ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มณฑลเทศาภิบาล"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
          รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้มี[[การปฏิรูปการปกครอง|การปฏิรูปการปกครอง]]ประเทศโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การปฏิรูประยะแรก (พ.ศ. 2416-2417) ซึ่งเป็นช่วงแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง[[การบริหารราชการแผ่นดิน|บริหารราชการแผ่นดิน]]โดยไม่มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และการปฏิรูประยะที่สอง (พ.ศ. 2435-2453) ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายหลังจากคนรุ่นเก่าที่มีอำนาจทางการเมืองและคัดค้านการปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจที่พระมหากษัตริย์ตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ([[ช่วง_บุนนาค|ช่วง บุนนาค]]) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพ.ศ. 2425 และ[[สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ|สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] สิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2428[[#_ftn1|[1]]]
          รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้มี[[การปฏิรูปการปกครอง|การปฏิรูปการปกครอง]]ประเทศโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การปฏิรูประยะแรก (พ.ศ. 2416-2417) ซึ่งเป็นช่วงแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง[[การบริหารราชการแผ่นดิน|บริหารราชการแผ่นดิน]]โดยไม่มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และการปฏิรูประยะที่สอง (พ.ศ. 2435-2453) ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายหลังจากคนรุ่นเก่าที่มีอำนาจทางการเมืองและคัดค้านการปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจที่พระมหากษัตริย์ตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ([[ช่วง_บุนนาค|ช่วง บุนนาค]]) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพ.ศ. 2425 และ[[สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ|สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] สิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2428[[#_ftn1|[1]]]


          ในการปฏิรูประยะที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดระบบการปกครองประเทศโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ 1) [[การปกครองส่วนกลาง]] (จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น 12 กระทรวง)  2) [[การปกครองส่วนหัวเมือง]] (จัดตั้งการปกครองแบบ[[เทศาภิบาล]]แทนระบบกินเมือง)  3) [[การปกครองส่วนท้องถิ่น]] (จัดตั้งระบบการปกครองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง)[[#_ftn2|[2]]]
          ในการปฏิรูประยะที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดระบบการปกครองประเทศโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ 1) [[การปกครองส่วนกลาง|การปกครองส่วนกลาง]] (จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น 12 กระทรวง)  2) [[การปกครองส่วนหัวเมือง|การปกครองส่วนหัวเมือง]] (จัดตั้งการปกครองแบบ[[เทศาภิบาล|เทศาภิบาล]]แทนระบบกินเมือง)  3) [[การปกครองส่วนท้องถิ่น|การปกครองส่วนท้องถิ่น]] (จัดตั้งระบบการปกครองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง)[[#_ftn2|[2]]]


การปกครองส่วนหัวเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำโดยการยกเลิกธรรมเนียมการจัดเมืองเป็น[[หัวเมืองชั้นเอก|เมืองชั้นเอก]] [[หัวเมืองชั้นโท|ชั้นโท]] [[หัวเมืองชั้นตรี|ชั้นตรี]] ตามความสำคัญของเมืองและ[[ระบบกินเมือง|ระบบ “กินเมือง”]] ที่ให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้นหรือสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองคนก่อน ทำหน้าที่บริหารปกครองและเก็บภาษีอากรจากราษฎรในท้องถิ่นโดยส่งเงินภาษีที่เก็บได้ส่วนหนึ่งให้แก่รัฐบาลกลาง (ราชสำนัก) เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” ที่รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็น “[[มณฑล]]” โดยมีข้าราชการที่[[รัฐบาลกลาง]] (กรุงเทพฯ) แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[ข้าหลวงเทศาภิบาล]]ทำหน้าที่บริหารราชการภายในมณฑลนั้นๆ[[#_ftn3|[3]]]
การปกครองส่วนหัวเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำโดยการยกเลิกธรรมเนียมการจัดเมืองเป็น[[หัวเมืองชั้นเอก|เมืองชั้นเอก]] [[หัวเมืองชั้นโท|ชั้นโท]] [[หัวเมืองชั้นตรี|ชั้นตรี]] ตามความสำคัญของเมืองและ[[ระบบกินเมือง|ระบบ “กินเมือง”]] ที่ให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้นหรือสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองคนก่อน ทำหน้าที่บริหารปกครองและเก็บภาษีอากรจากราษฎรในท้องถิ่นโดยส่งเงินภาษีที่เก็บได้ส่วนหนึ่งให้แก่รัฐบาลกลาง (ราชสำนัก) เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” ที่รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็น “[[มณฑล|มณฑล]]” โดยมีข้าราชการที่[[รัฐบาลกลาง|รัฐบาลกลาง]] (กรุงเทพฯ) แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[ข้าหลวงเทศาภิบาล|ข้าหลวงเทศาภิบาล]]ทำหน้าที่บริหารราชการภายในมณฑลนั้นๆ[[#_ftn3|[3]]]


