ปรากฏการณ์ในประเทศไทย ==


ในกรณีของประเทศไทย รากปมของประชาธิปไตยไม่เสรีเป็นผลมาจากนายทุนหัวเมือง/เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล/นักเลือกตั้งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในระบบการเมืองด้วยการประชัดขันแข่งกับกลุ่มทหาร-ข้าราชการที่ยึดกุมอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 กอปรกับพลังเสรีนิยมกับพลังประชาธิปไตยซึ่งร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จนบรรลุผลสรุปลงเอยกลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญเสรีนิยม พ.ศ. 2540 <ref>เกษียร เตชะพีระ, “แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต: ระบอบ,” มติชน,  (28 มีนาคม 2551), 6.</ref> อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะถูกยกร่างอย่างรัดกุมเพื่อ “ปิดทุจริต เปิดประสิทธิภาพ สร้างเสริมภาวะผู้นำ” โดยมีฝ่ายบริหารเข้มแข็ง องค์กรตรวจสอบที่รัดกุม และภาคประชาชนมีสิทธิชุมชนรับรอง แต่ก็ต้องเผชิญกับการคาดไม่ถึงของภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 และการคาดไม่ถึงทางการเมืองกับการขึ้นมาของ "กลุ่มทุนใหญ่ไฮเทค-ตลาดหุ้น-ผูกขาดตลาดในประเทศ-เชื่อมโยงโลกาภิวัตน์" ซึ่งรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ<ref>เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 62.</ref>  ประชาธิปไตยไม่เสรี หรือ ประชาธิปไตยอำนาจนิยม (illiberal democracy/authoritarian democracy) จึงปรากฏตัวอย่างเด่นชัดในช่วงรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป พ.ศ. 2540
ในกรณีของประเทศไทย รากปมของประชาธิปไตยไม่เสรีเป็นผลมาจากนายทุนหัวเมือง/เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล/นักเลือกตั้งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในระบบการเมืองด้วยการประชัดขันแข่งกับกลุ่มทหาร-ข้าราชการที่ยึดกุมอำนาจภายใต้[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521]] กอปรกับพลังเสรีนิยมกับพลังประชาธิปไตยซึ่งร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหลัง[[เหตุการณ์พฤษภาคม 2535]] จนบรรลุผลสรุปลงเอยกลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญเสรีนิยม พ.ศ. 2540 <ref>เกษียร เตชะพีระ, “แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต: ระบอบ,” มติชน,  (28 มีนาคม 2551), 6.</ref> อย่างไรก็ตาม แม้[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540]] จะถูกยกร่างอย่างรัดกุมเพื่อ “ปิดทุจริต เปิดประสิทธิภาพ สร้างเสริมภาวะผู้นำ” โดยมี[[ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง]] องค์กรตรวจสอบที่รัดกุม และภาคประชาชนมีสิทธิชุมชนรับรอง แต่ก็ต้องเผชิญกับการคาดไม่ถึงของภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 และการคาดไม่ถึงทางการเมืองกับการขึ้นมาของ "กลุ่มทุนใหญ่ไฮเทค-ตลาดหุ้น-ผูกขาดตลาดในประเทศ-เชื่อมโยงโลกาภิวัตน์" ซึ่งรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ<ref>เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 62.</ref>  ประชาธิปไตยไม่เสรี หรือ ประชาธิปไตยอำนาจนิยม (illiberal democracy/authoritarian democracy) จึงปรากฏตัวอย่างเด่นชัดในช่วงรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป พ.ศ. 2540


