ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คนขอปลดหนี้ (พ.ศ. 2546)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
พรรคคนขอปลดหนี้ เดิมชื่อพรรค[[เกษตรมหาชน]] แต่ในภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “พรรคคนขอปลดหนี้” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยมี นายดารัณ หมีเทศ ดำรงตำแหน่ง[[หัวหน้าพรรค]] | พรรคคนขอปลดหนี้ เดิมชื่อพรรค[[เกษตรมหาชน]] แต่ในภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “พรรคคนขอปลดหนี้” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยมี นายดารัณ หมีเทศ ดำรงตำแหน่ง[[หัวหน้าพรรค]] | ||
นับแต่เดิมที่ใช้ชื่อว่าพรรคเกษตรมหาชน ก็ถือได้ว่าเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งมิใช่ในประเด็นความเป็นพรรคใหญ่หรือเป็นตัวเก็งในการลงสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]แต่อย่างใด หากแต่เพราะเป็นพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนชื่อพรรคหลายครั้งกล่าวคือ มีการเปลี่ยนจาก “พรรคเกษตรมหาชน” ไปเป็น “พรรคคนขอปลดหนี้” และเปลี่ยนเป็น “พรรค[[ไทเป็นไท]]” ซึ่งเป็นชื่อพรรคที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้นโยบายของพรรคที่ค่อนข้างแหวกแนวก็ทำให้พรรคคนขอปลดหนี้เรียกความสนใจต่อประชาชนได้พอสมควร ซึ่งจากการประกาศของ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2547 พบว่า พรรคคนขอปลดหนี้ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 535,989 คน ซึ่งมีจำนวนสมาชิกพรรคสูงเป็นลำดับที่ 6 ของจำนวนพรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนต่อคณะกรรมการ[[การเลือกตั้ง]]ในขณะนั้น และอีกประการหนึ่งก็คือ ความน่าสนใจของตัวหัวหน้าพรรคซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค[[กิจสังคม]] ซึ่งหัวหัวหน้าพรรคนั้นจะมีการเปลี่ยนชื่อและ/หรือนามสกุลทุกครั้งที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | นับแต่เดิมที่ใช้ชื่อว่าพรรคเกษตรมหาชน ก็ถือได้ว่าเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งมิใช่ในประเด็นความเป็นพรรคใหญ่หรือเป็นตัวเก็งในการลงสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]แต่อย่างใด หากแต่เพราะเป็นพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนชื่อพรรคหลายครั้งกล่าวคือ มีการเปลี่ยนจาก “พรรคเกษตรมหาชน” ไปเป็น “พรรคคนขอปลดหนี้” และเปลี่ยนเป็น “พรรค[[ไทเป็นไท]]” ซึ่งเป็นชื่อพรรคที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้นโยบายของพรรคที่ค่อนข้างแหวกแนวก็ทำให้พรรคคนขอปลดหนี้เรียกความสนใจต่อประชาชนได้พอสมควร ซึ่งจากการประกาศของ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2547 พบว่า พรรคคนขอปลดหนี้ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 535,989 คน ซึ่งมีจำนวนสมาชิกพรรคสูงเป็นลำดับที่ 6 ของจำนวนพรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนต่อคณะกรรมการ[[การเลือกตั้ง]]ในขณะนั้น และอีกประการหนึ่งก็คือ ความน่าสนใจของตัวหัวหน้าพรรคซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค[[กิจสังคม]] ซึ่งหัวหัวหน้าพรรคนั้นจะมีการเปลี่ยนชื่อและ/หรือนามสกุลทุกครั้งที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 17: | ||
นโยบายออกกฎหมายยกหนี้สิน หรือปลดหนี้ หรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้หนี้แทนคนไทยทั้งประเทศ โดยต้องให้[[รัฐบาล]]ออก[[กฎหมาย]]รับโอนหนี้ของคนไทยทุกคนมาเป็นหนี้ของรัฐบาลรายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลและได้แถลงนโยบายต่อ[[รัฐสภา]]แล้ว หลังจากนั้นต้องจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินใช้หนี้แทนคนไทยที่เป็นหนี้ และได้ร่วมลงชื่อขอปลดหนี้ไว้กับทางพรรคคนขอปลดหนี้ก่อนหน้าที่พรรคจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล โดยจัดทำเป็นงบประมาณผูกพันประจำปีจนสิ้นสุดโครงการ | นโยบายออกกฎหมายยกหนี้สิน หรือปลดหนี้ หรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้หนี้แทนคนไทยทั้งประเทศ โดยต้องให้[[รัฐบาล]]ออก[[กฎหมาย]]รับโอนหนี้ของคนไทยทุกคนมาเป็นหนี้ของรัฐบาลรายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลและได้แถลงนโยบายต่อ[[รัฐสภา]]แล้ว หลังจากนั้นต้องจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินใช้หนี้แทนคนไทยที่เป็นหนี้ และได้ร่วมลงชื่อขอปลดหนี้ไว้กับทางพรรคคนขอปลดหนี้ก่อนหน้าที่พรรคจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล โดยจัดทำเป็นงบประมาณผูกพันประจำปีจนสิ้นสุดโครงการ | ||
