ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทษฐานที่มารายงานตัว"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
| | ||
'''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' เป็นคำที่ผู้ชุมนุมทางการเมืองในช่วง พ.ศ.2563-2564 ใช้ในเชิงตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม โดยเป็นผลมาจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับประเด็นของการเรียกร้องไปสู่ “การปฏิรูปสถาบัน” ที่มีระดับความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน | '''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' เป็นคำที่ผู้ชุมนุมทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2563-2564 ใช้ในเชิงตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม โดยเป็นผลมาจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับประเด็นของการเรียกร้องไปสู่ '''“การปฏิรูปสถาบัน”''' ที่มีระดับความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน | ||
| | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''จุดเริ่มต้น'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''จุดเริ่มต้น'''</span> | ||
พ.ศ. 2563 กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดกระแสการชุมนุมอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล | พ.ศ. 2563 กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดกระแสการชุมนุมอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล โดยการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกมีชนวนเหตุมาจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อ วันที่ 21 ก.พ. 2563 ในความผิดจากกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน 191 ล้านบาท (ไทยพีบีเอส, 2563) หลังจากนั้นจึงเกิดการแฟลชม็อบหน้าที่ทำการพรรคอนาคตใหม่ในช่วงเย็นของวันตัดสิน (มติชนออนไลน์, 2563ก) ก่อนที่ในช่วงเวลาต่อมาจะเกิดเป็นกระแสการประท้วงอย่างต่อเนื่องไปในหลายมหาวิทยาลัย พร้อมเกิดแฮชแท็กประจำแต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อจุดกระแสเชิญชวนมาร่วมกิจกรรม ตัวอย่างเช่น '''#ที่ยุบอนาคตใหม่พี่มหาลัยกูทั้งนั้น''' ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ '''#เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป''' ของนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย '''#ช้างเผือกจะไม่ทน''' ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ '''#KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ''' ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น (เดลินิวส์, 2563) | ||
แม้ว่ากระแสของการเกิดแฟลชม็อบจะได้ผลเป็นอย่างมากจนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมปราศรัยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งกระแสความโกรธของมวลชนก็เริ่มลดลง ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด (COVID-19) ส่งผลให้มวลชนที่มาร่วมชุมนุมลดน้อยลงตามลำดับ จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้งจากกรณีของการชุมนุม '''“เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย”''' ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยกลุ่ม '''“มหานครเพื่อประชาธิปไตย”''' และ กลุ่ม '''“มอกะเสด”''' ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวยกระดับเนื้อหาของการปราศรัยในวันดังกล่าวก็คือ การปราศรัยเป็นครั้งแรกที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการ “ปฏิรูปสถาบัน” ที่ปราศรัยโดยอานนท์ นำภา (มติชนออนไลน์, 2563ข) ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นทั้งจุดตั้งต้นของการปราศรัยในประเด็นปฏิรูปสถาบัน เช่นเดียวกันกับปฏิบัติการของภาครัฐในการยกระดับการกำหนดโทษคดีอาญา และการจับกุมตัวนักศึกษาหรือผู้ใดที่เข้าร่วมปราศรัย | แม้ว่ากระแสของการเกิดแฟลชม็อบจะได้ผลเป็นอย่างมากจนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมปราศรัยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งกระแสความโกรธของมวลชนก็เริ่มลดลง ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด (COVID-19) ส่งผลให้มวลชนที่มาร่วมชุมนุมลดน้อยลงตามลำดับ จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้งจากกรณีของการชุมนุม '''“เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย”''' ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยกลุ่ม '''“มหานครเพื่อประชาธิปไตย”''' และ กลุ่ม '''“มอกะเสด”''' ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวยกระดับเนื้อหาของการปราศรัยในวันดังกล่าวก็คือ การปราศรัยเป็นครั้งแรกที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการ “ปฏิรูปสถาบัน” ที่ปราศรัยโดยอานนท์ นำภา (มติชนออนไลน์, 2563ข) ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นทั้งจุดตั้งต้นของการปราศรัยในประเด็นปฏิรูปสถาบัน เช่นเดียวกันกับปฏิบัติการของภาครัฐในการยกระดับการกำหนดโทษคดีอาญา และการจับกุมตัวนักศึกษาหรือผู้ใดที่เข้าร่วมปราศรัย | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''การยกระดับเพดานการชุมนุม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''การยกระดับเพดานการชุมนุม'''</span> | ||
หลังจากที่มีการปราศรัยโดยอานนท์ในงานชุมนุม ''' | หลังจากที่มีการปราศรัยโดยอานนท์ในงานชุมนุม '''“'''[[กิจกรรม_“เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย”|เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย]]'''”''' แล้วหลังจากนั้นมากระแสของปราศรัยในประเด็นของการปฏิรูปสถาบันได้มีการนำเสนอมาอย่างต่อเนื่องในงานชุมนุม '''“'''[[ธรรมศาสตร์จะไม่ทน]]'''”''' ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยเวทีนี้มีการปราศรัยตั้งแต่ประเด็นของความไม่พึงพอใจที่มีต่อรัฐบาล พล.อ.[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] แล้วจึงยกระดับเป็นประเด็นของการปฏิรูปสถาบันที่ปราศรัยโดยอานนท์ เช่นเดียวกับการปราศรัยทางไกลในประเด็นปฏิรูปสถาบันโดย ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่ได้ลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศญี่ปุ่น แล้วในช่วงท้ายของเวทีปราศรัยจึงจบลงด้วยการนำเสนอ '''“10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์”''' ที่อ่านแถลงการณ์โดย ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (บีบีซีไทย, 2563ก) | ||
ในลำดับต่อเนื่องกันนี้ กลุ่มของ “เยาวชนปลดแอก” ที่ได้มานัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ยกระดับโดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “คณะประชาชนปลดแอก” พร้อมกับนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับประเด็นการปฏิรูปสถาบัน นั่นก็คือการนำเสนอเรื่อง “3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน” โดย 3 ข้อเรียกร้องคือ รัฐบาลต้องหยุดคุมคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ส่วน 2 จุดยืน ได้แก่ ต้องไม่มีการรัฐประหาร และไม่มีรัฐบาลแห่งชาติ ส่วน 1 ความฝันคือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง (ไทยโพสต์, 2563) | ในลำดับต่อเนื่องกันนี้ กลุ่มของ '''“เยาวชนปลดแอก”''' ที่ได้มานัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ยกระดับโดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น '''“คณะประชาชนปลดแอก”''' พร้อมกับนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับประเด็นการปฏิรูปสถาบัน นั่นก็คือการนำเสนอเรื่อง '''“3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน”''' โดย 3 ข้อเรียกร้องคือ รัฐบาลต้องหยุดคุมคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ส่วน 2 จุดยืน ได้แก่ ต้องไม่มีการรัฐประหาร และไม่มีรัฐบาลแห่งชาติ ส่วน 1 ความฝันคือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง (ไทยโพสต์, 2563) | ||
การยกระดับเพดานการปราศรัยเรื่องปฏิรูปสถาบันยังคงไต่เส้นไปยิ่งกว่าเดิม | การยกระดับเพดานการปราศรัยเรื่องปฏิรูปสถาบันยังคงไต่เส้นไปยิ่งกว่าเดิม ดังสังเกตได้จาก วันที่ 8 ต.ค. 2563 ได้มีการประกาศรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาหลากหลายกลุ่ม โดยรวมเข้าเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีชื่อว่า “[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]]” โดยเสนอเป็น 3 ข้อเรียกร้องใหม่ ได้แก่ พล.อ. ประยุทธ์ และองคาพยพทุกคนต้องลาออก รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญเพื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย (บีบีซีไทย, 2563ข) | ||
| จากนั้นใน วันที่ 14 ต.ค. 2563 มีการเดินขบวนของกลุ่มคณะราษฎรไปยังทำเนียบ ซึ่งในวันดังกล่าวคณะราษฎรต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคนเสื้อเหลือง การเคลื่อนขบวนเสด็จของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เคลื่อนผ่านหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกรณีนี้เองอาจเป็นเหตุให้ วันที่ 15 ต.ค. 2563 เวลา 04.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร อันนำมาสู่การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล และชุดควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวแกนนำ (Bangkok Insight, 2563) | ||
