ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงการโคแว็กซ์"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง '''รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ''..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง '''รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | '''ผู้เรียบเรียง : '''รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> = | |||
'''โครงการโคแว็กซ์ (COVAX)''' เป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกระหว่างองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (Global Alliance for Vaccines and Immunization: Gavi) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนได้โดยไม่เกิดความเหลื่อมล้ำภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการโคแว็กซ์ก็คือประเทศรายได้ต่ำที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้และประเทศรายได้สูงที่มีกำลังซื้อแต่ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ผลิตได้โดยตรง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 พบว่ามีถึง 184 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์ ขณะที่ประเทศไทยตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าต้องจ่ายเงินล่วงหน้าโดยไม่สามารถกำหนดว่าจะได้รับวัคซีนเมื่อใดและเป็นการทำข้อตกลงที่ประเทศไทยเสียเปรียบ อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ต้น ปี 2564 ขณะที่จำนวนวัคซีนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงเกิดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของรัฐบาลและเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมโครงการฯ นี้ ทั้งนี้ท้ายที่สุดรัฐบาลตัดสินใจจะเข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2565 | |||
= <span style="font-size:x-large;">'''การก่อตั้งและวัตถุประสงค์ของโครงการโคแว๊กซ์'''</span> = | |||
| '''โครงการโคแว็กซ์''' หรือ '''COVAX''' หรือ '''COVID-19 Vaccines Global Access Facility''' หรือ'''โครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ระดับโลก''' เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (Global Alliance for Vaccines and Immunization: Gavi) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของกาวี[[#_ftn1|[1]]] ได้ให้รายละเอียดว่าโครงการโควิดถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของกรอบความร่วมมือเพื่อเร่งรัดการเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันโควิด-19 (Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator) ซึ่งริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก ผู้นำสหภาพยุโรปและประเทศฝรั่งเศสในเดือนเมษายน 2563 เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงระดมความร่วมมือด้านทรัพยากรในการวินิจฉัยโรค การรักษาและการจัดหาวัคซีน[[#_ftn2|[2]]] ทั้งนี้เป้าหมายหลักของโครงการโควิดก็คือการระดมความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อให้ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่จำเป็น โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งมีโครงการโคแว๊กซ์เป็นเสมือนแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนการพัฒนาวิจัยและการผลิตวัคซีนแก่ประเทศสมาชิกและต่อรองราคากับผู้ผลิต มีการตั้งเป้าเบื้องต้นว่าจะสามารถจัดหาวัคซีน 2 พันล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564[[#_ftn3|[3]]] จากข้อมูลณวันที่ 19 ตุลาคม 2021 องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่ามีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการแล้วถึง 184 ประเทศทั่วโลก[[#_ftn4|[4]]] | ||
โดยโครงสร้างการจัดการแล้ว โครงการโคแว๊กซ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และประเทศที่เข้าร่วมก็จะถูกจัดอยู่ในสองส่วนนี้ตามเงื่อนไขที่แตกต่างกัน[[#_ftn5|[5]]] ส่วนแรก คือ COVAX Facility ซึ่งสมาชิกเข้าร่วมประกอบด้วยประเทศที่ต้องการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยงบประมาณของตนเองผ่านการต่อรองของโครงการฯ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะสามารถจองวัคซีนล่วงหน้าให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรของประเทศ ร้อยละ 10-50 และต้องชำระเงินล่วงหน้าเพื่อเข้าถึงวัคซีนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ | |||
1) การจัดซื้อแบบไม่สามารถเลือกผู้ผลิต (Committed Purchase Arrangement) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 1.6 ดอลลาร์ต่อโดส หรือ ร้อยละ 15 ของราคาจริง | |||
1) การจัดซื้อแบบไม่สามารถเลือกผู้ผลิต (Committed Purchase Arrangement) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 1.6 ดอลลาร์ต่อโดส | |||
2) การจัดซื้อแบบสามารถเลือกผู้ผลิต (Optional Purchase Arrangement) ซึ่งสมาชิกมีสิทธิที่จะเลือกวัคซีนประเภทใดก็ได้ที่เหมาะสมสำหรับประเทศตนเอง และมีแผนจัดซื้อวัคซีนกับผู้ผลิตโดยตรงไว้แล้วแต่ต้องการจะซื้อเพิ่มเติมอีกผ่านโครงการฯ จะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส (ประกอบด้วย ค่ามัดจำวัคซีน 3.1 ดอลลาร์ และค่าประกันความเสี่ยงอีก 0.4 ดอลลาร์) | 2) การจัดซื้อแบบสามารถเลือกผู้ผลิต (Optional Purchase Arrangement) ซึ่งสมาชิกมีสิทธิที่จะเลือกวัคซีนประเภทใดก็ได้ที่เหมาะสมสำหรับประเทศตนเอง และมีแผนจัดซื้อวัคซีนกับผู้ผลิตโดยตรงไว้แล้วแต่ต้องการจะซื้อเพิ่มเติมอีกผ่านโครงการฯ จะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส (ประกอบด้วย ค่ามัดจำวัคซีน 3.1 ดอลลาร์ และค่าประกันความเสี่ยงอีก 0.4 ดอลลาร์) | ||
