ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชามติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 8 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์
'''ผู้เรียบเรียง''' ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์
----


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 7:
----
----


ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชน ดังนั้น การจะดำเนินการใด ๆ ของรัฐต้องถือเอาตามมติของเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงประชามติเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดทำนองคลองธรรม
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ [[อำนาจอธิปไตย]]ที่เป็นของปวงชน ดังนั้น การจะดำเนินการใด ๆ ของรัฐต้องถือเอาตามมติของเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงประชามติเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดทำนองคลองธรรม


==ความหมายของประชามติ==
==ความหมายของประชามติ==


ประชามตินั้น ตามความหมายภาษาอังกฤษมีใช้อยู่ 2 คำ คือ Plebiscite กับReferendum โดยในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาของราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า Plebiscite คือ การออกเสียงประชามติเป็นการออกเสียงลงมติโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม โดยเฉพาะปัญหาการแยกรัฐหรือแยกออกจากสังกัดทางการเมือง ประชาชนที่เกี่ยวข้องอาจจะได้รับสิทธิให้ออกเสียงลงมติว่า จะยังคงสังกัดอยู่กับรัฐเดิม แยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระใหม่ หรือเข้ารวมกับรัฐอื่น ส่วนคำว่า Referendum นั้น ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา มิได้บัญญัติศัพท์ไว้ คงใช้กับศัพท์ว่า เรเฟอเรนดัม มีความหมายคือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนในปัญหาที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว
ประชามตินั้น ตามความหมายภาษาอังกฤษมีใช้อยู่ 2 คำ คือ Plebiscite กับReferendum โดยในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาของราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า Plebiscite คือ การออกเสียงประชามติเป็นการออกเสียงลงมติโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม โดยเฉพาะปัญหาการแยกรัฐหรือแยกออกจากสังกัดทางการเมือง ประชาชนที่เกี่ยวข้องอาจจะได้รับสิทธิให้ออกเสียงลงมติว่า จะยังคงสังกัดอยู่กับรัฐเดิม แยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระใหม่ หรือเข้ารวมกับรัฐอื่น ส่วนคำว่า Referendum นั้น ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา มิได้บัญญัติศัพท์ไว้ คงใช้กับศัพท์ว่า เรเฟอเรนดัม มีความหมายคือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนในปัญหาที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย และ[[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]]ที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว


ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ <ref>จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)</ref>
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิ[[ออกเสียงลงคะแนน]]รับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ <ref>จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)</ref>


สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''“การออกเสียงประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>
สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]] นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''“การออกเสียงประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>


คำว่าการออกเสียงประชามติ หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) แทนประชาชน
คำว่า[[การออกเสียงประชามติ]] หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร ([[คณะรัฐมนตรี]]) แทนประชาชน


อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือการเลือกตั้งเท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือ[[พรรคการเมือง]]ที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]]จะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือ[[การเลือกตั้ง]]เท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นใน[[การเลือกตั้ง]]ครั้งต่อไป


การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้ความหมายของการออกเสียงประชามติว่า คือกระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วยการลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติหรือการตัดสินใจนั้นออกเป็นกฎหมาย หรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป ซึ่งการออกเสียงประชามติเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบโดยตรงที่ให้ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองได้ ถือเป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจองค์กรหรือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนมิให้ดำเนินการใด ๆ โดยมิได้ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน<ref>สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>
สำนักงาน[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] ได้ให้ความหมายของการออกเสียงประชามติว่า คือกระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วยการลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติหรือการตัดสินใจนั้นออกเป็นกฎหมาย หรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป ซึ่งการออกเสียงประชามติเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบโดยตรงที่ให้ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองได้ ถือเป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจองค์กรหรือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนมิให้ดำเนินการใด ๆ โดยมิได้ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน<ref>สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''“ประชามติ”.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>


โดยการออกเสียงประชามติต่างจากประชาพิจารณ์ตรงที่การออกเสียงประชามติจะต้องมีการลงคะแนนออกเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์เป็นเพียงการรับฟังความเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ
โดยการออกเสียงประชามติต่างจากประชาพิจารณ์ตรงที่การออกเสียงประชามติจะต้องมีการลงคะแนนออกเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์เป็นเพียงการรับฟังความเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ
บรรทัดที่ 27: บรรทัดที่ 29:
==หลักสำคัญของการออกเสียงประชามติ==
==หลักสำคัญของการออกเสียงประชามติ==


- เรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล
- เรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล


- ข้อความที่จะขอความเห็นต้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ได้
- ข้อความที่จะขอความเห็นต้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ได้
บรรทัดที่ 49: บรรทัดที่ 51:
==การออกเสียงประชามติของประเทศไทย==
==การออกเสียงประชามติของประเทศไทย==


การออกเสียงประชามติของประเทศไทย ได้เคยมีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ในมาตรา 174 ที่กำหนดว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หาก[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้ และไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 เท่านั้น ที่ได้บัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาถึง 4 ฉบับ (ไม่นับรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549) ได้แก่ ฉบับ พ.ศ. 2511 มาตรา 170 ที่กำหนดให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงประชามติได้ หากพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าถวายกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ โดยให้ยึดถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ สำหรับฉบับ พ.ศ. 2517 มาตรา 229 ก็ได้มีการกำหนดการออกเสียงประชามติคล้ายกับฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2511 คือ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้นกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน เห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัยด้วยการออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ส่วน ฉบับ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 นั้น มิได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริให้ประชาชนทำการออกเสียงประชามติ กรณีที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีผลกระทบถึงประโยชน์ของประเทศ แต่ได้กำหนดในมาตรา 211 ปัณรสว่า กรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าจะเห็นชอบหรือไม่ โดยยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และฉบับ พ.ศ. 2540 ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ กล่าวคือ นอกจากจะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังกำหนดให้เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีเห็ฯว่ามีความสำคัญ และอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชนอีกด้วย<ref>สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''“การออกเสียงประชามติของประเทศไทย”.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>
การออกเสียงประชามติของประเทศไทย ได้เคยมีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ในมาตรา 174 ที่กำหนดว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หาก[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้ และไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 เท่านั้น ที่ได้บัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาถึง 4 ฉบับ (ไม่นับรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549) ได้แก่ ฉบับ พ.ศ. 2511 มาตรา 170 ที่กำหนดให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงประชามติได้ หากพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าถวายกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ โดยให้ยึดถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ สำหรับฉบับ พ.ศ. 2517 มาตรา 229 ก็ได้มีการกำหนดการออกเสียงประชามติคล้ายกับฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2511 คือ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้นกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน เห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัยด้วยการออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ส่วน ฉบับ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 นั้น มิได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริให้ประชาชนทำการออกเสียงประชามติ กรณีที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีผลกระทบถึงประโยชน์ของประเทศ แต่ได้กำหนดในมาตรา 211 ปัณรสว่า กรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าจะเห็นชอบหรือไม่ โดยยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และฉบับ พ.ศ. 2540 ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจาก[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับก่อน ๆ กล่าวคือ นอกจากจะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังกำหนดให้เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่[[คณะรัฐมนตรี]]เห็นว่ามีความสำคัญ และอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชนอีกด้วย<ref>สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''“การออกเสียงประชามติของประเทศไทย”.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)</ref>


บรรทัดที่ 67: บรรทัดที่ 69:
|ม. 174-176
|ม. 174-176
|ให้ความเห็นชอบหรือไม่
|ให้ความเห็นชอบหรือไม่
|ภายใน 90 วัน
|ภายใน 90 วัน
|เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
|เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
|-
|-
บรรทัดที่ 73: บรรทัดที่ 75:
|ม. 170-172
|ม. 170-172
|เห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติม
|เห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติม
|นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกา<br>ให้มีการออกเสียง
|นับแต่วันที่มี[[พระราชกฤษฎีกา]]<br>ให้มีการออกเสียง
|เสียงข้างมากเป็นประมาณ
|เสียงข้างมากเป็นประมาณ
|-
|-
บรรทัดที่ 79: บรรทัดที่ 81:
|ม. 229-231
|ม. 229-231
|รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ ทรงเห็นว่าอาจกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญ<br>ของประเทศชาติและประชาชน
|รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ ทรงเห็นว่าอาจกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญ<br>ของประเทศชาติและประชาชน
| -    
| -  
|เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
|เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
|-
|-
บรรทัดที่ 101: บรรทัดที่ 103:
|}
|}


อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับจะมีบทบัญญัติรับรอง เรื่อง การออกเสียงประชามติไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ออกมารองรับในการจัดทำออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งผลการออกเสียงประชามติทั่วประเทศ มีผู้เห็นชอบร้อยละ 57.81 และไม่เห็นชอบร้อยละ 42.19 ภายหลังที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ ดังปรากฏในมาตรา 165 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับจะมีบทบัญญัติรับรอง เรื่อง การออกเสียงประชามติไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย และมี[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550]] และ[[พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550]] ออกมารองรับในการจัดทำออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งผลการออกเสียงประชามติทั่วประเทศ มีผู้เห็นชอบร้อยละ 57.81 และไม่เห็นชอบร้อยละ 42.19 ภายหลังที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ ดังปรากฏในมาตรา 165 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษา[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]และ[[ประธานวุฒิสภา]] เพื่อประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
บรรทัดที่ 109: บรรทัดที่ 111:
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==


แพทริค บอยเออร์, (2540) '''“การลงประชามติในประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ”.''' กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
แพทริค บอยเออร์, (2540) '''“การลงประชามติในประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ”.''' กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.


นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2538) '''“ระบบการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2538) '''“ระบบการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2551) '''“กระบวนการ ขั้นตอนการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2551) '''“กระบวนการ ขั้นตอนการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.


วราพร ธนาศรีมงคลกุล, (2550) '''“ผลผูกพันของการออกเสียงประชามติ”.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วราพร ธนาศรีมงคลกุล, (2550) '''“ผลผูกพันของการออกเสียงประชามติ”.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


สุมาลี อึ้งตระกูลไทย, (2533) '''“กระบวนการรับฟังทางมหาชน”.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมาลี อึ้งตระกูลไทย, (2533) '''“กระบวนการรับฟังทางมหาชน”.''' วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (2550) '''“ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักกิจการพรรคเมืองและการออกเสียงประชามติ.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (2550) '''“ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ”.''' กรุงเทพฯ : สำนักกิจการพรรคเมืองและการออกเสียงประชามติ.
บรรทัดที่ 125: บรรทัดที่ 127:
==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==


จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''ประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)
จำนงค์ ทองประเสริฐ. '''ประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)


วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''การออกเสียงประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''การออกเสียงประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''ประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''ประชามติ.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
บรรทัดที่ 133: บรรทัดที่ 135:
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''การออกเสียงประชามติของประเทศไทย.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. '''การออกเสียงประชามติของประเทศไทย.''' ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]
----
{|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%"
! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left;  padding-left: 7px;  -moz-border-radius:7px"  |[[หน้าหลัก]]
|}
 
[[หมวดหมู่:กฏหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:41, 19 สิงหาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือหลักสำคัญประการหนึ่งว่า เป็นหลักปกครองโดยเสียงข้างมาก และเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย เนื่องจากในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นมีสมาชิกจำนวนมาก ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนจะมีความเห็นพ้องหรือมีเจตนารมณ์อย่างเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด รัฐจะใช้อำนาจตัดสินใจเพียงลำพัง โดยที่ขาดการรับฟังเสียงจากประชาชนมิได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงคือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชน ดังนั้น การจะดำเนินการใด ๆ ของรัฐต้องถือเอาตามมติของเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงประชามติเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ข่มเหงอย่างผิดทำนองคลองธรรม

ความหมายของประชามติ

ประชามตินั้น ตามความหมายภาษาอังกฤษมีใช้อยู่ 2 คำ คือ Plebiscite กับReferendum โดยในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาของราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า Plebiscite คือ การออกเสียงประชามติเป็นการออกเสียงลงมติโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม โดยเฉพาะปัญหาการแยกรัฐหรือแยกออกจากสังกัดทางการเมือง ประชาชนที่เกี่ยวข้องอาจจะได้รับสิทธิให้ออกเสียงลงมติว่า จะยังคงสังกัดอยู่กับรัฐเดิม แยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระใหม่ หรือเข้ารวมกับรัฐอื่น ส่วนคำว่า Referendum นั้น ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา มิได้บัญญัติศัพท์ไว้ คงใช้กับศัพท์ว่า เรเฟอเรนดัม มีความหมายคือ การให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนในปัญหาที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว

ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เห็นว่า Plebiscite และ Referendum สามารถให้ศัพท์เป็นคำไทยว่า ประชามติ ได้ทั้ง 2 คำ โดยมีความหมายคือ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ [1]

สำหรับในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของการประชามติว่า เป็นการนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน[2]