หลังจากที่มีความตึงเครียดมากขึ้น การชุมนุมได้ยกระดับเพดานการปราศรัยในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้นเรื่อย ๆ | หลังจากที่มีความตึงเครียดมากขึ้น การชุมนุมได้ยกระดับเพดานการปราศรัยในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วใน วันที่ 20 พ.ย. 2563 พล.อ.ประยุทธ์จึงได้ประกาศยกระดับการเอาผิดผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายทุกฉบับที่มี ซึ่งมีนัยยะขยายรวมถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็นกฎหมายคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ด้วยเช่นกัน (บีบีซีไทย, 2563ค) ด้วยเหตุนี้เอง การใช้กฎหมายทุกฉบับเพื่อจับกุมหรือลงโทษแกนนำการชุมนุมจึงได้มีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและการที่แกนนำต้องมารายงานตัวเพื่อรับฟังการชี้แจงโทษอาญาก็กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย พร้อมกับโทษทางอาญาที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวลีว่า '''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' | ||
| | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''การยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''การยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม'''</span> | ||
'''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' กลายเป็นวลีเพื่อการตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม ซึ่งเป็นผลจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับในประเด็นของการปฏิรูปสถาบันจนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน ทั้งนี้การรายงานตัวของแกนนำที่ทางเจ้าหน้าที่รัฐเอาผิดด้วยข้อกฎหมายทางอาญานั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ใน 4 ข้อหากล่าวโทษแกนนำ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215 และ พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยแต่ละข้อกฎหมายมีสาระสำคัญ ดังนี้ | '''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' กลายเป็นวลีเพื่อการตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม ซึ่งเป็นผลจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับในประเด็นของการปฏิรูปสถาบันจนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน ทั้งนี้การรายงานตัวของแกนนำที่ทางเจ้าหน้าที่รัฐเอาผิดด้วยข้อกฎหมายทางอาญานั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ใน 4 ข้อหากล่าวโทษแกนนำ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215 และ [[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548|พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548]] โดยแต่ละข้อกฎหมายมีสาระสำคัญ ดังนี้ | ||
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า ''"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"'' | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า ''"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"'' | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า ''“ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต'' | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า ''“ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต'' | ||
''(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย'' | '' (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย'' | ||
''(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ'' | '' (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ'' | ||
''(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี”'' | '' (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี”'' | ||
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 บัญญัติไว้ว่า ''“ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”'' | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 บัญญัติไว้ว่า ''“ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”'' | ||
พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 เป็นข้อกฎหมายในการออกข้อกำหนดเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคระบาด โดยข้อกำหนดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมโรค แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เพื่อการกำหนดโทษของแกนนำการชุมนุมเช่นกันก็คือ | พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 เป็นข้อกฎหมายในการออกข้อกำหนดเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคระบาด โดยข้อกำหนดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมโรค แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เพื่อการกำหนดโทษของแกนนำการชุมนุมเช่นกันก็คือ ข้อกำหนดว่าด้วยการห้ามรวมตัวมั่วสุมในลักษณะที่เสียงต่อการแพร่ระบาดของโรคหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร โดยผู้ที่ฝ่าฝืนต้องรับโทษตาม มาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ก) | ||
ด้วยเหตุนี้ วลี '''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' จึงถูกนำมาใช้เพื่อเสียดสีต่อกรณีที่แกนนำยอมรับด้วยดีต่อความผิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดโทษทางอาญา และได้ตัดสินใจออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองหลังจากถูกดำเนินคดีจาก 4 ข้อหาดังกล่าว ไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด ซึ่งมีกรณีหลายครั้งด้วยกันที่แกนนำออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่เอง ตัวอย่างเช่น "รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ พร้อมพวก รายงานตัวคดี ม.112 หลังแต่งครอปท็อปเดินสยาม" (มติชนออนไลน์, 2564), “รุ้ง-ไมค์ และ 18 แนวร่วม เข้ารายงานตัวคดีชุมนุม 19 กันยา อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็น 8 มี.ค.” (มติชนสุดสัปดาห์, 2564), “มายด์" รายงานตัวอัยการคดี ชุมนุมสถานทูตเยอรมนี เผยมีกำลังใจดี” (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ข) หรือ “ไผ่-เพนกวิน รายงานตัวศาล ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” (เดลินิวส์, 2564) เป็นต้น กรณีเหล่านี้จึงเป็นการสะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงการต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การยอมรับในกรอบกของฎหมายที่แกนนำพยายามแสดงให้เห็นเช่นกัน | ด้วยเหตุนี้ วลี '''“โทษฐานที่มารายงานตัว”''' จึงถูกนำมาใช้เพื่อเสียดสีต่อกรณีที่แกนนำยอมรับด้วยดีต่อความผิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดโทษทางอาญา และได้ตัดสินใจออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองหลังจากถูกดำเนินคดีจาก 4 ข้อหาดังกล่าว ไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด ซึ่งมีกรณีหลายครั้งด้วยกันที่แกนนำออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่เอง ตัวอย่างเช่น "รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ พร้อมพวก รายงานตัวคดี ม.112 หลังแต่งครอปท็อปเดินสยาม" (มติชนออนไลน์, 2564), “รุ้ง-ไมค์ และ 18 แนวร่วม เข้ารายงานตัวคดีชุมนุม 19 กันยา อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็น 8 มี.ค.” (มติชนสุดสัปดาห์, 2564), “มายด์" รายงานตัวอัยการคดี ชุมนุมสถานทูตเยอรมนี เผยมีกำลังใจดี” (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ข) หรือ “ไผ่-เพนกวิน รายงานตัวศาล ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” (เดลินิวส์, 2564) เป็นต้น กรณีเหล่านี้จึงเป็นการสะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงการต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การยอมรับในกรอบกของฎหมายที่แกนนำพยายามแสดงให้เห็นเช่นกัน | ||
บรรทัดที่ 56: | บรรทัดที่ 56: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | ||
"ลำดับเหตุการณ์คดียุบพรรคอนาคตใหม่". (21 ก.พ. 2563). ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: | "ลำดับเหตุการณ์คดียุบพรรคอนาคตใหม่". (21 ก.พ. 2563). ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก:[https://news.thaipbs.or.th/content/289158 https://news.thaipbs.or.th/content/289158]. | ||
https://news.thaipbs.or.th/content/289158. | |||
"มวลชนพรึบ หน้าพรรคอนาคตใหม่ เปิดเวทีปราศรัย ด้าน ผบช.น.มาคุมเอง หวั่นลงถนน". (21 ก.พ. 2563). มติ | "มวลชนพรึบ หน้าพรรคอนาคตใหม่ เปิดเวทีปราศรัย ด้าน ผบช.น.มาคุมเอง หวั่นลงถนน". (21 ก.พ. 2563). มติ | ||
ชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.matichon.co.th/politics/news_1993838. | ชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.matichon.co.th/politics/news_1993838 https://www.matichon.co.th/politics/news_1993838]. | ||
