ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัคร สุนทรเวช"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' พุทธชาติ ทองเอม
'''ผู้เรียบเรียง''' พุทธชาติ ทองเอม
----


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง  
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 9:
[[ภาพ:สมัคร_สุนทรเวช.JPG]]
[[ภาพ:สมัคร_สุนทรเวช.JPG]]


นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เป็นนักการเมืองที่คร่ำหวอดทางการเมือง มีเสียงพูด และลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เป็นผู้มีทักษะด้านการพูดเป็นอย่างดี สามารถอธิบายเรื่องเข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย มีลีลาการพูดที่เร้าใจ โต้ตอบอย่างมีไหวพริบปฏิภาณ เป็นนักการเมืองที่ปากกับใจตรงกัน กล้าที่จะพูดความจริงและต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องทุกรูปแบบ เป็นนักการเมืองฝีปากกล้า ฉายาแมวเก้าชีวิต <ref>ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัวดิ์. '''สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25.''' กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 80.</ref>, <ref>'''ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.vcharkarn.com/varticle/39939 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>  
นายสมัคร สุนทรเวช [[นายกรัฐมนตรี]]ของประเทศไทย คนที่ 25 และ[[รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตหัวหน้า[[พรรคพลังประชาชน]] อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ก่อตั้ง[[พรรคประชากรไทย]] เป็น[[นักการเมือง]]ที่คร่ำหวอดทางการเมือง มีเสียงพูด และลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เป็นผู้มีทักษะด้านการพูดเป็นอย่างดี สามารถอธิบายเรื่องเข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย มีลีลาการพูดที่เร้าใจ โต้ตอบอย่างมีไหวพริบปฏิภาณ เป็นนักการเมืองที่ปากกับใจตรงกัน กล้าที่จะพูดความจริงและต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องทุกรูปแบบ เป็นนักการเมืองฝีปากกล้า ฉายาแมวเก้าชีวิต <ref>ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัวดิ์. '''สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25.''' กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 80.</ref>, <ref>'''ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.vcharkarn.com/varticle/39939 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>  




บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 16:
นายสมัคร สุนทรเวช เกิดวันที่ 13 มิถุนายน 2478 ที่บ้านหน้าวังบางขุนพรม ถนนสามเสนกรุงเทพมหานคร<ref>'''ชีวประวัติบุคคลสำคัญ นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก)http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03535.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
นายสมัคร สุนทรเวช เกิดวันที่ 13 มิถุนายน 2478 ที่บ้านหน้าวังบางขุนพรม ถนนสามเสนกรุงเทพมหานคร<ref>'''ชีวประวัติบุคคลสำคัญ นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก)http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03535.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>


นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรของเสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล “สุนทรเวช” และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้องๆของท่าน ) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรของเสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล “สุนทรเวช” และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้อง ๆ ของท่าน ) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก


นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 50:
- Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryanmt&Stration Institute ชิคาโก สหรัฐอเมริกา  
- Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryanmt&Stration Institute ชิคาโก สหรัฐอเมริกา  


'''สถานภาพ'''<ref>กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 '''อดีตนายกฯ “สมัคร สุนทรเวชถึงแก่อนิจกรรม”.''' http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091124/87929/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม “นาคน้อย”) เมื่อปี 2511 มีบุตรี ฝาแฝด 2 คน คือ กานดาภาและกาญจนากร  
'''สถานภาพ'''<ref>กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 '''อดีตนายกฯ “สมัคร สุนทรเวชถึงแก่อนิจกรรม”.'''[http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091124/87929/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.html http://www.bangkokbiznews.com] สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม “นาคน้อย”) เมื่อปี 2511 มีบุตรี ฝาแฝด 2 คน คือ กานดาภาและกาญจนากร  


'''ถึงแก่อสัญกรรม''' เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 รวมอายุได้ 74 ปี<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
'''ถึงแก่อสัญกรรม''' เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 รวมอายุได้ 74 ปี<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
บรรทัดที่ 78: บรรทัดที่ 80:
==การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ==
==การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ==


นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี 2514 และลงสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2518 ในชีวิตการเมือง ท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง รองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) รองนายกรัฐมนตรี (3 สมัย) และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีทั้งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายธานินทร์ กรัยวิเชียร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายบรรหาร ศิลปอาชา และพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ  
นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก[[พรรคประชาธิปัตย์]] เมื่อปี 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2518 ในชีวิตการเมือง ท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง รองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) รองนายกรัฐมนตรี (3 สมัย) และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีทั้งในรัฐบาล[[เสนีย์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] นาย[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] [[เปรม ติณสูลานนท์|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์]] [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] นาย[[บรรหาร ศิลปอาชา]] และ[[ชวลิต ยงใจยุทธ |พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]]


'''สรุปประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>, <ref>ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. '''สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25.''' กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 87-88.</ref>, <ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
'''สรุปประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>, <ref>ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. '''สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25.''' กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 87-88.</ref>, <ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
บรรทัดที่ 128: บรรทัดที่ 130:
==การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>==
==การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>==