คำว่าการออกเสียงประชามติ หรือ Referendum มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “adreferendum” มีความหมายว่า “การนำมาให้สัตยาบัน” (หรือการนำมาให้รับรอง) สำหรับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากประชาชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มติของคนในสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เดิมประชาชนในรัฐมีจำนวนไม่มาก จึงสามารถใช้อำนาจออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองได้โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและมีประชากรมากขึ้น หากต่างคนต่างใช้อำนาจก็ย่อมทำให้เกิดความวุ่นวาย ต่อมาจึงจัดให้มีระบบผู้แทนราษฎรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่รับความคิดเห็นมาจากประชาชน ออกเสียงแทนประชาชนในเรื่องต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (จัดทำกฎหมาย) และอำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) แทนประชาชน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในทางสังคมวิทยาแล้ว สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองที่สังกัดก็ดี อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือแก่พรรคซึ่งทำให้การใช้อำนาจเหล่านั้นไม่ตรงกับเจตนาของประชาชนส่วนใหญ่ หรือแม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีเจตนาบริสุทธิ์ ประชาชนมีส่วนในการเป็นเจ้าของประเทศ มีผลได้ผลเสียด้วย จึงมีวิธีการที่หลากหลายในการตรวจสอบการใช้อำนาจ วิธีตรวจสอบเดิมคือการเลือกตั้งเท่านั้น โดยหากประชาชนเห็นว่าผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพหรือปฏิบัติตัวไม่ดี ก็ไม่เลือกผู้แทนคนนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่นำมาเสริมทฤษฎีตัวแทนของประชาชน โดยให้สิทธิแก่ประชาชนในการตัดสินใจต่อกิจการหรืองานใด ๆ สนับสนุนหลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากการให้สิทธิประชาชนออกเสียงประชามติในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว บางประเทศยังเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องอื่น ๆ เช่น ร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญหรือกิจการอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้ความหมายของการออกเสียงประชามติว่า คือกระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วยการลงคะแนนออกเสียงเพื่อตัดสินใจว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ก่อนที่จะนำมติหรือการตัดสินใจนั้นออกเป็นกฎหมาย หรือนำไปปฏิบัติเพื่อบังคับใช้เป็นการทั่วไป ซึ่งการออกเสียงประชามติเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบโดยตรงที่ให้ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองได้ ถือเป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจองค์กรหรือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชนมิให้ดำเนินการใด ๆ โดยมิได้ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชน[3]

โดยการออกเสียงประชามติต่างจากประชาพิจารณ์ตรงที่การออกเสียงประชามติจะต้องมีการลงคะแนนออกเสียงเพื่อหามติของประชาชนในเรื่องสำคัญนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์เป็นเพียงการรับฟังความเห็นของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ

หลักสำคัญของการออกเสียงประชามติ

- เรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล

- ข้อความที่จะขอความเห็นต้องชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถตัดสินใจว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ได้

- ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

- ต้องจัดให้มีการลงคะแนนออกเสียงประชามติโดยอิสระ

- ต้องนำผลการออกเสียงประชามติไปดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนผู้มาออกเสียงประชามติ

ประเภทของการออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1. การออกเสียงประชามติแบบบังคับ หมายถึง การออกเสียงประชามติที่เขียนบังคับไว้ในกฎหมายว่า ก่อนการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบจากประชาชนก่อน โดยหากเสียงข้างมากให้ความเห็นชอบจึงจะสามารถดำเนินการในเรื่องนั้นได้

2. การออกเสียงประชามติแบบทางเลือก หมายถึง การออกเสียงประชามติที่มีบัญญัติเขียนไว้ว่าในกรณีที่เห็นสมควร รัฐหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการหรืออาจเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถ เข้าชื่อเพื่อขอให้จัดทำประชามติในเรื่องที่เห็นว่ามีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

นอกจากแบ่งประเภทของการออกเสียงประชามติเป็นแบบ “บังคับ” และแบบ “ทางเลือก” แล้วยังสามารถแบ่งตามระดับหรือพื้นที่ในการออกเสียงประชามติได้หลายลักษณะ เช่น การออกเสียงประชามติระดับชาติ ระดับมลรัฐ หรือระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะจัดทำประชามติว่ามีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด รวมทั้งได้มีบทบัญญัติเขียนรับรองสำหรับการจัดทำประชามติในระดับนั้น ๆ หรือไม่

