ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มจังหวัด"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นายจเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้เรียบเรียง''' : สมัชญ์ สมบัติพานิช | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นายจเร พันธุ์เปรื่อง | |||
---- | ---- | ||
==ความหมายของกลุ่มจังหวัด== | == ความหมายของกลุ่มจังหวัด == | ||
กลุ่มจังหวัด เป็นคำที่นำมาใช้ภายใต้แนวคิด[[การบริหารงานแบบบูรณาการ|การบริหารงานแบบบูรณาการ]] ที่กำหนดให้มีการรวม'''กลุ่มจังหวัด'''ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การวางกรอบทิศทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิผล | |||
== ความเป็นมาของการจัดกลุ่มจังหวัด == | |||
การจัดกลุ่มจังหวัดเริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 โดยเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง[[ผู้ว่าราชการ|ผู้ว่าราชการ]]จังหวัดภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็น [[กรอ.กลุ่มอันดามันพัฒนา|กรอ.กลุ่มอันดามันพัฒนา]] โดยวัตถุประสงค์ในการรวมกัน เนื่องจากเห็นว่าทิศทางการพัฒนาในกลุ่มอันดามันนั้นถ้าแต่ละจังหวัดต่างมุ่งพัฒนาเฉพาะจังหวัดแล้ว จะเกิดปัญหาแย่งชิงทรัพยากรของชาติที่มีอยู่จำกัด หากขาดความร่วมมือกันจะทำให้ขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่กลุ่มอันดามันนั้น มีศักยภาพไม่เพียงพอ เพราะในขณะนั้นประเทศมาเลเซียได้พัฒนาเกาะลังกาวีขึ้นมา โดยหวังเป็นเกาะเพชรเม็ดใหม่ของอันดามันที่จะมาแบ่งตลาดการท่องเที่ยวของภูเก็ต แนวความคิดของผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด นั้น อยู่บนพื้นฐานความร่วมมือกัน ในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน | |||
ต่อมาปี พ.ศ. 2543 กระทรวงมหาดไทยได้ประเมินผลความร่วมมือของ กรอ. กลุ่มจังหวัดอันดามันพัฒนาแล้วเห็นว่า เป็นผลดีต่อการผนึกกำลังทุกภาคส่วนในการพัฒนาตอบสนอง[[ยุทธศาสตร์ชาติ|ยุทธศาสตร์ชาติ]] จึงได้ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย หอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกันจัดแบ่งกลุ่ม กรอ. จังหวัด เพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัด ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลสมัยของ [[ทักษิณ_ชินวัตร|พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร]] ได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเข้ามาใช้ แล้วต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างจังหวัด ใน[[การพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด|การพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด]] จึงได้นำแนวความคิด กรอ. กลุ่มจังหวัดมาดัดแปลงเป็นการพัฒนากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัด จากเดิมเป็นความร่วมมือระหว่างภาคราชการ กับภาคเอกชน ได้ขยายเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในกลุ่มจังหวัด ซึ่ง[[คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ_(ก.พ.ร.)|คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)]] ได้นำเสนอต่อ[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดควบคู่ไปกับการจัดทำ[[ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด|ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา<ref>สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, (2557), แนวทางการบริหารราชการแบบกลุ่มจังหวัด, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780, (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557)</ref> | |||
== การจัดกลุ่มจังหวัด == | |||
[[มติคณะรัฐมนตรี|มติคณะรัฐมนตรี]]เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางในการจัดกลุ่มจังหวัด ดังนี้ | |||
1) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ที่ติดต่อกัน หรือเป็นการรวมกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ติดต่อกันหรือต่อเนื่องกัน | |||
2) ต้องมีความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่มและการได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน | |||
3) การแก้ปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด | |||
โดยเริ่มแรก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มจังหวัดรวม 19 กลุ่มจังหวัด ซึ่งต่อมาในวันที่ 15 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัดให้เป็น 18 กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยจังหวัดที่จะเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดต้องมีลักษณะ เช่น เป็นจังหวัดที่มีการคมนาคมหรือติดต่อสื่อสารระหว่างจังหวัดในกลุ่มได้สะดวก เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจต่างๆ เป็นต้น | |||
กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ประกอบด้วย | |||
1) [[กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน_1|กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1]] คือ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี โดยมีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
2) [[กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน_2|กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2]] คือ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง โดยมีจังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
3) [[กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง|กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง]] คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ โดยมีจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
4) [[กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง_1|กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1]] คือ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี โดยมีจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
5) [[กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง_2|กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2]] คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยมีจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
6) [[กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย|กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย]] คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง โดยมีจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
7) [[กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน|กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน]] คือ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง โดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
8) [[กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งชายแดน|กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งชายแดน]] คือ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยมีจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
9) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก]] คือ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด โดยมีจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
10) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน_1|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1]] คือ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู โดยมีจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
11) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน_2|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2]] คือ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยมีจังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
12) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง]] คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์โดยมีจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
13) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง_1|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1]] คือ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
14) [[กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง_2|กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2]] คือ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี โดยมีจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
