ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสมัยใหม่"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
ผู้เรียบเรียง .นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
'''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


----
----


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ''' รองศาตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล


----
----
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:
5. Hague, R and M. Harrop. Comparative Government and Politics: An Introduction. London: Palgrave, 2001.
5. Hague, R and M. Harrop. Comparative Government and Politics: An Introduction. London: Palgrave, 2001.
[[หมวดหมู่:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]]
[[หมวดหมู่:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:22, 27 กรกฎาคม 2554

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล


รัฐสมัยใหม่

รัฐสมัยใหม่ (Modern State) เป็นรูปแบบรัฐชนิดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากรัฐที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวสองร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง มีลักษณะเด่นๆ ที่มีความสำคัญได้แก่ การที่ประเทศ หรือ รัฐ (State) มีรัฐบาล (Government) ที่มีศูนย์กลางอำนาจที่มีความแน่นอน เช่น มีเมืองหลวงที่แน่นอน และมีระบบราชการสมัยใหม่ที่มีความเป็นปึกแผ่น การมีแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยที่ชัดเจน ปกคลุมทั่วดินแดน เป็นนิจนิรันดร์ และธำรงอยู่เหนืออำนาจอื่นๆ ในประเทศ การมีดินแดนจำนวนหนึ่งที่มีความชัดเจนแน่นอน และการมีประชากรของรัฐจำนวนหนึ่งที่มีความเป็นหนึ่งเดียวและมีสำนึกความผูกพันกับรัฐ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รัฐสมัยใหม่ดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่ามีการจัดโครงสร้างภายในของรัฐที่มีความแตกต่างกันพอสมควร หลักใหญ่ๆ ก็คือ การที่เราควรจะพิจารณาเป็นเบื้องต้นเสียก่อนว่าภายในรัฐหนึ่งๆ มีโครงสร้างของการใช้อำนาจรัฐแบ่งออกไปในลักษณะใด หากมีการใช้อำนาจอยู่ที่องค์กรเดียว หรือมีศูนย์กลางอำนาจเดียวในการตรากฎหมายและนโยบายการปกครองประเทศ (All Legal Powers and Policies Flow from One Source) หรือว่าอำนาจบริหารกระจุกตัวอยู่ที่ รัฐบาลแห่งชาติ (Administrative Powers Concentrate in National Government) เราก็มีความนิยมที่จะเรียกการปกครองในรูปแบบรัฐดังกล่าวว่าเป็น “รัฐเดี่ยว” แต่หากมีศูนย์กลางอำนาจที่กระจายออกไป และแบ่งออกเป็นหลายชั้น (Multiple Layers of Government) อย่างเป็นระบบและอย่างชัดเจน เราก็นิยมที่จะเรียกว่าเป็นการจัดรูปแบบรัฐในแบบ “รัฐรวม

ระบบรัฐเดี่ยว (Unitary State)

“รัฐเดี่ยว” เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจในการตรากฎหมาย การบริหารราชการแผ่นดิน และการกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศเพียงแห่งเดียว ได้แก่ การมีรัฐบาล และรัฐสภาเดียว โดยภายในระบบแบบนี้ การใช้อำนาจ และการตัดสินใจต่างๆ ปรากฏว่าได้กำหนดออกมาจากศูนย์กลางเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อทำให้รัฐนั้นมีเอกภาพ และถึงแม้ว่ารัฐเดี่ยวอาจจะมีลักษณะกระจายอำนาจ (Decentralized) ภายในอยู่ด้วยก็ตาม แต่รัฐก็เป็นองค์กรผู้ถืออำนาจสูงสุดไว้เพียงผู้เดียว ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยงานอื่นขึ้นมาภายในรัฐก็เพื่อกระจายอำนาจทางการปกครองและการบริหารของตนไปให้ท้องถิ่น แต่มิได้เป็นการสร้างศูนย์กลางอำนาจใหม่ขึ้นให้มีอำนาจเหนือรัฐ หรือมีอำนาจเสมอเท่ากันกับรัฐ ดังนั้น การจัดตั้งหรือสถาปนาองค์กรปกครอง การเปลี่ยนสถานะและรูปแบบขององค์กรปกครอง การยุบรวมองค์กรปกครองเข้าด้วยกัน และการยกเลิกองค์กรปกครอง ต่างๆ ล้วนกระทำได้โดยอาศัยอำนาจของรัฐและรัฐบาลกลางทั้งสิ้น

ระบบรัฐรวม (Federal State)

หากจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว รัฐรวมมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ รัฐรวมในสมัยโบราณอาจเป็นรัฐรวมที่มีประมุขร่วมกัน เช่น การที่เจ้าหญิงของรัฐหนึ่งอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอีกรัฐหนึ่ง ก็นำมาซึ่งการยอมรับว่าเจ้าชายองค์นี้เป็นประมุขของรัฐทั้งสองในระยะเวลาต่อมา ซึ่งเหตุการณ์ทำนองเช่นนี้เคยเกิดขึ้นโดยทั่วไปในยุโรป นอกจากนี้ รัฐรวมสมัยโบราณอาจมีลักษณะเป็นรัฐรวม เพราะว่ามีองค์กรทางการเมืองบางประการร่วมกันระหว่างรัฐต่างๆ การมีองค์กรทางการเมืองร่วมกันนี้มักเกิดขึ้นภายหลังจากได้มีการยอมรับประมุขร่วมกันแล้ว เช่น การมีรัฐบาลร่วมกัน การมีรัฐสภาร่วมกัน รวมไปถึงการมีนโยบายต่างประเทศ และนโยบายด้านการทหารร่วมกัน เป็นต้น ตัวอย่างของรัฐรวมแบบนี้ ได้แก่ ออสเตรีย-ฮังการีในช่วงก่อนปี 1981

รูปแบบของรัฐรวมในสมัยโบราณอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า เครือจักรภพ หรือ Commonwealth เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ และมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากรัฐจักรวรรดิของอังกฤษ ในช่วง ค.ศ. 1920 เป็นต้นมา ที่เรียกว่า “The British Commonwealth of Nations” ซึ่งรัฐสมาชิกในเครือจักรภพได้ให้การยอมรับสมเด็จพระราชินีอังกฤษว่าเป็นประมุขของรัฐตน หรือยอมรับว่าเป็นประมุขของเครือจักรภพ แต่ประมุขใน Commonwealth นี้ก็มิได้บทบาททางการเมืองแต่อย่างใด แต่เป็นการยกย่องให้เกียรติในงานพิธีต่างๆ เท่านั้น

ส่วนรัฐรวมในระบบสมัยใหม่ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏว่ามีรูปแบบที่พบเห็นได้ชัดเจนในสองรูปแบบ ได้แก่ แบบสมาพันธรัฐ (Confederation) และสหพันธรัฐ (Federation)

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

1. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.

2. Barber, Benjamin R. Strong Democracy: Participatory Politics for a New Age. Los Angeles: University of California Press, 2003.

3. Blondel, J. Comparative Government: An Introduction. New Jersey: Prentice Hall, 1995.

4. Bogdanor, Vernon. Devolution in the United Kingdom. London: Oxford University Press, 1999.

5. Hague, R and M. Harrop. Comparative Government and Politics: An Introduction. London: Palgrave, 2001.