การออกเสียงประชามติของประเทศไทย

การออกเสียงประชามติของประเทศไทย ได้เคยมีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ในมาตรา 174 ที่กำหนดว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศชาติหรือประชาชน อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้ และไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 เท่านั้น ที่ได้บัญญัติเรื่องการออกเสียงประชามติไว้ แต่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาถึง 4 ฉบับ (ไม่นับรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549) ได้แก่ ฉบับ พ.ศ. 2511 มาตรา 170 ที่กำหนดให้ประชาชนทั่วประเทศออกเสียงประชามติได้ หากพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่นำขึ้นทูลเกล้าถวายกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศ โดยให้ยึดถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ สำหรับฉบับ พ.ศ. 2517 มาตรา 229 ก็ได้มีการกำหนดการออกเสียงประชามติคล้ายกับฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2511 คือ ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงพระราชดำริเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญนั้นกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน เห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัยด้วยการออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญนั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ส่วน ฉบับ พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 นั้น มิได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริให้ประชาชนทำการออกเสียงประชามติ กรณีที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีผลกระทบถึงประโยชน์ของประเทศ แต่ได้กำหนดในมาตรา 211 ปัณรสว่า กรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่าจะเห็นชอบหรือไม่ โดยยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และฉบับ พ.ศ. 2540 ซึ่งจะมีรายละเอียดที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ กล่าวคือ นอกจากจะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังกำหนดให้เรื่องที่จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีความสำคัญ และอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชนอีกด้วย[4]


ตารางเปรียบเทียบบทบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญฉบับ.. พ.ศ. …. มาตรา เหตุในการจัดทำประชามติ กำหนดวันออกเสียง การตัดสินผลการออกเสียง
พ.ศ. 2492 ม. 174-176 ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ภายใน 90 วัน เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
พ.ศ. 2511 ม. 170-172 เห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติม นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการออกเสียง
เสียงข้างมากเป็นประมาณ
พ.ศ. 2517 ม. 229-231 รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ ทรงเห็นว่าอาจกระทบต่อประโยชน์ได้เสียสำคัญ
ของประเทศชาติและประชาชน
- เสียงข้างมากของที่มาการออกเสียง
พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ม. 211 ปัณรส โสฬส ให้ความเห็นหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างฯ เสนอต่อรัฐสภาและได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ไม่ก่อน 90 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ประธานรัฐสภาประกาศให้มีการออกเสียง เสียงข้างมากของที่มาออกเสียง และผู้มาใช้สิทธิออกเสียงต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ
พ.ศ. 2540 ม. 214 ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องสำคัญที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียงของประเทศชาติหรือประชาชน ไม่ก่อน 90 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียง - เสียงข้างมากของผู้ทีมาออกเสียงและผู้มาใช้สิทธิออกเสียงต้องไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ
- การออกเสียงมีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
พ.ศ. 2549 ม. 29, ม. 31 และ ม. 32 ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น ไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ - เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับจะมีบทบัญญัติรับรอง เรื่อง การออกเสียงประชามติไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ออกมารองรับในการจัดทำออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งผลการออกเสียงประชามติทั่วประเทศ มีผู้เห็นชอบร้อยละ 57.81 และไม่เห็นชอบร้อยละ 42.19 ภายหลังที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ ดังปรากฏในมาตรา 165 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

อ้างอิง

  1. จำนงค์ ทองประเสริฐ. “ประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)
  2. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “การออกเสียงประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
  3. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. “ประชามติ”. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)
  4. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. “การออกเสียงประชามติของประเทศไทย”. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

แพทริค บอยเออร์, (2540) “การลงประชามติในประเทศแคนาดาและประเทศอื่น ๆ”. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2538) “ระบบการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นันทวัฒน์ บรมานันท์, (2551) “กระบวนการ ขั้นตอนการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

วราพร ธนาศรีมงคลกุล, (2550) “ผลผูกพันของการออกเสียงประชามติ”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมาลี อึ้งตระกูลไทย, (2533) “กระบวนการรับฟังทางมหาชน”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, (2550) “ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักกิจการพรรคเมืองและการออกเสียงประชามติ.

สำนักประชาสัมพันธ์, (2550) “5 นาที กับการทำความเข้าใจในการออกเสียงประชามติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บรรณานุกรม

จำนงค์ ทองประเสริฐ. ประชามติ. ระบบออนไลน์ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223 (สืบค้น ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2552)

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การออกเสียงประชามติ. ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4&oldid=1938856 (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ประชามติ. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/newweb/th/referendum/ (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. การออกเสียงประชามติของประเทศไทย. ระบบออนไลน์ http://www.ect.go.th/thai/download50/ref.pdf (สืบค้น ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552)


หน้าหลัก