15) [[กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน_1|กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1]] คือ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
16) [[กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน_2|กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2]] คือ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่ โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
17) [[กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง_1|กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1]] คือ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ โดยมีจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
18) [[กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง_2|กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2]] คือ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี โดยมีจังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด | |||
== การบริหารงานกลุ่มจังหวัด == | |||
[[พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ_พ.ศ._2551|พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551]] ได้กำหนดหลักการการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ<ref>มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551</ref> ดังนี้ | |||
1) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด | |||
2) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิด[[การมีส่วนร่วม|การมีส่วนร่วม]]ระหว่างภาครัฐ [[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] ภาคธุรกิจเอกชน และภาค[[ประชาสังคม|ประชาสังคม]]ในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อ[[การพัฒนาอย่างยั่งยืน|การพัฒนาอย่างยั่งยืน]] | |||
3) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ | |||
4) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับ[[การกระจายอำนาจ|การกระจายอำนาจ]]ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |||
5) [[การบริหารกิจการบ้านเมือง|การบริหารกิจการบ้านเมือง]]ที่ดี มี[[ความโปร่งใส|ความโปร่งใส]] และมี[[การตรวจสอบ|การตรวจสอบ]]ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ | |||
6) [[การบริหารงบประมาณจังหวัด|การบริหารงบประมาณจังหวัด]]ให้เป็นไปตามวิธี[[การบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ|การบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ]]ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่[[คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด|คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด]]และ[[กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ|กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ]] (ก.น.จ.) กำหนดตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ | |||
ในการบริหารงานกลุ่มจังหวัด ก.น.จ. จะเป็นผู้กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดรวมถึงการพิจารณา กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของ กลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี<ref>มาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551</ref> | |||
เพื่อเป็นการสานต่อนโยบายของ ก.น.จ. แต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ที่จะทำหน้าที่วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตามหลักการ นโยบาย และระบบตามที่ ก.น.จ. กำหนด จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มจังหวัดและระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และวิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบ ตลอดจน กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและคำของบประมาณกลุ่มจังหวัดก่อนนำเสนอ ก.น.จ.<ref>มาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551</ref> | |||
== อ้างอิง == | |||
<references /> | |||
== หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ == | |||
กระทรวงมหาดไทย. '''กระทรวงมหาดไทยกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมกลุ่มจังหวัด (Regional Operation Center : ROC)'''. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, 2557. | |||
สถาบันดำรงราชานุภาพ/สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด. '''รายงานการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่'''. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, 2548. | |||
สถาบันราชภัฏภูเก็ต. '''รายงานการวิจัยประเมินผลจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา กรณีจังหวัดภูเก็ตและพังงา.''' กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, 2545. | |||
== บรรณานุกรม == | |||
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 | |||
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 | |||
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 กรกฎาคม 2546 | มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 กรกฎาคม 2546 | ||
บรรทัดที่ 107: | บรรทัดที่ 108: | ||
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 มกราคม 2551 | มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 มกราคม 2551 | ||
สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). แนวทางการบริหารราชการแบบกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557) | สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). แนวทางการบริหารราชการแบบกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: [http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780 http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780]. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557) | ||
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด. (2557). ความเป็นมาของการแบ่งกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.osm.moi.go.th/images/stories/april/osm1.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557). | สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด. (2557). ความเป็นมาของการแบ่งกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: [http://www.osm.moi.go.th/images/stories/april/osm1.pdf http://www.osm.moi.go.th/images/stories/april/osm1.pdf]. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557). | ||
[[ | [[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:58, 12 ธันวาคม 2562
ผู้เรียบเรียง : สมัชญ์ สมบัติพานิช
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
ความหมายของกลุ่มจังหวัด
กลุ่มจังหวัด เป็นคำที่นำมาใช้ภายใต้แนวคิดการบริหารงานแบบบูรณาการ ที่กำหนดให้มีการรวมกลุ่มจังหวัดที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การวางกรอบทิศทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิผล
ความเป็นมาของการจัดกลุ่มจังหวัด
การจัดกลุ่มจังหวัดเริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 โดยเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็น กรอ.กลุ่มอันดามันพัฒนา โดยวัตถุประสงค์ในการรวมกัน เนื่องจากเห็นว่าทิศทางการพัฒนาในกลุ่มอันดามันนั้นถ้าแต่ละจังหวัดต่างมุ่งพัฒนาเฉพาะจังหวัดแล้ว จะเกิดปัญหาแย่งชิงทรัพยากรของชาติที่มีอยู่จำกัด หากขาดความร่วมมือกันจะทำให้ขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่กลุ่มอันดามันนั้น มีศักยภาพไม่เพียงพอ เพราะในขณะนั้นประเทศมาเลเซียได้พัฒนาเกาะลังกาวีขึ้นมา โดยหวังเป็นเกาะเพชรเม็ดใหม่ของอันดามันที่จะมาแบ่งตลาดการท่องเที่ยวของภูเก็ต แนวความคิดของผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด นั้น อยู่บนพื้นฐานความร่วมมือกัน ในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2543 กระทรวงมหาดไทยได้ประเมินผลความร่วมมือของ กรอ. กลุ่มจังหวัดอันดามันพัฒนาแล้วเห็นว่า เป็นผลดีต่อการผนึกกำลังทุกภาคส่วนในการพัฒนาตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ จึงได้ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทย หอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกันจัดแบ่งกลุ่ม กรอ. จังหวัด เพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัด ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลสมัยของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเข้ามาใช้ แล้วต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างจังหวัด ในการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด จึงได้นำแนวความคิด กรอ. กลุ่มจังหวัดมาดัดแปลงเป็นการพัฒนากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัด จากเดิมเป็นความร่วมมือระหว่างภาคราชการ กับภาคเอกชน ได้ขยายเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในกลุ่มจังหวัด ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดควบคู่ไปกับการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา[1]
