ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยอิสระ (พ.ศ. 2519)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
'''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


----
----
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
== พรรคไทยอิสระ ==
== พรรคไทยอิสระ ==


พรรคไทยอิสระเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ทะเบียนเลขที่ 54/2519 โดยมีหัวหน้าพรรคคือ นายสันติราษฎร์ วัชรเกียรติ รองหัวหน้าพรรค 2 คน คือ นายพงศ์เพ็ชร สยามสันติกุล และนายวิรัตน์ ยามสุข เลขาธิการพรรคคือ นายกิติ กิติโกเศศ กรรมการอำนวยการอื่น ได้แก่ นายเหรียญทอง บุญทรัพย์ นางสุนันท์ รักติประกร นายเลี้ยง ตันกุรานันท์ นางสาววิภา ยามสุข นางทองมา จันทร์ทรง และนายสมศักดิ์ ธะนะคำ
พรรคไทยอิสระเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัด[[กระทรวงมหาดไทย]]ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ทะเบียนเลขที่ 54/2519 โดยมี[[หัวหน้าพรรค]]คือ นายสันติราษฎร์ วัชรเกียรติ[[ รองหัวหน้าพรรค]] 2 คน คือ นายพงศ์เพ็ชร สยามสันติกุล และนายวิรัตน์ ยามสุข [[เลขาธิการพรรค]]คือ นายกิติ กิติโกเศศ กรรมการอำนวยการอื่น ได้แก่ นายเหรียญทอง บุญทรัพย์ นางสุนันท์ รักติประกร นายเลี้ยง ตันกุรานันท์ นางสาววิภา ยามสุข นางทองมา จันทร์ทรง และนายสมศักดิ์ ธะนะคำ
<center>[[ภาพ:FTP.PNG]]</center>
<center>[[ภาพ:FTP.PNG]]</center>
   
   
== นโยบายของพรรคไทยอิสระ ==
== นโยบายของพรรคไทยอิสระ ==


'''นโยบายทั่วไป'''ของพรรคไทยอิสระคือ พรรคไทยอิสระจะยึดมั่นเชิดชู และเทอดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ์ จะส่งเสริมทำนุบำรุงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมจารีตประเพณีงามของชาติและโบราณวัตถุ จะให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา หรือลัทธิใด ๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อประเทศชาติ จะให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันในการปกครองประเทศและความเป็นอยู่
'''นโยบายทั่วไป'''ของพรรคไทยอิสระคือ พรรคไทยอิสระจะยึดมั่นเชิดชู และเทิดทูน ชาติ ศาสนา [[พระมหากษัตรยิ์]] จะส่งเสริมทำนุบำรุงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมจารีตประเพณีงามของชาติและโบราณวัตถุ จะให้[[สิทธิและเสรีภาพ]]แก่ประชาชนในการนับถือศาสนา หรือลัทธิใด ๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อประเทศชาติ จะให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันในการปกครองประเทศและความเป็นอยู่


'''นโยบายด้านการเกษตร''' พรรคไทยอิสระจะปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ประชาชนมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและการเพาะปลูก จะให้ความรู้ และความสามารถแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิต จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช จะให้หลักประกันราคาผลผลิตทุกประเภท และหาแหล่งจำหน่าย จะจัดให้มีการชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เหมือง ฝาย คูคลอง ทางเดินน้ำให้เพียงพอแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ ช่วยหาพันธุ์ แนะนำช่วยเหลือและประกันราคา จะส่งเสริมการประมงและการเลี้ยงสัตว์น้ำ
'''นโยบายด้านการเกษตร''' พรรคไทยอิสระจะปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ประชาชนมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและการเพาะปลูก จะให้ความรู้ และความสามารถแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิต จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช จะให้หลักประกันราคาผลผลิตทุกประเภท และหาแหล่งจำหน่าย จะจัดให้มีการชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เหมือง ฝาย คูคลอง ทางเดินน้ำให้เพียงพอแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ ช่วยหาพันธุ์ แนะนำช่วยเหลือและประกันราคา จะส่งเสริมการประมงและการเลี้ยงสัตว์น้ำ
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
'''นโยบายด้านสังคม''' พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้มีการลงทุน ค้นหาและผลิตทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จะส่งเสริมและปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น การขนส่ง การคมนาคม การไฟฟ้า การสื่อสาร การประปา บริการให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดีและทั่วถึง จะควบคุมราคาสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ไม่ให้มีราคาสูงจนเป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อน จะสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนให้เพียงพอต่อความต้องการ จะขจัดปัญหาคนว่างงานไม่มีงานทำ จะปราบปรามโจรผู้ร้าย และให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนผู้สุจริต จะปราบคอรัปชั่น การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของข้าราชการ จะส่งเสริมและให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ดี จะขจัดปัญหาการเดินขบวน การสไตร์คการหยุดงาน การปลุกปั่นยุยง อันเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายและเป็นภัยต่อประเทศชาติ
'''นโยบายด้านสังคม''' พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้มีการลงทุน ค้นหาและผลิตทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จะส่งเสริมและปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น การขนส่ง การคมนาคม การไฟฟ้า การสื่อสาร การประปา บริการให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดีและทั่วถึง จะควบคุมราคาสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ไม่ให้มีราคาสูงจนเป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อน จะสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนให้เพียงพอต่อความต้องการ จะขจัดปัญหาคนว่างงานไม่มีงานทำ จะปราบปรามโจรผู้ร้าย และให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนผู้สุจริต จะปราบคอรัปชั่น การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของข้าราชการ จะส่งเสริมและให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ดี จะขจัดปัญหาการเดินขบวน การสไตร์คการหยุดงาน การปลุกปั่นยุยง อันเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายและเป็นภัยต่อประเทศชาติ


