ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเมืองเรื่องเขาพระวิหาร"
ล หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' จุฬาพร เอื้อรักสกุล ---- '''ผู้ทรงคุ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
==การเมืองเรื่องเขาพระวิหาร== | ==การเมืองเรื่องเขาพระวิหาร== | ||
[[ปราสาทพระวิหาร]]กลายเป็นปัญหาสำคัญในการเมืองไทยและในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการจดทะเบียนโบราณสถานแห่งนี้ให้เป็นมรดกโลกจนประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 2009 ภายหลังจาก[[ศาลโลก]]ได้พิพากษาให้กัมพูชามี[[อธิปไตย]]เหนือปราสาทพระวิหารใน ค.ศ. 1962 แล้ว ปราสาทแห่งนี้ถูกปิดแทบจะโดยสิ้นเชิงในช่วงเวลายาวนานต่อมาเพราะ[[สงครามในอินโดจีน]]และ[[สงครามกลางเมือง]]ในกัมพูชาต่อมา เมื่อกัมพูชามีเสถียรภาพทางการเมืองภายในมากขึ้นภายหลัง[[สนธิสัญญาปารีส]]ว่าด้วยกัมพูชา (ตุลาคม 1992) รัฐบาลไทยได้แสดงความสนใจที่จะพัฒนาให้ปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่ง[[รัฐบาล]]กัมพูชาเห็นด้วยกับไทย แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพราะปัญหาความปลอดภัยในบริเวณเขาพระวิหาร จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1998 จึงสามารถเปิดจุดผ่านแดนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทได้<ref>ดูนโยบายและความเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทยต่อเขาพระวิหารได้ในบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสาร “ลับที่สุด” ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 – 2551, (กท.: สำนักพิมพ์มติชน, 2551), หน้า 251 – 278.</ref> | |||
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาหลังจากนั้น เรื่องเส้นเขตแดนได้เริ่มเป็นประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา | อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาหลังจากนั้น เรื่องเส้นเขตแดนได้เริ่มเป็นประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เส้นเขตแดนทางบกระหว่าง 2 ประเทศ มีความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร และยังไม่เคยมีการตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชาหลังจากได้เอกราชโดยสมบูรณ์ เฉพาะเส้นเขตแดนในบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหารนั้น ปรากฏว่าไทยกับกัมพูชายึดแผนที่ฉบับต่างกัน กล่าวคือ ประเทศไทยยึดสันปันน้ำโดยถือว่าเป็นหลักการกำหนดเขตแดนตาม[[สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส]]ใน ค.ศ. 1904 ส่วนบริเวณปราสาทพระวิหารภายหลังคำพิพากษาศาลโลกใน ค.ศ. 1962 [[กรมแผนที่ทหาร]] [[กระทรวงกลาโหม]]ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ตาม[[มติคณะรัฐมนตรี]]ค.ศ. 1962 ส่วนกัมพูชายึดแผนที่ปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 หรือแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 เมื่อเป็นดังนี้ รัฐบาล 2 ประเทศก็มีความพยายามจัดการเรื่องเขตแดน ดังปรากฏว่า ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย – กัมพูชา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งระบุว่าในระหว่างที่การกำหนดหลักเขตแดนยังไม่เสร็จสิ้นนั้น ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชายแดน ในเวลาต่อมา รัฐบาล 2 ประเทศได้เจรจากันหลายครั้งเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร | ||
ใน ค.ศ. 2004 ประเด็นเรื่องกัมพูชาต้องการนำเขาพระวิหารขึ้นจดทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยกัมพูชาได้ร้องขอกับไทยว่าการร่วมพัฒนาเขาพระวิหารควรเริ่มในช่วงหลังจากที่ปราสาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว | ใน ค.ศ. 2004 ประเด็นเรื่องกัมพูชาต้องการนำเขาพระวิหารขึ้นจดทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยกัมพูชาได้ร้องขอกับไทยว่าการร่วมพัฒนาเขาพระวิหารควรเริ่มในช่วงหลังจากที่ปราสาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อตกลงด้วยว่า การพัฒนาปราสาทจะไม่กระทบกับการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 กัมพูชาได้ดำเนินการฝ่ายเดียวในการยื่นต่อ[[ยูเนสโก]]ขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ศูนย์มรดกโลกได้ขอให้กัมพูชาเสนอเอกสารใหม่ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนที่เขตกันชนที่กัมพูชากำหนดพื้นที่ครอบคลุมทั้งของกัมพูชาและของไทย | ||