การวางรากฐานการปกครองแบบ “มณฑล” เริ่มขึ้นในปี 2417 เนื่องจากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างสยามกับชาติตะวันตกในบริเวณหัวเมืองตามชายแดนของสยามที่อยู่ติดกับอาณานิคมของตะวันตก เห็นได้จากข้อพิพาทระหว่างเจ้าเมืองเชียงใหม่กับคนพม่าในบังคับอังกฤษที่เข้ามาทำป่าไม้ในล้านนา (ภาคเหนือของสยาม) หรือข้อพิพาทระหว่างคนในบังคับของอังกฤษที่เข้ามาทำเหมืองแร่ในเมืองระนองและภูเก็ตกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองของสยาม ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งข้าหลวงไปประจำที่เมืองเชียงใหม่เพื่อทำหน้าที่ชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับอังกฤษ ต่อมาในปี 2427 ทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปเป็นข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ นับเป็นการเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[[#_ftn4|[4]]]
การวางรากฐานการปกครองแบบ “มณฑล” เริ่มขึ้นในปี 2417 เนื่องจากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างสยามกับชาติตะวันตกในบริเวณหัวเมืองตามชายแดนของสยามที่อยู่ติดกับอาณานิคมของตะวันตก เห็นได้จากข้อพิพาทระหว่างเจ้าเมืองเชียงใหม่กับคนพม่าในบังคับอังกฤษที่เข้ามาทำป่าไม้ในล้านนา (ภาคเหนือของสยาม) หรือข้อพิพาทระหว่างคนในบังคับของอังกฤษที่เข้ามาทำเหมืองแร่ในเมืองระนองและภูเก็ตกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองของสยาม ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งข้าหลวงไปประจำที่เมืองเชียงใหม่เพื่อทำหน้าที่ชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับอังกฤษ ต่อมาในปี 2427 ทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปเป็นข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ นับเป็นการเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[[#_ftn4|[4]]]


อย่างไรก็ตามการปกครองแบบ “มณฑล” ที่ริเริ่มขึ้นนี้ตั้งขึ้นอย่างรีบด่วนยังไม่มีการวางแผนการปกครองอย่างเป็นระบบ ดังเช่นระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จะตั้งขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองเมื่อพ.ศ. 2435 โดยการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล” จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศฉบับนี้คือให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  หลังจากนั้นอีก 3 ปีใน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ได้มีการประกาศใช้ “[[พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่_ร.ศ._116]]” และในเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ได้มีการประกาศใช้ “[[ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง_ร.ศ._117]]” ส่งผลให้รัฐบาลมีอำนาจจัดการปกครองหัวเมืองได้อย่างเต็มรูปแบบ[[#_ftn5|[5]]]
อย่างไรก็ตามการปกครองแบบ “มณฑล” ที่ริเริ่มขึ้นนี้ตั้งขึ้นอย่างรีบด่วนยังไม่มีการวางแผนการปกครองอย่างเป็นระบบ ดังเช่นระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จะตั้งขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองเมื่อพ.ศ. 2435 โดยการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล” จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศฉบับนี้คือให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  หลังจากนั้นอีก 3 ปีใน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ได้มีการประกาศใช้ “[[พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่_ร.ศ._116|พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116]]” และในเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ได้มีการประกาศใช้ “[[ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง_ร.ศ._117|ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117]]” ส่งผลให้รัฐบาลมีอำนาจจัดการปกครองหัวเมืองได้อย่างเต็มรูปแบบ[[#_ftn5|[5]]]


'''2. วัตถุประสงค์ของการตั้งมณฑลเทศาภิบาล'''
'''2. วัตถุประสงค์ของการตั้งมณฑลเทศาภิบาล'''
บรรทัดที่ 181: บรรทัดที่ 181:
<u>2.มณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นภายหลังการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435</u>
<u>2.มณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นภายหลังการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435</u>


เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงดำเนิน[[การปฏิรูปการปกครอง]]เมื่อ พ.ศ. 2435 และตั้งสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย&nbsp; สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จออกตรวจ[[หัวเมือง]]โดยทรงเห็นถึงปัญหาของการบริหารราชการในหัวเมืองต่างๆซึ่งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ทำให้เสนาบดีไม่สามารถเดินทางไปตรวจงานด้วยตัวเองได้และการสั่งงานต่างๆไปยังหัวเมืองทำได้ช้า ติดขัดปัญหาหลายอย่าง สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลโดยให้มีเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ในมณฑลนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ[[#_ftn9|[9]]]
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงดำเนิน[[การปฏิรูปการปกครอง|การปฏิรูปการปกครอง]]เมื่อ พ.ศ. 2435 และตั้งสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย&nbsp; สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จออกตรวจ[[หัวเมือง|หัวเมือง]]โดยทรงเห็นถึงปัญหาของการบริหารราชการในหัวเมืองต่างๆซึ่งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ทำให้เสนาบดีไม่สามารถเดินทางไปตรวจงานด้วยตัวเองได้และการสั่งงานต่างๆไปยังหัวเมืองทำได้ช้า ติดขัดปัญหาหลายอย่าง สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลโดยให้มีเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ในมณฑลนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ[[#_ftn9|[9]]]


ในพ.ศ. 2437 ได้มีการดำเนินการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลโดยปรับปรุงมณฑลที่มีอยู่เดิมและตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่รวม 4 มณฑลได้แก่[[#_ftn10|[10]]]
ในพ.ศ. 2437 ได้มีการดำเนินการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลโดยปรับปรุงมณฑลที่มีอยู่เดิมและตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่รวม 4 มณฑลได้แก่[[#_ftn10|[10]]]
บรรทัดที่ 397: บรรทัดที่ 397:
&nbsp;
&nbsp;


นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขระเบียบและลักษณะการปกครองมณฑลที่ตั้งขึ้นแล้วอีก 2 มณฑลให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลคือ [[มณฑลภูเก็ต]] และ[[มณฑลบูรพา]] (ชื่อเดิมคือมณฑลเขมร) โดยกรณีของมณฑลบูรพาเมื่อเปลี่ยนเป็นมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรกคือ พันเอกพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ (ดั่น อมรานนท์)[[#_ftn12|[12]]]
นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขระเบียบและลักษณะการปกครองมณฑลที่ตั้งขึ้นแล้วอีก 2 มณฑลให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลคือ [[มณฑลภูเก็ต|มณฑลภูเก็ต]] และ[[มณฑลบูรพา|มณฑลบูรพา]] (ชื่อเดิมคือมณฑลเขมร) โดยกรณีของมณฑลบูรพาเมื่อเปลี่ยนเป็นมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรกคือ พันเอกพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ (ดั่น อมรานนท์)[[#_ftn12|[12]]]


ถัดมาในช่วง พ.ศ. 2440-2449 ได้มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ 4 มณฑลได้แก่[[#_ftn13|[13]]]
ถัดมาในช่วง พ.ศ. 2440-2449 ได้มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ 4 มณฑลได้แก่[[#_ftn13|[13]]]
บรรทัดที่ 496: บรรทัดที่ 496:
'''4. มณฑลเทศาภิบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว'''
'''4. มณฑลเทศาภิบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยภาพรวมแล้วกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเคร่งครัด[[#_ftn14|[14]]] หรือที่ เดวิด วัยอาจ นักวิชาการชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ราชอาณาจักรสยามเป็น “สยามใหม่” และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระองค์) เป็นผู้สถาปนาราชอาณาจักรสยามขึ้นเป็น “ชาติ”[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยภาพรวมแล้วกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเคร่งครัด[[#_ftn14|[14]]] หรือที่ เดวิด วัยอาจ นักวิชาการชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ราชอาณาจักรสยามเป็น “สยามใหม่” และ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระองค์) เป็นผู้สถาปนาราชอาณาจักรสยามขึ้นเป็น “ชาติ”[[#_ftn15|[15]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนของการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการปกครองส่วนท้องที่ในมณฑลต่างๆให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังปรากฏว่า เมื่อพ.ศ. 2456 ทรงแก้ไขปรับปรุงการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในระบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งปลัดมณฑลต้องแบกภาระหน้าที่ด้านการปกครองท้องที่ การดูแลค่าใช้จ่ายภายในมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑล โดยให้ปลัดมณฑลรับผิดชอบเฉพาะการปกครองท้องที่ ส่วนงานด้านดูแลค่าใช้จ่ายของปลัดมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑลให้เสมียนตรามณฑลซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทั่วไปของปลัดมณฑลและดูแลงานทั้ง 2 ด้านนี้&nbsp; พร้อมกันนั้นยังทรงโปรดฯให้ลดความซ้ำซ้อนของข้าราชการที่บริหารมณฑลเทศาภิบาล โดยยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยและตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่สมุหเทศาภิบาลพำนักอยู่[[#_ftn16|[16]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนของการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการปกครองส่วนท้องที่ในมณฑลต่างๆให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังปรากฏว่า เมื่อพ.ศ. 2456 ทรงแก้ไขปรับปรุงการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในระบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งปลัดมณฑลต้องแบกภาระหน้าที่ด้านการปกครองท้องที่ การดูแลค่าใช้จ่ายภายในมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑล โดยให้ปลัดมณฑลรับผิดชอบเฉพาะการปกครองท้องที่ ส่วนงานด้านดูแลค่าใช้จ่ายของปลัดมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑลให้เสมียนตรามณฑลซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทั่วไปของปลัดมณฑลและดูแลงานทั้ง 2 ด้านนี้&nbsp; พร้อมกันนั้นยังทรงโปรดฯให้ลดความซ้ำซ้อนของข้าราชการที่บริหารมณฑลเทศาภิบาล โดยยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยและตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่สมุหเทศาภิบาลพำนักอยู่[[#_ftn16|[16]]]
บรรทัดที่ 575: บรรทัดที่ 575:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตามในรัชสมัยนี้ได้มีการยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไปจำนวนหนึ่งได้แก่มณฑลบูรพา ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจปกครองเมืองพระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ. 2449 และมณฑลไทรบุรี ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจการปกครองเมืองไทรบุรี (เคดะห์), ตรังกานู ให้แก่อังกฤษเมื่อพ.ศ. 2450[[#_ftn18|[18]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตามในรัชสมัยนี้ได้มีการยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไปจำนวนหนึ่งได้แก่มณฑลบูรพา ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจปกครองเมืองพระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ. 2449 และมณฑลไทรบุรี ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจการปกครองเมืองไทรบุรี (เคดะห์), ตรังกานู ให้แก่อังกฤษเมื่อพ.ศ. 2450[[#_ftn18|[18]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งยังปรากฏว่าในพ.ศ. 2458 สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเนื่องจากทรงประชวรหนักและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำพระองค์ให้ทรงหยุดพักรักษาพระองค์[[#_ftn19|[19]]] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปกระทรวงมหาดไทยและระบบเทศาภิบาลโดยแบ่งประเทศออกเป็นภาคและแต่งตั้งอุปราชประจำภาคขึ้นโดยให้สมุหเทศาภิบาลทำหน้าที่ของตนต่อไป แต่ในการบริหารราชการต้องปรึกษาหารือกับอุปราชประจำภาคก่อน รวมถึงทรงจัดหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นใหม่โดยโอนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยบางส่วนไปสังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม&nbsp; ส่งผลให้การปกครองท้องถิ่นอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง ประกอบกับในช่วงพ.ศ. 2457-2461 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลให้เศรษฐกิจสยามตกต่ำอย่างมาก ในปี 2458 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุให้มีการยกเลิกตำแหน่งอุปราชประจำภาค พร้อมทั้งยุบมณฑลร้อยเอ็ด, มหาราษฎร์, สุราษฎร์[[#_ftn20|[20]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งยังปรากฏว่าในพ.ศ. 2458 สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเนื่องจากทรงประชวรหนักและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำพระองค์ให้ทรงหยุดพักรักษาพระองค์[[#_ftn19|[19]]] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปกระทรวงมหาดไทยและระบบเทศาภิบาลโดยแบ่งประเทศออกเป็นภาคและแต่งตั้งอุปราชประจำภาคขึ้นโดยให้สมุหเทศาภิบาลทำหน้าที่ของตนต่อไป แต่ในการบริหารราชการต้องปรึกษาหารือกับอุปราชประจำภาคก่อน รวมถึงทรงจัดหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นใหม่โดยโอนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยบางส่วนไปสังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม&nbsp; ส่งผลให้[[การปกครองท้องถิ่น|การปกครองท้องถิ่น]]อยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง ประกอบกับในช่วงพ.ศ. 2457-2461 ได้เกิด[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่ 1]] เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลให้เศรษฐกิจสยามตกต่ำอย่างมาก ในปี 2458 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุให้มีการยกเลิกตำแหน่งอุปราชประจำภาค พร้อมทั้งยุบมณฑลร้อยเอ็ด&nbsp;มหาราษฎร์&nbsp;สุราษฎร์[[#_ftn20|[20]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมาในพ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลจันทบุรี, นครชัยศรี, นครสวรรค์, ปัตตานี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยภายหลังการปฏิวัติของคณะราษฎร (เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475) ผ่านไปราว 1 ปี ในพ.ศ. 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑลเทศาภิบาลที่เหลืออีก 9 แห่ง คือ มณฑลนครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, ปราจีน, พายัพ, พิษณุโลก, ภูเก็ต, ราชบุรี, กรุงเก่า (อยุธยา), อุดร แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรไทยแทนระบบมณฑลเทศาภิบาล[[#_ftn21|[21]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมาในพ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลจันทบุรี&nbsp;นครชัยศรี&nbsp;นครสวรรค์&nbsp;ปัตตานี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยภายหลังการปฏิวัติของคณะราษฎร (เมื่อวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน 2475]]) ผ่านไปราว 1 ปี ในพ.ศ. 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑลเทศาภิบาลที่เหลืออีก 9 แห่ง คือ มณฑลนครราชสีมา&nbsp;นครศรีธรรมราช&nbsp;ปราจีน&nbsp;พายัพ&nbsp;พิษณุโลก&nbsp;ภูเก็ต&nbsp;ราชบุรี&nbsp;กรุงเก่า (อยุธยา)&nbsp;อุดร แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรไทยแทนระบบมณฑลเทศาภิบาล[[#_ftn21|[21]]]


