ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มินเนี่ยน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
          '''“มินเนี่ยน”''' ถูกนำมาใช้ในการเมืองไทยอย่างแพร่หลายในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งเริ่มจากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่นำโดยกลุ่ม “[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]]” ในวันที่ 14 ตุลาคม ณ ถนนราชดำเนินกลาง โดยมีที่มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเดินทางมาชุมนุมในบริเวณเดียวกันโดยให้เหตุผลว่ามาเพื่อรับเสด็จและถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินผ่านพื้นที่ถนนราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในวันเดียวกัน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง รวมถึงใช้สื่อถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวังการชุมนุม ซึ่งทั้งประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นล้วนแล้วแต่ปรากฏตัวในเครื่องแต่งกายสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงพระมหากษัตริย์ และมีภาพปรากฏให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐได้มีการจัดตั้งมวลชนมาเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยยังปรากฏภาพการเดินทางมาในยานพาหนะของหน่วยงานราชการ โดยได้มีการเผยแพร่ภาพมวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ โดยใช้คำบรรยายถึงคนกลุ่มนี้ว่าเป็น “มินเนี่ยน” บนช่องทางออนไลน์ เช่น เฟซบุค และทวิตเตอร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ส่งต่อกัน จนทำให้คำว่า “มินเนี่ยน” ใช้สื่อแทนมวลชนที่มีแนวคิดตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ
          '''“มินเนี่ยน”''' ถูกนำมาใช้ในการเมืองไทยอย่างแพร่หลายในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งเริ่มจากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่นำโดยกลุ่ม “[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]]” ในวันที่ 14 ตุลาคม ณ ถนนราชดำเนินกลาง โดยมีที่มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเดินทางมาชุมนุมในบริเวณเดียวกันโดยให้เหตุผลว่ามาเพื่อรับเสด็จและถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินผ่านพื้นที่ถนนราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในวันเดียวกัน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง รวมถึงใช้สื่อถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวังการชุมนุม ซึ่งทั้งประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นล้วนแล้วแต่ปรากฏตัวในเครื่องแต่งกายสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงพระมหากษัตริย์ และมีภาพปรากฏให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐได้มีการจัดตั้งมวลชนมาเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยยังปรากฏภาพการเดินทางมาในยานพาหนะของหน่วยงานราชการ โดยได้มีการเผยแพร่ภาพมวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ โดยใช้คำบรรยายถึงคนกลุ่มนี้ว่าเป็น “มินเนี่ยน” บนช่องทางออนไลน์ เช่น เฟซบุค และทวิตเตอร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ส่งต่อกัน จนทำให้คำว่า “มินเนี่ยน” ใช้สื่อแทนมวลชนที่มีแนวคิดตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ


