ผลต่างระหว่างรุ่นของ "29 เมษายน พ.ศ. 2531"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
ความเป็นมาก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 มีว่าหลังจาก[[การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2529]] [[พรรคการเมือง]]ที่ลงสู่[[สนามเลือกตั้ง]]ได้เสียงมาแต่ละพรรคไม่มากพอที่จะตั้ง[[รัฐบาลพรรคเดียว]] ครั้นจะให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นแกนจัดตั้ง[[รัฐบาล]]และได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป พรรคการเมืองอื่น ๆ ก็ไม่เต็มใจรับ ประกอบกับผู้นำทหารบางคนก็เข้ามาจัดการที่จะหาคนกลางคือไม่สังกัดพรรคการเมืองใดมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ผลจึงทำให้พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้เสนอชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกต่อ[[ประธานวุฒิสภา]] ซึ่งเป็น[[ประธานรัฐสภา]]ตามกติกาที่เป็นอยู่ในตอนนั้น
ความเป็นมาก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 มีว่าหลังจาก[[การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2529]] [[พรรคการเมือง]]ที่ลงสู่[[สนามเลือกตั้ง]]ได้เสียงมาแต่ละพรรคไม่มากพอที่จะตั้ง[[รัฐบาลพรรคเดียว]] ครั้นจะให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นแกนจัดตั้ง[[รัฐบาล]]และได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป พรรคการเมืองอื่น ๆ ก็ไม่เต็มใจรับ ประกอบกับผู้นำทหารบางคนก็เข้ามาจัดการที่จะหาคนกลางคือไม่สังกัดพรรคการเมืองใดมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ผลจึงทำให้พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้เสนอชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกต่อ[[ประธานวุฒิสภา]] ซึ่งเป็น[[ประธานรัฐสภา]]ตามกติกาที่เป็นอยู่ในตอนนั้น


ครั้นพอนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาล แบ่งจำนวนตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]]ไปให้พรรคการเมืองต่าง  ๆ เสร็จ บริหารประเทศไปได้ไม่นานก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นใน[[พรรคประชาธิปัตย์]]ที่เป็น[[พรรคร่วมรัฐบาล]] เพราะว่าการหารือนั้นนายกรัฐมนตรีก็ทำกันกับ[[หัวหน้าพรรคการเมือง]]เท่านั้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากเป็นตำแหน่งรัฐมนตรีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ทำให้มีกลุ่มขึ้นมาในพรรคนี้เรียกว่า “[[กลุ่ม 10 มกรา]]” ทั้งนี้เป็นชื่อที่ได้มาในวันและเดือนที่มีการรวมตัวกันแสดงเจตนาคัดค้านผู้นำพรรคและค้านมติบางอย่างของพรรค
ครั้นพอนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาล แบ่งจำนวนตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]]ไปให้พรรคการเมืองต่าง  ๆ เสร็จ บริหารประเทศไปได้ไม่นานก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นใน[[พรรคประชาธิปัตย์]]ที่เป็น[[พรรคร่วมรัฐบาล]] เพราะว่าการหารือนั้นนายกรัฐมนตรีก็ทำกันกับ[[หัวหน้าพรรคการเมือง]]เท่านั้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากแบ่งปันตำแหน่งรัฐมนตรีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ทำให้มีกลุ่มขึ้นมาในพรรคนี้เรียกว่า “[[กลุ่ม 10 มกรา]]” ทั้งนี้เป็นชื่อที่ได้มาในวันและเดือนที่มีการรวมตัวกันแสดงเจตนาคัดค้านผู้นำพรรคและค้านมติบางอย่างของพรรค