ทั้งนี้ ภายหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นสู่ตำแหน่งนายรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งปี 2544 ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดสูงสุดของประชาธิปไตยไม่เสรีในการเมืองไทย เพราะนอกจากรัฐธรรมนูญจะวางกรอบกติกาข้อกำหนดเพื่อสร้างฝ่ายบริหารเข้มแข็งเหนือองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาลแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างท่วมท้นก็มักอ้างความชอบธรรมจากเสียงประชาชนผู้เป็นเจ้าขอองอำนาจอธิปไตยอยู่เสมอ จนการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนถูกลดทอนเหลือเพียงผู้ท้าทายอำนาจของผู้นำประชาธิปไตย ดังคำกล่าวว่า “ผู้ชุมนุมไม่กี่หมื่นกี่แสนจะมาเรียกร้องให้ผมลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างไร ในเมื่อผมได้คะแนนเสียงจากประชาชนถึง 19 ล้านเสียง”<ref>เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ทักษิณา-ประชานิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549), หน้า 91.</ref>  เป็นต้น สำหรับ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แล้ว
ทั้งนี้ ภายหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นสู่ตำแหน่งนายรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งปี 2544 ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดสูงสุดของประชาธิปไตยไม่เสรีในการเมืองไทย เพราะนอกจากรัฐธรรมนูญจะวางกรอบกติกาข้อกำหนดเพื่อสร้างฝ่ายบริหารเข้มแข็งเหนือองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาลแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ[[พรรคไทยรักไทย]] ซึ่งได้รับ[[คะแนนเสียง]]เลือกตั้งอย่างท่วมท้นก็มักอ้าง[[ความชอบธรรม]]จากเสียงประชาชนผู้เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]]อยู่เสมอ จนการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนถูกลดทอนเหลือเพียงผู้ท้าทายอำนาจของผู้นำประชาธิปไตย ดังคำกล่าวว่า “ผู้ชุมนุมไม่กี่หมื่นกี่แสนจะมาเรียกร้องให้ผมลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างไร ในเมื่อผมได้คะแนนเสียงจากประชาชนถึง 19 ล้านเสียง”<ref>เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ทักษิณา-ประชานิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549), หน้า 91.</ref>  เป็นต้น สำหรับ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แล้ว


::::''ก่อนรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและคอลัมนิสต์ไทยจำนวนหนึ่งก็นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาโจมตีระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยว่า “เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” คือชนะเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “ฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพย์ติด” “ปราบปรามประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนองเลือด” ควบคุมแทรกแซงสื่อ ทุจริตคอรัปชั่น แทรกแซงวุฒิสภาและองค์กรอิสระ เป็นต้น ''<ref>  พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, "“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?," โลกวันนี้วันสุข, (3 สิงหาคม 2555).</ref>
::::''ก่อนรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและคอลัมนิสต์ไทยจำนวนหนึ่งก็นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาโจมตีระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยว่า “เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” คือชนะเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “ฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพย์ติด” “ปราบปรามประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนองเลือด” ควบคุมแทรกแซงสื่อ ทุจริตคอรัปชั่น แทรกแซงวุฒิสภาและองค์กรอิสระ เป็นต้น ''<ref>  พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, "“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?," โลกวันนี้วันสุข, (3 สิงหาคม 2555).</ref>