          คำว่า '''“มินเนี่ยน” '''ถูกอธิบายและสรุปความหมายโดยสำนักข่าวออนไลน์หลายสำนัก ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยสรุปคำศัพท์ที่พบในการชุมนุมและความหมาย เช่น ไทยรัฐออนไลน์ได้ให้นิยามคำว่า '''“มินเนี่ยน”''' ว่า '''“กลุ่มผู้เดินทางมาร่วมชุมนุมที่สวมใส่เสื้อเหลือง ผมสั้นเกรียน เดินทางมากับรถบรรทุกสีเขียวของทหาร”'''[[#_ftn2|[2]]] มติชนออนไลน์ให้ความหมายว่า '''“เสื้อเหลืองหัวเกรียน”'''[[#_ftn3|[3]]] ในขณะที่เว็บไซต์กระปุกดอทคอมได้ให้ความหมายอย่างครอบคลุมที่สุดว่า '''“กลุ่มคนใส่เสื้อเหลืองที่โดยสารมากับรถบรรทุกสีเขียวของราชการ รวมถึงกลุ่มคนใส่เสื้อสีเหลืองผมเกรียนด้วย”'''[[#_ftn4|[4]]] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ ความหมายของ “มินเนี่ยน” จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ขยายกว้างขึ้น เช่น การเรียกกลุ่มข้าราชการที่เดินขบวนแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ว่าเป็น “มินเนี่ยน”[[#_ftn5|[5]]] หรือการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” ในลักษณะกล่าวโดยรวมเหมือนคำว่า '''“สลิ่ม”''' เช่น มีการกล่าวว่าหาดใหญ่เป็นเมืองหลวงของ “มินเนี่ยน”[[#_ftn6|[6]]] นอกจากนั้น หากมีเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบซึ่งปรากฏตัวในบริเวณการชุมนุม แม้ไม่ได้สวมใส่เสื้อสีเหลืองก็ยังถูกเรียกว่า “มินเนี่ยน” ด้วยเช่นกัน[[#_ftn7|[7]]]
          คำว่า '''“มินเนี่ยน” '''ถูกอธิบายและสรุปความหมายโดยสำนักข่าวออนไลน์หลายสำนัก ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยสรุปคำศัพท์ที่พบในการชุมนุมและความหมาย เช่น ไทยรัฐออนไลน์ได้ให้นิยามคำว่า '''“มินเนี่ยน”''' ว่า '''“กลุ่มผู้เดินทางมาร่วมชุมนุมที่สวมใส่เสื้อเหลือง ผมสั้นเกรียน เดินทางมากับรถบรรทุกสีเขียวของทหาร”'''[[#_ftn2|[2]]] มติชนออนไลน์ให้ความหมายว่า '''“เสื้อเหลืองหัวเกรียน”'''[[#_ftn3|[3]]] ในขณะที่เว็บไซต์กระปุกดอทคอมได้ให้ความหมายอย่างครอบคลุมที่สุดว่า '''“กลุ่มคนใส่เสื้อเหลืองที่โดยสารมากับรถบรรทุกสีเขียวของราชการ รวมถึงกลุ่มคนใส่เสื้อสีเหลืองผมเกรียนด้วย”'''[[#_ftn4|[4]]] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ ความหมายของ “มินเนี่ยน” จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ขยายกว้างขึ้น เช่น การเรียกกลุ่มข้าราชการที่เดินขบวนแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ว่าเป็น '''“มินเนี่ยน”'''[[#_ftn5|[5]]] หรือการใช้คำว่า '''“มินเนี่ยน”''' ในลักษณะกล่าวโดยรวมเหมือนคำว่า '''“สลิ่ม”''' เช่น มีการกล่าวว่าหาดใหญ่เป็นเมืองหลวงของ “มินเนี่ยน”[[#_ftn6|[6]]] นอกจากนั้น หากมีเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบซึ่งปรากฏตัวในบริเวณการชุมนุม แม้ไม่ได้สวมใส่เสื้อสีเหลืองก็ยังถูกเรียกว่า “มินเนี่ยน” ด้วยเช่นกัน[[#_ftn7|[7]]]


          มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวละคร Minion กับการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” เพื่อสื่อถึงกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่นอกจากเรื่องสีเหลือง การอยู่เป็นกลุ่ม-ฝูงจำนวนมาก และทำอะไรตาม ๆ กัน ที่เป็นลักษณะของตัวละครในแอนิเมชั่นแล้ว ยังมีนัยยะถึงสถานะของ “มินเนี่ยน” ที่เป็นลูกน้อง หรือ '''“ลูกกระจ๊อก”''' ที่ต้องเชื่อฟังอย่างเคร่งครัดทำตามคำสั่งของหัวหน้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งในที่นี้ถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์
          มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวละคร Minion กับการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” เพื่อสื่อถึงกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่นอกจากเรื่องสีเหลือง การอยู่เป็นกลุ่ม-ฝูงจำนวนมาก และทำอะไรตาม ๆ กัน ที่เป็นลักษณะของตัวละครในแอนิเมชั่นแล้ว ยังมีนัยยะถึงสถานะของ '''“มินเนี่ยน”''' ที่เป็นลูกน้อง หรือ '''“ลูกกระจ๊อก”''' ที่ต้องเชื่อฟังอย่างเคร่งครัดทำตามคำสั่งของหัวหน้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งในที่นี้ถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์


          นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยตัวละครนี้บนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในช่วงที่มีการใช้คำนี้ทางการเมืองอย่างแพร่หลาย ซึ่งเน้นย้ำถึงความน่าขัน-การกระทำของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์ที่มีลักษณะทำตามกัน เชื่อฟัง และการสร้างความเดือดร้อนให้แก่หัวหน้าที่เหล่า Minions รับใช้ รวมถึงการกล่าวถึงความเป็น '''“ผู้ร้าย”''' ของหัวหน้าของกลุ่ม Minion ซึ่งตามเนื้อเรื่องแล้ว Minion มีเป้าหมายตามหาหัวหน้าที่เป็น '''“วายร้าย”''' เพื่อคอยรับใช้และเมื่อขาดหัวหน้าแล้ว Minion จะรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เป้าหมายในชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการพาดพิงถึงอำนาจรัฐ หรืออุดมการณ์ฝั่งรัฐและผู้สนับสนุน 
          นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยตัวละครนี้บนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในช่วงที่มีการใช้คำนี้ทางการเมืองอย่างแพร่หลาย ซึ่งเน้นย้ำถึงความน่าขัน-การกระทำของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์ที่มีลักษณะทำตามกัน เชื่อฟัง และการสร้างความเดือดร้อนให้แก่หัวหน้าที่เหล่า Minions รับใช้ รวมถึงการกล่าวถึงความเป็น '''“ผู้ร้าย”''' ของหัวหน้าของกลุ่ม Minion ซึ่งตามเนื้อเรื่องแล้ว Minion มีเป้าหมายตามหาหัวหน้าที่เป็น '''“วายร้าย”''' เพื่อคอยรับใช้และเมื่อขาดหัวหน้าแล้ว Minion จะรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เป้าหมายในชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการพาดพิงถึงอำนาจรัฐ หรืออุดมการณ์ฝั่งรัฐและผู้สนับสนุน 


          การนำเอา “มินเนี่ยน” มาใช้ในการเรียกขานเพื่อสื่อถึงมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ สะท้อนให้เห็นบทบาทของวัฒนธรรมมวลชน (popular culture) ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก โดยการเชื่อมโยงเอาตัวละครการ์ตูนมาใช้เป็นศัพท์ทางการเมืองเหมือนกับชื่อตัวละครหรือสิ่งอ้างอิงกับวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ การนำเอาสีเหลืองซึ่งเป็น '''“สีมงคล”''' และอุดมการณ์ความจงรักภักดีมาเชื่อมโยงกับความน่าขบขันหรือสถานะความเป็น '''“ลูกสมุน”''' ของอำนาจรัฐเพื่อล้อเลียนหรือสื่อถึงความจงรักภักดีเทิดทูน '''“อย่างไม่ลืมหูลืมตา”''' หรือสถานะของมวลชน-เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ต่ำกว่าหน่วยงานรัฐและสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างอิงถึงลักษณะของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์
          การนำเอา '''“มินเนี่ยน”''' มาใช้ในการเรียกขานเพื่อสื่อถึงมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ สะท้อนให้เห็นบทบาทของวัฒนธรรมมวลชน (popular culture) ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก โดยการเชื่อมโยงเอาตัวละครการ์ตูนมาใช้เป็นศัพท์ทางการเมืองเหมือนกับชื่อตัวละครหรือสิ่งอ้างอิงกับวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ การนำเอาสีเหลืองซึ่งเป็น '''“สีมงคล”''' และอุดมการณ์ความจงรักภักดีมาเชื่อมโยงกับความน่าขบขันหรือสถานะความเป็น '''“ลูกสมุน”''' ของอำนาจรัฐเพื่อล้อเลียนหรือสื่อถึงความจงรักภักดีเทิดทูน '''“อย่างไม่ลืมหูลืมตา”''' หรือสถานะของมวลชน-เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ต่ำกว่าหน่วยงานรัฐและสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างอิงถึงลักษณะของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์


 
 
บรรทัดที่ 54: บรรทัดที่ 54:
[[#_ftnref6|[6]]] นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, ''Facebook'', (1 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/885541661984629 https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/885541661984629]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.  
[[#_ftnref6|[6]]] นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, ''Facebook'', (1 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/885541661984629 https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/885541661984629]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.  
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] Wassana Nanuam, “มินเนี่ยน หมวกขาว เสริมกำลังตำรวจ,” ''Facebook'', (28 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3876268639098232/?d=n https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3876268639098232/?d=n]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564, &nbsp;&nbsp;
[[#_ftnref7|[7]]] Wassana Nanuam, “มินเนี่ยน หมวกขาว เสริมกำลังตำรวจ,” ''Facebook'', (28 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3876268639098232/?d=n https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3876268639098232/?d=n]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564, “วิวัฒนาการ ‘มินเนียน’ ป้อมปราการ หน้าค่าย ‘ราบ 1’ - ‘ราบ 11’,” ''Voice Online'', (5 มีนาคม 2564, ปรับปรุง 6 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก&nbsp; [https://voicetv.co.th/read/zHeNXMlZo https://voicetv.co.th/read/zHeNXMlZo]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.&nbsp;
 