"ส่อง#มหา'ลัยดังทั่วไทย แฟลชม็อบแต่ละที่ใช้อะไรกัน?". (25 ก.พ. 2563). เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, | "ส่อง#มหา'ลัยดังทั่วไทย แฟลชม็อบแต่ละที่ใช้อะไรกัน?". (25 ก.พ. 2563). เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.dailynews.co.th/regional/759519/ https://www.dailynews.co.th/regional/759519/]". | ||
จาก: | "ทนายอานนท์ร่วม ‘ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์’ ชี้ไม้เท้าเสกคาถาป้อง ปชต.". (3 ส.ค. 2563). มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.matichon.co.th/politics/news_2292061 https://www.matichon.co.th/politics/news_2292061]. | ||
" | "“ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อแก้ปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ นัดชุมนุมอีกครั้ง 12 ส.ค.". (10 ส.ค. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.bbc.com/thai/thailand-53727597 https://www.bbc.com/thai/thailand-53727597]. | ||
เปลวสีเงิน. (17 ส.ค. 2563). "'3ข้อเรียกร้อง-1ความฝัน'! ม็อบปลดแอกแถลงการณ์ปิดการชุมนุม". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.thaipost.net/main/detail/74650 https://www.thaipost.net/main/detail/74650]. | |||
" | "คณะราษฎร: ประกาศ 3 ข้อเรียกร้องก่อนชุมนุมใหญ่ 14 ตุลา ประยุทธ์ลาออก-เปิดสภาแก้ รธน.-ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์". (8 ต.ค. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.bbc.com/thai/thailand-54461248 https://www.bbc.com/thai/thailand-54461248]. | ||
"ไทม์ไลน์ 'คณะราษฎร' ชุมนุม 14 ตุลา ถึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สลายม็อบ". (15 ต.ค. 2563). Bangkok Insight. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/455875/ https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/455875/]. | |||
"มาตรา 112 : นายกฯ ยืนยัน "ใช้กฎหมายทุกฉบับทุกมาตรา" เอาผิดผู้ชุมนุม". (20 พ.ย. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.bbc.com/thai/thailand-55019486 https://www.bbc.com/thai/thailand-55019486]. | |||
สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www. | "รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ พร้อมพวก รายงานตัวคดี ม.112 หลังแต่งครอปท็อปเดินสยาม". (20 ม.ค. 2564). มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2538041 https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2538041]. | ||
" | "“รุ้ง-ไมค์” และ 18 แนวร่วม เข้ารายงานตัวคดีชุมนุม 19 กันยา อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็น 8 มี.ค.". (17 ก.พ. 2564). มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_401320 https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_401320]. | ||
""มายด์" รายงานตัวอัยการคดี "ชุมนุมสถานทูตเยอรมนี" เผยมีกำลังใจดี". (25 มี.ค. 2564). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.thairath.co.th/news/politic/2057065 https://www.thairath.co.th/news/politic/2057065]. | |||
" | "'ไผ่-เพนกวิน'รายงานตัวศาล ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน". (14 มิ.ย. 2564). เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก:[https://www.dailynews.co.th/politics/849810/ https://www.dailynews.co.th/politics/849810/]. | ||
"มีผลวันนี้ ราชกิจจาฯ ห้ามชุมนุม มั่วสุม ทำกิจกรรมเสี่ยงโควิดแพร่ ฝ่าฝืนมีโทษ". (16 ก.ค. 2564). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: [https://www.thairath.co.th/news/politic/2142571 https://www.thairath.co.th/news/politic/2142571]. | |||
| |||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:49, 10 สิงหาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
“โทษฐานที่มารายงานตัว” เป็นคำที่ผู้ชุมนุมทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2563-2564 ใช้ในเชิงตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม โดยเป็นผลมาจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับประเด็นของการเรียกร้องไปสู่ “การปฏิรูปสถาบัน” ที่มีระดับความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน
จุดเริ่มต้น