ถึงแม้รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะดำเนินนโยบายอันสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก แต่อำนาจรวมศูนย์ผ่านการเลือกตั้งก็สามารถลิดรอนสิทธิและเสรีภาพประชาชนได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลแต่อย่างใด<ref>  เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2547), หน้า 121-240.</ref>  ด้วยเหตุที่ สองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีในหลายประเทศมีลักษณะเป็นประธานาธิบดีมากขึ้น (presidentialization of politics) เนื่องจากบทบาทสื่อมวลชนที่ขยายตัวจนให้ภาพลักษณ์ผู้นำที่โดดเด่น สามารถเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นผู้นำนักบริหารสมัยใหม่ และภายใต้กฎกติกาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งมุ่งสู่การมีฝ่ายบริหารและนายกรัฐมนตรีเข้มแข็ง ในทัศนะของ เกษียร เตชะพีระ แล้วก็ย่อมส่งผลให้ยกระดับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจาก “หัวหมู่” ของฝ่ายบริหารทั้งหลาย (the first among equals) ไปสู่การเป็น “ผู้บัญชาการสูงสุด” (Supreme Commander) ของคณะรัฐมนตรี <ref>เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน, หน้า 172.</ref> จนนำมาซึ่งการโต้กลับของพลังเสรีอัตตาธิปไตย (liberal autocracy) (อันประกอบด้วยพันธมิตรระหว่างพลังระบบราชการ ชนชั้นนำจารีตประเพณี และคนชั้นกลางในเมือง) ในเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ
ถึงแม้รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะดำเนินนโยบายอันสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก แต่อำนาจรวมศูนย์ผ่านการเลือกตั้งก็สามารถลิดรอนสิทธิและเสรีภาพประชาชนได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลแต่อย่างใด<ref>  เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2547), หน้า 121-240.</ref>  ด้วยเหตุที่ สองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีในหลายประเทศมีลักษณะเป็นประธานาธิบดีมากขึ้น (presidentialization of politics) เนื่องจากบทบาทสื่อมวลชนที่ขยายตัวจนให้ภาพลักษณ์ผู้นำที่โดดเด่น สามารถเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นผู้นำนักบริหารสมัยใหม่ และภายใต้กฎกติกาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งมุ่งสู่การมีฝ่ายบริหารและนายกรัฐมนตรีเข้มแข็ง ในทัศนะของ เกษียร เตชะพีระ แล้วก็ย่อมส่งผลให้ยกระดับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจาก “หัวหมู่” ของฝ่ายบริหารทั้งหลาย (the first among equals) ไปสู่การเป็น “ผู้บัญชาการสูงสุด” (Supreme Commander) ของ[[คณะรัฐมนตรี]] <ref>เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน, หน้า 172.</ref> จนนำมาซึ่งการโต้กลับของพลังเสรีอัตตาธิปไตย (liberal autocracy) (อันประกอบด้วยพันธมิตรระหว่างพลัง[[ระบบราชการ]] ชนชั้นนำจารีตประเพณี และ[[คนชั้นกลาง]]ในเมือง) ในเหตุการณ์[[รัฐประหาร]] [[19 กันยายน 2549]] โดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ซึ่งมี[[พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน|สนธิ บุญยรัตกลิน]] เป็นหัวหน้าคณะ


== บรรณานุกรม ==
== บรรณานุกรม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:24, 12 พฤศจิกายน 2558

ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร


ความหมาย

ประชาธิปไตยไม่เสรี (illiberal democracy) เป็นคำที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้อธิบายระบบการปกครองที่แม้จะรับรองสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (political rights and liberties) อย่างกว้างขวางผ่านกระบวนการเลือกตั้ง หรือการประชามติ แต่ก็ขาดกลไกทางรัฐธรรมนูญที่จะพิทักษ์เสรีภาพพลเมือง (civil liberties) เพราะเมื่อผู้นำทางการเมืองได้รับฉันทานุมัติผ่านการเลือกตั้งก็มักจะรวบอำนาจ หรืออ้างสิทธิธรรมในอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อกระทำการทางการเมือง จึงส่งผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ประชาธิปไตยไม่เสรีถือเป็นแนวโน้มประชาธิปไตยระดับโลกที่มักปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในประเทศที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย (democratizing countries) ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดย ฟารีด ซาคาเรีย (Fareed Zakaria) ในบทความเรื่อง “The Rise of Illiberal Democracy” (ซึ่งต่อมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในชื่อ The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad) สำหรับการเมืองไทยแล้ว “ประชาธิปไตยไม่เสรี” ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในปี 2544 จนกระทั่งสิ้นสุดรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ในปี 2549

สาระสำคัญของ “ประชาธิปไตยไม่เสรี”

โดยทั่วไปประชาธิปไตยไม่เสรี ดูจะเป็นคำที่มีลักษณะขัดแย้งในตัวเอง เพราะในด้านหนึ่งประเทศในอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตกล้วนเดินตามเส้นทางเสรีประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น ในอีกด้านหนึ่งประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการของเสรีนิยมมาอย่างยาวนานอันเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตยผลิบาน การปรากฏตัวของประชาธิปไตยไม่เสรีในประเทศที่อยู่นอกวงข้างต้นจึงดึงดูดความสนใจแก่บรรดานักวิชาการและผู้สังเกตการณ์จำนวนมาก ทั้งนี้ช่วงกว้างของประชาธิปไตยไม่เสรีมีตั้งแต่ระดับย่อมเยาอย่างอาร์เจนตินา ระดับกลางๆ อย่าง โรมาเนียและบังกลาเทศ ไปจนถึงระดับที่เกือบจะเป็นทรราชอย่าง คาซัคสถาน และเบลารุส ซึ่งทั้งหมดผู้นำประเทศต่างขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมใกล้เคียงกับประเทศโลกตะวันตก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสนับสนุนรณรงค์เลือกตั้งอย่างกว้างขวาง ขณะที่เสรีภาพพลเมือง (civil liberty) กลับไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นสถาบัน [1]