การจัดกลุ่มจังหวัด
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางในการจัดกลุ่มจังหวัด ดังนี้
1) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ที่ติดต่อกัน หรือเป็นการรวมกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ติดต่อกันหรือต่อเนื่องกัน
2) ต้องมีความเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ การผลิต การค้า และการลงทุนเพื่อมูลค่าเพิ่มและการได้เปรียบในการแข่งขันร่วมกัน
3) การแก้ปัญหาเร่งด่วนร่วมกันของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างจังหวัด
โดยเริ่มแรก คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 และวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มจังหวัดรวม 19 กลุ่มจังหวัด ซึ่งต่อมาในวันที่ 15 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัดให้เป็น 18 กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยจังหวัดที่จะเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดต้องมีลักษณะ เช่น เป็นจังหวัดที่มีการคมนาคมหรือติดต่อสื่อสารระหว่างจังหวัดในกลุ่มได้สะดวก เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ประกอบด้วย
1) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 คือ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี โดยมีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
2) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 คือ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง โดยมีจังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
3) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ โดยมีจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
4) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 คือ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี โดยมีจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
5) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยมีจังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
6) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง โดยมีจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
7) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน คือ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง โดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
8) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งชายแดน คือ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยมีจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
9) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก คือ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด โดยมีจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
10) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 คือ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู โดยมีจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
11) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 คือ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยมีจังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
12) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์โดยมีจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
13) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 คือ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
14) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 คือ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี โดยมีจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
15) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 คือ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
16) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 คือ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่ โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
17) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 คือ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ โดยมีจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
18) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 คือ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี โดยมีจังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด
การบริหารงานกลุ่มจังหวัด
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดหลักการการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ[2] ดังนี้
1) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
2) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
4) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ
6) การบริหารงบประมาณจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กำหนดตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ
ในการบริหารงานกลุ่มจังหวัด ก.น.จ. จะเป็นผู้กำหนดกรอบนโยบายและวางระบบในการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดรวมถึงการพิจารณา กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของ กลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี[3]
เพื่อเป็นการสานต่อนโยบายของ ก.น.จ. แต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ที่จะทำหน้าที่วางแนวทางปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานแบบบูรณาการในกลุ่มจังหวัดเป็นไปตามหลักการ นโยบาย และระบบตามที่ ก.น.จ. กำหนด จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน และแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มจังหวัดและระหว่างกลุ่มจังหวัดเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และวิเคราะห์ บูรณาการ และให้ความเห็นชอบ ตลอดจน กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและคำของบประมาณกลุ่มจังหวัดก่อนนำเสนอ ก.น.จ.[4]
อ้างอิง
- ↑ สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, (2557), แนวทางการบริหารราชการแบบกลุ่มจังหวัด, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780, (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557)
- ↑ มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
- ↑ มาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
- ↑ มาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
กระทรวงมหาดไทย. กระทรวงมหาดไทยกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมกลุ่มจังหวัด (Regional Operation Center : ROC). กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, 2557.
สถาบันดำรงราชานุภาพ/สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด. รายงานการวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, 2548.
สถาบันราชภัฏภูเก็ต. รายงานการวิจัยประเมินผลจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา กรณีจังหวัดภูเก็ตและพังงา. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ, 2545.
บรรณานุกรม
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 กรกฎาคม 2546
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กรกฎาคม 2546
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 มกราคม 2551
สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). แนวทางการบริหารราชการแบบกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=780. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557)
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด. (2557). ความเป็นมาของการแบ่งกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.osm.moi.go.th/images/stories/april/osm1.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กรกฎาคม 2557).