พ.ศ. 2563 กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดกระแสการชุมนุมอย่างต่อเนื่องของนักศึกษาและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐบาล โดยการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกมีชนวนเหตุมาจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อ วันที่ 21 ก.พ. 2563 ในความผิดจากกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงิน 191 ล้านบาท (ไทยพีบีเอส, 2563) หลังจากนั้นจึงเกิดการแฟลชม็อบหน้าที่ทำการพรรคอนาคตใหม่ในช่วงเย็นของวันตัดสิน (มติชนออนไลน์, 2563ก) ก่อนที่ในช่วงเวลาต่อมาจะเกิดเป็นกระแสการประท้วงอย่างต่อเนื่องไปในหลายมหาวิทยาลัย พร้อมเกิดแฮชแท็กประจำแต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อจุดกระแสเชิญชวนมาร่วมกิจกรรม ตัวอย่างเช่น #ที่ยุบอนาคตใหม่พี่มหาลัยกูทั้งนั้น ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป ของนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #ช้างเผือกจะไม่ทน ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น (เดลินิวส์, 2563)
แม้ว่ากระแสของการเกิดแฟลชม็อบจะได้ผลเป็นอย่างมากจนมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมปราศรัยมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งกระแสความโกรธของมวลชนก็เริ่มลดลง ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด (COVID-19) ส่งผลให้มวลชนที่มาร่วมชุมนุมลดน้อยลงตามลำดับ จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้งจากกรณีของการชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย” ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยกลุ่ม “มหานครเพื่อประชาธิปไตย” และ กลุ่ม “มอกะเสด” ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวยกระดับเนื้อหาของการปราศรัยในวันดังกล่าวก็คือ การปราศรัยเป็นครั้งแรกที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการ “ปฏิรูปสถาบัน” ที่ปราศรัยโดยอานนท์ นำภา (มติชนออนไลน์, 2563ข) ซึ่งสามารถถือได้ว่าเป็นทั้งจุดตั้งต้นของการปราศรัยในประเด็นปฏิรูปสถาบัน เช่นเดียวกันกับปฏิบัติการของภาครัฐในการยกระดับการกำหนดโทษคดีอาญา และการจับกุมตัวนักศึกษาหรือผู้ใดที่เข้าร่วมปราศรัย
การยกระดับเพดานการชุมนุม
หลังจากที่มีการปราศรัยโดยอานนท์ในงานชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ ปกป้องประชาธิปไตย” แล้วหลังจากนั้นมากระแสของปราศรัยในประเด็นของการปฏิรูปสถาบันได้มีการนำเสนอมาอย่างต่อเนื่องในงานชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยเวทีนี้มีการปราศรัยตั้งแต่ประเด็นของความไม่พึงพอใจที่มีต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์_จันทร์โอชา แล้วจึงยกระดับเป็นประเด็นของการปฏิรูปสถาบันที่ปราศรัยโดยอานนท์ เช่นเดียวกับการปราศรัยทางไกลในประเด็นปฏิรูปสถาบันโดย ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่ได้ลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศญี่ปุ่น แล้วในช่วงท้ายของเวทีปราศรัยจึงจบลงด้วยการนำเสนอ “10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่อ่านแถลงการณ์โดย ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (บีบีซีไทย, 2563ก)
ในลำดับต่อเนื่องกันนี้ กลุ่มของ “เยาวชนปลดแอก” ที่ได้มานัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ยกระดับโดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “คณะประชาชนปลดแอก” พร้อมกับนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับประเด็นการปฏิรูปสถาบัน นั่นก็คือการนำเสนอเรื่อง “3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน” โดย 3 ข้อเรียกร้องคือ รัฐบาลต้องหยุดคุมคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ส่วน 2 จุดยืน ได้แก่ ต้องไม่มีการรัฐประหาร และไม่มีรัฐบาลแห่งชาติ ส่วน 1 ความฝันคือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง (ไทยโพสต์, 2563)
การยกระดับเพดานการปราศรัยเรื่องปฏิรูปสถาบันยังคงไต่เส้นไปยิ่งกว่าเดิม ดังสังเกตได้จาก วันที่ 8 ต.ค. 2563 ได้มีการประกาศรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาหลากหลายกลุ่ม โดยรวมเข้าเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีชื่อว่า “คณะราษฎร” โดยเสนอเป็น 3 ข้อเรียกร้องใหม่ ได้แก่ พล.อ. ประยุทธ์ และองคาพยพทุกคนต้องลาออก รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญเพื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย (บีบีซีไทย, 2563ข)