นโยบายออกกฎหมายกระจายงาน กระจายเงิน [[กระจายอำนาจ]] โดยพรรคจะมีนโยบายแต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับต่างๆ ดังนี้ แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหมู่บ้านๆ ละ 1 คน เรียกว่า หัวหน้าหมู่บ้าน ยกเว้น | นโยบายออกกฎหมายกระจายงาน กระจายเงิน [[กระจายอำนาจ]] โดยพรรคจะมีนโยบายแต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับต่างๆ ดังนี้ แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหมู่บ้านๆ ละ 1 คน เรียกว่า หัวหน้าหมู่บ้าน ยกเว้น หมู่บ้านใดมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเกิน 500 คน ให้แต่งตั้งได้ 2 คน เมื่อพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล หัวหน้าหมู่บ้านจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้าน ได้รับเงินเดือนๆ ละหนึ่งหมื่นบาท และจะได้รับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งล้านบาท หลังจากพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จภายใน 180 วัน ตัวแทนพรรคระดับหมู่บ้านมีหน้าที่สรรหาสมาชิกและจัดตั้งหัวหน้าคุ้ม รวมทั้งให้ความรู้เรื่องนโยบายพรรค โดยเฉพาะเรื่องการปลดหนี้ตามที่พรรคกำหนด และต้องสรรหาสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติตามที่พรรคกำหนด | ||
แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้ม เรียกว่า ตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้มจำนวนไม่น้อยกว่า 24 คน ภายในหมู่บ้านเดียวกัน และให้หัวหน้าแต่ละคุ้มมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน รวมทั้งสรรหาสมาชิก เพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติตามที่พรรคกำหนดจำนวนคุ้มละ 10 คน หัวหน้าคุ้ม มีฐานะเป็นข้าราชการการเมืองเช่นเดียวกัน และให้มีตำแหน่งเรียกว่า หัวหน้าคุ้ม ได้รับเงินเดือนๆ ละห้าพันบาท สำหรับค่าตอบแทนแต่ละคุ้มจะได้คุ้มละหนึ่งล้านบาท หลังจากพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลภายใน 180 วัน โดยกำหนดให้จัดสรรเงินค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกของแต่ละคุ้มรายละเก้าหมื่นบาท ส่วนหัวหน้าคุ้มได้รับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งแสนบาท และทุกคนจะได้รับการปลดหนี้รายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48ชั่วโมงหลังจากได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว | แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้ม เรียกว่า ตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้มจำนวนไม่น้อยกว่า 24 คน ภายในหมู่บ้านเดียวกัน และให้หัวหน้าแต่ละคุ้มมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน รวมทั้งสรรหาสมาชิก เพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติตามที่พรรคกำหนดจำนวนคุ้มละ 10 คน หัวหน้าคุ้ม มีฐานะเป็นข้าราชการการเมืองเช่นเดียวกัน และให้มีตำแหน่งเรียกว่า หัวหน้าคุ้ม ได้รับเงินเดือนๆ ละห้าพันบาท สำหรับค่าตอบแทนแต่ละคุ้มจะได้คุ้มละหนึ่งล้านบาท หลังจากพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลภายใน 180 วัน โดยกำหนดให้จัดสรรเงินค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกของแต่ละคุ้มรายละเก้าหมื่นบาท ส่วนหัวหน้าคุ้มได้รับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งแสนบาท และทุกคนจะได้รับการปลดหนี้รายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48ชั่วโมงหลังจากได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 29: | ||
นอกจากนี้ยังมีนโยบายขจัด[[การทุจริต]] โกงกิน โดยนโยบายของพรรคคนขอปลดหนี้นั้นจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ปลดข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ หรือนักธุรกิจเอกชนที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยมีพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่ามีการโกงหรือทุจริต และตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดตามกฎหมายด้วย | นอกจากนี้ยังมีนโยบายขจัด[[การทุจริต]] โกงกิน โดยนโยบายของพรรคคนขอปลดหนี้นั้นจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ปลดข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ หรือนักธุรกิจเอกชนที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยมีพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่ามีการโกงหรือทุจริต และตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดตามกฎหมายด้วย | ||