ข้อกังวลของไทย คือ ในเอกสารประกอบคำร้องที่กัมพูชายื่นต่อยูเนสโกใน ค.ศ. 2006 ได้ยื่นแผนที่เขตอนุรักษ์ (core zone) เขตกันชน (Buffer zone) และเขตพัฒนา (Development zone) ของอาณาบริเวณปราสาทซึ่งเป็นแผนที่ที่มีเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิด้วย จึงเกิดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร | ข้อกังวลของไทย คือ ในเอกสารประกอบคำร้องที่กัมพูชายื่นต่อยูเนสโกใน ค.ศ. 2006 ได้ยื่นแผนที่เขตอนุรักษ์ (core zone) เขตกันชน (Buffer zone) และเขตพัฒนา (Development zone) ของอาณาบริเวณปราสาทซึ่งเป็นแผนที่ที่มีเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิด้วย จึงเกิดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการทางการทูตเพื่อชี้แจงข้อกังวลนี้ต่อกัมพูชา ยูเนสโกและประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก รวมทั้งเสนอในระหว่าง ค.ศ. 2005 – 2007 ให้ปราสาท เป็นมรดกโลกร่วมกัน แต่กัมพูชายืนยันการยื่นจดทะเบียนปราสาทแต่เพียงฝ่ายเดียว ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2007 กัมพูชาได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทอีกครั้ง ฝ่ายไทยได้ตรวจสอบพบว่า แผนที่ที่กัมพูชาเสนอไปนั้น มีส่วนล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิ์ ไทยจึงได้แจ้งต่อคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนพฤษภาคมต่อมา ขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อให้ไทยได้หารือกับกัมพูชา คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ให้เลื่อนการขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป และให้ไทยกับกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ | ||
ในสมัยรัฐบาล[[สมัคร สุนทรเวช|นายสมัคร สุนทรเวช]] [[รัฐมนตรี]]ต่างประเทศกัมพูชาได้มีหนังสือถึงไทยลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ยืนยันว่าการกำหนดเขตขึ้นทะเบียนปราสาทจะไม่ถือว่าเป็นการปักปันเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ [[นายกรัฐมนตรี]]ได้กล่าวกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในระหว่างการเยือนกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2008 ว่าไทยไม่ขัดขวางการขอขึ้นทะเบียนปราสาทของกัมพูชา แต่ต้องไม่กระทบสิทธิเรื่องเขตแดนและ[[อธิปไตย]]ของไทย ต่อมาในการประชุม[[กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง]]เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2008 นายกรัฐมนตรีไทยได้เสนอให้จัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกันในพื้นที่รอบปราสาท กัมพูชาชี้แจงว่าจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ส่วนพื้นที่รอบปราสาทยังไม่ได้พิจารณาดำเนินการใดๆ และทราบดีว่าพื้นที่รอบปราสาทด้านหนึ่งเป็นของไทย ทั้งนี้จะได้หารือกับไทยต่อไป ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 กัมพูชาแจ้งกับไทยว่า จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นจดทะเบียนให้จำกัดขอบเขตเฉพาะการจดทะเบียนตัวปราสาท อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนั้น กัมพูชายืนยันว่าคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. 1962 ชัดเจนแล้ว จึงไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในบริเวณปราสาท | |||
ในระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 | ในระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 [[นพดล ปัทมะ|นายนพดล ปัทมะ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบอำนาจจาก[[คณะรัฐมนตรี]]ให้ไปหารือกับรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่กรุงปารีส ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์การยูเนสโกเพื่อหาข้อ[[ยุติ]]ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2008 การหารือมีข้อสรุปสำคัญดังนี้ | ||
1. ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามการเสนอของกัมพูชาในการประชุมครั้งที่ 32 นี้ | 1. ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามการเสนอของกัมพูชาในการประชุมครั้งที่ 32 นี้ | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