ในกรณีที่จะต้องการยกเลิกการสั่งซื้อจะไม่ได้รับเงินคืนจากที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด | ในกรณีที่จะต้องการยกเลิกการสั่งซื้อจะไม่ได้รับเงินคืนจากที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด ส่วนที่สอง คือ Gavi COVAX Advance Market Commitment (AMC) หรือกองทุนที่ช่วยให้ประเทศรายได้น้อยเข้าถึงวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ได้อย่างเท่าเทียมกันกับประเทศรายได้สูงที่มีกำลังซื้อวัคซีนด้วยตนเอง ซึ่งเงินทุนส่วนนี้จะมาจากการสนับสนุนของกองทุน Official Development Assistance (ODA) ทั้งนี้ประเทศสมาชิกในกลุ่มแรก (COVAX Facility) จะต้องวางแผนว่าจะช่วยเหลือกองทุนนี้มากน้อยเพียงใดเพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศที่ขาดแคลนได้อย่างทั่วถึงต่อไป | ||
| ทั้งนี้ '''UNICEF''' ถือเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทในการกระจายวัคซีนไปให้ประเทศที่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ซึ่งวัคซีน จำนวน 2 พันล้านโดสแรกจะถูกกระจายไปสู่มือของบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าผู้ที่ทำงานเพื่อสังคม รวมถึงกลุ่มเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง[[#_ftn6|[6]]] จากข้อมูล ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2564 '''องค์การอนามัยโลกให้การรับรองวัคซีนแล้วจาก 7 ผู้ผลิตเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้แก่''' '''Oxford–AstraZeneca, Serum Institute of India, Pfizer–BioNTech, Moderna, Sinopharm, Sinovac และ Johnson & Johnson'''[[#_ftn7|[7]]] ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะถูกจัดสรรตามสัดส่วนของการจองผ่านโครงการโคแวกซ์ ทั้งนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กานาถือเป็นชาติแรกที่ได้รับวัคซีนจากโครงการฯ เป็นวัคซีน Oxford–AstraZeneca จำนวน 600,000 โดส[[#_ftn8|[8]]] แต่การกระจายวัคซีนหลังจากนั้นนอกจากจะล่าช้าแล้วยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการฯ วางไว้[[#_ftn9|[9]]] ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแม้โครงการโคแว็กซ์วางแผนจะใช้วัคซีนหลากชนิด แต่สามในสี่ของเป้าหมายในไตรมาสแรกของ ปี 2564 นั้นมาจากแหล่งผลิตเดียวในอินเดีย ซึ่งประเทศอินเดียเองกำลังประเชิญกับการระบาดรุนแรงกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลก ขณะที่ประเทศร่ำรวยก็สงวนวัคซีนไว้เป็นเข็มกระตุ้น '''(booster doses)''' ให้กับพลเมืองของตนเอง ในทางกลับกันมีอีกกว่า ร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศรายได้ต่ำที่ยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ทำให้การดำเนินงานของโครงการฯ ในช่วง 18 เดือนแรกสามารถกระจายวัคซีนได้น้อยมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียง ร้อยละ 5 ของวัคซีนทั่วโลก และเป็นไปได้สูงที่จะไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้ครบ 2 พันล้านโดส ภายในปี 2564 ตามที่ได้เคยสัญญาไว้[[#_ftn10|[10]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''โครงการโคแว็กซ์กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทย'''</span> = | |||
ถึงแม้ว่าความต้องการวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลกจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนผู้ป่วยยืนยันที่เพิ่มขึ้นและดูเหมือนว่าโครงการโคแว็กซ์จะเป็นความร่วมมือด้านวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไทยก็ตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่แรก ทั้งนี้นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ[[#_ftn11|[11]]] และนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข[[#_ftn12|[12]]] ชี้แจงเหตุผลในช่วงต้นปี 2564 ไปในทิศทางเดียวกันว่า โครงการโคแว็กซ์ตั้งเป้าแจกจ่ายวัคซีนฟรีแก่ประเทศรายได้ต่ำ แต่ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศรายได้ปานกลางจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธินี้รวมถึงสิทธิในการซื้อวัคซีนราคาถูกด้วย แต่มีเพียง 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้นที่เข้าเงื่อนไขได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในกรณีที่ต้องการจองวัคซีนผ่านโครงการฯ ก็จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้า ซึ่งไม่สามารถเลือกผู้ผลิตได้หรือหากต้องการเลือกผู้ผลิตก็จะต้องจ่ายเงินจอง 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส ซึ่งแพงกว่าความเป็นจริงและไม่ได้มีอิสระในการเลือกอย่างแท้จริง กล่าวคือการเลือกรอบแรกนั้นโครงการจะเสนอรายชื่อผู้ผลิตมาให้ดู หากยังไม่มีรายชื่อที่ผู้ซื้อสนใจก็จะต้องรอต่อไปจนเกิดความล่าช้า หากตัดสินใจเลือกผู้ผลิตตามรายชื่อที่เสนอมาทางโครงการฯ ก็จะนำเงินมัดจำไปจ่ายจองกับผู้ผลิตและผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเลือกว่าจะทำสัญญากับผู้ผลิตหรือไม่ ในกรณีที่โครงการฯ มีการจ่ายจองกับผู้ผลิตไปแล้วแต่ผู้ซื้อตัดสินใจไม่ทำสัญญา เงินจำนวนนี้ทั้งหมดจะไม่ได้รับคืนมาแต่อย่างใด ดังนั้นการจองผ่านโครงการฯ จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับการทำข้อตกลงโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตเอง | |||
| ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 เมื่อยอดผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากจำนวนวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามานั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาลพลเอก[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ที่ไม่เข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์จนทำให้ไทยตกขบวนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากจากโครงการฯ นี้[[#_ftn13|[13]]] ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 โครงการโคแว็กซ์ได้ส่งมอบวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้น 136 ล้านโดสแก่ 136 ประเทศ หรือเฉลี่ยประเทศละ 1 ล้านโดส ขณะที่ประเทศไทยซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ แต่ทำข้อตกลงโดยตรงกับผู้ผลิตนั้น มีจำนวนวัคซีนสะสมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564 