พรรคไทยอิสระส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ อีก 18 พรรค ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว ได้แก่ พรรคพลังเสรี พรรคฟื้นฟูชาติไทย พรรคแนวสันติ พรรคกรุงสยาม พรรคเกษตรกร พรรคพลังสยาม พรรคชาติสยาม พรรคสันติชน พรรคประชาก้าวหน้า พรรคเศรษฐกร พรรคศรีอารยะ พรรคนิยมไทย พรรคสังคมประชาธรรม พรรคพลังราษฎร์ พรรคไทยรวมไทย พรรคชาตินิยม พรรคสงเคราะห์อาชีพ และพรรคไท พรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ 2517 ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อคณะทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516
พรรคไทยอิสระส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ อีก 18 พรรค ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว ได้แก่ พรรค[[พลังเสรี]] พรรค[[ฟื้นฟูชาติไทย]] พรรค[[แนวสันติ]] พรรค[[กรุงสยาม]] พรรค[[เกษตรกร]] พรรค[[พลังสยาม]] พรรค[[ชาติสยาม]] พรรค[[สันติชน]] พรรค[[ประชาก้าวหน้า]] พรรค[[เศรษฐกร]] พรรค[[ศรีอารยะ]] พรรค[[นิยมไทย]] พรรค[[สังคมประชาธรรม]] พรรค[[พลังราษฎร์]] พรรค[[ไทยรวมไทย]] พรรค[[ชาตินิยม]] พรรค[[สงเคราะห์อาชีพ]] และพรรค[[ไท]] พรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ 2517 ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อ[[คณะทหาร]]เข้า[[ยึดอำนาจ]]เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516


== ที่มา ==
== ที่มา ==
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
บุญทัน ดอกไธสง, '''การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย''', กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2520
บุญทัน ดอกไธสง, '''การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย''', กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2520


[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย|ทไทยอิสระ (พ.ศ. 2519)]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์|ทไทยอิสระ (พ.ศ. 2519)]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:26, 5 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


พรรคไทยอิสระ

พรรคไทยอิสระเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ทะเบียนเลขที่ 54/2519 โดยมีหัวหน้าพรรคคือ นายสันติราษฎร์ วัชรเกียรติรองหัวหน้าพรรค 2 คน คือ นายพงศ์เพ็ชร สยามสันติกุล และนายวิรัตน์ ยามสุข เลขาธิการพรรคคือ นายกิติ กิติโกเศศ กรรมการอำนวยการอื่น ได้แก่ นายเหรียญทอง บุญทรัพย์ นางสุนันท์ รักติประกร นายเลี้ยง ตันกุรานันท์ นางสาววิภา ยามสุข นางทองมา จันทร์ทรง และนายสมศักดิ์ ธะนะคำ

นโยบายของพรรคไทยอิสระ

นโยบายทั่วไปของพรรคไทยอิสระคือ พรรคไทยอิสระจะยึดมั่นเชิดชู และเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ์ จะส่งเสริมทำนุบำรุงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมจารีตประเพณีงามของชาติและโบราณวัตถุ จะให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา หรือลัทธิใด ๆ ที่ไม่เป็นภัยต่อประเทศชาติ จะให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันในการปกครองประเทศและความเป็นอยู่