'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:45, 19 ธันวาคม 2560

ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


มณฑลเทศาภิบาล

1. ความหมายและความเป็นมา

          รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการปกครองประเทศโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การปฏิรูประยะแรก (พ.ศ. 2416-2417) ซึ่งเป็นช่วงแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และการปฏิรูประยะที่สอง (พ.ศ. 2435-2453) ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายหลังจากคนรุ่นเก่าที่มีอำนาจทางการเมืองและคัดค้านการปฏิรูปการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจที่พระมหากษัตริย์ตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถึงแก่พิราลัยเมื่อพ.ศ. 2425 และสมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ. 2428[1]

          ในการปฏิรูประยะที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดระบบการปกครองประเทศโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ 1) การปกครองส่วนกลาง (จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น 12 กระทรวง)  2) การปกครองส่วนหัวเมือง (จัดตั้งการปกครองแบบเทศาภิบาลแทนระบบกินเมือง)  3) การปกครองส่วนท้องถิ่น (จัดตั้งระบบการปกครองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง)[2]

การปกครองส่วนหัวเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำโดยการยกเลิกธรรมเนียมการจัดเมืองเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ตามความสำคัญของเมืองและระบบ “กินเมือง” ที่ให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนั้นหรือสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองคนก่อน ทำหน้าที่บริหารปกครองและเก็บภาษีอากรจากราษฎรในท้องถิ่นโดยส่งเงินภาษีที่เก็บได้ส่วนหนึ่งให้แก่รัฐบาลกลาง (ราชสำนัก) เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” ที่รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็น “มณฑล” โดยมีข้าราชการที่รัฐบาลกลาง (กรุงเทพฯ) แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลทำหน้าที่บริหารราชการภายในมณฑลนั้นๆ[3]