“วิวัฒนาการ ‘มินเนียน’ ป้อมปราการ หน้าค่าย ‘ราบ 1’ - ‘ราบ 11’,” ''Voice Online'', (5 มีนาคม 2564, ปรับปรุง 6 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก&nbsp; [https://voicetv.co.th/read/zHeNXMlZo https://voicetv.co.th/read/zHeNXMlZo]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.&nbsp;
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] พรรคมินเนี่ยนไทย์แลนด์ (รักษ์สถาบัน), ''Facebook'', เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/194437799058836 https://www.facebook.com/groups/194437799058836]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.
[[#_ftnref8|[8]]] พรรคมินเนี่ยนไทย์แลนด์ (รักษ์สถาบัน), ''Facebook'', เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/194437799058836 https://www.facebook.com/groups/194437799058836]. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:52, 22 กรกฎาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

ที่มา

          “มินเนี่ยน” หรือ “มินเนียน” ถูกใช้ในบริบทของกระแสการชุมนุมขับไล่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา ระหว่างปลาย ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน การใช้คำเรียกกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เริ่มต้นจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ใช้คำนี้เพื่อสื่อถึงกลุ่มมวลชน ผู้สนับสนุนรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลก็ได้นำคำว่า “มินเนี่ยน” นี้ มาเพื่อสื่อถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของฝ่ายตนเช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” ทางการเมืองนี้ สะท้อนภาพให้เห็นบริบทของการเมืองไทยร่วมสมัย ทั้งทัศนคติของสังคมต่อสถาบันกษัตริย์ที่เปลี่ยนไป การต่อสู้ถกเถียงทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่รวมถึงสภาวะแบ่งขั้วทางการเมือง (political polarization) ในสังคมไทย

          คำว่า “มินเนี่ยน” มาจากตัวละคร Minions ซึ่งเป็นตัวละครจากภาพยนตร์แอนิเมชันชุด Despicable Me และ Minions ผลิตโดย Illumination Entertainment และเผยแพร่โดย Universal Picture ระหว่าง ปี 2553-2560 โดย Minions เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มตัวละครที่มีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กร่างกายเป็นสีเหลืองทั้งตัว มีแขนขาสองข้าง สวมใส่เสื้อเอี๊ยมยีนส์สีน้ำเงิน และแว่นตานิรภัยพร้อมด้วยถุงมือและรองเท้าสีดำ อย่างไรก็ตาม Minions แต่ละตัวก็จะมีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น จำนวนตาที่มีทั้งข้างเดียวและสองข้าง เส้นผม สัดส่วนลำตัวที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากัน รวมถึงอุปนิสัยส่วนตัวบางประการ โดยบทบาทของ Minions ตามเนื้อเรื่องคือเป็นตัวประกอบหลักที่ทำหน้าที่ลูกน้องคอยรับคำสั่งจากตัวละครหลัก คอยทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น แรงงานในห้องทดลองหรือคนรับใช้ในบ้าน มีบุคลิกลักษณะการแสดงออกที่ชวนตลกขบขัน ชวนหัวเราะตลอดเวลาและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่

          ทั้งนี้ ตัวละคร Minions นั้นได้รับความนิยมอย่างมาก โดยถือเป็นภาพจำอย่างหนึ่งของภาพยนตร์ชุดนี้ มีการผลิตสินค้าจากตัวละคร Minions และยังมีการนำเอาตัวละครนี้ไปใช้ในการโฆษณาสินค้าประเภทอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยความหมายโดยตรงของคำว่า “Minion” ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทย-อังกฤษ (Lexitron Dictionary) ให้ความหมายไว้ว่า “คนรับใช้” “สมุนรับใช้” หรือ “บริวาร”[1]

 