ทั้งสิ้น 27 ล้านโดส รวมถึงที่ได้รับบริจาคโดยตรงอีกราว 3.5 ล้านโดส นายอนุทินยืนยันว่าการตัดสินใจของไทยไม่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่แรกนั้นไม่ได้เป็นความผิดพลาดแต่ไทยจะเข้าร่วมโครงการใน ปี 2565 เนื่องจาก ''“ สถานการณ์เปลี่ยนไป เราก็วิเคราะห์ตามสถานการณ์จริง โดยการที่ผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนให้แก่ประเทศรายได้สูงจนเกินพอในปีนี้ (2564) และเริ่มมีการบริจาคออกมา เราก็ดูสถานการณ์ในปี 2565 วิเคราะห์แล้วว่าหลังจากที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนส่งวัคซีนให้กับประเทศรายได้สูงจนเกินพอ ต่อไปก็คาดว่าจะมีวัคซีนเข้ามาเพื่อจัดสรรให้แต่ละประเทศได้มากขึ้น”''[[#_ftn14|[14]]] ทั้งนี้ประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์แบบสั่งซื้อวัคซีนด้วยเงินทุนของประเทศตนเองเพื่อที่จะบริหารความเสี่ยงในอนาคต[[#_ftn15|[15]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''นัยยะสำคัญของโครงการโคแว็กซ์'''</span> = | |||
โครงการโคแว็กซ์ ถือเป็นความร่วมมือระดับโลกครั้งใหญ่ในการที่จะทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอันแตกต่างกันนั้นไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชากรจากทั่วทุกมุมโลกจะได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอและทันท่วงทีในช่วงเวลาที่แทบทุกประเทศต้องประเชิญกับวิกฤตการระบาดใหญ่ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่า โครงการโคแว็กซ์ที่นำโดยชาติตะวันตกและพันธมิตรเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชิงความเป็นใหญ่ด้าน'''[[การทูตวัคซีน|การทูตวัคซีน]] (vaccine diplomacy)''' กล่าวคือ ขณะที่จีนพยายามดำเนินนโยบายการทูตวัคซีนโดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ และรัสเซีย ที่เน้นไปที่ทวีปแอฟริกา แต่ความร่วมมือของชาติตะวันตกและพันธมิตรมีศักยภาพที่จะชิงความได้เปรียบในการขยายอำนาจอ่อน (soft power) ผ่านโครงการโคแว็กซ์ หากสามารถจัดสรรวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้[[#_ftn16|[16]]] ในกรณีของประเทศไทยการตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายวัคซีนที่คาดหวังจะพึ่งพาวัคซีนจากแหล่งการผลิตภายในประเทศเป็นหลัก แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นทำให้รัฐบาลไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอ และทันตามความต้องการของประชาชนภายในประเทศ แม้การสั่งจองวัคซีนผ่านโครงการโคแว็กซ์จะมีราคาสูงกว่าการตกลงซื้อขายโดยตรงกับผู้ผลิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหนึ่งในทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดแคลนวัคซีนในอนาคต จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะเกิดกระแสความไม่พอใจต่อนโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาลโดยเฉพาะและการบริหารประเทศของรัฐบาลโดยทั่วไป | |||
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | |||
“7 Vaccines Approved for Use by WHO." '''WHO''' (October 23, 2021). Available <[https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/ https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/]>. Accessed October 19, 2021. | |||
“COVAX | “COVAX explained." '''Gavi''' (September 3, 2020). Available <[https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained]>. Accessed October 20, 2021. | ||
“COVAX: ensuring global equitable access to COVID-19 vaccines." '''UNICEF'''. Available <[https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines]>. Accessed October 19, 2021. | |||
“Covid-19 vaccinations: More than 50 nations have missed a target set by the WHO." '''BBC''' (October 1, 2021). Available <[https://www.bbc.com/news/56100076 https://www.bbc.com/news/56100076]>. Accessed October 21, 2021. | |||
“COVID-19 vaccine doses shipped by the COVAX Facility head to Ghana, marking beginning of global roll-out." '''Gavi '''(February 24, 2021). Available <[https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global]>. Accessed October 21, 2021. | |||
“Gavi and global health actors collaborate to accelerate COVID-19 technologies for all." '''Gavi''' (April 24, 2020). Available <[https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all]>. Accessed October 20, 2021. | |||
“‘Naively ambitious’: How COVAX failed on its promise to vaccinate the world." '''Stat News''' (October 8, 2021). Available <[https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/ https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/]>. Accessed October 21, 2021. | |||
“The Rise of Vaccine Diplomacy." '''British Foreign Policy Group''' (July 23, 2021). Available <[https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/ https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/]>. Accessed October 21, 2021. | |||
“WHO Says 184 Countries Have Now Joined COVAX Vaccine Program." '''VOA''' (October 19, 2020). Available <[https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html]>. Accessed October 20, 2021. | |||
“โฆษกเพื่อไทย จี้ ศบค. เปิดรายชื่อกรรมการใช้อำนาจไม่ให้ไทยเข้าร่วม ‘โคแวกซ์’ ทำไทยตกขบวนวัคซีนโควิด-19." '''Workpoint Today''' (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/covax-2/ https://workpointtoday.com/covax-2/]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | |||
“ผอ.สถาบันวัคซีน ชี้แจง เหตุผลที่ไทยเข้าร่วม โคแวกซ์ ปี 2565 หากผู้ผลิตเน้นส่งให้โคแวกซ์ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้น." '''Workpoint Today''' (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/covax23072021/ https://workpointtoday.com/covax23072021/]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | |||