นโยบายด้านการเกษตร พรรคไทยอิสระจะปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ประชาชนมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและการเพาะปลูก จะให้ความรู้ และความสามารถแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิต จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช จะให้หลักประกันราคาผลผลิตทุกประเภท และหาแหล่งจำหน่าย จะจัดให้มีการชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เหมือง ฝาย คูคลอง ทางเดินน้ำให้เพียงพอแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ ช่วยหาพันธุ์ แนะนำช่วยเหลือและประกันราคา จะส่งเสริมการประมงและการเลี้ยงสัตว์น้ำ

นโยบายด้านการศึกษา พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ อ่านออกเขียนได้แก่คนทุกระดับ จะจัดหาสถานศึกษาให้แก่ประชาชนให้เพียงพอ จะจัดหาอุปกรณ์การศึกษาให้เพียงพอ จะจัดหาผู้มีความรู้ ความสามารถในด้านวิชาการทุกแขนงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนให้เพียงพอ จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวิชาชีพ เพื่อประกอบอาชีพตามความรู้ความสามารถ

นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้ประชาชนมีอนามัยร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยเบียดเบียน จะส่งเสริมและจัดหาสถานพยาบาลให้เพียงพอต่อความเจ็บป่วยของประชาชน จะจัดหาให้มีอุปกรณ์เครื่องเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อสถานพยาบาล จะเพิ่มผลิตแพทย์ พยาบาล ให้มากพอต่อความเจ็บป่วยของประชาชน จะให้บริการการรักษา ตรวจโรค และแจกยา แก่ประชาชนเป็นการให้เปล่า

นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคไทยอิสระจะเป็นมิตรและมีสัมพันธ์กับมิตรประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะยึดหลักความเป็นกลาง จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น จะไม่รุกรานและละเมิดอธิปไตยของประเทศใด ๆ จะเป็นมิตรที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะดำเนินการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทุกประเทศทั่วโลก

นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมสินค้าที่ผลิตได้เองภายในประเทศ จะส่งเสริมให้มีผลผลิตในด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนภายในประเทศ จะส่เงสริมและให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ จะจัดให้ประชาชนมีงานทำทุกคน จะให้ประชาชนช่วยกันประหยัด จะส่งเสริมสินค้าขาออกให้มาก และควบคุมคุณภาพให้เป็นที่เชื่อถือของต่างประเทศ จะปรับดุลย์การค้ากับต่างประเทศให้เท่าเทียมกัน จะชักจูงชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศให้มากขึ้น

นโยบายด้านการทหาร พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้ชายไทยทุกคนเป็นทหาร จะส่งเสริมให้กองทัพไทยมีอานุภาพและสมรรถภาพสามารถป้องกันประเทศได้ และจะส่งเสริมให้กองทัพไทยสามารถสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง

นโยบายด้านสังคม พรรคไทยอิสระจะส่งเสริมให้มีการลงทุน ค้นหาและผลิตทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ จะส่งเสริมและปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น การขนส่ง การคมนาคม การไฟฟ้า การสื่อสาร การประปา บริการให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดีและทั่วถึง จะควบคุมราคาสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ไม่ให้มีราคาสูงจนเป็นเหตุให้ประชาชนเดือดร้อน จะสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนให้เพียงพอต่อความต้องการ จะขจัดปัญหาคนว่างงานไม่มีงานทำ จะปราบปรามโจรผู้ร้าย และให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนผู้สุจริต จะปราบคอรัปชั่น การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของข้าราชการ จะส่งเสริมและให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการที่ดี จะขจัดปัญหาการเดินขบวน การสไตร์คการหยุดงาน การปลุกปั่นยุยง อันเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายและเป็นภัยต่อประเทศชาติ

พรรคไทยอิสระส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ อีก 18 พรรค ซึ่งไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว ได้แก่ พรรคพลังเสรี พรรคฟื้นฟูชาติไทย พรรคแนวสันติ พรรคกรุงสยาม พรรคเกษตรกร พรรคพลังสยาม พรรคชาติสยาม พรรคสันติชน พรรคประชาก้าวหน้า พรรคเศรษฐกร พรรคศรีอารยะ พรรคนิยมไทย พรรคสังคมประชาธรรม พรรคพลังราษฎร์ พรรคไทยรวมไทย พรรคชาตินิยม พรรคสงเคราะห์อาชีพ และพรรคไท พรรคการเมืองทั้งหมดที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ 2517 ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อคณะทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ที่มา

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ ตอนที่ 93 เล่มที่ 29 ฉบับพิเศษ ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519, หน้า 29-38

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519

สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531

บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2520