ผลต่างระหว่างรุ่นของ "13 กันยายน พ.ศ. 2535"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 | วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มี[[การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 18]] ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 และก็มาครั้งนี้ ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มี[[การเลือกตั้ง]]กระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว [[สุจินดา คราประยูร|พลเอกสุจินดา คราประยูร]] ได้เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ตั้ง[[รัฐบาล]] ก็ได้เกิด[[การประท้วง]]จาก[[นักการเมือง]] ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “[[พฤษภาทมิฬ]]” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี | ||
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี | [[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และ[[ยุบสภา]] เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้[[สภาผู้แทนราษฎร]]ที่จะได้[[ผู้แทนราษฎร]]ชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้ง[[พรรคประชาธิปัตย์]]ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และ[[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]] [[หัวหน้าพรรค]]ประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่มาได้ประมาณ 2 ปีกว่า | สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่มาได้ประมาณ 2 ปีกว่า ใน[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]นั้นมีปัญหาเรื่อง[[การปฏิรูปที่ดิน]]เกี่ยวกับ [[สปก. 4-01]] ที่ทำให้มีความขัดแย้งใน[[พรรคร่วมรัฐบาล]]เอง ดังนั้น นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย จึงประกาศ[[ยุบสภา]]ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | ||
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:22, 13 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 18 ของประเทศไทยและเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน คือครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 และก็มาครั้งนี้ ในเวลาที่ห่างกันประมาณ 6 เดือนเท่านั้นเอง ที่มีการเลือกตั้งกระชั้นชิดเช่นนี้ ก็เพราะภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้ว พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาล ก็ได้เกิดการประท้วงจากนักการเมือง ประชาชนและนิสิตนักศึกษา จนเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 จนในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลเข้ามาดูแลเหตุการณ์และยุบสภา เพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรที่จะได้ผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังเป็นการแบ่งเขตที่แต่ละเขตมีผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรมี 360 คน เท่ากับการเลือกตั้งครั้งก่อน ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งจึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่มาได้ประมาณ 2 ปีกว่า ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นมีปัญหาเรื่องการปฏิรูปที่ดินเกี่ยวกับ สปก. 4-01 ที่ทำให้มีความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลเอง ดังนั้น นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย จึงประกาศยุบสภาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538