“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงไทยไม่จองวัคซีนโควิด-19 ผ่านโคแวกซ์ เลือกผู้ผลิตไม่ได้ เสียเงินฟรี." '''PPTV '''(7 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658 https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | |||
“สธ.ชี้แจงกรณีไทยไม่ได้รับวัคซีน COVAX ฟรี." '''PPTV''' (7 กุมภาพันธ์ 2564). Available <[https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670 https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | |||
“‘อนุทิน’ ยันไม่ผิดพลาดไทยไม่เข้าโคแวกซ์ ลั่นสิ้น ก.ค.กำวัคซีน 27 ล้านโดส รับบริจาคอีก 3.5 ล้านโดส." '''มติชนออนไลน์''' (25 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462 https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | |||
<div> | <div> | ||
== | = <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> = | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] "COVAX explained," '''Gavi''' (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021. | [[#_ftnref1|[1]]] "COVAX explained," '''Gavi''' (September 3, 2020). Available <[https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained]>. Accessed October 20, 2021. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] "Gavi and global health actors collaborate to accelerate COVID-19 technologies for all," '''Gavi''' (April 24, 2020). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all>. Accessed October 20, 2021. | [[#_ftnref2|[2]]] "Gavi and global health actors collaborate to accelerate COVID-19 technologies for all," '''Gavi''' (April 24, 2020). Available <[https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all]>. Accessed October 20, 2021. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] "COVAX explained," '''Gavi '''(September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021. | [[#_ftnref3|[3]]] "COVAX explained," '''Gavi '''(September 3, 2020). Available <[https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained]>. Accessed October 20, 2021. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] "WHO Says 184 Countries Have Now Joined COVAX Vaccine Program," '''VOA''' (October 19, 2020). Available <https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html>. Accessed October 20, 2021. | [[#_ftnref4|[4]]] "WHO Says 184 Countries Have Now Joined COVAX Vaccine Program," '''VOA''' (October 19, 2020). Available <[https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html]>. Accessed October 20, 2021. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] "COVAX explained," '''Gavi''' (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021. | [[#_ftnref5|[5]]] "COVAX explained," '''Gavi''' (September 3, 2020). Available <[https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained]>. Accessed October 20, 2021. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] "COVAX: ensuring global equitable access to COVID-19 vaccines," '''UNICEF'''. Available <https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines>. Accessed October 19, 2021. | [[#_ftnref6|[6]]] "COVAX: ensuring global equitable access to COVID-19 vaccines," '''UNICEF'''. Available <[https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines]>. Accessed October 19, 2021. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] "7 Vaccines Approved for Use by WHO," '''WHO''' (October 23, 2021). Available <https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/>. Accessed October 19, 2021. | [[#_ftnref7|[7]]] "7 Vaccines Approved for Use by WHO," '''WHO''' (October 23, 2021). Available <[https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/ https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/]>. Accessed October 19, 2021. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|[8]]] "COVID-19 vaccine doses shipped by the COVAX Facility head to Ghana, marking beginning of global roll-out," '''Gavi '''(February 24, 2021). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global>. Accessed October 21, 2021. | [[#_ftnref8|[8]]] "COVID-19 vaccine doses shipped by the COVAX Facility head to Ghana, marking beginning of global roll-out," '''Gavi '''(February 24, 2021). Available <[https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global]>. Accessed October 21, 2021. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] "Covid-19 vaccinations: More than 50 nations have missed a target set by the WHO," '''BBC''' (October 1, 2021). Available <https://www.bbc.com/news/56100076>. Accessed October 21, 2021. | [[#_ftnref9|[9]]] "Covid-19 vaccinations: More than 50 nations have missed a target set by the WHO," '''BBC''' (October 1, 2021). Available <[https://www.bbc.com/news/56100076 https://www.bbc.com/news/56100076]>. Accessed October 21, 2021. | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] "‘Naively ambitious’: How COVAX failed on its promise to vaccinate the world," '''Stat News''' (October 8, 2021). Available <https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/>. Accessed October 21, 2021. | [[#_ftnref10|[10]]] "‘Naively ambitious’: How COVAX failed on its promise to vaccinate the world," '''Stat News''' (October 8, 2021). Available <[https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/ https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/]>. Accessed October 21, 2021. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] "สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงไทยไม่จองวัคซีนโควิด-19 ผ่านโคแวกซ์ เลือกผู้ผลิตไม่ได้ เสียเงินฟรี," '''PPTV '''(7 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref11|[11]]] "สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงไทยไม่จองวัคซีนโควิด-19 ผ่านโคแวกซ์ เลือกผู้ผลิตไม่ได้ เสียเงินฟรี," '''PPTV '''(7 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658 https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] "สธ.ชี้แจงกรณีไทยไม่ได้รับวัคซีน COVAX ฟรี," '''PPTV''' (7 กุมภาพันธ์ 2564). Available <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref12|[12]]] "สธ.ชี้แจงกรณีไทยไม่ได้รับวัคซีน COVAX ฟรี," '''PPTV''' (7 กุมภาพันธ์ 2564). Available <[https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670 https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] "โฆษกเพื่อไทย จี้ ศบค. เปิดรายชื่อกรรมการใช้อำนาจไม่ให้ไทยเข้าร่วม ‘โคแวกซ์’ ทำไทยตกขบวนวัคซีนโควิด-19," '''Workpoint Today''' (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax-2/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref13|[13]]] "โฆษกเพื่อไทย จี้ ศบค. เปิดรายชื่อกรรมการใช้อำนาจไม่ให้ไทยเข้าร่วม ‘โคแวกซ์’ ทำไทยตกขบวนวัคซีนโควิด-19," '''Workpoint Today''' (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/covax-2/ https://workpointtoday.com/covax-2/]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] "‘อนุทิน’ ยันไม่ผิดพลาดไทยไม่เข้าโคแวกซ์ ลั่นสิ้น ก.ค.กำวัคซีน 27 ล้านโดส รับบริจาคอีก 3.5 ล้านโดส," '''มติชนออนไลน์''' (25 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref14|[14]]] "‘อนุทิน’ ยันไม่ผิดพลาดไทยไม่เข้าโคแวกซ์ ลั่นสิ้น ก.ค.กำวัคซีน 27 ล้านโดส รับบริจาคอีก 3.5 ล้านโดส," '''มติชนออนไลน์''' (25 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462 https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn15"> | </div> <div id="ftn15"> | ||
[[#_ftnref15|[15]]] "ผอ.สถาบันวัคซีน ชี้แจง เหตุผลที่ไทยเข้าร่วม โคแวกซ์ ปี 2565 หากผู้ผลิตเน้นส่งให้โคแวกซ์ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้น," '''Workpoint Today''' (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax23072021/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref15|[15]]] "ผอ.สถาบันวัคซีน ชี้แจง เหตุผลที่ไทยเข้าร่วม โคแวกซ์ ปี 2565 หากผู้ผลิตเน้นส่งให้โคแวกซ์ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้น," '''Workpoint Today''' (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <[https://workpointtoday.com/covax23072021/ https://workpointtoday.com/covax23072021/]>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn16"> | </div> <div id="ftn16"> | ||
[[#_ftnref16|[16]]] "The Rise of Vaccine Diplomacy," '''British Foreign Policy Group''' (July 23, 2021). Available <https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/>. Accessed October 21, 2021. | [[#_ftnref16|[16]]] "The Rise of Vaccine Diplomacy," '''British Foreign Policy Group''' (July 23, 2021). Available <[https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/ https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/]>. Accessed October 21, 2021. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:10, 14 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
บทนำ
โครงการโคแว็กซ์ (COVAX) เป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกระหว่างองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (Global Alliance for Vaccines and Immunization: Gavi) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนได้โดยไม่เกิดความเหลื่อมล้ำภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วทุกมุมโลก กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการโคแว็กซ์ก็คือประเทศรายได้ต่ำที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้และประเทศรายได้สูงที่มีกำลังซื้อแต่ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ผลิตได้โดยตรง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 พบว่ามีถึง 184 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์ ขณะที่ประเทศไทยตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าต้องจ่ายเงินล่วงหน้าโดยไม่สามารถกำหนดว่าจะได้รับวัคซีนเมื่อใดและเป็นการทำข้อตกลงที่ประเทศไทยเสียเปรียบ อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ต้น ปี 2564 ขณะที่จำนวนวัคซีนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงเกิดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของรัฐบาลและเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมโครงการฯ นี้ ทั้งนี้ท้ายที่สุดรัฐบาลตัดสินใจจะเข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2565
การก่อตั้งและวัตถุประสงค์ของโครงการโคแว๊กซ์