5. ข้อตกลงนี้ได้รับการบันทึกเป็นร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่แต่ละฝ่ายจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน (การลงนามเช่นนี้เรียกในภาษาทางการทูตว่า “ลงนามย่อ” (initial) ซึ่งยังไม่มีผลผูกพันใดๆ นอกจากจะรับรองว่าเนื้อความสุดท้ายของร่างแถลงการณ์ร่วมจะเป็นเช่นใด) | 5. ข้อตกลงนี้ได้รับการบันทึกเป็นร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่แต่ละฝ่ายจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน (การลงนามเช่นนี้เรียกในภาษาทางการทูตว่า “ลงนามย่อ” (initial) ซึ่งยังไม่มีผลผูกพันใดๆ นอกจากจะรับรองว่าเนื้อความสุดท้ายของร่างแถลงการณ์ร่วมจะเป็นเช่นใด) | ||
ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 รัฐมนตรีต่างประเทศได้แถลงผลการเจรจาข้างต้นต่อคณะรัฐมนตรีฯ รับทราบและอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการต่อไป ในเดือนต่อมา คณะผู้แทนไทยที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร | ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 รัฐมนตรีต่างประเทศได้แถลงผลการเจรจาข้างต้นต่อคณะรัฐมนตรีฯ รับทราบและอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการต่อไป ในเดือนต่อมา คณะผู้แทนไทยที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร [[กระทรวงกลาโหม]]และ[[กรมสนธิสัญญา]]และ[[กฎหมาย]] กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับกัมพูชาเกี่ยวกับร่างแผนที่ที่กัมพูชาได้ปรับแก้ใหม่จนเห็นว่าไม่มีส่วนใดที่ล่วงล้ำเขตแดนไทยซึ่ง[[สภาความมั่นคงแห่งชาติ]]ก็ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2008 และคณะรัฐมนตรีที่ให้[[ความเห็นชอบ]]ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2008 หลังจากนั้น นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ไทย กัมพูชา ยูเนสโก ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงจุดยืนซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า | ||
1. ในหลักการไทยไม่คัดค้านความประสงค์ของกัมพูชาที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตราบเท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิด้านเขตแดนและอธิปไตยของไทย เนื่องจากไทยก็เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาทและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่พิพากษาว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา | 1. ในหลักการไทยไม่คัดค้านความประสงค์ของกัมพูชาที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตราบเท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิด้านเขตแดนและอธิปไตยของไทย เนื่องจากไทยก็เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาทและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่พิพากษาว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
3. การขึ้นทะเบียนฯ ไม่มีข้อผูกพันต่อการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย – กัมพูชา เพราะคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอาณัติในการพิจารณาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศ | 3. การขึ้นทะเบียนฯ ไม่มีข้อผูกพันต่อการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย – กัมพูชา เพราะคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอาณัติในการพิจารณาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศ | ||
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่รัฐมนตรีต่างประเทศเจรจากับฝ่ายกัมพูชาก่อนมีแถลงการณ์ร่วมนั้น ได้เกิดปฏิกิริยาจากหลายฝ่ายในสังคม | อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่รัฐมนตรีต่างประเทศเจรจากับฝ่ายกัมพูชาก่อนมีแถลงการณ์ร่วมนั้น ได้เกิดปฏิกิริยาจากหลายฝ่ายในสังคม โดยสมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่งและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็น[[พรรคฝ่ายค้าน]]ได้แสดงความเห็นว่าการสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนฯ อาจทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยในพื้นที่รอบปราสาทและอาจกระทบต่อการสูญเสียสิทธิการเรียกร้องอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร ส่วน[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย|กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ซึ่งได้ก่อการชุมนุม[[ประท้วง]]รัฐบาลมาก่อนหน้านั้น