ส่วนมาตรการลดการผูกขาดทางธุรกิจนั้น พรรคคนขอปลดหนี้จะยกเลิกรูปแบบเงิน ธนบัตรรัฐบาลไทย ราคา 100 บาท 500 บาท 1,000 บาท โดยกำหนดระยะเวลาให้นำมาแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง หรือคลังจังหวัด หรือธนาคารชาติ และเพิ่มปริมาณเงินอย่างมหาศาล โดยการออกพันธบัตร (ภายในประเทศ) ตรวจสอบธนาคารและสถาบันการเงินอย่างเข้มงวดให้เป็นที่เชื่อถือของผู้ฝากเงินให้มีประสิทธิภาพ ปรับระบบนโยบายสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นของรัฐบาลให้มีสภาพคล่อง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศและส่งเสริมให้คนไทยให้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของรัฐในสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อไม่ให้ต่างชาติครอบงำ เน้นให้เป็นธนาคารในท้องถิ่นหรือเป็นธนาคารเพื่อการ สหกรณ์ ต้อให้อำนาจทางเศรษฐกิจ อำนาจเงิน และการธนาคารเป็นของคนไทยทุกวิถีทาง นักธุรกิจที่ได้รับสัมปทานจากรัฐหรือรัฐให้ดำเนินการแทนจะต้องแสดงทรัพย์สินหนี้สินของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสามารถชี้แจงต่อสาธารณชนได้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และถ้าหาที่มาไม่ได้ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ธุรกิจที่มีการผูกขาด เช่น สุรา เบียร์ โทรศัพท์มือถือ ยางมะตอย ฯลฯ ต้องให้มี การค้าแบบเสรี แข่งขันและกระจายสัมปทานไปสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด | |||
สำหรับนโยบายที่สามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้อีกข้อหนึ่งก็คือ นโยบายการเปลี่ยนคำนำหน้านามของผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ โดยนโยบายของพรรคที่ได้ประกาศไว้อย่างเป็นทางการระบุว่า “ในสังคมไทยมีบุคลิกอีกประเภทหนึ่งที่มีสภาพจิตใจแตกต่างกับเพศชายหรือเพศหญิงโดยเป็นมาตั้งแต่แรกเกิดเป็น "ชาย" แต่สภาพจิตใจและรูปร่างลักษณะท่าทางเป็น "หญิง" เห็นสมควรสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก "นาย" เป็น "นางนาย" หรือ "นายนาง" แล้วแต่กรณีเมื่ออายุครบ | สำหรับนโยบายที่สามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้อีกข้อหนึ่งก็คือ นโยบายการเปลี่ยนคำนำหน้านามของผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ โดยนโยบายของพรรคที่ได้ประกาศไว้อย่างเป็นทางการระบุว่า “ในสังคมไทยมีบุคลิกอีกประเภทหนึ่งที่มีสภาพจิตใจแตกต่างกับเพศชายหรือเพศหญิงโดยเป็นมาตั้งแต่แรกเกิดเป็น "ชาย" แต่สภาพจิตใจและรูปร่างลักษณะท่าทางเป็น "หญิง" เห็นสมควรสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก "นาย" เป็น "นางนาย" หรือ "นายนาง" แล้วแต่กรณีเมื่ออายุครบ 20 ปี โดยให้จิตแพทย์ให้การรับรอง และในกรณีที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศหรือแต่งงานแล้ว ให้ใช้คำนำหน้าว่า "นางสาว" หรือ "นาง" เมื่อนายแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดแปลงเพศหรือสามีให้การรับรอง” | ||
สำหรับความน่าสนใจของตัวหัวหน้าพรรคนั้น นายบุญนาค หมีเทศ อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จังหวัดสุโขทัย พรรคกิจสังคม และพรรคความหวังใหม่ ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อสกุลว่า “นายชูชาติ ประธานธรรม” ชื่อเดิม “นายกุศล หมีเทศ” หรือ "นายปราบสะดา หมีเทศ" หรือ "นายกุศล หมีเทศทอง" หรือ "นายดารัณ หมีเทศ" ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อสกุลเพื่อความเป็นสิริมงคลทุกครั้งที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |||
ส่วนด้านกิจกรรมการเมืองนั้น พรรคคนขอปลดหนี้ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 120 คน ซึ่งผลการเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ในขณะที่ผล[[การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ]]นั้น พรรคคนขอปลดหนี้ได้รับคะแนนเสียงทั้งสิ้น 231,053 คะแนน ซึ่งคิดเป็น 0.76% ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด | |||
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ของพรรคคนขอปลดหนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 113 คน แต่ภายหลังถูกตัดสิทธิลงเลือกตั้งเหลือเพียง 50 คน โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ได้รับการเลือกตั้ง 1 คน คือ นายมาโนช เสนาชู เขต 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวถูกตัดสินว่าเป็นโมฆะ จึงได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2549 | |||