[[การขัดแย้ง]]ภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้ลามมาถึงรัฐบาลในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นวันที่[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และรัฐบาลชนะ แต่เป็นการชนะที่มีเสียงสนับสนุน 183 เสียงต่อ 134 เสียง และในเสียงที่ค้าน 134 เสียงนี้มีเสียงของสมาชิกสภาที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วยถึง 32 เสียง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นของพวก “กลุ่ม 10 มกรา” ในภาวะเช่นนี้ ทางผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยให้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดจำนวน 16  คน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้นทันที
[[การขัดแย้ง]]ภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้ลามมาถึงรัฐบาลในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นวันที่[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และรัฐบาลชนะ แต่เป็นการชนะที่มีเสียงสนับสนุน 183 เสียงต่อ 134 เสียง และในเสียงที่ค้าน 134 เสียงนี้มีเสียงของสมาชิกสภาที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วยถึง 32 เสียง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นของพวก “กลุ่ม 10 มกรา” ในภาวะเช่นนี้ ทางผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยให้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดจำนวน 16  คน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้นทันที

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 22 ตุลาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นวันที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฏร เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปกันใหม่ นับเป็นครั้งที่ 3 ในชีวิตการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลอยู่อย่างต่อเนื่องกันนานถึง 8 ปี ถือว่าได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ยุบสภามากที่สุดตั้งแต่มีนายกรัฐมนตรีมา

ความเป็นมาก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 มีว่าหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พรรคการเมืองที่ลงสู่สนามเลือกตั้งได้เสียงมาแต่ละพรรคไม่มากพอที่จะตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ครั้นจะให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลและได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป พรรคการเมืองอื่น ๆ ก็ไม่เต็มใจรับ ประกอบกับผู้นำทหารบางคนก็เข้ามาจัดการที่จะหาคนกลางคือไม่สังกัดพรรคการเมืองใดมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล ผลจึงทำให้พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้เสนอชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกต่อประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นประธานรัฐสภาตามกติกาที่เป็นอยู่ในตอนนั้น

ครั้นพอนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาล แบ่งจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรีไปให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เสร็จ บริหารประเทศไปได้ไม่นานก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะว่าการหารือนั้นนายกรัฐมนตรีก็ทำกันกับหัวหน้าพรรคการเมืองเท่านั้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากแบ่งปันตำแหน่งรัฐมนตรีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ทำให้มีกลุ่มขึ้นมาในพรรคนี้เรียกว่า “กลุ่ม 10 มกรา” ทั้งนี้เป็นชื่อที่ได้มาในวันและเดือนที่มีการรวมตัวกันแสดงเจตนาคัดค้านผู้นำพรรคและค้านมติบางอย่างของพรรค

การขัดแย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้ลามมาถึงรัฐบาลในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นวันที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และรัฐบาลชนะ แต่เป็นการชนะที่มีเสียงสนับสนุน 183 เสียงต่อ 134 เสียง และในเสียงที่ค้าน 134 เสียงนี้มีเสียงของสมาชิกสภาที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วยถึง 32 เสียง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นของพวก “กลุ่ม 10 มกรา” ในภาวะเช่นนี้ ทางผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยให้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดจำนวน 16 คน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้นทันที

ด้วยเหตุนี้โดยแท้ นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้เลือกการยุบสภาเป็นทางออกของปัญหาการเมืองนี้มากกว่าการปรับคณะรัฐมนตรีหรือการลาออกของรัฐบาล ดังมีความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาว่า

“ปรากฏว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ หลายพรรคไม่สามารถจะดำเนินการในระบบพรรคการเมืองได้อย่างมีเอกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนฯ ในสังกัดพรรคการเมืองยังไม่ยอมรับรู้ความคิดเห็นหรือมติของสมาชิกฝ่ายข้างมากในพรรคของตน อันเป็นการขัดต่อวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก”

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ก็ตามมาคือการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 อันเป็นการเลือกตั้งที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้ลงเลือกตั้งด้วย และภายหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้จะมีการมองไปที่ท่านว่าจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก แต่ท่านเองได้เป็นผู้ประกาศวางมือจากตำแหน่งทางการเมือง ปล่อยให้พรรคการเมืองไปจัดการกันเอง