โครงการโคแว็กซ์ หรือ COVAX หรือ COVID-19 Vaccines Global Access Facility หรือโครงการเพื่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ระดับโลก เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (Global Alliance for Vaccines and Immunization: Gavi) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของกาวี[1] ได้ให้รายละเอียดว่าโครงการโควิดถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของกรอบความร่วมมือเพื่อเร่งรัดการเข้าถึงเครื่องมือในการป้องกันโควิด-19 (Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator) ซึ่งริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก ผู้นำสหภาพยุโรปและประเทศฝรั่งเศสในเดือนเมษายน 2563 เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงระดมความร่วมมือด้านทรัพยากรในการวินิจฉัยโรค การรักษาและการจัดหาวัคซีน[2] ทั้งนี้เป้าหมายหลักของโครงการโควิดก็คือการระดมความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อให้ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่จำเป็น โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งมีโครงการโคแว๊กซ์เป็นเสมือนแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนการพัฒนาวิจัยและการผลิตวัคซีนแก่ประเทศสมาชิกและต่อรองราคากับผู้ผลิต มีการตั้งเป้าเบื้องต้นว่าจะสามารถจัดหาวัคซีน 2 พันล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564[3] จากข้อมูลณวันที่ 19 ตุลาคม 2021 องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่ามีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการแล้วถึง 184 ประเทศทั่วโลก[4]
โดยโครงสร้างการจัดการแล้ว โครงการโคแว๊กซ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และประเทศที่เข้าร่วมก็จะถูกจัดอยู่ในสองส่วนนี้ตามเงื่อนไขที่แตกต่างกัน[5] ส่วนแรก คือ COVAX Facility ซึ่งสมาชิกเข้าร่วมประกอบด้วยประเทศที่ต้องการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยงบประมาณของตนเองผ่านการต่อรองของโครงการฯ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะสามารถจองวัคซีนล่วงหน้าให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรของประเทศ ร้อยละ 10-50 และต้องชำระเงินล่วงหน้าเพื่อเข้าถึงวัคซีนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1) การจัดซื้อแบบไม่สามารถเลือกผู้ผลิต (Committed Purchase Arrangement) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 1.6 ดอลลาร์ต่อโดส หรือ ร้อยละ 15 ของราคาจริง
2) การจัดซื้อแบบสามารถเลือกผู้ผลิต (Optional Purchase Arrangement) ซึ่งสมาชิกมีสิทธิที่จะเลือกวัคซีนประเภทใดก็ได้ที่เหมาะสมสำหรับประเทศตนเอง และมีแผนจัดซื้อวัคซีนกับผู้ผลิตโดยตรงไว้แล้วแต่ต้องการจะซื้อเพิ่มเติมอีกผ่านโครงการฯ จะต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส (ประกอบด้วย ค่ามัดจำวัคซีน 3.1 ดอลลาร์ และค่าประกันความเสี่ยงอีก 0.4 ดอลลาร์)
ในกรณีที่จะต้องการยกเลิกการสั่งซื้อจะไม่ได้รับเงินคืนจากที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด ส่วนที่สอง คือ Gavi COVAX Advance Market Commitment (AMC) หรือกองทุนที่ช่วยให้ประเทศรายได้น้อยเข้าถึงวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ได้อย่างเท่าเทียมกันกับประเทศรายได้สูงที่มีกำลังซื้อวัคซีนด้วยตนเอง ซึ่งเงินทุนส่วนนี้จะมาจากการสนับสนุนของกองทุน Official Development Assistance (ODA) ทั้งนี้ประเทศสมาชิกในกลุ่มแรก (COVAX Facility) จะต้องวางแผนว่าจะช่วยเหลือกองทุนนี้มากน้อยเพียงใดเพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศที่ขาดแคลนได้อย่างทั่วถึงต่อไป
ทั้งนี้ UNICEF ถือเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทในการกระจายวัคซีนไปให้ประเทศที่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ซึ่งวัคซีน จำนวน 2 พันล้านโดสแรกจะถูกกระจายไปสู่มือของบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าผู้ที่ทำงานเพื่อสังคม รวมถึงกลุ่มเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง[6] จากข้อมูล ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2564 องค์การอนามัยโลกให้การรับรองวัคซีนแล้วจาก 7 ผู้ผลิตเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้แก่ Oxford–AstraZeneca, Serum Institute of India, Pfizer–BioNTech, Moderna, Sinopharm, Sinovac และ Johnson & Johnson[7] ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะถูกจัดสรรตามสัดส่วนของการจองผ่านโครงการโคแวกซ์ ทั้งนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กานาถือเป็นชาติแรกที่ได้รับวัคซีนจากโครงการฯ เป็นวัคซีน Oxford–AstraZeneca จำนวน 600,000 โดส[8] แต่การกระจายวัคซีนหลังจากนั้นนอกจากจะล่าช้าแล้วยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการฯ วางไว้[9] ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแม้โครงการโคแว็กซ์วางแผนจะใช้วัคซีนหลากชนิด แต่สามในสี่ของเป้าหมายในไตรมาสแรกของ ปี 2564 นั้นมาจากแหล่งผลิตเดียวในอินเดีย ซึ่งประเทศอินเดียเองกำลังประเชิญกับการระบาดรุนแรงกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลก ขณะที่ประเทศร่ำรวยก็สงวนวัคซีนไว้เป็นเข็มกระตุ้น (booster doses) ให้กับพลเมืองของตนเอง ในทางกลับกันมีอีกกว่า ร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศรายได้ต่ำที่ยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ทำให้การดำเนินงานของโครงการฯ ในช่วง 18 เดือนแรกสามารถกระจายวัคซีนได้น้อยมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียง ร้อยละ 5 ของวัคซีนทั่วโลก และเป็นไปได้สูงที่จะไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้ครบ 2 พันล้านโดส ภายในปี 2564 ตามที่ได้เคยสัญญาไว้[10]
โครงการโคแว็กซ์กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทย
ถึงแม้ว่าความต้องการวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลกจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนผู้ป่วยยืนยันที่เพิ่มขึ้นและดูเหมือนว่าโครงการโคแว็กซ์จะเป็นความร่วมมือด้านวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไทยก็ตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่แรก ทั้งนี้นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ[11] และนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข[12] ชี้แจงเหตุผลในช่วงต้นปี 2564 ไปในทิศทางเดียวกันว่า โครงการโคแว็กซ์ตั้งเป้าแจกจ่ายวัคซีนฟรีแก่ประเทศรายได้ต่ำ แต่ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศรายได้ปานกลางจึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธินี้รวมถึงสิทธิในการซื้อวัคซีนราคาถูกด้วย แต่มีเพียง 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้นที่เข้าเงื่อนไขได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในกรณีที่ต้องการจองวัคซีนผ่านโครงการฯ ก็จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้า ซึ่งไม่สามารถเลือกผู้ผลิตได้หรือหากต้องการเลือกผู้ผลิตก็จะต้องจ่ายเงินจอง 3.5 ดอลลาร์ต่อโดส ซึ่งแพงกว่าความเป็นจริงและไม่ได้มีอิสระในการเลือกอย่างแท้จริง กล่าวคือการเลือกรอบแรกนั้นโครงการจะเสนอรายชื่อผู้ผลิตมาให้ดู หากยังไม่มีรายชื่อที่ผู้ซื้อสนใจก็จะต้องรอต่อไปจนเกิดความล่าช้า หากตัดสินใจเลือกผู้ผลิตตามรายชื่อที่เสนอมาทางโครงการฯ ก็จะนำเงินมัดจำไปจ่ายจองกับผู้ผลิตและผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเลือกว่าจะทำสัญญากับผู้ผลิตหรือไม่ ในกรณีที่โครงการฯ มีการจ่ายจองกับผู้ผลิตไปแล้วแต่ผู้ซื้อตัดสินใจไม่ทำสัญญา เงินจำนวนนี้ทั้งหมดจะไม่ได้รับคืนมาแต่อย่างใด ดังนั้นการจองผ่านโครงการฯ จึงทำให้ไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับการทำข้อตกลงโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตเอง
ถึงเดือนกรกฎาคม 2564 เมื่อยอดผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากจำนวนวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามานั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา ที่ไม่เข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์จนทำให้ไทยตกขบวนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากจากโครงการฯ นี้[13] ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 โครงการโคแว็กซ์ได้ส่งมอบวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้น 136 ล้านโดสแก่ 136 ประเทศ หรือเฉลี่ยประเทศละ 1 ล้านโดส ขณะที่ประเทศไทยซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ แต่ทำข้อตกลงโดยตรงกับผู้ผลิตนั้น มีจำนวนวัคซีนสะสมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564 ทั้งสิ้น 27 ล้านโดส รวมถึงที่ได้รับบริจาคโดยตรงอีกราว 3.5 ล้านโดส นายอนุทินยืนยันว่าการตัดสินใจของไทยไม่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่แรกนั้นไม่ได้เป็นความผิดพลาดแต่ไทยจะเข้าร่วมโครงการใน ปี 2565 เนื่องจาก “ สถานการณ์เปลี่ยนไป เราก็วิเคราะห์ตามสถานการณ์จริง โดยการที่ผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนให้แก่ประเทศรายได้สูงจนเกินพอในปีนี้ (2564) และเริ่มมีการบริจาคออกมา เราก็ดูสถานการณ์ในปี 2565 วิเคราะห์แล้วว่าหลังจากที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนส่งวัคซีนให้กับประเทศรายได้สูงจนเกินพอ ต่อไปก็คาดว่าจะมีวัคซีนเข้ามาเพื่อจัดสรรให้แต่ละประเทศได้มากขึ้น”[14] ทั้งนี้ประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์แบบสั่งซื้อวัคซีนด้วยเงินทุนของประเทศตนเองเพื่อที่จะบริหารความเสี่ยงในอนาคต[15]
นัยยะสำคัญของโครงการโคแว็กซ์
โครงการโคแว็กซ์ ถือเป็นความร่วมมือระดับโลกครั้งใหญ่ในการที่จะทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอันแตกต่างกันนั้นไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชากรจากทั่วทุกมุมโลกจะได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอและทันท่วงทีในช่วงเวลาที่แทบทุกประเทศต้องประเชิญกับวิกฤตการระบาดใหญ่ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศตั้งข้อสังเกตว่า โครงการโคแว็กซ์ที่นำโดยชาติตะวันตกและพันธมิตรเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชิงความเป็นใหญ่ด้านการทูตวัคซีน (vaccine diplomacy) กล่าวคือ ขณะที่จีนพยายามดำเนินนโยบายการทูตวัคซีนโดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ และรัสเซีย ที่เน้นไปที่ทวีปแอฟริกา แต่ความร่วมมือของชาติตะวันตกและพันธมิตรมีศักยภาพที่จะชิงความได้เปรียบในการขยายอำนาจอ่อน (soft power) ผ่านโครงการโคแว็กซ์ หากสามารถจัดสรรวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้[16] ในกรณีของประเทศไทยการตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการฯ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายวัคซีนที่คาดหวังจะพึ่งพาวัคซีนจากแหล่งการผลิตภายในประเทศเป็นหลัก แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นทำให้รัฐบาลไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอ และทันตามความต้องการของประชาชนภายในประเทศ แม้การสั่งจองวัคซีนผ่านโครงการโคแว็กซ์จะมีราคาสูงกว่าการตกลงซื้อขายโดยตรงกับผู้ผลิต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหนึ่งในทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดแคลนวัคซีนในอนาคต จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะเกิดกระแสความไม่พอใจต่อนโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาลโดยเฉพาะและการบริหารประเทศของรัฐบาลโดยทั่วไป
บรรณานุกรม
“7 Vaccines Approved for Use by WHO." WHO (October 23, 2021). Available <https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/>. Accessed October 19, 2021.
“COVAX explained." Gavi (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021.
“COVAX: ensuring global equitable access to COVID-19 vaccines." UNICEF. Available <https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines>. Accessed October 19, 2021.
“Covid-19 vaccinations: More than 50 nations have missed a target set by the WHO." BBC (October 1, 2021). Available <https://www.bbc.com/news/56100076>. Accessed October 21, 2021.