การวางรากฐานการปกครองแบบ “มณฑล” เริ่มขึ้นในปี 2417 เนื่องจากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างสยามกับชาติตะวันตกในบริเวณหัวเมืองตามชายแดนของสยามที่อยู่ติดกับอาณานิคมของตะวันตก เห็นได้จากข้อพิพาทระหว่างเจ้าเมืองเชียงใหม่กับคนพม่าในบังคับอังกฤษที่เข้ามาทำป่าไม้ในล้านนา (ภาคเหนือของสยาม) หรือข้อพิพาทระหว่างคนในบังคับของอังกฤษที่เข้ามาทำเหมืองแร่ในเมืองระนองและภูเก็ตกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองของสยาม ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งข้าหลวงไปประจำที่เมืองเชียงใหม่เพื่อทำหน้าที่ชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับคนในบังคับอังกฤษ ต่อมาในปี 2427 ทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปเป็นข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ นับเป็นการเริ่มต้นของการปกครองแบบเทศาภิบาล[4]

อย่างไรก็ตามการปกครองแบบ “มณฑล” ที่ริเริ่มขึ้นนี้ตั้งขึ้นอย่างรีบด่วนยังไม่มีการวางแผนการปกครองอย่างเป็นระบบ ดังเช่นระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จะตั้งขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองเมื่อพ.ศ. 2435 โดยการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล” จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศฉบับนี้คือให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  หลังจากนั้นอีก 3 ปีใน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116” และในเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ได้มีการประกาศใช้ “ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117” ส่งผลให้รัฐบาลมีอำนาจจัดการปกครองหัวเมืองได้อย่างเต็มรูปแบบ[5]

2. วัตถุประสงค์ของการตั้งมณฑลเทศาภิบาล

พระยาราชเสนา ข้าราชการซึ่งทำงานในกระทรวงมหาดไทยเป็นเวลานานได้กล่าวว่า การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล คือระบบการปกครองในลักษณะที่จัดให้ข้าราชการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางพระทัยไปทำหน้าที่แบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลางในการปกครองราษฎรในส่วนภูมิภาคให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข และบ้านเมืองมีความเจริญทั่วถึงกัน โดยข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล (สมุหเทศาภิบาล) มีฐานะรองจากเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแต่อยู่เหนือผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการทั้งหมดในพื้นที่ 2 จังหวัดหรือมากกว่านั้นที่รวมกันเข้าด้วยกันเป็น “มณฑล”  สำหรับอำนาจหน้าที่นั้น ข้าหลวงเทศาภิบาล (สมุหเทศาภิบาล) เป็นผู้บัญชาการและตรวจตราสถานการณ์บริหารราชการในเขตมณฑล รับข้อเสนอและความคิดเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วถ่ายทอดมายังรัฐบาลที่กรุงเทพฯ รวมทั้งรับคำสั่งจากกรุงเทพฯไปถ่ายทอดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในมณฑลนั้นๆ'[6]'

หรือกล่าวได้ว่าหน่วยราชการบริหารมณฑลเทศาภิบาล (ประกอบด้วยข้าหลวงเทศาภิบาลและข้าราชการชั้นรองอีกจำนวนหนึ่งที่รวมกันเรียกว่า “กองมณฑล”) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงรัฐบาลกลางกับหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคส่วนอื่นๆเข้าด้วยกัน[7]

3. มณฑลเทศาภิบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวข้างต้น เราอาจจำแนกมณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ๆได้แก่

  1. มณฑลที่ตั้งขึ้นในช่วงพ.ศ. 2417-2434

ในช่วงพ.ศ. 2417-2434 มีการตั้งมณฑลขึ้น 6 มณฑลได้แก่[8]

ชื่อมณฑล

เมืองในมณฑล

ข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลคนแรก

ที่ตั้งศูนย์บัญชาการมณฑล

ลาวเฉียง

(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลพายัพ”)

  1. นครเชียงใหม่
  2. นครลำปาง
  3. นครลำพูน
  4. นครน่าน
  5. แพร่
  6.  เถิน (ต่อมาในพ.ศ. 2448 ถูกยุบเป็นอำเภอเถิน ขึ้นกับนครลำปาง)

 

เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยันต์) ว่าที่สมุหกลาโหม

นครเชียงใหม่

ลาวพวน

(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลอุดร”)

  1. หนองคาย
  2. เชียงขวาง
  3. บริคันหนิคม
  4. โพนพิไส
  5. ไชยบุรี
  6. ท่าอุเทน
  7. นครพนม
  8. สกลนคร
  9. มุกดาหาร
  10. กมุทธาไสย
  11. หนองหาร
  12. ขอนแก่น
  13. คำเกิด
  14. คำมวน
  15. หล่มสัก

พระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม

เมืองหนองคาย

ลาวกาว

(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลอีสาน”)