อย่างไรก็ตาม จารีตความคิดตะวันตกนับตั้งแต่ยุคคลาสสิกจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ล้วนมอง “ประชาธิปไตย” (democracy) ด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจเท่าใดนัก ไม่ว่าจะเป็นการให้เหตุผลที่ว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของ “ฝูงชนไร้เหตุผล” (irrational crowd) “การปกครองของคนโง่” (rule of the stupid) “ทรราชผู้ยากไร้” (tyranny of the poor) และ “ทรราชโดยเสียงข้างมาก” (tyranny of majority) เป็นต้น[2] (หรือแม้กระทั่งในสังคมการเมืองสยามหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 ก็ยังระมัดระวังที่จะใช้คำว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” (constitutional monarchy) แทนที่จะใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง "ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา"[3] ) จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประชาธิปไตยจึงถูกนิยามความหมายและยอมรับปรับแปรกันอย่างกว้างขวางในฐานะวิธีการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อคัดเลือกผู้นำผ่านการแข่งขันเลือกตั้งโดยประชาชนผู้ถูกปกครอง[4] ภาพลักษณ์ของประชาธิปไตยจึงบรรจุไปด้วยความหมายเชิงบวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ประชาธิปไตยในความหมายของวิธีการจัดตั้งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องขยายสิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นสากล (universal suffrage) แต่ในกระบวนการเดียวกันนี้ก็คือการถ่ายโอนสิทธิอำนาจอันชอบธรรมแก่รัฐบาล (authorization) ในแง่นี้ประชาธิปไตยจึงสรุปความหมายได้ว่า การรวบอำนาจ โดยความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกใช้อำนาจนั้นบริหารกิจการงานเมืองได้อย่างชอบธรรม ตราบใดที่ระบอบการเมือง หรือรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเลือกตั้งจากหลายพรรค อันวางอยู่บนกฎกติกาที่บริสุทธิ์ เสรี และเป็นธรรม (โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประกอบด้วยความรับผิดชอบหรือไม่) ก็สามารถเรียกระบอบการปกครองนั้นว่า “ประชาธิปไตย”

ขณะที่อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยวางอยู่ฐานของประชาธิปไตยที่รวบอำนาจเข้าสู่สถาบันการเมืองและผู้นำทางการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในทางหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง ก็คือ ธรรมนูญเสรี (constitutional liberalism) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายการปกครองของรัฐบาล ในแง่ที่ว่าเป็นธรรมเนียมตะวันตกที่พยายามแสวงหาหนทางในการปกปักรักษาอิสรภาพและศักดิ์ศรีของปัจเจกชนจากการกดปราบ/แทรกแซงโดยรัฐ สังคม ศาสนจักร หรืออำนาจอื่นใด จึงเป็นการเน้นย้ำความสำคัญต่อเสรีภาพปัจเจกชนที่วางอยู่บนการปกครองตามหลักกฎหมาย (rule of law) จนกล่าวได้ว่าสำหรับประวัติศาสตร์ยุคใหม่แล้ว สิ่งที่ทำให้รัฐบาลยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือแตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของโลกหาใช่ประชาธิปไตยอันมอบสิทธิในการเข้ามีมีส่วนร่วมในระบบการปกครอง แต่เป็นธรรมนูญเสรีที่ให้การปกป้องคุ้มครองปัจเจกชนอย่างเป็นธรรม[5] ดังที่ ฟารีด ซาคาเรีย ชี้ให้เห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า

ธรรมนูญเสรี พัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาในฐานะกลไกป้องกันสิทธิของปัจเจกชนต่อการมีชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการอภิปราย เพื่อคุ้มครองสิทธิเหล่านี้จึงจำเป็นต้องเน้นถึงการตรวจสอบการใช้อำนาจในแต่ละองค์กรของรัฐบาล ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ศาลและตุลาการที่ตัดสินอย่างเป็นธรรม ตลอดจนการแบ่งแยกรัฐกับศาสนจักรออกจากกัน [6]