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2549 นั้น ผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้ได้รับการเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 3 คนด้วยกัน คือ นางพรจณัฐ ศรีรัตนานันท์ เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี นายเปลื้อง บุญศรี เขต 3 จังหวัดพัทลุง และนายอับดุลคอเด เจ๊ะอูเซ็ง เขต 1 จังหวัดนราธิวาส แต่ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ก็ได้เกิด[[รัฐประหาร]]ขึ้นเพื่อ[[ยึดอำนาจ]]จาก [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] [[นายกรัฐมนตรี]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 คนของพรรคคนขอปลดหนี้จึงต้องออกจากตำแหน่งไปโดยปริยาย | |||
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2549 “พรรคคนขอปลดหนี้” ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น “พรรคไทเป็นไท” | อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2549 “พรรคคนขอปลดหนี้” ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น “พรรคไทเป็นไท” | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 55: | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:34, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคคนขอปลดหนี้
พรรคคนขอปลดหนี้ เดิมชื่อพรรคเกษตรมหาชน แต่ในภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “พรรคคนขอปลดหนี้” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยมี นายดารัณ หมีเทศ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
นับแต่เดิมที่ใช้ชื่อว่าพรรคเกษตรมหาชน ก็ถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งมิใช่ในประเด็นความเป็นพรรคใหญ่หรือเป็นตัวเก็งในการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด หากแต่เพราะเป็นพรรคการเมืองที่มีการเปลี่ยนชื่อพรรคหลายครั้งกล่าวคือ มีการเปลี่ยนจาก “พรรคเกษตรมหาชน” ไปเป็น “พรรคคนขอปลดหนี้” และเปลี่ยนเป็น “พรรคไทเป็นไท” ซึ่งเป็นชื่อพรรคที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้นโยบายของพรรคที่ค่อนข้างแหวกแนวก็ทำให้พรรคคนขอปลดหนี้เรียกความสนใจต่อประชาชนได้พอสมควร ซึ่งจากการประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2547 พบว่า พรรคคนขอปลดหนี้ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 535,989 คน ซึ่งมีจำนวนสมาชิกพรรคสูงเป็นลำดับที่ 6 ของจำนวนพรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในขณะนั้น และอีกประการหนึ่งก็คือ ความน่าสนใจของตัวหัวหน้าพรรคซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคกิจสังคม ซึ่งหัวหัวหน้าพรรคนั้นจะมีการเปลี่ยนชื่อและ/หรือนามสกุลทุกครั้งที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในด้านนโยบายนั้น พรรคคนขอปลดหนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่จากเมื่อครั้งที่ใช้ชื่อว่าพรรคเกษตรมหาชน โดยนโยบายหลักๆที่น่าสนใจนั้น มีดังนี้
นโยบายออกกฎหมายยกหนี้สิน หรือปลดหนี้ หรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้หนี้แทนคนไทยทั้งประเทศ โดยต้องให้รัฐบาลออกกฎหมายรับโอนหนี้ของคนไทยทุกคนมาเป็นหนี้ของรัฐบาลรายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลและได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว หลังจากนั้นต้องจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินใช้หนี้แทนคนไทยที่เป็นหนี้ และได้ร่วมลงชื่อขอปลดหนี้ไว้กับทางพรรคคนขอปลดหนี้ก่อนหน้าที่พรรคจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล โดยจัดทำเป็นงบประมาณผูกพันประจำปีจนสิ้นสุดโครงการ
นโยบายออกกฎหมายกระจายงาน กระจายเงิน กระจายอำนาจ โดยพรรคจะมีนโยบายแต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับต่างๆ ดังนี้ แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหมู่บ้านๆ ละ 1 คน เรียกว่า หัวหน้าหมู่บ้าน ยกเว้น หมู่บ้านใดมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเกิน 500 คน ให้แต่งตั้งได้ 2 คน เมื่อพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล หัวหน้าหมู่บ้านจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้าน ได้รับเงินเดือนๆ ละหนึ่งหมื่นบาท และจะได้รับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งล้านบาท หลังจากพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จภายใน 180 วัน ตัวแทนพรรคระดับหมู่บ้านมีหน้าที่สรรหาสมาชิกและจัดตั้งหัวหน้าคุ้ม รวมทั้งให้ความรู้เรื่องนโยบายพรรค โดยเฉพาะเรื่องการปลดหนี้ตามที่พรรคกำหนด และต้องสรรหาสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติตามที่พรรคกำหนด
แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้ม เรียกว่า ตัวแทนพรรคระดับหัวหน้าคุ้มจำนวนไม่น้อยกว่า 24 คน ภายในหมู่บ้านเดียวกัน และให้หัวหน้าแต่ละคุ้มมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้าน รวมทั้งสรรหาสมาชิก เพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกพรรคที่มีคุณสมบัติตามที่พรรคกำหนดจำนวนคุ้มละ 10 คน หัวหน้าคุ้ม มีฐานะเป็นข้าราชการการเมืองเช่นเดียวกัน และให้มีตำแหน่งเรียกว่า หัวหน้าคุ้ม ได้รับเงินเดือนๆ ละห้าพันบาท สำหรับค่าตอบแทนแต่ละคุ้มจะได้คุ้มละหนึ่งล้านบาท หลังจากพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลภายใน 180 วัน โดยกำหนดให้จัดสรรเงินค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกของแต่ละคุ้มรายละเก้าหมื่นบาท ส่วนหัวหน้าคุ้มได้รับค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งแสนบาท และทุกคนจะได้รับการปลดหนี้รายละไม่เกินห้าแสนบาท ภายใน 48ชั่วโมงหลังจากได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว
แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับตำบลๆ ละ 1 คน เรียกว่า หัวหน้าตำบลเพื่อทำหน้าที่สรรหาและแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านตามที่พรรคกำหนด เมื่อพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว หัวหน้าตำบลจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งหัวหน้าตำบล มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าอำเภอ บริหารจัดการตามที่พรรคกำหนดภายในตำบลที่รับผิดชอบ ได้รับเงินเดือนๆ ละสามหมื่นบาท พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนจำนวนสามล้านบาท ภายใน 180 วัน
แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับอำเภอๆ ละ 1 คน หัวหน้าอำเภอ เพื่อทำหน้าที่สรรหาและแต่งตั้งหัวหน้าตำบลตามที่พรรคกำหนด เมื่อพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว หัวหน้าอำเภอจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งหัวหน้าอำเภอ มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าจังหวัด บริหารจัดการตามที่พรรคกำหนดภายในอำเภอที่รับผิดชอบ ได้รับเงินเดือนๆ ละห้าหมื่นบาท พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนจำนวนสามล้านบาท ภายใน 180 วัน
แต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับจังหวัดๆ ละไม่น้อยกว่า 1 คน ตามที่พรรคกำหนด เรียกว่า หัวหน้าจังหวัด เพื่อทำหน้าที่สรรหาและแต่งตั้งหัวหน้าอำเภอตามที่พรรคกำหนด เมื่อพรรคได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว หัวหน้าจังหวัดจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีจังหวัด มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่สอดส่องดูแลข้าราชการและบริหารจัดการภายในจังหวัดที่รับผิดชอบตามที่พรรคกำหนด ได้รับเงินเดือนๆ ละหนึ่งแสนบาท พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนจำนวนห้าล้านบาทภายใน 180 วัน
นอกจากนี้ยังมีนโยบายขจัดการทุจริต โกงกิน โดยนโยบายของพรรคคนขอปลดหนี้นั้นจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ปลดข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ หรือนักธุรกิจเอกชนที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยมีพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่ามีการโกงหรือทุจริต และตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดตามกฎหมายด้วย