ก็ได้โจมตีรัฐบาลโดยกล่าวหาว่านักการเมืองบางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน นักวิชาการและกลุ่มต่างๆ เริ่มวิจารณ์โดยแสดงความสงสัยว่าแผนที่ของกัมพูชาที่ยื่นขอจดทะเบียนอาจมีพื้นที่ล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยด้วย นอกจากนี้ ประชาชนในจังหวัดศรีษะเกษจำนวนหนึ่งได้ออกมาขับไล่ชาวกัมพูชาที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าบริเวณเชิงเขาพระวิหารซึ่งก็ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากชาวกัมพูชาด้วย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวโต้กระแสคัดค้านเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ว่า “ปัญหาทุกอย่างแก้ไขหมดแล้ว ในส่วนของการเข้ามาปลูกบ้านประมาณ 50 หลังของชาวกัมพูชา และเรื่องตลาดกับวัดจะสามารถแก้ไขได้ภายในเวลา 2 ปีที่ไทยและกัมพูชาจะทำแผนบริหารพื้นที่ด้วยกัน” | ||
ขณะที่ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารกำลังถูกวิจารณ์และถูกคัดค้านอย่างเข้มข้น | ขณะที่ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารกำลังถูกวิจารณ์และถูกคัดค้านอย่างเข้มข้น [[สมาชิกวุฒิสภา]]และ[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]ก็ได้เปิด[[ญัตติ]]อภิปรายรัฐบาลในวันที่ 23 – 24 มิถุนายน โดยฝ่ายแรกเป็นการ[[อภิปราย]]โดยไม่ลงมติ และฝ่ายหลัง[[อภิปรายไม่ไว้วางใจ]] ประเด็นสำคัญที่สุดที่ถูกนำมาอภิปรายคือ กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศถูกอภิปรายโจมตีว่าการกำหนดเขตพื้นที่ขึ้นทะเบียนของกัมพูชามีพื้นที่ของไทยด้วยซึ่งในที่สุดจะทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยในพื้นที่นี้โดยสิ้นเชิง ในวันเดียวกัน แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นอกจากนี้ กลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศประมาณ 300 คน ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลกขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวเพราะปราสาทแห่งนี้เป็นทรัพย์สินข้ามพรมแดน | ||
ในวันที่ | ในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 [[ศาลปกครองกลาง]]ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการใดๆ ที่เป็นการอ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติของผู้ถูกฟ้อง คำสั่งนี้ส่งผลให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศส่งหนังสือเวียน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ถึงประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเพื่อแจ้งคำสั่งศาลปกครองกลาง และแจ้งขอให้เลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้ไทยกับกัมพูชาสามารถร่วมมือกันยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วมปราสาทและพื้นที่โดยรอบ | ||
วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มีมติให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยที่ประชุมรับทราบว่าจะไม่ใช้คำแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ยูเนสโก มาพิจารณาตามคำสั่งศาลปกครองกลางไทย และประเทศไทยได้แสดงความปรารถนาที่จะมีส่วนในการนำเสนอปราสาทพระวิหารและอาณาบริเวณโดยรอบขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา | ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 [[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ลงมติรับคำร้องขอของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ที่ขอให้ตีความว่าคำแถลงการณ์ร่วม วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เป็นหนังสือสัญญาตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] มาตรา 190 วรรคสอง ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 32 เมื่อ | ||
วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มีมติให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยที่ประชุมรับทราบว่าจะไม่ใช้คำแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ยูเนสโก มาพิจารณาตามคำสั่งศาลปกครองกลางไทย และประเทศไทยได้แสดงความปรารถนาที่จะมีส่วนในการนำเสนอปราสาทพระวิหารและอาณาบริเวณโดยรอบขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบว่ากัมพูชาได้ยื่นแผนผัง (graphic plan) ที่มีการปรับปรุงใหม่แล้ว และบันทึกไว้ว่าเฉพาะปราสาทเท่านั้นที่ถูกนำเสนอขึ้นทะเบียนและมิได้รวมอาณาบริเวณโดยรอบ | |||
ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า | ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า คำแถลงการณ์ร่วมมีลักษณะครบองค์ประกอบของความเป็นสนธิสัญญาตาม[[อนุสัญญากรุงเวียนนา]]ว่าด้วย[[กฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969]] จึงเขียนหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง หลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการถอดถอนนายนพดล ปัทมะ ออกจากตำแหน่งฐานมีพฤติกรรมฝ่าฝืนและทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักวิชาการที่เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนนี้ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ในสื่อมวลชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในที่สุด นายนพดล ปัทมะ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 | ||
==ที่มา== | ==ที่มา== | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 59: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] | ||
[[หมวดหมู่:จุฬาพร เอื้อรักสกุล]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:27, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง จุฬาพร เอื้อรักสกุล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเมืองเรื่องเขาพระวิหาร
ปราสาทพระวิหารกลายเป็นปัญหาสำคัญในการเมืองไทยและในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการจดทะเบียนโบราณสถานแห่งนี้ให้เป็นมรดกโลกจนประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 2009 ภายหลังจากศาลโลกได้พิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารใน ค.ศ. 1962 แล้ว ปราสาทแห่งนี้ถูกปิดแทบจะโดยสิ้นเชิงในช่วงเวลายาวนานต่อมาเพราะสงครามในอินโดจีนและสงครามกลางเมืองในกัมพูชาต่อมา เมื่อกัมพูชามีเสถียรภาพทางการเมืองภายในมากขึ้นภายหลังสนธิสัญญาปารีสว่าด้วยกัมพูชา (ตุลาคม 1992) รัฐบาลไทยได้แสดงความสนใจที่จะพัฒนาให้ปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งรัฐบาลกัมพูชาเห็นด้วยกับไทย แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพราะปัญหาความปลอดภัยในบริเวณเขาพระวิหาร จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1998 จึงสามารถเปิดจุดผ่านแดนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทได้[1]
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาหลังจากนั้น เรื่องเส้นเขตแดนได้เริ่มเป็นประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เส้นเขตแดนทางบกระหว่าง 2 ประเทศ มีความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร และยังไม่เคยมีการตกลงกันระหว่างไทยกับกัมพูชาหลังจากได้เอกราชโดยสมบูรณ์ เฉพาะเส้นเขตแดนในบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหารนั้น ปรากฏว่าไทยกับกัมพูชายึดแผนที่ฉบับต่างกัน กล่าวคือ ประเทศไทยยึดสันปันน้ำโดยถือว่าเป็นหลักการกำหนดเขตแดนตามสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1904 ส่วนบริเวณปราสาทพระวิหารภายหลังคำพิพากษาศาลโลกใน ค.ศ. 1962 กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหมยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ตามมติคณะรัฐมนตรีค.ศ. 1962 ส่วนกัมพูชายึดแผนที่ปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 หรือแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 เมื่อเป็นดังนี้ รัฐบาล 2 ประเทศก็มีความพยายามจัดการเรื่องเขตแดน ดังปรากฏว่า ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย – กัมพูชา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งระบุว่าในระหว่างที่การกำหนดหลักเขตแดนยังไม่เสร็จสิ้นนั้น ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชายแดน ในเวลาต่อมา รัฐบาล 2 ประเทศได้เจรจากันหลายครั้งเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร
ใน ค.ศ. 2004 ประเด็นเรื่องกัมพูชาต้องการนำเขาพระวิหารขึ้นจดทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อพัฒนาเขาพระวิหารในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยกัมพูชาได้ร้องขอกับไทยว่าการร่วมพัฒนาเขาพระวิหารควรเริ่มในช่วงหลังจากที่ปราสาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อตกลงด้วยว่า การพัฒนาปราสาทจะไม่กระทบกับการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 กัมพูชาได้ดำเนินการฝ่ายเดียวในการยื่นต่อยูเนสโกขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ศูนย์มรดกโลกได้ขอให้กัมพูชาเสนอเอกสารใหม่ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนที่เขตกันชนที่กัมพูชากำหนดพื้นที่ครอบคลุมทั้งของกัมพูชาและของไทย
