สมาพันธรัฐ
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล
สมาพันธรัฐ
รัฐรวมแบบสมาพันธรัฐ(Confederation)เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของรัฐต่างๆ ตามสนธิสัญญา โดยรัฐสมาชิกต้องมีความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ จึงจะเกิดการดำเนินกิจกรรมของสมาพันธ์ได้ และมีสภาผู้แทนรัฐบาลของรัฐสมาชิกเป็นองค์กรทำหน้าที่ต่างๆ ในนามของรัฐสมาชิก โดยที่รัฐสมาชิกยังคงมีอิสระ การดำเนินนโยบายต่างๆ ยังเป็นไปโดยอิสระ สภาผู้แทนของรัฐสมาชิกไม่ได้มีอำนาจในการควบคุมการกระทำภายในรัฐสมาชิก นอกจากนี้ แต่ละรัฐมักจะมีความร่วมมือกันในบางเรื่องเท่านั้น เช่น ด้านความมั่นคง หรือนโยบายเศรษฐกิจ เป็นต้น
รัฐรวม แบบสมาพันธรัฐ ได้แก่ ประเทศสมาพันธรัฐอเมริกาในช่วง 10 ปีแรกภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ประเทศสมาพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ ก่อนปี 1846 หรือ ประเทศสมาพันธรัฐเยอรมัน ช่วงปี 1815 – 1866 ส่วนในปัจจุบัน การรวมตัวกันของสหภาพยุโรปก็มีลักษณะบางอย่างใกล้เคียงกับสมาพันธรัฐเป็นอันมาก
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
1. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.
2. Barber, Benjamin R. Strong Democracy: Participatory Politics for a New Age. Los Angeles: University of California Press, 2003.
3. Blondel, J. Comparative Government: An Introduction. New Jersey: Prentice Hall, 1995.
4. Bogdanor, Vernon. Devolution in the United Kingdom. London: Oxford University Press, 1999.
5. Hague, R and M. Harrop. Comparative Government and Politics: An Introduction. London: Palgrave, 2001.