จารีตธรรมนูญเสรีไม่เพียงส่งผลให้ประชาธิปไตยหยั่งรากถาวรและเติบใหญ่ขยายตัวอย่างยั่งยืนในสังคมการเมืองตะวันตก อันเนื่องมาจากการมุ่งจำกัดอำนาจผู้ปกครองเท่านั้น แต่เอกสารสำคัญหลายชิ้นที่โลกตะวันตกก็ยังนับว่าเป็นแหล่งอ้างอิงบรรทัดฐานการปฏิบัติ หรือแบบแผนแนวทางสำหรับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น กฎบัตรแมกนา การ์ตา (Magna Carta, 1215) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของอังกฤษ (Bill of Right, 1689) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (The US Constitution, 1788) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองสหรัฐอเมริกา (The US Bill of Rights, 1791) คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส (Déclaration des droits de l'homme et du citoyen, 1793) เป็นต้น หัวใจสำคัญของเอกสารเหล่านี้ก็คือ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ที่เสมอภาคเท่าเทียมกันต่างมีสิทธิตามธรรมชาติบางประการที่ไม่อาจเพิกถอนได้ การเข้าร่วมทำสัญญาประชาคมก่อตั้งชุมชนทางการเมืองด้วยการสละสิทธิบางประการของมนุษย์ จึงแลกมาด้วยหน้าที่ของรัฐบาลในอันที่จะจำกัดอำนาจตนเองเพื่อปกปักรักษาสิทธิของสมาชิกในประชาคมทางการเมือง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลและคานอำนาจของกันและกัน ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้เข้าไปมีบทบาทคัดคานอำนาจของรัฐอีกทางหนึ่ง

สาเหตุของประชาธิปไตยไม่เสรี

ด้วยเหตุที่ เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่ได้ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลเสมอไป กล่าวคือ การมีประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง (electoral democracy) ไม่จำเป็นจะต้องนำมาซึ่งธรรมนูญเสรี แต่สังคมใดมีธรรมเนียมการยึดถือธรรมนูญเสรีเป็นพื้นฐานก็จะโน้มนำไปสู่การมีประชาธิปไตยเสมอ หรืออีกนัยหนึ่ง เสรีนิยมและประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป ในกรณีประเทศโลกตะวันตกนั้น หลังทศวรรษ 1940 เป็นต้นมาเท่านั้นที่ประเทศส่วนใหญ่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบซึ่งให้สิทธิเลือกตั้งแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ก่อนหน้านั้นสิทธิเลือกตั้งจะจำกัดอยู่ในกลุ่มชนจำนวนน้อย (เช่น ขุนนาง เจ้าที่ดิน คนที่มีทรัพย์สิน) แต่สังคมการเมืองตะวันตกก็ยอมรับสิทธิบางประการของพลเมืองภายใต้ระบอบอัตตาธิปไตยเสรีนิยม (liberal autocracy) ทั้งนี้เมื่อประชาธิปไตยเริ่มสถาปนาตัวเองช่วงกลางศตวรรษที่ 19 พัฒนาการของธรรมนูญเสรีก็ก้าวหน้าไปไกลกว่าประชาธิปไตยแล้ว แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งปราศจากธรรมเนียมความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องธรรมนูญเสรีที่แม้จะเร่งรุดกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) เพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำมาซึ่งธรรมนูญเสรีโดยปริยาย เช่น ในเอเชียกลางที่จัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม แต่ผลการเลือกตั้งกลับได้ฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการอ่อนแอ พร้อมกับเสรีภาพพลเมืองที่จำกัด ในปาเลสไตน์ อิหร่าน และปากีสถาน กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งเป็นการเพิ่มบทบาทการเมืองของศาสนาครอบงำนำเหนือส่วนอื่นของสังคม ส่งผลให้การยอมรับความแตกต่างหลากหลายและขันติธรรมที่มีมาแต่เดิมเสื่อมทรุดลงอย่างรวดเร็ว [7]