“COVID-19 vaccine doses shipped by the COVAX Facility head to Ghana, marking beginning of global roll-out." Gavi (February 24, 2021). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global>. Accessed October 21, 2021.
“Gavi and global health actors collaborate to accelerate COVID-19 technologies for all." Gavi (April 24, 2020). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all>. Accessed October 20, 2021.
“‘Naively ambitious’: How COVAX failed on its promise to vaccinate the world." Stat News (October 8, 2021). Available <https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/>. Accessed October 21, 2021.
“The Rise of Vaccine Diplomacy." British Foreign Policy Group (July 23, 2021). Available <https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/>. Accessed October 21, 2021.
“WHO Says 184 Countries Have Now Joined COVAX Vaccine Program." VOA (October 19, 2020). Available <https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html>. Accessed October 20, 2021.
“โฆษกเพื่อไทย จี้ ศบค. เปิดรายชื่อกรรมการใช้อำนาจไม่ให้ไทยเข้าร่วม ‘โคแวกซ์’ ทำไทยตกขบวนวัคซีนโควิด-19." Workpoint Today (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax-2/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
“ผอ.สถาบันวัคซีน ชี้แจง เหตุผลที่ไทยเข้าร่วม โคแวกซ์ ปี 2565 หากผู้ผลิตเน้นส่งให้โคแวกซ์ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้น." Workpoint Today (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax23072021/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงไทยไม่จองวัคซีนโควิด-19 ผ่านโคแวกซ์ เลือกผู้ผลิตไม่ได้ เสียเงินฟรี." PPTV (7 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
“สธ.ชี้แจงกรณีไทยไม่ได้รับวัคซีน COVAX ฟรี." PPTV (7 กุมภาพันธ์ 2564). Available <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
“‘อนุทิน’ ยันไม่ผิดพลาดไทยไม่เข้าโคแวกซ์ ลั่นสิ้น ก.ค.กำวัคซีน 27 ล้านโดส รับบริจาคอีก 3.5 ล้านโดส." มติชนออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
อ้างอิง
[1] "COVAX explained," Gavi (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021.
[2] "Gavi and global health actors collaborate to accelerate COVID-19 technologies for all," Gavi (April 24, 2020). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/gavi-and-global-health-actors-collaborate-accelerate-covid-19-technologies-all>. Accessed October 20, 2021.
[3] "COVAX explained," Gavi (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021.
[4] "WHO Says 184 Countries Have Now Joined COVAX Vaccine Program," VOA (October 19, 2020). Available <https://www.voanews.com/a/covid-19-pandemic_who-says-184-countries-have-now-joined-covax-vaccine-program/6197326.html>. Accessed October 20, 2021.
[5] "COVAX explained," Gavi (September 3, 2020). Available <https://www.gavi.org/vaccineswork/covax-explained>. Accessed October 20, 2021.
[6] "COVAX: ensuring global equitable access to COVID-19 vaccines," UNICEF. Available <https://www.unicef.org/supply/covax-ensuring-global-equitable-access-covid-19-vaccines>. Accessed October 19, 2021.
[7] "7 Vaccines Approved for Use by WHO," WHO (October 23, 2021). Available <https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/>. Accessed October 19, 2021.
[8] "COVID-19 vaccine doses shipped by the COVAX Facility head to Ghana, marking beginning of global roll-out," Gavi (February 24, 2021). Available <https://www.gavi.org/news/media-room/covid-19-vaccine-doses-shipped-covax-facility-head-ghana-marking-beginning-global>. Accessed October 21, 2021.
[9] "Covid-19 vaccinations: More than 50 nations have missed a target set by the WHO," BBC (October 1, 2021). Available <https://www.bbc.com/news/56100076>. Accessed October 21, 2021.
[10] "‘Naively ambitious’: How COVAX failed on its promise to vaccinate the world," Stat News (October 8, 2021). Available <https://www.statnews.com/2021/10/08/how-covax-failed-on-its-promise-to-vaccinate-the-world/>. Accessed October 21, 2021.
[11] "สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงไทยไม่จองวัคซีนโควิด-19 ผ่านโคแวกซ์ เลือกผู้ผลิตไม่ได้ เสียเงินฟรี," PPTV (7 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141658>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[12] "สธ.ชี้แจงกรณีไทยไม่ได้รับวัคซีน COVAX ฟรี," PPTV (7 กุมภาพันธ์ 2564). Available <https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/141670>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[13] "โฆษกเพื่อไทย จี้ ศบค. เปิดรายชื่อกรรมการใช้อำนาจไม่ให้ไทยเข้าร่วม ‘โคแวกซ์’ ทำไทยตกขบวนวัคซีนโควิด-19," Workpoint Today (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax-2/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[14] "‘อนุทิน’ ยันไม่ผิดพลาดไทยไม่เข้าโคแวกซ์ ลั่นสิ้น ก.ค.กำวัคซีน 27 ล้านโดส รับบริจาคอีก 3.5 ล้านโดส," มติชนออนไลน์ (25 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2848462>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[15] "ผอ.สถาบันวัคซีน ชี้แจง เหตุผลที่ไทยเข้าร่วม โคแวกซ์ ปี 2565 หากผู้ผลิตเน้นส่งให้โคแวกซ์ ไทยจะมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้น," Workpoint Today (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/covax23072021/>. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[16] "The Rise of Vaccine Diplomacy," British Foreign Policy Group (July 23, 2021). Available <https://bfpg.co.uk/2021/07/the-rise-of-vaccine-diplomacy/>. Accessed October 21, 2021.