การนำมาใช้ในบริบทของการเมืองไทย

          “มินเนี่ยน” ถูกนำมาใช้ในการเมืองไทยอย่างแพร่หลายในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งเริ่มจากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่นำโดยกลุ่ม “คณะราษฎร” ในวันที่ 14 ตุลาคม ณ ถนนราชดำเนินกลาง โดยมีที่มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ใช้เรียกกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเดินทางมาชุมนุมในบริเวณเดียวกันโดยให้เหตุผลว่ามาเพื่อรับเสด็จและถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินผ่านพื้นที่ถนนราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจในวันเดียวกัน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง รวมถึงใช้สื่อถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวังการชุมนุม ซึ่งทั้งประชาชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นล้วนแล้วแต่ปรากฏตัวในเครื่องแต่งกายสีเหลือง ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงพระมหากษัตริย์ และมีภาพปรากฏให้เห็นว่าหน่วยงานรัฐได้มีการจัดตั้งมวลชนมาเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยยังปรากฏภาพการเดินทางมาในยานพาหนะของหน่วยงานราชการ โดยได้มีการเผยแพร่ภาพมวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ โดยใช้คำบรรยายถึงคนกลุ่มนี้ว่าเป็น “มินเนี่ยน” บนช่องทางออนไลน์ เช่น เฟซบุค และทวิตเตอร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ส่งต่อกัน จนทำให้คำว่า “มินเนี่ยน” ใช้สื่อแทนมวลชนที่มีแนวคิดตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบ

          คำว่า “มินเนี่ยน” ถูกอธิบายและสรุปความหมายโดยสำนักข่าวออนไลน์หลายสำนัก ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยสรุปคำศัพท์ที่พบในการชุมนุมและความหมาย เช่น ไทยรัฐออนไลน์ได้ให้นิยามคำว่า “มินเนี่ยน” ว่า “กลุ่มผู้เดินทางมาร่วมชุมนุมที่สวมใส่เสื้อเหลือง ผมสั้นเกรียน เดินทางมากับรถบรรทุกสีเขียวของทหาร”[2] มติชนออนไลน์ให้ความหมายว่า “เสื้อเหลืองหัวเกรียน”[3] ในขณะที่เว็บไซต์กระปุกดอทคอมได้ให้ความหมายอย่างครอบคลุมที่สุดว่า “กลุ่มคนใส่เสื้อเหลืองที่โดยสารมากับรถบรรทุกสีเขียวของราชการ รวมถึงกลุ่มคนใส่เสื้อสีเหลืองผมเกรียนด้วย”[4] อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเผยแพร่เนื้อหาเหล่านี้ ความหมายของ “มินเนี่ยน” จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ขยายกว้างขึ้น เช่น การเรียกกลุ่มข้าราชการที่เดินขบวนแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ว่าเป็น “มินเนี่ยน”[5] หรือการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” ในลักษณะกล่าวโดยรวมเหมือนคำว่า “สลิ่ม” เช่น มีการกล่าวว่าหาดใหญ่เป็นเมืองหลวงของ “มินเนี่ยน”[6] นอกจากนั้น หากมีเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบซึ่งปรากฏตัวในบริเวณการชุมนุม แม้ไม่ได้สวมใส่เสื้อสีเหลืองก็ยังถูกเรียกว่า “มินเนี่ยน” ด้วยเช่นกัน[7]

          มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวละคร Minion กับการใช้คำว่า “มินเนี่ยน” เพื่อสื่อถึงกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่นอกจากเรื่องสีเหลือง การอยู่เป็นกลุ่ม-ฝูงจำนวนมาก และทำอะไรตาม ๆ กัน ที่เป็นลักษณะของตัวละครในแอนิเมชั่นแล้ว ยังมีนัยยะถึงสถานะของ “มินเนี่ยน” ที่เป็นลูกน้อง หรือ “ลูกกระจ๊อก” ที่ต้องเชื่อฟังอย่างเคร่งครัดทำตามคำสั่งของหัวหน้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งในที่นี้ถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์

          นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่เนื้อหาว่าด้วยตัวละครนี้บนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในช่วงที่มีการใช้คำนี้ทางการเมืองอย่างแพร่หลาย ซึ่งเน้นย้ำถึงความน่าขัน-การกระทำของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์ที่มีลักษณะทำตามกัน เชื่อฟัง และการสร้างความเดือดร้อนให้แก่หัวหน้าที่เหล่า Minions รับใช้ รวมถึงการกล่าวถึงความเป็น “ผู้ร้าย” ของหัวหน้าของกลุ่ม Minion ซึ่งตามเนื้อเรื่องแล้ว Minion มีเป้าหมายตามหาหัวหน้าที่เป็น “วายร้าย” เพื่อคอยรับใช้และเมื่อขาดหัวหน้าแล้ว Minion จะรู้สึกห่อเหี่ยว ไร้เป้าหมายในชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการพาดพิงถึงอำนาจรัฐ หรืออุดมการณ์ฝั่งรัฐและผู้สนับสนุน 

          การนำเอา “มินเนี่ยน” มาใช้ในการเรียกขานเพื่อสื่อถึงมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ สะท้อนให้เห็นบทบาทของวัฒนธรรมมวลชน (popular culture) ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก โดยการเชื่อมโยงเอาตัวละครการ์ตูนมาใช้เป็นศัพท์ทางการเมืองเหมือนกับชื่อตัวละครหรือสิ่งอ้างอิงกับวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ การนำเอาสีเหลืองซึ่งเป็น “สีมงคล” และอุดมการณ์ความจงรักภักดีมาเชื่อมโยงกับความน่าขบขันหรือสถานะความเป็น “ลูกสมุน” ของอำนาจรัฐเพื่อล้อเลียนหรือสื่อถึงความจงรักภักดีเทิดทูน “อย่างไม่ลืมหูลืมตา” หรือสถานะของมวลชน-เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ต่ำกว่าหน่วยงานรัฐและสถาบันกษัตริย์ โดยอ้างอิงถึงลักษณะของตัวละคร Minion ในภาพยนตร์

 

การนำคำว่า “มินเนี่ยน” ไปใช้และการยอมรับ

          ถึงแม้ว่าสัญญะของ “มินเนี่ยน” จะถูกนำเสนอโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในฐานะภาพแทนของกลุ่มผู้ชุมนุมฝั่งตรงข้ามและเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามกลุ่มการเมืองและมวลชนฝ่ายสนับสนุนรัฐก็ยอมรับเอาสัญญะของ “มินเนี่ยน” ไปใช้กับกลุ่มของตนเองด้วยเช่นกัน โดยใช้เพื่อเพื่อแสดงออกถึงอุดมการณ์หรืออัตลักษณ์ของกลุ่มการเมืองฝ่ายตน เช่น การนำเอาตัวละคร Minion มาตั้งชื่อหรือใช้เป็นรูปโปรไฟล์ใน Social Media ไปจนถึงการตั้งชื่อกลุ่มในเฟซบุค เช่น กลุ่ม “พรรคมินเนี่ยนไทยแลนด์ (รักษ์สถาบัน)”[8] หรือ กลุ่ม “สลิ่ม มินเนี่ยน IO ไดโนเสาร์ รักชาติ รักสถาบัน”[9] และได้มีการเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ เช่น การโพสข้อความติดแฮชแท็ก (Hashtag) ในทางสนับสนุนรัฐบาลหรือมีเนื้อหาตรงกันข้ามกับผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล ซึ่งการนำเอาสัญญะของ “มินเนี่ยน” มาใช้อย่างชัดเจนเปิดเผยและเป็นที่รับรู้ในวงกว้างจากฝั่งตรงข้ามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนั้น ได้ปรากฏให้เห็นในวิดิโอคลิป “หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี”[10] ที่ปรากฏกลุ่มคนจำนวนหนึ่งแต่งกายในชุดคอสตูมตัวละคร Minion ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะตรงกันข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น การสั่งอาหารจากร้านอาหารที่ฝ่ายตรงข้ามรณรงค์ไม่อุดหนุนรวมถึงแสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม[11] นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีกลุ่มคนที่แต่งกายด้วยชุดคอสตูม Minion ปรากฏตัวร่วมกับ “ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิดทางสังคมออนไลน์” หรือ ศชอ. ในฐานะ “กองทัพมินเนี่ยนปกป้องสถาบัน” ในการเข้าแจ้งความผู้กระทำผิดตาม มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา[12]

