ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' ชาย ไชยชิต ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทควา... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
== '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ | == '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 8 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495''' == | ||
[[การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งด้วยวิธีรวมเขตเรียงเบอร์ โดยถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง และเป็น[[การเลือกตั้งทางตรง|การเลือกตั้งโดยตรง]] จำนวนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตจังหวัดคิดคำนวณโดยถือเอาจำนวนประชาชน 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากมีการ[[รัฐประหาร]]เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เพื่อล้ม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492]] โดยคณะรัฐประหารประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ และได้เชิญ[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]มาดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]ตามเดิม และได้ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495]] ซึ่งเป็นผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติกลับมามีระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภาสองประเภท โดยคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลในคณะรัฐประหารและข้าราชการทหาร พลเรือน เป็นสมาชิกสภาประเภทที่สอง ทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกสภาประเภทที่หนึ่งซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน | |||
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ทำให้ได้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็นร้อยละ 38.36 จังหวัดที่มีผู้มาใช้[[สิทธิ]]ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสระบุรี คิดเป็นร้อยละ 77.78 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัพระนคร คิดเป็น 23.03 เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นการรัฐประหาร ซึ่งมีการประกาศห้ามมิให้มี[[การชุมนุมทางการเมือง]]ใด ๆ ทั้งสิ้น จึงส่งผลให้[[พรรคการเมือง]]ต่าง ๆ ทั้งพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลในรูปของสหพรรค และพรรคฝ่ายค้านได้สลายตัวและไม่มีบทบาทในการเลือกตั้งเช่นที่ผ่านมา ดังเช่น[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]ซึ่งเป็น[[พรรคฝ่ายค้าน]]ที่สำคัญ ก็ได้ประกาศถอนตัวจากการเมือง ไม่ยอมส่งผู้สมัครของพรรคลงรับเลือกตั้ง ยกเว้นผู้สมัครคนใดที่ต้องการสมัครรับเลือกตั้งอิสระในนามของตัวเอง นอกจากนี้ การเลือกตั้งในครั้งนี้ก็ปรากฏว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ได้แก่ [[การทุจริต]] “[[ไพ่ไฟ]]” และการรับจ้างตะโกนด่าฝ่ายค้าน เป็นต้น | |||
== '''ที่มา''' == | == '''ที่มา''' == | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 29: | ||
! style="background-color:#ffffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" <div style="float:right;"></div> |[[หน้าหลัก]] | ! style="background-color:#ffffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" <div style="float:right;"></div> |[[หน้าหลัก]] | ||
|} | |} | ||
[[หมวดหมู่: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] | [[หมวดหมู่:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] | ||
[[หมวดหมู่:ชาย ไชยชิต]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:43, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 8 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งด้วยวิธีรวมเขตเรียงเบอร์ โดยถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง และเป็นการเลือกตั้งโดยตรง จำนวนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตจังหวัดคิดคำนวณโดยถือเอาจำนวนประชาชน 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เพื่อล้มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยคณะรัฐประหารประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ และได้เชิญจอมพล ป. พิบูลสงครามมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามเดิม และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติกลับมามีระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภาสองประเภท โดยคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลในคณะรัฐประหารและข้าราชการทหาร พลเรือน เป็นสมาชิกสภาประเภทที่สอง ทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกสภาประเภทที่หนึ่งซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็นร้อยละ 38.36 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสระบุรี คิดเป็นร้อยละ 77.78 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัพระนคร คิดเป็น 23.03 เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นการรัฐประหาร ซึ่งมีการประกาศห้ามมิให้มีการชุมนุมทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น จึงส่งผลให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาลในรูปของสหพรรค และพรรคฝ่ายค้านได้สลายตัวและไม่มีบทบาทในการเลือกตั้งเช่นที่ผ่านมา ดังเช่นพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่สำคัญ ก็ได้ประกาศถอนตัวจากการเมือง ไม่ยอมส่งผู้สมัครของพรรคลงรับเลือกตั้ง ยกเว้นผู้สมัครคนใดที่ต้องการสมัครรับเลือกตั้งอิสระในนามของตัวเอง นอกจากนี้ การเลือกตั้งในครั้งนี้ก็ปรากฏว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ได้แก่ การทุจริต “ไพ่ไฟ” และการรับจ้างตะโกนด่าฝ่ายค้าน เป็นต้น
ที่มา
บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2522
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522
โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ 5 ระบบการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, กำเนิดพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2510
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
หน้าหลัก |
---|