เส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เริ่มจากที่ท่านก้าวเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนมีจำนวนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับหนึ่ง และจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการโหวตคะแนนเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 163 เสียง โดยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โหวตให้อย่างท่วมท้น<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> หลังจากนั้นในวันที่ 28 มกราคม 2551 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในการแต่งตั้งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร<ref>ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนพิเศษ 23 ง เล่ม 125, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551. หน้า 1.</ref>
เส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เริ่มจากที่ท่านก้าวเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนมีจำนวนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับหนึ่ง และจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการโหวตคะแนนเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 163 เสียง โดยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โหวตให้อย่างท่วมท้น<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมือง. '''นายสมัคร สุนทรเวช.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> หลังจากนั้นในวันที่ 28 มกราคม 2551 [[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ลงมติเห็นชอบในการแต่งตั้งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร<ref>ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนพิเศษ 23 ง เล่ม 125, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551. หน้า 1.</ref>


นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย ตามประกาศพระบรมราช-โองการโปรดเกล้า ฯ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> นอกจากนี้นายสมัคร สุนทรเวช ยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ อนึ่ง คณะรัฐมนตรี คณะนี้นับเป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 57 ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551<ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. '''ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main11.htm สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย ตามประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 โดยมีนาย[[ยงยุทธ ติยะไพรัช]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]] และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]] โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> นอกจากนี้นายสมัคร สุนทรเวช ยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ อนึ่ง คณะรัฐมนตรี คณะนี้นับเป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 57 ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551<ref>สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. '''ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main11.htm สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>


คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1(7) เนื่องจากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 เนื่องจาก[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1(7) เนื่องจากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181<ref>วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. '''คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>


สำหรับนโยบายและผลงานในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีมากมาย เช่น เร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น ด้วยมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ<ref>'''มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.mof.go.th/News2008/014.pdf สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> และมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน โดยการนำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา อีกทั้งได้ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินทุนนำเข้าระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2551 ซึ่งการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ถือว่าเป็นการกำจัดอุปสรรคของการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลดีต่อตลาดทุนไทยโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเป็นผลดีต่อการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชน เป็นต้น<ref>'''การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ดีต่อภาวะการลงทุน.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=67638 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
สำหรับนโยบายและผลงานในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีมากมาย เช่น เร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น ด้วยมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ<ref>'''มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.mof.go.th/News2008/014.pdf สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref> และมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน โดยการนำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา อีกทั้งได้ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินทุนนำเข้าระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2551 ซึ่งการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ถือว่าเป็นการกำจัดอุปสรรคของการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลดีต่อตลาดทุนไทยโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเป็นผลดีต่อการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชน เป็นต้น<ref>'''การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ดีต่อภาวะการลงทุน.''' ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=67638 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.</ref>
บรรทัดที่ 177: บรรทัดที่ 179:


[[category:นายกรัฐมนตรี]]
[[category:นายกรัฐมนตรี]]
[[หมวดหมู่:พุทธชาติ ทองเอม]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:19, 7 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง พุทธชาติ ทองเอม


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เป็นนักการเมืองที่คร่ำหวอดทางการเมือง มีเสียงพูด และลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เป็นผู้มีทักษะด้านการพูดเป็นอย่างดี สามารถอธิบายเรื่องเข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย มีลีลาการพูดที่เร้าใจ โต้ตอบอย่างมีไหวพริบปฏิภาณ เป็นนักการเมืองที่ปากกับใจตรงกัน กล้าที่จะพูดความจริงและต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องทุกรูปแบบ เป็นนักการเมืองฝีปากกล้า ฉายาแมวเก้าชีวิต [1], [2]


ประวัติ[3]

นายสมัคร สุนทรเวช เกิดวันที่ 13 มิถุนายน 2478 ที่บ้านหน้าวังบางขุนพรม ถนนสามเสนกรุงเทพมหานคร[4]

นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรของเสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล “สุนทรเวช” และได้นำมาใช้เป็นนามสกุลร่วมกับบรรดาน้อง ๆ ของท่าน ) และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก

นายสมัคร สุนทรเวช เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้

1. พ.อ. (พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

2. นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว

3. พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)

4. นายสมัคร สุนทรเวช

5. นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ

6. นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย

การศึกษา[5]

ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม

ระดับประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา

ระดับมัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ระดับอาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์

ระดับอุดมศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศึกษาเพิ่มเติม[6]

- ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

- Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryanmt&Stration Institute ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

สถานภาพ[7] สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม “นาคน้อย”) เมื่อปี 2511 มีบุตรี ฝาแฝด 2 คน คือ กานดาภาและกาญจนากร

ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 รวมอายุได้ 74 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[9]

พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย

พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2519 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย

พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ 2 )

พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย

พ.ศ. 2524 ประถมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า

พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ

พ.ศ. 2539 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์

พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2518 ในชีวิตการเมือง ท่านเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง รองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) รองนายกรัฐมนตรี (3 สมัย) และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีทั้งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายธานินทร์ กรัยวิเชียร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายบรรหาร ศิลปอาชา และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

สรุปประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง[10], [11], [12]

1. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 – 2519)

2. กรรมการผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มหนุ่มพรรคประชาธิปัตย์

3. สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 15 สิงหาคม 2514)

4. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธันวาคม 2516) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2516)

5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 26 มกราคม 2518, 4 เมษายน 2519, 22 เมษายน 2522, 18 เมษายน 2526, 27 กรกฎาคม 2529 และ 24 กรกฎาคม 2531, 22 มีนาคม 2535, 13 กันยายน 2535, 2 กรกฎาคม 2538, 17 พฤศจิกายน 2539)

6. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2518)

7. กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2518-2528

8. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519)

9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)

10. ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค (พ.ศ. 2522)

11. ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)

12. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)

13. ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)

14. ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)

15. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)

16. รองนายกรัฐมนตรี (7 เมษายน 2535- 24 พฤษภาคม 2535)

17. ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)

18. รองนายกรัฐมนตรี (13 กรกฎาคม 2538- 24 พฤศจิกายน 2539, 25 พฤศจิกายน 2539- 8 พฤศจิกายน 2540)

19. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)

20. สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2549)

20. รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน 2551)

21. นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 มกราคม 2551 – 9 กันยายน 2551)

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[13]

เส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เริ่มจากที่ท่านก้าวเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนมีจำนวนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับหนึ่ง และจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการโหวตคะแนนเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 310 ต่อ 163 เสียง โดยเสียงของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค โหวตให้อย่างท่วมท้น[14] หลังจากนั้นในวันที่ 28 มกราคม 2551 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบในการแต่งตั้งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร[15]

นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย ตามประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 โดยมีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[16] นอกจากนี้นายสมัคร สุนทรเวช ยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ อนึ่ง คณะรัฐมนตรี คณะนี้นับเป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 57 ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551[17]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 267 และมาตรา 182 วรรค 1(7) เนื่องจากการที่นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการโทรทัศน์ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยง 6 โมงเช้า ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วยตามมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ในระหว่างนี้คณะรัฐมนตรีทั้งหมดจะรักษาการในตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 181[18]

สำหรับนโยบายและผลงานในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีมากมาย เช่น เร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น ด้วยมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ[19] และมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ช่วยคนจน โดยการนำเงินภาษีมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน จนได้ขยายเวลาเพิ่มในเวลาต่อมา อีกทั้งได้ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินทุนนำเข้าระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2551 ซึ่งการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ถือว่าเป็นการกำจัดอุปสรรคของการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลดีต่อตลาดทุนไทยโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเป็นผลดีต่อการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชน เป็นต้น[20]

จากการเสียชีวิตของอดีตนายกรัฐมนตรีฝีปากกล้าที่ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 นับว่าเป็นการสูญเสียผู้คร่ำหวอดทางการเมืองครั้งใหญ่ของประเทศไทย เนื่องจาก นายสมัคร สุนทรเวช ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติหลายประการ ซึ่งจากประวัติการดำรง ตำแหน่งทางการเมืองและการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร รักษาระบอบประชาธิปไตย และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุดยิ่ง ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่ควรได้รับการยกย่องเชิดชู และนำเกียรติประวัติจารึกไว้ให้ปรากฏ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีที่ควรยึดถือปฏิบัติสืบไป

อ้างอิง

  1. ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัวดิ์. สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 80.
  2. ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.vcharkarn.com/varticle/39939 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  3. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  4. ชีวประวัติบุคคลสำคัญ นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก)http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03535.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  5. ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.vcharkarn.com/varticle/39939 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  6. ศูนย์ข้อมูลการเมือง. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  7. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 อดีตนายกฯ “สมัคร สุนทรเวชถึงแก่อนิจกรรม”.http://www.bangkokbiznews.com สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  8. ศูนย์ข้อมูลการเมือง. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  9. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  10. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  11. ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551, หน้า 87-88.
  12. ศูนย์ข้อมูลการเมือง. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  13. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  14. ศูนย์ข้อมูลการเมือง. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  15. ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 23 ง เล่ม 125, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551. หน้า 1.
  16. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  17. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main11.htm สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  18. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  19. มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.mof.go.th/News2008/014.pdf สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.
  20. การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ดีต่อภาวะการลงทุน. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=67638 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัวดิ์. สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2551.

สมัคร 60. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ ซี.พี.การพิมพ์, 2538.

ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 23 ง เล่ม 125, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551

บรรณานุกรม

กระแสหุ้น. "สมัคร สุนทรเวช" ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.stockwave.in.th/hot-news/3606-news-241109.html สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

ชีวประวัติบุคคลสำคัญ นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก)http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03535.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 23 ง เล่ม 125, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551

ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี www.cabinet.thaigov.go.th/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

ประวัตินายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.vcharkarn.com/varticle/39939 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 6 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันอังคารที่ 16 เดือนกันยายน 2551.

รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 31 มกราคม 2551.

ศูนย์ข้อมูลการเมือง. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://politicalbase.in.th/index.php สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

สมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://hilight.kapook.com/view/19925 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

สมัคร สุนทรเวช ถึงแก่อนิจกรรม. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://www.thaihealth.or.th/node/12396 สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. นายสมัคร สุนทรเวช. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57. ออนไลน์(เข้าถึงได้จาก) http://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้น ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552.