          การรับเอาสัญญะที่เป็นการดูถูกหรือล้อเลียนให้ขบขันจากฝ่ายตรงข้ามมาใช้เพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์และอุดมการณ์การเมืองนั้น สื่อให้เห็นว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองในสังคมไทยที่ดำเนินมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2550 ได้ขยายและปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นในทศวรรษ 2550 ซึ่งกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่ายนั้นมีแนวคิด ความเชื่อ มุมมองทางการเมืองที่แตกต่างกันตั้งแต่ประเด็นเรื่องแนวทางประชาธิปไตย สถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ การบังคับใช้กฎหมาย หรือประเด็นอื่น ๆ แต่ขาดการสื่อสารระหว่างกลุ่ม โดยทั้งสองฝ่ายอาจจะจำกัดช่องทางการสื่อสารหรือรับรู้การเผยแพร่เนื้อหาทางการเมืองเฉพาะในพื้นที่ของฝ่ายเดียวกันหรือเป็นห้องที่ก้องสะท้อนเสียงของฝ่ายเดียวกับตัวเองเท่านั้น (echo chamber) ทำให้การสร้างและรับรู้ความหมายจำกัดอยู่เฉพาะ ในฝั่งการเมืองที่ตนยึดถือเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถมีอำนาจสร้างความรับรู้เหนือกลุ่มการเมืองอีกฝ่าย

          “มินเนี่ยน” ในการเมืองไทยไม่เพียงแต่มีสถานะเป็นภาพตัวแทนของ “ลูกสมุน” หรือ “ตัวตลกที่น่าเอ็นดู” ในฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่มีสถานะเป็นเครื่องหมายของความภูมิใจในฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลประยุทธ์ได้ไปพร้อม ๆ กัน

 

อ้างอิง

[1] “Minion,”, Online English Thai Dictionary, เข้าถึงจาก https://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=minion&d=1&m=0&p=1. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[2] “25 ศัพท์ม็อบ 63 รวมตั้งแต่ ‘แกง’ ถึง ‘นาตาชา’,” ไทยรัฐออนไลน์, (21 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1958340. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[3] “ที่เดียวจบ! รวมศัพท์ภาษาม็อบเยาวชนปลดแอก คณะราษฎร63,” มติชนออนไลน์, (19 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจากhttps://www.matichon.co.th/politics/news_2402572. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[4] “เปิดคำศัพท์ม็อบ 2020! แม้เครียดแต่ยังยิ้มได้ ขับเคลื่อนการชุมนุมแบบมีโค้ดลับ,” กระปุก.คอม, เข้าถึงจาก https://hilight.kapook.com/view/207592. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[5] ซีนิว วิวเว่อร์ 4K, “พบแก๊งมินเนี่ยนที่ปากน้ำ สมุทรปราการ ในเวลาราชการ..,” Facebook, (21 ตุลาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/cnew.official/posts/2781157355465277. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[6] นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, Facebook, (1 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/supathasuwannakit/posts/885541661984629. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.  

[7] Wassana Nanuam, “มินเนี่ยน หมวกขาว เสริมกำลังตำรวจ,” Facebook, (28 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3876268639098232/?d=n. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564, “วิวัฒนาการ ‘มินเนียน’ ป้อมปราการ หน้าค่าย ‘ราบ 1’ - ‘ราบ 11’,” Voice Online, (5 มีนาคม 2564, ปรับปรุง 6 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก  https://voicetv.co.th/read/zHeNXMlZo. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. 

[8] พรรคมินเนี่ยนไทย์แลนด์ (รักษ์สถาบัน), Facebook, เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/194437799058836. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.

[9] สลิ่ม มินเนียน IO ไดโนเสาร์ รักชาติ รักสถาบัน, Facebook, เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/520435605537311. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.

[10] BLUESKY CHANNEL, “หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี ‘ไม่เลือกพวกล้มเจ้า’,” YouTube, (1 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=xc0sFEmfoNQ&t=2s. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564. ่

[11] อ้างแล้ว, นาทีที่ 0.00-1.06, 1.25-2.35.

[12] “กองทัพมินเนี่ยน แจ้งเอาผิดคนคอมเมนต์หมิ่นสถาบัน ในเฟซบุ๊กสมศักดิ์ เจียม,” ไทยรัฐออนไลน์, (1 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2105691. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564,  “กองทัพมินเนี่ยน หอบหลักฐาน เอาผิด 90 รายชื่อ คอมเมนต์หมิ่นสถาบัน,” ไทยรัฐออนไลน์, (10 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2112737. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564.