ส่วนมาตรการลดการผูกขาดทางธุรกิจนั้น พรรคคนขอปลดหนี้จะยกเลิกรูปแบบเงิน ธนบัตรรัฐบาลไทย ราคา 100 บาท 500 บาท 1,000 บาท โดยกำหนดระยะเวลาให้นำมาแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง หรือคลังจังหวัด หรือธนาคารชาติ และเพิ่มปริมาณเงินอย่างมหาศาล โดยการออกพันธบัตร (ภายในประเทศ) ตรวจสอบธนาคารและสถาบันการเงินอย่างเข้มงวดให้เป็นที่เชื่อถือของผู้ฝากเงินให้มีประสิทธิภาพ ปรับระบบนโยบายสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นของรัฐบาลให้มีสภาพคล่อง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศและส่งเสริมให้คนไทยให้เป็นผู้ถือหุ้นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของรัฐในสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อไม่ให้ต่างชาติครอบงำ เน้นให้เป็นธนาคารในท้องถิ่นหรือเป็นธนาคารเพื่อการ สหกรณ์ ต้อให้อำนาจทางเศรษฐกิจ อำนาจเงิน และการธนาคารเป็นของคนไทยทุกวิถีทาง นักธุรกิจที่ได้รับสัมปทานจากรัฐหรือรัฐให้ดำเนินการแทนจะต้องแสดงทรัพย์สินหนี้สินของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสามารถชี้แจงต่อสาธารณชนได้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และถ้าหาที่มาไม่ได้ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ธุรกิจที่มีการผูกขาด เช่น สุรา เบียร์ โทรศัพท์มือถือ ยางมะตอย ฯลฯ ต้องให้มี การค้าแบบเสรี แข่งขันและกระจายสัมปทานไปสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด
สำหรับนโยบายที่สามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้อีกข้อหนึ่งก็คือ นโยบายการเปลี่ยนคำนำหน้านามของผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ โดยนโยบายของพรรคที่ได้ประกาศไว้อย่างเป็นทางการระบุว่า “ในสังคมไทยมีบุคลิกอีกประเภทหนึ่งที่มีสภาพจิตใจแตกต่างกับเพศชายหรือเพศหญิงโดยเป็นมาตั้งแต่แรกเกิดเป็น "ชาย" แต่สภาพจิตใจและรูปร่างลักษณะท่าทางเป็น "หญิง" เห็นสมควรสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก "นาย" เป็น "นางนาย" หรือ "นายนาง" แล้วแต่กรณีเมื่ออายุครบ 20 ปี โดยให้จิตแพทย์ให้การรับรอง และในกรณีที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศหรือแต่งงานแล้ว ให้ใช้คำนำหน้าว่า "นางสาว" หรือ "นาง" เมื่อนายแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดแปลงเพศหรือสามีให้การรับรอง”
สำหรับความน่าสนใจของตัวหัวหน้าพรรคนั้น นายบุญนาค หมีเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคกิจสังคม และพรรคความหวังใหม่ ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อสกุลว่า “นายชูชาติ ประธานธรรม” ชื่อเดิม “นายกุศล หมีเทศ” หรือ "นายปราบสะดา หมีเทศ" หรือ "นายกุศล หมีเทศทอง" หรือ "นายดารัณ หมีเทศ" ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อสกุลเพื่อความเป็นสิริมงคลทุกครั้งที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนด้านกิจกรรมการเมืองนั้น พรรคคนขอปลดหนี้ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 120 คน ซึ่งผลการเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ในขณะที่ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อนั้น พรรคคนขอปลดหนี้ได้รับคะแนนเสียงทั้งสิ้น 231,053 คะแนน ซึ่งคิดเป็น 0.76% ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ของพรรคคนขอปลดหนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเป็นจำนวนทั้งสิ้น 113 คน แต่ภายหลังถูกตัดสิทธิลงเลือกตั้งเหลือเพียง 50 คน โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ได้รับการเลือกตั้ง 1 คน คือ นายมาโนช เสนาชู เขต 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวถูกตัดสินว่าเป็นโมฆะ จึงได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2549
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2549 นั้น ผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้ได้รับการเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 3 คนด้วยกัน คือ นางพรจณัฐ ศรีรัตนานันท์ เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี นายเปลื้อง บุญศรี เขต 3 จังหวัดพัทลุง และนายอับดุลคอเด เจ๊ะอูเซ็ง เขต 1 จังหวัดนราธิวาส แต่ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ก็ได้เกิดรัฐประหารขึ้นเพื่อยึดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 คนของพรรคคนขอปลดหนี้จึงต้องออกจากตำแหน่งไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2549 “พรรคคนขอปลดหนี้” ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น “พรรคไทเป็นไท”
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 146 ง หน้า 28-32
สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 29 พ.ศ.2547 หน้า 1021-1022
http://www.thaipenthai.org/user_about_detail.php เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552
http://th.wikipedia.org/wiki/พรรคไทเป็นไท เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552