ในแง่นี้ การพัฒนาการเมืองโดยเน้นหนักไปที่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งทุกระดับและกาให้สิทธิทางการเมืองอื่นๆ โดยละเลยการจำกัดควบคุมการใช้อำนาจของรัฐบาลและปกปักรักษาเสรีภาพของปัจเจกชนในสังคมการเมือง ย่อมทำให้การเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกลับบั่นทอนสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองตามไปด้วย ทั้งนี้ ผู้นำประเทศโลกที่สามซึ่งมาจากการเลือกตั้งก็มักเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งเพื่อจัดระเบียบและสถาปนาอำนาจนำศูนย์กลางเหนือศูนย์อำนาจอื่นๆ โดยลดทอนบทบาทหน้าที่และก้าวก่ายขยายอำนาจของตนไปยังองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระทั้งหลาย) ทั้งครอบงำบัญชาเหนือองค์กรลำดับชั้นที่ต่ำกว่าในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด[8] ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก (Alexander Lukashenko) ประธานาธิบดีเบลารุส อัลเบร์โต ฟูจิโมริ (Alberto Fujimori) ประธานาธิบดีเปรู คาร์ลอส เมเนม (Carlos Menem) ประธานาธบดีอาร์เจนตินา อัสคาร์ อคาเยฟ (Askar Akayev) ประธานาธิบดีคีย์กีซสถาน อับดาลา บูคารัม (Abdala Bucaram) ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีรัสเซีย รวมถึง ทักษิณ ชินวัตร นายกฐมนตรีของไทย

ปรากฏการณ์ในประเทศไทย

ในกรณีของประเทศไทย รากปมของประชาธิปไตยไม่เสรีเป็นผลมาจากนายทุนหัวเมือง/เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล/นักเลือกตั้งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในระบบการเมืองด้วยการประชัดขันแข่งกับกลุ่มทหาร-ข้าราชการที่ยึดกุมอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 กอปรกับพลังเสรีนิยมกับพลังประชาธิปไตยซึ่งร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จนบรรลุผลสรุปลงเอยกลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญเสรีนิยม พ.ศ. 2540 [9] อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะถูกยกร่างอย่างรัดกุมเพื่อ “ปิดทุจริต เปิดประสิทธิภาพ สร้างเสริมภาวะผู้นำ” โดยมีฝ่ายบริหารเข้มแข็ง องค์กรตรวจสอบที่รัดกุม และภาคประชาชนมีสิทธิชุมชนรับรอง แต่ก็ต้องเผชิญกับการคาดไม่ถึงของภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 และการคาดไม่ถึงทางการเมืองกับการขึ้นมาของ "กลุ่มทุนใหญ่ไฮเทค-ตลาดหุ้น-ผูกขาดตลาดในประเทศ-เชื่อมโยงโลกาภิวัตน์" ซึ่งรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ[10] ประชาธิปไตยไม่เสรี หรือ ประชาธิปไตยอำนาจนิยม (illiberal democracy/authoritarian democracy) จึงปรากฏตัวอย่างเด่นชัดในช่วงรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป พ.ศ. 2540

ทั้งนี้ ภายหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นสู่ตำแหน่งนายรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งปี 2544 ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดสูงสุดของประชาธิปไตยไม่เสรีในการเมืองไทย เพราะนอกจากรัฐธรรมนูญจะวางกรอบกติกาข้อกำหนดเพื่อสร้างฝ่ายบริหารเข้มแข็งเหนือองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาลแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างท่วมท้นก็มักอ้างความชอบธรรมจากเสียงประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอยู่เสมอ จนการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนถูกลดทอนเหลือเพียงผู้ท้าทายอำนาจของผู้นำประชาธิปไตย ดังคำกล่าวว่า “ผู้ชุมนุมไม่กี่หมื่นกี่แสนจะมาเรียกร้องให้ผมลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างไร ในเมื่อผมได้คะแนนเสียงจากประชาชนถึง 19 ล้านเสียง”[11] เป็นต้น สำหรับ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แล้ว

ก่อนรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและคอลัมนิสต์ไทยจำนวนหนึ่งก็นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาโจมตีระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยว่า “เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” คือชนะเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “ฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพย์ติด” “ปราบปรามประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนองเลือด” ควบคุมแทรกแซงสื่อ ทุจริตคอรัปชั่น แทรกแซงวุฒิสภาและองค์กรอิสระ เป็นต้น [12]