ข้อกังวลของไทย คือ ในเอกสารประกอบคำร้องที่กัมพูชายื่นต่อยูเนสโกใน ค.ศ. 2006 ได้ยื่นแผนที่เขตอนุรักษ์ (core zone) เขตกันชน (Buffer zone) และเขตพัฒนา (Development zone) ของอาณาบริเวณปราสาทซึ่งเป็นแผนที่ที่มีเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิด้วย จึงเกิดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการทางการทูตเพื่อชี้แจงข้อกังวลนี้ต่อกัมพูชา ยูเนสโกและประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก รวมทั้งเสนอในระหว่าง ค.ศ. 2005 – 2007 ให้ปราสาท เป็นมรดกโลกร่วมกัน แต่กัมพูชายืนยันการยื่นจดทะเบียนปราสาทแต่เพียงฝ่ายเดียว ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2007 กัมพูชาได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทอีกครั้ง ฝ่ายไทยได้ตรวจสอบพบว่า แผนที่ที่กัมพูชาเสนอไปนั้น มีส่วนล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิ์ ไทยจึงได้แจ้งต่อคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนพฤษภาคมต่อมา ขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อให้ไทยได้หารือกับกัมพูชา คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ให้เลื่อนการขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป และให้ไทยกับกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้
ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาได้มีหนังสือถึงไทยลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ยืนยันว่าการกำหนดเขตขึ้นทะเบียนปราสาทจะไม่ถือว่าเป็นการปักปันเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในระหว่างการเยือนกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2008 ว่าไทยไม่ขัดขวางการขอขึ้นทะเบียนปราสาทของกัมพูชา แต่ต้องไม่กระทบสิทธิเรื่องเขตแดนและอธิปไตยของไทย ต่อมาในการประชุมกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2008 นายกรัฐมนตรีไทยได้เสนอให้จัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกันในพื้นที่รอบปราสาท กัมพูชาชี้แจงว่าจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ส่วนพื้นที่รอบปราสาทยังไม่ได้พิจารณาดำเนินการใดๆ และทราบดีว่าพื้นที่รอบปราสาทด้านหนึ่งเป็นของไทย ทั้งนี้จะได้หารือกับไทยต่อไป ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 กัมพูชาแจ้งกับไทยว่า จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นจดทะเบียนให้จำกัดขอบเขตเฉพาะการจดทะเบียนตัวปราสาท อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนั้น กัมพูชายืนยันว่าคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. 1962 ชัดเจนแล้ว จึงไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในบริเวณปราสาท
ในระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบอำนาจจากคณะรัฐมนตรีให้ไปหารือกับรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่กรุงปารีส ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์การยูเนสโกเพื่อหาข้อยุติก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2008 การหารือมีข้อสรุปสำคัญดังนี้
1. ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามการเสนอของกัมพูชาในการประชุมครั้งที่ 32 นี้
2. กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท และไม่กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก (คือ บริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้ง 2 ประเทศอ้างสิทธิ์) กัมพูชาจะส่งแผนที่ใหม่ที่แสดงขอบเขตตัวปราสาทที่จะขอขึ้นทะเบียนมาให้ไทยและยูเนสโกพิจารณา และหากทุกฝ่ายพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง ก็จะใช้แผนที่ใหม่นี้แทนแผนที่ทั้งหมดที่เคยแนบประกอบคำขอขึ้นทะเบียน
3. กรณีพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาทซึ่งเขตแดนยังไม่ชัดเจนนั้น ไทยและกัมพูชาตกลงกันว่าจะร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ โดยต้องเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการพิจารณาสมัยที่ 34 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010
