ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''เรียบเรียงโดย'''  อาจารย์ ดร.วศิน โกมุท '''ผู้ทรงคุณวุฒ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''บทนำ'''
'''บทนำ'''


รายได้ท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดบริการสาธารณะ  โดยสามารถจำแนกได้เป็นรายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง  รายได้ที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ และรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้  ความสำคัญของรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้คือเป็นแหล่งรายได้หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรายได้ที่รัฐจะจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น แบ่งเป็นรายได้ที่จัดเก็บให้ทั้งจำนวน และรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
[[รายได้ท้องถิ่น|รายได้ท้องถิ่น]]มีความสำคัญต่อการบริหารงานของ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] เพื่อใช้ใน[[การบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|การจัดบริการสาธารณะ]]  โดยสามารถจำแนกได้เป็น[[รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง]] [[รายได้ที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้]] และ[[รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้|รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้]]  ความสำคัญของรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้คือเป็นแหล่งรายได้หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรายได้ที่รัฐจะจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น แบ่งเป็นรายได้ที่จัดเก็บให้ทั้งจำนวน และรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
'''ความหมายรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''
'''ความหมายรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''


รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง  รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วส่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภายหลัง จากรายได้ภาษีอากร และที่ไม่ใช่ภาษีอากรภายใต้กฎหมายที่กำหนด[[#_ftn1|[1]]] โดยแหล่งรายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้ มาจาก 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจำนวน  และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง  รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจาก[[รัฐบาล|รัฐบาล]]เป็นผู้จัดเก็บเองแล้วส่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภายหลัง จากรายได้ภาษีอากร และที่ไม่ใช่ภาษีอากรภายใต้กฎหมายที่กำหนด[[#_ftn1|[1]]] โดยแหล่งรายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้ มาจาก 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจำนวน  และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 
 
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
'''ภาพรวมรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''
'''ภาพรวมรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''


'''1. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล'''
'''1. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้[[เทศบาล|เทศบาล]] [[เมืองพัทยา|เมืองพัทยา]] และ[[องค์การบริหารส่วนตำบล|องค์การบริหารส่วนตำบล]]'''


         ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้ทั้งจำนวน เช่น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอหังสาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์    และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต โดยเก็บเพิ่มอัตราร้อยละ 10                   
         ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้ทั้งจำนวน เช่น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอหังสาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์    และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต โดยเก็บเพิ่มอัตราร้อยละ 10                   
บรรทัดที่ 36: บรรทัดที่ 36:
'''2. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด'''
'''2. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด'''


          รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการศึกษาภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สำคัญ
          รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้[[องค์การบริหารส่วนจังหวัด|องค์การบริหารส่วนจังหวัด]]มาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการศึกษาภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สำคัญ


'''3. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้กรุงเทพมหานคร'''
'''3. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้กรุงเทพมหานคร'''


         รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้กรุงเทพมหานครมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และค่าภาคหลวงแร่ปิโตรเลียม
         รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]]มาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และค่าภาคหลวงแร่ปิโตรเลียม


 
 
บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 76:
| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
 
/
 
 
 
<span style="font-family:comic sans ms,cursive;">ü</span>


| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
&nbsp;
/
 
&nbsp;
 
ü


| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
&nbsp;
/
 
&nbsp;
 
ü


| style="width:92px;height:79px;" |  
| style="width:92px;height:79px;" |  
&nbsp;
/
 
&nbsp;
 
ü


|-
|-
บรรทัดที่ 112: บรรทัดที่ 96:
&nbsp;
&nbsp;


ü
/


| style="width:92px;height:50px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:50px;" | &nbsp;
บรรทัดที่ 124: บรรทัดที่ 108:
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


|-
|-
บรรทัดที่ 141: บรรทัดที่ 125:
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


|-
|-
บรรทัดที่ 157: บรรทัดที่ 141:


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
บรรทัดที่ 163: บรรทัดที่ 147:
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


|-
|-
บรรทัดที่ 171: บรรทัดที่ 155:
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" | &nbsp;
| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:38px;" |  
| style="width:92px;height:38px;" |  
ü
/


|-
|-
บรรทัดที่ 187: บรรทัดที่ 171:


| style="width:92px;height:30px;" |  
| style="width:92px;height:30px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:30px;" |  
| style="width:92px;height:30px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:30px;" |  
| style="width:92px;height:30px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:30px;" |  
| style="width:92px;height:30px;" |  
ü
/


| style="width:92px;height:30px;" |  
| style="width:92px;height:30px;" |  
ü
/


|}
|}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:34, 1 ธันวาคม 2562

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ ดร.วศิน โกมุท

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


บทนำ

รายได้ท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดบริการสาธารณะ  โดยสามารถจำแนกได้เป็นรายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง รายได้ที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ และรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้  ความสำคัญของรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้คือเป็นแหล่งรายได้หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรายได้ที่รัฐจะจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น แบ่งเป็นรายได้ที่จัดเก็บให้ทั้งจำนวน และรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ความหมายรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง  รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วส่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภายหลัง จากรายได้ภาษีอากร และที่ไม่ใช่ภาษีอากรภายใต้กฎหมายที่กำหนด[1] โดยแหล่งรายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้ มาจาก 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจำนวน  และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