  1. อุบลราชธานี
  2. นครจำปาศักดิ์
  3. ศรีสะเกษ
  4. สุรินทร์
  5. ร้อยเอ็ด
  6. มหาสารคาม
  7. กาฬสินธุ์

พระวงวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร

นครจำปาศักดิ์

เขมร

(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลบูรพา”)

  1. พระตะบอง
  2. เสียมราฐ
  3. ศรีโสภณ
  4. พนมศก

พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ)

ศรีโสภณ

ลาวกลาง

(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “มณฑลนครราชสีมา”)

  1. นครราชสีมา
  2. ชัยภูมิ
  3. บุรีรัมย์

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์

นครราชสีมา

ภูเก็ต

  1. ภูเก็ต
  2. กระบี่
  3. ตรัง
  4. ตะกั่วป่า
  5. พังงา
  6. ระนอง

พระยาทิพโกษา

(โต โชติกเสถียร)

ภูเก็ต

 

2.มณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นภายหลังการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการปฏิรูปการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2435 และตั้งสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จออกตรวจหัวเมืองโดยทรงเห็นถึงปัญหาของการบริหารราชการในหัวเมืองต่างๆซึ่งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ทำให้เสนาบดีไม่สามารถเดินทางไปตรวจงานด้วยตัวเองได้และการสั่งงานต่างๆไปยังหัวเมืองทำได้ช้า ติดขัดปัญหาหลายอย่าง สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลโดยให้มีเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ในมณฑลนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ[9]

ในพ.ศ. 2437 ได้มีการดำเนินการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลโดยปรับปรุงมณฑลที่มีอยู่เดิมและตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่รวม 4 มณฑลได้แก่[10]

ชื่อมณฑลเทศาภิบาล

เมืองในมณฑล

ข้าหลวงเทศาภิบาล

คนแรก

ที่ตั้งกองบัญชาการมณฑล

พิษณุโลก

  1. พิษณุโลก
  2. พิจิตร
  3. พิชัย
  4. สวรรคโลก
  5. สุโขทัย

พระยาศรีสุริยวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร)

พิษณุโลก

ปราจีน

  1. ปราจีนบุรี
  2. ฉะเชิงเทรา
  3. นครนายก
  4. พนมสารคาม

พลตรี พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต)

ปราจีนบุรี

ราชบุรี

  1. ราชบุรี
  2. กาญจนบุรี
  3. ปราณบุรี
  4. เพชรบุรี
  5. สมุทรสงคราม

พระยาสุรินทรฦาชัย (เทศ บุนนาค)

ราชบุรี

นครราชสีมา

(แก้ไขการปกครองจาก มณฑล มาเป็น “มณฑลเทศาภิบาล”)

  1. นครราชสีมา
  2. ชัยภูมิ
  3. บุรีรัมย์

พระยาประสิทธิศัลการ (สะอาด สิงหเสนี)

นครราชสีมา

 

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2438-2439 ได้มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ 5 มณฑลได้แก่[11]

ชื่อมณฑลเทศาภิบาล

เมืองในมณฑล

ข้าหลวงเทศาภิบาล

คนแรก

ที่ตั้งกองบัญชาการมณฑล

นครชัยศรี

  1. นครชัยศรี
  2. สมุทรสาคร
  3. สุพรรณบุรี

พระยามหาเทพ

(บุตร บุณยรัตพันธ์)

นครชัยศรี

นครสวรรค์

  1. นครสวรรค์
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. ตาก
  5. อุทัยธานี
  6. พยุหคีรี
  7. มโนรมย์
  8. สรรค์บุรี

พระยาดัสกรปลาส

(ทองอยู่ โรหิตเสถียร)

นครสวรรค์

กรุงเก่า

  1. กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
  2. พระพุทธบาท
  3. พรหมบุรี
  4. ลพบุรี
  5. สระบุรี
  6. สิงห์บุรี
  7. อ่างทอง
  8. อินทร์บุรี

พระเจ้าน้องยาเธอ

กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์

กรุงเก่า

นครศรีธรรมราช

  1. นครศรีธรรมราช
  2. พัทลุง
  3. สงขลา
  4. ปัตตานี
  5. หนองจิก
  6. ยะหริ่ง
  7. ยะลา
  8. รามันห์
  9. ระแงะ
  10. สายบุรี

พระยาสุขุมนัยวินิต

 (ปั้น สุขุม)

สงขลา

ชุมพร

  1. ชุมพร
  2. ไชยา
  3. หลังสวน
  4. กาญจนดิฐ

พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี

(คอซิมก๊อง ณ ระนอง)

ชุมพร

 

นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขระเบียบและลักษณะการปกครองมณฑลที่ตั้งขึ้นแล้วอีก 2 มณฑลให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลคือ มณฑลภูเก็ต และมณฑลบูรพา (ชื่อเดิมคือมณฑลเขมร) โดยกรณีของมณฑลบูรพาเมื่อเปลี่ยนเป็นมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรกคือ พันเอกพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ (ดั่น อมรานนท์)[12]

ถัดมาในช่วง พ.ศ. 2440-2449 ได้มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ 4 มณฑลได้แก่[13]