4. การดำเนินการข้างต้นจะไม่กระทบต่อสิทธิของไทยและกัมพูชาในการสำรวจและจัดทำเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม 2 ประเทศ
5. ข้อตกลงนี้ได้รับการบันทึกเป็นร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ที่แต่ละฝ่ายจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน (การลงนามเช่นนี้เรียกในภาษาทางการทูตว่า “ลงนามย่อ” (initial) ซึ่งยังไม่มีผลผูกพันใดๆ นอกจากจะรับรองว่าเนื้อความสุดท้ายของร่างแถลงการณ์ร่วมจะเป็นเช่นใด)
ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 รัฐมนตรีต่างประเทศได้แถลงผลการเจรจาข้างต้นต่อคณะรัฐมนตรีฯ รับทราบและอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการต่อไป ในเดือนต่อมา คณะผู้แทนไทยที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหมและกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับกัมพูชาเกี่ยวกับร่างแผนที่ที่กัมพูชาได้ปรับแก้ใหม่จนเห็นว่าไม่มีส่วนใดที่ล่วงล้ำเขตแดนไทยซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติก็ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2008 และคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2008 หลังจากนั้น นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ไทย กัมพูชา ยูเนสโก ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงจุดยืนซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า
1. ในหลักการไทยไม่คัดค้านความประสงค์ของกัมพูชาที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตราบเท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิด้านเขตแดนและอธิปไตยของไทย เนื่องจากไทยก็เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาทและปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกที่พิพากษาว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
2. ไทยได้ตรวจสอบยืนยันทางเทคนิคแล้วว่า แผนที่ที่กัมพูชานำไปขอขึ้นทะเบียนฯ นั้นไม่มีส่วนใดล้ำเข้ามาในดินแดนไทยตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ค.ศ. 1962 ทั้งนี้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่า แถลงการณ์ร่วมไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของทั้ง 2 ฝ่ายในเรื่องเขตแดน และได้ระบุเจตนาร่วมของ 2 ประเทศที่จะร่วมกันวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ต่อยูเนสโกภายใน 2 ปี โดยไม่มีข้อความที่ไทยจะสละการคัดค้านคำพิพากษาศาลโลกและการสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกร้องคืนหากกฎหมายในอนาคตเปิดโอกาสให้
3. การขึ้นทะเบียนฯ ไม่มีข้อผูกพันต่อการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย – กัมพูชา เพราะคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอาณัติในการพิจารณาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่รัฐมนตรีต่างประเทศเจรจากับฝ่ายกัมพูชาก่อนมีแถลงการณ์ร่วมนั้น ได้เกิดปฏิกิริยาจากหลายฝ่ายในสังคม โดยสมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่งและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้แสดงความเห็นว่าการสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนฯ อาจทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยในพื้นที่รอบปราสาทและอาจกระทบต่อการสูญเสียสิทธิการเรียกร้องอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร ส่วนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้ก่อการชุมนุมประท้วงรัฐบาลมาก่อนหน้านั้น ก็ได้โจมตีรัฐบาลโดยกล่าวหาว่านักการเมืองบางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน นักวิชาการและกลุ่มต่างๆ เริ่มวิจารณ์โดยแสดงความสงสัยว่าแผนที่ของกัมพูชาที่ยื่นขอจดทะเบียนอาจมีพื้นที่ล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยด้วย นอกจากนี้ ประชาชนในจังหวัดศรีษะเกษจำนวนหนึ่งได้ออกมาขับไล่ชาวกัมพูชาที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าบริเวณเชิงเขาพระวิหารซึ่งก็ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากชาวกัมพูชาด้วย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศได้กล่าวโต้กระแสคัดค้านเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ว่า “ปัญหาทุกอย่างแก้ไขหมดแล้ว ในส่วนของการเข้ามาปลูกบ้านประมาณ 50 หลังของชาวกัมพูชา และเรื่องตลาดกับวัดจะสามารถแก้ไขได้ภายในเวลา 2 ปีที่ไทยและกัมพูชาจะทำแผนบริหารพื้นที่ด้วยกัน”
