ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 8 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' จันทมร สีหาบุญลี | '''ผู้เรียบเรียง''' จันทมร สีหาบุญลี | ||
---- | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | ||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 15: | ||
พระราชบัญญัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ | พระราชบัญญัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ | ||
'''1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ''' คือ กฎหมายที่มีลักษณะพิเศษซึ่งรัฐธรรมนูญระบุชื่อเอาไว้โดยเฉพาะ เพื่อขยายความเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญอันจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ | '''1. [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]]''' คือ กฎหมายที่มีลักษณะพิเศษซึ่งรัฐธรรมนูญระบุชื่อเอาไว้โดยเฉพาะ เพื่อขยายความเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญอันจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ | ||
(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา | (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา | ||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 37: | ||
'''2. พระราชบัญญัติ''' คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | '''2. พระราชบัญญัติ''' คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | ||
'''3. พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน''' คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ | '''3. [[พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน]]''' คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ | ||
(1) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร | (1) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 47: | ||
(4) เงินตรา | (4) เงินตรา | ||
ในกรณีที่สงสัยว่าพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่สภาเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือไม่ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] | ในกรณีที่สงสัยว่าพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่สภาเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือไม่ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]และประธานคณะกรรมาธิการสามัญของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]ทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย | ||
==ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ== | ==ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ== | ||
'''1. | '''1. [[การเสนอร่างพระราชบัญญัติ]]ประกอบรัฐธรรมนูญ''' | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย | ||
บรรทัดที่ 57: | บรรทัดที่ 59: | ||
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ | 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ | ||
3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ | 3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้[[รักษาการตามพระราชบัญญัติ]]ประกอบรัฐธรรมนูญนั้น | ||
'''2. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ''' | '''2. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ''' | ||
บรรทัดที่ 75: | บรรทัดที่ 77: | ||
==กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ== | ==กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ== | ||
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] | |||
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้ | กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 91: | บรรทัดที่ 93: | ||
'''การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา''' | '''การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา''' | ||
[[วุฒิสภา]]ต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ | [[วุฒิสภา]]ต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันใน[[สมัยประชุม]] และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด | ||
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 | การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] | ||
เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ | เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ | ||
บรรทัดที่ 139: | บรรทัดที่ 141: | ||
ราชบัณฑิตยสถาน, '''“พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.”''' กรุงเทพมหานคร :บริษัทนานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น จำกัด. | ราชบัณฑิตยสถาน, '''“พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.”''' กรุงเทพมหานคร :บริษัทนานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น จำกัด. | ||
http://kanchanapisek.or.th/kp6/ | http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter4/t18-4-l1.htm (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552) | ||
http:// | http://learners.in.th/blog/klip/151507 (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552) | ||
http://www.parliament.go.th/ | http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_index.php?item=1000&doc_id=3984 (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552) | ||
http://www.thethailaw.com/law23/law23.html (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552) | http://www.thethailaw.com/law23/law23.html (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552) | ||
[[ | ---- | ||
[[หมวดหมู่ : สถาบันนิติบัญญัติ]] | |||
[[หมวดหมู่:จันทมร สีหาบุญลี]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:40, 7 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง จันทมร สีหาบุญลี
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชน โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนและวุฒิสภา พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลงกำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
ความหมายของพระราชบัญญัติ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามความหมายพระราชบัญญัติเป็นคำนาม หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา นอกจากนี้ยังมีความหมายอื่นที่นิยามไว้ พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง ถือว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติบุคคล ซึ่งตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่ รัฐสภา พระราชบัญญัติจึงเป็นกฎหมายโดยแท้ เพราะตราขึ้นโดยองค์กรที่ออกกฎหมายโดยตรง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ตราโดยผู้แทนของประชาชนและประกาศให้ราษฎรทราบในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่มีลักษณะพิเศษซึ่งรัฐธรรมนูญระบุชื่อเอาไว้โดยเฉพาะ เพื่อขยายความเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญอันจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
2. พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คือ พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
(2) การจัดสรร รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
(3) การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ
(4) เงินตรา
ในกรณีที่สงสัยว่าพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่สภาเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
2. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ส่วนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 142 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาล และประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน โดยจะเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาจะต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้
วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น
วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา
คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภาให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 เรียงลำดับมาตรารวมกันไป
วาระที่ 3 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 3 นี้ จะไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นมีสาระสำคัญทางกฎหมายที่ต้องพิจารณาในรายละเอียดตามแต่กรณีที่เกิดขึ้น เช่น กรณีรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หรือในส่วนการพิจารณาของวุฒิสภาอาจเกิดกรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม หรือกรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมที่มีความชัดเจนมากกว่านี้ สามารถศึกษาได้จากข้อมูลบรรณานุกรม หรือหนังสืออ่านเพิ่มเติมท้ายบทความที่ผู้เขียนได้อ้างไว้แล้ว
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
กองกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “กระบวนวิธีในการบัญญัติกฎหมาย.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม 2519.
จเร พันธุ์เปรื่อง, “กระบวนการตรากฎหมาย.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 49 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2544 หน้า 1–88.
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2549) “กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภาไทย.” พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บุญรักษา ชมชื่น, (2551) “การทบทวนและวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันนิติบัญญัติและกระบวนการนิติบัญญัติ.” กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ภานุมาศ วราหะไพบูลย์, “กระบวนการตรากฎหมายในฝ่ายนิติบัญญัติ.” จุลนิติ ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 พฤศจิกายน 2547 หน้า 37-43.
ยงเกียรติ อดิเศรษฐกุล, “กระบวนการเสนอและการพิจารณาพระราชบัญญัติ.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 เมษายน 2529 หน้า 67-107.
บรรณานุกรม
กองกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “กระบวนวิธีในการบัญญัติกฎหมาย.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม 2519 หน้า 57-67.
จเร พันธุ์เปรื่อง, “กระบวนการตรากฎหมาย.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 49 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2544, หน้า 1-88.
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2549) “กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภาไทย.” พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บุญรักษา ชมชื่น, (2551) “การทบทวนและวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสถาบันนิติบัญญัติและกระบวนการนิติบัญญัติ.” กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.” กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ภานุมาศ วราหะไพบูลย์, “กระบวนการตรากฎหมายในฝ่ายนิติบัญญัติ.” จุลนิติ ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 พฤศจิกายน 2547, หน้า 37-43.
ยงเกียรติ อดิเศรษฐกุล, “กระบวนการเสนอและการพิจารณาพระราชบัญญัติ.” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 เมษายน 2529, หน้า 67-107.
ราชบัณฑิตยสถาน, “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.” กรุงเทพมหานคร :บริษัทนานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น จำกัด.
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter4/t18-4-l1.htm (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552)
http://learners.in.th/blog/klip/151507 (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552)
http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_index.php?item=1000&doc_id=3984 (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552)
http://www.thethailaw.com/law23/law23.html (สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2552)