จากนั้นใน วันที่ 14 ต.ค. 2563 มีการเดินขบวนของกลุ่มคณะราษฎรไปยังทำเนียบ ซึ่งในวันดังกล่าวคณะราษฎรต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคนเสื้อเหลือง การเคลื่อนขบวนเสด็จของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เคลื่อนผ่านหน้ากลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกรณีนี้เองอาจเป็นเหตุให้ วันที่ 15 ต.ค. 2563 เวลา 04.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร อันนำมาสู่การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล และชุดควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวแกนนำ (Bangkok Insight, 2563)
หลังจากที่มีความตึงเครียดมากขึ้น การชุมนุมได้ยกระดับเพดานการปราศรัยในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วใน วันที่ 20 พ.ย. 2563 พล.อ.ประยุทธ์จึงได้ประกาศยกระดับการเอาผิดผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายทุกฉบับที่มี ซึ่งมีนัยยะขยายรวมถึงการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เป็นกฎหมายคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ด้วยเช่นกัน (บีบีซีไทย, 2563ค) ด้วยเหตุนี้เอง การใช้กฎหมายทุกฉบับเพื่อจับกุมหรือลงโทษแกนนำการชุมนุมจึงได้มีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและการที่แกนนำต้องมารายงานตัวเพื่อรับฟังการชี้แจงโทษอาญาก็กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย พร้อมกับโทษทางอาญาที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวลีว่า “โทษฐานที่มารายงานตัว”
การยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม
“โทษฐานที่มารายงานตัว” กลายเป็นวลีเพื่อการตอบโต้กับมาตรการของภาครัฐที่มีการยกระดับการกำหนดความผิดของแกนนำการชุมนุม ซึ่งเป็นผลจากการที่แกนนำปราศรัยยกระดับในประเด็นของการปฏิรูปสถาบันจนกลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันทั่วไปในสังคมไทยทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงต่อต้าน ทั้งนี้การรายงานตัวของแกนนำที่ทางเจ้าหน้าที่รัฐเอาผิดด้วยข้อกฎหมายทางอาญานั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ใน 4 ข้อหากล่าวโทษแกนนำ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 215 และ พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยแต่ละข้อกฎหมายมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
พ.ร.ก. กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 เป็นข้อกฎหมายในการออกข้อกำหนดเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคระบาด โดยข้อกำหนดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมโรค แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เพื่อการกำหนดโทษของแกนนำการชุมนุมเช่นกันก็คือ ข้อกำหนดว่าด้วยการห้ามรวมตัวมั่วสุมในลักษณะที่เสียงต่อการแพร่ระบาดของโรคหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร โดยผู้ที่ฝ่าฝืนต้องรับโทษตาม มาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ก)
ด้วยเหตุนี้ วลี “โทษฐานที่มารายงานตัว” จึงถูกนำมาใช้เพื่อเสียดสีต่อกรณีที่แกนนำยอมรับด้วยดีต่อความผิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดโทษทางอาญา และได้ตัดสินใจออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองหลังจากถูกดำเนินคดีจาก 4 ข้อหาดังกล่าว ไม่ว่าจะข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด ซึ่งมีกรณีหลายครั้งด้วยกันที่แกนนำออกมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่เอง ตัวอย่างเช่น "รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ พร้อมพวก รายงานตัวคดี ม.112 หลังแต่งครอปท็อปเดินสยาม" (มติชนออนไลน์, 2564), “รุ้ง-ไมค์ และ 18 แนวร่วม เข้ารายงานตัวคดีชุมนุม 19 กันยา อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็น 8 มี.ค.” (มติชนสุดสัปดาห์, 2564), “มายด์" รายงานตัวอัยการคดี ชุมนุมสถานทูตเยอรมนี เผยมีกำลังใจดี” (ไทยรัฐออนไลน์, 2564ข) หรือ “ไผ่-เพนกวิน รายงานตัวศาล ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” (เดลินิวส์, 2564) เป็นต้น กรณีเหล่านี้จึงเป็นการสะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงการต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การยอมรับในกรอบกของฎหมายที่แกนนำพยายามแสดงให้เห็นเช่นกัน
บรรณานุกรม
"ลำดับเหตุการณ์คดียุบพรรคอนาคตใหม่". (21 ก.พ. 2563). ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก:https://news.thaipbs.or.th/content/289158.