ขณะที่ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารกำลังถูกวิจารณ์และถูกคัดค้านอย่างเข้มข้น สมาชิกวุฒิสภาและพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เปิดญัตติอภิปรายรัฐบาลในวันที่ 23 – 24 มิถุนายน โดยฝ่ายแรกเป็นการอภิปรายโดยไม่ลงมติ และฝ่ายหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ ประเด็นสำคัญที่สุดที่ถูกนำมาอภิปรายคือ กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศถูกอภิปรายโจมตีว่าการกำหนดเขตพื้นที่ขึ้นทะเบียนของกัมพูชามีพื้นที่ของไทยด้วยซึ่งในที่สุดจะทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยในพื้นที่นี้โดยสิ้นเชิง ในวันเดียวกัน แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นอกจากนี้ กลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศประมาณ 300 คน ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลกขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวเพราะปราสาทแห่งนี้เป็นทรัพย์สินข้ามพรมแดน
ในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการใดๆ ที่เป็นการอ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติของผู้ถูกฟ้อง คำสั่งนี้ส่งผลให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศส่งหนังสือเวียน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ถึงประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเพื่อแจ้งคำสั่งศาลปกครองกลาง และแจ้งขอให้เลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้ไทยกับกัมพูชาสามารถร่วมมือกันยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วมปราสาทและพื้นที่โดยรอบ
ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ศาลรัฐธรรมนูญลงมติรับคำร้องขอของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ขอให้ตีความว่าคำแถลงการณ์ร่วม วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรคสอง ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 32 เมื่อ
วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มีมติให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยที่ประชุมรับทราบว่าจะไม่ใช้คำแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ยูเนสโก มาพิจารณาตามคำสั่งศาลปกครองกลางไทย และประเทศไทยได้แสดงความปรารถนาที่จะมีส่วนในการนำเสนอปราสาทพระวิหารและอาณาบริเวณโดยรอบขึ้นเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบว่ากัมพูชาได้ยื่นแผนผัง (graphic plan) ที่มีการปรับปรุงใหม่แล้ว และบันทึกไว้ว่าเฉพาะปราสาทเท่านั้นที่ถูกนำเสนอขึ้นทะเบียนและมิได้รวมอาณาบริเวณโดยรอบ
ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า คำแถลงการณ์ร่วมมีลักษณะครบองค์ประกอบของความเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 จึงเขียนหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง หลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการถอดถอนนายนพดล ปัทมะ ออกจากตำแหน่งฐานมีพฤติกรรมฝ่าฝืนและทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักวิชาการที่เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนนี้ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ในสื่อมวลชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในที่สุด นายนพดล ปัทมะ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2008
ที่มา
คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505. (บันทึกการต่อสู้คดีฉบับสมบูรณ์), สนพ.เคล็ดไทย, 2551.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสาร “ลับที่สุด” ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 – 2551, สำนักพิมพ์มติชน, 2551.
อนุชา แป๊ะพรรณวรรณ, Exclucive การเมืองเรื่องเขาพระวิหาร, สนพ. คลื่นอักษร, 2551.
อ้างอิง
- ↑ ดูนโยบายและความเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทยต่อเขาพระวิหารได้ในบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสาร “ลับที่สุด” ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 – 2551, (กท.: สำนักพิมพ์มติชน, 2551), หน้า 251 – 278.