ถึงแม้รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะดำเนินนโยบายอันสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนมาก แต่อำนาจรวมศูนย์ผ่านการเลือกตั้งก็สามารถลิดรอนสิทธิและเสรีภาพประชาชนได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลแต่อย่างใด[13] ด้วยเหตุที่ สองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีในหลายประเทศมีลักษณะเป็นประธานาธิบดีมากขึ้น (presidentialization of politics) เนื่องจากบทบาทสื่อมวลชนที่ขยายตัวจนให้ภาพลักษณ์ผู้นำที่โดดเด่น สามารถเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นผู้นำนักบริหารสมัยใหม่ และภายใต้กฎกติกาในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งมุ่งสู่การมีฝ่ายบริหารและนายกรัฐมนตรีเข้มแข็ง ในทัศนะของ เกษียร เตชะพีระ แล้วก็ย่อมส่งผลให้ยกระดับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจาก “หัวหมู่” ของฝ่ายบริหารทั้งหลาย (the first among equals) ไปสู่การเป็น “ผู้บัญชาการสูงสุด” (Supreme Commander) ของคณะรัฐมนตรี [14] จนนำมาซึ่งการโต้กลับของพลังเสรีอัตตาธิปไตย (liberal autocracy) (อันประกอบด้วยพันธมิตรระหว่างพลังระบบราชการ ชนชั้นนำจารีตประเพณี และคนชั้นกลางในเมือง) ในเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ

บรรณานุกรม

เกษียร เตชะพีระ. (2547). บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

_________. (2553). สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

_________. “แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต: ระบอบ.” มติชน. (28 มีนาคม 2551), 6.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช และขัตติยา กรรณสูต. รวบรวม. (2518). เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2417-2477. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์. "“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?." โลกวันนี้วันสุข. (3 สิงหาคม 2555).

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2549). ทักษิณา-ประชานิยม. กรุงเทพฯ: มติชน.

Coggan, Philip. (2014) The Last Vote: The Threats to Western Democracy. London: Penguin Books.

Huntington, Samuel P. (1991). The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century. Norman: University of Oklahoma Press.

Zakaria, Fareed. (1997). "The Rise of Illiberal Democracy." Foreign Affairs. Vol. 76. No.6, 22-43.

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

Menocal, Alina Rocha Verena Fritz, and Lise Rakner, (2008). "Hybrid Regimes and the Challenges of Deepening and Sustaining Democracy in Developing Countries." South African Journal of International Affairs. Vol. 15, No. 1, 29-40, Plattner, Marc F. (1998). "Liberalism and Democracy: Can't Have One without the Other." Foreign Affairs. Vol. 77, No. 2, 171-180.

Zakaria, Fareed. (2002). "Illiberal Democracy Five Years Later: Democracy’s Fate in the 21st Century." Harvard International Review. Vol. 24, No. 2, 44-48.

_________. (2004). The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad. New York: Norton.

อ้างอิง

  1. Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, Vol. 76, No.6 (Nov.-Dec., 1997), 23.
  2. Philip Coggan, The Last Vote: The Threats to Western Democracy (London: Penguin Books, 2014), pp. 19-38.
  3. อ้างอิงจาก “ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1,” ใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช และขัตติยา กรรณสูต, (รวบรวม), เอกสารการเมือง-การปกครองไทย พ.ศ. 2417-2477 (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2518), หน้า 209-211.
  4. Samuel P. Huntington, The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century (Norman: University of Oklahoma Press, 1991), p. 6.
  5. Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 27.
  6. Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 26.
  7. Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 28.
  8. Fareed Zakaria, "The Rise of Illiberal Democracy," Foreign Affairs, 30.
  9. เกษียร เตชะพีระ, “แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต: ระบอบ,” มติชน, (28 มีนาคม 2551), 6.
  10. เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 62.
  11. เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ทักษิณา-ประชานิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549), หน้า 91.
  12. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, "“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?," โลกวันนี้วันสุข, (3 สิงหาคม 2555).
  13. เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2547), หน้า 121-240.
  14. เกษียร เตชะพีระ, บุชกับทักษิณ: ระบอบอำนาจนิยมขวาใหม่ไทย-อเมริกัน, หน้า 172.