"มวลชนพรึบ หน้าพรรคอนาคตใหม่ เปิดเวทีปราศรัย ด้าน ผบช.น.มาคุมเอง หวั่นลงถนน". (21 ก.พ. 2563). มติ
ชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.matichon.co.th/politics/news_1993838.
"ส่อง#มหา'ลัยดังทั่วไทย แฟลชม็อบแต่ละที่ใช้อะไรกัน?". (25 ก.พ. 2563). เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.dailynews.co.th/regional/759519/".
"ทนายอานนท์ร่วม ‘ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์’ ชี้ไม้เท้าเสกคาถาป้อง ปชต.". (3 ส.ค. 2563). มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.matichon.co.th/politics/news_2292061.
"“ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อแก้ปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ นัดชุมนุมอีกครั้ง 12 ส.ค.". (10 ส.ค. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-53727597.
เปลวสีเงิน. (17 ส.ค. 2563). "'3ข้อเรียกร้อง-1ความฝัน'! ม็อบปลดแอกแถลงการณ์ปิดการชุมนุม". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.thaipost.net/main/detail/74650.
"คณะราษฎร: ประกาศ 3 ข้อเรียกร้องก่อนชุมนุมใหญ่ 14 ตุลา ประยุทธ์ลาออก-เปิดสภาแก้ รธน.-ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์". (8 ต.ค. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-54461248.
"ไทม์ไลน์ 'คณะราษฎร' ชุมนุม 14 ตุลา ถึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สลายม็อบ". (15 ต.ค. 2563). Bangkok Insight. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/455875/.
"มาตรา 112 : นายกฯ ยืนยัน "ใช้กฎหมายทุกฉบับทุกมาตรา" เอาผิดผู้ชุมนุม". (20 พ.ย. 2563). บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-55019486.
"รุ้ง-เพนกวิน-ไมค์ พร้อมพวก รายงานตัวคดี ม.112 หลังแต่งครอปท็อปเดินสยาม". (20 ม.ค. 2564). มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2538041.
"“รุ้ง-ไมค์” และ 18 แนวร่วม เข้ารายงานตัวคดีชุมนุม 19 กันยา อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็น 8 มี.ค.". (17 ก.พ. 2564). มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_401320.
""มายด์" รายงานตัวอัยการคดี "ชุมนุมสถานทูตเยอรมนี" เผยมีกำลังใจดี". (25 มี.ค. 2564). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.thairath.co.th/news/politic/2057065.
"'ไผ่-เพนกวิน'รายงานตัวศาล ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน". (14 มิ.ย. 2564). เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก:https://www.dailynews.co.th/politics/849810/.
"มีผลวันนี้ ราชกิจจาฯ ห้ามชุมนุม มั่วสุม ทำกิจกรรมเสี่ยงโควิดแพร่ ฝ่าฝืนมีโทษ". (16 ก.ค. 2564). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2564, จาก: https://www.thairath.co.th/news/politic/2142571.