ชื่อมณฑลเทศาภิบาล

เมืองในมณฑล

ข้าหลวงเทศาภิบาล

คนแรก

ที่ตั้งกองบัญชาการมณฑล

ไทรบุรี

(หมายเหตุ- ในพ.ศ. 2451 สยามต้องยอมยกส่วนหนึ่งของมณฑลนี้คือ เมืองเคดะห์ และปะลิส ให้แก่อังกฤษเพื่อแลกกับการแก้ไขสนธิสัญญาการค้ากับอังกฤษและเพื่อกู้ยืมเงินจากอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้)

  1. เคดะห์ (ไทรบุรี)
  2. ปะลิส
  3. สตูล

เจ้าพระยาฤทธิสงครามภักดี (อับดุล ฮามิด)

ไทรบุรี

เพชรบูรณ์

(หมายเหตุ- เมื่อพ.ศ. 2447 มณฑลนี้ถูกยุบเนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าการตั้งมณฑลนี้มีแต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ต่อมาในปี 2450 ได้มีการตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าจำเป็นต่อการปกครอง)

  1. เพชรบูรณ์
  2. หล่มสัก

พระยาเพชรรัตนราชสงคราม

(เฟื่อง เฟื่องเพชร)

เพชรบูรณ์

จันทบุรี

  1. จันทบุรี
  2. ระยอง
  3. ตราด

พระยาวิชยาธิบดี

(แบน บุนนาค)

จันทบุรี

ปัตตานี

(หมายเหตุ- มณฑลนี้เกิดจากการแบ่งหัวเมืองออกมาจากมณฑลนครศรีธรรมราช)

  1. ปัตตานี
  2. ยะลา
  3. ยะหริ่ง
  4. ระแงะ
  5. รามห์มัน
  6. สายบุรี
  7. หนองจิก

พระยาเดชานุชิต

ปัตตานี

นอกจากมณฑลเทศาภิบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้ง 4 มณฑลนี้แล้ว ในช่วงพ.ศ. 2440-2449 ได้มีการแก้ไขระเบียบการปกครองมณฑลที่ตั้งขึ้นก่อนหน้าแล้วให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ (ชื่อเดิมคือมณฑลลาวเฉียง), มณฑลอีสาน (ชื่อเดิมคือมณฑลลาวกาว), มณฑลอุดร (ชื่อเดิมคือมณฑลลาวพวน)

4. มณฑลเทศาภิบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

          โดยภาพรวมแล้วกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสานต่อแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเคร่งครัด[14] หรือที่ เดวิด วัยอาจ นักวิชาการชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ราชอาณาจักรสยามเป็น “สยามใหม่” และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระองค์) เป็นผู้สถาปนาราชอาณาจักรสยามขึ้นเป็น “ชาติ”[15]

          ในส่วนของการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการปกครองส่วนท้องที่ในมณฑลต่างๆให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังปรากฏว่า เมื่อพ.ศ. 2456 ทรงแก้ไขปรับปรุงการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในระบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งปลัดมณฑลต้องแบกภาระหน้าที่ด้านการปกครองท้องที่ การดูแลค่าใช้จ่ายภายในมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑล โดยให้ปลัดมณฑลรับผิดชอบเฉพาะการปกครองท้องที่ ส่วนงานด้านดูแลค่าใช้จ่ายของปลัดมณฑลและดูแลรักษากองบัญชาการมณฑลให้เสมียนตรามณฑลซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทั่วไปของปลัดมณฑลและดูแลงานทั้ง 2 ด้านนี้  พร้อมกันนั้นยังทรงโปรดฯให้ลดความซ้ำซ้อนของข้าราชการที่บริหารมณฑลเทศาภิบาล โดยยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทยและตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่สมุหเทศาภิบาลพำนักอยู่[16]

          นอกจากนี้ในรัชสมัยนี้ได้มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 3 มณฑลได้แก่[17]

ชื่อมณฑลเทศาภิบาล

เมืองในมณฑล

ข้าหลวงเทศาภิบาล

คนแรก

ที่ตั้งกองบัญชาการมณฑล

1. มณฑลร้อยเอ็ด

(แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ. 2455)

  1. ร้อยเอ็ด
  2. มหาสารคาม
  3. กาฬสินธุ์

หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช

ร้อยเอ็ด

2. มณฑลอุบล

(แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ. 2455)

  1. อุบลราชธานี
  2. ขุขันธ์ (ศรีสะเกษ)
  3. สุรินทร์

พระยาชลบุรานุรักษ์

(เจริญ จารุจินดา)

อุบลราชธานี

3.  มหาราษฎร์

(แยกออกมาจากมณฑลพายัพเมื่อ พ.ศ. 2458)

  1. ลำปาง
  2. น่าน
  3. แพร่

 

ลำปาง

          อย่างไรก็ตามในรัชสมัยนี้ได้มีการยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไปจำนวนหนึ่งได้แก่มณฑลบูรพา ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจปกครองเมืองพระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อพ.ศ. 2449 และมณฑลไทรบุรี ซึ่งยกเลิกไปเมื่อสยามเสียอำนาจการปกครองเมืองไทรบุรี (เคดะห์), ตรังกานู ให้แก่อังกฤษเมื่อพ.ศ. 2450[18]