การแบ่งประเภทรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

 ประเภทแรก ประเภทที่จัดเก็บแล้วให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจำนวน เช่น  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอหังสาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์ 

ประเภทที่สอง ประเภทที่เก็บเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิตเพิ่มอัตราร้อยละ 10 หรือเพิ่มอัตราร้อยละ 2.5 ของภาษีการพนัน เป็นต้น      

 

ภาพรวมรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล

         ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ประเภทที่จัดเก็บแล้วส่งให้ทั้งจำนวน เช่น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอหังสาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์    และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต โดยเก็บเพิ่มอัตราร้อยละ 10                   

2. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด

          รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการศึกษาภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่สำคัญ

3. รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้กรุงเทพมหานคร

         รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้กรุงเทพมหานครมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และค่าภาคหลวงแร่ปิโตรเลียม

 

ตารางที่ 1: แสดงประเภทภาษีที่รัฐจัดเก็บให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทภายใต้กฎหมายกำหนด

 

ประเภทรายได้

อบจ.

เทศบาล

อบต.

เมืองพัทยา

กทม.

1.รายได้จากภาษีที่รัฐบาลเก็บให้ท้องถิ่น

1.1  ภาษีมูลค่าเพิ่ม (1 ใน 9)

 

/

/

/

/

1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม

พรบ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

/

       

1.3 ภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

/

/

/

/

1.4 ภาษีสุราสรรพสามิต

 

/

/

/

/

1.5 ภาษีรถยนต์ล้อเลื่อน

/

     

/

1.6 ค่าจดทะเบียนสิทธินิติกรรม

 

/

/

/

/

1.7 ค่าภาคหลวงแร่ปิโตรเลียม

/

/

/

/

/

 

ตารางที่'2: 'แสดงรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'แต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. '2542

 

เทศบาล   เมืองพัทยา  และ องค์การบริหารส่วนตำบล

(ตามมาตรา 23)

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (องค์การบริหารส่วนจังหวัด.)

(ตามมาตรา 24)

กรุงเทพมหานคร

 

(ตามมาตรา 25)

1. รายได้ส่วนกลางจัดเก็บให้

     -  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์    

    -  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน

    

-  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน

    

     -  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

     -  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน

2. รายได้ที่ส่วนกลางจัดเก็บเพิ่มให้ท้องถิ่น   

     -  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

     -  ภาษีสรรพสามิต

     -  ภาษีสุรา

     -  ค่าแสตมป์ยาสูบ

     -  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

          -  ขายสุรา

          -  เล่นการพนัน

    

     

  -  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

    

 

     -  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

     -  ภาษีสรรพสามิต

     -  ภาษีสุรา

     -  ค่าแสตมป์ยาสูบ

     -  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

         -  ขายสุรา

         -  เล่นการพนัน

ที่มา:พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542

 

สรุป รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บเองแล้วแบ่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภายหลัง จากรายได้ภาษีอากร และที่ไม่ใช่ภาษีอากร โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญมาจากภาษีประเภทที่จัดเก็บแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน  และประเภทที่เก็บเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น    

 

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 120  ตอนที่ 124 ก  22 ธันวาคม  2546 

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม114  ตอนที่ 62 ก  31 ตุลาคม 2540

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 109 ก  4 พฤศจิกายน  2546 

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก  2 ธันวาคม 2537

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.  2546 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม120  ตอนที่ 124 ก  22  ธันวาคม 2546

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 115  31 สิงหาคม 2528

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.  2542 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม116 ตอนที่ 104 ก 26 ตุลาคม 2542

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม116 ตอนที่ 120 ก  29 พฤศจิกายน 2542

 

อ้างอิง

[1] เป็นผลมาจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้กำหนดที่มาของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ และส่วนที่สอง กฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 สำหรับกลุ่มแรก ได้แก่กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้กำหนดที่มาของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ   ได้แก่ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ซึ่งได้กำหนดที่มาของรายได้องค์การบริหารส่วนจังหวัด  พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ในมาตรา 66 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2497 ในมาตรา 10-13 และมาตรา 15 ได้กำหนดที่มาของรายได้ของเทศบาล พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 74-82 กำหนดที่มาของรายได้องค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 109-114 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดที่มาของรายได้ของกรุงเทพมหานคร และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 80-83 และมาตรา 87-90 ซึ่งได้กำหนดที่มาของรายได้ของเมืองพัทยา