          ทั้งยังปรากฏว่าในพ.ศ. 2458 สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเนื่องจากทรงประชวรหนักและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำพระองค์ให้ทรงหยุดพักรักษาพระองค์[19] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปกระทรวงมหาดไทยและระบบเทศาภิบาลโดยแบ่งประเทศออกเป็นภาคและแต่งตั้งอุปราชประจำภาคขึ้นโดยให้สมุหเทศาภิบาลทำหน้าที่ของตนต่อไป แต่ในการบริหารราชการต้องปรึกษาหารือกับอุปราชประจำภาคก่อน รวมถึงทรงจัดหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นใหม่โดยโอนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยบางส่วนไปสังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม  ส่งผลให้การปกครองท้องถิ่นอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง ประกอบกับในช่วงพ.ศ. 2457-2461 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลให้เศรษฐกิจสยามตกต่ำอย่างมาก ในปี 2458 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุให้มีการยกเลิกตำแหน่งอุปราชประจำภาค พร้อมทั้งยุบมณฑลร้อยเอ็ด มหาราษฎร์ สุราษฎร์[20]

          ต่อมาในพ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลจันทบุรี นครชัยศรี นครสวรรค์ ปัตตานี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยภายหลังการปฏิวัติของคณะราษฎร (เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475) ผ่านไปราว 1 ปี ในพ.ศ. 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑลเทศาภิบาลที่เหลืออีก 9 แห่ง คือ มณฑลนครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปราจีน พายัพ พิษณุโลก ภูเก็ต ราชบุรี กรุงเก่า (อยุธยา) อุดร แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรไทยแทนระบบมณฑลเทศาภิบาล[21]

บรรณานุกรม

กัณฐิกา ศรีอุดม. “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: พระผู้ทรงสร้าง “จิตวิญญาณ” แห่งสยามรัฐ.” ใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. 9 แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ, หน้า 145-168. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยเกษตรศาสตร์, 2548.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2527.

เตช บุนนาค. “การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฏิวัติหรือวิวัฒนาการ.” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, หน้า 20-27. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524.

เตช บุนนาค.  การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458. ภรณี กาญจนัษฐิติ (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2 , กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

เทศาภิบาล พระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

ธิดา สาระยา. สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2540.

ปิยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา). “การปกครองระบอบเทศาภิบาล.” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ). มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, หน้า 6-19. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524.

วัยอาจ, เดวิด เค. ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.

อรวรรณ ใจกล้า. “การปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดร.” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ). มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, หน้า 150-202. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524.

 

หนังสือแนะนำ

วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ).  มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524.

 

อ้างอิง

[1] ปิยนาถ บุนนาค, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516), กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 59-61; ดูรายละเอียดเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเชื้อพระวงศ์และขุนนาง “รุ่นเก่า” ได้ใน เดวิด เค. วัยอาจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556, หน้า 325-333; ธิดา สาระยา, สยามมินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2540, หน้า 64-87.

[2] ปิยนาถ บุนนาค, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516), หน้า 69-73.

[3] สรุปจาก ปิยนาถ บุนนาค, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516), หน้า 72-73; เตช บุนนาค, “การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฏิวัติหรือวิวัฒนาการ,” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524, หน้า 20-23.

[4] โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยเกษตรศาสตร์, 2548, หน้า 40-41.

[5] สรุปจาก เตช บุนนาค, “การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฏิวัติหรือวิวัฒนาการ,” หน้า 22; เตช บุนนาค, การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458, ภรณี กาญจนัษฐิติ (แปล), พิมพ์ครั้งที่ 2 , กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 146-148; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 , กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2527, หน้า 170-171.

[6] พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, หน้า 6-7.

[7] จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 167-168.

[8] เรียบเรียงจาก พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 12-13; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 169-170; อรวรรณ ใจกล้า, “การปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดร,” ใน วุฒิชัย มูลศิลป์ และสมโชติ อ๋องสกุล (บรรณาธิการ), มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ, หน้า 150.

[9] เทศาภิบาล พระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, กรุงเทพฯ: มติชน, 2545, หน้า 67-69.

[10] เรียบเรียงจาก พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 13-14; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 172,549.

[11] เรียบเรียงจาก พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 14-15; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 172, 549-551.

[12] พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 14-15; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 172, 550-551.

[13] เรียบเรียงจาก เตช บุนนาค, การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458, หน้า 168-200; พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 15-17; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 172-173

[14] กัณฐิกา ศรีอุดม, “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: พระผู้ทรงสร้าง “จิตวิญญาณ” แห่งสยามรัฐ,” ใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ, 9 แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556, หน้า 145.

[15] เดวิด เค. วัยอาจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556, หน้า 392.

[16] เตช บุนนาค, การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458, หน้า 217.

[17] เรียบเรียงจาก พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา), “การปกครองระบอบเทศาภิบาล,” หน้า 18-19; จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 173, 553.

[18] เทศาภิบาล พระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 224. (ข้อความส่วนที่อ้างเป็นข้อเขียนที่ พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) แต่งต่อจากที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ค้างไว้)

[19] จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกระทรวงมหาดไทย, หน้า 497.

[20] เรียบเรียงจาก เตช บุนนาค, การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458, หน้า 293-302; เทศาภิบาล พระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 224-225.

[21] เทศาภิบาล พระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 224-225.